ป่าสวยน้ำใส สมุนไพรขึ้นชื่อ เรื่องลือข่าวเศรษฐกิจ วิถีชีวิตจักรสาน สมานสามัคคี มีน้ำใจพัฒนา
ป่าสวยน้ำใส สมุนไพรขึ้นชื่อ เรื่องลือข่าวเศรษฐกิจ วิถีชีวิตจักรสาน สมานสามัคคี มีน้ำใจพัฒนา
ชุมชนบ้านหัวทุ่งตั้งอยู่ที่ ม.14 ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เป็นชุมชนซึ่งอยู่เชิงเขาของดอยหลวงเชียงดาวห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 85 กิโลเมตร ใกล้กับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยหลวงเชียงดาว ด้านหลังของหมู่บ้านสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์อันสวยงามของดอยหลวงเชียงดาว มีประชากรอาศัยอยู่ด้วยกัน 150 หลังคาเรือน 454 คน นอกจากความหลากหลายของชาติพันธุ์แล้ว ความหลากหลายของพืชพรรณก็ยังมีโดดเด่นควบคู่ไปกับวิถีชีวิตพื้นถิ่นด้วย ดังคำขวัญของชุมชนบ้านหัวทุ่งที่ว่า “ป่าสวยน้ำใส สมุนไพรขึ้นชื่อ เรื่องลือข่าวเศรษฐกิจ วิถีชีวิตจักรสาน สมานสามัคคี มีน้ำใจพัฒนา”
ชุมชนบ้านหัวทุ่ง มีความโดดเด่นด้านธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์ ตั้งอยู่ระหว่างแนวต่อเขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาว ซึ่งเป็นเขตต้นน้ำห้วยแม่ลุและห้วยละครที่ไหลลงสู่ลำน้ำปิง ทิศตะวันตกมีชายขอบของผืนป่าใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านยังคงวิถีชีวิตที่ใกล้ชิดธรรมชาติ ที่นี่จึงเป็นชุมชนต้นแบบที่โดดเด่นในด้านการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การอนุรักษ์ป่าชุมชน การบริหารจัดการและการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน ภายใต้กฎกติกาที่สมาชิกในชุมชนจัดทำร่วมกัน มีการใช้ภูมิปัญญา วัฒนธรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งชุมชน เช่น กิจกรรมบวชป่า พิธีเลี้ยงผีขุนน้ำหรือต้นน้ำ การทำการเกษตรแบบไม่เผา การนำแก๊สชีวภาพจากขี้หมูมาใช้ในครัวเรือนเพื่อลดการใช้ฟืนในการหุงต้ม
ชุมชนบ้านหัวทุ่งเคยประสบปัญหาการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชุม ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลเริ่มต้นขึ้นที่การประกาศสัมปทานป่าไม้ ทำให้เกิดการบุกรุกทำลายป่า จากป่าเปลี่ยนเป็นนาไร่ ชาวบ้านหันมาทำไร่ข้าวโพด ทำไร่เลื่อนลอยกันหมด ป่าหมดสภาพ ไม้สัก ไม้แดง ไม้เต็งรัง ไม้เนื้อแข็งถูกตัดทำลาย บริษัทสัมปทานเอารถมาลากไม้ออกไป ทำให้ต้นไม้ใหญ่เริ่มหมด นอกจากไม้จะหมด บริเวณต้นน้ำที่เคยชุ่มชื้นก็แห้งผาก เมื่อต้นน้ำแห้งผาก ก็ส่งผลทำให้บริเวณปลายน้ำก็แย่ไปด้วย เมื่อไม่มีน้ำในการทำกิน การเกษตรก็ย่ำแย่ตาม
กว่า 3 ปี ที่ชาวบ้านหันมาทำไร่เลื่อนลอย ผลจากการตัดไม้ทำลายป่าก็เริ่มเห็นเด่นชัดขึ้น น้ำกินน้ำใช้ที่เคยมีอย่างอุดมสมบูรณ์ก็เริ่มแห้งขอด น้ำที่จะเอามาทำไร่ทำสวนตามฤดูกาลก็เริ่มแห้งหาย หมดสภาพ ตอนนั้นเอง พ่อหลวงจูได้มีการประกาศให้ชาวบ้านเข้าร่วมประชุม หารือเรื่องการใช้น้ำ เพราะพบว่าน้ำจากต้นน้ำมีให้ชาวบ้านใช้ประโยชน์ไม่ได้กี่หลังคาเรือน ส่งผลทำให้เกิดความเดือดร้อนกันหลายบ้านจนในปัจจุบันได้รับการแก้ไข จึงทำให้ชุมชนบ้านหัวทุ่ง มีความโดดเด่นด้านธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์
ชุมชนตั้งอยู่ระหว่างแนวต่อเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาว ซึ่งเป็นเขตต้นน้ำห้วยแม่ลุและห้วยละครที่ไหลลงสู่ลำน้ำปิง ทิศตะวันตกมีชายขอบของผืนป่าใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านยังคงวิถีชีวิตที่ใกล้ชิดธรรมชาติ ที่นี่จึงเป็นชุมชนต้นแบบที่โดดเด่นในด้านการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การอนุรักษ์ป่าชุมชน การบริหารจัดการและการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน ภายใต้กฎกติกาที่สมาชิกในชุมชนจัดทำร่วมกัน มีการใช้ภูมิปัญญา วัฒนธรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งชุมชน เช่น กิจกรรมบวชป่า พิธีเลี้ยงผีขุนน้ำหรือต้นน้ำ การทำการเกษตรแบบไม่เผา การนำแก๊สชีวภาพจากขี้หมูมาใช้ในครัวเรือนเพื่อลดการใช้ฟืนในการหุงต้ม
พ่อหลวงสุขเกษม สิงห์คำ ผู้ใหญ่บ้านหัวทุ่ง กล่าวว่า ป่าไผ่เกิดขึ้นในสมัยพ่อหลวงติ๊บ ศรีบุญยัง ซึ่งได้ไปขอพื้นที่ของ นพค.(หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่) 32 กรป.กลาง (กองอำนวยการกลาง รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ) ที่เคยได้ใช้เป็นที่เลี้ยงวัวแล้วปล่อยให้รกร้างมาสร้างป่าชุมชน ในขณะเดียวกันด้วยความที่ชาวบ้านในแต่ละครอบครัวส่วนใหญ่มีการสานก๋วย ซึ่งต้องมีการตัดไผ่กันทุกๆ วัน จึงมีความคิดที่จะขยายพื้นที่ปลูกป่าทดแทนโดยขอพื้นที่เพิ่มจาก นพค. อีก 42 ไร่ ทำให้ชาวบ้านหัวทุ่งได้รับประโยชน์จากการตัดไผ่มาสานก๋วย สร้างรายได้ให้ครอบครัว โดยหมุนเวียนทรัพยากรทางธรรมชาติอย่างเป็นระบบ ระบบการจัดการภายในที่ยั่งยืนยังส่งผลถึงการนำศักยภาพดังกล่าวมาต่อยอดเป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ซึ่งหากพูดกันในฐานะเชิงเศรษฐกิจร่วมสมัย
ชุมชนอยู่เชิงเขาของดอยหลวงเชียงดาว อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 85 กิโลเมตร ใกล้กับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยหลวงเชียงดาว ด้านหลังของหมู่บ้านจะสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์อันสวยงามของดอยหลวงเชียงดาว และยังเป็นเขตต้นน้ำห้วยแม่ลุ และห้วยละครที่ไหลลงสู่แม่น้ำปิง
มีประชากรอาศัยอยู่ด้วยกัน 150 หลังคาเรือน 454 คน มีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งชาวลัวะ ไทลื้อ และคนยอง
ยอง, ไทลื้อ, ลัวะ (ละเวือะ)อาชีพหลักของชาวไทลื้อ คือ การกสิกรรมเป็นพื้นฐาน ได้แก่ การทำนาและปลูกพืชผักต่าง ๆ ส่วนการเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพรอง ได้แก่ วัว ควาย ส่วนใหญ่เลี้ยงไว้ใช้งานและขายเป็นรายได้เสริมแก่ครอบครัว ส่วนหมู เป็ด ไก่ เลี้ยงไว้สำหรับประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเป็นอาหารในคราวออกแรงงานร่วมกัน ไทลื้อเป็นคนขยันทำมาหากิน ดังนั้นจึงมีฐานะทางเศรษฐกิจอีกว่าชนเผ่าอื่น ๆ ในปัจจุบันชาวไทลื้อบางส่วนได้หันมาประกอบการค้าขาย เช่น ที่เมืองสิงจะสังเกตเห็นว่าเด็กผู้หญิงอายุ 12-13 ปี ก็จะเริ่มค้าขายเล็กน้อย ๆ ในท้องถิ่น ส่วนผู้ใหญ่บางคนจะไปค้าขายต่างเมือง เช่น ซื้อสินค้าจากจีนไปขายหลวงน้ำทา อุดมไซ หลวงพระบาง หรือซื้อสินค้าไทยไปขายในท้องถิ่น และบางส่วนเข้าไปในจีนแถบเมืองมางและเมืองล่า สินค้าท้องถิ่นที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว กระเทียม หอม ยาสูบ ถั่วโอ (ถั่วหมักคล้ายเต้าเจี้ยว) และพืชผักต่าง ๆ
นอกจากการทำเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก ยังมีการสานก๋วยเป็นอาชีพเสริม โดยใช้ไผ่ของหมู่บ้านที่ช่วยกันปลูกไว้ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2542 การ "สานก๋วย" อันเป็นผลผลิตต่อเนื่องของ "ป่าไผ่เศรษฐกิจ" เพราะธรรมชาติเป็นต้นทุนสำคัญของหมู่บ้าน นอกจากป่าชุมชนแล้ว ที่นี่ยังมี "ไผ่เศรษฐกิจ" ที่ชาวบ้านจำนวน 94 ครอบครัวได้ช่วยกันปลูก ในพื้นที่ 42 ไร่ ของหน่วยทหารพัฒนาการพื้นที่ 32 เดิมพื้นที่ตรงนี้ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร ชาวบ้านจึงเข้าไปขอเพื่อปลูกป่า "ไผ่บงกาย" ที่เป็นไผ่พื้นเมืองและไผ่เอนกประสงค์ หน่อกินได้รสชาติอร่อย เนื้อไม้แกร่ง เหนียว ใช้ทำเครื่องจักสานได้ดี นอกจากนั้นยังมีการตั้งกลุ่มสมุนไพร การปลูกป่าไผ่เศรษฐกิจ การสานก๋วย ชุมชนปลอดขยะ ชุมชนปลอดจากการเผา กิจกรรมสร้างสรรค์เหล่านี้ ทำให้ชุมชนบ้านหัวทุ่ง กลายมาเป็น แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ลูกประคบของชุมชนบ้านหัวทุ่งเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ใช้สมุนไพรจากป่าชุมชนทั้งหมดนำมาผลิตเป็นลูกประคบและสมุนไพรแช่เท้าเพื่อลดอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
ทุนทางกายภาพ
ทุนกายภาพที่สำคัญของชุมชนบ้านหัวทุ่งคือ การที่ทุกพื้นที่ในชุมชนสามารถมองเห็นดอยหลวงเชียงดาวและดอยนาง ได้อย่างชัดเจนสวยงาม แต่จุดแข็งที่สำคัญกว่าคือการมีส่วนร่วมในการจัดการร่วมกันของคนในชุมชน ทำให้ชุมชนนี้เข้มแข็งและเป็นชุมชนต้นแบบ
ทุนทางวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญา
วัฒนธรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งชุมชน เช่น กิจกรรมบวชป่า พิธีเลี้ยงผีขุนน้ำหรือต้นน้ำ การทำการเกษตรแบบไม่เผา การนำแก๊สชีวภาพจากขี้หมูมาใช้ในครัวเรือนเพื่อลดการใช้ฟืนในการหุงต้ม ในช่วงเดือนเก้าทางเหนือ คือ ช่วงประมาณเดือนมิถุนายนของทุกปี ชาวบ้านจะทำการเก็บรวบรวมเงินเพื่อนำไปเลี้ยงผี โดยในการเลี้ยงผีจะเลี้ยงด้วยหมู ไก่ และเหล้า มีการเก็บเงินไปเลี้ยงผีปีละครั้ง เดือนเก้าเหนือ มิถุนายน ในการเลี้ยงหมู เหล้า ไก่ พิธีกรรมนี้ชาวบ้านสืบทอดกันมายาวนาน ซึ่งในการเลี้ยงผีนั้นแต่ละบ้านที่ใช้น้ำร่วมกันจะมารวมกันเลี้ยงผี
ชุมชนได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT-I) โดยการนำเอาโครงการ “การท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชน” เมื่อปี พ.ศ. 2548 ซึ่งเป็นโครงการที่นำจุดเด่นเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและวิถีชีวิตการพึ่งตนเองในชุมชน ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ และแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้ชาวต่างชาติ โดยมีการอบรมให้ความรู้ในการจัดตั้งคณะกรรมการการท่องเที่ยว อบรมชาวบ้านที่สนใจทำที่พักโฮมสเตย์ อีกทั้งวางแผนกิจกรรมการท่องเที่ยวร่วมกัน ชุมชนมีรายได้และสามารถกระจายรายได้ให้กับทุกกลุ่มในชุมชน
มีการเข้าร่วมโครงการ SML โดยเงินสนับสนุนของโรงการนี้ถูกนำไปใช้ในบอลลูนแก๊สเพื่อแปรสภาพขี้หมูให้เป็นแก๊สชีวภาพ ที่ส่งปัญหาเกี่ยวกับกลิ่นขี้หมูจากฟาร์มที่อยู่มาก่อนจะมีหมู่บ้าน เมื่อเกิดการท่องเที่ยวขึ้นปัญหานี้จึงต้องได้รับการจัดการ จนได้ขอความร่วมมือจากสามหน่วยงาน คือ 1.เจ้าของฟาร์มหมู 2.บริษัทอาหารหมู 3.ชุมชน จึงได้พึ่งเงินกองทุนของโครงการ SML และประสบผลสำเร็จ
พิธีบวชป่า เป็นพิธีกรรมทางศาสนาพุทธที่ถูกคิดขึ้นมาเพื่อเป็นกุศโลบายให้ประชาชนรู้จักคุณค่าและความสำคัญของป่าไม้ ผ่านการสร้างความเชื่อที่ว่าผืนป่านั้นมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ปกปักรักษาอยู่ จะเข้ามาบุกรุกทำลายไม่ได้
ขั้นตอนของพิธีบวชป่าจะเริ่มต้นด้วยการให้ชุมชนในพื้นที่สำรวจและกันแนวเขตพื้นที่ป่าสำหรับทำพิธีให้ชัดเจนว่าจะมีพื้นที่ทำพิธีจำนวนกี่ไร่ แล้วจึงค่อยสร้างกฎเกณฑ์และกติกาในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และการจัดตั้งคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ หลังจากนั้นจึงทำการประสานกับทางศาสนาพิธีสงฆ์ รวมถึงจัดหาเครื่องอัฐบริขารเพื่อใช้สำหรับการบวช สุดท้ายในพิธีพระสงฆ์ก็จะสวดมนต์ให้ชาวบ้านและต้นไม้ พร้อมกับนำจีวรมาห่มต้นไม้
การนำจีวรมาห่มต้นไม้ถือเป็นการยกระดับสถานภาพของต้นไม้ให้สูงขึ้น เปรียบได้กับการบวชพระ เมื่อต้นไม้ในพื้นที่ถูกทำพิธีจนครบ พื้นที่ป่าในบริเวณดังกล่าวก็จะกลายเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ทำให้คนไม่กล้าที่จะเข้าไปตัดไม้ทำลายป่าในบริเวณนั้น ซึ่งเป็นผลดีต่อการปล่อยให้ต้นไม้ได้เจริญเติบโตกลายเป็นป่าต่อไป
ศูนย์ประสานงานเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (ม.ป.ป.) ชุมชนบ้านหัวทุ่ง ม.14 ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566, จาก : https://thaicommunitybasedtourismnetwork.wordpress.com/
ธีรภพ แสงศรี. (2558). การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการท่องเที่ยวในชุมชนบ้านหัวทุ่ง ตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. RMUTL Journal of Business Administration and Liberal Arts, 3(1), 28–42.
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร. (2565).พิธีบวชป่า การผสานความเชื่อทางศาสนากับการอนุรักษ์ธรรมชาติ. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566, จาก: https://www.seub.or.th/
วิภากรณ์ ราชฟู. (2554). ไทลื้อ,ไตลื้อ. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566, จาก : http://www.m-culture.in.th/
อรดาวัลย์ ธนาวุฒิ. (2555). บทบาทของผู้นำชุมชนในกระบวนการเรียนรู้การจัดการป่าชุมชนบ้านหัวทุ่ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
COMPASS MAGAZINE. (2556). บ้านหัวทุ่ง ความสุกสกาวจากข้างใน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566, จาก : https://phoenixtourblog.wordpress.com/
TCIJ SCHOOL รุ่น4. (2560). จับตา2โมเดลการท่องเที่ยวเชียงดาว บ้านหัวทุ่ง-บ้านนาเลา. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2566, จาก : https://www.tcijthai.com/