
ชุมชนกึ่งเมืองตั้งอยู่ระหว่างรอยต่อ สามารถเดินทางไปมาสะดวก พื้นที่ติดริมแม่น้ำและถนนสายหลัก มีวัดพระนอนขอนตาลและศูนย์รักษามะเร็งใกล้บริเวณชุมชน
บ้านขอนตาล เดิมชื่อบ้านร้องบักเกียง ซึ่ง “บักเกียง” เป็นชื่อเรียกผลไม้ทางเหนือ หรือที่ภาษากลาง รู้จักกันในชื่อ “ต้นหว้า” ในสมัยก่อนในชุมชนมีต้นไม้ชนิดนี้จำนวนมาก จึงเป็นที่มาของ ชื่อ “บ้านร้องบักเกียง” หลังจากนั้นปี พ.ศ. 2510 ได้มีการย้ายวัดจากที่ดั้งเดิม (ปัจจุบันเป็นที่ตั้ง รพ.สต. บ้านขอนตาล) ในสมัยพ่อหลวงคำ เป็นผู้ใหญ่บ้าน ได้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านจากบ้านร้องบักเกียง เป็น “บ้านขอนตาล” เนื่องจากได้มีการปลูกต้นตาลไว้ที่หน้าวัดลัฏฐิวัน จึงเป็นชื่อบ้านขอนตาลจนถึงปัจจุบัน (นาย แก้ว ทาคำ, สัมภาษณ์)
ชุมชนกึ่งเมืองตั้งอยู่ระหว่างรอยต่อ สามารถเดินทางไปมาสะดวก พื้นที่ติดริมแม่น้ำและถนนสายหลัก มีวัดพระนอนขอนตาลและศูนย์รักษามะเร็งใกล้บริเวณชุมชน
บ้านขอนตาลเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ที่อาศัยอยู่สืบต่อกันมาหลายช่วงอายุคน โดยไม่มีใครทราบปี ที่ก่อต้้งแน่นอน ในอดีตชาวบ้านสร้างบ้านเรือนติดฝั่งแม่น้ำปิงตามแนวยาวจนสุดหมูบ้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของหมู่บ้านเป็นพื้นที่ไร่นา ที่มีพื้นที่กว้าง ชาวบ้านมีอาชีพหลักคือทำไร่ ทำนา เลี้ยงสัตว์ใน พื้นที่ของตนเองก่อนจะขายให้บริษัทเอกชน ที่เข้ามามีชื่อที่ทำสนามกอล์ฟและบ้านจัดสรร
หมู่บ้านขอนตาลเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง ปีใดฝนตกมากก็จะเกิดน้ำท่วมหมูบ้านตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 และ เป็นเช่นนี้เรื่อยมาๆจนกระทั่งมีการสร้างถนนซุปเปอร์สายแม่ริม-สันทราย ตัดผ่านหมู่บ้านเมื่อปี พ.ศ. 2495 น้ำปิงก็ไม่ท่วมบ้านขอนตาลจนถึงปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2495 มีผู้มาเผยแผ่ศาสนาคริสต์เข้ามาตั้งโรงเรียนสอนหนังสือแก่ชาวบ้านทำให้ชาวบ้านบางส่วนก็หันมานับถือศาสนาคริสต์ ปัจจุบันโรงเรียนได้เปลี่ยนเป็นโบสถ์ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของคริสต์ ชื่อนักบุญยอแซฟ
หมู่บ้านขอนตาลมีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องตามยุคสมัยเริ่มจากการทำถนนที่ใช้สัญจรในหมู่บ้านเป็นทางลาดยางและคอนกรีตย้ายมาสร้างวัดใหม่ชื่อ วัดลัฏฐิวัน พร้อมกับสร้างโรงเรียนบ้านขอนตาลซึ่งในปัจจุบันปิดทำการสอนไปแล้วเพราะหมู่บ้านอยู่ไม่ไกลจากตัวอำเภอชาวบ้านจึงพาบุตรหลานไปเรียนในโรงเรียนประจำตำบลและโรงเรียนประจำอำเภอเป็นส่วนใหญ่ในส่วนของสาธารณูปโภคและสุขภาพมี ไฟฟ้า ประปาหมู่บ้านที่ได้มาตรฐาน มีรพ.สต.บ้านขอนตาลเป็นสถานบริการสุขภาพตั้งอยู่บนพื้นที่เดิมของวัดขอนตาลที่ให้ใช้พื้นที่หลังจากเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับสุขภาพที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2532
ลักษณะภูมิประเทศ เป็นมีพื้นที่ราบตามแนวแม่น้ำปิง มีการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำปิงในการผลิตน้ำประปา ผิวดินและ ใช้ในการเกษตรกรรมบางส่วน
การคมนาคม ติดต่อระหว่างอำเภอและจังหวัดรวมท้้งารคมนาคมภายในตำบลและหมู่บ้านมีรายละเอียดดังนี้ กรมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107 ใช้เดินทางเข้าไปถึงอำเภอเมืองระยะทาง 15 กิโลเมตร เป็นถนนสายหลักในการเดินทางจากตัวอำเภอเมืองไปยัง อ.แม่แตง อ.เชียงดาว อ.ฝางและ อ.ไชยปราการ โดยมีรถยนต์โดยสารประจำทางจาก อ.แม่ริม อ.แม่แตง และรถบัสประจำทางจาก อ.ฝางเข้ามายัง อ.เมือง ถนนทางหลวงสายรอง ระหว่าง อ.แม่ริมและบ้านแม่โจ้ ระยะทาง 10 กิโลเมตร การคมนาคมระหว่างหมู่บ้าน เป็นทางลาดยางเดินทางสะดวกสบายจากคำบอกเล่าของประชาชนในชุมชน ภายในหมู ่บ้านจะมีบ้านที่ใช้ซาเล้งเป็นรถรับจ้าง มีเบอร์โทรศัพท์ให้ติดต่อสำหรับคนในหมู่บ้านที่สนใจ ส่วนใหญ่จะใช้บริการไป รพ.นครพิงค์ บางรายหากต้องการเข้าในเมืองเชียงใหม่จะเอารถจักรยานยนต์ไปจอดบริเวณป้อมตำรวจแยกไฟแดงแม่ริมเพื่อขึ้นรถประจำทางเข้าไปในเมืองเชียงใหม่
ในหมู่บ้านขอนตาลมีนามสกุลที่เก่าแก่หลายนามสกุล ทางนักศึกษาจึงได้ศึกษานามสกุลตาคำ ซึ่งเป็นนามสกุลเก่าแก่ของหมู่บ้าน โดยมีพ่อบุญมี ตาคำ เป็นอดีตผู้ใหญ่บ้านบ้านขอนตาล พ่อบุญมีชอบช่วยเหลือผู้อื่น เป็นคน อัธยาศัยดี จึงเป็นที่รักของเพื่อนได้และคนในชุมชน จึงได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ. 2515-2526 เป็นคนดั้งเดิมของบ้านขอนตาลตั้งแต่บรรพบุรุษ ไม่เคยย้ายถิ่นฐาน พ่อบุญมี มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน ได้เสียชีวิตไปหมดแล้ว หลานก็มีลูกมีหลานไป ถ้าเป็นผู้หญิงเมื่อแต่งก็ต้องเปลี่ยน นามสกุลตามสามี แต่ก็ยังเป็นเครือญาติเดียวกันอยู่ ลูกสาวที่แต่งงานออกเรือนก็จะตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณบ้านพ่อแม่ของตนแต่ต้องใช้นามสกุลกับสามีจึงมีนามสกุลอื่นสลับกันบ้างในบริเวณน้ัน เช่น นางเฉลียว ได้แต่งงานไปเปลี่ยนนามสกุลเป็น รัฐศาสตร์นาวิน นางฉลาดบุตรคนรองแต่งงานไปเปลี่ยนนามสกุลตามสามีเป็นนามสกุล นุติประพันธ์ และนางองอาจบุตรคนที่ 3 ได้เปลี่ยนนามสกุลเป็น ณ สุวรรณ ตามนามสกุลของสามี โดยที่บุตรทุกคนมีบุตรก็ใช้นามสกุลของสามีตน บุตรชายคนที่ 4 ชื่อ นายโสภา คำตา ได้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ประมาณ 20 ปีก่อน ได้แต่งงานกับนางข่ายแก้วและมีลูกชาย 1 คน และเมื่อประมาณ พ.ศ. 2559 นายปรีชาบุตรชายของนายโสภาก็ได้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเช่นกัน ส่วนนางข่ายแก้วได้แต่งงานใหม่ แต่ยังมาช่วยกิจกรรมในครัวฉลาดอย่างสม่ำเสมอ ส่วนบุตรหลานทุกคนปลูกบ้านอยู่ในละแวกบ้านเดียวกันกับบ้าน พ่อบุญมี และบุตรของพ่อบุญมียังมีตำแหน่งในหมู่บ้าน ได้แก่
นางฉลาดเป็นประธานกลุรัฐวิสาหกิจชุมชนครัวฉลาด โดยมีคนในหมู่บ้านร่วมกันบริหารและมีญาติพี่น้องร่วมกันทำกิจกรรม นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งเป็นกรรมการกลุ่มกองทุนหมู่บ้าน (SME)
นางเฉลียว และนางองอาจเป็นสมาชิกในกลุ่มรัฐวิสาหกิจครัวฉลาด โดยที่นางองอาจยังเป็นสมาชิกอสม.หมู่ 3 อีกด้วย ครอบครัวตาคำเป็นครอบครัวที่มีฐานะปานกลาง สามารถส่งบุตรหลานเรียน ได้ทุกคนบางคนได้ทำงานรับราชการในกรมราชทัณฑ์ บางคนเรียนจบทำงานบริษัทเอกชนและกลับมาช่วยทำงานในครัวฉลาดอีกด้วย ญาติพี่น้องรักใครกันดีไม่มีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกัน
นอกจากนี้ ยังมีนามสกุลสร้อยงาม นามสกุล นาไวย์ นามสกุลเหล่านี้ ที่ได้กล่าวมาเป็นนามสกุล ดั้งเดิมของหมู่บ้าน อย่างไรก็ตามในหมู่บ้านขอนตาลก็มีการนับถือกันแบบพี่น้อง โดยเฉพาะผู้เฒ่าผู้แก่จะ รู้ว่าใครเป็นเครือญาติพี่น้องเดียวกันบ้าง แต่ลูกๆหลาน ๆ รุ่นใหม่จะไม่ทราบว่าใครเป็นญาติพี่น้องกันบ้างเพราะดูแต่เพียงนามสกุล
จากการสำรวจและรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับโครงสร้างองค์กรชุมชนพบว่าโครงสร้างองค์กรชุมชนบ้านขอนตาล หมู่ที่ 3 มีความสัมพันธ์กัน บทบาทของผู้นำองค์กรแต่ละคน จะรับผิดชอบตามความสามารถและความสมัครใจ ไม่พบการสร้างผู้นำองค์กรในระบบเครือญาติ องค์กรชุมชน เป็นกลุ่มที่จัดต้้งขึ้นโดยส่วนใหญ่คาดหวังผลในทางเศรษฐกิจเพื่อชุมชน มีผู้นำและผู้ตามที่ได้มาโดยการเลือกตั้ง ท้้งในระบบราชการ และกลุ่มย่อย ๆ อีก หลากหลายโดยมีการขึ้นทะเบียนเป็นลายลักษณ์อักษร
กิจกรรมด้านเศรษฐกิจการประกอบอาชีพ
ประชาชนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพรับจ้าง รับราชการ ธุรกิจส่วนตัว วิสาหกิจชุมชนแม่ฉลาด ครัวป้าหล้า ครัวแม่ต้อย ครัวมลไศล และยังมีบางส่วนประกอบอาชีพ เกษตรกรรมทำนา อันเนื่องมาจาก ลักษณะของหมู่บ้านเป็นแบบกึ่งเมืองกึ่งชนบทจึงทำให้ประชากรมีการประกอบอาชีพเป็นข้าราชการเป็นส่วนใหญ่
- เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน จะมีการทำนาปรัง
- เดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายน ทำนาปี
กิจกรรมด้านสังคมและวัฒนธรรม
วิถีชีวิตด้านวัฒนธรรมประชาชนมีความเชื่อที่ถูกถ่ายทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษเป็นประเพณีที่เรียบง่ายดีงามเป็นที่เคารพและน่านับถือสำหรับกลุ่มคนรุ่นหลัง
- เดือนมกราคม ทำบุญวันขึ้นปีใหม่และประเพณีสี่เป็งเป็นการเอาข้าวที่เพิ่งเก็บเกี่ยว หรือข้าวเปลือกไปหุงหรือนึ่งแล้วนำไปถวายที่วัดเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ่ "ข้าวใหม่"
- เดือนเมษายน ปีใหม่เมืองจะมีการรดน้ำดำหัวคนแก่ในครอบครัวเป็นการรวมญาติพบปะสังสรรค์
- เดือนพฤษภาคม วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะนิยมให้ผู้ชายที่มีอายุครบ 25 ปี บริบูรณ์ (เบญจเพส) บวช ส่วนมากทำในเดือนนี้
- เดือนมิถุนายน จะมีการเลี้ยงศาลพ่อปู่ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้าน
- เดือนกรกฎาคม วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่งซึ่งคนส่วนใหญ่จะไปทำบุญตักบาตรที่วัด ฟังเทศน์ฟังธรรมเพราะตอนเย็นจะมีการเวียนเทียนวิหารซึ่งเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมานาน
- เดือนตุลาคม วันออกพรรษาจะมีการกิ๋นสลากหรือตานก๋วยสลาก
1. นายหมื่น สุพรรณ หรือลุงหมื่น เป็นคนที่พูดคุยเป็นกันเองทุกครั้งที่ไปบ้านลุงหมื่นจะเห็นเพื่อนบ้านมานั่งเล่นแวะเวียนอยู่เป็นประจำเพราะนอกจากบริเวณบ้านจะสะอาดและร่มเย็น ลุงหมื่นยังเป็นคนอัธยาศัยดีมีไมตรีจิต นอกจากนี้ลุงหมื่นยังมีร้านตัดผมชายอยู่หน้าบ้านซึ่งเป็นอาชีพหลักของลุงหมื่นมาตั้งแต่หลังแต่งงาน ลุงหมื่นบอกว่าอาชีพนี้ทำให้มีรายได้เลี้ยงครอบครัวและสามารถส่งบุตรสาว 2 คนเรียนจนจบได้ ลุงหมื่นสามารถพึ่งพาดูแลตนเองมีความแข็งแรงสมบูรณ์ทั้งกายและใจ บ้านของลุงหมื่นต้้งอยู่บนเนื้อที่ที่พ่อแม่ยกให้เป็นมรดกสืบทอดต่อ ๆ กันมา แม่ของลุงหมื่นเสียชีวิตตั้งแต่ลุงหมื่นยังหนุ่ม ลุงหมื่นมีพี่น้องทั้งหมด 5 คนเสียชีวิต 1 คน ที่เหลือต่างแยกย้ายไปทำงานและมีครอบครัว นาน ๆ จึงจะมาเยี่ยมเยียนสักครั้ง ลุงหมื่นบวชเณรตอนอายุ 15 ปี บวชได้ 4 พรรษา พอถึงกำหนดคัดเลือกทหารจับได้ใบดำจึงตัดสินใจไปทำงานที่กรุงเทพฯ เพราะคิดว่าน่าจะได้เงินเยอะแต่ทำงานได้ 3 ปี รู้สึกเบื่อชีวิตกรุงเทพฯ จึงกลับมาทำงานเป็น ช่างตัดไม้ที่บ้านระหว่างที่ทำงานตัดไม้ถูกเลื่อยตัดนิ้วกลางข้างขวาขาดรับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาราช เป็นเวลา 3 เดือน
ลุงหมื่นแต่งงานตอนอายุ 28 ปี และมีบุตรคนแรกจึงหันมาประกอบอาชีพตัดผมซึ่งไม่ได้เรียนที่ไหน ใช้วิธีจำจากเขามา ส่วนที่นาที่เคยทำได้ขายให้เขาทำถนนและหมู่บ้านจัดสรรหมดแล้วหลังจากมีบุตรคนที่ 2 ลุงหมื่นได้รับการชักชวนจากเจ้าหน้าที่ รพ.สต. ในสมัยน้ันให้มาเป็นอสม. ซึ่งลุงหมื่นเป็นคนชอบช่วยเหลือคนอยู่แล้วจึงได้สมัครเป็น อสม. โดยไม่ได้รับค่าตอบแทนใด ๆ ลุงหมื่นได้รับการอบรมต่าง ๆ ซึ่งลุงบอกว่าเป็นฐาน แต่ละฐานจะมีความรู้เกี่ยวกับสาธารณสุขต่าง ๆ เข้าฐานครบก็ผ่านการเป็น อสม. เมื่อเริ่มมีโครงการสร้างสุขศาลา ลุงหมื่นได้ร่วมกับคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ขอยืมที่ดินของวัดขอนตาล (ปัจจุบันชื่อลัฏฐิวัน) และบุกเบิกพื้นที่รกร้างในพื้นที่วัดเก่าสร้างสุขศาลาจนสำเร็จ (ปัจจุบันคือที่ตั้งของ รพ.สต.บ้านขอนตาล) และในปี พ.ศ. 2538 มีการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ที่เชียงใหม่ มีการระบาดของโรคท้องร่วงในตัวเมืองเชียงใหม่อย่างหนัก ลุงหมื่นได้เข้าร่วมทีมดักจับแมลงวันของทีมสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ด้วย ลุงหมื่นบอกว่าข่าวนี้โด่งดังไปทั่วสร้างชื่อให้กับชาวเชียงใหม่และได้ลงหนังสือพิมพ์อีกด้วย
นับตั้งแต่นั้นมาลุงหมื่นจึงมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทาง รพ.สต. จัดขึ้น ได้เข้าร่วมอบรมอาสาสมัครสาธารณสุข และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธาน อสม. ของบ้านขอนตาล เมื่อปี พ.ศ. 2561 ลาออกจากประธาน อสม.ของบ้านขอนตาล เนื่องจากมีปัญหาทางสุขภาพมีโรคประจำตัว ต่อมลูกหมากโตและต้อกระจก ลุงหมื่นบอกว่าออกกำลังกายบ้างด้วยการแกว่งแขนตอนเช้าและตอนเย็นและหากิจกรรมทำเวลาว่าง ๆ เช่น กวาดใบไม้บริเวณรอบบ้าน อาหารก็ไม่กินเค็ม ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ไม่มีอะไรเครียด และพักผ่อนนอนดูทีวีที่บ้านอยู่กับลูกหลาน ถ้าหากมีกิจกรรมในชุมชน การประชุมหมู่บ้านก็จะไปเข้าร่วมเสมอถ้าไปได้
ภาษากลางและคำเมือง
ข้อมูลจากการสำรวจชุมชนของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีเชียงใหม่