Advance search

บ้านแหลมจองถนน

ชุมชนชาวประมงริมทะเลสาบสงขลา สถานที่ซึ่งรวบรวมเรื่องราว วิถีชีวิต และจิตวิญญาณของชาวประมง นำเสนอร้อยเรียงผ่านการท่องเที่ยวนิเวศวิถี จนได้รับขนานนามว่าเป็นหมู่บ้านประมงที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดพัทลุง 

จองถนน
เขาชัยสน
พัทลุง
ธำรงค์ บริเวธานันท์
29 เม.ย. 2023
ธำรงค์ บริเวธานันท์
29 เม.ย. 2023
ธำรงค์ บริเวธานันท์
30 เม.ย. 2023
บ้านแหลมจองถนน

บริเวณแถบนี้มีสัตว์ป่าชุกชุม และมีต้นขนุนอยู่เป็นจํานวนมาก ในช่วงฤดูฝนน้ำจะท่วม กระจงจํานวนมากจะมาอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ ชาวบ้านจึงเรียกชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านจงหนุน” ต่อมาออกเสียงเป็น “จองถนน” และหมู่บ้านนี้มีลักษณะพื้นที่เป็นแหลมยื่นลงไปในทะเลสาบสงขลาจึงเรียกกันว่า “บ้านแหลมจองถนน”


ชุมชนชนบท

ชุมชนชาวประมงริมทะเลสาบสงขลา สถานที่ซึ่งรวบรวมเรื่องราว วิถีชีวิต และจิตวิญญาณของชาวประมง นำเสนอร้อยเรียงผ่านการท่องเที่ยวนิเวศวิถี จนได้รับขนานนามว่าเป็นหมู่บ้านประมงที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดพัทลุง 

จองถนน
เขาชัยสน
พัทลุง
93130
เทศบาลตำบลจองถนน โทร. 0-7467-5559
7.486772874
100.2203187
เทศบาลเมืองท่ามะเดื่อ

บ้านแหลมจองถนน ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตําบลจองถนน อําเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ซึ่งตําบลจองถนนนั้นมีทั้งหมด 7 หมู่บ้าน อันประกอบด้วย หมู่ที่ 1 บ้านแหลมจองถนน หมู่ที่ 2 บ้านโคกแค หมู่ที่ 3 บ้านจงเก หมู่ที่ 4 บ้านอาพัด หมู่ที่ 5 บ้านทุ่งแซะ หมู่ที่ 6 บ้านแตระ และหมู่ที่ 7 บ้านพรุ “บ้านแหลมจองถนน” เรียกกันว่า “บ้านจงหนุน” ในส่วนที่มาของชื่อ “บ้านแหลมจองถนน” มีเรื่องเล่าจากผู้อาวุโสในชุมชนว่า เพราะพื้นที่นี้เป็นที่สูงและเป็นป่ารกร้างมีชาวบ้านอาศัยอยู่ไม่กี่เรือน เนื่องจากบริเวณแถบนี้มีสัตว์ป่าชุกชุม และมีต้นขนุนอยู่เป็นจํานวนมาก ในช่วงฤดูฝนน้ำจะท่วม กระจงจํานวนมากจะมาอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ ชาวบ้านจึงเรียกชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านจงหนุน” ต่อมาออกเสียงเป็น “จองถนน” และหมู่บ้านนี้มีลักษณะพื้นที่เป็นแหลมยื่นลงไปในทะเลสาบสงขลาจึงเรียกกันว่า “บ้านแหลมจองถนน” ซึ่งในหมู่บ้านแหลมจองถนนมีกลุ่มบ้านย่อย ๆ คือ บ้านหัวแหลม บ้านจงหนุน บ้านหัวควน และบ้านบ่อโอน

อาณาเขต

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ทะเลสาบสงขลา
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ทะเลสาบสงชลา
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 3 บ้านจงเก ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ทะเลสาบสงชลา

ลักษณะภูมิประเทศ

ชุมชนบ้านแหลมจองถนนเป็นส่วนหนึ่งของทะเลสาบสงขลา มีลักษณะพื้นที่เป็นแหลมยื่นลงไปในทะเลสาบ พื้นที่ทั้งสามด้านติดกับทะเลสาบเป็นชายฝั่งยาว บริเวณชายฝั่งจึงเป็นพื้นที่สําหรับจอดเรือ และเป็นที่ตั้งอาศัยของคนในชุมชน มีพื้นที่หมู่บ้าน 1,312 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านเข้ามาจับจองอาศัยอยู่เป็นเวลานานแล้ว

สถานที่สำคัญ

วัดแหลมจองถนน: วัดนี้ตั้งอยู่บนแหลมที่ยื่นลงไปในทะเล มีศาลาที่สามารถมองเห็นความงดงามของพระอาทิตย์ขึ้นและตก ภายในมีองค์พระเก่าแก่จำนวนมาก วัดแหลมจองถนนถือเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงประจำบ้านแหลมจองถนน เนื่องจากเป็นสถานที่ทีมีนักท่องเที่ยวแวะเวียนเข้ามาไม่ขาดสาย

แหลมจองถนน: ถือเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่มีชื่อเสียงประจำชุมชนบ้านแหลมจองถนน พื้นที่แห่งนี้มีลักษณะเป็นเนินดินและลาดลงไปในทะเลสาบสงขลา สามารถมองเห็นทิวทัศน์เกาะแก่งต่าง ๆ ในท้องทะเลสาบ ซึ่งเป็นจุดเด่นสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยว 

ข้อมูลประชากรเมื่อปี พ.ศ. 2564 รายงานจำนวนประชากรบ้านแหลมจองถนน ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง มีประชากรทั้งสิ้น 1,234 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 621 คน และประชากรหญิง 613 คน 

ประชากรบ้านแหลมจองถนนส่วนใหญ่ยึดการทำประมงเป็นอาชีพหลัก การออกทะเลเพื่อทำประมงของชาวบ้านจะออกตั้งแต่เช้ามืด และกลับเข้ามาในช่วงเที่ยงของวันเดียวกัน โดยเครื่องมือที่ใช้สำหรับการประมงจะขึ้นอยู่กับชนิดและฤดูกาลของสัตว์น้ำ  เครื่องมือที่ชาวบ้านนิยมใช้มากที่สุด คือ อวนลอยท และแห

นอกเหนือจากการทำประมงแล้ว ยังมีการทำสวน เลี้ยงสัตว์และรับจ้าง แต่โดยปกติทั่วไปอาชีพเหล่านี้ตะทำในช่วงลมมรสุมที่ไม่สามารถออกทะเลเพื่อทำประมงได้

อนึ่ง บริเวณแหลมของถนนนั้นเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมทัศนียภาพของท้องทะเล ภูเขา และความงดงามของแหลมจองถนนอยู่ตลอด ในการณ์นี้ชาวบ้านสามารถนำสินค้า ทั้งสินค้าแปรรูปต่าง ๆ รวมถึงอาหารทะเลสดไปจำหน่ายให้กับกลุ่มนักท่องเที่ยว ซึ่งสามาถสร้างรายได้ให้ชาวบ้านแหลมจองถนนได้ตลอดทั้งปี 

คนในชุมชนบ้านแหลมมีการสืบสานและดำเนินชีวิตตามวิถีวัฒนธรรมที่ดีงาม มีการสืบทอดศิลปวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น พัฒนาต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมเชื่อมโยงการท่องเที่ยว สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ สร้างสินค้าและบริการ เช่น ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย โฮมสเตย์วิถีไทย การแสดงพื้นบ้าน กิจกรรมวิถีชุมชน สร้างความประทับใจ และการมีส่วนร่วมให้นักท่องเที่ยวรักและภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ของท้องถิ่น มีน้ำใจเอื้ออาทร เป็นเจ้าบ้านที่ดีต้อนรับผู้มาเยือน

สำหรับประเพณีชุมชนที่สำคัญของบ้านแหลมของถนนั่นมีอยู่ 3 ประเพณี ได้แก่ ประเพณีมาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์เขียนบางแก้ว งานโนราโรงครูวัดเขียนบางแก้ว และงานแข่งมโนราห์ ซึ่งงานประเพณีทั้งสามประเพณีดังที่กล่าวมานี้ เป็นประเพณีประจำปีที่ชาวจังหวัดพัทลุงแทบทุกพื้นที่ให้ความสำคัญและปฏิบัติสืบทอดมาอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะงานแห่ผ้าขึ้นห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์เขียนบางแก้ว ซึ่งชาวบ้านแหลมจองถนนส่วนใหญ่จะเข้าร่วมงานทุกปี

นอกจากประเพณีระดับจังหวัดแล้ว ภายในหมู่บ้านแหลมจองถนนยังมีวัฒนธรรมประเพณีที่ปฏิบัติกันในชุมชน และเนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ทำให้วัฒนธรรม ประเพณี และข้อระเบียบต่าง ๆ ภายในชุมชนบ้านแหลมจองถนนมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยง และอยู่บนหลักของพระพุทธศาสนา เช่น งานรดน้ำดัวหัวผู้ใหญ่ งานสารทเดือนสิบ ประเพณีชักพระ ตลอดจนงานประเพณีสำคัญทางพระพุทธศาสนาต่าง ๆ โดยการประกอบศาสนกิจทางศาสนานั้น ชาวบ้านจะเดินทางไปร่วมกันที่วัดแหลมจองถนน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

1. พระอธิการนิพนธ์  ถิรปณโญ  เจ้าอาวาสวัดแหลมจองถนน

ภาษาพูด : ภาษาไทยถิ่นใต้

ภาษาเขียน : ภาษาไทย


เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยและพัฒนาการทางสังคมด้านต่าง ๆ รวมถึงการเข้ามาของวัฒนธรรมจากภายนอกสู่ชุมชนบ้านแหลมจองถนน ซึ่งกําลังสั่นคลอนชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน ทำให้วัฒนธรรมที่ดีงามของชุมชนถูกมองว่าสิ่งที่น่าเบื่อหน่ายและแปลกหูแปลกตาในคติและภาพจำของหมู่หนุ่มสาวคนรุ่นใหม่ แต่อย่างไรก็ตามที่ยังมีคนบางกลุ่มที่พยายามจะรักษาประเพณีที่ดีงามต่าง ๆ ของชุมชนเอาไว้ เช่น ประเพณีลากพระที่วัดเขียนบางแก้ว และการทําเรือพระโบราณ ซึ่งเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่และสำคัญกับชาวบ้านแหลมจองถนนมาก ซึ่งชุมชนได้มีการอนุรักษ์และสืบต่อเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

เมื่อปี พ.ศ. 2558 บ้านแหลมจองถนนได้รับรางวัล “หมู่บ้านรักษาศีลห้า” จากจังหวัดพัทลุง 

จีรวรรณ ศรีหนูสุด. (2552). ทุนทางสังคมในการฟื้นฟูพลังชุมชนบ้านเกาะประดู่ หมู่ที่ 2 ตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพัฒนาชุมขนมหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บ้านแหลมจองถนน. (2560). [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.facebook.com/ [สืบค้นเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2566].

วัดแหลมจองถนน. (ม.ป.ป.). [ออนไลน์] ได้จาก: https://www.google.com.sa/travel/ [สืบค้นเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2566].