Advance search

วัดสะพาน

ชุมชนตลาดน้ำวัดสะพานเป็นชุมชนตลาดริมน้ำที่ตั้งอยู่ในเขตวัด รายล้อมไปด้วยบ้านเรือนของคนในชุมชน ที่มีทั้งต้นสะตือโบราณอายุกว่า 230 ปี นอกจากนี้ยังมีวิหารโบราณสมัยอยุธยา

หมู่ที่ 7 ถนนปากน้ำ-กระโจมทอง
บางพรม
ตลิ่งชัน
กรุงเทพมหานคร
ชุติมา คล้อยสุวรรณ์
19 เม.ย. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
25 เม.ย. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
30 เม.ย. 2023
ตลาดน้ำวัดสะพาน
วัดสะพาน

เนื่องจากชุมชนตลาดน้ำวัดสะพานตั้งอยู่บริเวณวัดสะพาน จึงถูกเรียกชื่อชุมชนตามพื้นที่ที่ตั้งอยู่


ชุมชนตลาดน้ำวัดสะพานเป็นชุมชนตลาดริมน้ำที่ตั้งอยู่ในเขตวัด รายล้อมไปด้วยบ้านเรือนของคนในชุมชน ที่มีทั้งต้นสะตือโบราณอายุกว่า 230 ปี นอกจากนี้ยังมีวิหารโบราณสมัยอยุธยา

หมู่ที่ 7 ถนนปากน้ำ-กระโจมทอง
บางพรม
ตลิ่งชัน
กรุงเทพมหานคร
10170
13.777479990819794
100.45627122350865
กรุงเทพมหานคร

ย่านตลิ่งชัน มีประวัติศาสตร์มาช้านานนับตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2325 ได้มีการสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้น จึงมีผู้คนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานมากขึ้นทั้งชาวไทยและชาวจีน ซึ่งส่วนใหญ่ดํารงชีพด้วยการทําสวน และทํานา โดยมีการขยายชุมชนเข้าสู่ริมสองฝั่งของคลองสาขาต่าง ๆ ตอนในมากขึ้น เกิดเป็นชุมชนต่าง ๆ กระจายอยู่ทั่วในย่านแห่งนี้ คนไทยจะสร้างวัดเป็นศูนย์กลางชุมชน ซึ่งชุมชนวัดสะพานก็เป็นหนึ่งในชุมชนที่ได้ก่อตัวขึ้นเป็นชุมชนย่านคลองบางกอกน้อย ชุมชนที่รักในถิ่นฐานและพยายามรักษาวิถีชีวิตชาวสวน และชาวน้ำชาวคลองไว้ โดยมีวัดสะพานเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน ฉะนั้นชุมชนวัดสะพานจึงเป็นพื้นที่ที่มีคุณค่าทั้งเชิงนิเวศและวัฒนธรรม และเป็นดินแดนเครือข่ายสายน้ำด้วยความเป็นพื้นที่อยู่ใกล้ใจกลางกรุงเทพมหานคร จึงได้รับทั้งการพัฒนาจนเกิดการเปลี่ยนแปลง ทว่าชาวชุมชนวัดสะพานยังคงวัฒนธรรมชาวน้ำชาวคลองไว้ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี

ในอดีตสภาพสิ่แวดล้อมมีความสมบูรณ์ของทรัพยากรทางน้ำ แต่ในปัจจุบันปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมทางน้ำกลับเกิดขึ้น จากน้ำที่สะอาดถูกทำลายลงจากการท่องเที่ยวที่เข้ามาเป็นจำนวนมาก วิถีชีวิตริมน้ำของประชาชนวัดสะพานที่เคยเป็นมาก่อนค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไป

บ้านเรือนของชาวบ้านไม่ได้เป็นบ้านแบบทรงสมัยใหม่ มีลักษณะเป็นบ้านเรือนไม้ปลูกริมคลอง และสัญจรไปมาโดยใช้เรือพาย ชาวบ้านดำรงชีวิตโดยไม่ไปรบกวนสิ่งแวดล้อม เหนือลำคลองมีต้นไม้เป็นทิวต้นมะพร้าวสูงเด่นพลิ้วไหวยามลมแรง ชุมชนวัดสะพานนอกจากจะเป็นตลาดน้ำแล้วยังมีโบราณสถานอันเก่าแก่มากว่า 230 ปี ตั้งแต่สมัยอยุธยาที่อยู่เคียงคู่วัด นอกจากนั้นยังมีต้นสะตือที่เป็นต้นไม้ใหญ่อันมีสรรพคุณที่สามารถนำมาเป็นยารักษา จากที่กล่าวมาจะเห็นว่าพื้นที่โดยรอบตลาดน้ำวัดสะพานมีบริเวณพื้นที่สีเขียววงกว้าง อีกทั้งในด้านการค้าขายตลาดน้ำวัดสะพานไม่มีการแบ่งราคาในการขายสำหรับคนไทยและชาวต่างชาติ ราคาขายเช่นเดียวกันหมด จึงถือได้ว่าตลาดน้ำวัดสะพานแห่งนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวควรแก่การเชิญชวนมาท่องเที่ยวของกลุ่มชาวไทยและชาวต่างชาติ

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติตต่อกับซอยปากน้ำกระโจมทอง
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับบริษัท HPC
  • ทิศใต้ ติดต่อกับคลองบางเชือกหนัง
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอู่ต่อเรือสำเภาศิลป์

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ชาวชุมชนวัดสะพานมีการรวมกลุ่มกันที่แฝงไปด้วยกลิ่นอายความเป็นชาวบ้านวัดสะพานและการอนุรักษ์โบราณสถาน

การรวมกลุ่มกันอย่างเป็นทางการ ตลาดน้ำชุมชนวัดสะพานก่อตั้งมานาน 20 ปี ด้วยความร่วมมือของชุมชนทำให้เกิดการพัฒนาตัวชุมชนได้อย่างมาก ผักผลไม้ส่วนใหญ่ที่นำมาขายเป็นผลผลิตของเกษตรกรในชุมชนทั้งสิ้น สินค้าผลผลิตที่ปลอดสารพิษ รวมไปถึงร้านอาหารยังได้รับการยอมรับจากกระทรวงสาธารณสุขอีกด้วย

การรวมกลุ่มกันอย่างไม่เป็นทางการ วัดสะพานมีวิหารโถง เป็นวิหารที่เปิดโล่ง ไม่มีผนัง แต่เดิมตรงนี้เคยเป็นวิหารหลังเล็ก 3 หลังเรียงกัน แต่ด้วยผ่านกาลเวลามาอย่างยาวนานจนชำรุดทรุดโทรม ทำให้ชาวบ้านที่อาศัยในชุมชนวัดสะพานร่วมใจกันสร้างใหม่ให้เป็นวิหารใหญ่ โดยอาศัยจากการคาดเดาได้จากพระพุทธรูปเก่าแก่ที่พบอยู่ที่วัดสะพานแห่งนี้

ชาวชุมชนวัดสะพานอาศัยการกินอยู่กันอย่างพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยร้านค้าพืชผัก ผลไม้ในตลาดน้ำวัดสะพาน มักมาจากชาวบ้านที่เป็นเกษตรกร หรือปลูกเป็นผักสวนครัวภายในบ้านตนเอง และนำส่วนที่เหลือแบ่งมาค้าขาย ประชาชนตลาดน้ำวัดสะพานยังมีการใช้ลำคลองในการสัญจร และมีบางครอบครัวอาศัยอยู่ริมน้ำ อาศัยน้ำในการอุปโภค ชำระล้างเครื่องมือทางการเกษตร หรือทำความสะอาดบ้านเรือน มีการหาปลาในลำคลอง ประชาชนที่มีการดำรงอยู่แบบสนิทสนมคุ้นเคยกัน การพบปะพูดคุยกันอย่างสม่ำเสมอ และมีการเข้าร่วมกิจกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันเข้าพรรษาและวันออกพรรษา เป็นต้น

1. พ.ต.ท.สิทธิชน อังศุศาสตร์  ประธานประชาคมตลาดน้ำวัดสะพาน ผู้คืนวิถีชาวสวนสู่วัดสะพาน โดยการก่อตั้งตลาดน้ำวัดสะพานขึ้น

ชุมชนวัดสะพานเป็นพื้นที่ที่อุดมไปด้วยวัฒนธรรมที่หลากหลาย นับว่าเป็นพื้นที่ที่ควรค่าแก่การเข้าไปศึกษาและสัมผัสกับวิถีชุมชน

ทุนวัฒนธรรม 

  • ไส้กรอกปลาแนม คือของว่าง หรือของกินเล่นโบราณที่หารับประทานได้ยาก เป็นอาหารทานเล่นของชาววัง อันประกอบไปด้วย ปลาแนม ไส้กรอกข้าว และไส้กรอกหมู กินแกล้มกับผักกาดหอม โดยปลาแนมนั้นทำจากปลาช่อน ข้าวคั่วและหนังหมู ปรุงรสด้วยมะนาว เกลือ น้ำปลา น้ำตาล โรยหน้าด้วยกระเทียมดอง ถั่วลิสงคั่ว หอมซอย พริกขี้หนู มีรสหวานอมเปรี้ยว ถ้าเป็นหน้าส้มซ่าจะใส่ลงไปด้วย ส่วนไส้กรอกข้าวและไส้กรอกหมูเป็นไส้กรอกแบบไทย ๆ ยัดไส้ข้าวและหมูตรงตามชื่อ โดยปรุงรสกับพริกแกงและเครื่องปรุงอื่น ๆ มีรสค่อนข้างหวาน
  • วัดสะพาน (เขตตลิ่งชัน) วัดสะพานเป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ริมคลองบางน้อย ในแขวงบางพรม เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2320 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เดิมเรียกว่า วัดตะพาน กล่าวกันว่าเป็นวัดโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จากการค้นพบพระพุทธรูปหินทราย และพระพุทธรูป 3 องค์ คือหลวงพ่อโต หลวงพ่อกลาง และหลวงพ่อดำ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ชุมชนวัดสะพาน มีทรัพยากรสภาพแวดล้อมที่ดี ประกอบกับมีพระพุทธรูปเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ด้วยไม่มีกิจกรรมที่ทำให้วัดและชาวบ้านเกิดรายได้ กระทั่ง พ.ต.ท.สิทธิชน อังศุศาสตร์ ได้ก่อตั้งตลาดน้ำชุมชนวัดสะพานขึ้น ทำให้เศรษฐกิจในชุมชนโตขึ้น และกลายเป็นย่านชานเมืองที่น่าท่องเที่ยว


ชุมชนวัดสะพานตั้งอยู่ในเขตตลิ่งชัน ชาวบ้านต้องเผชิญความลำบากกับเหตุการณ์ ในปี พ.ศ. 2485 และ พ.ศ. 2535 คือเหตุการณ์เกิดน้ำท่วม ส่งผลให้สวนเสียหาย ตามมาด้วยวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น นับเป็นที่น่าจดจําของผู้เฒ่าผู้แก่ในย่านตลิ่งชันเป็นอย่างดี 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

เชลล์ชวนชิม. (2562). ไส้กรอกปลาแนมแม่เล็ก. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2566, จาก https://shellshuanshim.com/

เตชะภณ ค้ำแสน. (2562). วิถีชีวิตริมน้ำของประชาชนตลาดน้ำวัดสะพาน เพื่อการท่องเที่ยวในเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร ใน เอกสารการประชุมการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษย์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ตลาดน้ำวัดสะพาน. (2557). ประวัติวัดความเป็นมา: ตลาดน้ำวัดสะพาน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2566, จาก http://watsaphanfloating.blogspot.com

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2566). วัดสะพาน (เขตตลิ่งชัน). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2566, จาก https://th.wikipedia.org/wiki.

สุภาภรณ์ จินดามณีโรจน์. (2556). ย่านตลิ่งชัน: ประวัติศาสตร์ พัฒนาการ และการเปลี่ยนแปลง. ดำรงวิชาการ, 11(1), 190 - 219.

MGR Online. (2551). ฟื้นชีวิต “คนริมคลอง” ตลาดน้ำคลองลัดมะยม-วัดสะพาน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2566, จาก https://mgronline.com/