Advance search

ชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในพื้นที่ธรรมชาติ ที่สันโดษไม่ใช้ยานยนต์ 

หมู่ที่6
หนองแม่นา
เขาค้อ
เพชรบูรณ์
ปรายฟ้า ตั้งจิตติวัฒนา
26 มี.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
11 เม.ย. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
30 เม.ย. 2023
บ้านหนองแม่นา


ชุมชนชนบท

ชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในพื้นที่ธรรมชาติ ที่สันโดษไม่ใช้ยานยนต์ 

หมู่ที่6
หนองแม่นา
เขาค้อ
เพชรบูรณ์
67270
16.5677
100.9030
เทศบาลตำบลแคมป์สน

เดิมเป็นพื้นที่อาศัยของชาวเขาเผ่าม้งและเผ่าต่างๆ ทำกินมาก่อน ต่อมาเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2516 รัฐบาลทำการรัฐประหาร และยึดพื้นที่ อ.เขาค้อ ได้

เมื่อปี พ.ศ. 2525 จึงได้จัดพื้นที่ บ้านหนองแม่นาให้กับทหารปลดประจำการและราษฎรอาสาได้ทำกินกันในบริเวณนี้

ภายในหมู่บ้านมีบ่อน้ำตื้น หรือบ่อขุดส่วนตัวที่ใช้การได้ 1 บ่อ มีบ่อน้ำสาธารณะ ซึ่งดำเนินการขุดเจาะโดยกรมโยธาธิการจำนวน 2 บ่อ ในจำนวนนี้ใช้ร่วมกับหมู่บ้านทานตะวัน 1 บ่อ คือ อ่างเก็บน้ำหนองแม่นา    มีน้ำประปาใช้ และมีลำน้ำเข็ก ซึ่งเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่หมู่บ้านใช้ผ่านด้านหลังของหมู่บ้าน สภาพภูมิอากาศ มีอากาศเย็นกับฝนตกมากเป็นประจำและมีหมอกมาก

โดยมีพื้นที่ทั้งหมด คิดเป็น 1,200 ไร่ หรือ ตารางกิโลเมตร มีลักษณะมีอาณาเขตติดต่อกันดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่บ้านทานตะวัน
  • ทิศใต้     ติดต่อกับ หมู่บ้านลำน้ำเเข็ก
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่บ้านเขตป่าสงวน
  • ทิศตะวันตก     ติดต่อกับ ลำน้ำเข็กอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง

มีประชากรจำนวนครัวเรือนทั้งหมด  96  ครัวเรือน จำนวนประชากรชาย 168  คน หญิง  159  คน รวม  327  คน

ด้วยพื้นที่ติดป่าดงดิบ มีลำน้ำเข็กเป็นบริเวณขอบเขตระหว่างหมู่บ้านกับอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ ปลูกพริก ปลูกผัก และปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ส่วนหนึ่งประกอบอาชีพเสริม โดยการเป็นลูกหาบในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวในอุทยาแห่งชาติแสลงหลวงนอกจากนี้ประชาชนยังมีทำสวนผสมผสาน ผลิตสินค้าท้องถิ่นเช่น ไม้กวาด เสาวรสแปรรูป แยม น้ำผลไม้ เป็นต้น นอกจากนี้มีกลุ่มโฮมสเตย์หรือบ้านพักที่ให้นักท่องเที่ยวมาค้างคืน กลุ่มนำเที่ยวและบริการข้อมูล มีร้านค้าชุมชน และมีกลุ่มพายเรือในลำน้ำ ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวที่หลากหลาย บ้างมาจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ บ้างมาเที่ยวสวนผลไม้ สวนหม่อน เป็นต้น

หมู่บ้านนี้มีพื้นที่ดินทำกินทางการเกษตรประมาณ 780 ไร่ โดยชาวบ้านใช้พื้นที่ทำการเกษตรไป 580 ไร่ แยกเป็นประเภทและจำนวนครัวเรือนได้ดังนี้ คือ ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 30 ไร่ (7 ครัวเรือน) ปลูกข้าวไร่ จำนวน 70 ไร่ (12 ครัวเรือน) ปลูกสวนผัก ได้แก้ พริกยำ และผักกาดขาว 400 ไร่ (45 ครัวเรือน) ทำสวนขนุน 10 ไร่ (3 ครัวเรือน) ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม 60 ไร่ (4 ครัวเรือน) ปลูกกะทกรก 10 ไร่ (5 ครัวเรือน)  การเพาะปลูกพืชเหล่านี้ ส่วนใหญ่ปลูกเพื่อขาย ยกเว้นข้าวไร่ ซึ่งชาวบ้านปลูกไว้บริโภคเอง ส่วนผลิตภัณฑ์ประเภทอุตสาหกรรมในครั้วเรือนที่นิยมทำกันมากที่สุด คือ การทำชาใบหม่อม จำนวน 4 ครัวเรือน การทำไม้กวาดจากต้นหญ้าไม้กวาด 3 ครัวเรือน และการทำของที่ระลึกจากรังไหม 3 ครัวเรือน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

นายสุรินทร์ สุขมี  ผู้ใหญ่บ้านหนองแม่นา

ทุนกายภาค

ชุมชนเป็นชุมชนที่อยู่ติดกำลำน้ำเข็ก จึงมักจะอุดมไปด้วยสัตว์ น้ำนานาชนิด แต่ที่ชัดเจนที่สุดจะเป็นแมงกะพรุนน้ำจืดที่มีแห่งเดียวในประเทศไทย และผีเสื้อหลากหลายสายพันธุ์ มีอากาศหนาวเย็นทั้งปี จึงเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยว นอกจากนั้นพื้นที่โดยรอบยังเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์   ที่ชาวบ้านสามารถหาของป่าได้โดยง่าย

ทุนวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น

วัฒนธรรมความเป็นอยู่และท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ รวมถึงการทำกิจกรรมการท่องเที่ยวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการร่องนั่งเรือ ชมไม้ดอกไม้ป่านานาพันธุ์ตามสองข้างทาง และสถานที่ท่องเที่ยวใกล้ๆ ก็จะเป็น บ้านร่องกล้า วัดผาซ่อนแก้ว หรือจุดกางเต็นท์เขาค้อ และภูมิปัญญาท้องถิ่น อีกหนึ่งอย่างคือ สมุนไพรที่หาได้จากพื้นที่โดยรอบของหมู่บ้าน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล


ทางชุมชนยังมีการร่วมมือกับทางธนาคารธกส.เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ทั้งการเดินป่า การทำสวน และการล่องเรือประจำลำน้ำเข็ก มาจนถึงในปัจจุบัน


ในปัจจุบัน พบปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาการท่องเที่ยวในชุมชน

1. ผู้นำในหมู่บ้านไม่เห็นความสำคัญของการท่องเที่ยวโดยชุมชน

2. คนในชุมชนมีส่วนร่วมน้อยมากในการจัดการท่องเที่ยว


บ้านหนองแม่นาได้จัดตั้งกลุ่มการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนเมื่อปี พ.ศ. 2545 มีนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทำการวิจัยในพื้นที่และชุมชน ซึ่งมีสำนักงานกองทุนวิจัย (สกว.) สำนักงานภาค จะคอยเป็นพี่เลี้ยงและให้ความรู้ อนุรักษ์และดูแลต้นน้ำ พืชพรรณ แมลง สัตว์ สมาชิกกลุ่มมีจำนวน 84 คน ฝ่ายบริหาร 9 คน โดยมีเป้าหมายในการขับเคลื่อนให้เกิดการสร้างและพัฒนาระบบการประสานงานความร่วมมือเครือข่ายจัดการท่องเที่ยวทางนิเวศ อนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ป่า น้ำ แมลงและสัตว์ 

ด้วยความหลากหลายของคนในชุมชน ที่มาจากราษฎรอาสาที่ขึ้นมาร่วมรบ และทหารที่ขึ้นมาปฏิบัติหน้าที่ในบริเวณนี้ จึงทำให้มีการปรับเปลี่ยนการดำรงชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม ให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสงบสุข สมัครสมานสามัคคี มีลำน้ำเข็กเป็นแหล่งในการดำรงชีพ    สามารถใช้ในการประกอบอาชีพทางการเกษตร และที่สำคัญในลำน้ำเข็กมีแมงกะพรุนซึ่งเป็นแมงกะพรุนน้ำจีด จะอยู่บริเวณหน้าวัดหนองแม่นา ซึ่งจะมีให้เห็นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ของทุกปี

มีการใช้เทคนิค AIC เพื่อการเฝ้าระวังและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์แมงกะพรุนน้ำจืด ในพื้นที่ตำบลหนองแม่นา อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มชุมชนคนรักษ์ป่า ตำบลหนองแม่นา อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 30 คน ในการเลือกตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบจำเพาะเจาะจง,โดยการสนทนากลุ่ม เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และนำข้อมูลที่ได้มาจัดระบบข้อมูลหาความสอดคล้องเชิงเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 6 เดือน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มชุมชนได้เสนอแนวทางการดำเนินโครงการเพื่อการเฝ้าระวังและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์แมงกะพรุนน้ำจืด ในพื้นที่ตำบลหนองแม่นา

เจน จันทรสุภาเสน และคณะ(2563)การใช้เทคนิค AIC เพื่อการเฝ้าระวังและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์แมงกะพรุนน้ําจืดในพื้นที่ตําบลหนองแม่นา อําเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารรัชต์ภาคย์. 14 (37),   204-214.

บ้านหนองแม่นา จังหวัดเพชรบูรณ์ (2565). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2566, จาก https://chumchontongtiew.com/chumchontongtiew-preview-441991791795.

บ้านหนองแม่นา หมู่ที่ 6 ตำบล หนองแม่นา อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. (2559). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2566, จาก https://phetchabun.cdd.go.th/services/บ้านหนองแม่นาหมู่ที่-๖.

ศูนย์ประสานงานเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2566, จาก https://thaicommunitybasedtourismnetwork.wordpress.com/cbtcommunity/northcommunity/nongmaena.

Admin Tommy (2563) แมงกะพรุนน้ำจืด ที่หายาก. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2566, จาก https://welovetogo.com/freshwater-jellyfish-kaeng-bang-rachan-phetchabun.

phatchari หนองแม่นา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2566, จาก https://sites.google.com/site/phatcharisites/hnxn.