ชุมชนบ้านครัวเป็นชุมชนไทย-มุสลิมเชื้อสายจาม ที่ถือเป็นชุมชนมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานครมีอายุเก่าแก่กว่า 200 ปี โดยภายในชุมชนยังคงภูมิปัญญาการทอผ้าไหมที่มีชื่อเสียง นอกจากนี้ภายในชุมชนยังมีมัสยิดเก่าแก่ที่ชื่อว่า "มัสยิดยามีอุลค็อยรียะห์" ซึ่งเป็นมัสยิดที่สร้างมาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 1
ชื่อของชุมชนมาจากการที่แขกจามได้อพยพเข้ามาเป็นจำนวนมากๆ จึงเกิดคำว่า ยกครัว อยู่รวมกันเป็นครอบครัว จึงเรียกว่า บ้านครัว ส่วนชื่อบ้านแขกจามมาจากการเรียกกลุ่มชาวบ้านที่อาศัยอยู่เป็นชาวจามที่นับถือศาสนาอิสลามจึงเรียกว่า บ้านแขกจาม
ชุมชนบ้านครัวเป็นชุมชนไทย-มุสลิมเชื้อสายจาม ที่ถือเป็นชุมชนมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานครมีอายุเก่าแก่กว่า 200 ปี โดยภายในชุมชนยังคงภูมิปัญญาการทอผ้าไหมที่มีชื่อเสียง นอกจากนี้ภายในชุมชนยังมีมัสยิดเก่าแก่ที่ชื่อว่า "มัสยิดยามีอุลค็อยรียะห์" ซึ่งเป็นมัสยิดที่สร้างมาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 1
ชุมชนบ้านครัวชุมชนมุสลิมขนาดใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร เป็นชุมชนชาวจามที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในกรุงเทพมหานคร เดิมชาวจามกลุ่มนี้เป็นชาวจามที่อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรจามปา ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2014 จามได้พ่ายแพ้ให้กับกองทัพญวนเหลือเพียงแคว้นเล็ก ๆ บริเวณปากแม่น้ำโขง โดยแรกเริ่มนั้นชาวจามรับวัฒนธรรมมาจากอินเดียและนับถือศาสนาพราหมณ์ ต่อมามีการรับเอาศาสนาอิสลามเข้ามาแทนที่ กระทั่งปี พ.ศ. 2263 สิ้นกษัตริย์องค์สุดท้าย ชาวจามส่วนใหญ่ได้อพยพเข้ามาอยู่ในเขมร (จังหวัดกำปงจาม) แต่ยังคงการนับถือศาสนาอิสลามเอาไว้ โดยชาวไทยจะเรียกชาวจามกลุ่มนี้ว่า แขกจาม นอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่เรียกว่า อาสาจาม
หลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 กลุ่มอาสาจามได้เข้าร่วมรับราชการในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและได้เข้าร่วมรบไปตีเขมร โดยขณะนั้นมีพระยายมราชเป็นแม่ทัพ เหตุการณ์ครั้งนี้มีการกวาดต้อนชาวเขมร ชาวจามเข้ามา และเมื่อสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ขึ้นครองราชย์กลุ่มชาวจามที่เรียกว่า อาสาจามนี้ ได้เข้าร่วมกับกองทัพเพื่อเข้าร่วมรบในสงครามเก้าทัพและได้กวาดต้อนผู้คนเข้ามา พระองค์ได้โปรดเกล้าฯให้อาสาจาม กลุ่มชาวเขมรจามอพยพมาอาศัยที่นอกคูเมืองในป่าไผ่ชายทุ่งพญาไทบริเวณริมคลองมหานาค จนกลายเป็นชุมชนที่เรียกว่า หมู่บ้านอาสาจาม และมีการตั้งศาสนสถานอย่างมัสยิดยามีอุลค็อยรียะห์ที่สันนิษฐานว่าก่อตั้งขึ้นเมื่อสมัยรัชกาลที่ 1
เมื่อในปี พ.ศ. 2376 ในสมัยรัชกาลที่ 3 เกิดสงครามอันนัมสยามยุทธที่สยามนั้นได้ยกทัพไปตีญวน และเขมรพร้อมกัน โดยรัชกาลที่ 3 ได้โปรดเกล้าให้มีการขุดคลองแสนแสบเพื่อเชื่อมต่อไปยังหัวเมืองฉะเฉิงเทรา จุดประสงค์เพื่อให้สามารถขนส่งเสบียงกำลังคนไปในสงครามได้รวดเร็วขึ้น โดยมีการขุดต่อจากคลองมหานาคไปทางบางกะปิ ชาวเขมรจามเป็นหนึ่งในแรงงานสำคัญในการขุดคลองในครั้งนี้ และได้จับจองพื้นที่อยู่อาศัยริมคลองริมคลองแสนแสบ เมื่อเสร็จศึกมีการกวาดต้อนกลุ่มชาวจาม เขมร มลายู เข้ามายังสยาม รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้ชาวบ้านกลุ่มนี้เข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่หมู่บ้านอาสาจาม โดยชาวไทยจะมีการเรียกว่าบ้านครัว เนื่องจาก แขกจาม ที่อพยพมาอยู่อาศัยนั้น มีการอพยพกันมามากเรียกว่า ยกครัว เมื่อรวมกลุ่มกันอยู่หลาย ๆ ครอบครัวจึงเรียกกันว่าบ้านแขกครัว และมีการเรียกว่า บ้านครัว เนื่องจากนโยบายนิยมความเป็นไทยในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม
ในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมีการจัดทำระบบโฉนดที่ดินทางการเริ่มมีการสำรวจที่ดินต่าง ๆ เพื่อปักหลักเขต และดำเนินการออกฉโนดต่อไป โดยชาวบ้านชุมชนบ้านครัวนั้นเริ่มมีการทำโฉนดที่ดินในช่วงสมัยรัชกาลที่ 6 เนื่องจากเริ่มมีการอยู่อาศัยที่หนาแน่นขึ้น ปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์ของที่ดินแต่ก็ยังคงมีบางส่วนที่ไม่ได้ทำให้กรรมสิทธิ์ที่ดินกลายเป็นของหลวง แต่ชาวบ้านยังคงสามารถอยู่อาศัยได้อยู่เรื่อยไปจนกว่าที่รัฐบาลจะเวนคืนที่ดิน
ในปี พ.ศ. 2521 การเคหะสถานแห่งชาติมีการดำเนินโครงการพัฒนาปรับปรุงชุมชนแออัดได้เลือกชุมชนบ้านครัวเป็นตัวอย่างในดูแลโดยมีการแบ่งชุมชนออกเป็น 3 ชุมชน เพื่อให้ง่ายในการจัดการดูแลโดยแบ่งเป็น ชุมชนบ้านครัวเหนือ ชุมชนบ้านครัวใต้ และชุมชนบ้านครัวตะวันตก มีการเข้ามาพัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้แก่ชุมชน
ในปี พ.ศ. 2528 รัฐบาลได้อนุมัติโครงการก่อสร้างทางพิเศษขั้นที่ 2 เพื่อให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชานเมืองสามารถเดินทางเข้าเมืองได้สะดวกมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2530 มีการดำเนินงานโครงการทางพิเศษขั้นที่2 สายแจ้งวัฒนะ-บางโคล่ในช่วงปลายปี โดยชาวบ้านรับรู้ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2531 มีการเวนคืนที่ดินทำให้ชาวบ้านกว่า 800 ร้อยครัวเรือนต้องทำการย้ายออกจนเกิดข้อพิพาทกับรัฐจนกลายเป็นประเด็นที่สังคมรับรู้ถึงการมีอยู่ของชุมชนที่มีเรื่องราวความเป็นมาที่ยาวนานของชุมชน มีการรวมตัวคัดค้านจึงมีการปรับเปลี่ยนการสร้างโดยไม่เวนคืนพื้นที่สำคัญอย่างมัสยิด และสุสาน แต่ให้สร้างค่อมคลองมหานาคแทน แต่ชาวบ้านยังคงนำเรื่องเข้าสู่ศาลปกครอง และคณะกรรมการก็ได้ประกาศยกเลิกโครงการในที่สุด
ชุมชนบ้านครัวเป็นชุมชนที่เกิดอัคคีภัยหลายครั้ง และสร้างความเสียหายเป็นอย่างมากเนื่องจากบ้านเรือนของชาวบ้านครัวมีการสร้างด้วยไม้ มีลักษณะเป็นบ้าน 2 ชั้น หากเป็นบ้านชั้นเดียวมีทั้งรูปแบบการยกพื้นสูง และไม่ยกพื้น ชาวบ้านยังมีการประกอบอาชีพทำประมง เนื่องจากมีการตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ริมคลองแต่ปัจจุบันไม่สามารถทำได้แล้วและชาวบ้านครัวนั้นมีภูมิปัญญาการทอผ้าไหมที่ส่งต่อมาจากบรรพบุรุษโดยมีการทอผ้าขาวม้า ผ้าโสร่ง ใช้กันเอง และจำหน่ายด้วยเช่นกัน ด้วยฝีมือการทออันเป็นเอกลักษณ์นั้นทำให้การทอผ้ากลายเป็นอาชีพที่สร้างชื่อเสียงให้กับชุมชน และทวีความสำคัญเมื่อ มร.จิม ทอมป์สัน ได้มีการติดต่อซื้อผ้าไหมบ้านครัวไปขายยังอเมริกา ซึ่งสร้างชื่อเสียงให้กับผ้าไหมของชุมชนบ้านครัวในระดับโลก แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์การหายตัวไปของ มร.จิม ทอมป์สัน ทำให้กิจการผ้าไหมครัวเรือนนั้นซบเซาลง
ชุมชนบ้านครัวตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานครมีสะพานลอย และถนนตัดผ่านทำให้เกิดการแบ่งชุมชนออกเป็นสองส่วน โดยชุมชนบ้านครัวเหนือ บ้านครัวตะวันตก อยู่ในเขตราชเทวี ส่วนบ้านครัวใต้อยู่ในเขตปทุมวัน โดยชุมชนตั้งอยู่ริมฝั่งครองแสนแสบ
การคมนาคม พื้นที่ชุมชนบ้านครัวนั้นอดีตจะสัญจรทางน้ำเป็นหลัก ต่อมามีการพัฒนาเส้นทางคมนาคมทางบกมีการตัดถนนทำให้การเดินทางสะดวกมากขึ้น โดยการสัญจรทางน้ำมีท่าเรือด่วนสะพานเจริญผล ส่วนการสัญจรทางบกมีสะพานเฉลิมล้า ทั้งนี้การคมนาคมทางบกสามารถใช้ถนนเส้นหลัก 4 สายได้แก่ ถนนเพรชบุรี ถนนพระราม1 ถนนพญาไท ถนนบรรทัดทอง การขนส่งสาธารณะสามารถเดินทางผ่านรถไฟฟ้าสถานีบรรรทัดทอง และสถานีราชเทวีหากนำรถยนต์เข้ามาจะต้องเข้าไปจอดพื้นที่ส่วนกลางของชุมชนและเดินเท้าเข้าสู่ชุมชน เนื่องจากชุมชนมีพื้นที่ถนนภายในขนาดเล็กที่ไม่สามารถเข้ามาจอดรถยนต์ภายในได้
จากข้อมูลในปี พ.ศ. 2565 ชุมชนบ้านครัว ประกอบไปด้วย ชุมชนบ้านครัวเหนือ บ้านครัวใต้ บ้านครัวตะวันตก มีจำนวนครัวเรือน 1376 ครัวเรือน
กลุ่มประชากรในชุมชนบ้านครัวนั้นเป็น กลุ่มชาติพันธุ์ ไทย-มุสลิมเชื้อสายจาม เป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดิมอยู่ที่อาณาจักรจามปา และนับถือศาสนาอิสลาม มีการอพยพเข้ามาอยู่ในพื้นที่เวียดนามใต้ กัมพูชา (เขมรในขณะนั้น) และถูกกวาดต้อนเข้ามายังไทยเมื่อช่วงสงคราม ซึ่งชาวไทยจะเรียกชาวไทย-มุสลิมเชื้อสายจามว่า แขกจาม
เวียดนามชาวบ้านชาวบ้านครัวนั้นเป็นชาวไทยมุสลิมทำให้มีรูปแบบของวิถีชีวิตและวันสำคัญเช่นเดียวกับชาวมุสลิมพื้นที่อื่นๆ เช่น ขบวนแห่นิกะฮ์ หรือการแต่งงาน และญะนาซะห์หรือการละหมาดให้แก่ผู้เสียชีวิต เป็นต้น
ทุนทางวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาในท้องถิ่น
1. มัสยิดยามีอุลค็อยรียะห์ (สุเหล่ากองอาสาจาม) สันนิษฐานว่าเป็นมัสยิดแห่งแรกของชุมชนบ้านครัวที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 โดยมีปรากฏอยู่ในจดหมายหลวงอุดมสมบัติ ในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยถูกเรียกว่า สุเหร่าคลองนางหงส์ ในปี พ.ศ. 2500 มีการรื้อมัสยิดเดิม และสร้างมัสยิดขึ้นใหม่เพื่อรองรับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นแทนมัสยิดหลังเก่าที่เริ่มทรุดโทรม ในพื้นที่ของมัสยิดมีสุสานที่ถือว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานครชั้นใน เป็นศาสนสถานที่สำคัญของชาวบ้านครัว
2. อาหาร อาหารพื้นถิ่นของชาวบ้านครัวนั้นเป็นอาหารอิสลาม ที่มีชื่อคล้ายกับอาหารทางเขมรเนื่องจากบรรพบุรุษนั้นเป็นชาวจามที่นับถือสาสนาอิสลาม และอยู่อาศัยอยู่ที่เขมร โดยอาหารท้องถิ่นของชุมชนบ้านครัวที่โดดเด่น คือ บอบอญวณ เป็นข้าวต้มที่มีการนำเนื้อปลา เครื่องสมุนไพรมาโขรกรวมกัน และใส่กะทิเพื่อเพิ่มความหวานที่เกิดจากกะทิเล็กน้อย
3. ขนมหวานที่นิยมในอดีต คือ บาบอสะแด๊ด มีลักษณะคล้ายกับขนมเต้าส่วน เป็นขนมหวานที่มีการใช้ธัญพืชที่มีในครัวเรือนมาต้ม และราดด้วยน้ำกะทิที่เคี่ยวน้ำตาล โดยปัจจุบันไม่ค่อยมีการทำเนื่องจากมีวัตถุดิบหลายอย่าง และกรรมวิธีที่ยุ่งยาก
4. การทอผ้าไหม ผ้าไหมบ้านครัวนั้นเป็นสินค้าที่สร้างชื่อเสียงให้กับชุมชนเป็นอย่างมากโดยจะเรียกว่า ผ้าไหมบ้านครัว การทอผ้าของชุมชนบ้านครัวนั้นรับจากบรรพบุรุษ เดิมทีมีการทอเพียง ผ้าขาวม้า ผ้าโสร่ง ใช้กันเอง และจำหน่ายด้วยคุณภาพ และฝีมือการทอนั้นทำให้การทอผ้ากลายเป็นอาชีพที่สร้างชื่อเสียงให้กับชุมชน และทวีความสำคัญเมื่อ มร.จิม ทอมป์สัน ได้มีการติดต่อซื้อผ้าไหมบ้านครัวไปขายยังอเมริกา ซึ่งสร้างชื่อเสียงให้กับผ้าไหมของชุมชนบ้านครัวในระดับโลก แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์การหายตัวไปของ มร.จิม ทอมป์สัน ทำให้กิจการผ้าไหมครัวเรือนนั้นซบเซาลง
บรรพบุรุษชาวบ้านครัวนั้นเป็นชาวจามที่อาศัยอยู่ในเขมร ภาษาที่ใช้กันจึงมีการใช้ภาษาเขมรในการติดต่อสื่อสารเมื่อเข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทยมีการใช้ภาษาไทยมากขึ้นจนกลายเป็นภาษาหลักที่ทำให้ชุมชนในปัจจุบันนั้นมีการใช้ภาษาไทย ส่วนภาษาเขมรนั้นหลงเหลือเพียงกลุ่มผู้สูงอายุที่ยังพอพูดได้ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก และชาวบ้านชุมชนบ้านครัวนั้นยังมีการศึกษาภาษาอาหรับสำหรับศาสนา เช่น การอ่านพระคัมภีร์อัลกุรอ่าน
ความเปลี่ยนแปลงต่อการเคลื่อนย้ายประชากร ชุมชนบ้านครัวเป็นชุมชนที่เกิดอัคคีภัยหลายครั้งและเป็นชุมชนที่ค่อนข้างแออัดทำให้ประชากรในชุมชนเริ่มมีการย้ายออกไปอยู่อาศัยในพื้นที่อื่นมากขึ้น และมีกลุ่มคนนอกพื้นที่เข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้น
เนื่องจากการพัฒนาทำให้กลุ่มเยาวชนได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น มีการประกอบอาชีพอื่นภายนอกทำให้ขาดแคลนผู้ที่จะสานต่อการทอผ้าไหม เนื่องจากปัจจัยหลาย ๆ อย่างทำให้ผู้ที่ทอผ้าไหมได้นั้นลดจำนวนลง และเสี่ยงต่อการที่วัฒนธรรมการทอผ้าไหมจะสูญหาย
ชลธิรา สัตยาวัฒนา และเรืองศักดิ์ ดำริห์เลิศ. (2545). สิทธิชุมชนท้องถิ่น จากจารีตประเพณีสู่สถานการณ์ปัจจุบัน : การศึกษาเพื่อแสวงหาแนวทางนโยบายสิทธิชุมชนท้องถิ่นในประเทศไทย. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยรังสิต.
นลินดา สุวรรณประสพ (2559). ชุมชนดั้งเดิมกับการพัฒนาเมือง: กรณีศึกษาชุมชนบ้านครัว เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์การศึกษาผังเมืองบัณฑิต สาขาการผังเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปริศนา เพชระบูรณิน. (2560). ศึกษาแนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูวิถีชีวิต วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการใช้ ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 23(1), 66-68.
วิภาวี อนุพันธ์พิศิษฐ์. (2555). โครงการอนุรักษ์มรดกทางด้านสถาปัตยกรรมและการปรับปรุงภูมิทัศน์ของชุมชนในพื้นที่ริมคลองแสนแสบ: กรณีศึกษาชุมชนบ้านครัว. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 14(1), 49-53.
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). (ม.ป.ป.). กลุ่มชาติพันธุ์ ชาว ไทยมุสลิม. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2566, จาก https://www.sac.or.th/databases/ethnic-groups/ethnicGroups/161.
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). (ม.ป.ป.). มัสยิดยามีอุลค็อยรียะห์ กรุงเทพมหานคร. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2566, จาก https://communityarchive.sac.or.th/community/MasjidJamiUlKhoyRiyah.
เสาวภา พรสิริพงษ์, พรทิพย์ อุศุภรัตน์ และดวงพร คำนูณรัตน์. (2532). การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับชุมชนบ้านครัวเหนือ (บ้านแขกครัว) กรณีศึกษาสภาพเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม. (รายงานวิจัย). ม.ป.ท.: ม.ป.พ.