ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ที่ยังคงสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอย่างการลงแขกเกี่ยวข้าวและประเพณีสงกรานต์ไว้เป็นอย่างดี
ในอดีตพื้นที่บริเวณชุมชนเต็มไปด้วยป่าโคก และมีต้นสะแกอยู่จำนวนมาก ประกอบกับเมื่อถึงช่วงน้ำหลากทำให้พื้นที่ลาดไปหมด จึงเป็นที่มาของบ้าน “โคกสะแกลาด”
ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ที่ยังคงสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอย่างการลงแขกเกี่ยวข้าวและประเพณีสงกรานต์ไว้เป็นอย่างดี
ความเป็นมาของการตั้งชื่อหมู่บ้าน “โคกสะแกลาด” ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน นายทองล้วน ปัจสา (สัมภาษณ์ : 2563) อายุ 54 ปี เล่าว่า แต่ก่อนพื้นที่เต็มไปด้วยป่าโคก เลยเป็นที่มาของคำว่า “โคก” คำว่า สะแก มาจากต้นสะแกที่มีอยู่จำนวนมาก คำว่า ลาด มาจากน้ำที่ท่วมแล้วทำให้พื้นที่ลาดไปหมด จึงเป็นที่มาของบ้าน “โคกสะแกลาด” ขณะเดียวกันผู้รู้ในชุมชนก็ได้เล่าที่มาของชื่อหมู่บ้านตรงกัน และคนที่อพยพส่วนใหญ่มาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น อุบลราชธานี
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านเกาะลำโพง, ถนนทางหลวงแผ่นดินสายเพชรบูรณ์-นารายณ์
- ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านคลองมะกอก แม่น้ำป่าสัก
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ คลองตาดำ บ้านโคกรังน้อย
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านนาตะกรุด บ้านรักไทย
การคมนาคม เส้นทางคมนาคมสะดวก มีรถโดยสารสาธารณะจากเพชรบูรณ์-ลำนารายณ์ ระยะทางถึงอำเภอศรีเทพ 143 กิโลเมตร
บ้านโคกสะแกลาด ประกอบด้วย 449 หลังคาเรือน มีประชากรรวม 2,018 คน แบ่งเป็นชาย 1,018 คน และหญิง 1,000 คน
ประกอบอาชีพเกษตรกร เลี้ยงวัว ปลูกข้าว ข้าวโพด ปลูกงา ค้าขาย ส่วนอาชีพเสริม งานทอเสื่อกก ถักหมวก/พรมเช็ดเท้า งานจักสานตะกร้า กระบุง ดนตรีประยุกต์พื้นบ้าน และรับจ้างทั่วไป
ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ยังคงรักษาวัฒนธรรมประเพณี ลงแขกเกี่ยวข้าว สงกรานต์ เป็นต้น (อ้างจาก องค์การบริหารส่วนตำบลศรีเทพ. 2563 : ออนไลน์)
1) นายสากล บุญศรี ผู้ใหญ่บ้าน
2) นายยศ หงส์ดี ปราชญ์ชาวบ้านด้านศิลปะการดนตรีไทย-อิสาน, ด้านดนตรีสากล
3) นายสุพัน ปะวะเน ปราชญ์ชาวบ้านด้านดนตรีสากล
4) นางสมหวัง มูลลี ปราชญ์ชาวบ้านด้านงานทอเสื่อ ทอผ้า
5) นางทุมมา เกตุขุนทด ปราชญ์ชาวบ้านด้านอุปกรณ์จับสัตว์น้ำ
6) นายวาน ศรีห่มจัน ปราชญ์ชาวบ้านด้านจักสานตะกร้า ตะแกรง
สุนทรีย์ รอดดิษฐ์. (2563). การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชนรอบอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ โดยการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน (รายงานการวิจัย). เพชรบูรณ์: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
องค์การบริหารส่วนตำบลศรีเทพ. (ม.ป.ป.). ประวัติหมู่บ้าน. ค้นจาก http://https://sites.google.com/site/srithepsaophetchabun/khxmul-phun-than/hmu-thi-2