ชุมชนเกษตรกรรมโคนมที่มีเชื้อสายชาวไทยเขินและคนพื้นเมือง
บ้านออนกลาง แต่เดิมบริเวณนี้ เป็นที่ราบลุมตามเชิงเขา และเริ่มมีผู้คนซึ่งเป็นชาวไทเขินเข้ามาอาศัยอยู่ประมาณ 20 ครอบครัวเท่านั้น เช่น ครอบครัวพ่อค้นเมือง พ่ออุ่นเมือง พ่อหนาน พ่อกุย พ่อละ เป็นต้น เข้ามาบุกเบิกสร้างบ้านขึ้น เริ่มแรกประกอบอาชีพทำไร่ข้าว ไร่ฝ้ายและบุกเบิกทำนา ต่อมามีช่างทอผ้า หัตถกรรมจักรสาน แต่เน้นทำเกษตรเป็นหลัก สำหรับการทำบุญจะไปทำบุญที่วัดบ้านวาก ซึ่งเป็นวัดแห่งแรกในละแวกนี้ การเรียนหนังสือ จะไปเรียนที่วัดเปาสามขา และในปี พ.ศ.2370 มีการสร้างวัดศรีเมืองออนขึ้น ซึ่งคำว่าศรีมาจากที่วัดมีต้นส่าหรีหลายต้น จึงเรียกกันว่า “วัดศรีออนกลาง” ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ของหมู่ 7 ถือเป็นแหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจของชุมชนรอบข้าง รวมทั้งประชากรบ้านออนกลางหมู่ 8 ก็จะมาทำบุญที่วัดนี้ ต่อมาปี พ.ศ. 2517 พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จมาหมู่บ้านสหกรณ์ ซึ่งตอนนั้นยังไม่มีการแบ่งเขต ได้มีการริเริ่มโครงการโคนมในพระราชดำริ จึงทำให้ชาวบ้านเลี้ยงโคนม มาจนถึงปัจจุบัน แต่การเลี้ยงโคนมมีค่าใช่จ่ายค่อนข้างมาก จะเลี้ยงเฉพาะบ้านที่มีกำลังทรัพย์ แต่ก็ยังคงทำเกษตรกรอยู่และมีการรับจ้าง ทำอาชีพอื่นๆ ต่อมามีครอบครัวมากขึ้น อาชีพต่างๆ ก็มีหลากหลาย จนในปี พ.ศ. 2537 ชุมชนหนาแน่น ไม่สามารถปกครองได้อย่างทั่วถึง จึงได้มีการแยกหมู่บ้านจากหมู่8 ไปเป็นอีกหมู่บ้าน คือ หมู่บ้านออนกลาง หมู่11 จนถึงปัจจุบัน
ชุมชนเกษตรกรรมโคนมที่มีเชื้อสายชาวไทยเขินและคนพื้นเมือง
บ้านออนกลางมีประวัติก่อตั้งมานานกว่า100 ปี ข้อมูลจากหนังสือคู่มือบ้านออนกลาง หมู่8 และจากการสัมภาษณ์ ดร.ประดิษฐ์ ต๊ะหล้า กล่าวว่า เมื่อประมาณปี พ.ศ 2345 พระเจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครอง นครเชียงใหม่พร้อมด้วยเสนาอำมาตย์ไพร่พลมากมายได้ขึ้นไปตีข้าศึกที่เมืองเชียงตุง จนข้าศึกแตกพ่ายหนีกระจัดกระจาย ในขณะดังกล่าว ทางเมืองเชียงใหม่ยังขาดผู้คนที่จะร่วมสร้างบ้านแปลงเมืองและพัฒนาเมือง พระเจ้ากาวิละจึงได้กวาดต้อนผู้คนชาวไทเขิน (ขึน) จากบริเวณลุมแม่น้ำสาละวิน แล้วอพยพเอาผู้คนเหล่านั้นข้ามป่า ข้ามเขา เป็นเวลาหลายเดือน มาพักที่เมืองเชียงแสน จึงได้เคลื่อนย้ายเดินทางเข้ามาในเขตเมืองเชียงใหม่ ในเขตเมืองออน (อำเภอสันกำแพงและอำเภอแม่ออน) แล้วไปตั้งรกรากลงหลักปักฐาน บริเวณทิศตะวันออกของถ้ำเมืองออน ซึ่งปัจจุบันนี้ คือ บ้าน ออนกลางและบ้านป่าตัน
บ้านออนกลาง แต่เดิมบริเวณนี้ เป็นที่ราบลุมตามเชิงเขา และเริ่มมีผู้คนซึ่งเป็นชาวไทเขินเข้ามาอาศัยอยู่ประมาณ 20 ครอบครัวเท่านั้น เช่น ครอบครัวพ่อค้นเมือง พ่ออุ่นเมือง พ่อหนาน พ่อกุย พ่อละ เป็นต้น เข้ามาบุกเบิกสร้างบ้านขึ้น เริ่มแรกประกอบอาชีพทำไร่ข้าว ไร่ฝ้ายและบุกเบิกทำนา ต่อมามีช่างทอผ้า หัตถกรรมจักรสาน แต่เน้นทำเกษตรเป็นหลัก สำหรับการทำบุญจะไปทำบุญที่วัดบ้านวาก ซึ่งเป็นวัดแห่งแรกในละแวกนี้ การเรียนหนังสือจะไปเรียนที่วัดเปาสามขา และในปี พ.ศ.2370 มีการสร้างวัดศรีเมืองออนขึ้น ซึ่งคำว่า "ศรี" มาจากที่วัดมีต้นส่าหรีหลายต้น จึงเรียกกันว่า “วัดศรี ออนกลาง” ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ของหมู่7 ถือเป็นแหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจของชุมชนรอบข้าง รวมทั้งประชากรบ้านออนกลาง หมู่ 8 ก็จะมาทำบุญที่วัดนี้ ต่อมาปี พ.ศ.2517 พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จมาหมู่บ้านสหกรณ์ ซึ่งตอนนั้นยังไม่มีการแบ่งเขต ได้มีการริเริ่มโครงการโคนมในพระราชดำริ จึงทำให้ชาวบ้านเลี้ยงโคนม มาจนถึงปัจจุบัน แต่การเลี้ยงโคนมมีค่าใช่จ่ายค่อนข้างมาก จะเลี้ยงเฉพาะบ้านที่มีกำลังทรัพย์ แต่ก็ยังคงทำเกษตรกรอยู่และมีการรับจ้าง ทำอาชีพอื่นๆ ต่อมามีครอบครัวมากขึ้น อาชีพต่างๆ ก็มีหลากหลาย จนในปี พ.ศ. 2537 ชุมชนหนาแน่น ไม่สามารถปกครองได้อย่างทั่วถึง จึงได้มีการแยกหมู่บ้านจากหมู่ 8 ไปเป็นอีกหมู่บ้าน คือ หมู่บ้านออนกลาง หมู่ที่ 11 จนถึงปัจจุบัน
ส่วนขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรม ก็ปฏิบัติตามแบบของชุมชนคนไทเขิน ของบ้านออนกลาง บ้านป่าตัน ยกตัวอย่างเช่น วัฒนธรรมด้านภาษา สำเนียงการพูด ประเพณี “ขอเขย” ที่ฝ่ายหญิงต้องเป็นฝ่ายไปขอผู้ชาย ประเพณีปอยข้าวสังฆ์ เพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย เป็นต้น ในปี พ.ศ. 2548 มีการก่อสร้างสนามกอล์ฟในพื้นที่ตำบลออนเหนือ อำเภอแม่ออน และเปิดรับสมัครพนักงาน ประชากรส่วนใหญ่จึงไปทำงานที่นี่ เนื่องจากรายได้ค่อนข้างดี และการเกษตรกรรมปลูก จะปลูกข้าว ประมาณช่วงเดือนกรกฎาคม เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน มีน้ำเพียงพอ
สภาพแวดล้อม
หมู่ 8 มีพื้นที่ทางกายภาพ คือ หมู่บ้านเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโดยมีลำน้ำแม่ออน และน้ำเหมืองคอยหล่อเลี้ยงเกษตรกรเพื่อใช้ในการทำนา(ปลูกข้าว) ประชากรบ้านออนกลางส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ ปลูกข้าว เลี้ยงวัวนม นอกจากนี้ยังประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปบ้างแต่พบน้อยมากเนื่องจากประชากรส่วนใหญ่เป็นวัยผู้สูงอายุ ปัจจุบันหมู่บ้านออนกลางมีฟาร์มวัวทั้งหมด 8 แห่ง เนื่องจากในอดีตพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้นำโครงการโคนมในพระราชดำริ ให้ประชากรในหมู่บ้านนำแนวคิดไปประกอบอาชีพสร้างรายได้ อาณาเขตของบ้านออนกลางทิศเหนือ ติดต่อกับหมู่บ้านออนกลางเหนือ หมู่ 11 ทิศใต้ ติดต่อกับ วัด โรงเรียน บ้านออนกลาง หมู่ 7 ทิศตะวันออก ติดต่อกับภูเขา บ้านป่าตัน หมู่ 6 ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ลำน้ำแม่ออน บ้านออนกลาง หมู่ 9
พื้นทางสังคม
1. วัดบ้านออนกลาง เป็นศูนย์รวมของการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา อาทิ เช่น วันพระ วันตานข้าวใหม่ วันสืบชะตาหมู่บ้านหรือการประชุมหรือจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชาวบ้านบ้านออนกลาง
2. ศาลาประชาคม/ศาลาอเนกประสงค์ เป็นสถานที่ที่ใช้ในการจัดประชุมของหมู่บ้านหรือจัดกิจกรรมจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชาวบ้านบ้านออนกลาง
3. ตำแหน่งบ้านแต่ละหลังของ อสม. ในหมู่ 8 บ้านออนกลาง บ้านของ อสม. กระจายทั่วชุมชนหมู่บ้านเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้สามารถดูแลชาวบ้านที่เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อไม่เรื้อรังหรือผู้ที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพได้ทั่วถึง โดยทำงานร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลออนกลาง แต่อาจมีบริเวณท้ายหมู่บ้านอาจไม่มีบ้าน อสม อยู่บนบริเวณท้ายหมู่บ้านแต่อสม ที่รับผิดชอบในพื้นที่ท้ายหมู่บ้านเข้าไปดูแลติดตามเป็นประจำสม่ำเสมอ
4. ร้านขายของชำ และร้านเหล้าตอง ในหมู่ 8 บ้านออน มีร้านขายของชำร่วมกับขายสุราในช่วงเย็นมีอยู่ ร้าน เปิดขายเวลา 07.00 - 20.00 น. โดยลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นคนในพื้นที่และที่อื่นบ้าง เช่น ชาวบ้านหมู่ 7 และชาวบ้านหมู่ 11
5. ร้านค้าขายของชำ มีอยู่ 2 ร้าน คือ ร้านที่ 1 อยู่ตรงทางหลักของหมู่บ้าน ซึ่งขายอาหารสุกในตอนเช้า และขายของสด เป็นร้านของคนในบ้านออนกลาง ร้านที่ 2 อยู่ตรงทางหลักของหมู่บ้านเหมือนกัน ขายของชำทั่วไปซึ่งเปิดตั้งแต่ เวลา 09.00-22.00 น. ซึ่งเป็นร้านที่ปิดดึกที่สุดในหมู่บ้านเป็นร้านของคนในบ้านออนกลางและเป็นสมาชิก อบต.
จากการลงพื้นที่สำรวจของนักศึกษาพยาบาล วพบ.เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 23-30 พฤศจิกายน 2565 สำรวจได้ 72 หลัง จาก 79 หลัง ซึ่งมีประชากรจำนวน 234 คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด 245 คน ส่วนใหญ่ประชากรเป็นเพศชาย (ร้อยละ 52) และอยู่ในช่วงอายุ 55-59 ปี (ร้อยละ 11.1) รองลงมา อยู่ในช่วงอายุ 60-64 ปี (ร้อยละ 10.2) สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา (ร้อยละ 42.6) รองลงมาคือ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมต้น จำนวน (ร้อยละ 22.1) ส่วนใหญ่มีสัญชาติไทยและมีแรงงานต่างชาติ เช่น พม่า ไทยใหญ่ เข้ามารับจ้างงานเกษตรกรรมต่างๆ
จากการทำผังเครือญาติของหมู่บ้านออนกลาง หมู่8 ตำบลออนกลาง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งในหมู่บ้านออนกลางมีตระกูลเก่าแก่หลายนามสกุลเช่น กันตีมูล พรหมษา และอโนมา และนามสกุลที่เป็นที่รู้จักเยอะ คือ นามสกุล อโนมา โดยนามสกุลอโนมาเป็นนามสกุลที่เป็นที่รู้จัก และมีสมาชิกในครอบครัวเป็นจำนวนมาก ทั้งที่อาศัยอยู่จริงและอาศัยอยู่นอกพื้นที่ โดยจากการสัมภาษณ์ แม่ออนทราย อโนมา ซึ่งเป็นสมาชิกในตระกูล พบว่ามี นายแก้ว และ นางแก้ว อโนมา เป็นต้นตระกูล มีการแต่งงานและขยายครอบครัว มีลูกหลานสืบทอดมาจนเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ ปัจจุบันมีการใช้นามสกุลอื่นบ้างตามการแต่งงานของสมาชิกในตระกูล นอกจากนี้ยังเป็นตระกูลที่มีบทบาทสำคัญในชุมชน เช่น นายวิวัตน์ อโนมา ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน เป็นระยะเวลา 6ปี และนางออน ทราย อโนมา ดำรงตำแหน่งหัวหน้าอาสาสมัครหมู่บ้าน ของบ้านออนกลาง หมู่8 ตำบลออนกลาง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อชาวบ้านในชุมชนมีปัญหาหรือเรื่องทุกข์ใจส่วนใหญ่มักจะเข้ามาปรึกษาและแจ้งปัญหาในชุมชนให้ผู้ใหญ่บ้าน และจากการที่นายวิวัตน์ อโนมา ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านนานกว่า 6 ปี ทำให้นามกุลเป็นที่รู้จักและเป็นที่เคารพของคนในชุมชนส่วนมากด้วยเช่นกัน
จากการสำรวจชุมชนและเก็บรวบรวมข้อมูล พบว่า บ้านออนกลาง หมู่ 8 ตำบลออนกลาง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ มีการจัดตั้งองค์กรทั้งแบบเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ โดยในแต่ละองค์กร จะมีบทบาท หน้าที่ แตกต่างกัน ชึ่งปัจจุบันมีการจัดตั้งองค์กร ดังนี้
- องค์กรทั้งแบบเป็นทางการ ได้แก่ คณะกรรมการหมู่บ้าน กองทุนศูนย์จัดการกองทุน อาสาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
- องค์กรแบบไม่เป็นทางการ ได้แก่ กลุ่ม คณะกรรมการน้ำประปาหมู่บ้าน เพื่อให้บริการและอำนวยความสะดวกให้ชาวบ้านออน กลาง หมู่ที่ 8 ได้ใช้น้ำอุปโภคบริโภคอย่างทั่วถึง จัดเก็บค่าน้ำประปา ตลอดจนทำบัญชีรับจ่ายและ . ควบคุมให้สมาชิกปฏิบัติตามระเบียบในการใช้น้ำประปา คณะกรรมการหัวหน้าประจำหมวด(ป๊อก) ของบ้านออนกลางหมู่ 8 เพื่อประสานงานและอำนวยความสะดวกให้แก่สมาชิกแต่ละป๊อก
1. ด้านเศรษฐกิจและสังคม
จากการประเมินชุมชนด้านเศรษฐกิจบ้านออนกลางหมู่ 8 ตำบล ออนกลาง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าคนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป และมีกลุ่มที่มีการประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีการปลูกพืชหมุนเวียนตลอดทั้งปี เป็นการปลูกข้าวนาปีกับปลูกข้าวนาปรัง โดยการปลูกข้าวนาปีชาวบ้านจะเริ่มหว่านข้าวในช่วงเดือนกรกฎาคม เดือนถัดมาช่วงเดือนที่จะมีการเก็บเกี่ยวข้าวในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ส่วนการปลูกข้าวนาปรังชาวบ้านจะทำในช่วงที่มีน้ำ หากปีไหนน้ำไม่พอ ก็จะทำเป็นนาปีแทน นอกจากนี้ยังมีพืชผลทางการเกษตรและสัตว์เศรษฐกิจที่มีการดูแลตลอดปี ได้แก่ หญ้าสำหรับเลี้ยงโค เป็นหญ้าที่ปลูกไว้เพื่อใช้เลี้ยงโคนมและโคเนื้อ โดยจะทำการเก็บตลอดเวลา และสัตว์เศรษฐกิจ ได้แก่ ไก่ หมู โคเนื้อ โคนม ส่วนใหญ่ในชุมชนจะนิยมเลี้ยงโคนม โคนมเลี้ยงไว้เพื่อทำการเก็บน้ำนมวัวส่งให้กับสหกรณ์โคนมของหมู่บ้าน มี2 กลุ่ม คือ กลุ่ม ออนหลวง กับ กลุ่มหนองหอย โดยนมวันส่งให้กับบริษัทไทย-เดนมาร์ค โดยทำการเก็บเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงเช้าเวลา 08.00 น. และอีกครั้งช่วงบ่าย เวลา 15.00 น. ส่วนโคเนื้อเป็นการเลี้ยงมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เป็นการเลี้ยงเพื่อทำการขายซึ่งราคาขึ้นอยู่กับโคเนื้อ
นอกจากนี้มีอีกอาชีพที่สำคัญประชาชนบ้านออนกลางหมู่8 คือมีกลุ่มอาชีพเย็บผ้า เย็บกระเป๋า แคดดี้ ซึ่งสำหรับการเย็บผ้าในชุมชนเริ่มจากการที่มีคนในชุมชนนำผ้าเข้ามาและจ้างคนในหมู่บ้านทำ จึงทำให้มีการเย็บผ้าเป็นการสร้างรายได้ เนื่องจากชุมชนอยู่กับสนามตีกอล์ฟซึ่งห่างหมู่บ้านประมาณ 7-8 กิโลเมตร ค่าแรงมีราคาสูง 500 บาท และมีการทำงานเป็นพนักงานโรงงานตุ๊กตา ซึ่งอยู่หมู่บ้าน สันกำแพง ค่าแรงมีราคา 300-350 บาท ก่อสร้างทั่วไป ค่าแรงมีราคา 300-350 บาท คุ้มค่ากับค่าแรงทำให้ส่วนใหญ่คนในชุมชนเลือกทำ
2. ด้านวัฒนธรรม
จากการประเมินและสอบถามภายในประชาชนบ้านออนกลาง หมู่8 เกี่ยวกับด้านวัฒนธรรมของหมู่บ้านพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ เมื่อถึงวันสำคัญทางศาสนา จะไปรวมตัวกันที่วัดและทำบุญร่วมกัน มีกิจกรรมตามวันเวลาปฏิทิน ดังนี้
- ปีใหม่ไทย คนในหมู่บ้านจะมีการสวดมนต์และทำบุญร่วมกันในชุมชน ตอนเย็นมีการกินเลี้ยงตามบ้านของตนเอง
- ตานข้าวใหม่ การทำบุญให้กับคนตายโดยการนำข้าวที่ได้เกี่ยวในช่วงเดือนตุลาคม -พฤศจิกายน โดยชาวบ้านส่วนมากจะรอนำข้าวใหม่ชาวบ้านส่วนมากจะรอนำข้าวใหม่มาทำบุญก่อนจะมีการรับประทานกันเองภายในครอบครัว และภายในหมู่บ้านจะมีการนำข้าวสารไปถวายวัด เมื่อนำไปถวายที่วัดจะมีการทำบุญ หลังจากการทำบุญพระจะมีการขาย ข้าวสารให้สำหรับคนที่อยากซื้อข้าว เพื่อนำเงินส่วนนี้ไปเป็นค่าใช้จ่ายในวัด
- สงกรานต์ 13-16 เมษายน จะมีการเรียกตามวันและมีกิจกรรมตามแต่ละวัน ดังนี้
- สังขารล่อง ตรงกับวันที่13 เมษายนของทุกปีชาวบ้านจะเริ่มจากการตื่นเช้ามาทำความสะอาดบ้าน ซักผ้าอาบน้ำและใส่ชุดใหม่เพื่อต้อนรับวันปีใหม่เมือง อีกส่วนจะทำการขนทรายเข้าและก่อทรายพร้อมทั้งเอาตุงปัก หลังจากนั้นจะมีการไปรวมตัวกันที่ ศาลาหมู่บ้านมารดน้ำดำหัวผู้แก่ผู้เฒ่าที่สามารถเดินทางมาได้ด้วยตนเอง
- วันเนา ตรงกับวันที่ 14 เมษายนของทุกปีจะมีการฆ่าสัตว์ที่ใช้สำหรับทำบุญในวัดพญาวัน หรือเตรียมของสำหรับทำบุญ เช่น ทำขนมเทียน กล้วยหอม ข้ามต้มมัด ขนมกะทิ เป็นต้น
- วันพญาวัน ตรงกับวันที่ 15 เมษายนของทุกปี เป็นวันทำบุญใหญ่ ซึ่งชาวบ้านจะตื่นเช้า นำสิ่งของที่เตรียมในวันเนาไปถวายที่วัดออนกลาง หลังจากที่ทำบุญวัดเสร็จแล้ว ชาวบ้านจะแยกย้ายกัน ไปรดน้ำดำหัวผู้แก่ผู้เฒ่าตามบ้านของตนเอง และกินเลี้ยงกันตามบ้านของตนเอง
- วันปากปี ตรงกับวันที่ 16 เมษายนของทุกปี เป็นวันหลังจากวันสงกรานต์ ซึ่งเป็นวันที่สงเคราะห์บ้านหรือปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายออกจากบ้าน โดยแต่ละบ้านจะทำการปั่นรูปสัตว์ตามปีเกิดตามปีเกิดของคนในบ้านทุกคน คนละ 4 ตัว แล้วนำไปใส่ที่รองซึ่งทำจากไม้ไผ่ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมสำหรับใส่รูปปั้นเหล่านี้ จากนั้นจะนำไปไว้ที่ศาลเจ้าพ่อปูอินทร์จะมีผู้ใหญ่เป็นคนนำไหว้ขอขมา ขอพรในการดูแลปกป้องรักษาหมู่บ้านออนกลางให้คลาดแคล้วปลอดภัยจากสิ่งไม่ดี มีแต่ความสงบสุขตลอดปี แล้วให้พระสงฆ์สวดปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย แล้วนำมาไว้ตามสี่ทิศของหมู่บ้าน นอกจากนี้แต่ละบ้าน จะได้รับสายสิญจน์มาไว้ที่บ้านอีกด้วย
- วิสาขบูชา จะเป็นวันที่ชาวบ้านจะทำบุญตักบาตรที่วัดออนกลางในช่วงเช้า ในช่วงตอนเย็นจะมีการเวียนเทียน
- เข้าพรรษา จะมีทำบุญที่วัดออนกลางโดยชาวบ้านจะไปเข้าร่วมทำบุญในตอนเช้า
- สลากภัต จะทำช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม หรือวันพระใหญ่ โดยจะเป็นการทำทานให้กับบรรพบุรุษที่เสียไปแล้วตามแต่ละครอบครัว โดยทุกบ้านจะทำต้นสลากที่วัด แต่ในบางปีไม่มีการทำกิจกรรมร่วมกัน
- ออกพรรษา จะเป็นวันที่ชาวบ้านจะทำบุญตักบาตรที่วัดออนกลางในช่วงเช้า
- 12 เป็ง ตรงกับวันพระใหญ่ เป็นวันปล่อยผี ให้มารับของทาน โดยชาวบ้านจะตื่นเช้าไปทำบุญใส่ขันดอก จุดธูปเทียนที่วัดออนกลาง ในการทำทานพระจะให้ทำทานทีละครอบครัว หากชาวบ้านคนไหนที่ไม่ว่างก็มักจะกลับหลังจากทำทานเสร็จ ส่วนคนที่ว่างหรืออยากอยู่ต่อจะนั่งฟังธรรมต่อถึงบ่าย และมีการสวดมนต์ฟังธรรม อีกรอบในเวลา 19.00 น.
- ยี่เป็ง ชาวบ้านจะไปทำบุญด้วยกันที่วัดออนกลางช่วงเช้า จากนั้นในช่วงเย็นจะมีการจัดงานลอยกระทงในหมู่บ้านบริเวณสะพาน โดยมีกิจกรรมประกวดทำกระทง ลอยกระทง โดยชาวบ้านมาร่วมตัวทำกิจกรรมร่วมกัน
- สรงน้ำพระธาตุ เป็นประเพณีที่ทำขึ้นทุกปิโดยเวลาจะไม่แน่นอน มักจะทำในช่วงต้นเดือนตุลาคม ตรงกับที่เจ้าอาวาสมรณภาพ
- เลี้ยงหอบ้าน เป็นประเพณีบูชาเจ้าบ้านที่คอยปกปักรักษาหมู่บ้านให้อยู่ในความสงบเป็นประจำทุกปี ชาวบ้านจะช่วยกันนำอาหารเช่นไก่ ข้าว ไข่ต้ม ผลไม้ ไปไหว้เพื่อขอบคุณ โดยสถานที่ จัดพิธีคือ บริเวณบ้านพ่อหลวงเก่า หมู่ 8
นายอินสม ขัติแสง : ปราชญ์ชาวบ้านด้านจักสาน
นายอินสม ขัติแสง เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2486 ปัจจุบันอายุ 78 ปี บ้านตั้งอยู่บ้านเลขที่ 50 หมู่ 8 ตำบลออนกลาง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ เป็นประชากรบ้านออนกลางโดยกำเนิด ได้สมรสกับนางอำไพ ขัติแสง มีบุตรด้วยกัน 3 คน จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เมื่อปี พ.ศ. 2496 ก่อนที่จะเริ่มมาทำอาชีพจักสาน เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2524 ได้ทำอาชีพเกษตรกร ปลูกนา ข้าวโพด ถั่ว เพื่อนำไปขาย ได้รายได้ดี แต่พอทำไปหลายปีร่างกายเริ่มไม่ไหว เนื่องจากต้องตากแดดทำนา และใช้แรงงานมากจึงหยุดการทำอาชีพเกษตรกร
เมื่ออายุได้ประมาณ 56 ปี พอไม่ได้ทำงานอะไร อยู่บ้านว่างๆ ลูกๆออกไปสร้างครอบครัว จึงเกิดความรู้สึกอยากหางานทำ จึงไปขอให้คนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้านสอนการจักสานไม้กวาดสลาก เพื่อทำเป็นอาชีพหารายได้ให้ตนเองและภรรยา จากนั้นจึงเริ่มจักสานไม้กวาดสลาก โดยวัสดุต่างๆ เช่น ต้นมะพร้าว บ้านไหนที่มีต้นมะพร้าวหรือจะตัดต้นมะพร้าวก็จะเรียกพ่ออินสมไปเอาก้านทางมะพร้าวหรือแส้มะพร้าวตลอด ไม่เคยไปซื้อเอง คนในชุมชนที่มีต้นมะพร้าวจะนำมาให้ตลอด พ่ออินสมจึงเริ่มจักสานไม้กวาดสลากโดยทำขายให้คนในชุมชนขนาดเล็ก 60 บาท และขนาดใหญ่ 100 บาท ซึ่งคนในชุมชนจะมาซื้อหรือสั่งทำอยู่ตลอดเพื่อช่วยสนับสนุนพ่ออินสม รายได้ที่ได้รับก็ตามที่คนในชุมชนอยากจะช่วยซื้อ ไม่เคยได้นับรายได้ในแต่ละเดือน พอใจในการจักสานในแต่ละวันไม่ห่วงเรื่องรายได้ เนื่องจากบุตรส่งเงินมาให้ตลอด
หมู่ 8 ออนกลางมีฟาร์มโคนมหลายแห่งกระจายตามหมู่บ้าน
ภาษาที่ใช้หลักในการสื่อสารคือภาษากลางและคำเมือง (ภาษาเหนือ)
วิถีการดำรงชีวิตของประชาชนในชุมชนบ้านออนกลาง โดยจากการประเมินชุมชนและแบบสอบถามพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเลี้ยงโคนม ซึ่งในช่วงเช้าออกไปฟาร์ม โดยทำการเก็บเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงเช้าเวลา 08.00 น. และอีกครั้งช่วงบ่าย เวลา 15.00 น. และมีการทำงานนอกบ้านเช่น เป็นพนักงานกอล์ฟ พนักงานโรงงานตุ๊กตา ก่อสร้างทั่วไป
จากการลงพื้นที่สำรวจระบบสุขภาพชุมชน (Local Health Systems) บ้านออนกลาง หมู่8 ตำบลออนกลาง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าประชากรส่วนใหญ่มีการดูแลตนเองโดยเลือกรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะโดยนิยมประกอบอาหารด้วยตนเอง ประเภทอาหารส่วนใหญ่มักจะเป็นแกงพื้นบ้าน ผัดและต้ม ในส่วนของการออกกำลังกายจากการลงสำรวจพื้นที่และสอบถามคนในชุมชนบ้านออนกลาง พบว่าคนส่วนใหญ่ออกกำลังกายโดยวิธี แกว่งแขน เดิน ปั่นจักรยานรอบหมู่บ้าน วิ่งรอบบ้านหรือวิ่งรอบหมู่บ้าน หากมีอาการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อยจะชื่อยาจากร้านขายยาบริเวณเปาสามขามารับประทานเอง แต่หากอาการเจ็บป่วยนั้นรักษาไม่หายหรือป่วยเพิ่มมากขึ้นจะไปรักษาที่โรงพยาบาลตามสิทธิการรักษาของแต่ละบุคคล ได้แก่ สิทธิเบิกตรง สิทธิข้าราชการ ประกันสังคม บัตรทอง และจ่ายเอง โดยมักไปใช้สถานบริการ ได้แก่ โรงพยาบาลแม่ออนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านออนกลาง มักเป็นกลุ่มประชาชนที่ใช้สิทธิบัตรทอง โรงพยาบาลลานนาและโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เป็นกลุ่มประชาชนที่ใช้สิทธิเบิกตรง สิทธิข้าราชการ ประกันสังคม และจ่ายเองจะเข้ารับการรักษาที่คลินิกแพทย์บุญเลิศที่อยู่ในตัวเมืองสันกำแพง ซึ่งประชาชนบ้านออนกลางหมู่ 8 ไม่ความเชื่อในการพึ่งพาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในการรักษาโรคและไม่นิยมซื้อยาตามร้านขายของชำมารับประทานด้วยตนเอง
วัฒนธรรมประเพณีและความเชื่อที่คนในของชุมชนบ้านออนกลางนับถือและทำพิธีกรรมที่ช่วยสร้างสัมพันธภาพของคนในชุมชน ครอบครัว ได้แก่ ปีใหม่เมือง เข้าพรรษา สลากภัตร ออกพรรษา ลอยกระทง สงกรานต์ สรงน้ำ กิจกรรมทางวัฒนธรรมดังกล่าวช่วยกระตุ้นให้คนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมภายในหมู่ 8 มากขึ้น ศูนย์กลางในการทำกิจกรรมในชุมชน คือ บริเวณศาลาหมู่บ้านออนกลาง เช่น รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ มีการสวดมนต์ ทำบุญรวมตัวทำกิจกรรมที่วัด มีการจัดกิจกรรมรวมตัวที่สะพานในวันลอยกระทง
ข้อมูลจากการสำรวจประชากร บ้านออนกลาง หมู่ 8 ตำบลออนกลาง อำเภอแม่ออน จังหวัด เชียงใหม่ จำนวน 225 คน จากจำนวนทั้งหมด 234 คน จากการสำรวจของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 23-30 พฤศจิกายน 2565