Advance search

ชุมชนที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมและประเพณีของภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้เป็นอย่างดี

ทองหลาง
โคกสีทองหลาง
วาปีปทุม
มหาสารคาม
ปรายฟ้า ตั้งจิตติวัฒนา
27 มี.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
11 เม.ย. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
30 เม.ย. 2023
บ้านทองหลาง


ชุมชนชนบท

ชุมชนที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมและประเพณีของภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้เป็นอย่างดี

ทองหลาง
โคกสีทองหลาง
วาปีปทุม
มหาสารคาม
44120
15.87721
103.3355
เทศบาลตำบลวาปีปทุม

ตำนานการก่อตั้งชุมชน กล่าวว่า ชุมชนบ้านทองหลางเริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2013 โดยมีผู้นำในการก่อตั้ง จำนวน 4 คน ได้แก่ พ่อหอมสมบัติ, พ่อทองหลอด, พ่อหลวง และพ่อขุนศรี เดิมอยู่บ้านผาใหญ่เขตมณฑลร้อยเอ็ด แต่เกิดความแห้งแล้งขาดแคลนน้ำในการทำนา ผู้นำทั้ง 4 คน จึงได้อพยพพาลูกหลาน มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านทองหลาง ตำบลดงใหญ่ ซึ่งปัจจุบันได้แยกตำบลใหม่คือตำบลโคกสีทองหลาง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีน้ำล้อมรอบ  เหมาะสำหรับทำการเกษตรซึ่งถือว่ากลุ่มคนเหล่านี้เป็นคนกลุ่มแรกที่มาก่อตั้งหมู่บ้าน

บ้านทองหลาง ตำบลโคกสีทองหลาง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ตั้งอยู่ริมถนนทางหลวงสายมหาสารคาม-บรบือ-วาปีปทุม มีพื้นที่ตั้งหมู่บ้านทั้งหมด 1,865 ไร่ แยกออกเป็นพื้นที่ต่างๆ ดังนี้ ที่อยู่อาศัย 360 ไร่ ที่ทำการเกษตร 1,440 ไร่ ทำนา 1,340 ไร่ ที่สวน 1 ไร่ และที่สาธารณประโยชน์ 65 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

  • ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับ บ้านหนองงูเหลือม หมู่ที่ 8 ตำบลโคกสีทองหลาง ตำบลโคกสีทองหลาง อำเภอวาปีปทุม  จังหวัดมหาสารคาม
  • ทิศใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับบ้านโคกแปะและบ้านบูรพาพัฒนาหมู่ที่ 6 และ 7 ตำบลโคกสีทองหลาง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
  • ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับบ้านดงใหญ่หมู่ที่ 2 ตำบลดงใหญ่ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
  • ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับบ้านทองหลางหมู่ที่ 1 และ 2 ตำบลโคกสีทองหลาง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม และบ้านหนองขาม ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม

จากการสำรวจรายงานข้อมูลตำบลโคกสีทองหลาง ปี พ.ศ. 2566 พบว่ามีประชากรทั้งหมด 1109 คน แบ่งเป็น 534 ครัวเรือน

มีการจัดตั้งกลุ่มทอผ้าห่มไหมพรมและผ้าฝ้าย โดยเริ่มจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 สถานที่ตั้งกลุ่มอยู่บ้านทองหลาง หมู่ที่ 3 ตำบลโคกสีทองหลาง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม มีสมาชิกก่อตั้ง 27 คน มีคณะกรรมการกลุ่ม 5 คน ทุนก่อตั้งครั้งแรก 20,000 บาท ในปี พ.ศ. 2547 ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ ระดับสองดาว ตามโครงการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย และในปี พ.ศ. 2551 ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ ระดับสามดาว ตามโครงการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปัจจุบันมีสมาชิก 52 คน ทุน  170,000 บาท  และมีคณะกรรมการจำนวน 14 คน

ปฏิทินชุมชน

  • เดือนมกราคม : ทำบุญประเพณีขึ้นปีใหม่
  • เดือนกุมภาพันธ์ : ทำบุญประเพณีบุญข้าวจี่
  • เดือนมีนาคม : ทำบุญประเพณีบุญเผด และบุญมหาชาติ
  • เดือนเมษายน : ทำบุญประเพณีสงกรานต์
  • เดือนพฤษภาคม : ทำบุญประเพณีบุญเบิกบ้าน
  • เดือนมิถุนายน : ทำบุญประเพณีบุญบวชนาค
  • เดือนกรกฎาคม : ทำบุญประเพณีบุญเข้าพรรษา
  • เดือนสิงหาคม : ทำบุญประเพณีบุญข้าวประดับดิน
  • เดือนกันยายน : ทำบุญประเพณีบุญข้าวสาก
  • เดือนตุลาคม : ทำบุญประเพณีบุญออกพรรษา
  • เดือนพฤศจิกายน : ทำบุญประเพณีลอยกระทง
  • เดือนธันวาคม : ทำบุญประเพณีบุญมหากฐิน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนทางวัฒนธรรม

1. ประเพณี ฮีต 12 คอง 14  

ประเพณีของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดย ฮีต 12 หมายถึง ประเพณี 12 เดือนที่เกี่ยวเนื่องกับหลักทางพุทธศาสนา ความเชื่อและการดํารงชีวิตทางเกษตรกรรม ซึ่งชาวอีสานยึดถือปฏิบัติกันมาแต่โบราณ  มีแนวปฏิบัติแตกต่างกันไปในแต่ละเดือนเพื่อให้เกิดสิริมงคลในการดําเนินชีวิต เรียกอย่างท้องถิ่นว่างานบุญ ชาวอีสานให้ความสําคัญกับประเพณีฮีตสิบสองเป็นอย่างมากและยึดถือปฏิบัติมาอย่างสม่ำเสมอนับเป็นเอกลักษณ์ของชาวอีสานอย่างแท้จริง คําว่า “ฮีตสิบสอง”มาจากคําว่า “ฮีต” อันหมายถึงจารีต การปฏิบัติที่สืบต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณี “สิบสอง” คือ ประเพณีที่ปฏิบัติตามเดือนทางจันทรคติทั้งสิบสองเดือน

คอง 14 เป็นบทบัญญัติทางสังคมของชาวอีสานให้เป็นหลักปฏิบัติต่อกันสําหรับคนในสถานภาพต่าง ๆ มาแต่โบราณโดยใช้เป็นคําบอกเล่าขานสืบต่อกันครั้งยังไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร “คองสิบสี่” มักเป็นคํากล่าวควบคู่กับคําว่า ฮีตสิบสอง สันนิษฐานไว้ 2 ความหมาย ว่ามาจากคําว่า คลอง หรือครรลองเป็นคํานามหมายถึง ทางหรือแนวทาง เช่น คลองธรรมหรือมาจากครองซึ่งเป็นคํากิริยามีความหมายถึงการรักษาไว้ เช่น คําว่า ครองเมือง ครองรักครองชีพโดยที่ชาวอีสานไม่นิยมออก เสียงคํากล้า ดังนั้น คองสิบสี่น่าจะมีความหมายถึง แนวทางที่ประชาชนทําไปชาวบ้านหรือสงฆ์พึงปฏิบัติ 14 ของท้องถิ่นบ้านเมือง

2. งานออนซอนกลองยาวชาววาปี

งานที่นำเอาวัฒนธรรมกลองยาวในพื้นที่อำเภอวาปีปทุม จังหวัด มหาสารคาม มาจัดเป็นงานวัฒนธรรมประจำปีที่ แสดงอัตลักษณ์พื้นบ้านของชาวอำเภอวาปีปทุมและ นำไปสู่การอนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรมกลองยาวในพื้นที่ให้คงอยู่ ในช่วงก่อตั้งมีการบรรเลงกลองยาวแบบดั้งเดิม มีเครื่องดนตรีประสมวงน้อยชิ้น คือ กลองยาวและกลองรำมะนา ใช้แสดงเพื่อความรื่นเริง แสดงความสามารถทางดนตรีสืบทอดวัฒนธรรมท้องถิ่น และสร้างความภาคภูมิใจให้เกิดขึ้นกับตนเองและหมู่บ้าน ช่วงรวมตัวมีการปรับเปลี่ยนความมุ่งหมายในการเพิ่มการรับจ้างไปแห่ในขบวน มุ่งประกวดประชันแข่งขันเพื่อสร้างความมีชื่อเสียงเพื่อให้เกิดการว่าจ้างมากขึ้น มีการเพิ่มเครื่องดนตรีเข้ามาประสมวงหลายชนิด เช่น อิเล็กโทน กลองชุด 3 ใบ เบส พิณ ฉิ่ง และฉาบ และเริ่มมีการนำนางรำเข้ามาฟ้อนประกอบ และช่วงพัฒนามีการประยุกต์และพัฒนากลองยาวไปสู่การแข่งขันอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งการแข่งขันในอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม และในจังหวัดต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทินกร น้อยตำแย. (2561). การพัฒนางานออนซอนกลองยาวชาววาปี ของดีพื้นบ้านจังหวัดมหาสารคาม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 37(3),  27-39.

พวัฒน์ พรมแสง. (2559). ประวัติบ้านทองหลาง. (ออนไลน์).  สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2566, จาก : https://www.gotoknow.org/

รายงานข้อมูลตำบลโคกสีทองหลาง (2566) (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2566, จาก : https://3doctor.hss.moph.go.th/