
ชุมชนย่านตลาดการค้าบริเวณถนนเขางูในเขตอำเภอเมืองราชบุรี ตั้งแต่แยกบริเวณทิศเหนือลงมาถึงสามแยกทางทิศใต้ที่ตัดกับถนนเจดีย์หัก พบอาคารพาณิชย์ในลักษณะห้องแถวไม้ 2 ชั้น อยู่บริเวณสองฝั่งของถนน ซึ่งถนนเขางูนี้เป็นบริเวณแหล่งผลิตและจำหน่ายโอ่งมังกรหรือโอ่งราชบุรีที่ขึ้นชื่อ
ความเป็นมาของชื่อ “เขางู” นั้นไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน บางคนกล่าวว่าเดิมมีพญางูใหญ่อาศัยอยู่บนเขา บ้างก็ว่าลักษณะเทือกเขามีความคดเคี้ยวสลับซับซ้อนคล้ายงูเลื้อยจึงเรียกว่าเขางู อย่างไรก็ตาม การเรียกว่า “เขางู” นั้นปรากฏในพงศาวดารสมัยรัชกาลที่ 1 ก็เรียกว่าเขางูมาแล้วในสมัยก่อนตั้งแต่ก่อนสร้างเมืองกรุงเทพฯ
ชุมชนย่านตลาดการค้าบริเวณถนนเขางูในเขตอำเภอเมืองราชบุรี ตั้งแต่แยกบริเวณทิศเหนือลงมาถึงสามแยกทางทิศใต้ที่ตัดกับถนนเจดีย์หัก พบอาคารพาณิชย์ในลักษณะห้องแถวไม้ 2 ชั้น อยู่บริเวณสองฝั่งของถนน ซึ่งถนนเขางูนี้เป็นบริเวณแหล่งผลิตและจำหน่ายโอ่งมังกรหรือโอ่งราชบุรีที่ขึ้นชื่อ
ชุมชนตลาดเขางูเป็นชุมชนย่านตลาดการค้าบริเวณถนนเขางูในเขตอำเภอเมืองราชบุรี ตั้งแต่แยกบริเวณทิศเหนือลงมาถึงสามแยกทางทิศใต้ที่ตัดกับถนนเจดีย์หัก พบอาคารพาณิชย์ในลักษณะห้องแถวไม้ 2 ชั้นอยู่บริเวณสองฝั่งของถนน ซึ่งถนนเขางูนี้เป็นบริเวณแหล่งผลิตและจำหน่ายโอ่งมังกรหรือโอ่งราชบุรีที่ขึ้นชื่อ
เทศบาลเมืองราชบุรี เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลมีชื่อว่า สุขาภิบาลเมืองราชบุรี ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้งสุขาภิบาลหัวเมือง รศ. 127 เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2458 ต่อมาในสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทยในปี พ.ศ. 2475 มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ได้มีการตราพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 เพื่อยกฐานะของท้องถิ่นต่าง ๆ ที่เป็นสุขาภิบาลอยู่แล้วขึ้นเป็นเทศบาล และมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองราชบุรีเมื่อ พ.ศ. 2478 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2478 สุขาภิบาลเมืองราชบุรีจึงมีฐานะเป็นเทศบาลเมืองราชบุรี รวมระยะเวลาจัดตั้งเป็นเทศบาลเมืองราชบุรีถึงปัจจุบันเป็นเวลาประมาณ 88 ปี
ชุมชนตลาดถนนเขางู ห่างจากศาลากลางจังหวัดราชบุรี ประมาณ 2 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 98 กิโลเมตร การเดินทางจากกรุงเทพฯ มายังชุมชนตลาดถนนเขางู สามารถเดินทางได้ทั้งรถยนต์ส่วนบุคคล รถโดยสารประจำทางปรับอากาศ และรถตู้
ชุมชนตลาดถนนเขางู เป็นชุมชนย่านตลาดการค้าบริเวณถนนเขางูในเขตอำเภอเมืองราชบุรี ตั้งแต่แยกบริเวณทิศเหนือลงมาถึงสามแยกทางทิศใต้ที่ตัดกับถนนเจดีย์หัก พบอาคารพาณิชย์ในลักษณะห้องแถวไม้ 2 ชั้น อยู่บริเวณสองฝั่งของถนน ซึ่งถนนเขางูนี้เป็นบริเวณแหล่งผลิตและจำหน่ายโอ่งมังกรหรือโอ่งราชบุรีที่ขึ้นชื่อ
จากข้อมูลการสำรวจของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ปี 2565 ระบุจำนวนครัวเรือนและประชากรในตำบลหน้าเมือง จำนวน 16,474 หลังคาเรือน ประชากรรวมทั้งหมด 33,870 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 15,507 คน หญิง 18,363 คน
ด้านกลุ่มอาชีพ
ประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองราชบุรีมีการประกอบอาชีพค้าขาย และบริการ โดยในเขตเทศบาลเมืองราชบุรีมีร้านค้าทั้งประเภทค้าปลีก ค้าส่ง และบริการ การค้าปลีกส่วนใหญ่เป็นร้านขายเครื่องอุปโภคและบริโภค ภัตตาคารอาหารเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม และการบริการทางด้านอื่น ๆ ได้เพิ่มปริมาณมากขึ้น ร้านค้าส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนถนนอัมรินทร์ ถนนไกรเพชร ถนนราษฎรยินดี และถนนรถไฟ ส่วนการบริการอื่นๆ ได้ขยายไปตามถนนสุริยวงศ์ ถนนคฑาธร ถนนมนตรีสุริยวงศ์ และถนนเพชรเกษมสายใหม่
ทุนกายภาพ
อุทยานหินเขางู ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลเกาะพลับพลา อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี เป็นภูเขาหินปูนอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เคยเป็นแหล่งระเบิดหินปูน ต่อมาจึงได้พัฒนาเป็นสวนสาธารณะเขางู และเป็นเส้นทางขับรถเลาะรอบเขา มีทัศนียภาพที่งดงาม เทือกเขาต่างๆมีความลดหลั่นกันคล้ายงูเลื้อย อีกทั้งยังเป็นแหล่งโบราณคดีที่หาได้ยาก เนื่องจากรอบๆอุทยานหินเขางู มีหมู่ถ้ำเขางูซึ่งเป็นโบราณสถานมากมาย ในแต่ละถ้ำมีภาพสลักหินที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนามาตั้งแต่สมัยทวารวดี
จากคำบอกเล่าของ คุณรงค์ คุ้มจิตร เล่าว่าเขางูมีตำนานเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ว่าเขางูเป็นเมืองลับแล ที่ถ้ำแห่งนี้สามารถทะลุผ่านไปยังเมืองลับแล ซึ่งมีผู้คนชาวลับแลอาศัยอยู่แต่ไม่มีผู้ใดมองเห็นคนพวกนี้ได้ วันดีคืนดีจะมีเสียงปี่พาทย์ดังออกมา ในสมัยก่อนเมื่อชาวบ้านจะเลี้ยงพระจะไปอธิษฐานขอยืมถ้วยชามจากคนลับแล ก็จะมีถ้วยชามจัดไว้ตามที่ขอยืมต่อมามีคนยืมแล้วไม่นำเอาไปคืนทำให้คนลับแลไม่ให้ยืมอีกต่อไป ปากถ้ำที่เข้าสู่เมืองลับแลจึงปิด ตอนเด็กๆได้เคยไปวิ่งเล่นแถวนั้นแล้ว มี ปู่ ย่า ตา ยาย ชี้ให้ดูปากถ้ำ และเมื่อจังหวัดมาบูรณะได้ไถดินมาไว้บริเวณปากถ้ำจึงทำให้ปากถ้ำที่เล่าขานกันมานั้นหายไป
ความเป็นมาของชื่อ “เขางู” นั้นไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน บางคนกล่าวว่าเดิมมีพญางูใหญ่อาศัยอยู่บนเขา บ้างก็ว่าลักษณะเทือกเขามีความคดเคี้ยวสลับซับซ้อนคล้ายงูเลื้อยจึงเรียกว่าเขางู อย่างไรก็ตาม การเรียกว่า “เขางู” นั้นปรากฏในพงศาวดารสมัยรัชกาลที่ 1 ก็เรียกว่าเขางูมาแล้วในสมัยก่อนตั้งแต่ก่อนสร้างเมืองกรุงเทพฯ แต่ที่ปรากฏชัดว่าบริเวณเขางูเคยมีผู้มาใช้ประโยชน์ในการตั้งหลักแหล่งทำมาหากินกว่าพันปี เนื่องจากพบหลักฐานที่เป็นซากโบราณวัตถุในถ้ำต่าง ๆ ที่สำคัญซึ่งพบในปัจจุบัน 4 ถ้ำบนเทือกเขางู ดังนี้
1) ถ้ำฤาษี เป็นถ้ำตื้น ๆ ตอนในมีกลุ่มพระพุทธรูปศิลาทราบตั้งเรียงอยู่เป็นแถวยาว ผนังถ้าลักภาพพระนั่งบ้าง ยืนบ้าง แต่องค์ที่สำคัญที่สุดคือพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาท แสดงปางวิตรรกะ (แสดงธรรม)
2) ถ้ำฝาโถ ถ้ำนี้ต้องเดินลึกเข้ามาตามถนนอีกประมาณ 100 เมตร ที่ถ้ำฝาโถเป็นพระนอนปางปรินิพพาน พระพุทธรูปประทับนอนใต้ต้นสาละปูนปั้น ซึ่งปั้นเป็นลายเพชรนิลจินดาผ้าแพรพรรณงดงา55ม รอบข้างและผนังตรงข้ามมีรูปพระสาวกเทพต่าง ๆ ลักษณะเป็นสกุลศิลปะทวารวดี
3) ถ้ำจีน ถ้ำนี้มีเพดานสูง ผนังมีภาพสลักพระพุทธรูปนั่ง 2 องค์
4) ถ้ำจาม ถ้ำนี้อยู่ห่างไปจากถ้ำจีนเล็กน้อย มีภาพสลักและภาพปูนปั้นที่สำคัญหลายภาพเป็นพระพุทธรูปปางต่าง ๆ เช่น ปางไสยาสน์ ปางยมกปาฏิหาริย์
ถ้ำต่างๆ ที่กล่าวมาพบได้ที่เขาลาดกล้วย นอกจากนี้ยังพบสิ่งที่น่าชมในที่แห่งอื่นของเทือกเขางูอีก เช่น ถ้ำระฆัง ถ้ำเขาพระยาปราบ และพระพุทธบาทจำลองทำด้วยศิลาแลงประดิษฐานอยู่บนยอดเขาสูงประมาณ 128 เมตร สร้างในสมัยใดไม่ปรากฏ
เขางูปัจจุบันทางจังหวัดได้จัดให้เป็นสวนสาธารณะ แหล่งท่องเที่ยวประเภทโบราณคดี และผจญภัย ชื่อว่าอุทยานหินเขางู
ทุนวัฒนธรรม
วัดเขาเหลือ ตั้งอยู่ที่ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี เป็นวัดเก่าแก่ พิจารณาจากหลักฐานทางโบราณคดีและศิลปกรรมนั้น น่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา โดยบริเวณนี้เดิมเป็นที่ตั้งของเมืองราชบุรี ในสมัยนั้นมีวัดมหาธาตุเป็นศูนย์กลางของชุมชน วัดเขาเหลือจึงเป็นวัดในกำแพงเมือง โดยตั้งอยู่บริเวณหน้าประตูเมืองราชบุรีด้านทิศใต้ ในปี พ.ศ. 2459 ยังคงปรากฏเสาประตูอยู่ ปัจจุบันเสาประตูนี้เจ้าอาวาสวัดเขาเหลือได้เก็บรักษาไว้ หลักฐานทางโบราณคดีที่พบ ได้แก่
1. วิหารแกลบ อาคารเครื่องก่อขนาด 3 ห้อง โครงสร้างเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนทั้งหมด ตั้งแต่ส่วนยอดไปจนถึงยอดหลังคา ลักษณะหลังคาเป็นทรงจั่วลาดอ่อนโค้งเล็กน้อย ด้านหน้าและด้านหลังมีมุขยื่นออกมาด้านละประมาณ 1 เมตร ส่วนของหลังคาทั้งหมดฉาบปูนเรียบ เครื่องลำยองเป็นปูนปั้นเรียบ ยอดจั่ว และหางหงส์ปูนปั้นรูปดอกบัวตูม หน้าบันก่ออิฐถือปูนเรียบ ผนังด้านหน้ามีประตูตรงกลาง 1 ประตู ส่วนด้านหลังเป็นผนังทึบ ด้านข้างมีซุ้มหน้าต่างด้านละ 3 ซุ้ม แต่มีหน้าต่างจริงเพียงช่องเดียว คือ ช่องกลาง ส่วนอีก 2 ช่อง เป็นหน้าต่างปลอม ซึ่งทำเป็นซุ้มหน้าต่างปลอมประดับไว้เท่านั้น ซุ้มประตูมีลวดลายปูนปั้นเป็นภาพพระสังขจาย นั่งบนปัทมอาสน์ประดับลวดลายพันธุ์พฤกษา ส่วนลวดลายที่ซุ้มหน้าต่างเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ราหูอมจันทร์ รูปสัตว์ และลวดลายพันธุ์พฤกษาซึ่งชำรุดมาก ฐานวิหารเป็นฐานบัวลูกฟัก ทรงฐานอ่อนโค้ง แบบท้องเรือสำเภา
ลักษณะภายในอาคาร เพดานเป็นทรงโค้งตามรูปโค้งของหลังคา ที่ผนังด้านข้างมีช่องหน้าต่างด้านละ 1 ช่อง เหนือช่องหน้าต่างเป็นซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปด้านละ 4 ซุ้ม กับที่เหนือช่องประตูอีก 1 ซุ้ม ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปสลักจากหินทรายแดง ผนังด้านหลังเป็นซุ้มขนาดใหญ่ ภายในประดิษฐานพระประธาน บนผนังด้านในวิหารมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง สภาพชำรุดลบเลือนเกือบหมดสันนิษฐานว่าเป็นภาพพุทธประวัตินรกภูมิ เทพชุมนุม และภาพยักษ์ ส่วนหลังคาที่โค้งจรดกันเป็นภาพวิทยาธรกำลังเหาะพนมมือถือดอกไม้ ที่มุมฝาผนังด้านข้างซุ้มพระประธานมีภาพเทพยืนประคองอัฐชลีข้างละองค์ ผนังด้านทิศใต้เป็นภาพพุทธประวัติ ตอนพระเจ้าสุทโธทนะเสด็จออกทรงกระทำพิธีแรกนาขวัญ ภาพทางซ้ายของหน้าต่างเป็นภาพตอนเสด็จออกมหาภิเษกรมณ์ ภาพระหว่างซุ้มหน้าต่างตรงกลางเป็นตอนพระมหาบุรุษทรงตัดพระเมาลี บริเวณผนังด้านทิศตะวันออกเป็นรูปยักษ์ ปราสาท กลุ่มคน นักบวช และกลุ่มเสนาอำมาตย์สวมลอมพอก ผนังด้านทิศเหนือ เป็นเรื่องพุทธประวัติตอนพระอินทร์ดีดพิณ 3 สาย เป็นนิมิตถวายมหาบุรุษ ด้านล่างเป็นตอนมารผจญ
2. เจดีย์ ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังพระวิหาร ลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสิง ก่ออิฐถือปูนขนาดค่อนข้างใหญ่ ฐานเจดีย์เป็นฐานบัวลูกฟักซ้อนกัน องค์ระฆังย่อมุม มีบัลลังก์รองรับปล้องไฉนและส่วนยอด
โอ่งมังกร เป็นของดีเมืองราชบุรีมาอย่างยาวนานถือว่าเป็นของหัตถกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดราชบุรี แต่เดิมเครื่องปั้นดินเผาคุณภาพดีจะต้องนำเข้าจากประเทศจีน เพราะไม่สามารถผลิตได้จากในประเทศ ราวปี 2476 นายฮง แซ่เตี่ย และนายจือเหม็ง แซ่อึ้ง ชาวจีนอพยพที่มาตั้งรกรากที่จังหวัดราชบุรี พบว่าดินที่จังหวัดราชบุรีนั้น มีลักษณะคล้ายกับดินที่บ้านเกิดของตนเอง คือ เป็นดินที่มีเนื้อดี สีสวย ทนไฟ เหมาะแก่การทำเครื่องปั้นดินเผา จึงนำตัวอย่างดินกลับไปทดลอง และตัดสินใจตั้งโรงงานผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่ชื่อว่า "เถ้าเซ่งหลี" เป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาในจังหวัดราชบุรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งโอ่งมังกร สามารถสร้างชื่อเสียงไปทั่วประเทศ
การผลิตโอ่งในยุคแรก ๆ เป็นโอ่งไม่มีลวดลาย เรียกว่า โอ่งเลี่ยน คือ โอ่งเคลือบที่ยังไม่เขียนลาย มีเพียงลายประทับเป็นรูปง่าย ๆ ที่บ่าโอ่งเท่านั้น ภายหลังจึงมีการทำเป็นลวดลายมังกรตามความเชื่อของคนจีนที่ว่า มังกร เป็นสัตว์มงคล การวาดลวดลายมังกรบนโอ่งจะวาดด้วยมือในลักษณะ Free hand เป็นการปาดเนื้อดินด้วยหัวแม่มือเป็นรูปร่างมังกร โดยไม่ต้องมีแบบร่างจะทำโดยช่างผู้มีความชำนาญ โอ่งเป็นภาชนะกักเก็บน้ำสำหรับอุปโภค บริโภค เมื่อใส่น้ำแล้วจึงมีน้ำซึมบ้างเล็กน้อย การซึมของน้ำจะทำให้เกิดการระเหยของน้ำรอบ ๆ โอ่ง ช่วยถ่ายเทความร้อนออกจากโอ่ง ทำให้น้ำในโอ่งเย็นกว่าใส่ภาชนะอื่น โอ่งมังกรราชบุรี จึงได้รับความนิยมและกลายเป็นภาชนะกักเก็บน้ำประจำบ้านทั่วทุกครัวเรือน
ปัจจุบันการผลิตโอ่งมังกรลดน้อยลงเนื่องจากความต้องการซื้อของผู้บริโภคเปลี่ยนไปเป็นการใช้ภาชนะกักเก็บน้ำที่ทำจากวัสดุสังเคราะห์ แต่อุตสาหกรรมโอ่งในจังหวัดราชบุรีก็ไม่ได้หยุดตัวเองไว้เท่านั้น มีการพัฒนารูปร่างและลวดลายให้มีความทันสมัยจากลายมังกรก็เปลี่ยนเป็นลวดลายอื่น ๆ ที่สร้างสรรค์และหลากหลาย ทำให้ตอบสนองต่อความต้องการซื้อของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น
ในอดีตที่ผ่านมา บริเวณเทือกเขางู อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี มีการดำเนินกิจกรรมการระเบิดและย่อยหินซึ่งส่งผลให้บริเวณดังกล่าวมีสภาพทรุดโทรมเป็นอย่างมาก คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2530 ให้ยุติกิจกรรมการระเบิดและย่อยหิน ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (เดิม สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ) ได้มอบหมายให้คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการการอนุรักษ์ธรรมชาติเฉพาะแหล่งเขางู อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี และในปี พ.ศ. 2556 จังหวัดราชบุรี โดยสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดราชบุรี ดำเนินโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ทางเดินอุทยานเขางู จังหวัดราชบุรี
กรมการปกครอง. (2565). ระบบสถิติทางการทะเบียน จำนวนประชากร. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2566. เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/webPage/statByYear.php.
กองจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม. เขางู. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2566. เข้าถึงได้จาก: https://naturalsite.onep.go.th/site/detail/4.
เทศบาลเมืองราชบุรี. (2553). ประวัติความเป็นมา. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2566. เข้าถึงได้จาก: http://www.rbm.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1&Itemid=4.
ธนาภรณ์ พันธ์ประเสริฐ. กำเนิดโอ่งมังกร. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2566. เข้าถึงได้จาก: https://www.finearts.go.th/ratchaburimuseum/view/36293-กำเนิดโอ่งมังกร.
สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี. แหล่งโบราณคดีและโบราณสถานในเขตอำเภอเมืองราชบุรี. (เอกสารอัดสำเนา).