ตรุษสงกรานต์ การละเล่นหัวกะโหลกควาย ประเพณีดั้งเดิมที่ยังคงสืบสานเป็นประจำทุกปี สร้างความสนุกสนานและแฝงไปด้วยความความเชื่อที่อยู่คู่กับชุมชน
เหตุที่เรียก นาตะกรุด เพราะว่าเกิดมีแอ่งน้ำไหลยาวหลายกิโลเมตรผ่านทุ่งนา อยู่ ๆ น้ำก็มาหยุด จึงเรียกว่า "กุด" ซึ่งคนสมัยก่อนเรียกน้ำเป็นบ่อไม่มีคลองต่อบ่อน้ำว่า "ตะกุด" จึงนำมาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านว่า หมู่บ้านตะกุด ซึ่งสมัยก่อนจะใช้ตะกุดไม่มี "ร" สันนิษฐานว่าเมื่อมีคนอพยพมาจากเมืองศรีเทพน้อยเดินทางมาหา ตะกรุด บริเวณหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงใช้คำว่า "ตะกรุด" มาจนถึงปัจจุบัน
ตรุษสงกรานต์ การละเล่นหัวกะโหลกควาย ประเพณีดั้งเดิมที่ยังคงสืบสานเป็นประจำทุกปี สร้างความสนุกสนานและแฝงไปด้วยความความเชื่อที่อยู่คู่กับชุมชน
ก่อนจะมีหมู่บ้านนาตะกรุดขึ้น ชาวบ้านได้อพยพมาจากหมู่บ้านศรีเทพน้อย เพราะเมืองศรีเทพล่ม โดยอพยพมาจากศรีเทพน้อยจำนวน 3-4 ครอบครัว มาหาที่ทำกินกันใกล้ ๆ แม่น้ำ ใกล้คลองลำเหียง “ลำเหียง” คือ น้ำที่แยกออกมาจากแม่น้ำป่าสัก จนเกิดคลองลึก มาจากแม่น้ำป่าสักแยกออกเป็นหลายสาย คนสมัยก่อนเรียก วังน้ำ ซึ่งสมัยก่อนก็ได้มาทำไร่ทำนาใกล้แหล่งน้ำ ที่เรียก นาตะกรุดก็เพราะว่าอยู่ ๆ ก็เกิดแอ่งน้ำไหลยาวหลายกิโลเมตรผ่านทุ่งนา อยู่ ๆ น้ำก็มาหยุด จึงเรียกว่า "กุด" ซึ่งคนสมัยก่อนเรียกน้ำเป็นบ่อไม่มีคลองต่อบ่อน้ำว่า "ตะกุด" คนสมัยก่อนเลยเอาสิ่งนี้มาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านว่า หมู่บ้านตะกุด ซึ่งสมัยก่อนจะใช้ตะกุดไม่มี ร สันนิษฐานว่าเมื่อมีคนอพยพมาจากเมืองศรีเทพน้อยเดินทางมาหา "ตะกรุด" บริเวณหมู่บ้าน ชาวบ้านเลยใช้คำว่า ตะกรุด มาจนถึงปัจจุบัน (อ้างใน องค์การบริหารส่วนตาบลศรีเทพ. 2563 : online)
จากบันทึกของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พบประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านว่า “เที่ยวเมืองเพชรที่พิมพ์ในเล่มนี้ ข้าพเจ้าแต่งไว้ครั้งไปตรวจราชการมณฑลเพชรบูรณ์ รัตโกสินทร์สก 123 ตรงกับปีมะโรง พ.ศ.2447 มีเมืองโบราณอีกเมืองหนึ่งอยู่ใต้เมืองวิเชียรบุรีลงมาฝั่งตะวันออกเหมือนกัน เมืองนี้เรียกว่าเมืองศรีเทพชื่อหนึ่ง อีกชื่อหนึ่งเรียกคำธุรงค์ว่า “เมืองภัยสาลี” อยู่ห่างจากลำน้ำป่าสักขึ้นไปประมาณ 150 เส้น แลอยู่ที่ป่าแดง จะไปดูได้ไม่ยากนักเมื่อล่องจากเมืองเพ็ชรบูรณ์ ข้าวพเจ้าจึงได้สั่งให้เอาลงมาคอยรับที่ท่านาตะกรุดอันไปสู่เมืองศรีเทพ...” จากเอกสารดังกล่าวทำให้ทราบว่านาตะกรุดเริ่มมีมาก่อน พ.ศ.2447 (อ้างใน องค์การบริหารส่วนตำบลศรีเทพ. 2563 : online)
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านนาตะกรุด หมู่ที่ 1 และนาตะกรุดพัฒนา
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลคลองกระจัง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านนาตะกรุด หมู่ที่ 3
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านท่าเลียง
คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ธุรกิจค้าขาย รับราชการ และอาชีพเสริม คือ รับจ้างทั่วไป ตัดเย็บผ้าชุดเครื่องนอน จักสาน และอื่น ๆ
ประเพณีและวัฒนธรรมชุมชน
ประเพณีนางสุ่มนางควาย เป็นประเพณีแต่ดั้งเดิมตั้งแต่สมัยก่อน ซึ่งนางควาย คือ การเอาหัวกะโหลกควายที่ตายจากโรคห่า สมัยก่อนควายล้มตายเยอะเพราะโรคห่าจึงได้นำควายไปโยนไว้ในคลอง พอควายเหลือแต่กระดูกก็เอาหัวกะโหลกควายขึ้นมาเล่น นิยมเล่นในเทศกาล
ตรุษสงกรานต์ ของทุกปีชาวบ้านเชื่อว่าวิญญาณจะเข้ามาอยู่ที่หัวกะโหลกโดยมีชาวบ้านจับอยู่จำนวน 2 หัว เอามาเล่นชนกันอย่างสนุกสนานและเมื่อถึงเวลาวิญญาณที่อยู่ในกะโหลกควายก็จะเข้าชาวบ้านจับหัวกะโหลกควายอยู่ข้างหลังจากนั้นก็จะพากันราและถามถึงเหตุการณ์บ้านเมืองความอุดมสมบูรณ์ของผลผลิตทางการเกษตรของปีนั้นป็นอย่างไร ส่วนของสุ่มจะง่ายพียงแค่เอาสุ่มมาแทนหัวกะโหลกควายแค่นั้นเอง
1) นายทิวา ศรีไพร ผู้ใหญ่บ้าน
สุนทรีย์ รอดดิษฐ์. (2563). การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชนรอบอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ โดยการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน (รายงานการวิจัย). เพชรบูรณ์: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.