ชุมชนชนบทวิถีเกษตรกรรมโคนม ตั้งอยู่ริมทางหลวงทางผ่านแหล่งท่องเที่ยวสำคัญมากมายเช่น น้ำพุร้อนสันกำแพง แม่กำปอง ถ้ำเมืองออน
จากการศึกษาประวัติของหมู่บ้านสหกรณ์ 2 หมู่ 2 ตำบลบ้านสหกรณ์ อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ เดิมทีหมู่บ้านสหกรณ์ 2 หมู่ 2 ตำบลบ้านสหกรณ์ อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ เป็นส่วนหนึ่งของ ตำบล ออนเหนือ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ บริเวณพื้นที่เป็นป่าแพะ หรือที่รู้จักในชื่อ ป่าเต็งรัง ลักษณะป่า โปร่ง พื้นที่แห้งแล้ง ดินร่วนปนทราย กรวด หรือลูกรัง และมีเทือกเขาหินปูนโดด ๆ ซึ่งมีถ้ำขนาดใหญ่ตั้งอยู่ เรียกว่า ถ้ำเมืองออน โดยชื่อเดิมชื่อ “ถ้ำดอยศิลา”
ในปี พ.ศ. 2518 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 9 มีพระราชดำริจัดตั้งโครงการหมู่บ้านสหกรณ์ฯ ขึ้น 6 หมู่บ้าน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ยากจนซึ่งไม่มีที่ทำกินเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง ให้มีที่ดินทำกินในรูปของหมู่บ้านสหกรณ์โดยสมาชิกของสหกรณ์สามารถใช้ที่ดินทำกินตลอดไปเป็นมรดกตกทอดจนชั่วลูกหลาน
ชุมชนชนบทวิถีเกษตรกรรมโคนม ตั้งอยู่ริมทางหลวงทางผ่านแหล่งท่องเที่ยวสำคัญมากมายเช่น น้ำพุร้อนสันกำแพง แม่กำปอง ถ้ำเมืองออน
จากการศึกษาประวัติของหมู่บ้านสหกรณ์ 2 หมู่ 2 ตำบลบ้านสหกรณ์ อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ เดิมทีหมู่บ้านสหกรณ์ 2 หมู่ 2 ตำบลบ้านสหกรณ์ อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ เป็นส่วนหนึ่งของตำบลออนเหนือ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ บริเวณพื้นที่เป็นป่าแพะ หรือที่รู้จักในชื่อ ป่าเต็งรัง ลักษณะป่าโปร่ง พื้นที่แห้งแล้ง ดินร่วนปนทราย กรวด หรือลูกรัง และมีเทือกเขาหินปูนโดด ๆ ซึ่งมีถ้ำขนาดใหญ่ตั้งอยู่ เรียกว่า ถ้ำเมืองออน โดยมีชื่อเดิม “ถ้ำดอยศิลา”
ในปี พ.ศ. 2518 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 9 มีพระราชดำริจัดตั้งโครงการหมู่บ้าน สหกรณ์ฯ ขึ้น 6 หมู่บ้าน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ยากจน ซึ่งไม่มีที่ทำกินเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง ให้มีที่ดินทำกินในรูปของหมู่บ้านสหกรณ์โดยสมาชิกของสหกรณ์สามารถใช้ที่ดินทำกินตลอดไปเป็นมรดกตกทอดจนชั่วลูกหลาน โดยประชาชนที่เข้ามาอาศัยอยู่ต่างมาจากหลายพื้นที่จึงทำให้หมู่บ้านสหกรณ์ 2 หมู่ 2 ตำบลบ้านสหกรณ์ อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ มีประชากรที่หลากหลายและได้มีการขุดอ่างเก็บน้ำ บ้านสหกรณ์ 2 ซึ่งอ่างน้ำที่สำคัญของการเกษตรของหมู่บ้าน ถนนของหมู่บ้านเป็นลูกรัง ไม่มีไฟฟ้าใช้ซึ่งต้องใช้ตะเกียงเพื่อให้แสงสว่าง
ในปี พ.ศ. 2520 ได้ก่อตั้งโรงเรียนหมู่บ้านสหกรณ์ 2 ทำการสอน เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2520 ตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมีนักเรียนจากหมู่บ้านนอกเขตบริการเข้ามาเรียน คือ จาก หมู่บ้านสหกรณ์หมู่ที่ 1,3,4,7,8 จึงทำให้โรงเรียนมีเขตบริการที่กว้างและครอบคลุมประชาชนหลายพื้นที่ใน อำเภอแม่ออน
ในปี พ.ศ. 2525 จัดตั้งอนามัยบ้านสหกรณ์
ในปี พ.ศ. 2527 เริ่มมีไฟฟ้าใช้ภายในหมู่บ้านและมีการสร้างวัดสหกรณ์ 2 หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดนอกเนื่องจากมีผู้มอบที่ดินให้แก่วัดหลังจากนั้นบุตรของผู้บริจาคได้มาทวงที่ดินคืนและตั้งราคาขายที่ดินให้แก่ วัด 80,000 บาท ทางวัดจึงนำเงินซื้อที่ดินคืนในราคา 80,000 บาท ในขณะนั้นราคาที่ดินได้แพงขึ้นทางบุตรของผู้บริจาคจึงได้เพิ่มราคาขึ้นทางวัดจึงเปิดรับบริจาคจากชาวบ้านเพื่อนำเงินซื้อที่ดินคืน เมื่อได้เงินครบตามจำนวนจึงนำไปซื้อที่ดินคืน ในขณะนั้นราคาที่ดินได้แพงขึ้นอีกครั้งทางบุตรของผู้บริจาคจึงได้เพิ่มราคาขึ้น ทางวัดจำนวนเงินไม่เพียงพอจึงไม่สามารถซื้อได้ แต่ที่ดินนั้นได้สร้างวัดขึ้นแล้วจึงไม่มีผู้อื่นมาซื้อทางบุตรของผู้บริจาคจึงได้ตกลงขายที่ดินคืนให้วัดในราคาเดิม และวัดก็ยังคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้
ในปี พ.ศ. 2528 ได้พัฒนาถนนจากถนนลูกรังเป็นลาดยางและใช้มาจนถึงทุกวันนี้ ในปี พ.ศ. 2542 ก่อตั้งอาคารองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสหกรณ์ ในปี พ.ศ. 2548 มีปั๊มนำมันภายในหมู่บ้านให้ใช้จนถึงปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2553 พัฒนาและสร้างอาคารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสหกรณ์หลังใหม่
ลักษณะภูมิประเทศ บ้านสหกรณ์ 2 พื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบและมีพื้นที่ภูเขาบางส่วนมีอ่างเก็บน้ำใช้ ประจำหมู่บ้านซึ่งเป็นอ่างน้ำที่สำคัญของการเกษตรของหมู่บ้านการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนจะตั้งเป็นกลุ่มใหญ่ใน หมู่บ้านและตามเส้นทางคมนาคมภายนอกหมู่บ้านซึ่งจัดสภาพการเป็นอยู่แบบชนบทและร่มรื่นไปด้วยตนไม้สีเขียวพืชพรรณธรรมชาติที่น่าอยู่อาศัยและมีแหล่งท่องเที่ยวที่เกิดจากธรรมชาติที่สวยงามโดยทั่วไปจะมี 3 ฤดู คือฤดูร้อน ฤดูฝนและฤดูหนาว แต่ในฤดูร้อนจะนานกว่าฤดูอื่น ๆ เพราะว่าไม่มีน้ำไหลผ่านและในช่วงเวลากลางคืนอากาศจะเย็นลง ดินเป็นลักษณะของดินปนแร่หินกรวดเนื่องจากพื้นที่บางส่วนเป็นเขาในฤดูฝนจะมีฝนตกในปริมาณที่พอดีกับการเกษตรกรรม
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านสหกรณ์ 3 หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านสหกรณ์ 3 อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
- ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านสหกรณ์ 1 หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านสหกรณ์ 1 อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านออนหลวย หมู่ที่ 6 ตำบลออนเหนือ อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านโป่งนก หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านสหกรณ์ อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
บ้านสหกรณ์ 2 มีครัวเรือนทั้งหมด 408 ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมดรวม 787 คนโดยแยก เป็นชาย 376 คนหญิง 411 คน (ข้อมูลจาก: สำนักบริหารการทะเบียนกรมการปกครอง ณ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2563) แบ่งแยกเป็นผู้สูงอายุชายและหญิงรวม 153 คน (ข้อมูลจากองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสหกรณ์ ณ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2563)
โครงสร้างองค์กรบ้านสหกรณ์ 2
องค์กรที่เป็นทางการ
- กลุ่มคณะกรรมการหมู่บ้าน
- กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.)
- กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน
- กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์
องค์กรที่ไม่เป็นทางการ
- กลุ่มคณะกรรมการแม่บ้าน เป็นกลุ่มที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของแม่บ้านหมู่บ้านสหกรณ์ 2 ตำบลบ้านสหกรณ์ อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ การทำงานของกลุ่มแม่บ้านเป็นที่ยอมรับมาตลอด ทั้งงานราชการ ประเพณี งานต่าง ๆ ภายในหมู่บ้าน ประธานกลุ่มแม่บ้าน คือ นางนงลักษณ์ บุญหล้า
- กลุ่มคณะกรรมการผู้สูงอายุ เกิดจากการรวมกลุ่มกันของผู้สูงอายุในชุมชน มารวมตัวกันทำกิจกรรมร่วมกัน
- กลุ่มสตรีและเยาวชนตำบลบ้านสหกรณ์ (กลุ่มหัตถกรรม) เกิดจากความสนใจของ นางเทพวรรณ รุ้งแก้ว มีความชื่นชอบในงานหัตถกรรมเย็บปักถักร้อยและได้ ตั้งกลุ่ม โดยมีสมาชิกเป็นประชากรในตำบลบ้านสหกรณ์มาที่สนใจ โดยเริ่มตั้งกลุ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2541 ได้รับรางวัล OTOP ระดับ5ดาว และมีร้านแสดงสินค้าในน้ำพุร้อนสันกำแพง มีการอบรม
- กลุ่มโคขุน เป็นกลุ่มที่มีการปล่อยเงินกู้แก่สมาชิกเพื่อนำไปซื้อวัวมาเลี้ยง ซึ่งช่วยส่งเสริมกิจกรรมและ ประกอบอาชีพเลี้ยงวัว มีการดำเนินซื้อขายและมีรายได้ตลอดทั้งปี และมีการคืนเงินทุกเดือนเพื่อให้เป็นออม และเงินหมุนเวียนภายในกลุ่ม โดยได้รับสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสหกรณ์
ประชาชนบ้านสหกรณ์ 2 หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านสหกรณ์ อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป โดยทำงานที่สนามกอล์ฟ ไปทำงานในเวลาเช้าและกลับมาบ้านในตอนเย็น และมี บางส่วนที่ทำอาชีพเกษตร ธุรกิจส่วนตัว เช่น บ้านพัก ค้าขาย เป็นต้น รวมทั้งภายในหมู่บ้านมีกองทุนหมู่บ้าน และกลุ่มโคขุนเพื่อเป็นเงินทุนให้ประชาชนในชุมชนได้กู้ยืม
1. ด้านเศรษฐกิจ
จากการสอบถาม พบว่า อาชีพส่วนใหญ่ของชาวบ้านบ้านสหกรณ์ 2 หมู่ที่ 2 คือ การประกอบอาชีพ รับจ้าง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการทำงานในฟาร์มโคนม พนักงานบริการในสนามกอล์ฟ (แคดดี้) และพนักงานในแหล่ง ท่องเที่ยวน้ำพุร้อนสันกำแพง และอีกส่วนหนึ่งประกอบอาชีพรับราชการ และรัฐวิสาหกิจ มีส่วนน้อยที่ ประกอบอาชีพทำปลูกข้าวและการเกษตรกรรม
- เดือนมกราคม - ธันวาคม ในตลอดช่วงเดือนนี้พบว่า ส่วนใหญ่ชาวบ้านมักจะทำงานรับจ้างในฟาร์มโค นม โดยรีดนมวัวส่งขายให้กับสำนักงานสหกรณ์โคนมที่ใกล้ ๆ กับปั๊มน้ำมันข้าง ๆ ตลาดสดบ้านสหกรณ์ อีกทั้งเป็น ช่วงการทำงานของพนักงานรับราชการต่าง ๆ เช่น พยาบาล คุณครู เป็นต้น ซึ่งจะมีรายได้ประมาณ 15,000 ขึ้น ไป การทำงานเป็นพนักงานบริการในสนามกอล์ฟต่าง ๆ (แคดดี้) รายได้ประมาณ 250-300 บาท/วัน การทำงาน เป็นพนักงานในน้ำพุร้อน และอาชีพค้าขายทั่วไป เช่น ร้านอาหาร ขายอาหารในตลาดสดบ้านสหกรณ์ เป็นต้น
- เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม ในช่วงนี้เป็นฤดูทำนาปี ซึ่งในบ้านสหกรณ์ 2 หมู่ที่ 2 มีเพียงรายเดียวที่ ปลูกข้าว (ข้าวนาปี)
อาชีพเสริมของคนในหมู่ 2 คือ รับจ้างโดยทั่วไป เช่น รับจ้างตัดหญ้า เป็นต้น โดยจะได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน ประมาณวันละ 300-350 บาท
2. ด้านวัฒนธรรมประเพณีประเพณีและวันสำคัญทางศาสนา
- วันขึ้นปีใหม่ ประชาชนในหมู่บ้านจะร่วมทำกิจกรรมทำบุญตักบาตรที่วัด โดยนำดอกไม้/ธูปเทียน อาหารคาว/ขนมหวาน ไปถวายพระ ฟังเทศนาธรรม ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ บำเพ็ญกุศล รักษาศีล และแผ่เมตตา เพื่อให้เกิดเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัวในการต้อนรับการเริ่มต้นปีศักราชใหม่
- วันสงกรานต์ หรือที่เรียกว่า ประเพณีปี๋ใหม่เมือง ซึ่งจะตรงกับวันที่ 13 เมษายนของทุกปี ถือกัน ว่าเป็น “วันสังขาลล่อง” ซึ่งในช่วงกลางคืนของวันที่ 12 เมษายนและเวลาใกล้รุ่งเช้าของวันที่ 13 เมษายน จะ มีการจุดบั้งไฟ/พลุ/ประทัด เพื่อส่งสังขาลใน ต่อมาในเช้าของวันที่ 14 เมษายน จะถือว่าเป็น “วันเนา” ซึ่งเป็น วันที่ทุกคนห้ามพูดจาหยาบคาย หรือห้ามทะเลาะวิวาทกัน ต้องทำแต่สิ่งที่เป็นมงคล อีกทั้งยังเป็นวันครอบครัว วันรวมญาติ จะมีการจัดเตรียมอาหาร ขนมคาว/หวาน ดอกไม้/ธูปเทียน จัดเตรียมตุงไว้ไปปักที่กองทราย และ ในช่วงเย็นจะมีกิจกรรมขนทรายเข้าวัด ซึ่งในเมื่อก่อนมีความเชื่อว่า “ในหนึ่งปีที่คนเราเดินไปทำบุญที่วัด เรา จะนำทรายติดรองเท้าออกมาจากวัดด้วย” และจะมีการแห่ไม้ค้ำโดยจัดเตรียมหาต้นไม้ที่มีกิ่งไม้ง่ามขนาด พอเหมาะนำไปค้ำต้นโพธิ์ที่อยู่ที่วัด โดยจะนำมาแกะเอาเปลือกออกแล้วใช้ขมิ้นทาให้มีสีเหลือง นำสวยดอกไม้ มัดผูกติดไว้ที่กิ่งไม้ตอนบน ซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อทางศาสนาว่าเพื่อจะให้อายุยืนยาวเหมือนต้นโพธิ์และในวันที่ 15 เมษายนนี้ “เป็นวันพญาวัน” เป็นวันที่ดีที่สุดในหนึ่งปี และมีกิจกรรมรดน้ำดำหัว ซึ่งคนที่มีอายุน้อยที่จะนำ สิ่งของต่าง ๆ เช่น เครื่องนุ่งห่ม ของใช้ต่าง ๆ ผงซักผ้า ยาสระผม ข้าวแคบ ข้าวแตน ผลไม้ และดอกไม้ มาขอขมาต่อผู้เฒ่าผู้แก่
- ประเพณีเดินขึ้นดอยถ้ำเมืองออน (นมัสการพระธาตุและพระเจ้าทันใจ) สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืองของคนบ้านสหกรณ์ 2 ซึ่งมีกำหนดจัดในวันวิสาขบูชาของทุกปี เพื่อให้พุทธศาสนิกชนขึ้นไป นมัสการพระธาตุและพระเจ้าทันใจ ซึ่งจะมีการนำดอกไม้/ธูปเทียนต่าง ๆ ไปไหว้เคารพบูชา
- ประเพณีงานปอยหลวง เป็นงานทำบุญฉลองของทางศาสนาจัดขึ้นเมื่อมีการสร้างโบสถ์ สร้าง ศาลา สร้างวิหาร เสร็จแล้วเรียบร้อยแล้ว โดยประชาชนในหมู่บ้านและทุกหัววัดในเขตอำเภอ จะจัดแห่ครัว ทาน คือ ต้นเงินประดับด้วยดอกไม้ ขนม สมุด ดินสอ ผ้า เป็นต้น ไปที่วัด
- ประเพณีลอยกระทง (ยี่เป็ง) เป็นวันเพ็ญเดือน 12 ของทุกปี เป็นวันลอยกระทง โดยจัดขึ้นเพื่อ เป็นการขอขมาต่อพระแม่น้ำคงคา เป็นการชำระล้างเคราะห์ตามความเชื่อมาแต่โบราณ ซึ่งแต่ละบ้านจะ ตกแต่งประตูบ้านให้สวยงาม มีการประดับดอกไม้ ต้นไม้ จุดเทียนให้สว่างสวยงาม และจะมีการประดิษฐ์ กระทงแข่งขันกันแต่ละหมวด จะมีการแห่ขบวนกระทงและจัดแข่งขันกันในช่วงกลางคืนที่วัดสหกรณ์2 จากนั้น ชาวบ้านจะพาครอบครัวไปลอยกระทงที่อ่างเก็บน้ำบริเวณหลังโรงเรียนหมู่บ้านสหกรณ์ 2
- พิธีสะเดาะเคราะห์หรือพิธีสืบชะตาบ้าน จะมีการประกอบพิธีสืบชะตาหลวงที่วัดสหกรณ์ 2 โดยชาวบ้านจะมีการร่วมกันจัดเตรียมสิ่งของ ประกอบด้วย ดอกไม้ ธูปเทียน อาหารคาว/หวาน นำไปถวายพระ/ ประกอบพิธี เพื่อเสริมสิริมงคลแก่คนภายในหมู่บ้าน เป็นการเรียกขวัญและกำลังใจแก่คนในหมู่บ้าน
1. นายชุม สุภามูล หรือพ่อหนานชุม เป็นคนอารมณ์ดี มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการรักษา การขจัดสิ่งชั่วร้าย การเรียกขวัญ ใช้คาถาเพื่อความเป็นศิริมงคล เช่น การเป่าเพื่อรักษาอาการกระดูกหัก งูสวัด มะเร็ง และการเรียกขวัญในเด็ก ซึ่งพ่อหนานชุมมี หน้าที่เป็นพ่อหมอปัดเป่าบรรเทาความเจ็บปวด และอาการป่วยต่าง ๆ เป็นอีกหนึ่งที่พึ่งทางจิตใจให้กับชุมชน ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือและศรัทธาในเรื่องการรักษาปัดเป่า
นายชุม สุภามูล หรือพ่อหนานชุม เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2470 ปัจจุบันอายุ 93 ปี เดิมทีพ่อหนานเป็นคนบ้าน ออนหลวย ตำบลออนเหนือ อำเภอแม่ออน มีพี่น้อง 5 คน ทั้งพ่อและแม่ของพ่อหมอเป็นคนบ้านออนหลวย ซึ่ง พอเรียนจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จึงตัดสินใจไปเป็นลูกศิษย์วัด หลังจากไปอยู่วัดพ่อหนานได้เห็นการบวช เรียนที่ใช้ตัวหนังสือล้านนา แล้วรู้สึกชอบรู้สึกว่าตัวหนังสือมีความศักดิ์สิทธิ์ ความขลัง และตัดสินใจบวชเรียน จากนั้นจึงลาสิกขาบทออกมา มื่อพ่อหนานชุมอายุ 30 ปีเริ่มศึกษาวิชาต่าง ๆ จากบิดา และปู่ของพ่อหนาน สาเหตุที่เลือกเรียนเพราะเป็นวิชาสืบทอดกันมาของตระกูลและอยากช่วยเหลือผู้คนเป็นการทำบุญไปด้วย ซึ่งพ่อหนานเรียนวิชาปัดเป่ามาจากพ่อและปู่ของพ่อหนานซึ่งเคยเป็นหมอชาวบ้าน รักษาคนในชุมชน บ้านออนหลวย พ่อหนานเริ่มเรียนวิชานวดที่หมู่บ้านแม่กำปอง เป็นเวลา 3 เดือน และกลับมารับจ้างทำงาน นวด ที่บ่อน้ำพุร้อนแม่ออน ประมาณ 15 ปี ควบคู่กับให้การรักษาด้วยการปัดเป่าบรรเทาความเจ็บปวดบ้าง เป็นบางครั้งเมื่อมีชาวบ้านขอให้ช่วย จนกระทั่งปัจจุบันไม่ได้ทำหน้าที่เป็นหมอชาวบ้าน ไม่ได้ปัดเป่าให้ชาวบ้าน แต่ยังคงให้ความรู้ทางพระพุทธศาสนา และคาถาต่าง ๆ แก่คนที่เข้าไปปรึกษาพ่อหนานอยู่ตลอด
ภาษาไทยและภาษาเมือง (ภาษาเหนือ)
ร้านอาหาร บ้านสหกรณ์ 2 หมู่ 2 ตำบลบ้านสหกรณ์
- ร้านวิวดอย อาหารประกอบด้วย อาหารตามสั่ง อาหารจานเดียว ส้มตำ อาหารทานเล่น เช่น เฟรนช์ฟรายช์เมนูของหวาน เช่น ไอศกรีม ขนมปัง และน้ำหวาน
- ร้านก๋วยเตี๋ยว ข้าวมันไก่ อาหารประกอบด้วย เมนูก๋วยเตี๋ยวต่าง ๆ ประกอบด้วย หมู เนื้อ มีน้ำข้น น้ำใสและต้มยำ ข้าวซอย ข้าวมันไก่ และน้ำหวานชงสำเร็จรูป เช่น โอเลี้ยง ชาเขียว นมสด เป็นต้น
- ร้านก๋วยเตี๋ยวไก่ตุ๋น อาหารประกอบด้วย ก๋วยเตี๋ยวไก่ตุ๋น เครื่องดื่ม
- ร้านข้าวขาหมู อาหารประกอบด้วย ก๋วยจั๊บ ข้าวขาหมู ข้าวหมูแดง
- ร้านขนมจีนหลังเซเว่น อาหารประกอบด้วย ขนมจีนน้ำยา ข้าวมันไก่ และน้ำหวานชงสำเร็จรูป เช่น โอเลี้ยง ชาเขียว นมสด เป็นต้น
- ร้านขนมจีน
- ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือ อาหารประกอบด้วย เมนูก๋วยเตี๋ยวต่างๆ ประกอบด้วย หมู เนื้อ มีน้ำข้น น้ำใส และต้มยำ เป็นต้น
- ร้านก๋วยเตี๋ยว ข้าวต้มปลา อาหารประกอบด้วย เมนูก๋วยเตี๋ยวต่าง ๆ ประกอบด้วย หมู เนื้อ มีน้ำข้น น้ำใสต้มยำ และเย็นตาโฟร์
- ร้านอาหารตามสั่ง ก๋วยเตี๋ยว อาหารประกอบด้วย เมนูก๋วยเตี๋ยวต่าง ๆ ประกอบด้วย หมู เนื้อ มีน้ำข้น น้ำใส ต้มยำ และอาหารตามสั่ง ร้านขายน้ำและกาแฟ หมู่ 2 ตำบลบ้านสหกรณ์
- ร้านคอนม ขายอาหารประเภทเครื่องดื่ม น้ำหวาน มีทั้งร้อน เย็น และปั่น เมนูประกอบด้วยน้ำหวานต่าง ๆ เช่น ชาเขียว กาแฟ นมสด เป็นต้น มีขนมทานเล่น เช่น ทองม้วน ขนมปัง เป็นต้น
- ร้านมุมบ้านสวน ขายอาหารประเภทเครื่องดื่ม น้ำหวาน มีทั้งร้อน เย็น และปั่น เมนูประกอบด้วยน้ำหวานต่าง ๆ เช่น ชาเขียว กาแฟ นมสด เป็นต้น
ร้านชำ ภายในชุมชนมีร้านชำด้วยกัน 4 ร้าน ภายร้านขายของประเภทอาหารแห้งต่าง ๆ
ระบบการแพทย์พื้นบ้าน (Folk sector)
ประชากรในหมู่บ้านสหกรณ์ 2 หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านสหกรณ์ อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ จากการ สำรวจและสัมภาษณ์ พบว่ามีพฤติกรรมการดูแล รักษา และป้องกันสุขภาพเมื่อเจ็บป่วย และในหมู่บ้านมี ประชากรบางส่วนมีความเชื่อ ผีพ่อดำ ผีแม่ดำ โดยมีนางสุกันธา นางเมาะ เป็นผู้ประกอบพิธี โดยจะประกอบ พิธีจากการสอบถามตามความเชื่อ โดยจะมีค่าดูตามจิตศรัทธาตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป แต่ในปัจจุบันนางสุกันธา สุขภาพร่างกายไม่ค่อยแข็งแรงจึงไม่ค่อยได้ประกอบพิธีแล้ว และมีความเชื่อเมื่อมีการเจ็บป่วยจะเกี่ยวข้องกับผี ป่าผีดง ความเชื่อให้หายจากอาการป่วยคือการดื่มน้ำจากในถ้ำเมืองออน การบวงทรวงถ้ำฤๅษี การขอน้ำมนต์ มาดื่มหรืออาบกับพระที่นับถือ และการใช้สมุนไพรต่างๆ โดยจะมีร้านสมุนไพรเพื่อสุขภาพ เจ้าของร้านคือ นายอินทร์ ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังตลาด ขายสมุนไพรต่าง ๆ เช่น สมุนไพรแฮ้ม โดยมีสรรพคุณคือรักษาโรคเบาหวาน ความดันโลหิต ขับเหงื่อ โรคหัวใจ ลดความอ้วน ละลายไขมันที่อุดตันในเส้นเลือด รักษาโรคกระเพาะเป็นแผล ทำให้จับถ่ายดี รักษาโรคข้อ โรคกระดูก
นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีเชียงใหม่. (ม.ป.ป.). ข้อมูลการสำรวจชุมชน. เชียงใหม่: สาขาวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่.