บ้านศรีเทพน้อย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เป็นชุมชนไทยเบิ้งที่มีความอายุเก่าแก่มากกว่าชุมชนใกล้เคียง
บ้านศรีเทพน้อย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เป็นชุมชนไทยเบิ้งที่มีความอายุเก่าแก่มากกว่าชุมชนใกล้เคียง
บ้านศรีเทพน้อย ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบรูณ์ จากคำบอกเล่าของคนในพื้นที่เชื่อว่าบ้านศรีเทพน้อยเป็นคนพื้นเพเดิมโดยกำเนิด สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษของเมืองศรีเทพ เพราะตั้งบ้านเรือนติดอยู่กับบริเวณกำแพงเมืองเก่าศรีเทพโดยมีวัฒนธรรมประเพณีอิงถึงเรื่องประวัติเจ้าเมืองศรีเทพหรือเจ้าพ่อศรีเทพ
บ้านศรีเทพน้อยตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ มีอายุเก่าแก่กว่าหมู่บ้านอื่น ๆ เป็นที่อยู่อาศัยของผู้ใช้ภาษาถิ่น “ไทยดิ้ง” หรือ “ไทยเบิ้ง” บ้านศรีเทพน้อยเดิมเรียกว่า “บ้านใหญ่” จากคำบอกเล่าต่อ ๆ กันมาของคนเฒ่าคนแก่ว่า ในอดีตเคยเป็นหมู่บ้านหรือชุมชนต่าง ๆ รอบเมืองศรีเทพก่อนที่จะแยกย้ายอพยพไปตั้งบ้านเรือนใหม่ เช่น บ้านนาตะกรุด บ้านสนุ่ม บ้านนาน้ำโครม บ้านอรัง (อำเภอเมืองวิเชียรบุรี) ตำบลบัวชุม (อำเภอชัยบาดาล) และอำเภอสระโบสถ์ (จังหวัดลพบุรี) เป็นต้น ซึ่งพื้นเพเดิมของชาวบ้านในชุมชนเหล่านั้นก็มาจากบ้านศรีเทพน้อยหรือบ้านใหญ่ในอดีต
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลนาสนุ่น บ้านโคกตะขบ, บ้านนาน้ำโคม
- ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านนาตะกรุดพัฒนา
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านเกาะลำโพง, ตำบลหนองย่างทอย
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านสระปรือ, บ้านหลักเมือง
การคมนาคม การคมนาคมสะดวก ระยะทางจากอำเภอศรีเทพ ถึงบ้านศรีเทพน้อย 12 กิโลเมตร
บ้านศรีเทพน้อย ประกอบด้วย 187 ครัวเรือน มีประชากรรวม 732 คน แบ่งเป็นชาย 373 คน และหญิง 359 คน
ไทเบิ้งปฏิทินประเพณีประจำปีท้องถิ่นที่ชุมชนยึดถือปฏิบัติ คือ “บวงสรวงเจ้าพ่อศรีเทพ” ซึ่งตรงกับวันที่ 15 มกราคม วันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ประชาชนในพื้นที่และใกล้เคียงจะมารวมตัวกันทำพิธีเลี้ยงเจ้าพ่อศรีเทพ โดยที่หมู่ 5 ถือเป็นแหล่งกำเนิดตั้งเดิมของประเพณี ปัจจุบันประเพณีนี้จัดขึ้นสองแห่ง ได้แก่ พื้นที่หมู่ 5 และอุทยานประวัติศาสตร์ และมีประเพณีเลี้ยงอีตาส่งผีแขก คือ การเลี้ยงผีเจ้าที่หรือผีที่ไม่มีญาติ และประเพณี ส่งเจ้าพ่อไปทัพ จัดในวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 10 ตามความเชื่อเจ้าพ่อจะไปออกรบ ไปเที่ยวหาเมืองขึ้น เมื่อชาวบ้านเกิดอาการไม่ปกติก็ต้องบนขอเจ้าพ่อศรีเทพให้หายป่วยเจ็บไข้ เมื่อไปรบแล้วก็จะมี พิธีการรับเจ้าพ่อกลับจากทัพ ด้วยความเชื่อว่า ถ้าเจ้าพ่อศรีเทพไปทัพชนะข้าศึกหรือมีอาการที่กลับมาแสดงออกถึงความสนุกสนาน ร่าเริง หมายถึง ความเป็นอยู่ในปีนั้นจะดี ผลผลิตการเกษตรอุดมสมบูรณ์ กลับกันหากเจ้าพ่อแสดงอาการแพ้เชื่อว่า คนในพื้นที่จะเกิดความเดือดร้อน สัตวเลี้ยงล้มตาย การประกอบอาชีพในปีนั้นก็จะไม่ดีไปด้วย (อ้างใน องค์การบริหารส่วนตำบล. 2563 : ออนไลน์)
1) นางสิราวรรณ พันธ์ทอง ผู้ใหญ่บ้าน
2) นายวัง คล้ายใจตรง ปราชญ์ชาวบ้านด้านนวดแผนไทย
3) นายทำ ตะกรุดวัด ปราชญ์ชาวบ้านด้านจักสาน
4) นางวิรัช ตะกรุดน้ำ ปราชญ์ชาวบ้านด้านทอเสื่อกก
5) นายคชธร คล้ายใจตรง ปราชญ์ชาวบ้านด้านการพิธี ศาสนา การรักษาแบบภูมิปัญญาท้องถิ่น
ทุนวัฒนธรรม
สถานที่ท่องเที่ยว ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองแบบไม้ดั้งเดิม
สุนทรีย์ รอดดิษฐ์. (2563). การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชนรอบอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ โดยการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน (รายงานการวิจัย). เพชรบูรณ์: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
องค์การบริหารส่วนตำบลศรีเทพ. (ม.ป.ป.). ประวัติหมู่บ้าน. ค้นจาก http://https://sites.google.com/site/srithepsaophetchabun/khxmul-phun-than/hmu-thi-2