ต้นจาน ที่มาของชื่อหมู่บ้าน ปลูกเรียงรายตั้งแต่ทางเข้าจนสุดทาง พร้อมเบ่งบานในช่วงฤดูร้อน เพื่อคอยย้ำเตือนว่าท่านเดินทางมาถึงหมู่บ้านแล้ว
ในสมัยโบราณทำเลที่ตั้งหมู่บ้านอยู่ริมบึงของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ประกอบกับมีที่นาจำนวนมาก อีกทั้งยังมีต้นจานหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ต้นทองกวาว ขึ้นอยู่เต็มบริเวณนา ชาวบ้านจึงเรียกขานว่า "บ้านบึงนาจาน"
ต้นจาน ที่มาของชื่อหมู่บ้าน ปลูกเรียงรายตั้งแต่ทางเข้าจนสุดทาง พร้อมเบ่งบานในช่วงฤดูร้อน เพื่อคอยย้ำเตือนว่าท่านเดินทางมาถึงหมู่บ้านแล้ว
ในสมัยโบราณบ้านบึงนาจานเป็นพื้นที่ที่มีผู้คนหลากหลาย ได้แก่ โคราช ลพบุรี และอีกหลาย ๆ จังหวัด ได้ย้ายเข้ามาเพื่อตั้งถิ่นฐานและได้สร้างบ้านอยู่ข้างริมบึงในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ โดยตั้งหมู่บ้านขึ้นเรียกว่าหมู่บ้าน บึงนาจาน หมู่ที่ 6 โดยนางแต๋ว ลุณวงศ์ ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ให้ข้อมูล ที่มาของชื่อหมู่บ้านคือในสมัยโบราณที่หมู่บ้านได้สร้างหมู่บ้านริมบึงของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพและมีที่นาจำนวนมากพร้อมยังมีต้นจานหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ต้นทองกวาว ขึ้นอยู่เต็มบริเวณนา ชาวบ้านจึงเรียกขานว่า บ้านบึงนาจาน
ในปัจจุบันผู้ใหญ่บ้านบึงนาจานหมู่ 6 ได้พัฒนาและจัดทำหมู่บ้านให้น่าอยู่มากขึ้น โดยนำชาวบ้านปลูกต้นจานตามริมถนนตั้งแต่ปากทางเข้าหมู่บ้านจนสุดหมู่บ้าน ในช่วงฤดูร้อนดอกจานจะเบ่งบานสวยงาม
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอศรีเทพ
- ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านหลักเมือง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านบึงนาจาน หมู่ที่ 16
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านแควป่าสัก
การคมนาคม บึงนาจานอยู่ทางทิศตะวันตะวันออก ของทางหลวงหมายเลข 21 (สระบุรี-หล่มสัก) เมื่อถึงตัวเมืองศรีเทพจะมีสี่แยก และแยกเข้าทางทิศตะวันออกเข้าสู่อุทยานศรีเทพ ระยะทาง 5 กิโลเมตร การเดินทางสะดวก
บ้านบึงนาจาน มีประชากรทั้งหมด 2,528 คน แบ่งเป็นชาย 1,256 คน และหญิง 1,272 คน
การประกอบอาชีพในชุมชนมีทั้งการทำนาและถักเปลญวนรวมไปถึงจักสานต่าง ๆ
1) นางแต้ว ลุณวงศ์ ผู้ใหญ่บ้าน
2) นางรัตติยา แสนรัตน์ ปราชญ์ชาวบ้านด้านนวดแผนไทย
3) นายประมง บุญมี ปราชญ์ชาวบ้านด้านจักสาน
4) นางลออ ศณีรอุทธา ปราชญ์ชาวบ้านด้านจักสานหมวก
5) นางสมโภชน์ โถสกุล ปราชญ์ชาวบ้านด้านเปลญวน
6) นางชาลี ปลุกใจ ปราชญ์ชาวบ้านด้านการนำออกกำลังกายย่อยืด
ทุนวัฒนธรรม
หมอเป่า ภูมิปัญญาการรักษาอาการของผู้ป่วยด้วยวิธีการสวดมนต์และพ่นเป่าผู้ป่วยตรงบริเวณที่บาดเจ็บ ด้วยความเชื่อว่าจะช่วยรักษาอาการป่วยให้ทุเลาลงได้
สถานที่ท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชน ไร่นาสวนผสม หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยพระราชดำริ และศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่ตั้งอยู่ ณ บ้านผู้ใหญ่บ้านบึงนาจาน ภายในศูนย์เรียนรู้มีการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษที่นักท่องเที่ยวสามารถเด็ดรับประทานได้เลย
การจักสาน ทางกลุ่มแม่บ้านของหมู่บ้านบึงนาจานได้จัดทำขึ้น มีหลากหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น หมวก กระเป๋า หรืออุปกรณ์หาปลาต่าง ๆ เป็นงานหัตถกรรมท้องถิ่นที่มีอยู่แล้วในชุมชน ทางผู้ใหญ่บ้านจึงเล็งเห็นความสำคัญ จัดทำเป็นสินค้าของที่ระลึก รายได้นำเข้าศูนย์การเรียนรู้
นอกจากนี้ยังมีการถักเปลญวณ เป็การถักมาจากเศษผ้าในชุมชน เนื่องจากชุมชนทำเครื่องนอนขายจึงมีเศษผ้าเหลือเยอะ จึงมีกลุ่มพ่อบ้านและคนในชุมชนทำเปลญวณขึ้น และทำขายภายในชุมชน
สุนทรีย์ รอดดิษฐ์. (2563). การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชนรอบอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ โดยการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน (รายงานการวิจัย). เพชรบูรณ์: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
องค์การบริหารส่วนตำบลศรีเทพ. (ม.ป.ป.). ประวัติหมู่บ้าน. ค้นจาก http://https://sites.google.com/site/srithepsaophetchabun/khxmul-phun-than/hmu-thi-2