Advance search

บ้านหนองเรือ ฉะเชิงเทรา ชุมชนขนาดเล็กบริเวณริมอ่างเก็บน้ำ หากแต่มีมรดกทางความเชื่ออันยิ่งใหญ่ ดังเช่นศาลเจ้าพ่อกา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่วิถีชีวิตและหมู่บ้านหนองเรือมาอย่างยาวนาน 

บ้านหนองเรือ
ท่าตะเกียบ
ท่าตะเกียบ
ฉะเชิงเทรา
ธำรงค์ บริเวธานันท์
28 เม.ย. 2023
ธำรงค์ บริเวธานันท์
29 เม.ย. 2023
ธำรงค์ บริเวธานันท์
30 เม.ย. 2023
บ้านหนองเรือ

ในช่วงที่จะมีการเปิดสัมปทานป่าทาง เจ้าหน้าที่ป่าไม้ได้เข้ามาสํารวจป่าจึงทําให้ชาวบ้านที่เข้ามาตัดไม้ทําเรือต้องหลบหนี และทิ้งซากเรือไว้จำนวนมาก จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน “หนองเรือ”


ชุมชนชนบท

บ้านหนองเรือ ฉะเชิงเทรา ชุมชนขนาดเล็กบริเวณริมอ่างเก็บน้ำ หากแต่มีมรดกทางความเชื่ออันยิ่งใหญ่ ดังเช่นศาลเจ้าพ่อกา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่วิถีชีวิตและหมู่บ้านหนองเรือมาอย่างยาวนาน 

บ้านหนองเรือ
ท่าตะเกียบ
ท่าตะเกียบ
ฉะเชิงเทรา
24160
13.48795052
101.688
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตะเกียบ

เดิมบริเวณหมู่บ้านในปัจจุบันเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ยังไม่มีผู้ใดมาอาศัย ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2505 บริเวณนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวบ้านท่าคาน (หมู่บ้านท่าคานเก่า) แต่ประสบปัญหาน้ำท่วมเนื่องจากการสร้างอ่างเก็บน้ำคลองสียัด จึงต้องย้ายไปสร้างหมู่บ้านใหม่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านหนองเรือ และกลุ่มคนทางอําเภอสนามชัยเขตเข้ามาตัดไม้สําหรับทําเรือไว้ใช้ บางรายก็นําไปขายเขตอําเภอบางคล้าและแปดริ้ว (จังหวัดฉะเชิงเทรา) เรือที่นิยมทําส่วนมาก จะใช้วิธีขุดหรือเจาะตรงกลางของต้นไม้ใหญ่ หรือบางรายก็จะเลื่อยเป็นแผ่นแล้วนํามาต่อเรือ ไม้ที่นิยมใช้ทําเรือจะเป็นไม้ตะเคียน ไม้พะยอม เพราะเป็นไม้เนื้อแข็งและเนื้อสวยมันวาว บริเวณนี้เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้ใหญ่น้อยนานาชนิด ในช่วงที่จะมีการเปิดสัมปทานป่าทาง เจ้าหน้าที่ป่าไม้ได้เข้ามาสํารวจป่าจึงทําให้ชาวบ้านที่เข้ามาตัดไม้ทําเรือต้องหลบหนี และทิ้งซากเรือไว้จำนวนมาก จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน หนองเรือ

อาณาเขต

  • ทิศเหนือ ติดกับ หมู่ที่ 16 บ้านหนองปรือน้อย
  • ทิศใต้ ติดกับ อ่างเก็บน้ำคลองสียัด
  • ทิศตะวันออก ติดกับ หมู่ที่ 2 บ้านท่าคาน
  • ทิศตะวันตก ติดกับ หมู่ที่ 20 บ้านเนินน้อย

ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศพื้นที่ของชุมชนบ้านหนองเรือมีสภาพเป็นลูกคลื่นมีความลาดชันไม่มาก มีภูเขา และที่ราบลุ่มบางส่วน เป็นพื้นที่ป่าลุ่มต่ำ มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 1 แห่ง คือ อ่างเก็บน้ำคลองสียัด มีหนองน้ำภายในหมู่บ้านที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ 4 แห่ง และมีลําห้วย เล็ก ๆ 2 สาย ที่ไหลมาจากภูเขาลงสู่อ่างเก็บน้ำคลองสียัด ใช้สําหรับการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์ แต่ยังคงประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง เพราะบริเวณหมู่บ้านอยู่เหนือเขื่อน จึงได้มีการขุดลอกเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่ง จากความร่วมมือของชาวบ้านในหมู่บ้าน เพื่อใช้ประโยชน์ในฤดูแล้ง คือหนองน้ำทดใหม่ใกล้กับอ่างเก็บน้ำ ส่วนที่ราบเป็นที่ดินสำหรับการเกษตร คือการทํานา ทําไร่ มันสําปะหลัง ยางพารา ไม้ยูคาลิปตัส มะละกอ นอกจากนี้ยังมีป่าชุมชนที่ยังสามารถเป็นแหล่งอาหารแก่ชาวบ้านในชุมชนและในเขตบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย

การตั้งบ้านเรือน

ชาวบ้านในหมู่บ้านหนองเรือ ตั้งบ้านเรือนกันอย่างหนาแน่นในเขตบริเวณถนนสายหลัก มีการวางผังการตั้งบ้านเรือนอย่างสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อยตั้งแต่ช่วงก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองสียัด เนื่องจากในอดีตที่ดินเป็นของนายทุนที่ได้ทําการจัดสรรที่ดินแบ่งขายให้กับชาวบ้าน และในหมู่บ้านได้มีการแบ่งเขตต่าง ๆ ในหมู่บ้านและตั้งชื่อเป็นคุ้มหรือกลุ่มบ้านที่มีบ้านเรือนอยู่ใกล้กัน

บ้านหนองเรือแบ่งการดูแลเป็น 6 คุ้ม ตามลักษณะเด่นของภูมิประเทศและที่ตั้งบ้านเรือนในปัจจุบัน ดังนี้

  1. คุ้มอ่างคุย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน เดิมจะมีเถาคุยหรือเถายาง ผลกินได้ รสชาติหวานอมเปรี้ยวขึ้นอยู่ใจกลางหนองน้ำบนจอมปลวก และจะมีศาลเจ้าเล็ก ๆ อยู่ด้วย กลุ่มอ่างคุยจะอาศัยน้ำแหล่งนี้ในการอุปโภคบริโภค ชาวบ้านแถวนี้จึงเรียกกลุ่มของตัวเองว่า อ่างคุย มาจนทุกวันนี้
  2. คุ้มหนองค่า (กลางบ้าน) ตั้งอยู่ส่วนกลางของหมู่บ้าน แต่เดิมในบริเวณนี้มีหนองน้ำ ประมาณ 7 ไร่ จะมีกอขึ้นอยู่มากมายตามขอบหนองน้ำ ต่อมาจึงได้มีกลุ่ม ๆ หนึ่งที่เข้ามาทําเรือแล้วทิ้งเรือเก่าเอาไว้ 1 ลํา แล้วกลุ่มคนที่มาอยู่ใหม่จึงเรียกว่าหนองเรือในภายหลัง หนองน้ำแหล่งนี้จะอยู่ใจกลางของหมู่บ้านในเขตบริเวณของสํานักสงฆ์หนองเรือ
  3. คุ้มหนองกระปูด ตั้งอยู่ทางตะวันตกของหมู่บ้าน บริเวณนี้เป็นหนองน้ำเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งที่ชาวบ้านค้นพบ มีสัตว์นานาชนิดลงมากินน้ำแห่งนี้เป็นประจํา หนึ่งในนั้นมีนกกระปูด ซึ่งเข้ามาตายบริเวณหนองน้ำ ส่งกลิ่นเน่าเหม็น ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถใช้น้ำจากอ่างได้ จึงเรียกว่า หนองกระปูด
  4. คุ้มเขาแหลม เป็นกลุ่มชาวบ้านที่อาศัยอยู่ตามริมถิ่นเขาแหลม อยู่ทางทิศตะวันออกของหนองเรือ เดิมจะเป็นกลุ่มเขาสามหมาด่าง ต่อมาหนองเรือเป็นหมู่บ้านจึงเปลี่ยนมาเป็นเขาแหลม
  5. คุ้มตะวันออก (หัวลิง) เป็นกลุ่มชาวบ้านที่ตั้งบ้านเรือนติดกับคุ้มกลางทางทิศตะวันออก และมีหนองน้ำที่มีต้นหัวลิง มีสัตว์มากินเป็นประจํา จึงเรียกตามจุดเด่นในพื้นที่ว่ากลุ่มหัวลิงคุ้มบ้านสามหลัง เป็นกลุ่มชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้กับอ่างเก็บน้ำคลองสียัด ในตอนเริ่มแรกมีชาวบ้านตั้งอยู่แค่ 3 หลัง จึงเรียกกันติดปากว่าบ้านสามหลัง 

บ้านหนองเรือมีจํานวนครัวเรือนทั้งหมด 229 ครัวเรือน ประชากรทั้งสิ้น 1,038 คน ชาย 520 คน หญิง 518 คน ประชากรส่วนมากอยู่ในวัยทํางาน (ช่วงอายุ 30-44 ปี) และวัยรุ่น (ช่วงอายุ 20-29 ปี) ตามลําดับ

อาชีพหลักของชาวบ้านหมู่บ้านหนองเรือ คือ ทํานา ทําไร่ และ รองลงมา คือ รับจ้าง ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ และไม่ค่อยมีประชากรจากต่างถิ่นมาทํางาน อาชีพที่ทําหมุนเวียนตลอดปี คือการทํานา ทําไร่มันสําปะหลัง เลี้ยงสัตว์ (โค กระบือ) หาปลา และรับจ้าง

โดยการทํานาของชาวบ้านนั้นเป็นการทํานาปี จะมีลักษณะการทํานาทั้งนาหว่านและนาดำ ขึ้นอยู่กับบริเวณว่าเป็นที่ลุ่มหรือที่ดอน หากเป็นที่ลุ่มก็จะทํานาดํา หากเป็นที่ดอนก็จะดํานาหว่าน เมื่อก่อนชาวบ้านนิยมทํานาดํา แต่เนื่องจากประสบปัญหาความแห้งแล้ง ฝนตกไม่ตรงตามฤดูกาล ทําให้นาที่ดําไว้ประสบความเสียหาย จึงต้องมาปรับเปลี่ยนมาเป็นการทํานาหว่านแทน เนื่องจากนาหว่านจะเสียหายเล็กน้อยกว่านาดําแม้ว่าปริมาณน้ำมีน้อยก็ตาม

ประชากรในหมู่บ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัดหนองเรือเป็นศูนย์กลาง โดยกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนามีประเพณีวัฒนธรรมการทําบุญตักบาตรตามความเชื่อและพิธีกรรม ทางศาสนาที่ยังยึดถือปฏิบัติ และยังมีความเชื่อและศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าพ่อเขากา ซึ่งมีฐานะและบทบาทเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำชุมชน สำหรับกิจกรรมประเพณีที่ชาวบ้านหนองเรือปฏิบัติกันทุกปีสม่ำเสมอ ได้แก่

  • วันขึ้นปีใหม่: ชาวบ้านไปทํางานต่างถิ่นจะกลับมาฉลองวันขึ้นปีใหม่และมีการทําบุญตักบาตรที่วัด พร้อมกับนําผ้าป่ามาทอดที่วัดเพื่อที่จะนําเงินมาบํารุงพระพุทธศาสนาและเพื่อรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามเอาไว้

  • บุญเดือน 3: ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 มีการทําบุญกลุ่มข้าวเปลือก หลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปีเสร็จแล้ว ชาวนาก็จะนําข้าวเปลือกมารวมกันที่วัดเพื่อที่จะทําบุญให้กับพระแม่โพสพที่หล่อเลี้ยงชีวิตชาวไร่ชาวนามาตลอด

  • วันสงกรานต์: มีการสรงน้ำพระพุทธรูปและพระสงฆ์ ตลอดจนรดน้ำดําหัวคนเฒ่าคนแก่ตลอด 3 วัน

  • วันวิสาขบูชา: คืนวันเพ็ญเดือน 6 ตอนเย็นมีการแสดงพระธรรมเทศนา มีการเวียนเทียนรอบศาลา 3 รอบ

  • การทําบุญเบิกบ้าน: ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 6 ในตอนเย็นมีกิจกรรมนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ที่ศาลากลางหมู่บ้านพร้อมกับดึงด้ายสายสินจน์จากศาลากลางบ้านไปตามครัวเรือนในหมู่บ้านจนครบ ตอนเช้ามีการทําบุญตักบาตร พร้อมกับมีการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟขึ้น ซึ่งจะมีการประกวดบั้งไฟชิงเงินรางวัล โดยชาวบ้านได้ทํากันมาทุกปี

  • วันอาสาฬหบูชา: ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 มีการถวายเทียนเข้าพรรษาและผ้าอาบน้ำฝนแก่พระภิกษุ สามเณรที่อยู่จําพรรษาอยู่ที่วัด มีการทําบุญตักบาตร และมีการแสดงพระธรรมเทศนา เวียนเทียน มีการบวชชี-พราหมณ์ ถือศีลอุโบสถ เป็นเวลาหนึ่งวันกับหนึ่งคืน

  • ทําบุญข้าวประดับดิน: แรม 15 ค่ำ เดือน 9 ตอนเช้ามืดชาวบ้านทําใบตองห่อบรรจุด้วยข้าวปลาอาหารหวานคาวนํามาให้พระสงฆ์ที่วัดเพื่อชักบังสุกุล ก่อนนําไปฝังดินไว้ในเขตพื้นที่บริเวณวัด เพื่ออุทิศให้พระแม่ธรณีและเจ้ากรรมนายเวร

  • วันสารทไทย: ในเดือนนี้จะมีการองค์กฐินมาทอดที่วัดทุกปี

  • วันลอยกระทง: ขึ้น 15 เดือน 12 ตอนเช้ามีการทําบุญตักบาตร ตอนเย็นมีการเจริญพระพุทธมนต์ และลอยกระทงที่สระในบริเวณสํานักสงฆ์

  • ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่: ชาวบ้านมาทําบุญตักบาตรฟังธรรมเทศนาที่สํานักสงฆ์เป็นประจําทุกปี

1. นายพล (ไม่ทราบนามสกุล)  ปราชญ์ชาวบ้านด้านการรักษาโรคด้วยวิธีการเป่ามนต์คาถา 

ภูมิปัญญาการรักษาโรคพื้นบ้าน: พญาลูกตุ้ม

การรักษาด้วยยาตํารับพญาลูกตุ้มเชื่อว่าเป็นภูมิปัญญาสืบทอดมาแต่โบราณมาถึงท่านเจ้าอาวาสวัดหนองเรือในปัจจุบัน มีคุณสมบัติช่วยรักษาอาการปวดเมื่อย

ภูมิปัญญาการรักษาโรคพื้นบ้าน: ไสยศาสตร์

ปัจจุบันบ้านหนองเรือมีหมอพื้นบ้านผู้รักษาโรคด้วยไสยศาสตร์ คือ นายพล ซึ่งเป็นผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีความชํานาญด้านการรักษาโรคที่เกี่ยวกับความเชื่อทางด้านไสยศาสตร์ ปัจจุบันชาวบ้านยังรับการรักษาด้วยวีการทางไสยศาสตร์อยู่ แต่มีจำนวนน้อยลง เนื่องจากส่วนใหญ่จะเข้ารับการรักษาจากการแพทย์แผนปัจจุบันในโรงพยาบาล 

ภาษาพูด : ภาษาไทยกลาง

ภาษาเขียน : ภาษาไทยกลาง


ในหมู่บ้านไม่มีโรงเรียน นักเรียนส่วนใหญ่จึงไปเรียนที่โรงเรียนบ้านหนองประโยชน์ ซึ่งตั้งอยู่ในเขต หมู่ 6 ตําบลท่าตะเกียบ ซึ่งอยู่ติดกัน เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 จัดการศึกษาให้กับนักเรียนในเขตบริการโรงเรียนจํานวน 4 หมู่บ้าน คือ บ้านหนองประโยชน์ บ้านหนองเรือ บ้านเนินน้อย และบ้านหนองปรือ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

พฤติพร จินา. (2552). ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ กับวิถีการ เฮ็ดอยู่ เฮ็ดกิน กรณีศึกาษา: บ้านหรองเรือ ตำบลท่าตะเกียบ อำเท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา. สารนิพนธ์ประกาศนียบัตรบัณฑิต (บัณฑิตอาสาสมัคร) สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Chawee Wongprasittpporn. (2565). อ่างเก็บน้ำคลองสียัด. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.google.com.sa/ [สืบค้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2566].

purisa boonkhet. (2565). อ่างเก็บน้ำคลองสียัด. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.google.com.sa/ [สืบค้นเทื่อวันที่ 30 เมษายน 2566].