Advance search

ชุมชนท่าเสาเป็นชุมชนที่ยังคงอนุรักษ์บ้านเรือนไม้โบราณไว้ และมีวัดใหญ่ท่าเสาที่เป็นสถาปัตยกรรมที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา

ท่าเสา
เมืองอุตรดิตถ์
อุตรดิตถ์
ละอองทิพย์ ทรัพย์ศิริ
28 มี.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
15 เม.ย. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
30 เม.ย. 2023
ท่าเสา


ชุมชนชนบท

ชุมชนท่าเสาเป็นชุมชนที่ยังคงอนุรักษ์บ้านเรือนไม้โบราณไว้ และมีวัดใหญ่ท่าเสาที่เป็นสถาปัตยกรรมที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา

ท่าเสา
เมืองอุตรดิตถ์
อุตรดิตถ์
53000
17.6459553213
100.1195438
เทศบาลตำบลท่าเสา

ชุมชนท่าเสาตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยจังหวัดอุตรดิตถ์ มีเมืองโบราณสำคัญที่ร่วมสมัยสุโขทัย คือ เมืองทุ่งยั้ง ต่อมาในสมัยยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 1893 ปรากฎว่ามีเมืองขึ้นถึง 16 เมืองด้วยกัน ในจำนวน 16 เมืองนี้ มีเมืองพิชัยที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ในปัจจุบันด้วย ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสร็จถึงเมืองทุ่งยั้ง และเมืองสวางคบุรี เพื่อนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ และพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ก่อนที่พระสังฆราช “เรือน” ไปครองเมืองสวางคบุรีปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือตั้งเมืองพิษณุโลกจนถึงอำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช ก็มีความเกี่ยวพันกับเมืองพิชัยอย่างแน่นแฟ้น โดยใช้เป็นที่พักทุกครั้งที่กรีฑาทัพผ่านมา และใช้เป็นรวบรวมทัพก่อนขึ้นตีเมืองฝ่ายเหนือ

นอกจากนี้พื้นที่อุตรดิตถ์ยังเป็นศูนย์กลางในการขนถ่ายสินค้าขึ้นไปทางเหนือโดยใช้แม่น้ำน่านเป็นหลัก

เรือสินค้าซึ่งมาจากกรุงศรีอยุธยาจะมาขนถ่ายสินค้าส่งขึ้นไปทางเหนือที่อุตรดิตถ์ ในช่วงฤดูน้ำหลาก เดือนมิถุนายนถึงเดือนมกราคม แต่ถ้าเป็นฤดูแล้งก็จะใช้เรือขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่ที่ปากน้ำโพ (นครสวรรค์) เนื่องด้วยเส้นทางนั้น ไม่มีเกาะแก่งมากนักและน้ำไม่ไหลเชี่ยว

ปัจจุบันชุมชนท่าเสาเป็นชุมชนเกษตรกรรม ชุมชนริมน้ำ และชุมชนโดยรอบทางรถไฟ เป็นชุมชนที่ทอดตัวขนานทางรถไฟในทิศตะวันออกและทิศตะวันตก และขนานกับแม่น้ำน่านทางทิศเหนือ โดยเจริญขึ้นมาจากการเป็นชุมชนทางการค้าขายระหว่างพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางในอดีต จากลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่มีเส้นทางคมนาคมได้หลากหลายเช่นนี้ ทำให้ชุมชนท่าเสาเกิดเป็นเมืองที่เจริญเติบโตขึ้นตามลำดับกายภาพสำคัญ ชุมชนท่าเสาประกอบด้วยกลุ่มอาคารแถวไม้สูงสองชั้นที่มีความหนาแน่น ขนาบด้วยแม่น้ำน่านและทางรถไฟ โดยเกิดเป็นชุดห้องแถวขนานตลอดเส้นถนนที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำกับทางรถไฟ เป็นย่านการค้าที่สำคัญระดับตำบล เป็นศูนย์กลางการบริการและการให้บริการสินค้าหลากหลายชนิด เช่น ตลาดสด ร้านค้าปลีก เป็นต้น

ชุมชนบ้านท่าเสาห่างจากว่าที่การอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ และศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ทางทิศเหนือ ประมาณ 1 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร การเดินทางรถไฟ 485 กิโลเมตร และารเดินทางทางรถยนต์ 491 กิโลเมตร ซึ่งชุมชนท่าเสามีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

  • ทิศเหนือ      ติดต่อกับ  เทศบาลตำบลน้ำริด อำเภอเมืองอุตรดิตถ์
  • ทิศใต้         ติดต่อกับ  เทศบาลตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์
  • ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ  เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์
  • ทิศตะวันตก   ติดต่อกับ  องค์การบริหารส่วนตำบลชัยจุมพล อำเภอลับแล

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ชาวบ้านชุมชนท่าเสาส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการทำนา ทำสวนผลไม้และมีรายได้หลักจากการประกอบอาชีพการเกษตร และการค้าขายในแหล่งชุมชนเมือง พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ คือ ลางสาด มีการปลูกเป็นจำนวนมาก พืชไร่ที่เป็นพืชเศรษฐกิจคือ ข้าว อ้อย ข้าวโพด ถั่วต่าง  และยาสูบ เป็นต้น มีพื้นที่ปลูกอ้อยและมีโรงงานน้ำตาลถึง 1 แห่ง มีโรงงานผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋อง โรงงานผลิตเส้นหมี่ โรงงานผลิตดินขาว โรงงานถลุงแร่ขนาดเล็ก เป็นต้น มีการทำอุตสาหกรรมในครัวเรือนหลายอย่าง เช่น การทำไมเกวาดตองกง   การทอผ้า การจักสานเครื่องใช้ไม้ไผ่ การทำเครื่องปั้นดินเผา การตีเหล็กทำเครื่องใช้ทางการเกษตร เป็นต้น

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนทางวัฒนธรรม

วัดใหญ่ท่าเสา วัดใหญ่ท่าเสาเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คนในชุมชน ถูกสร้างขึ้นพร้อมกับชุมชนท่าเสาเมื่อราวสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเป็นอย่างน้อย มีโบราณสถานและปูชนียวัตถุมากมาย ปัจจุบันวัดใหญ่ท่าเสาได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 114 ลงวันที่ 29 กันยายน ปี พ.ศ. 2540 มีพื้นที่ได้รับประกาศเป็นโบราณสถานประมาณ 2 ไร่ 3 งาน 51 ตารางวา

พิพิธภัณฑ์วัดใหญ่ท่าเสา ภายในจัดแสดงโบราณวัตถุที่พบในบริเวณวัดใหญ่ท่าเสา ซึ่งมีโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ ได้แก่ ยานไม้แกะสลัก พระแผงตู้และหีบพระธรรม นอกจากนี้ภายในพิพิธภัณฑ์ยังมีพระพุทธรูปไม้แกะสลักจำนวนมากเนื่องจากการสร้างพระพุทธไม้หรือพระเจ้าไม้ เป็นวัฒนธรรมที่นิยมของชาวล้านนาและล้านช้าง จึงทำให้วัดใหญ่ท่าเสามีพระพุทธรูปไม้กะสลักศิลปะฝีมือช่างท้องถิ่นเป็นจำนวนมาก

โบราณวัตถุที่สำคัญภายในชุมชนท่าเสา  

พระยานมาศ หมายถึง พระราชยานคานหามสำหรับพระมหากษัตริย์ มีลักษณะเป็นพระแท่นราชบัลลังก์ทรงสูงหรือ พระแท่นราชบัลลังก์ทรงราบ ปิดทองทั้งองค์ ประกอบกับคานหาม ใช้หามหรือหิ้วถวายเป็นพระที่นั่งราชยานในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทางบก สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาในรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ที่ทิศถวายบูชาพระมหาธาตุเมืองฝาง และอาจใช้เป็นยานมาศ ประจำตัวพระสังฆราชเมืองสวางคบุรี (เมืองฝาง) เพราะที่มาของยานมาศ สันนิษฐานว่านำมาจากวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ ในราวสมัยรัชกาลที่ 4 โดยหลวงพ่อเย็กอดีตเจ้าอาวาสวัดใหญ่ท่าเสาซึ่งได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสวางคบุรี

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

การเปลี่ยนแปลงผังเมืองรวมเมืองอุตรดิตถ์

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง .. 2518 และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง ..2518 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการผังเมือง (ฉบับที่ 3) .. 2535 อันเป็นกฎหมายที่มีบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 41 มาตรา 42 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าด้วยกระทรงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

1. กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับได้มีกำหนดห้าปี

2. ให้ใช้บังคับผังเมืองรวมในท้องที่ตำบลท่าเสา ตำบลท่าอิฐ ตำบลป่าเซา และตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์จังหวัดอุตรดิตถ์ ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวงนี้

3. การวางและจัดทำผังเมืองรวมตามกฎกระทรวงนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อมในบริเวณแนวเขตตามข้อที่ 2 ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาและสังคมแห่งชาติ

4. ผังเมืองรวมตามกฎกระทรวงนี้ มีนโยบายและมาตรการเพื่อจัดระบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงข่ายคมนาคมขนส่งและบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับและสอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจ

5. การใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตผังเมืองรวม ให้เป็นไปตามแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภท แผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง และรายการประกอบแผนผังท้ายกฎกระทรวงนี้ เป็นต้น

การเปลี่ยนแปลงด้านการประกอบอาชีพ

ภายหลังช่วงปี พ.. 2554 พบว่าลักษณะการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่เกิดขึ้นในตำบลท่าเสา คือ ประเด็นการเปลี่ยนแปลงในด้านการประกอบอาชีพจากที่เคยเน้นเพียงการเกษตร ได้ปรับตัวเข้าสู่ภาคแรงงานรับจ้างเพิ่มมากขึ้น ที่ดินเริ่มเข้าสู่ระบบตลาดมากขึ้น มีการซื้อขายเปลี่ยนมืออย่างเข้มข้น การใช้ประเทศในที่ดินเริ่มเปลี่ยนจากพื้นที่ทางการเกษตรเป็นหมู่บ้านจัดสรรและอาคารพาณิชย์มากขึ้น


การเปลี่ยนแปลงจากการสร้างเขื่อนสิริกิติ์

การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญภายในชุมชนบ้านท่าเสา ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ คือการเกิดขึ้นของการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ประมาณปี .. 2505 - 2521 ซึ่งเป็นเขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ก่อสร้างขึ้นตามโครงการพัฒนาลุ่มน้ำน่าน เดิมชื่อ “เขื่อผาซ่อม” ต่อมาได้รับพระบรมราชานุญาติให้เชิญพระนามาภิไธย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ขนานนามว่า “เขื่อนสิริกิติ์” สูง 113.60 เมตร สันเขื่อนยาว 800 เมตร เก็บน้ำได้ 10,500 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อบรรเทาอุทกภัยในลุ่มแม่น้ำน่านและร่วมกับเขื่อนภูมิพล บรรเทาอุทกภัยในทุ่งเจ้าพระยา

ประโยชน์ของเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีประโยชน์หลายด้านดังนี้

  • ด้านการชลประทาน น้ำจากอ่างเก็บน้ำจะถูกปล่อยออกไปยังพื้นที่เพาะปลูกในทุ่งราบสองฝั่งแม่น้ำน่านกับพื้นที่ทุ่งเจ้าพระยา ทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง ในปริมาณที่ได้มีการตกลงร่วมกันไว้กับกรมชลประทาน
  • ด้านการบรรเทาอุทกภัย อ่างเก็บน้ำจะช่วยเก็บกักน้ำที่อาจไหลบ่าลงมา ช่วยลดการเกิดอุทกภัยในบริเวณทุ่งราบสองฝั่งแม่น้ำน่าน ตลอดจนทุ่งเจ้าพระยาลงมาถึงกรุงเทพมหานคร
  • ด้านการผลิตกระแสไฟฟ้า น้ำที่ปล่อยออกไปเพื่อการชลประทาน จะผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทั้ง 4 เครื่อง ให้พลังงานไฟฟ้า 500,000 กิโลวัตต์ ช่วยเสริมระบบไฟฟ้าของประเทศให้มั่งคงยิ่งขึ้น
  • การคมนาคมทางน้ำ ช่วยให้การคมนาคมทางน้ำบริเวณเหนือเขื่อนสิริกิติ์ไปยังจังหวัดน่านสะดวก และใช้งานได้ตลอดปี
  • ด้านการท่องเที่ยว เขื่อนสิริกิติ์มีทิวทัศน์ที่สวยงาม โดยเฉพาะในฤดูหนาวความเงียบสงบของบรรยากาศประกอบพืชพันธุ์ไม้สวยงามสะพรั่ง เป็นเสน่ห์ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวให้ไปเยือนไม่ขาดสาย

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งประเทศไทย. (...). วัดใหญ่ท่าเสา. (ออนไลน์)สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2566. เข้าถึงได้จาก: https://thailandtourismdirectory.go.th/th/attraction/4596

นิติ วงศมาลา. (...). หอไตรวัดใหญ่ท่าเสา ศาสนาสถานที่ถูกลืม. (ออนไลน์)สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2566. เข้าถึงได้จาก: https://www.museumthailand.com/th/4028/storytelling/หอไตรวัดใหญ่ท่าเสา/

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2562). การจัดการความรู้บ้านพอเพียงชนบทตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. (ออนไลน์)สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2566. เข้าถึงได้จาก: https://web.codi.or.th/20190630-6302/ailandtourismdirectory.go.th/th/attraction/4596

สายชล เทียนงาม และคณะ. (2561). การศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาชุมชนบ้านท่าเสา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 10(1). 120-130.