Advance search

วัดโพธิ์ทอง เป็นทั้งศาสนสถานและสถานที่ท่องเที่ยว สามารถแวะเที่ยวชมกำแพงประตูศิลปะขอม และเข้าสักการะหลวงพ่อหินเขียว ที่จะจัดให้มีพิธีสำคัญฉลองในวันวิสาขบูชาของทุก ๆ ปี

หมู่ที่ 3
บ้านนาตะกรุด
ศรีเทพ
ศรีเทพ
เพชรบูรณ์
อบต.ศรีเทพ โทร. 0-5678-4118
สุธาสินี บุญเกิด
3 ม.ค. 2023
สุธาสินี บุญเกิด
7 มี.ค. 2023
บ้านนาตะกรุด

การตั้งชื่อหมู่บ้านมีที่มาจากสภาพพื้นที่เป็นห้วย หนอง คลอง ที่มีอยู่มาก ชาวบ้านเรียกตามแอ่งน้ำที่ไหลมารวมกันคล้ายกระทะแล้วกุดหรือหยุดอยู่แค่นั้น รวมกันเรียกว่า “นาตะกรุด” ซึ่งเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน


ชุมชนชนบท

วัดโพธิ์ทอง เป็นทั้งศาสนสถานและสถานที่ท่องเที่ยว สามารถแวะเที่ยวชมกำแพงประตูศิลปะขอม และเข้าสักการะหลวงพ่อหินเขียว ที่จะจัดให้มีพิธีสำคัญฉลองในวันวิสาขบูชาของทุก ๆ ปี

บ้านนาตะกรุด
หมู่ที่ 3
ศรีเทพ
ศรีเทพ
เพชรบูรณ์
67170
15.426488
101.166552
องค์การบริหารส่วนตำบลศรีเทพ

ประวัติหมู่บ้านนาตะกรุด หมู่ที่ 3 นายเสมอ โตมะนิตย์ อายุ 77 ปี ชาวบ้านในหมู่บ้านนาตะกรุดได้กล่าวว่า บ้านนาตะกรุดมีมานานกว่า 200 ปี คำว่า นาตะกรุด เกิดจากชาวบ้านทำนาเป็นส่วนมากจึงเรียกว่า นา และมีวังน้ำที่ไหลผ่านตลอดจึงเรียกว่า กรุด ความหมายของคำว่า “กรุด” คือแอ่งน้ำหรือแหล่งน้ำ ในสมัยก่อนคนโบราณชอบของขลังแล้วว่ากันว่าที่นี่มีตะกรุดเยอะ เช่น ตะกรุดแฟ้บ ตะกรุดเข้ ตะกรุดยอ ตะกรุดข่าง ตะกรุดครก ตะกรุดจิก ชาวบ้านที่นาตะกรุดคือชาวบ้านจากศรีเทพน้อยได้ย้ายมาที่บ้านนาตะกรุดแห่งนี้ เพราะว่าภูมิลำเนา สถานที่ อุดมสมบูรณ์กว่า บางคนย้ายมาจากต่างจังหวัดก็มี บรรพบุรุษอพยพมาจากอำเภอวิเชียรบุรีส่วนหนึ่ง อำเภอสระโบสถ์ส่วนน้อย แล้วตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านนาตะกรุด” โดยการตั้งชื่อหมู่บ้านมีที่มาจาก สภาพพื้นที่เป็นห้วย หนอง คลอง ที่มีอยู่มาก ชาวบ้านเรียกตามแอ่งน้ำ ที่ไหลมารวมกันคล้ายกระทะแล้วกุดหรือหยุดอยู่แค่นั้น เช่น ตะกรุดจิก ตะกรุดแฟบ ตะกรุดยอ ตะกรุดข่าง ตะกรุดเข้ รวมกันเรียกว่า “นาตะกรุด” ซึ่งเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 8 บ้านเกาะลาโพง
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลคลองกระจัง
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 12 บ้านรักไทย
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 2 บ้านนาตะกรุด

การคมนาคม สามารถเดินทางเข้าหมู่บ้านโดยรถยนต์

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รับจ้างทั่วไป

ปฏิทินประเพณีและวัฒนธรรม

1) ประเพณีปีใหม่ที่วัดโพธิ์ทอง รวมถึงวันพ่อวันแม่ มีการสวดมนต์สะเดาะเคราะห์ ตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง นิมนต์พระสามวัดเดินทั้งสองฝั่งของถนนตั้งแต่บ้านนาตะกรุดหมู่ 1-3 เดินยาวจนสุด ประเพณีนี้มีมากว่า 10-20 ปี

2) ประเพณีทำบุญกลางบ้าน จัดราวเดือน 6 ของทุก ๆ ปี ในเช้าวันแรก เลี้ยงอีตาเจ้าบ้านส่งผีแขกท้ายหมู่บ้าน ตกเย็นสวดมนต์ วันที่สอง ถวายอาหารใส่บาตรตอนเช้า และทานข้าวพร้อมกันในหมู่บ้าน

3) ประเพณีสวดคาถาปลาช่อน ถ้าฝนแล้งจะมีการทำพิธีสวดคาถาปลาช่อนให้ฝนตก ถ้าหากไม่แล้งจึงไม่ได้ทำพิธี จะคล้ายกับพิธีแห่นางแมว พิธีนี้จึงไม่ได้จัดขึ้นทุกปี ดูว่าปีไหนแล้งก็จะจัดพิธีสวดคาถาปลาช่อนขึ้น

4) ประเพณีสงกรานต์ จัดขึ้นทั้งหมด 7 วัน วันสุดท้ายของสงกรานต์จะมีการแห่พระใหญ่ศรีอริยเมตไตรย ซึ่งเป็นพระที่คนในหมู่บ้านหล่อขึ้นมาเอง หล่อขึ้นที่บ้านนะตะกรุด เมื่อ พ.ศ. 2500 แลจะแห่รอบบ้านในวันที่ 19 เมษายน ของทุกปี

1.นายประเวศ ตะกรุดจันทร์ ผู้ใหญ่บ้าน

2.นางปรุงศรี กลิ่นเทศ ครูโรงเรียนบ้านนาตะกรุด มีความรู้ในด้านวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น เช่น ประเพณีแห่เจ้าพ่อศรีเทพ ประเพณีแห่นางควาย การร่ายรำ และการละเล่นพื้นบ้าน

3.นางทัศนีย์ เต็มเปี่ยม ผู้ปกครองนักเรียน มีความรู้ความสามารถเป็นครูสอนประดิษฐ์เศษวัสดุเป็นของใช้จากเศษผ้า กระดาษ และของเหลือใช้อื่น ๆ

4.นางลำพวน มีเดช การทอผ้าด้วยกี่กระตุก

5.นางชวย บุญแจ้ง การทอผ้าด้วยกี่กระตุก

ทุนวัฒนธรรม สถานที่ท่องเที่ยว

วัดโพธิ์ทอง มีชื่อเดิมว่า วัดอุทุมพร สร้างขึ้นเมื่อปี 2547 เป็นสถานที่ที่จัดให้มีพิธีกรรมไหว้ครูครอบเศียร โดยมีโยมแสน โยมเมือง มาถวายที่ให้ตั้งแต่รุ่น หลวงปู่ชม หลวงปู่ หลวงปู่จ้อยกันทร หลวงปู่อั๋น และปัจจุบัน พระครูปลัดสุขเกษม สุขเขโม หรือ พระอาจารย์ดำ วัดโพธิ์ทองแห่งนี้เปิดให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแล้ว ให้นักท่องเที่ยวได้มาสักการะ บูชา ดูดวง อาบน้ำมนต์ ขอพร ปลุกเสกพระ แก้บน ส่วนมากจะแก้บนด้วย ไข่ และ ประทัด ผลไม้ และมีการสักยันต์ โดยมีคนนอกเข้ามาทาการสักยันต์ ไม่ใช่พระอาจารย์แต่อย่างใด

กำแพงหรือประตูทางเข้าวัดโพธิ์ทอง สร้างขึ้นหรือก่อสร้างที่เขาพนมรุ้งจังหวัดบุรีรัมย์ ได้ทำการปั้นแบบศิลปะทางขอม พระอาจารย์ดำเป็นผู้ไปดูและศึกษาแบบ เมื่อปั้นเสร็จจึงได้ทำการเคลื่อนย้ายกำแพงวัดมาที่ จังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอศรีเทพ ตำบลศรีเทพ หมู่ 3 บ้านนาตะกรุด แห่งนี้และประตูของกำแพงวัดสามารถเข้าไปนั่งข้างในได้

หลวงพ่อหินเขียว เป็นพระที่แกะสลักด้วยหินสีเขียวที่ จังหวัดนครราชสีมา ได้ทำการแกะสลักหลวงพ่อหินเขียวมา 1 ปี พระอาจารย์ดำได้เดินทางไปดู เห็นว่ายังไม่สวยเท่าที่ควรจึงให้เริ่มแกะใหม่ หลังจากแกะสลักเสร็จแล้วจึงได้เคลื่อนย้ายมาที่วัดโพธิ์ทองแห่งนี้ในวันวิสาขบูชา ในทุก ๆ ปี ของวันวิสาขบูชานี้จึงต้องมีการฉลองหลวงพ่อหินเขียว

 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

สุนทรีย์ รอดดิษฐ์. (2563). การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชนรอบอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ โดยการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน (รายงานการวิจัย). เพชรบูรณ์: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

องค์การบริหารส่วนตำบลศรีเทพ. (ม.ป.ป.). ข้อมูลหน่วยงาน. https://www.sithep.go.th/social

อบต.ศรีเทพ โทร. 0-5678-4118