Advance search

เมืองโบราณ ตั้งแต่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในปัจจุบันมีประเพณีวัฒนธรรมที่มีความผสมระหว่างไทย-จีน 

พุทไธสง
พุทไธสง
บุรีรัมย์
ปรายฟ้า ตั้งจิตติวัฒนา
26 มี.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
11 เม.ย. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
30 เม.ย. 2023
พุทไธสง

สันนิษฐานว่า “พุทไธสง” มาจากภาษาเขมรว่า “บันทายสรอง” แปลว่า “กำแพงสูง”


ชุมชนชนบท

เมืองโบราณ ตั้งแต่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในปัจจุบันมีประเพณีวัฒนธรรมที่มีความผสมระหว่างไทย-จีน 

พุทไธสง
พุทไธสง
บุรีรัมย์
31120
15.5447176446
103.000457137
องค์การบริหารส่วนตำบลพุทไธสง

เมืองพุทไธสง  ปรากฏร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ราว 3000 ปีมาแล้ว เรื่อยมาจนถึงสมัยทวารวดี โดยเป็นเมืองโบราณที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ปัจจุบันยังปรากฏร่องรอยซากคูเมืองยังพอมีให้เห็น ทำให้มีการสันนิษฐานว่าคำว่า “พุทไธสง” มาจากภาษาเขมรว่า “บันทายสรอง” แปลว่า “กำแพงสูง” 

เมืองพุทไธสงมีการใช้งานมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมืองพุทไธสงเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช 

ในสมัยกรุงธนบุรีเมืองพุทไธสง ปรากฏความสำคัญโดยเช่นกัน กล่าวคือ พระเจ้าตากสินมหาราช ทรงแต่งตั้งให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ยกทัพไปปราบกรุงศรีสัตนาคนหุต ในปีพ.ศ. 2318 ได้มีการเกณฑ์ชายไทยจากเมืองพุทไธสงและหมู่บ้านรอบๆตัวเมืองไปเป็นไพร่พลในการรบด้วย หลังจากการรบ พระเสานาสงคราม (เพี้ย ศรีปาก) ผู้ซึ่งเป็นเจ้าเมืองพุทไธสงคนแรก และบุคคลสำคัญร่วมรบกับสมเด็จเจ้าพระยามากษัตริย์ศึกต้องสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นใหม่ และมีภารกิจร่วมปกป้องชาติบ้านเมืองอยู่หลายครั้ง เช่น เมื่อ พ.ศ. 2321 เกิดกบฏเจ้าอิน เจ้าโอ ที่เมืองนางรอง และเมืองนครจำปาศักดิ์คิดแข็งเมืองฝักใฝ่ฝ่ายญวน ทางเมืองหลวงได้มีตราสารมายังพระเสนาสงคราม ให้ยกกองกำลังไปปราบกบฏร่วมกับสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก หลวงเวียงพุทไธสงบุตรชาของพระเสนาสงคราม ก็ได้ปฏิบัติภารกิจนี้จนสำเร็จ ผลจากการปฏิบัติภารกิจต่างๆเกิดผลสำเร็จด้วยดี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดเกล้าฯให้พระยาเสนาสงคราม เป็นเจ้าเมืองพุทไธสง คนแรก โดยปกครองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2318-2370  

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้มีการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น เมืองพุทไธสงได้ขึ้นตรงต่อเทศาภิบาลเมืองแปะ หรือบุรีรัมย์ในปัจจุบัน และเมืองแปะขึ้นตรงต่อมณฑลนครราชสีมา พระรังสรรค์สารกิจ (เลื่อน) ข้าหลวงประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ได้สร้างเมืองพุทไธสงขึ้นใหม่ที่บริเวณที่ดินในคูเมืองในเขตเทศบาลตำบลพุทไธสงในปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2442 ต่อมาทางราชการได้แต่งตั้งให้หลวงเจริญทิพยผลเป็นนายอำเภอปกครองพุทไธสงคนแรก โดยขึ้นกับเมืองบุรีรัมย์

นอกจากนี้ในสมัยรัชกาลที่ 5 ยังมีการส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมไว้เพื่อทอเป็นเครื่องนุ่งห่มโดยเฉพาะทางภาคอีสานมีการเลี้ยงไหมมากที่สุด ดังนั้นพระองค์จึงทรงมีพระราชดำริจะบำรุงอุดหนุนการเลี้ยงไหม เพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ โดยมีช่วงเวลาดังต่อไปนี้

ปี พ.ศ. 2444 กระทรวงเกษตราธิการ ซึ่งมีเจ้าพระยาเทเวศวงษ์วิวัฒน์ เป็นเสนาบดีได้จ้างผู้เชี่ยวชาญการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมชาวญี่ปุ่น  โดยมีศาสตราจารย์ โทยามา (Kametaro Toyama) เป็นหัวหน้าคณะเข้าทำการสำรวจ หาลู่ทางในการปรับปรุงในการเลี้ยงไหมของไทย

ปี พ.ศ. 2446 รัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ได้ตั้งกรมช่างไหมขึ้นโดยมีพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าเพ็ญพัฒน์พงษ์ เป็นอธิบดี

ปี พ.ศ. 2447  กรมช่างไหมได้จัดตั้งสาขาขึ้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ เรียกว่ากองช่างไหมบุรีรัมย์

ปี พ.ศ. 2448  กรมช่างไหมได้ส่งเจ้าพนักงานชาวญี่ปุ่นไปสอนการทำสวนหม่อน เลี้ยงไหมและการสาวไหม  ตามวิธีสมัยใหม่แก่ราษฎรในอำเภอพุทไธสง  มณฑลนครราชสีมา และในเดือนพฤษภาคม รศ.127  (พ.ศ.2452) ได้แจกพันธุ์ไหมให้แก่ราษฎรในอำเภอพุทไธสง 110 คน

ปัจจุบันเมืองพุทไธสงเป็นย่านพาณิชยกรรมเก่า ตั้งอยู่บนที่ดอนที่มีชื่อเรียกว่าเนินพุทไธสง บริเวณริมถนนรัตนสุข ถนนอภัยราษฎร์ และสี่แยกถนนพระเลิศ ประกอบด้วยอาคารพาณิชยกรรมลักษณะอาคารไม้ ความสูงอาคาร 2 ชั้น ปัจจุบันอาคารบางส่วนมีความทรุดโทรม ขาดการการดูแลซ่อมแซม เป็นย่านการค้าพาณิชกรรมหลักของเมืองพุทไธสง จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ชุมชนพุทไธสง เป็นชุมชนด่านการค้าที่สำคัญในอดีต ต่อมาได้มีคนไทยเชื้อสายจีนอพยพเข้ามา เริ่มมีการทำการค้าขายที่เป็นสมัยใหม่ เริ่มมีการก่อสร้างอาคารพาณิชกรรมลักษณะตึกดิน และอาคารไม้ สินค้าที่สำคัญในอดีตได้แก่ ข้าว ผ้าไหม และเกลือ ลักษณะสังคมปัจจุบันยังมีประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ที่ผสมกันระหว่างไทย จีน เช่น งานฉลองเจ้าพ่อหลักเมือง มีอาคารพาณิชยกรรมเก่าลักษณะห้องแถว และอาคารเดี่ยวประเภทอาคารไม้ ความสูง 2 ชั้น อายุกว่า 50 ปี ที่มีความโดดเด่นของรูปแบบและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมเฉพาะ เช่น ลูกกรงราวระเบียง ช่องระบายอากาศเหนือบานประตูและหน้าต่าง เป็นต้น

จากการสำรวจข้อมูลของทะเบียนราษฎรพบว่า ในเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2565 ระบุจำนวนบ้านได้ทั้งสิ้น 12,237 หลัง และนับเป็นจำนวนประชากรทั้งสิ้น 5,703 คน แบ่งเป็นหญิง 2,922 คน และแบ่งเป็นชาย 2,781 คน

ชุมชนเก่าพุทไธสง มีบทบาทหลักเป็นเกี่ยวกับการเป็นชุมชนเกษตรกรรมและหัตถกรรม โดยมีสินค้าที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว และผ้าไหม โดยคุณค่าของชุมชนขึ้นอยู่กับโบราณสถาน มีการก่อตั้งเป็นชุมชน และมีการวิวัฒนาการเรื่อยมาเป็นชุมชนต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน มีการจัดระบบนิเวศวัฒนธรรม โดยที่วิถีชีวิตของคนในชุมชนยังคงมีความเกี่ยวข้องกันระหว่างพื้นที่โบราณสถานและพื้นที่ในการทำการเกษตร เช่น การทำนา การทำแปลงผัก และการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
ทุนทางวัฒนธรรม1.วัดหงษ์

วัดหงส์เป็นวัดแห่งหลักของเมืองเป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์และตำนานมาอย่างยาวนานที่สืบสานตำนานเล่าขานกันมาอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับ “องค์พระเจ้าใหญ่” ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัด ซึ่งถูกสร้างมาตั้งแต่ยุคสมัยโบราณที่เมืองยังไม่ได้ถูกก่อตั้ง อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางความเชื่อของชาวบ้าน

2.พระเจ้าใหญ่ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบุรีรัมย์และจังหวัดใกล้เคียง พุทธลักษณะ ปางมารวิชัย วัสดุสัมฤทธิ์ ปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 1.6 เมตร สูง 2 เมตร สร้างด้วยศิลาแลง มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 19-20 ช่างที่สร้างอาจเป็นช่างสกุลลาว ศิลปะล้านช้าง โดยดูจากพระเกศที่มีลักษณะเฉพาะในภาคอีสานและในประเทศลาวเท่านั้น ประดิษฐานอยู่ที่วัดหงษ์ ตำบลมะเฟือง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ มีประวัติเล่าว่าท้าวศรีปาก(นา) ท้าวทาทอง(ยศ) และท้าวเหล็กสะท้อนไกรสรเสนา คนไทยเชื้อสายลาวและบริวารมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตจังหวัดมหา สารคาม มีนิสัยชอบเที่ยวป่าล่าสัตว์ ครั้งหนึ่งได้ยิงนกขนาดใหญ่และสวยงามมากตัวหนึ่งบริเวณสระบัว นกตัวนั้นบินมาตกตรงป่าด้าน ทิศตะวันออกจึงตามหา ได้พบพระพุทธรูปขนาดใหญ่องค์หนึ่ง ด้วยความไม่เคยเห็นพระองค์ใหญ่ขนาดนี้มาก่อน ก็เกิดความปิติดีใจ แล้วสำรวจรอบบริเวณองค์พระ พบเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยม รอบองค์พระมีต้นตาล ทั้ง4 ทิศมีเถาวัลย์ ปกคลุมรุงรัง ด้านทิศตะวันออกพบ หนองน้ำขนาดใหญ่ ไม่ปรากฏว่ามีคนอาศัยอยู่ในบริเวณนั้น จึงกลับไปชักชวนญาติพี่น้องให้มาตั้งรกรากบริวเณนี้ ช่วยกันสร้างวัดและ ตั้งชื่อว่า "วัดหงษ์" ตามลักษณะของนกที่ถูกยิงตกบริเวณนั้น องค์พระมีอักษรขอมจารึกบนดินเผา อ่านได้เฉพาะคำหน้าว่า "พระเจ้าใหญ่..." จึงเรียกว่า "พระเจ้าใหญ่" ตั้งแต่นั้นมา สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างกับเมืองพุทไธสง ราวปี พุทธศักราช 2200 อายุประมาณ 300 ปีเศษ เมื่อถึงวันเพ็ญเดือนสาม (กุมภาพันธ์-มีนาคม) ชาวบ้านจะจัดงานเทศกาลเพื่อเฉลิมฉลองนี้ 5 วัน 5 คืน เป็นประจำทุกปีแด่พระเจ้าใหญ่

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กองจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม. (2564). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2566 เข้าถึงได้จาก : https://culturalenvi.onep.go.th/site/detail/1856.โครงการจัดทำมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมประเภทย่านชุมชนเก่า. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2566 เข้าถึงได้จาก. : https://web.facebook.com/photo/?fbid=1551481801752727&set=pcb.1551482105086030.ประวัติอำเภอพุทไธสง "คูเมืองเก่าแต่โบราณ นมัสการพระเจ้าใหญ่ สวยสุดผ้าไหมไทย แลวิไลบึงสระบัว". (2556). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2566. เข้าถึงได้จาก : https://www.gotoknow.org/posts/442875.สถิติจำนวนประชากรทางการทะเบียนราษฎร ระบบสถิติทางการทะเบียนรายเดือน จำนวนประชากร. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2566. เข้าถึงได้จาก : https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/mainpage.