Advance search

ชุมชนบ้านท่าสนุกเป็นชุมชนที่ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ป่าชายเลนซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญของชุมชน มีจัดสร้างเส้นทางศึกษาธรรมชาติเพื่อเป็นพื้นที่เรียนรู้ความสำคัญของป่าชายเลน

หมู่ที่ 3
บ้านท่าสนุก
มะรุ่ย
ทับปุด
พังงา
ธำรงค์ บริเวธานันท์
16 เม.ย. 2023
ธำรงค์ บริเวธานันท์
27 เม.ย. 2023
ธำรงค์ บริเวธานันท์
30 เม.ย. 2023
บ้านท่าสนุก

บ้านท่าสนุก เดิมชื่อ ท่าสะร้า มาจากชื่อของ นายสะร้า ซึ่งสมาชิกในชุมชน นายสะร้า เป็นคนแรกที่อาศัยในพื้นที่ เมื่อราว 100 ปี ที่แล้ว ชาวบ้านแถบนี้จึงเรียก บริเวณนี้ว่า ท่าสะร้า ตามชื่อ นายสะร้า และเปลี่ยนชื่อเป็น ท่าสนุก ปี พ.ศ. 2480 


ชุมชนชนบท

ชุมชนบ้านท่าสนุกเป็นชุมชนที่ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ป่าชายเลนซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญของชุมชน มีจัดสร้างเส้นทางศึกษาธรรมชาติเพื่อเป็นพื้นที่เรียนรู้ความสำคัญของป่าชายเลน

บ้านท่าสนุก
หมู่ที่ 3
มะรุ่ย
ทับปุด
พังงา
82180
8.416356731
98.63791734
องค์การบริหารส่วนตำบลมะรุ่ย

ราว 200 ปี ก่อน ชาวบ้านหนีสงครามและเชลยศึกสงคราม ถูกนำตัวขึ้นเรือจากปาตานีเพื่อไปสยาม มีบางคนหลบหนีด้วยการกระโดดเรือเอาตัวรอดได้ขึ้นฝั่งที่ท่าเรือสระซึ่งเป็นท่าเรือใหญ่ ชาวบ้านท่าสระร้าหลายครอบครัวจึงเป็นคนปาตานี และบางส่วนมาจากปีนัง เพราะมาทำประมง แล้วมาแต่งงานกับชาวบ้านที่ท่าสระร้า ปัจจุบันจึงมีหลายครอบครัวที่มีบรรพบุรุษมาจากประเทศมาเลเซีย

ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติบ้านท่าสนุก มีส่วนสำคัญในการดึงดูดผู้คนในระแวกใกล้เคียงให้เข้ามาทำกิน จนกระทั่งเกิดการขยายตัวของชุมชน ในช่วง ปี พ.ศ. 2465 เมื่อมีผู้คนเข้ามาอาศัยมากขึ้นราชการจึงเห็นควรที่จะเปิดโรงเรียน ซึ่งก่อนหน้านั้นต้องอาศัยเรียนตามใต้ถุนวัด กระทั่งสามารถจัดตั้งโรงเรียนโดยได้รับการบริจาคที่ดินจากชาวบ้าน ในปี พ.ศ. 2480 พร้อมกันนั้นเปลี่ยนชื่อจาก บ้านสะร้า มาเป็น บ้านสนุก ตามชื่อโรงเรียนบ้านท่าสนุก

ช่วง ปี พ.ศ. 2480 ที่มีการจัดตั้งโรงเรียนบ้านท่าสนุก ภายในชุมชนเกิดโรคไข้ทรพิษระบาด สมาชิกชุมชนเสียชีวิตจากไข้ทรพิษจำนวนมาก จึงมีการอพยพย้ายถิ่นฐานเข้าไปอาศัยในพื้นที่อ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ราว 5 – 6 ปี หลังจากไข้ทรพิษเริ่มหายไป สมาชิกชุมชนที่ย้ายไปเริ่มกลับเข้ามาตั้งถิ่นฐานในหมู่บ้านท่าสนุก และค่อย ๆ ฟื้นชุมชนกลับให้มีชีวิตชีวาดังเดิม

บ้านท่าสนุก อยู่ในเขตการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลมะรุ่ย อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา บ้านท่าสนุก อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอทับปุด ประมาณ 12 กิโลเมตร และห่างจากเมืองพังงา 38 กิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านบ่อแสนไทรงาม หมู่ที่ 2
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านโคกไครหมู่ที่ 1
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านคลองจูด หมู่ที่ 5
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เขตอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่

สภาพพื้นที่ทางกายภาพ

ลักษณะทางกายภาพของบ้านท่าสนุก เกิดจากดินตะกอนพัดพาทับถมบริเวณปากคลองบ่อแสนและคลองมะรุ่ยเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชพรรณไม้ชายเลน ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเลและผืนดินของบ้านท่าสนุก ชาวบ้านจึงมีการประกอบอาชีพทำประมงและทำนาข้าว ผลผลิตที่ได้ชุมชนนำมาแลกเปลี่ยนระหว่างกัน นอกจากนี้มีการหาหอยตลับเพราะบริเวณนี้มีดอนหอยตลับที่เป็นแหล่งเศรษฐกิจของชุมชนมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ช่วงเดือนกลางพฤษภาคม ถึง เดือนตุลาคม และ ลมมรุมตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนพฤษภาคม

จำนวนประชากรของชุมชนบ้านบางสนุก จากการสำรวจข้อมูลสถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน) โดยสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง เดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2566 รายงานจำนวนประชากรบ้านบางสนุก หมู่ที่ 3 ตำบลมะรุ่ย อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา ประกอบด้วย จำนวนประชากรชาย 655 คน จำนวนประชากรหญิง 594 คน จำนวนประชากรทั้งหมด 1,249 คน จำนวนหลังคาเรือน  347 หลังคาเรือน

หมู่บ้านที่สนุกมีพื้นที่ประมาณ 3,294 ไร่ สมาชิกชุมชนบ้านท่าสนุกส่วนใหญ่มาจากตระกูลเดียวกัน ความสัมพันธ์ลักษณะระบบเครือญาติ โดยนามสกุลที่พบในชุมชน ประกอบด้วย ตระกูลธัญญุพักตร์ คำนึงการ กะสิรักษ์ และสุดสาย และในสายตระกูลนี้ก็เป็นญาติ พี่ น้อง มีความสัมพันธ์ในเครือญาติ และตั้งบ้านเรือนเป็นกลุ่มในพื้นที่ ซอยสันติสุข (ท่าเหนือ) ซอยพัฒนา (ท่ากลาง) ซอยร่วมใจ (ท่าใต้) ซอยท่าแกรง (ท่าแกรง)

ระบบเครือญาติของชุมชนบ้านท่าสนุกเป็นจุดเด่นของหมู่บ้าน ถึงแม้ว่าคนละนามสกุลแต่หากสืบย่านสาวโยด จะพบว่าแต่ละคนมีความเป็นญาติพี่น้องกัน ฉะนั้นชุมชนจึงให้ความสำคัญกับการนับเครือญาติ สรรพนามที่แสดงถึงความเป็นเครือญาติ ประกอบด้วย ม๊ะ หมายถึง แม่ ป๊ะ หมายถึง พ่อ สู หมายถึง น้าหรืออา จ๊ะ หมายถึง พี่สาว บัง หมายถึง พี่ชาย ม๊ะหญิง หมายถึง ย่าหรือยาย ป๊ะชาย หมายถึง ปู่หรือตา บิดามารดา เรียกลูกชายว่า ลูกบ่าว ลูกสาวคนโต เรียกว่า นุ้ย ซึ่ง นุ้ย เป็นสรรพนามแทนตนเองในการสนทนากับผู้อาวุโสก็ได้ เป็นต้น

การปลูกฝังความเป็นเครือญาติในครองครัวมีความเคร่งครัดกระทั่งปัจจุบัน กรณีความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในครอบครัวพ่อแม่หรือผู้อาวุโสเป็นผู้ไกล่เกลี่ย โดยการสอบถามเหตุผลและตัดสินด้วยเหตุผลประนีประนอมลดความขัดแย้ง ด้วยการพูดจาปรับความเข้าใจ

บ้านท่าสนุกมีกลุ่มที่จัดตั้งโดยชุมชนดังนี้ 
  • กลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งบ้านท่าสนุก ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2547 จะตั้งเพื่อการอนุรักษ์พื้นที่ป่าชายเลนและพันธุ์สัตว์น้ำ
  • กลุ่มส่งเสริมอาชีพเลี้ยงปลา เป็นการรวมกลุ่มของชาวบ้านในชุมชน เพื่อส่งเสริมอาชีพเลี้ยงปลา ให้เป็นไปเพื่อประโยชน์และสร้างความเจริญก้าวหน้าของบ้านท่าสนุก
  • กลุ่มเลี้ยงหอยในกระชัง วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ไม่มีที่ดินทำกินมีอาชีพที่แน่นอนและมั่นคง ส่งเสริมรายได้สำหรับชุมชน
  • กลุ่มเลี้ยงหอยนางรมเพื่อเป็นอาหารกลางวันนักเรียน จัดตั้งโดยกลุ่มเลี้ยงหอยนางรม เพื่อเป็นอาหารกลางวันเด็ก ปี พ.ศ 2551 เพื่อหารายได้เป็นกองทุนอาหารกลางวันให้กับนักเรียนบ้านท่าสนุก 
  • กลุ่มส่งเสริมกิจกรรมประมง ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ 2549 ผู้ที่เป็นสมาชิกต้องเป็นชาวประมง คณะกรรมการจะทำหน้าที่จัดซื้ออุปกรณ์และเครื่องมือประมงมาเก็บไว้ สำหรับขายให้กับสมาชิกในราคาถูก สมาชิกสามารถผ่อนชำระเป็นงวด ๆ ได้ 
  • กลุ่มพึ่งตนเองชมรมสามัคคีท่าสนุก เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของสตรีในชุมชนที่ร่วมกิจกรรมรักษาทรัพยากรของชุมชน จัดตั้งเพื่อให้ผู้ด้อยโอกาสและผู้ว่างงานในชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมอนุรักษ์ เพื่อไปสู่กิจกรรมการค้าและผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์และการประมง
  • กลุ่มเครื่องแกงตำมือบ้านท่าสนุก เพื่อให้สมาชิกมาช่วยกันทำเครื่องแกงส่งจำหน่ายยังแหล่งรับซื้อต่าง ๆ ทั้งในชุมชนและนอกชุมชน
  • ชมรมกีฬากลุ่มเยาวชน การจัดกิจกรรมด้านกีฬาภายในหมู่บ้านไม่ได้รับการวางแผนดำเนินงานอย่างเป็นระบบและขาดงบประมาณสนับสนุนกิจกรรม กลุ่มเยาวชนและผู้นำชุมชนจึงมีแนวคิดจัดตั้งกองทุนเพื่อการจัดการแข่งขันกีฬาของชุมชน 

สมาชิกชุมชนบ้านท่าสนุก ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม วัฒนธรรมอิสลามจึงเป็นวิถีชีวิตของชุมชน การปฏิบัติตนตามหลักคำสอนของศาสนาเป็นสิ่งที่สมาชิกของชุมชนดำเนินอย่างไม่บกพร่อง วัฒนธรรมอิสลามของชุมชนประกอบด้วย การละหมาดประจำสัปดาห์ พิธีเข้าสุหนัต นิกะห์ การถือศีลอด วันฮารีรายอ

อาชีพสมาชิกชุมชนบ้านท่าสนุก ประกอบด้วย อาชีพเกษตรกรรม การเพาะปลูกยางพารา แทงปาล์มและบรรทุกปาล์ม การประมง เลี้ยงสัตว์ รับจ้างทั่วไป การบริการและการค้าขาย

  • การประกอบอาชีพการประมง การทำประมงของชุมชนเป็นการทำประมงชายฝั่ง โดยการออกเรือวางไซดักปู ไซปลา สวิงจับปลา จับปูเปรี้ยว การเพาะเลี้ยงปลานกระชัง หากครอบครัวใดมีทั้งออกเรือหาปลาและปลาในกระชังสามีเป็นผู้ออกเรือ ส่วนภรรยาทำหน้าที่เลี้ยงปลาในกระชัง
  • การเพาะเลี้ยงหอยนางรม มีวิธีการ 2 แบบ คือ การใช้ล้อยางแขวนล่อลูกหอย และแบบกระชังแขวนเลี้ยงหอยใหญ่ โดยมีการเลี้ยงหอย 2 ชนิด คือ หอยนางรมกรามขาวและหอยนางรมกรามดำ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงพันธุ์กรามขาวมากกว่าเพราะเนื้อมีสีขาวนวล มีตลาดรองรับดีกว่า ส่วนหอยนางรมกรามดำมีการเติบโตช้าและสีไม่สวย
  • การเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพเสริม มีทั้งเลี้ยงเพื่อขายและเลี้ยงไว้กิน สัตว์ที่ชาวบ้านเลี้ยง อาทิ แพะ โคเนื้อ ไก่
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ดอนหอยตลับ

ทรัพยากรธรรมชาติทุนชุมชนของบ้านท่าสนุก ดอนหอยตลับเป็นแหล่งทรัพยากรอาหารที่สำคัญของชุมชนบ้านท่าสนุกและชุมชนใกล้เคียง พื้นที่ดอนหอยตลับกว้าง 465 เมตร ยาว 990 เมตร เนื้อที่ 287 ไร่ สมัยก่อนชาวบ้านเก็บหอยตลับเป็นอาชีพหลัก โดยใช้เครื่องมือคราดหอย เรียกว่า นาง ทำมาจากไม้ไผ่ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ไม่ทำลายระบบนิเวศ

อย่างไรก็ดีช่วงปี พ.ศ. 2540 การขยายตัวของการทำฟาร์มกุ้ง การขยายพื้นที่ทำสวนปาล์ม ส่งผลต่อคุณภาพน้ำ ทำให้ปริมาณหอยตลับและสัตว์น้ำอื่น ๆ ลดลง ส่งผลให้วิถีการทำกินของชุมชนเปลี่ยนแปลง ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา ชุมชนโดยกลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมมือกับหน่วยงานด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ จากภายนอกในการฟื้นฟูดอนหอยตลับ

การฟื้นฟูดอนหอยตลับของชุมชน จัดกิจกรรมปีละ 2 ครั้ง เดือนเมษายนและเดือนสิงหาคม โดยประชาสัมพันธ์ให้ทุกหน่วยงานในชุมชนและภายนอกชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมทั้งภาครัฐและเอกชน ความสำเร็จของโครงการฟื้นฟูดอนหอยตลับนำไปสู่การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการทรัพยากรของชุมชน กระทั่งชุมชนร่วมกันสร้างกติกาในการใช้ประโยชน์จากดอนหอยตลับ คือ

  • ห้ามปักหลักหอยนางรมบนดอนหอยตลับ
  • ห้ามเก็บหอยขนาดเล็ก เพราะจะนำไปส่การสูญพันธุ์
  • ห้ามใช้เครื่องมือคราดหอย ลากด้วยเรือ เพราะการใช้เครื่องมือคราดจะทำให้ได้หอยทุกขนาดและบางส่วนหลุดไปจากดอน ทำให้หอยตาย
  • ห้ามมีโรงต้มหอย เพราะการต้มหอยนำไปสู่การเก็บหอยทุกขนาด เพื่อนำมาต้มแล้วแกะเนื้อส่งขายโรงงาน ซึ่งเป็นการทำลายทรัพยากร

ความสำเร็จของการฟื้นฟูดอนหอยตลับของชุมชนทำให้พื้นที่ค่อย ๆ กลับมาฟื้นฟูตนเอง เริ่มมีหอยตลับเกิดขึ้นในดอนทราย ชาวบ้านเริ่มเก็บหอยได้ดังเดิม เป็นอาชีพที่สร้างรายได้เลี้ยงตนเองของชุมชน และเยาวชนกลับมาเห็นคุณค่าของดอนหอยตลับมากขึ้น นอกจากนี้สัตว์ชนิดอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน อาทิ หอยอู่หนำ หอยนกคุ่ม ปูดำ ปลากระบอก ปลาหนาม แมงดาทะเล งูทะเล ช่วงเวลาที่สามารถเก็บหอยตลับ คือ

  • แรม 1 – 4 ค่ำ น้ำแห้งเวลา 5 – 6 โมงเย็น น้ำชวงนี้ชาวบ้านไม่เก็บหอย เพราะน้ำแห้งช่วงเวลาค่ำ
  • แรม 5 – 11 ค่ำ ช่วงนี้เรียกว่า น้ำตาย น้ำแห้งช้า ๆ และ ขึ้น ช้า ๆ สามารถเก็บหอยตลับๆได้แต่ต้องมเก็บ 

ภาษาถิ่นใต้ จังหวัดระนอง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

อัมราน แวกือจิ. (2555). กระบวนการฟื้นฟูดอนหอยตลับอย่างมีส่วนร่วมของชาวชุมชน : กรณีศึกษา บ้านท่าสนุก หมู่ที่ 3 ตำบลมะรุ่ย อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิพัฒน์ ทองเพชร. (2558). คลองมะรุ่ย พังงา. ค้นจาก https://www.thetrippacker.com/

ศูนย์ข้อมูลกลางทางด้านการศาสนา. (ม.ป.ป.). มัสยิดบ้านท่าสนุก. ค้นจาก https://e-service.dra.go.th/

ท่าสนุก ฮาลาล ซีฟู้ด. (2564). การเพาะเลี้ยงชายฝั่งบ้านท่าสนุก. [Facebook]. https://www.facebook.com/

ของดีพังงา. (2563). หอยตลับ. [Facebook]. https://www.facebook.com/

Phuketandamannews. (2559). หอยตลับ. [Facebook]. https://www.facebook.com/