Advance search

บ้านน้ำผุดตั้งอยู่บริเวณที่ราบลอนฟูกของแนวเทือกเขานครศรีธรรมราช หรือในท้องถิ่นเรียนเทือกเขาบรรทัดปกคลุมด้วยป่าไม้อุดมสมบูรณ์ ทำให้อากาศเย็นในช่วงฤดูฝนและสามารถพบการเกิดหมอกในช่วงเช้า 

หมู่ที่ 1
บ้านน้ำผุด
น้ำผุด
เมืองตรัง
ตรัง
ธำรงค์ บริเวธานันท์
8 เม.ย. 2023
ธำรงค์ บริเวธานันท์
27 เม.ย. 2023
ธำรงค์ บริเวธานันท์
1 พ.ค. 2023
บ้านน้ำผุด

เล่ากันว่าสมัยก่อนมี น้ำผุด มาจากพื้นดินระดับน้ำสูงมาก จากนั้นเป็นต้นมาชาวบ้านต่างเรียกพื้นที่นี้ว่า บ้านน้ำผุด


ชุมชนชนบท

บ้านน้ำผุดตั้งอยู่บริเวณที่ราบลอนฟูกของแนวเทือกเขานครศรีธรรมราช หรือในท้องถิ่นเรียนเทือกเขาบรรทัดปกคลุมด้วยป่าไม้อุดมสมบูรณ์ ทำให้อากาศเย็นในช่วงฤดูฝนและสามารถพบการเกิดหมอกในช่วงเช้า 

บ้านน้ำผุด
หมู่ที่ 1
น้ำผุด
เมืองตรัง
ตรัง
92000
7.695995
99.70092237
องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด

ประวัติศาสตร์และความเปลี่ยนแปลงชุมชนบ้านน้ำผุดในช่วง ราว 100 ปี ที่ผ่านมา มีความสัมพันธ์การดำรงชีวิตของสมาชิกชุมชนในแต่ละช่วงเวลา เช่น การก่อตั้งโรงเรียน การทำเหมืองแร่ การแบ่งแยกอุดมการณ์ทางการเมือง แม้กระทั่งการที่ชุมชนมีตู้โทรศัพท์หยอดเหรียญ ช่วงเวลา (ไทม์ไลน์) การเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ของชุมชนบ้านน้ำผุด เป็นดังนี้ (ปัทมาวรรณ แป้นศิริ, 2559)

  • พ.ศ. 2346  ก่อตั้งวัดน้ำผุด
  • พ.ศ. 2476  ก่อตั้งโรงเรียนวัดน้ำผุด
  • พ.ศ. 2511  ตั้งสถานีตำรวจน้ำผุด ทำเหมืองแร่
  • พ.ศ. 2515  พื้นที่สีแดงมีการแบ่งแยกอุดมการณ์ทางการเมือง
  • พ.ศ. 2519  การแบ่งแยกอุดมการณ์ทางการเมืองนำไสู่เผาสถานีตำรวจ
  • พ.ศ. 2527  สร้างระบบน้ำประปาภูเขา
  • พ.ศ. 2529  กระแสไฟฟ้าเข้าหมู่บ้าน
  • พ.ศ. 2534  ก่อตั้งสถานีอนามัยน้ำผุด
  • พ.ศ. 2537  ก่อตั้งชมรมผู้สูงอายุน้ำผุด ตู้โทรศัพท์หยอดเหรียญ
  • พ.ศ. 2550  ก่อตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลน้ำผุด
  • พ.ศ. 2559  สร้างศาลาเอนกประสงค์
  • พ.ศ. 2560  ก่อตั้งร้านค้าประชารัฐ 

บ้านน้ำผุดหมู่ที่ 1 ตำบลน้ำขุ่นอำเภอเมืองตรังจังหวัดตรังห่างจากอำเภอเมืองตรังประมาณ 20 กิโลเมตรมีพื้นที่ทั้งหมด 6,925 ไร่

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 2 บ้านลําแพะ ตำบลปากแจ่ม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 9 บ้านไสขุดหิน ตำบลน้ำผุด อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 7 และ หมู่ที่ 12 บ้านเขาโหรง ตำบลน้ำผุด อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง     
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 10 บ้านปลวกล้อน ตำบลน้ำผุด อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

สภาพพื้นที่ทางกายภาพ

บ้านน้ำผุด ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลอนฟูกของแนวเทือกเขานครศรีธรรมราช หรือในท้องถิ่นเรียนเทือกเขาบรรทัดปกคลุมด้วยป่าไม้อุดมสมบูรณ์ ทำให้อากาศเย็นในช่วงฤดูฝนและสามารถพบการเกิดหมอกในช่วงเช้า สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน บ้านน้ำผุดได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เป็นช่วงฤดูฝนเริ่มราวเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมกราคม และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มช่วงปลายกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม 

สมาชิกในชุมชน มีการแต่งงานผูกความสัมพันธ์ขยายระบบเครือญาติพึ่งพาอาศัยกันในหมู่ญาติพี่น้อง ซึ่งบ้านน้ำผุดมีนามสกุลดั้งเดิมของชุมชน คือ เขตแก้วโชติรัตน์ ห้าสังข์ สีปานแก้ว ข้อมูลสถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร์ (รายเดือน) สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย รายงานสถิติจำนวนประชากรบ้านน้ำผุด หมู่ที่ 1 ตำบลน้ำผุด อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรังเดือนธันวาคม 2566 ดังนี้ จำนวนหลังคาเรือน 506 หลังคาเรือน จำนวนประชากรชาย 717 คน จำนวนประชากรหญิง 724 คน รวมประชากรทั้งสิ้น 1,441 คน ประชากรนับถือพุทธ 

บ้านน้ำผุด หมู่ที่ 1 อยู่ภายใต้อำนาจการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด แบ่งการปกครองทั้งสิ้น 12 หมู่บ้าน กลุ่มต่าง ๆ ในบ้านน้ำผุดประกอบด้วย

  • กลุ่มพัฒนาบทบาทสตรี การรวมกลุ่มพัฒนาบทบาทสตรีของชุมชนประกอบด้วยกลุ่มอาชีพ เช่น กลุ่มทอผ้า
  • กลุ่มเครื่องแกงตำมือ กลุ่มหัตถกรรม เป้าหมายของการจัดตั้งกลุ่ม เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มแม่บ้าน
  • ชมรมผู้สูงอายุจัดตั้งเพื่อผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมีสุขภาพที่ดีขึ้น
  • กองทุนหมู่บ้าน
  • กลุ่มออมทรัพย์หมู่บ้าน
  • กลุ่มด้านกิจกรรมกีฬาและการฝึกสอนกีฬาในหมู่บ้าน
  • กลุ่มด้านกิจกรรมคุ้มครองทางสวัสดิการชุมชน
  • คณะกรรมการหมู่บ้าน
  • สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
  • ผู้นำชุมชน

ชุมชนบ้านน้ำผุด หมู่ที่ 1 นับถือศาสนาพุทธ ชุมชนมีศาสนสถานสำคัญ 2 แห่ง คือ วัดน้ำผุดและวัดภูเขาทอง ประเพณี วัฒนธรรมและความเชื่อของชุมชนจึงสัมพันธ์กับพุทธศาสนา ประเพณี พิธีกรรม อย่างการทำบุญตักบาตรวันพระใหญ่ การทำบุญวันสงกรานต์ วันลอยกระทง งานบุญสารทเดือนสิบ ประเพณีลากพระ

สมาชิกชุมชนบ้านน้ำผุด มีรายได้ส่วนใหญ่มาจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งเป็นอาชีพหลักของสมาชิกในชุมชน เช่น การทำสวนยางพารา ส่วนปาล์มน้ำมัน เลี้ยงสัตว์ ค้าขาย ทำสวนผลไม้ ปลูกผัก รวมถึงการทำหัตถกรรมพื้นบ้าน เครื่องแกงตำมือและรับจ้างทั่วไป

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ภาษาถิ่นภาคใต้ จังหวัดตรัง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ความผันผวนของราคาผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะยางพาราพืชเศรษฐกิจหลักของชุมชน ทำให้ชุมชนต้องมีการปรับตัวเพื่อเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงและผลกระทบในการดำรงชีวิต จากการศึกษาของ ปัทมาวรรณ แป้นศิริ (2559) พบว่าในช่วงยางพาราราคาสูง ปี พ.ศ. 2544 - 2554 ชุมชนปลูกยางเพิ่มขึ้นมีการดำรงชีวิตทางเศรษฐกิจที่คล่องตัว การจับจ่ายใช้สอยในครอบครัวสามารถตอบสนองความต้องการของสมาชิกในครอบครัวตามที่ต้องการได้  แต่หลังจากราคายางพาราตกต่ำในช่วง ปี พ.ศ. 2555 – 2559 เกษตรกรชาวสวนยางพารา บ้านน้ำผุดมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น นอกจากนี้การปรับตัวที่สำคัญ คือ การหาอาชีพเสริมเพื่อให้มีรายได้เพียงพอแก่การใช่จ่าย วิธีการหารรายได้มีการทำอาชีพเสริมใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เช่น การฝึกอบรมงานอาชีพ อาทิ เรียนรู้งานด้านหัตถกรรม การเลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชผักสร้างรายได้เสริมในการดำรงชีพทางเศรษฐกิจ และการธุรกิจสืบเนื่องจากการจัดการท่องเที่ยวชุมชน 

ปัทมาวรรณ แป้นศิริ. (2559). การปรับตัวด้านอาชีพต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าเกษตร: กรณีศึกษาผู้ปลูกยางพาราบ้านน้ำผุด ตำบลน้ำผุด อำเภอเมืองตรังจังหวัดตรัง. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

น้ำผุดบ้านเรา. (2022, ตุลาคม 23). [ภาพถ่าย] Facebook. https://www.facebook.com/