ชุมชนเกษตรกรรมโคนมและประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง มีวัดออนกลาง เจดีย์ศรีสุทธิจิตต์เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาหลักของหมู่บ้าน
ประมาณปี พ.ศ. 2354 พระเจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พร้อมด้วยเสนาอำมาตย์ไพร่พล มากมายได้ขึ้นไปตีข้าศึกที่เมืองเชียงตุงจนข้าศึกษาแตกพ่ายหนีกระจัดกระจาย ในการนั้น กล่าวถึงในขณะ ดังกล่าวทางเมืองเชียงใหม่ ยังขาดผู้คนที่จะร่วมสร้างบ้านแปลงเมืองและพัฒนาเมือง พระเจ้ากาวิละจึงได้กวาดต้อนผู้คนชาวไทเขินจากบริเวณลุ่มแม่น้ำสาละวิน แล้วอพยพผู้คนเหล่านั้นข้ามป่าเขาลำเนาไพรรอน แรมนับเดือนมาพักที่เมืองหิรัญนครเงินยาง (เชียงแสน) ผู้คนเหล่านั้นได้ตั้งหลักพักอยู่ที่ เมืองเชียงแสน เป็นเวลาพอสมควรจึงได้เคลื่อนย้ายเดินทางเข้ามาในเขตเมืองเชียงใหม่ ในเขตเมืองออน (อำเภอสันกำแพงและอำเภอแม่ออน) แล้วไปตั้งถิ่นรกรากลงหลักปักฐานอยู่บริเวณทิศตะวันออกของถ้ำเมืองออน ซึ่งปัจจุบันก็คือบ้านออนกลางและบ้านป่าตัน ซึ่งบ้านออนกลางได้แบ่งออกเป็น บ้านออนกลาง (กลาง) บ้านออนกลางเหนือ บ้านออนกลางใต้
ชุมชนเกษตรกรรมโคนมและประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง มีวัดออนกลาง เจดีย์ศรีสุทธิจิตต์เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาหลักของหมู่บ้าน
นับย้อนหลังไปเมื่อประมาณสองร้อยปีก่อน ตรงกับวันจันทร์ ที่ 15 เดือนเมษายน พุทธศักราช 2354 ตรงกับวันแรม 8 ค่ า เดือน 7 เหนือ (เดือน 5 ใต้) ปีเม็ดเหนือ (ปีมะแมใต้) ตรีศก มหาศักราช 1733 จุลศักราช 1173 นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ศก 515 รัตนโกสินทร์ศก 30 เป็นวัน “พญาวัน” ของชาวไทเขิน ชาวไทเขิน ได้อพยพติดตาม “เจ้ามหาขนาน” (เจ้าฟ้าเขมรัฐมหาสิงหะบวรสุธรรมราชา) กษัตริย์ของชาวไทเขินแห่งเมืองเชียงตุง ลงมาอยู่ในเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่
มูลเหตุของการอพยพย้ายถิ่นฐานของชาวไทเขินบางส่วน ที่อพยพมาอยู่ในเมืองเชียงใหม่มีอยู่ว่า ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2347 ถึงปีพุทธศักราช 2354 นั้นเป็นยุค “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” พระเจ้ากาวิละ (พญากาวิละหรือนายขนานกาวิละ) เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์แรกในสมัยนั้น (ปกครอง ระหว่างปีพุทธศักราช 2324-2358) หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในครั้งนั้น พระเจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้ให้เจ้ามหาอุปราชธรรมลังกาทั้งหมด จำนวน ประมาณ 23,000 คนเศษกลับมายังเมืองเชียงใหม่ต่อมาได้ผลัดเปลี่ยนกับญาติวงศ์ยกกำลังออกไปตีบ้านเมืองต่าง ๆ คราวละเมืองสองเมืองเรื่อยมา บางแห่งก็มีการต่อสู้บางแห่งก็ยอมแพ้ติดตามมาง่าย ๆ นับตั้งแต่เมืองฝางไปจนถึงเชียงแสน เชียงราย เชียงคำ เชียงของ เมืองปุ เมือง สาด เมืองก๋าย เมืองพยาก เมืองเลน เมืองยอง เมืองเชียงตุง เมืองขอน เมืองยู้ เมืองหลวย เมืองวะ เมืองเชียง ขาง เมืองเชียงแข็ง เมืองตองกาย เข้าถึงดินแดนสิบสองปันนาฝั่งแม่น้ าคง (แม่น้ าสาละวิน) เมืองยวม (แม่สะ เรียง) เมืองขุนยวม เมืองแม่ฮ่องสอน เมืองแหง เมืองคอง เมืองปาย เมืองตะก๋วน เมืองท่าต๋าฝั่ง เมืองผาปูน เมืองยาแดง เมืองยางส่วยกะบาง เมืองงัวลาย เมืองกิติ และเมืองจ๊วด เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อกวาดต้อนผู้คนแต่ละ เมืองกลับมาอยู่ยังเมืองเชียงใหม่ เมืองเชียงตุง ของชาวไทเขิน ได้ถูกพม่าโจมตี เพื่อต้องการให้เมืองเชียงตุงเป็นเมืองขึ้น ในครั้งนั้น “เจ้ามหาขนาน” ซึ่งเป็นกษัตริย์ของชาวไทเขิน ได้ขอความช่วยเหลือจากเมืองเชียงใหม่ “พระเจ้ากาวิละ” เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ จึงได้ให้ “เจ้าพุทธวงศ์” (พระยาพุทธวงศ์ ซึ่งต่อมาให้เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 4) คุมกำลังยกกองทัพไปช่วย”เจ้ามหาอุปราชธรรมลังกา” (พระยาธรรมลังกา ซึ่งต่อมาได้เป็นเจ้าผู้ครองนคร เชียงใหม่ องค์ที่ 2) และเจ้านายอื่นๆ จึงถอยทับกลับมายังเมืองเชียงใหม่ เจ้ามหาขนานกษัตริย์ของชาวไทเขินได้นำชาวไทเขินส่วนหนึ่งที่สมัครใจจากหมู่บ้านต่าง ๆ ของเมืองเชียงตุงอพยพติดตามเจ้ามหาขนานลงมากับกองทัพเมืองเชียงใหม่ลงมาตั้งแต่รกรากถิ่นฐานใหม่ที่เมืองเชียงใหม่ และบริเวณโดยรอบตัวเมืองเชียงใหม่ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ประมาณปี พ.ศ. 2354 พระเจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พร้อมด้วยเสนาอำมาตย์ไพร่พล มากมายได้ขึ้นไปตีข้าศึกที่เมืองเชียงตุงจนข้าศึกษาแตกพ่ายหนีกระจัดกระจาย ในการนั้น กล่าวถึงในขณะดังกล่าวทางเมืองเชียงใหม่ ยังขาดผู้คนที่จะร่วมสร้างบ้านแปลงเมืองและพัฒนาเมือง พระเจ้ากาวิละจึงได้กวาดต้อนผู้คนชาวไทเขินจากบริเวณลุ่มแม่น้ำสาละวิน แล้วอพยพผู้คนเหล่านั้นข้ามป่าเขาลำเนาไพรรอน แรมนับเดือนมาพักที่เมืองหิรัญนครเงินยาง (เชียงแสน) ผู้คนเหล่านั้นได้ตั้งหลักพักอยู่ที่เมืองเชียงแสน เป็นเวลาพอสมควรจึงได้เคลื่อนย้ายเดินทางเข้ามาในเขตเมืองเชียงใหม่ ในเขตเมืองออน (อำเภอสันกำแพงและอำเภอแม่ออน) แล้วไปตั้งถิ่นรกรากลงหลักปักฐานอยู่บริเวณทิศตะวันออกของถ้ำเมืองออน ซึ่ง ปัจจุบันก็คือ บ้านออนกลางและบ้านป่าตัน
พื้นที่ที่อยู่อาศัย 60 ไร่ ที่ทำกิน 196 ไร่ ที่สาธารณะ 3 งาน อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่ออน ระยะทางประมาณ 2.1 กิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัดเชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 35 กิโลเมตร
ลักษณะภูมิประเทศ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม ลักษณะเป็นแอ่งล้อมรอบด้วยภูเขาจึงมีลักษณะอากาศค่อนข้างร้อนชื้น ลักษณะทางกายภาพของชุมชน ที่เป็นพื้นที่ราบ มีภูเขาและทุ่งนาล้อมรอบ
- ทิศเหนือ จรด บ้านออนกลาง หมู่ที่ 8
- ทิศใต้ จรด บ้านวากหมู่ที่ 4 ตำบลออนกลาง
- ทิศตะวันออก จรด หมู่ที่ 6 ตำบลออนกลาง
- ทิศตะวันตก จรด บ้านออนกลางใต้ หมู่ที่ 9
คนในหมู่บ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา และเลี้ยงโคนม เลี้ยงวัว โดยเลี้ยงไว้นอกหมู่บ้านทางไปหมู่ 6 โดยฟาร์มโคนมชื่อจำลองฟาร์ม ของนายจำลอง ไชยวรรณา ฟาร์มโคนมของนายวิริยะ กรุณาผัน และฟาร์มโคนมของนายนิกร อินพุต ซึ่งเลี้ยงไว้ท้ายบ้านซอย 4 และยังมีสถานที่สำคัญ ๆ ได้แก่ วัดออนกลาง เจดีย์ศรีสุทธิจิตต์ เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านหมู่ 6, 7, 8 และ 11 และศาลาประชาคมเป็นสถานที่ที่ใช้ ทำการประชุมหรือประชาคมและทำกิจกรรมของประชากรหมู่ 7 บ้านออนกลาง นอกจากนี้ยังมีร้านค้าในชุมชนที่จำหน่ายของชำจำนวน 4 ร้าน ร้านขายอาหารตามสั่ง 2 ร้าน และยังมีสำนักสักยันต์รัศมีธรรมอยู่ที่ท้ายบ้านซอย 3 โดยอาจารย์อนุสิษฐ์ บัวเรือน ส่วนใหญ่ผู้ที่มาใช้บริการจะเป็นชาวต่างชาติและต่างจังหวัด
ชาวไทเขินบ้านออนกลางบ้าน เป็นกลุ่มชนชาวไทเขินที่เก่าแก่พอสมควร ด้านวัฒนธรรมประเพณี ต่างๆมีความคล้ายคลึงและผสมกันกับชาวไทยโยนกหรือไทยยวน (คนเมือง) เพราะว่าได้รับอิทธิพลทางด้านนี้ จากชาวไทยโยนกมาเป็นเวลานานแต่เป็นที่น่าแปลกว่า วัฒนธรรมที่ยังคงเหลืออยู่ให้เราได้ทราบว่า นี่คือส่วนประกอบที่ส าคัญของความ เป็นชาวไทเขิน นั่นก็คือ วัฒนธรรมด้านภาษาซึ่งเป็นภาษาที่แปลก และรักษากันมายาวนานมาก ทุกคนที่อยู่ใน ชุมชนตั้งแต่เด็ก จนถึงผู้เฒ่าผู้แก่ จะพูดภาษาไทเขิน (ยกเว้นคนที่อื่นมาอยู่ภายหลัง) กล่าวได้ว่าวัฒนธรรมด้าน ภาษาของชาวไทเขิน บ้านออนกลาง-ป่าตัน เป็นภาษาที่ไม่ตายเป็นภาษาที่ยังคงสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ภาษาไทเขินของชาวออนกลาง เป็นภาษาที่บางท่านฟังแล้ว คิดว่าไม่เพราะหูเป็นภาษาหนัก สำเนียงก็หนัก ฟังแล้วเหมือนกับว่า คนหมู่บ้านนี้เป็นคนดุ พูดจาเสียงดังไม่ไพเราะจากการสำรวจของนักศึกษาพยาบาลพบว่ามีครัวเรือนครอบครัวกันตีมูล อาศัยอยู่ในชุมชน หมู่ที่ 7 15 หลังคาเรือน ซึ่งเป็นตระกูลเก่าแก่ สมาชิกในตระกูลที่เป็นเครือญาติรู้จัก กัน มีความสัมพันธ์เชิงเครือญาติ และสามารถบอกข้อมูลผังเครือญาติได้
ตระกูลกันตีมูล เป็นตระกูลที่อพยพมาจากนครเชียงตุงทางตอนเหนือของสยาม รัฐฉาน ประเทศพม่า โดยเจ้ามหาคุนานีเจ้าครองนครองค์ที่ 33 ได้อพยพผู้คนชาวไทเขิน เข้ามาอยู่ในเชียงแสน หิรัญนครเงินยาง และได้อพยพผู้คนชาวไทเขินเข้ามาอยู่ในเขตเชียงใหม่ โดยมีอาชีพต้น กำเนิด คือ ช่างตีเงิน เครื่องเขิน และช่างปั้นดินเผา โดยไพร่ (ชาวบ้านทั่วไป) กลุ่มหนึ่ง ได้ถูกกวาดต้อนมาตั้ง รกราก ณ สถานที่บ้านออกกลาง – ป่าตัน และได้ประทานนามสกุล “กันตีมูล” ให้กับไพร่ (ชาวบ้านทั่วไป) โดยมีที่มา คือ กันตี หมายถึง น้ าต้น และมูล หมายถึง ช่างปั้น ตระกูลกันตีมูลเป็นที่รู้จักของชาวบ้านซึ่งเป็น ตระกูลที่ค่อนข้างใหญ่และเชื่อมโยงหลายๆตระกูลเข้าด้วยกัน ซึ่งแต่ละตระกูลได้อาศัยอยู่ในหมู่บ้านออนกลาง เป็นส่วนใหญ่และมีบทบาทในชุมชนบ้านออนกลาง
ไทขึนโครงสร้างองค์กรชุมชนบ้านออนกลาง
องค์กรที่เป็นทางการ
- สมาชิกองค์การปกครองท้องถิ่น
- กลุ่มคณะกรรมการหมู่บ้าน
- กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.)
- กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์
- กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน
- กองทุนประชารัฐ
องค์กรชุมชนที่ไม่เป็นทางการ
- กลุ่มสตรีแม่บ้าน
- กลุ่มประปาหมู่บ้าน
- กลุ่มผู้สูงอายุ
- กลุ่มแก้ไขปัญหาความยากจน
- กลุ่มคณะกรรมการวัด
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
ประชาชนในบ้านออนกลาง หมู่ 7 ส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปในหมู่บ้าน โดยจะทำงานทุกวันจันทร์ – เสาร์ และหยุดในวันอาทิตย์ และมีบางส่วน ที่ทำอาชีพเกษตรทั้งปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ เช่น โคนม และประกอบธุรกิจส่วนตัว รายได้เฉลี่ย 5,000-10,000 บาทต่อเดือน มีองค์กรทาง ภาครัฐสนับสนุนและเป็นแหล่งกู้ยืมเงิน อีกทั้งในหมู่บ้านมีกลุ่มออมทรัพย์ เพื่อการเกษตร ซึ่งเป็นการออมเงินไว้ และปันผลคืนให้เป็นเงินทุนในการนำไปประกอบกิจการต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องกู้ยืมเงินจากองค์กรภาคเอกชน
ความสัมพันธ์ทางสังคม
จากโครงสร้างทางสังคม จะเห็นได้ว่าในแต่ละกลุ่มองค์กรจะมีประธานกลุ่ม รองประธานกลุ่ม และ คณะกรรมการเป็นบุคคลคนเดียวกันในหลายกลุ่ม หรือบุคคลหนึ่งคนมีหน้าที่รับผิดชอบในหลาย ๆ กลุ่ม บุคคล เหล่านี้มักได้รับการยอมรับนับถือจากสมาชิกในหมู่บ้าน และแสดงให้สมาชิกในหมู่บ้านได้ทราบว่าเป็นผู้นำที่ดี มีภาวะความเป็นผู้นำ สามารถดูแลรับผิดชอบงานที่ตนเองได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างดี และผลงานที่ได้นั้นมี ประสิทธิภาพ ความสัมพันธ์ของสมาชิกในกลุ่มส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์แบบเครือญาติ ประชากรส่วนมากใน ชุมชนเป็นญาติกัน จึงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมาก มีความเกี่ยวข้องกันทำให้สะดวกต่อการประสานงานและ ปฏิบัติหน้าที่
ความสัมพันธ์ทางด้านการเมือง
ประชาชนในบ้านออนกลาง หมู่ 7 ตำบลออนกลาง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ มีนายทองคำ นางเมาะ เป็นผู้ใหญ่บ้าน ทำหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์ จัดการประชุมในเรื่องต่าง ๆ ในหมู่บ้าน ทั้งเรื่องที่เป็น ประโยชน์และเรื่องที่เป็นปัญหา หรือส่งผลด้านลบต่อคนในหมู่บ้านให้ได้ทราบกันอย่างทั่วถึง โดยมีนาย สมศักดิ์ กันตีมูล และนาย สุรินทร์ วงฝั้น เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในการทำหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยภายใน หมู่บ้านในด้านต่าง ๆ รวมถึงทำหน้าที่รักษาการแทนเมื่อผู้ใหญ่บ้านปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการ ซึ่งทางผู้นำหมู่บ้านมีความเข้มแข็ง สามัคคี ไม่แบ่งพรรค และปฏิบัติหน้าที่เต็มกำลังทำให้ต่างเป็นที่ยอมรับของสมาชิกในหมู่บ้าน
ด้านการแต่งกาย : ประชาชนบ้านออนกลางส่วนใหญ่แต่งกายทั่วไปตามยุคสมัย ใส่ชุดพื้นเมืองบ้างตามงานบุญงานประเพณีต่าง ๆ
การรับประทานอาหาร : ประชาชนบ้านออนกลางส่วนใหญ่รับประทานอาหารพื้นเมือง รับประทานข้าวเหนียวเป็นส่วนใหญ่และรับประทานอาหารที่มีรสปกติไม่หวานจัด ไม่เค็มจัด ไม่เผ็ดจัด การปรุงอาหาร ประชาชนจะปรุงเองโดยใช้พืชผักสวนครัวที่ตนเองปลูกในการประกอบอาหาร และจากการซื้อจากร้านค้าในหมู่บ้าน
ด้านเศรษฐกิจ : จากการลงสำรวจชุมชนบ้านแม่ออนกลางเป็นชุมชนแบบกึ่งชนบท อาชีพคนในชุมชนจะประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ปลูกข้าวโพด ปลูกผัก ทำโคนม หรือรับจ้างทั่วไป ค้าขาย บางส่วนในวัยทำงาน จะเข้าไปทำงานต่างอำเภอ ทำให้ไปทำงานเช้า และกลับมาช่วงเย็นถึงค่ำซึ่งจะได้รับค่าจ้างรายวัน วันละ 300-350 บาท/วัน เกษตรกรในการทำนาจะทำในช่วงเดือน กรกฎาคม และเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือน พฤศจิกายน เมื่อเก็บผลผลิตได้จะนำเก็บไว้กิน ข้าวที่ปลูกส่วนมากจะเป็นข้าวเหนียว และมีปลูกข้าวโพดบางส่วน ประชากรบางส่วนจะปลูกตลอดทั้งปี ในบางครัวเรือนมีงบประมาณในการขุดบ่อน้ำก็จะปลูกทั้งปี มีการปลูกพืชผักสวนครัวไว้รับประทาน เช่น ผักกาด พริก มะเขือยาว หากมีผลผลิตเหลือจะนำไปขายให้กับคนในหมู่บ้าน และคนในชุมชนส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและไม่ได้ประกอบอาชีพ จะรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเบี้ยคนพิการ
ด้านประเพณีวัฒนธรรม : ในชุมชนก็จะคล้ายกับชุมชนอื่น ๆ ทั่วไป ไม่ได้มีเอกลักษณ์เฉพาะ
1. สมศักดิ์ กันตีมูล
หมอพื้นบ้าน อายุ 56 ปีหรือที่ชาวบ้านเรียก น้อยสมหรือหมอสมศักดิ์ เป็นชาวอำภอแม่ออนโดยกำเนิด หมอสมศักดิ์ กันตีมูล จบการศึกษาสูงสุดชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านออนกลาง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ หลังจากนั้นก็บวชเรียนเมื่อปี พ.ศ. 2520 เป็นระยะเวลา 7 พรรษา ส่วนประวัติ การศึกษาด้านหมอพื้นบ้าน หมอสมศักดิ์ กันตีมูล ได้ศึกษาจากตำราล้านนาทางด้านพิธีกรรมโบราณและวิธีการรักษาโรค โดยการศึกษาด้วยตนเองและศึกษาเรียนรู้จากครูบาอาจารย์หลายท่าน
อาจารย์คนแรกที่หมอสมศักดิ์เรียนด้วย คือ พระอธิการสว่าง กิตติสาโร เมื่อปี พ.ศ.2520 เรียนที่ วัดออนกลาง ตำบลออนกลาง เรียนเรื่องพิธีกรรมทางศาสนาและตำราล้านนาต่าง ๆ หลังจากนั้นหมอสมศักดิ์ได้เรียนเรื่องการรักษาโรค พิธีกรรมทางศาสนาความเชื่อ และคาถาเพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของบรรพบุรุษกับนายคำแอ่ง กันตีมูล เมื่อปี พ.ศ. 2524 และในปีเดียวกันนั้นหมอสมศักดิ์ได้เรียนเรื่องการรักษาโรคเพิ่มเติม โดยมีตำราล้านนาที่อาจารย์ท่านนี้ ให้ดูควบคู่ในการเรียนรู้ เพื่อใช้ประกอบในการเรียนรู้และการรักษากับ นายอิ่นคำ กันตีมูล เมื่อปี พ.ศ. 2524 และในปี พ.ศ. 2525 ได้เรียนเกี่ยวกับการ รักษาโรคเพิ่มเติม กับนายดวงคำ อโนมา ที่บ้านดอนทราย ตำบลออนเหนือ อำภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ต่อจากนั้นปี พ.ศ. 2538 ได้เรียนกับอาจารย์สมใจ เรือนแก้ว และอาจารย์ชัยยงค์ ธรรมรัตน์ ที่โรงพยาบาลแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ และในปี พ.ศ. 2541 ได้เรียนที่โรงพยาบาลบรรเทาทุกข์ โบราณภาคเหนือ กับอาจารย์สุนทร ชัยชะกัน หมอสมศักดิ์ ศึกษาวิชาหมอพื้นบ้านโดยวิธีการท่องจำตำราคาถาต่าง ๆ จากครูอาจารย์หลาย ๆ ท่านและศึกษาจากตำราล้านนาตั้งแรกจนถึงปัจจุบัน
ด้านการศึกษาภาคทฤษฎีนั้นโดยเรียนจากโรงแพทย์แผนโบราณภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ ตามหลักเวชกรรมแพทย์แผนไทยและเภสัชกรรมไทย ศึกษาจากตำราพื้นบ้านล้านนา นำความรู้ที่ได้ไปใช้กับผู้ป่วยตามหลักเวชกรรมพื้นบ้านล้านนาและเรียนจากโรงพยาบาลแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
ด้านการศึกษาภาคปฏิบัตินั้น ทางด้านเภสัชกรรมไทยได้ศึกษาพืชสมุนไพรในป่าและตัวยาสมุนไพร และนำมาปรับเป็นยาตำรับรักษาผู้ป่วยที่มารักษาที่บ้าน การรักษาตามหลักเวชกรรมไทยศึกษาตามอาการของผู้ป่วยที่รับการรักษาและปรุงยาให้ผู้ป่วยตามหลักเวชกรรมไทยและเวชกรรมพื้นบ้านล้านนา
การรักษาส่วนใหญ่ที่มาให้หมอสมศักดิ์ รักษามากก็คือ โรคเก้า ความเสื่อมของร่างกาย ระบบกล้ามเนื้อ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ลมพิษ โรคผิวหนัง พิธีกรรมทางบรรพบุรุษ
หมอสมศักดิ์ กันตีมูลเริ่มให้การรักษาครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2530 ปัจจุบันหมอสมศักดิ์รักษาคนไข้ มาแล้วประมาณ 500 คน คนไข้ส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และต่างจังหวัด ซึ่งทราบข่าวการรักษาของหมอสมศักดิ์จากการบอกเล่าต่อกันไป
วิธีการรักษาคนไข้ของหมอสมศักดิ์กันตีมูล
- ซักประวัติ ถามอาการที่เป็นตามหลักเวชกรรมไทย
- ดูระบบธาตุทั้ง 4 ของผู้ป่วยตามหลักพื้นบ้านล้านนา
- ใช้สมุนไพรรักษาและใช้คาถา
- แนะนำวิธีการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย เช่น อาหารที่แสลงกับโรค พฤติกรรมการกินอาหารให้ถูกกับโรค และธาตุแบบอาหารพื้นบ้าน
ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการแพทย์พื้นบ้าน
- เขียน-อ่านภาษาพื้นบ้านล้านนา ได้รู้วิธีการรักษาโรคตามหลักพื้นบ้านล้านนา
- รู้จักพืชสมุนไพรและปรุงยาสมุนไพรตามหลักเภสัชกรรมไทย
- รู้จักชื่อโรคตั้งแต่แรกเกิดของโรค
- รู้จักสมมติฐานตามลักษณะอาการของโรค
- รู้จักยารักษาโรคและปรุงยาแก้ไขโรค รู้ว่ายาอย่างใดรักษาโรคใด
การคิดค่ารักษา
หมอสมศักดิ์ไม่ได้กำหนดค่ารักษาสำหรับการรักษาของโรคแต่ละชนิด บูชาครูตามความศรัทธาของผู้ที่มารับบริการ
การถ่ายทอดความรู้ให้บุคคลอื่น
หมอสมศักดิ์ได้ถ่ายทอดความรู้ให้กับลูกหลานเครือญาติและบุคคลอื่นที่สนใจ และเป็นแหล่งศึกษาดูงานด้านภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาแก่ผู้ที่สนใจทั่วไป สมุนไพรที่ใช้ในการรักษาคนไข้จะหาเองจากในป่า ซื้อจากร้านค้า ปลูกเอง และซื้อจากชาวบ้าน
หมอสมศักดิ์ยังเคยดำรงตำแหน่งเป็นคณะกรรมการพัฒนาหมู่บ้านบ้านออนกลางหมู่ที่ 7 ตำบลออนกลาง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ เป็นคณะกรรมการร่าง พ.ร.บ. ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เป็นคณะกรรมการร่างหลักสูตรพื้นบ้านล้านนากับทางมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เป็นคณะกรรมการชมรมหมอพื้นบ้านปัญจศิลา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ และเป็นคณะกรรมการชมรมเครือข่ายหมอพื้นบ้านล้านนาเชียงใหม่
หมอสมศักดิ์มีผลงานทางด้านการเผยแพร่การแพทย์พื้นบ้านไทยทางสื่อมวลชน ในปี พ.ศ. 2538 เผยแพร่ทางทีวีช่อง ITV เกี่ยวกับเรื่องการรักษาผู้ติดเชื้อเอดส์ในปี พ.ศ. 2540 ได้เผยแพร่เรื่องสมุนไพรพื้นบ้าน ทั่วไปทางสื่อวิทยุ FM100 ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ได้เผยแพร่เรื่องผู้ติดเชื้อเอดส์กับวิธีการรักษาทางภูมิปัญญาพื้นบ้านทางหนังสือเกษตรกรรมธรรมชาติ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2548 ได้เผยแพร่เรื่องวิธีการรักษาของหมอพื้นบ้านทางสื่อหนังสือพิมพ์มติชน และเมื่อปี พ.ศ. 2550 ได้เผยแพร่เรื่องผู้ติดเชื้อเอดส์และเนื้อร้าย วิธีการรักษาและวิธีการปฏิบัติตน ทางสื่อทีวีช่อง 11
หมอสมศักดิ์เป็นที่รู้จักของคนในชุมชน ในฐานะเป็นหมอพื้นบ้านที่มีความรู้ความสามารถในการรักษาคนไข้แบบวิธีการรักษาตามแบบพื้นบ้านโบราณในปี พ.ศ. 2550 สภาวัฒนธรรม จังหวัดเชียงใหม่ ได้ยกย่องเชิดชูหมอสมศักดิ์ในฐานะผู้ที่มีผลงานดีเด่นด้านศิลปวัฒนธรรมระดับอำเภอ สาขาการรักษาโรคและป้องกัน ในปี พ.ศ. 2541 ได้รับการเชิดชูในฐานะได้รับใบประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ สาขาเภสัชกรรมและในปี พ.ศ. 2547 ทางวิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือกมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เชิดชูเกียรติหมอ สมศักดิ์ในฐานะเป็นครูหมอเมือง
กิจวัตร ข้อห้าม ข้อปฏิบัติตนของหมอพื้นบ้านทุกคนจะมีกิจวัตรข้อห้ามที่แตกต่างกันไปหมอสมศักดิ์เองจะมีข้อห้าม ข้อปฏิบัติ คือ ถือศีล 5 ข้อ ทุกปีจะมีพิธีไหว้ครู อาหารที่หมอพื้นบ้านไม่รับประทาน เช่น อาหารในงานศพ ไม่กินจำพวกพืชในน้ำ เช่น ผักบุ้ง บอน เป็นต้น ไม่กินฟัก รกของสัตว์ เนื้อของสัตว์ใหญ่ เก็บผักพื้นบ้านเป็นหลัก ปฏิบัติตนตามกรอบหรือสิ่งที่เคยปฏิญาณตนต่อครูบาอาจารย์ที่ได้เรียนรู้มา เช่น ไม่เดินใต้ถุน บ้านคนอื่น ฯลฯ และสวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิทุกวัน
ภาษาหลักในการสื่อสารคือภาษาเหนือ (คำเมือง) ภาษากลาง มีบางกลุ่มที่สื่อสารโดยใช้ภาษาไทเขิน (คล้ายๆคำเมืองแต่มีสำเนียงและคำที่ต่างออกไป)
ภาษาไทเขินบ้านออนกลาง คือ ภาษาของชาวไทเขินที่อาศัยอยู่ในเมืองเชียงตุงและนอกจากนี้ชาวไทเขินที่อพยพไปตั้งหลักปักฐานที่อื่นก็ยังคงใช้กันอยู่ แต่คำบางคำอาจจะเพี้ยนเปลี่ยนไปบ้างก็ได้ ภาษาพูดและภาษาเขียนของไทเขินมีความคล้ายคลึงกับภาษาไทลื้อและภาษาไทยอง ภาษาไทเขินเป็นภาษากลุ่มไทพายัพในกลุ่มภาษาคำไท ตระกูลไท-กะได อักษรของไทเขินกับอักษรล้านนามีความเหมือนกันทั้งการออกเสียงและการเขียนก็ใช้หลักที่ไม่แตกต่างกันเท่าใดนัก
ชาวไทเขินบ้านออนกลาง จะมีสำเนียงการพูดไม่ค่อยเหมือนภาษาไทเขินถิ่นอื่น อาจจะเปลี่ยนแปลงผิดเพี้ยนไปบ้าง แต่โดยส่วนใหญ่จะไม่ค่อยแตกต่างกันมากเท่าใด แม้แต่ชาวไทเขินที่เชียงตุงปัจจุบันนี้ก็ตาม
สมุนไพร โดยจากการสำรวจประชากรบ้านออนกลาง หมู่ 7 ประชาชนมีการใช้บริการระบบ การแพทย์พื้นบ้านโดยหมอพื้นบ้านเป็นส่วนน้อย เนื่องจากปัจจุบันที่เทคโนโลยีด้านการแพทย์มีการพัฒนา แต่ยังคงเหลือผู้ที่ใช้บริการแพทย์พื้นบ้านโดยใช้บริการในรายที่มีอาการเจ็บป่วยในช่องท้อง เช่น ปวดท้อง หรือปวดเมื่อยตามส่วนอื่นของร่างกาย ชาวบ้านมักจะดื่มน้ำสมุนไพรจากหมอชาวบ้านเพื่อใช้รักษาอาการปวดดังกล่าว
แพทย์แผนไทยเป็นการทำหน้าที่ในการตรวจวินิจฉัยโรคโดยใช้หลักการของการแพทย์แผนไทย จากนั้นให้การรักษาตามกรรมวิธีของการแพทย์แผนไทย ซึ่งส่วนใหญ่ มักให้การรักษาด้วยยาแผนไทย หรือยาสมุนไพร เป็นตัวเลือกที่ชาวบ้านเลือกใช้ค่อนข้างน้อย โดยการรักษาของแพทย์แผนไทยจะประกอบด้วยวิธีการการใช้ยาสมุนไพร อาจเป็นการปรุงยาสำรับผู้ป่วยแต่ละราย เช่น ยาต้มหรือจ่ายยาสำเร็จรูปที่ผลิตไว้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ยาลูกกลอน ยาเม็ด ยาแคปซูล เป็นต้น การใช้หัตถการ/วิถีทางการแพทย์แผนไทย เช่น การนวด การประคบสมุนไพร การอบไอน้ำสมุนไพร การทับหม้อเกลือ การนั่งถ่าน การพอกผิว เป็นต้น มีการให้คำแนะนำในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยและการส่งสริมสุขภาพ เช่น การปฏิบัติตัว การบริหาร ร่างกาย การรับประทานอาหาร การปรับพฤติกรรม เป็นต้น โดยกลุ่มอาการที่สามารถรักษาด้วยการแพทย์ แผนไทยประยุกต์ ได้แก่ กลุ่มชาวบ้านที่ปวดบริเวณต่าง ๆ เช่น ปวดศีรษะ คอแข็งตึง ปวดต้นคอ,คอตกหมอน ปวดสะบัก/บ่า,ปวดไหล่,หัวไหล่ติด ปวดแขน,ข้อศอก,ข้อมือ,ข้อนิ้วมือ,ปวดหลัง,ปวดสะโพก,ปวดขา,ปวดเข่า ,เข่าบวม,เหน็บชา,ตะคริวน่อง,ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจาการเล่นกีฬา,กล้ามเนื้ออ่อนแรง,กล้ามเนื้อเกร็ง,ปวดข้อ เท้า/ส้นเท้า,ข้อเท้าแพลง ท้องผูก,นอนไม่หลับ,ไข้หวัด,คัดจมูก และหอบหืด
หมายเหตุ : นาย สมศักดิ์ กันตีมูล ผู้มีความเชี่ยวชาญเรื่องพืช สมุนไพร โดยจะนำสมุนไพรหลากหลายชนิดมาต้มและสกัดเป็นน้ำใช้สำรับดื่มรักษาโรค ชาวบ้านมักไปรับการรักษาเมื่อมีอาการปวด เช่น ปวดท้อง ปวด ศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยนายสมศักดิ์ จะนำสมุนไพรจากในป่ มาทำความสะอาดและนำมาต้มให้ชาวบ้านใช้ดื่มแก้พิษจากโรคต่าง ๆ
นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีเชียงใหม่. (ม.ป.ป.). ข้อมูลการสำรวจชุมชน. เชียงใหม่: สาขาวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่.