Advance search

บ้านกาดถี

กาดถีดอนชัย อันใดก่อเต้า น้ำหาหยั่งมาเข้า ยังบ่ามี เครือข่ายข้าวอินทรีย์กาดถีใต้

หมู่ที่ 13 ถนน 1202พะเยา-ป่าแดด
บ้านกาดถี
ห้วยแก้ว
ภูกามยาว
พะเยา
สุธาสินี ด่านสวัสดิ์
17 เม.ย. 2023
กนกวรรณ เอี่ยมชัย
24 เม.ย. 2023
กนกวรรณ เอี่ยมชัย
2 พ.ค. 2023
บ้านกาดถีใต้
บ้านกาดถี

บ้านกาดถี เดิมทีชื่อหมู่บ้านกาดผี มีราษฎรอพยพมาจาก ตำบลบ้านตุ่น ตำบลบ้านต๋อม บ้านสาง และบ้านสันปูเลย มาตั้งหมู่บ้านครั้งแรกโดยมี พ่อแก้ว เผ่าเครือ เป็นผู้ก่อตั้งหมู่บ้าน ตอนนั้นมีพื้นที่เป็นลักษณะคล้ายลานกว้าง สะอาดตา ชาวบ้านสมัยนั้นมีความเชื่อเรื่อง ภูต ผี ปีศาจ จึงเชื่อว่าลานกว้างที่ไม่มีคนอยู่อาศัยแต่มีลักษณะสะอาดอยู่ตลอดเวลา มีผีอาศัยอยู่ จึงเรียกชื่อหมู่บ้านว่า หมู่บ้านผักกาดผี มีผู้ใหญ่บ้านคนแรกชื่อว่า พ่อหลวงจ๋อย กันทะวงศ์ ได้สร้างศาลพ่อขุ่นน้ำและศาลเจ้าบ้านขึ้น

อีกแนวคิดหนึ่งกล่าวถึงที่มาของการตั้งชื่อ ครั้งแรกที่อพยพมาได้ชื่อว่า บ้านผักกาดถี เพราะพื้นที่เป็นป่าไม้หนาทึบมีสัตว์ทุกชนิดอาศัยอยู่ เพราะคนสมัยนั้นก็นับถือภูตผีปีศาจ ต่อมามีราษฎรย้ายถิ่นฐานอื่นมาอยู่รวมกันมากขึ้น ก็ทำให้ป่าไม้และสัตว์ป่าถูกทำลาย จึงเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็น บ้านกาดถี


กาดถีดอนชัย อันใดก่อเต้า น้ำหาหยั่งมาเข้า ยังบ่ามี เครือข่ายข้าวอินทรีย์กาดถีใต้

บ้านกาดถี
หมู่ที่ 13 ถนน 1202พะเยา-ป่าแดด
ห้วยแก้ว
ภูกามยาว
พะเยา
56000
19.394181
99.984925
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแก้ว

ในปี พ.ศ. 2477 มีบ้านกาดถี เดิมทีชื่อหมู่บ้านผักกาดผี มีราษฎรอพยพมาจาก ตำบลตุ่น ตำบลต๋อม บ้านสาง และบ้านสันปูเลย มาตั้งหมู่บ้านครั้งแรกโดยมี พ่อแก้ว เผ่าเครือ เป็นผู้ก่อตั้งหมู่บ้าน ตอนนั้นมี พื้นที่เป็นป่าไม้หนาทึบมีสัตว์ทุกชนิดอาศัยอยู่ เป็นลักษณะคล้ายลานกว้าง สะอาดตา ชาวบ้านสมัยนั้นมีความเชื่อเรื่อง ภูต ผี ปีศาจ จึงเชื่อว่าลานกว้างที่ไม่มีคนอยู่อาศัยแต่มีลักษณะสะอาดอยู่ตลอดเวลา มีผีอาศัยอยู่ จึงเรียกชื่อหมู่บ้านว่า หมู่บ้านกาดผี มีผู้ใหญ่บ้านคนแรกชื่อว่า พ่อหลวงจ๋อย กันทะวงศ์ ได้สร้างศาลพ่อขุ่นน้ำและศาลเจ้าบ้านขึ้น ต่อมามีราษฎรย้ายถิ่นฐานอื่น มาอยู่รวมกันมากขึ้น ก็ทำให้ป่าไม้และสัตว์ป่าถูกทำลาย ก็เลยเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็นบ้านกาดถี หมู่ที่ 20 ตำบลดงเจน อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดเชียงราย

ต่อมาอำเภอเมืองพะเยา ยกฐานะเป็น จังหวัดพะเยา แยกออกจากจังหวัดเชียงราย และแยกออกจากอำเภอเมืองพะเยา เป็น กิ่งอำเภอภูกามยาว แยกออกจากตำบลดงเจน เป็นตำบลห้วยแก้ว ต่อมาก็เป็นบ้านกาดถี หมู่ที่ 8 ตำบลห้วยแก้ว กิ่งอำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา แล้วได้แบ่งแยกหมู่บ้านออกเป็น 3 หมู่บ้าน คือ 8, 14, 15 แล้ว กิ่งอำเภอภูกามยาว ยกฐานะเป็นอำเภอภูกามยาว จนถึงปัจจุบันนี้

พ.ศ. 2483 พ่อหลวงคนที่ 2 ชื่อ นายแสน ไชยกุล ได้สร้างวัดกาดถีขึ้นร่วมกับแรงศรัทธาของชาวบ้าน

พ.ศ. 2500 มีการระบาดของโรคห่า (อหิวาห์ตกโรค) กับประชาชนในหมู่บ้าน รักษาโดยหมอเมือง โดยการใช้ใบตองรองนอนและใช้ใบลูกยอต้มให้ดื่ม ผู้เจ็บป่วยเดินทางโดยล้อเกวียนไปโรงพยาบาลพะเยาา และมีการสร้างเมรุเผาศพ เนื่องจากก่อนหน้านี้ชาวบ้านมีการฝังศพ

พ.ศ. 2501 มีโรคไข้เลือดออกระบาดในประเทศไทย ชาวบ้านในหมู่บ้าน ร่วมด้วยช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลาย จึงไม่มีคนในหมู่บ้านป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก

พ.ศ. 2508 มีการสร้างโรงเรียนบ้านกาดถีขึ้น โดยมีครู ศรีสมุทร สุภาษา เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนคนแรก และ มีผู้ใหญ่บ้าน ชื่อนายแสน ไชยกูล ได้ทำหนังสือถึงกรมทรัพยากรเพื่อขอให้มีการทำการขุดเจาะน้ำบาดาล บ่อแรกของหมู่บ้าน

พ.ศ. 2511 ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 3 นาย ปี๋ ช่างทอง ได้ทำการสร้างวิหารวัดขึ้นมาใหม่ร่วมกับประชาชนในหมู่บ้าน

26 ตุลาคม 2514 ตั้งตำบลห้วยแก้ว แยกออกจากตำบลดงเจน อำเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย

พ.ศ. 2519 ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 4 นายติ๊บ อินต๊ะมอย

พ.ศ. 2520 อำเภอพะเยาได้ยกฐานะขึ้นเป็น จังหวัดพะเยา นับเป็นจังหวัดที่ 72 ของประเทศไทย โดยแยกพื้นที่อำเภอพะเยา อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอแม่ใจ ออกจากการปกครองจังหวัดเชียงราย รวมตั้งขึ้นเป็น จังหวัดพะเยา  

พ.ศ. 2520 มีทีวีเครื่องแรกในหมู่บ้านที่บ้านนาย ศักดิ์ สุภาษา

ในปี พ.ศ. 2520 ด้านสาธารณสุขกระทรวงสาธารณสุขได้เริ่มโครงการอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในระยะแรกเป็นไปในลักษณะโครงการทดลองใน 20 จังหวัด โดยดำเนินการทดลองในทุกอำเภอ อำเภอละ 1 ตำบลและเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2522 คณะรัฐมนตรีลงมติอนุมัติในหลักการตามที่กระทรวง สาธารณสุขเสนอให้เปลี่ยนคำว่าการสาธารณสุขเบื้องต้น เป็นสาธารณสุขมูลฐาน กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายที่จะให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง ตลอดจนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานและ พัฒนาสาธารณสุข จึงได้นำเอาการสาธารณสุขมูลฐานมาเป็นกลวิธีหลักในการพัฒนาตั้งแต่แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (2520-2524) เป็นต้นมา โดยสนับสนุนให้มีการดำเนินงานสาธารณสุข มูลฐานครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศและส่งเสริมให้ชุมชนตระหนักในความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขปัญหา สาธารณสุขของชุมชนเอง ซึ่งมีตัวจักรสำคัญในการดำเนินงานคือ ผู้สื่อข่าวสาธารณสุข (ผสส.) และอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โดย อสม. รุ่นแรกของหมู่บ้าน

พ.ศ. 2522 มีการเปลี่ยนจากการใช้ส้วมหลุมเป็นส้วมซึม ตามเป้าหมายของการสาธารณสุขมูลฐาน (สสม.)

พ.ศ. 2525 ชาวบ้านร่วมด้วยช่วยกันสร้างศาลาประชาคม

พ.ศ. 2527 บ้านกาดถีมีไฟฟ้าใช้ครั้งแรกในหมู่บ้าน

พ.ศ. 2528 มีผู้ใหญ่บ้านคนที่ 5 ชื่อ นาย ตุ้ย ผสม ในปีนี้มีโรคเอดส์ เริ่มระบาดในพะเยา ในหมู่บ้านกาดถีมีผู้ป่วยโรคเอดส์อยู่ ชาวบ้านวิตกกังวลและกลัวติดโรค ซึ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแผนที่ 6 ปี (2530-2534) ตามนโยบายมีอนามัยควบคุมการแพร่กระจายโรค ทางผู้ใหญ่บ้านได้รับข้อมูลจากทางสาธารณสุขอำเภอได้มาประกาศให้ชาวบ้านได้ทราบว่าโรคเป็นโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ สามารถทำงานหรือรับประทานอาหารด้วยกันได้ชาวบ้านจึงไม่ได้รังเกียจผู้ป่วยโรคเอดส์ในหมู่บ้าน

พ.ศ. 2529 ได้มีการใช้รถไถนาเข้ามาแทนการใช้การใช้ควายไถนา

พ.ศ. 2530 มีถนนยางตอยเข้าหมู่บ้าน

พ.ศ. 2538 ได้สร้างสถานีอนามัยห้วยแก้ว ได้ดำเนินการก่อสร้างโดยได้รับงบประมาณจากกระทรวงสาธารณสุข

30 มกราคม 2539 ยกฐานะจากสภาตำบลห้วยแก้ว เป็น องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแก้ว

25 มิถุนายน 2540 แยกพื้นที่ตำบลห้วยแก้ว ตำบลดงเจน และตำบลแม่อิง อำเภอเมืองพะเยา มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอภูกามยาว และกำหนดให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอเมืองพะเยา ท้องที่อำเภอภูกามยาวเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเมืองพะเยา ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอภูกามยาว ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ปีเดียวกัน

พ.ศ. 2541 บ้านกาดถีได้แยกหมู่บ้านจากเดิมหมู่ 8 เป็นหมู่ 13 ชื่อบ้านกาดถีใต้ และมีผู้ใหญ่บ้านกาดถีใต้คนแรกชื่อ นายทองคำ อินต๊ะมอย ได้ทำการสร้างอ่างเก็บน้ำร่องคร้านขึ้น

พ.ศ. 2542 การประปาได้เข้ามาสำรวจหมู่บ้าน หมู่บ้านมีน้ำประปาใช้ครั้งแรกและมีการสร้างธนาคารข้าว ตามโครงการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนอย่างยั่งยืนโดยศาสตร์พระราชา

พ.ศ. 2544 มีการก่อตั้งศาลแม่บัวไหลและมีการสร้างกองทุนหมู่บ้าน

พ.ศ. 2545 ได้มีการแยกหมู่บ้านเพิ่มอีกหนึ่งหมู่บ้านได้แก่บ้านกาดถีเหนือ หมู่ 15

พ.ศ. 2546 มีผู้ใหญ่บ้านคนทึ่ 2 ของบ้านกาดถีใต้หมู่ 13 ชื่อนายศรีวงศ์ ฟองงาม ได้ทำการปลูกและฟื้นฟูป่าของชุมชนและปราบปรามคนที่บุกรุกป่า

พ.ศ. 2547 มีโรคระบาดเกิดขึ้นคือโรคอีสุกอีใส ชาวบ้านได้นำรากชะอม มาต้มกินเพื่อเป็นยารักษาโรค

8 กันยายน 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอภูกามยาว อำเภอเมืองพะเยา เป็น อำเภอภูกามยาวตามพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอภูกามยาว ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน

พ.ศ. 2550 ได้มีการทำโครงการ SML โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน

พ.ศ. 2551 ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 3 ของบ้านกาดถีใต้หมู่ 13 นายปรีชา ตันกูล ได้ทำการขอให้ป่าชุมชนเป็นเขตป่าอนุรักษ์

พ.ศ. 2556 ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 4 ของบ้านกาดถีใต้หมู่ 13 นายบรรดิษฐ์ หล่อวงศ์เป็นผู้ใหญ่บ้านมาจนถึงปัจจุบัน

การคมนาคม

บ้านกาดถีใต้ หมู่ที่ 13 ตำบลห้วยแก้ว อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา ห่างจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยแก้ว เป็นระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร และห่างจากตัวเมืองจังหวัดพะเยา ระยะทางประมาณ 31 กิโลเมตร ปัจจุบันการเดินทางสามารถเดินทางได้สะดวกในหมู่บ้านเป็นถนนลาดยาง ไฟข้างทางยังไม่เพียงพอ ประชาชนส่วนใหญ่ใช้รถจักรยานยนต์หรือจักรยานในการเดินทาง

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดกับ หมู่ที่ 15 บ้านกาดถีเหนือ ตำบลห้วยแก้ว อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา
  • ทิศใต้ ติดกับ หมู่ที่ 16 บ้านห้วยทรายขาว ตำบลห้วยแก้ว อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา
  • ทิศตะวันออก ติดกับ อ่างเก็บน้ำร่องขี้คร้าน
  • ทิศตะวันตก ติดกับ ม่อนกาดถี

จากการสำรวจของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพะเยา ปี 2565 มีบ้านเรือนทั้งหมด 116 หลังคาเรือน มีจำนวนประชากรทั้งหมด 244 คน โดยแบ่งเป็นชาย 108 คน หญิง 136 คน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม 105 ครัวเรือน เป็นคนพื้นเมือง พูดภาษาถิ่นในการติดติดต่อสื่อสาร มีการตั้งบ้านเรือนเป็นกลุ่มตามเครือญาติ นอกจากนี้บางครัวเรือนยังมีอาชีพค้าขาย ปลูกกระเทียม จักสานไม้ไผ่ เลี้ยงสัตว์ สวนแตงโม ร้านเสริมสวยตัดผม และมีอาชีพเสริม เช่น เพาะเห็ดฟาง ทำไม้กวาดทางมะพร้าว ปลูกพืชผัก หรือรับจ้างทั่วไป ประชาชนในหมู่บ้านนับถือศาสนาพุทธทั้งหมดทุกหลังคาเรือน ซึ่งมีการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา มีการทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรม ในตอนเช้าหรือวันสำคัญทางศาสนา ณ วัดกาดถีและวัดพระธาตุห้วยลานกาดถีศรีมงคล มีการส่งเสริมรักษาประเพณีอันดีงามต่าง ๆ รวมทั้งเรื่องการนับถือผี เช่น การเลี้ยงผีปู่ย่า ผีพ่อบ้านแม่บ้าน ศาลเจ้าแม่บัวน้ำไหล 

บ้านกาดถีใต้ หมู่ที่ 13 ตำบลห้วยแก้ว อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา มีองค์กรในการบริหารจัดการ ดูแลภายในหมู่บ้าน ซึ่งมีคณะกรรมการหมู่บ้านในการดำเนินการเป็นหลัก โดยมีนายบรรดิษฐ์ หล่อวงศ์เป็น ผู้ใหญ่บ้าน บ้านกาดถีใต้ หมู่ที่ 13 เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในชุมชน ซึ่งคนในชุมชนให้ความยอมรับนับถือและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ภายในหมู่บ้านก็ยังมีการรวมกลุ่มของประชาชนในหมู่บ้านดังนี้

ผู้ใหญ่บ้าน : นายบรรดิษฐ์ หล่อวงศ์ 

  • ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านปกครอง : จำนวน 2 คน
  • คณะกรรมการหมู่บ้าน : จำนวน 5 คน
  • อาสาพัฒนาชุมชน (อช.) : จำนวน 4 คน
  • กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำบ้าน (อสม.) : จำนวน 25 คน
  • อาสาสมัครหมอดิน : จำนวน 1 คน
  • กลุ่มประชาคม : จำนวน 1 คน
  • กลุ่มอสม. : จำนวน 23 คน
  • กลุ่มพัฒนาสตรี : จำนวน 3 คน
  • กลุ่มแม่บ้าน : จำนวน 1 คน
  • กลุ่มผู้สูงอายุ : จำนวน 2 คน
  • ผู้ทรงคุณวุฒิ : จำนวน 10 คน
  • กองทุนหมู่บ้าน (กองทุนเงินล้าน) : จำนวน 4 คน
  • กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต : จำนวน 4 คน
  • กลุ่มธนาคารข้าว : จำนวน 5 คน
  • กลุ่มกองทุนปุ๋ย : จำนวน 1 คน
  • กลุ่มประปา : จำนวน 1 คน
  • กลุ่มตลาด SML : จำนวน 5 คน
  • กลุ่มกองทุนพัฒนาหมู่บ้าน : จำนวน 1 คน
  • กลุ่มสมาชิกตำรวจบ้าน (สตบ.) : จำนวน 4 คน

สภาพทางเศรษฐกิจ

  • อาชีพ : ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เก็บสมุนไพร เนื่องจากหมู่บ้านมีพื้นที่ราบสำหรับทำนา มีแอ่งน้ำร่องขี้คร้าน อีกทั้งจากม่อนกาดถีที่เป็นแนวติดป่าดอยด้วนทีทอดตัวยาวถึงอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ที่ถือได้ว่าเป็นป่าสมุนไพรที่มีความอุดมสมบูรณ์ และชาวบ้านยังได้ร่วมกันอนุรักษ์ป่าสมุนไพรนี้ไว้
  • อาชีพเสริม : รับจ้างทั่วไป, จักสาน, จักสานแห, เย็บผ้าโหล, เย็บผ้าหมวก, จ้างเลี้ยงวัว, จ้างตัดหญ้า  
  • รายได้ของประชาชน : ทำนา, ปลูกกระเทียม, ค้าขาย, เบี้ยยังชีพ, รับจ้างทั่วไป, เบี้ยยังชีพ, เงินจากลูกหลาน, หัตถกรรม (ไม้กวาดทางมะพร้าว), รับราชการ
  • รายจ่ายของประชาชน : ค่าน้ำ, ค่าไฟ, ค่าน้ำมัน, ค่าโทรศัพท์, ค่าเล่าเรียนบุตร, ค่าอุปโภคบริโภค, ค่าหวย, ค่าปุ๋ย ค่าสารเคมี, ค่าบุหรี่-สุรา
  • หนี้สินประชาชน : หนี้ ธกส. , หนี้กองทุนหมู่บ้าน

ปฏิทินวัฒนธรรม ในรอบ 1 ปี บ้านกาดถีใต้ หมู่ 13 ตำบลห้วยแก้ว อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา มีกิจกรรมทั้งด้านศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญา เทศบาลประจำปี ที่หลากหลายแตกต่างกันไปในในแต่ละเดือน ดังนี้

  • เดือนมกราคม (เดือน 4 ล้านนา) : วันขึ้นปีใหม่, กลางเดือนจัดทำพิธี“ตานข้าวใหม่”
  • เดือนกุมภาพันธ์ (เดือน 5 ล้านนา) : เก็บส้มป่อยศักดิ์สิทธิ์ เป็นการเก็บในวันที่สำคัญของวันใดวันหนึ่งของเดือนเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ในการนำส้มป่อยในประกอบพิธีต่าง ๆ, บวงสรวงศาลเจ้าบ้าน
  • เดือนมีนาคม (เดือน 6 ล้านนา) : สรงน้ำพระธาตุ ที่วัดแม่สุกธาตุหมู่ 9
  • เดือนเมษายน (เดือน 7 ล้านนา) : ปีใหม่เมือง ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง หรือประเพณีปีใหม่เมือง เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวเหนือ หรือชาวล้านนา สืบเนื่องมาจากอดีตกาลที่จะยึดถือเป็นช่วงเปลี่ยนศักราชใหม่ โดยกำหนดจุดที่พระอาทิตย์ย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ ซึ่งมักจะตรงกับวันที่ 13 เมษายน หรือ 14 เมษายนของแต่ละปี และจะกินเวลาประมาณ 4-7 วัน ยาวนานกว่าสงกรานต์ของภาคอื่น ๆ

วันที่ 13 เมษายน วันสังขานต์ล่อง จะมีการจุดประทัด ยิงปืน เพื่อส่งสังขารหรือไล่สังขาร (จะถือเอาตามเวลาสังขานต์ล่องตามที่บอกในปฏิทินปี๋ใหม่เมืองในปีนั้น เช่น บอกว่าสังขานต์จะล่องเมื่อ 03 นาฬิกา 30 นาที 26 วินาที ชาวบ้านก็จะจุดประทัดเวลานั้นถือว่าไล่สังขานต์)

วันที่ 14 เมษายน เป็น "วันดา" คือวันที่ต้อง เตรียมสิ่งของต่าง ๆ เพื่อใช้ทำบุญในวันรุ่งขึ้น วันเน่า ไม่ควรด่าทอ เกิดอุบัติเหตุเจ็บตัว สาปแช่งหรือกล่าวคำร้ายต่อกัน ปากจะเน่าจะเหม็น เป็นอัปมงคลไปทั้งปี

วันที่ 15 เมษายน “วันพญาวัน” วันที่สามของประเพณีปีใหม่เมือง ถือเป็นวันเถลิงศก เปลี่ยนศักราชเริ่มต้นปีใหม่ วันนี้มีการทำบุญทางศาสนาแต่เช้าตรู่ และอุทิศกุศลไปถึงญาติผู้ล่วงลับ หรือเรียกว่า “ตานขันข้าว” นำตุงปักลงบนกองเจดีย์ทราย ช่วงบ่ายเป็นการรดน้ำดำหัว เพื่อขอขมาคนเฒ่าคนแก่ พ่อแม่ ครูอาจารย์ ไปสรงน้ำพระพุทธรูป เจดีย์ เลี้ยงผีปู่ย่าในวันนี้

วันที่ 16 เมษายน “วันปากปี” เป็นวันแรกของปี มารวมตัวกันเพื่อทำบุญเสาใจบ้าน หรือส่งเคราะห์บ้าน พิธีสืบชะตาหมู่บ้าน และพากันไปขอขมา ดำหัว พระเถระผู้ใหญ่ตามวัดต่าง ๆ ดำหัวผู้อาวุโส ผู้นำชุมชน ในตอนค่ำของวันนี้จะมีการบูชาเทียน สืบชะตา ลดเคราะห์ รับโชค เพื่อให้เกิดความเป็นมงคลแก่ครอบครัว โดยในวันปากปีมีความเชื่อบางประการเกี่ยวกับ “แกงขนุน” หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า “แก๋งบ่าหนุน” ที่จะกินกันทุกครอบครัว เพราะเชื่อว่าจะหนุนชีวิตให้เจริญก้าวหน้า ทั้งนี้เหตุผลของการทานแกงขนุนดังกล่าว อาจจะมาจากชื่อขนุน ที่มีความหมายถึงการเกื้อหนุน ค้ำจุน ครอบครัวให้เจริญรุ่งเรืองหรือตลอดปี

  • เดือนพฤษภาคม (เดือน 8 ล้านนา) : เลี้ยงผีเจ้าที่
  • เดือนมิถุนายน (เดือน 9 ล้านนา) : ประเพณีเลี้ยงผีปู่ย่า ไหว้ผีมดผีเม็ง, ประเพณีเลี้ยงผีป่า เจ้าที่นาเลี้ยงโดยเหล้าไห ไก่คู่ เป็นการเลี้ยงเจ้าที่ก่อนลงทำนาเพื่อให้การทำนาราบรื่นและได้ผลผลิตดี
  • เดือนกรกฎาคม (เดือน 10 ล้านนา) : แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ทำบุญเข้าพรรษา
  • เดือนสิงหาคม (เดือน 11 ล้านนา) : ช่วงเดือนนี้จะอยู่ในช่วงเข้าพรรษา มีการทำบุญตักบาตร
  • เดือนกันยายน (เดือน 12 ล้านนา) : ปล่อยเปรตปล่อยผี ทำบุญให้กับคนที่ล่วงลับไปแล้ว, ตานก๋วยสลาก ช่วงเดือน 12 ล้านนาถึงเดือนยี่ หรือตั้งแต่เดือนกันยายนจนถึงเดือนตุลาคมของทุกปี
  • เดือนตุลาคม (เดือน 1 ล้านนา) : ทำบุญออกพรรษา อยู่ในช่วงตานก๋วยสลาก สิ้นสุดเอาในเดือนเกี๋ยงดับ
  • เดือนพฤศจิกายน (เดือน 2 ล้านนา) : ทอดกฐิน มีเวลา 1 เดือนหลังจากออกพรรษา ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือนเกี๋ยง (เดือนเกี๋ยงดับ) จนถึงวันเพ็ญเดือนยี่เหนือ, ประเพณียี่เป็ง
  • เดือนธันวาคม (เดือน 3 ล้านนา) : มีการร่วมกันเก็บเกี่ยวข้าว ลงแขกเอามื้อ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
  • วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตข้าวอินทรีย์บ้านกาดถีใต้ เลขที่ 8/1 หมู่ที่ 13 ถนน - ตำบลห้วยแก้ว อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา (Cddphayao Phayao : กลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวกาดถีใต้)
  • ศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะ หมู่ที่ 13 บ้านกาดถีใต้ ตำบลห้วยแก้ว
  • แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ร่องขี้คร้าน, อ่างเก็บน้ำหมู่ 8, น้ำจากม่อนกาดถี

ภาษาพื้นเมืองล้านนา

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

พระธรรมวิมลโมลี. (2546). เมืองพะเยาจากตํานานและประวัติศาสตร์. พะเยา: นครนิวส์การพิมพ์.

พระธรรมวิมลโมลี. (2549). เมืองพะเยาสํารวจอดีตเมื่อร้อยปีก่อน. พะเยา: นครนิวส์การพิมพ์.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2552). จังหวัดพะเยา มาจากไหน. กรุงเทพฯ : บริษัทมติชน จํากัด (มหาชน).

Google Maps. (2564). พิกัดแผนที่ชุมชนบ้านกาดถีใต้ (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.google.com/maps

ประวัติจังหวัดในล้านนา จังหวัดพะเยา. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564. เข้าถึงได้จาก http://wiangsalanna.myreadyweb.com/

พระครูโสภณปริยัติสุธี (ศรีบรรดร ถิรธมฺโม.). (2552). ชื่อบ้าน-ภูมิเมืองพะเยา. พะเยา : เจริญอักษร.

บุญศิริ สุขพร้อมสรรพ และอาทิตย์ ลิมปิยากร. (2564). ภูมินาม-ภาพสะท้อนเมืองพะเยา. วารสารวิชาการเพื่อพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่. 2(1). 88-94.

พระครูโสภณปริยัติสุธี, รศ.ดร. ถิรธมฺโม. ชื่อบ้าน-ภูมิเมืองอำเภอแม่ใจ.

บุญเลิศ ครุฑเมือง. (2537). ผีปู่ย่า : ศรัทธาแห่งล้านนาไทย. สารคดี “ฮีตฮอยเฮา”กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ