Advance search

ชุมชนเกษตรกรรมโคนม วัดศรีล้อมเมือง (วัดบ้านวาก) เลี้ยงวัวนม

หมู่ที่ 4
หมู่ 4
ออนกลาง
แม่ออน
เชียงใหม่
ปุลวิชช์ ทองแตง
1 พ.ค. 2023
ปุลวิชช์ ทองแตง
17 พ.ค. 2023
ปุลวิชช์ ทองแตง
3 พ.ค. 2023
บ้านวาก

ในอดีตชาวบ้านเมืองออนอพยพมาจาก พันนาพูเลา แขวงเมืองเชียงแสน (ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดเชียงราย) ประชากรส่วนหนึ่งจึงมาตั้งหมู่บ้านเล็ก ๆ ใกล้แม่น้ำที่มีชื่อว่า แม่น้ำแม่วากเป็นแม่น้ำสายหนึ่งที่ไหลผ่านตัวหมู่บ้าน และได้ไหลมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่ชื่อว่าแม่น้ำออน มีทุ่งนาล้อมรอบ ซึ่งเป็นที่เหมาะแก่การตั้งรกรากถิ่นฐานในการทำการเกษตร การทำสวน ทำนารวมไปถึงการเลี้ยงสัตว์ อาทิ วัว กระบือ เพื่อใช้ในการทำนา โดยลักษณะภูมิประเทศ เป็นหมู่บ้านติดป่าเขา มีสัตว์ป่า อาทิ เสือ กวาง กระต่าย ไก่ป่า เป็นต้น มีแม่น้ำป่าเขาอุดมสมบูรณ์ ประชากรมีการนับถือศาสนาพุทธและนับถือผีบรรพบุรุษ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2111 มีการสร้างวัดขึ้นมาตั้งชื่อว่า วัดศรีลอมเมืองเพราะว่ามีต้นโพธิ์ทางทิศเหนืออยู่ล้อมบริเวณวัดทั้งสี่ทิศ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2331 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดบ้านวาก เพราะว่ามีแม่น้ำแม่วากไหลผ่านหน้าวัดและเกิดเหตุไฟไหม้พระวิหารหลายครั้ง เดิมชุมชนบ้านวากเป็นหมู่ 12 ต.ออนเหนือ อ.สันกำแพง เมื่อปี พ.ศ. 2445 พวกไทใหญ่(เงี้ยว) ได้เผาที่ทำการแขวงแม่ออน จึงย้ายที่ทำการไปที่บ้านสันกำแพง จ.เชียงใหม่ ตั้งแต่เดิมถนนที่ใช้ในชุมชนเป็นถนนลูกรัง ไม่มีไฟฟ้าใช้ น้ำที่ใช้อุปโภค บริโภคคือน้ำบ่อ ไม่มีโรงเรียน

ในปี พ.ศ. 2504 มีการทำถนนลาดยางเส้นหลักเข้าในหมู่บ้าน มีการสร้างโรงเรียนบ้านวาก ในปี พ.ศ. 2520 ซึ่งมีชั้นเรียนสูงสุดที่ประถมศึกษาปีที่ 4 และได้ปิดโรงเรียนไปในปี พ.ศ. 2539 เนื่องจากมีจำนวนนักเรียนน้อย นักเรียนส่วนใหญ่จึงย้ายไปศึกษาที่โรงเรียนเปาสามขา ชุมชนบ้านวากมีไฟฟ้าใช้ในปี พ.ศ. 2527 และมีระบบประปาภูเขาใช้เมื่อปี พ.ศ. 2532 เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2537 มีการแยกเป็น กิ่ง อ.แม่ออน ชุมชนบ้านวากจึงกลายเป็นหมู่ 4 ต.ออนกลาง กิ่ง อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ และเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2550 ได้มีการแต่งตั้งแยกปกครองเป็นอำเภอแม่ออน ดังนั้น ชุมชนบ้านวาก จึงกลายเป็น หมู่ 4 ต.ออนกลาง อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ จนถึงปัจจุบัน


ชุมชนชนบท

ชุมชนเกษตรกรรมโคนม วัดศรีล้อมเมือง (วัดบ้านวาก) เลี้ยงวัวนม

หมู่ 4
หมู่ที่ 4
ออนกลาง
แม่ออน
เชียงใหม่
50130
18.75418686
99.25161615
องค์การบริหารส่วนตำบลออนกลาง

ในอดีตชาวบ้านเมืองออนอพยพมาจาก พันนาพูเลา แขวงเมืองเชียงแสน (ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดเชียงราย) ประชากรส่วนหนึ่งจึงมาตั้งหมู่บ้านเล็ก ๆ ใกล้แม่น้ำที่มีชื่อว่า แม่น้ำแม่วากเป็นแม่น้ำสายหนึ่งที่ไหลผ่านตัวหมู่บ้าน และได้ไหลมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่ชื่อว่าแม่น้ำออน มีทุ่งนาล้อมรอบ ซึ่งเป็นที่เหมาะแก่การตั้งรกรากถิ่นฐานในการทำการเกษตร การทำสวน ทำนารวมไปถึงการเลี้ยงสัตว์ อาทิ วัว กระบือ เพื่อใช้ในการทำนา โดยลักษณะภูมิประเทศ เป็นหมู่บ้านติดป่าเขา มีสัตว์ป่า อาทิ เสือ กวาง กระต่าย ไก่ป่า เป็นต้น มีแม่น้ำป่าเขาอุดมสมบูรณ์ ประชากรมีการนับถือศาสนาพุทธและนับถือผีบรรพบุรุษ ต่อมาในปี พ.ศ. 2111 มีการสร้างวัดขึ้นมาตั้งชื่อว่า วัดศรีลอมเมือง เพราะว่ามีต้นโพธิ์ทางทิศเหนืออยู่ล้อมบริเวณวัดทั้งสี่ทิศ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2331 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดบ้านวาก เพราะว่ามีแม่น้ำแม่วากไหลผ่านหน้าวัดและเกิดเหตุไฟไหม้พระวิหารหลายครั้ง

เดิมชุมชนบ้านวากเป็นหมู่ 12 ต.ออนเหนือ อ.สันกำแพง เมื่อปี พ.ศ. 2445 พวกไทใหญ่ (เงี้ยว) ได้เผาที่ทำการแขวงแม่ออน จึงย้ายที่ทำการไปที่บ้านสันกำแพง จ.เชียงใหม่ ตั้งแต่เดิมถนนที่ใช้ในชุมชนเป็นถนนลูกรัง ไม่มีไฟฟ้าใช้ น้ำที่ใช้อุปโภคบริโภค คือ น้ำบ่อ ไม่มีโรงเรียน ในปี พ.ศ. 2504 มีการทำถนนลาดยางเส้นหลักเข้าในหมู่บ้าน มีการสร้างโรงเรียนบ้านวาก ในปี พ.ศ. 2520 ซึ่งมีชั้นเรียนสูงสุดที่ประถมศึกษาปีที่ 4 และได้ปิดโรงเรียนไปในปี พ.ศ. 2539 เนื่องจากมีจำนวนนักเรียนน้อย นักเรียนส่วนใหญ่จึงย้ายไปศึกษาที่โรงเรียนเปาสามขา ชุมชนบ้านวากมีไฟฟ้าใช้ในปี พ.ศ. 2527 และมีระบบประปาภูเขาใช้เมื่อปี พ.ศ. 2532 เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2537 มีการแยกเป็น กิ่ง อ.แม่ออน ชุมชนบ้านวากจึงกลายเป็นหมู่ 4 ต.ออนกลาง กิ่ง อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ และเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2550 ได้มีการแต่งตั้งแยกปกครองเป็นอำเภอแม่ออน ดังนั้น ชุมชนบ้านวาก จึงกลายเป็น หมู่ 4 ต.ออนกลาง อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ จนถึงปัจจุบัน

อาณาเขตของบ้านวาก

  • ทิศเหนือ ติดกับ เขตชุมชนบ้านป่าตัน หมู่ 6 และหมู่ 5 บ้านป่าตันใต้ ตำบลออนกลาง
  • ทิศใต้ ติดกับ เขตชุมชนบ้านเหล่า หมู่ 1 ตำบลออนกลาง
  • ทิศตะวันออก ติดกับ เขตชุมชนป่าไม้ หมู่ 10 ตำบลออนกลาง
  • ทิศตะวันตก ติดกับ เขตชุมชนบ้านเปาสามขา หมู่ 3 ตำบลออนกลาง

พื้นทางสังคม ได้แก่

  1. วัดบ้านวากเป็นศูนย์รวมของการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา อาทิเช่น วันพระ วันตานข้าวใหม่ การสืบชะตาหรือการประชุมหรือจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชาวบ้านบ้านวาก 
  2. ศาลาประชาคม/ศาลาอเนกประสงค์ เป็นสถานที่ที่ใช้ในการจัดประชุมของหมู่บ้าน หากท่านใดมีความประสงค์จะใช้ห้องโดยไม่เกี่ยวข้องกับส่วนรวม ต้องจ่ายค่าเช่า 300-500 บาท/ครั้ง ทำให้มีรายได้เพื่อที่จะนำมาพัฒนาหรือซ่อมแซม 
  3. ตำแหน่งบ้านแต่ละหลังของ อสม. ในหมู่ 4 บ้านวาก บ้านของ อสม. กระจายทั่วชุมชนตั้งแต่หัวหมู่บ้านจนถึงท้ายหมู่บ้าน ทำให้สามารถดูแลชาวบ้านที่เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อไม่เรื้อรังหรือผู้ที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพได้ทั่วถึง โดยทำงานร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลออนกลาง
  4. ร้านขายของชำ+ร้านเหล้าตอง ในหมู่ 4 บ้านวาก มีร้านขายของชำร่วมกับขายสุราในช่วงเย็นมีอยู่ 3 ร้าน เปิดขายเวลา 17.00-19.00 น. โดยลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นคนในพื้นที่และที่อื่นบ้าง เช่น ชาวบ้านหมู่ 10 ที่กลับมาจากการทำงานหรือพี่น้องชาวไทยใหญ่ที่มาอาศัยในตำบลออนกลาง
  5. ร้านค้ามินิมาร์ท มีอยู่ 2 ร้าน คือ ร้านที่ 1 อยู่ตรงหัวหมู่บ้านใกล้กับสะพานตรงข้ามกับร้านขนมจีนแม่ศรีไพ เป็นร้านของคนในบ้านวาก ร้านที่ 2 อยู่ตรงกลางบ้าน 3 แยกใกล้กับร้านขายของชำ+เหล้าตอง เป็นร้านของนายทุนที่มาซื้อที่ดินของชาวบ้านทั้ง 2 ร้าน จำหน่ายสินค้าทั่วไปและเข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง

ประชากรบ้านวาก หมู่ที่ 4 ตำบลออนกลาง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ที่ได้รับการสำรวจ โดยจำแนกเพศและช่วงอายุ พบว่า มีประชากรทั้งหมด 267 คน เป็นเพศชาย จำนวน 122 คน (ร้อยละ 45.69) และเพศหญิงจำนวน 145 คน (ร้อยละ 54.13) โดยจำนวน ประชากรส่วนใหญ่ คือ กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป  ประชากรส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส  (ร้อยละ 54.82) มีเชื้อชาติและสัญชาติไทย (ร้อยละ 99.6) และมีชาวเมียนมาร์มารับจ้างทำงานในหมู่บ้านจำนวนหนึ่ง ประชากรส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาที่ระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 41.38) รองลงมา คือระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 16.86) 

จากการสำรวจ หมู่ 4 บ้านวาก ตำบลออนกลาง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า มีตระกูลเก่าแก่หลากหลายตระกูล เช่น ตระกูลสกุลพันธ์ และตระกูลนางเมาะ ซึ่งจากการสอบถาม ความเป็นมาจากบุคคลในหมู่บ้านพบว่า ตระกูลสกุลพันธ์ เป็นตระกูลเป็นที่รู้จักของคนในชุมชนและเป็นตระกูลเก่าแก่ในชุมชนหมู่ 4 บ้านวาก อีกทั้งคนในตระกูลเคยได้รับเลือกตั้งได้เป็นผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งต้นตระกูลสกุลพันธ์ คือ พ่อคำ สกุลพันธ์ และแม่ศรี สกุลพันธ์ มีบุตรจำนวน 7 คน

โครงสร้างองค์กรชุมชนบ้านวาก หมู่ที่ 4 ตำบลออนกลาง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วยโครงสร้างองค์กรแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ซึ่งในแต่ละองค์กรมีปฏิสัมพันธ์เกี่ยวของทางสังคม โดยในแต่ละองค์กรจะมีบทบาทหน้าที่แตกต่างกัน ปัจจุบันบ้านวากได้มีการจัดตั้งกลุ่มต่าง ๆ ดังนี้

กลุ่มองค์กรแบบเป็นทางการ เป็นการรวมกลุ่มที่เป็นนโยบายของรัฐบาล และความร่วมมือจากประชาชนในชุมชนที่มีการรวมกลุ่มกันเพื่อประโยชน์สุขของชุมชน โดยมีกลุ่มที่เป็นทางการทั้งหมด 5 กลุ่ม ดังนี้

  1. กลุ่มผู้นำชุมชน/คณะกรรมการหมู่บ้าน
  2. กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน
  3. กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
  4. กลุ่มชมรมผู้สูงอายุ
  5. กลุ่มสตรีแม่บ้าน

กลุ่มองค์กรแบบไม่เป็นทางการ เป็นการรวมกลุ่มของคนในหมู่บ้านที่สมัครใจยินยอมให้ความร่วมมือ เห็นชอบมีข้อตกลงร่วมกัน เพื่อทำกิจกรรมใดหนึ่ง ซึ่งอาจมีประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม อาจเป็นไปโดยมิได้นัดหมาย และไม่มีรูปแบบหรือสมาชิกที่ชัดเจนขึ้นอยู่กับความพร้อม โดยมีผลประโยชน์ร่วมกันทางเศรษฐกิจ ชุมชน สังคม ซึ่งในกลุ่มผู้นำที่ไม่เป็นทางการของชุมชนบ้านวาก มีทั้งหมด 2 กลุ่ม ดังนี้

  1. กลุ่มสนทนาในร้านเหล้าตอง เป็นการรวมกลุ่มกันโดยมิได้นัดหมายของผู้ที่ชอบดื่มสุราส่วนใหญ่เป็นคนวัยทำงานมานั่งดื่มเหล้าและมีการสนทนาสังสรรค์กัน เกี่ยวกับเรื่องราวชีวิตความเป็นอยู่ของตนเอง ปัญหาในชีวิตหรือข้อมูลสุขภาพของบุคคลในครอบครัว เรื่องตลกขบขัน ฯลฯ โดยจะเริ่มรวมกลุ่มกันตั้งแต่เวลาประมาณ 16.00 น. นานประมาณ 10-30 นาที และมีสมาชิก 3-5 คน เป็นประจำทุกวัน ซึ่งร้านเหล้าเป็นกิจการของคนในชุมชน ที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้าน โดยร้านเหล้าตองในหมู่บ้านวากมีทั้งหมด 3 ร้าน
  2. กลุ่มลำไย เป็นการรวมกลุ่มกันเพื่อหารายได้ โดยจากคนในหมู่บ้านมีลูกพี่ลูกน้องเป็นเจ้าของสวนลำไย ซึ่งฤดูกาลของการเก็บผลผลิตอยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคม-เดือนสิงหาคม ซึ่งคนในหมู่บ้านจะรวมกลุ่มกันในการทำลำไยโดยการแกะเอาเปลือกและเม็ดออกแล้วล้างน้ำนำมาวางใส่กระด้งไว้ หลังจากนั้นเจ้าของสวนจะมารับเพื่อนำไปทำในกระบวนการต่อไปคือ การอบแห้ง กลุ่มคนส่วนใหญ่ที่ทำคือกลุ่มคนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่ว่างงานละไม่มีรายได้ ช่วงเวลาในการทำประมาณ 06.00-07.00 น. ส่วนรายได้คิดเป็นต่อกิโลกรัม คือ กิโลกรัมละ 8 บาท และใน 1 ครั้งที่ทำได้ประมาณ 10-30 กิโลกรัม และจะได้ทำในช่วงที่เป็นฤดูกาลเก็บผลผลิตของลำไยเท่านั้น

ปฏิทินชุมชนด้านเศรษฐกิจ

จากการสัมภาษณ์ชุมชนบ้านวาก พบว่าอาชีพส่วนใหญ่ในชุมชนประกอบอาชีพเกษตรกร ได้แก่ การทำนา การปลูกข้าวโพด การเลี้ยงวัว ซึ่งอาชีพเกษตรกรการทำนาจากการสัมภาษณ์ชาวบ้านวากจะทำในช่วงเดือน ก.ค. พ.ย. ส่วนการปลูกข้าวโพดจะทำทุกฤดูตลอดทั้งปี และในส่วนการเลี้ยงวัว จะแบ่งเป็น นมวัว ขี้วัว เนื้อวัว เป็นต้น รองลงมาจากเป็นอาชีพรับจ้าง ได้แก่ รับจ้างทั่วไป รับจ้างทำนา รับจ้างปลูกข้าวโพด ซึ่งชาวบ้านจะทำงานในช่วงเวลา 07:30-18:00 น. ตามงานที่รับจ้าง รองลงมาเป็นอาชีพค้าขาย ได้แก่ ขายของชำ ร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่ม ร้านซ่อมรถ บ้านเช่า ซึ่งชาวบ้านจะทำงานในช่วง 08:00–20:00 น. 

ปฏิทินชุมชนด้านวัฒนธรรม/สังคม

1. วันขึ้นปีใหม่ จะจัดขึ้นในวันที่ 1 ของทุกปี จัดเป็นปีใหม่ของสากล ซึ่งถือเป็นวันดี คนในชุมชนทุกครอบครัว จะไปทำบุญตักบาตร และในบางบ้านจะมีการจัดกิจกรรมแลกของขวัญภายในบ้าน

2. เข้าพรรษา ในปี 2565 ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม หรือ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ซึ่งคนในชุมชนจะนำของไปถวายที่วัดและร่วมกันนั่งฟังธรรมเทศนา

3. ออกพรรษา ถือเป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันที่พ้นจากข้อกำหนดทางพระวินัยในช่วงฤดูฝนนั่นเอง วันออกพรรษา 2565 ตรงกับวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ซึ่งคนในชุมชนจะนำของไปถวายที่วัดและร่วมกันนั่งฟังธรรมเทศนา

4. ตานต้นเงินหรือตานก๋วยสลาก เป็นการถวายทานโดยไม่เจาะจงผู้รับ จะทำกันตั้งแต่วันเพ็ญเดือน 12 เหนือ (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ใต้) จนถึงเกี๋ยงดับ (แรม 15 ค่ำ เดือน 11 ใต้) ประมาณเดือนตุลาคม ซึ่งเล่าต่อกันมาว่ามีการเตรียมจัดสิ่งของต่าง ๆ ตามความศรัทธาและฐานะไว้แล้วนำไปถวายที่วัดพร้อมกับคนในครอบครัว ซึ่งปัจจุบันไม่ค่อยมีการจัดขึ้นแล้ว

5. ตานข้าวใหม่ เป็นกุศโลบายของคนโบราณสอนลูกหลานให้มีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ โดยอาศัยฤดูเกี่ยวข้าวเป็นช่วงทำบุญ กิจกรรมที่คนในชุมชนทั่วไปทำในวันตานข้าวใหม่ ได้แก่ นำข้าวเปลือก ข้าวสาร หรือ ทำอาหาร เช่น ห่อนึ่งฯไม่ใช้สัตว์ที่กินข้าว นึ่งข้าวเหนี่ยว นำไปถวายที่วัด ซึ่งปัจจุบันนี้แล้วแต่บางบ้านที่ยังคงทำ

6. ตั้งธรรมหลวง (ธรรมะสัญจร) การฟังพระธรรมเทศนาเรื่องใหญ่หรือเรื่องสำคัญ เพราะธรรมหลวงที่ใช้เทศน์มักจะเป็นเวสสันดรชาดก อันเป็นพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะได้มาประสูติและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติต่อมา ซึ่งคนในชุมชนจะมีการรวมตัวทั้ง 5 หมู่บ้านแล้วไปฟังธรรมที่ศาลาวัดบ้านวาก ในแต่ละครั้งจะมีการลงทะเบียนเพื่อลุ้นรับของรางวัลสำหรับที่เข้าร่วมการฟังพระธรรมเทศนา

7. ปีใหม่เมือง (ดำหัว, สรงน้ำพระธาตุ, ทอดกฐิน) มาจากอดีตกาลที่จะยึดถือเป็นช่วงเปลี่ยนศักราชใหม่ ซึ่งมักจะตรงกับวันที่ 11-16 เมษายนของแต่ละปี และจะกินเวลาประมาณ 4-7 วัน ยาวนานกว่าสงกรานต์ของภาคอื่น ๆ โดยคนในชุมชนจะมีการไปร่วมกันดำหัวให้กับคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้านโดยจะมีการจัดที่ศาลาประชาคมบ้านวาก และการไปร่วมสรงน้ำพระธาตุที่วัดบ้านวากกัน ซึ่งในบางปีจะมีการทอดกฐินเพื่อของดในการสร้างสิ่งต่างๆ เช่น การสร้างถนน การสร้างศาลา

8. ป๋าเวณี 12 เป็ง เป็นประเพณีทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปหาผู้ที่ล่วงลับ ในวันเพ็ญเดือนสิบสองเหนือ เพราะเชื่อกันว่าในวันดังกล่าว พระยายมราชได้ปลดปล่อยวิญญานของผู้ตายให้กลับมาสู่โลกมนุษย์ เพื่อรับเอาส่วนกุศลผลบุญจากญาติพี่น้อง จึงมีการไปทำบุญที่วัดและฟังธรรมตั้งแต่เช้า

9. ตานขันข้าวไปหาคนต๋าย เป็นประเพณีหนึ่งของคนในภาคเหนือที่สืบทอดกันมาเป็นเวลานาน การตานขันข้าวคือการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติพี่น้องที่เสียชีวิตไปแล้ว หรืออาจจะเป็นการทำบุญให้ตนเองเพื่อเป็นการสะสมบุญในชาติหน้าก็ได้ ซึ่งชาวบ้านจะมีถวายภัตตาหาร หรือถวายสิ่งของเครื่องใช้อื่น ๆ 

10. ลอยกระทง (ประเวณียี่เป็ง) "ยี่" แปลว่า สอง ส่วน "เป็ง" แปลว่า เพ็ญ หรือ คืนพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งหมายถึงประเพณีในวันเพ็ญเดือนสองของชาวล้านนา ตรงกับเดือนพฤศจิกายน คนในชุมชนจะมีการจัดกิจกรรมลอยกระทงและตกแต่งคลองแม่น้ำวากสำหรับนำกระทงไปลอย

1. เจริญ วุฒิวงค์คำ (พ่อหลวงจันทร์)

ประเภทของบุคคลสำคัญ ผู้นำชุมชน

ตำแหน่งปัจจุบัน ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 4 บ้านวาก ตำบลออนกลาง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่

ตำแหน่งที่เคยได้รับในอดีต ผู้ช่วยกำนัน ตำบลออนกลาง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่

ข้อมูลการทำงานและสิ่งที่ทำให้ชาวบ้านเชื่อใจโดยสรุป

นาย เจริญ วุฒิวงค์คำ ได้ทำการลงสมัครเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านวาก พ.ศ. 2564 และชนะการเลือกตั้งจึงดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านวากจนถึงปัจจุบัน ซึ่งขณะดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านได้ทำงานร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านร่วมด้วย จึงได้มีการพัฒนาหมู่บ้านในด้านคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยมีการส่งเสริมด้านสาธารณสุข เช่น รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก ตรวจสุขภาพวัดความดันโลหิตในผู้สูงอายุและมีการส่งเสริมสวัสดิการสังคม เช่น การจัดการดูแลผู้ติดเชื้อ ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ตัวอย่าง เช่น มีการส่งเรื่องราวไปยังอำเภอว่ามีหญิงชราอายุ 90 ปี ตาบอดสนิทโดยมีผู้ดูแลเป็นลูกชายแต่ด้วยครอบครัวมีความยากจนจึงไม่มีเงินในการดูแลครอบครัว

ผู้ใหญ่จันทร์เล็งเห็นปัญหาจึงส่งให้ทางรัฐเข้ามาช่วยเหลือโดยทางอำเภอได้เข้ามาช่วยเหลือเรื่องการเป็นอยู่สร้างบ้านสร้างห้องน้ำของบริจาครถเข็นผู้ป่วยและผ้าอ้อมให้แก่ครอบครัว ผู้ใหญ่จันทร์ยังมีการส่งเสริมและสนับสนุนสวัสดิการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของศูนย์เด็กเล็ก และส่งเยาวชนเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำงานของผู้ใหญ่จันทร์ เน้นการประชุมร่วมกันทุกหลังคาเรือน เชิญมาประชุมร่วมกันเพื่อสร้างการพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน ผู้ใหญ่จันทร์เองก็มีนโยบายที่จะทำให้ชุมชนได้ปฏิบัติ

ด้านสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม มีการส่งเสริมชุมชนแห่งความสุข คือ รณรงค์สุขอนามัยในครัวเรือนส่งเสริมและสนับสนุนการไม่ดื่มสุราหรือสารเสพติดให้โทษ มีอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ดูแลและแนะนำสุขอนามัยพื้นฐานของชุมชน การให้คนในชุมชนพิจารณาแก้ปัญหาทางสิ่งแวดล้อมร่วมกัน การพิจารณาแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม พิจารณาจากการบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะและเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย การดูแลสุขภาพด้วยกิจกรรมส่งเสริมรายได้และมีกลุ่มอาสาพัฒนาชุมชนทำงานสุขภาพวะและสิ่งแวดล้อม ผู้ใหญ่จันทร์มองว่า การพัฒนาหมู่บ้านต้องเกิดจากความรักสามัคคี จึงมีแนวทางจะจัดให้มีกีฬาหมู่บ้านเพื่อให้คนในชุมชนได้มาร่วมเล่นกีฬาและพูดคุยกัน การจัดกิจกรรมแบบจะส่งเสริมความสามัคคีและการออกกำลังกายสร้างสุขภาพให้กับประชาชน ซึ่งเป็นฐานสำคัญในการพัฒนาหมู่บ้านต่อไป ปัจจุบันการพัฒนาต่าง ๆ คือการทำงานแบบสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนซึ่งสำคัญมาก แต่ในฐานะที่ได้รับเลือกมาเป็นผู้ใหญ่บ้านยินดีที่จะสร้างการพัฒนาในชุมชนมากขึ้น ทั้งงานด้านอาชีพ งานด้านสวัสดิการ งานด้านการปกครองและดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยของชุมชน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ภาษาพูดและภาษาเขียนหลัก คือ ภาษาไทย และคำเมือง (ภาษาเหนือ)


ประชากรบ้านวากส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ ปลูกข้าวโพด เลี้ยงวัวนม และรับจ้างทั่วไปบ้างแต่พบน้อยมากเนื่องจากประชากรส่วนใหญ่เป็นวัยผู้สูงอายุ


ระบบแพทย์พื้นบ้าน (Folk sector)

จากการสอบถามและสัมภาษณ์พบว่าแพทย์พื้นบ้านในหมู่บ้านไม่ได้รับความนิยมเหมือนสมัยก่อน เนื่องจากในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์มีความก้าวหน้ามากขึ้นให้การรักษาได้ผลดีและรวดเร็วกว่า อีกทั้งหมอพื้นเมื่อเสียชีวิตแล้ว ไม่มีลูกหลานมาสืบทอดวิชาต่อ บางท่านที่มีชีวิตอยู่ก็จะใช้ดูแลเฉพาะตนเองและครอบครัวเท่านั้น จึงทำให้การรักษาด้วยแพทย์พื้นเมืองค่อย ๆ เริ่มหายไปจากหมู่บ้าน ปัจจุบันนี้จึงไม่พบการรักษาด้วยระบบแพทย์พื้นบ้าน แต่ยังมีนักปราชญ์ชาวบ้าน คือ มีหมอเป่าชื่อ นายคำ นางเมาะ ซึ่โดยจะเป่าให้กับคนที่มีอาการเกี่ยวกับเรื่องตา เช่น ตาแดง มีผื่น มีตุ่มขึ้นตามตัว โดนแมลงกัดต่อย เป็นต้น ซึ่งจะมีค่าตอบแทนเป็นสิ่งของเล็กน้อยตามศรัทธา เช่น การดำหัว สรวยดอก และหมอดูดวง ชื่อ นางจันทร์เพ็ญ เลาหล่าย โดยจะทำนายจากการดู วัน เดือน ปีเกิด ทำนายประวัติที่ผ่านมา ซึ่งจะมีคนไปใช้บริการเป็นบางครั้งเท่านั้น นอกจากนี้ประชาชนในบ้านวากยังมีความเชื่อเรื่องบรรพบุรุษที่ปกปักรักษาคนในหมู่บ้าน ที่เรียกว่า "ผีปู่ย่าหรือเสื้อบ้าน" เป็นผีที่จะรักษาป้องกันเครือญาติให้พ้นภัย และเกิดความอบอุ่นในหมู่เครือญาติ


จากการสำรวจเพื่อทำแผนที่เดินดินของหมู่ 4 บ้านวาก ทำให้ทราบถึงพื้นที่ทางกายภาพ คือ เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ โดยมีลำน้ำวากคอยหล่อเลี้ยงเกษตรกรเพื่อใช้ในการทำนา (ปลูกข้าว) พื้นที่ส่วนใหญ่ของชาวบ้านจะนำมาขาย ให้กับกลุ่มนายทุนต่างจังหวัด เพื่อแบ่งล๊อคที่ดินขายทำบ้านพักตากอากาศ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีเชียงใหม่. (2565). ข้อมูลการสำรวจชุมชนบ้านวาก หมู่ที่ 4 ตำบลออนกลาง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2565. เชียงใหม่: สาขาวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่.