Advance search

ชุมชนบ้านย่าหมี ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์และพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของชุมชน โดยการใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมในการปกป้องสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง รวมถึงการจัดกิจกรรมและการรณรงค์ เพื่อสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมแก่สมาชิกของชุมชน

หมู่ที่ 3
บ้านย่าหมี
เกาะยาวใหญ่
เกาะยาว
พังงา
ธำรงค์ บริเวธานันท์
24 เม.ย. 2023
ธำรงค์ บริเวธานันท์
27 เม.ย. 2023
ธำรงค์ บริเวธานันท์
30 เม.ย. 2023
บ้านย่าหมี

นายย่าหมีน ชาวจังหวัดสตูล มีทำอาชีพเก็บรังนกที่เกาะหลีเป๊ะ (สตูล) เมื่อหมดฤดูทำรังนกจึงย้ายมาอาศัยในพื้นที่บ้านย่าหมี (ในปัจจุบัน) ในขณะนั้นเป็นพื้นที่ภายใต้การปกครองของหมู่บ้านคลองเหีย ต่อมาครอบครัวอื่นจึงตามนายย่าหมีนมาบ้างซึ่งทั้งหมดเป็นชาวสตูล พื้นที่ที่ย้ายมาอาศัยนี้เริ่มแรกมีครอบครัวทั้งสิ้น 7 ครอบครัว ได้เพิ่มเป็น 40 ครอบครัว เมื่อจำนวนประชากรเริ่มมากขึ้นจึงขอแยกจากบ้านคลองเหีย หมู๋บ้านที่แยกออกมาใหม่นี้ได้ชื่อว่า บ้านย่าหมี


ชุมชนบ้านย่าหมี ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์และพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของชุมชน โดยการใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมในการปกป้องสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง รวมถึงการจัดกิจกรรมและการรณรงค์ เพื่อสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมแก่สมาชิกของชุมชน

บ้านย่าหมี
หมู่ที่ 3
เกาะยาวใหญ่
เกาะยาว
พังงา
82160
8.058945465
98.55224624
เทศบาลตำบลเกาะยาวใหญ่

บ้านย่าหมี แยกออกมาจาก บ้านคลองเหีย ในปี พ.ศ. 2519 เริ่มแรกที่แยกมาบ้านย่าหมีเป็นพื้นที่ที่กันดารมากขาดโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อชุมชนในการดำเนินชีวิต อย่างไรก็ดีสิ่งแรก ๆ ที่ชุมชนเริ่มคือ การสร้างโรงเรียนให้แก่เด็กในชุมชน เพราะหลังจากตั้งเป็นหมู่บ้านย่าหมี เด็กนักเรียนต้องเดินทางไปเรียนที่บ้านคลองเหียซึ่งไกลมาก โรงเรียนที่เกิดขึ้นในบ้านย่าหมีล้วนแต่ได้รับการบริจาคที่ดินและร่วมแรงสร้างโดยสมาชิกในชุมชน ใช้เวลาในการสร้าง 1 ปี แต่ในระยะแรกยังมีนักเรียนไม่มากนัก ราว 15 คน เพราะถนนหนทางในการเดินทางมาโรงเรียนไม่สะดวก ชุมชนจึงร่วมกันสร้างถนนเพื่อความสะดวกในการเดินทางทั้งของนักเรียนและเพื่อการใช้ประโยชน์ในชุมชน ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานด้านอื่น ๆ อาทิ ไฟ้ฟ้า ชุมชนบ้านย่าหมี เริ่มมีไฟฟ้าใช้ในปี พ.ศ. 2539 แต่เป็นไฟฟ้าที่เกิดจากเครื่องปั่นไฟ ซึ่งจ่ายไฟเฉพาะเวลากลางคืน ต่อมา ปี พ.ศ. 2545 มีการวางสายเคเบิ้ลจ่ายไฟจากเกาะภูเก็ตไปยังเกาะยาวใหญ่ จึงทำให้ชุมชนบ้านเกาะหมีมีไฟฟ้าใช้ตลอด 24 ชั่วโมง กระทั่งปัจจุบัน

อย่างไรก็ดีประวัติศาสตร์ของชุมชนบ้านย่าหมี โดยเฉพาะการปกป้องทรัพยากรสิ่งแวดล้อมในชุมชน เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการของชุมชนที่สำคัญเช่นกัน กล่าวคือ

ช่วง ปี พ.ศ. 2527 – 2537 การให้สัมปทานทำไม้ป่าชายเลนส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทรัพยากรชายฝั่งของชุมชนบ้านย่าหมีอย่างรุนแรง ไม่เพียงป่าชายเลนที่โดนทำลาย ยังรวมถึงแนวการัง แนวหญ้าทะเลและแนวป่าชายหาด การทรุดโทรมของทรัพยากรชายฝั่งส่งผลให้ทรัพยากรทางทะเลลดจำนวนลง ชุมชนไม่สามารถจับสัตว์น้ำเพราะแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำถูกทำลาย หลังจากยกเลิกสัมปทานป่าชายเลนปลายปี พ.ศ. 2537 สมาชิกในชุมชนเร่งฟื้นฟูสภาพป่าชายเลนเพื่อให้กลับสู่ความสมบูรณ์ดังเดิม มีกิจกรรมการปลูกป่าชายเลน ปลูกหญ้าทะเล นอกจากนี้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการให้ความรู้และสร้างกฎระเบียบการใช้ทรัพยากร ในประเด็นของสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร

ช่วง ปี พ.ศ. 2549 – 2550 รณรงค์ยกเลิกสิ่งก่อสร้างรุกล้ำลำน้ำ ท่าเทียบเรือมารีน่าของเอกชน ชุมชนเห็นว่าการก่อสร้างท่าเทียบเรือในบริเวณอ่าวสน บ้านย่าหมี ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องใช้พื้นที่และมีสิ่งก่อสร้างที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมของชุมชน ดังนั้นจึงคัดค้านการก่อสร้างกระทั่งเกิดเป็นคดีความระหว่างบริษัทเอกชนกับชาวบ้านในชุมชน

บ้านย่าหมีมีพื้นที่ 8,826 ไร่ ลักษณะพื้นที่เป็นพื้นที่สูงตามภูเขาและเป็นที่ราบลาดลงสู่ทะเล

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 1 บ้านคลองเหีย และอ่าวติกู
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ อ่าวสนและฝั่งทะเลโล๊ะปาเหรด ตำบลพรุใน
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ทิวเขาหมู่ที่ 2 บ้านช่องหลาด
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ทะเลอันดามัน และ น่านน้ำจังหวัดภูเก็ต

สภาพพื้นที่ทางกายภาพ

ลักษณะพื้นที่ของชุมชนบ้านย่าหมีเป็นที่ลาดเชิงเขา ชุมชนตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะยาวใหญ่ จังหวัดพังงา  พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรชายฝั่ง ได้แก่ ป่าชายเลน ป่าชายหาด แนวหญ้าทะเล และ แนวปะการัง ระบบนิเวศที่มีความสัมพันธ์ของทรัพยากรทั้งหมดนี้นำไปสู่การเป็นแหล่งอาหารและแล่งทางเศรษฐกิจของชุมชน ชุมชนบ้านย่าหมีได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ช่วงเดือน พฤษภาคม - ตุลาคม เป็นช่วงฤดูฝนของภาคใต้ฝั่งตะวันตก

จำนวนประชากรของชุมชนบ้านย่าหมี จากการสำรวจข้อมูลสถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน) โดยสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง เดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2566 รายงานจำนวนประชากรบ้านย่าหมี หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะยาวใหญ่ อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ประกอบด้วยจำนวนประชากรชาย 211 คน จำนวนประชากรหญิง 207 คน จำนวนประชากรทั้งหมด 415 คน และจำนวนหลังคาเรือน  132 หลังคาเรือน

สมาชิกในชุมชนมีความสัมพันธ์แบบเครือญาติ  จำแนกได้ 8 ตระกูล ประกอบด้วย ตระกูลหยั่งทะเล ตระกูลมาตรศรี ตระกูลถิ่นเกาะยาว ตระกูลชลหัถต์ ตระกูลงานแข็ง ตระกูลเพ็ชยะวา ตระกูลโต๊ะไม และตระกูลเสมารักษ์

กลุ่มในชุมชนประกอบด้วย กลุ่มประมงพื้นบ้าน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการพึ่งตนเอง กลุ่มเลี้ยงปลาในกระชัง กลุ่มสตรี กลุ่มผักสวนครัว คณะกรรมการป่าชายเลน กลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรชายฝั่งและทะเล กลุ่มผู้นำศาสนา กลุ่มผู้นำทางการเมือง กลุ่มแกนนำชาวบ้านและผู้อาวุโส

  • กลุ่มประมงพื้นบ้าน จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2538  เป็นการรวมตัวของชาวประมงในชุมชน ที่ประสบปัญหาจากการทำการประมง มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง รณรงค์ขยายเขตห้ามใช้เครื่องมือ ควรลากอวนรุนอ่าวพังงา และการบังคับใช้กฎหมายประมง
  • กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการพึ่งตนเอง เป็นกิจกรรมต่อเนื่องของกลุ่มประมงพื้นบ้าน ตั้งขึ้นใน ปี พ.ศ 2539 มีวัตถุประสงค์ เพื่อการออมและการสะสมทุนภายในชุมชน ลดภาระหนี้สินนอกระบบ และสนับสนุนการพัฒนาสังคมและการจัดการทรัพยากร
  • กลุ่มเลี้ยงปลาในกระชัง เป็นการรวมกลุ่มของชาวประมง และผู้สนใจที่เลี้ยงปลาในกระชัง จัดตั้งขึ้นจากการสนับสนุนงบประมาณ ขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยาวใหญ่ และสำนักงานประมงอำเภอเกาะยาว เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การเลี้ยงปลาในกระชังของสมาชิก และการหมุนเวียนกองทุนที่ได้รับจากที่ได้รับการสนับสนุนจากแหล่งต่าง ๆ
  • กลุ่มสตรี เป็นการรวมตัวกันของผู้หญิงที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ และความรู้ผ่านการฝึกอบรมจากพัฒนากรผู้รับผิดชอบประจำตำบลมีกิจกรรม การเลี้ยงแพะและร้อยลูกปัดผ้าคลุมฮิญาบ
  • คณะกรรมการป่าชายเลนชุมชน จัดตั้งขึ้นใน ปี พ.ศ 2544 เพื่อเป็นกลไกในการจัดการป่าชายเลนชุมชน โดยแบ่งหน้าที่ไปตามความถนัดของคณะกรรมการและบริหารกองทุนลูกโลกสีเขียว เพื่อการจัดการป่าชายเลนชุมชนบ้านย่าหมี
  • กลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นการจัดตั้งใน ปี พ.ศ. 2549 โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งประสานความร่วมมือกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งให้ยั่งยืนและสร้างเครือข่ายอาสาสมัครในระดับพื้นที่อ่าวพังงา

สมาชิกในชุมชนบ้านย่าหมีนับถือศาสนาอิสลาม ฉะนั้นปฏิทินวัฒนธรรมประเพณีของชุมชนจึงเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมอิสลาม  สมาชิกชุมชนมีการปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดตามหลักศาสนาทุกคนให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตนตามศาสนาสมาชิกชุมชนปฏิบัติกิจการละหมาดทุกวัน เวลาละหมาดประกอบด้วย 05.15 น. 12.28 น. 16.00 น. 18.30 น. 19.30 น. และทุกวันศุกร์ช่วงเวลา 12.28 น. สำหรับชุมชนมุสลิมวัฒนธรรมอิสลามคือวิถีชีวิตของชุมชน

บ้านย่าหมี มีความเป็นอยู่แบบเรียบง่าย มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกัน สมาชิกในชุมชนมีอาชีพที่หลากหลายการประกอบอาชีพ อาทิ การทำประมง ผู้ชายจะเป็นคนออกไปทำประมงจะมีบางบ้านที่ผู้หญิงออกไปช่วยวางอวนและเก็บอวน อาชีพเกษตรกรรม ปลูกยางพารา เลี้ยงสัตว์ ค้าขายทั่วไปในชุมชน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนชุมชนบ้านย่าหมี เป็นทุนทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับความเข้มแข็งของชุมชนในการร่วมกัน จัดการทรัพยากรชายฝั่งและระบบนิเวศ ในตลอดกว่า 2 ทศวรรษ ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปกป้องต่อสู้ และจัดการทรัพยากรของชุมชนจนนำไปสู่ 1) การยกเลิกอนุญาตสัมปทานตัดไม้ สุดท้ายผืนป่ากลับมาเป็นของชุมชนร่วมกัน 2) การรณรงค์ขยายเขตอ่าวพังงา ห้ามเครื่องมือประมงอวนรุน อวนลาก จนสามารถขยายเขตพื้นที่อนุรักษ์อ่าวพังงา ได้ใน ปี พ.ศ. 2541 และ 3) การรณรงค์ยกเลิกใบอนุญาตก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ หรือท่าเทียบเรือกระทั่งสามารถยกเลิกใบอนุญาต

รวมไปถึงการปกป้องผืนป่าต้นน้ำในเขตป่าสงวนแห่งชาติช่องหลาด พื้นที่ป่าสงวนเกาะยาวใหญ่ การขับเคลื่อนเหล่านี้ล้วนมีส่วนสัมพันธ์เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน หากชุมชนไม่ลุกขึ้นมามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง ระบบนิเวศชุมชนก็สูญสลายไปและส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชน

ภาษาถิ่นใต้ จังหวัดพังงา เกาะยาว

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
หญ้าทะเลในบ้านย่าหมี

หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะยาวใหญ่ อำเภอเกาะยาวใหญ่ จังหวัดพังงา เป็นทรัพยากรชายฝั่งทางทะเลที่ได้รับการอนุรักษ์เช่นเดียวกับป่าชายเลนและป่าต้นน้ำในหมู่บ้าน หญ้าทะเลบริเวณกว้างที่พบในหมู่บ้าน ย่าหมีอยู่ในที่หาดคลองสนหรืออ่าวคลองสน ในบริเวณอ่าวโล๊ะโป๊ะใหญ่ เกาะยาวใหญ่ หญ้าทะเลในบริเวณนี้มีการแพร่กระจายไปทั่วอ่าวโล๊ะโป๊ะใหญ่ รวมถึงบริเวณปากอ่าวคลองสน บริเวณนี้มีทรัพยากรทางทะเลที่หลากหลายเช่น กุ้งแชบ๊วย ปูม้าปลาชนิดต่าง ๆ และหอย เป็นต้น เป็นสถานที่ที่คนในชุมชนมาทำประมงพื้นบ้าน นอกจากการทำประมงพื้นบ้าน หาดคลองสนยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนของคนในหมู่บ้านและหมู่บ้านอื่น ๆ คนในหมู่บ้านย่าหมีไม่ได้เรียกหญ้าทะเล แต่มีภาษาพื้นเมืองคือ หญ้าเงา เพราะเวลาออกหาปลากับเรือจะเห็นเป็นต้นหญ้าอยู่ในน้ำ เมื่อมองจากข้างบนผิวน้ำจะเห็นเป็นหญ้ากลุ่มดำ ๆ เหมือนเงา เลยเรียกว่า หญ้าเงา ซึ่งส่วนใหญ่จะพบเห็นในบริเวณอ่าวคลองสน ไปจนถึงอ่าวโล๊ะโป๊ะ มี 3 แบบ คือ แบบใบยาว แบบใบกลมเหมือนใบมะกรูดและแบบใบเส้นเหมือนเส้นผม หญ้าเงาชนิดที่สามารถรับประทานได้ คือ หญ้าเงาใบยาว ๆ หรือหญ้าเงาใบยาว หญ้าชนิดนี้มีดอกและผล สามารถกินได้โดยนำ ดอก มาจิ้มกับน้ำพริก ผล แกะกินเมล็ดข้างใน 

ธนู แนบเนียร. (2550). การจัดการทรัพยากรชายฝั่ง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านย่าหมี ตำบลเกาะยาวใหญ่ อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช/นนทบุรี.

สงกรานต์ คำอู. (2557). ความสัมพันธ์ของหญ้าทะเลกับคนย่าหมี: กรณีศึกษาบ้านย่าหมี หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะยาวใหญ่ อำเภอเกายาว จังหวัดพังงา. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์.

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2021). หญ้าทะเล. [Facebook]. https://www.facebook.com/DMCRTH.

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน. (ม.ป.ป.). ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทเจ้าหน้าที่กลุ่มนิเวศทางทะเล ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน ได้ทำการออกสำรวจประเมินชนิด การแพร่กระจาย และสถานภาพของหญ้าทะเลในพื้นที่อ่าวโล๊ะปาไล้ อ่าวโล๊ะโป๊ะใหญ่ และอ่าวสนของเกาะยาวใหญ่ จังหวัดพังงาะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน. ค้นจาก https://dmcrth.dmcr.go.th/