ชุมชนเป็นราษฎรอาสา (ร.อ.ส.) จำนวน 50 คน เข้ามาอาศัยในหมู่บ้าน มึการทำเกษตรกรรม ปัจจุบันมีประชากรชาติพันธุ์ลีซูอาศัยอยู่ด้วย
ชื่อของชุมชนมาจากหน่วยงานขนส่งพระมาตุลี จึงได้นำเอาชื่อของพระมาตุลี มาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านจนถึงทุกวันนี้
ชุมชนเป็นราษฎรอาสา (ร.อ.ส.) จำนวน 50 คน เข้ามาอาศัยในหมู่บ้าน มึการทำเกษตรกรรม ปัจจุบันมีประชากรชาติพันธุ์ลีซูอาศัยอยู่ด้วย
หมู่บ้านมาตุลีอยู่ติดกับทุ่งแสลงหลวง ลำน้ำเข็ก มีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ปี พ.ศ. 2527 เป็นปีแรกที่ชาวบ้านได้ขึ้นมาอาศัยในหมู่บ้าน โดยเป็นราษฎรอาสา (ร.อ.ส.) จำนวน 50 คน โดยชาวบ้านจะต้องเข้ามาทำการฝึกซ้อมและทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันเพื่อป้องกันตัวเอง แต่ก่อนนั้น เมื่อมีการก่อสร้างบ้าน ยังมีการสู้รบกันอยู่เป็นบางพื้นที่ ราษฎรอาสา (ร.อ.ส.) จึงต้องมีความพร้อมอยู่เสมอ สมัยนั้นยังไม่มีชื่อหมู่บ้าน แต่เนื่องจากมีผู้รับผิดชอบ คือชุดควบคุมโครงการพระราชดำริพัฒนาลุ่มน้ำเข็ก โดย ช.ป.พ. ที่ 9 ซึ่งมาจากหน่วยงานขนส่งพระแม่เจ้ามาตุลี จึงได้นำเอาชื่อของพระแม่เจ้ามาตุลี มาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านจนถึงทุกวันนี้
ชุมชนหมู่บ้านมาตุลี ห่างจากอุทยานทุ่งแสลงหลวง ประมาณ 432 เมตร และห่างจากหนองแม่นา ประมาณ 800 เมตร
จากการสำรวจในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 พบว่ามีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 258 คน โดยแบ่งเป็นชาย 137 คน และเป็นหญิง 121 คน
ชาติพันธุ์
กลุ่มชาติพันธุ์ลีซูจัดอยู่ในกลุ่มจีน-ทิเบต (Sino -Tibetan) สาขาทิเบต-พม่า (Tibeto-Burman) โดยในอดีตชาวลีซอติดต่อสื่อสารกันด้วยภาษาพูดเพียงอย่างเดียว ไม่มีภาษาเขียนแต่ในปัจจุบันได้รับอิทธิพลจากศาสนา และรับรู้หลักภาษาเขียนมาจากหมอสอนศาสนา และมิชชั่นนารี โดยดัดแปลงมาจากภาษาโรมันใช้เพื่อกิจการเผยแพร่ศาสนาในพม่าและใช้กันบ้างในประเทศไทย สำหรับหมู่บ้านเพชรดำใช้ภาษาลีซอในการสื่อสารภายในชุมชน และใช้ภาษาไทยในการสื่อสารกับหน่วยงานราชการและบุคคลนอกพื้นที่ นอกจากนั้นภาษายังถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของการร้องและการบรรเลงเพลงโดยได้รับอิทธิพลมาจากภาษาจีนและมูเซอ
มีการทำโฮมสเตย์วิถีชุมชนลักษณะของบ้านพัก เป็นการพักรวมกับชาวบ้าน กิน อยู่อย่างเป็นกันเอง และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีธรรมชาติ ชมวิถีชีวิตของชุมชน ที่พักเป็นที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบชอบบรรยากาศ สัมผัสวิถีชีวิตชาวบ้านในรูปแบบของโฮมสเตย์ โดยที่นี่ได้รับมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย ทำให้นักท่องเที่ยววางใจได้ในเรื่องความสะดวกและปลอดภัย โดยมีกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์หลายอย่าง เช่น พายเรือในลำน้ำเข็ก ชมความงามของธรรมชาติสองฝั่ง
ในอุทยานตามลำน้ำจะมีฝูงปลาตะเพียนหางแดงว่ายน้ำเป็นเพื่อนยามพายเรือ มีฝูงผีเสื้อนานาพันธุ์โบยบินพลิ้วลมรอบๆ ตัวเรา ที่น่าตื่นตามีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย คือ แมงกะพรุนน้ำจืดซึ่งจะมีให้เห็นช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม และการชมบรรยากาศยามเย็นบนเขาตะเคียนโงะในมุมมอง 360 องศา หรือหากตื่นเช้าก็สามารถชมทะเลหมอกได้เช่นกัน กิจกรรมโดดเด่นของบ้านมาตุลี คือ กิจกรรมการกางเต็นท์
เสาร์ที่ 2 ของเดือนพฤศจิกายน ของทุกปีจะมีการเเข่งขันเรือภูเขาเเละกีฬาหลากหลายชนิดบริเวณเเม่น้ำเข็กเป็นกิจกรรมประจำปี
ทุนกายภาพ
มีแม่น้ำ พันธุ์ไม้ พันธุ์สัตว์ และของป่าจากธรรมชาติ โดยมีแม่น้ำเข็ก แก่งมาตุลี พันธุ์ป่าไม้ดงดิบ และผีเสื้อพันธ์ต่างๆ และผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ ทางทิศใต้จะมีพืชผลทางการเกษตรต่างๆ เช่น ไร่ฟักม้ง ฟักทอง พริกยำ ผักกาดขาวปลี เสาวรส เป็นต้น
ชาวบ้านจำใช้ชีวิตไปกับธรรมชาติ มีป่าไม้และของป่าในการดำรงชีวิต ช่วยกันทำการเกษตรแบบเรียบง่ายจนบริเวณชุมชนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งทางโดยเน้นไปที่การชมความเป็นธรรมชาติ อยู่กับธรรมชาติ เรียบง่ายมาจนถึงทุกวันนี้
ทุนวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น
สถานที่ยึดเหนี่ยวของชาวชุมชนจะมีสำนักสงฆ์หนองรางช้างพิมพามาตุลีที่เป็นแหล่งทำบุญประจำชุมชน
ขุนแผน ตุ้มทองคำ (2561). การออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ OTOP คจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อการเพิ่มผลผลิตงานหัตถกรรมสู่ระบบอุตสาหกรรม. คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
ประเพณีการแข่งเรือภูเขาบ้านมาตุลี. (2564). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2566. จาก https://thai.tourismthailand.org/Events-and-Festivals/ประเพณีการเเข่งเรือภูเขาบ้านมาตุลี
ศูนย์ประสานงานเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2566. จาก https://thaicommunitybasedtourismnetwork.wordpress.com/cbtcommunity/northcommunity/matulee
สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร(รายเดือน). (2565). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2566. จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/displayData