หมู่บ้านดวงดีประกอบด้วยโครงสร้างความสัมพันธ์ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองโดยบริบทของชุมชนเป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบทมีนายเทียน ภูสด เป็นผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชน ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับราชการและค้าขายออกไปทำงานนอกบ้าน มีความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนในชุมชนอย่างดี คนในชุมชนส่วนใหญ่รู้จักมักคุ้น บ้างเป็นเครือญาติ มีการช่วยเหลือกัน
ชื่อ "ดวงดี" เป็นชื่อที่ได้มาจากการใช้ชื่อจากวัดที่มีการจัดตั้งแห่งแรกของชุมชน การก่อตั้งวัดจึงมาพร้อมกับการตั้งของหมู่บ้านประมาณร้อยกว่าปีผ่านมา อดีตสภาพก่อนการก่อตั้งชุมชนพื้นที่เป็นป่าทึบ ชื่อดั้งเดิมคือ "หมู่บ้านดงดี" ต่อมามีภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อพระภิกษุสุรินทร์ (ครูบาหมี) มีถิ่นฐานบ้านเกิดมาจากอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ท่านได้เดินทางมาจำพรรษาผ่านมาหลายวัด เมื่อเดินทางมาถึงบ้านดงดี ท่านคิดว่าหมู่บ้านนี้เป็นที่ร่มรื่นดี อีกประการหนึ่งชาวบ้านเดินทางไปทำบุญไม่สะดวกเนื่องจากหมู่บ้านยังไม่มีวัดต้องออกไปทำบุญยังนอกหมู่บ้านท่านจึงคิดว่าหมู่บ้านดงดีเหมาะแก่การก่อตั้งวัด จึงให้ชาวบ้านบริเวณนี้ทำการจัดการสิ่งแวดล้อม และได้เปลี่ยนชื่อวัดจากดงดีเป็นวัดดวงดีจนถึงปัจจุบัน โดยมีที่มาในการเปลี่ยนชื่อวัดจากอุบาสกท่านหนึ่ง ชื่อดวง ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้อุปถัมภ์ค้ำชูวัด โดยมีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดและอาราม ท่านพระภิกษุจึงเห็นว่ามีความเหมาะสมที่จะนำชื่อของอุบาสกท่านนี้มาตั้งเป็นชื่อวัดโดยนำชื่อ “ดวง” มาตั้งชื่อและใช้คำว่า “ดี” ซึ่งเป็นคำที่มีอยู่เดิม จึงกลายเป็น “ดวงดี” และการใช้ชื่อชุมชนจึงได้ใช้ชื่อเดียวกับชื่อวัดได้แก่ "ดวงดี" ตั้งแต่นั้นมา
หมู่บ้านดวงดีประกอบด้วยโครงสร้างความสัมพันธ์ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองโดยบริบทของชุมชนเป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบทมีนายเทียน ภูสด เป็นผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชน ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับราชการและค้าขายออกไปทำงานนอกบ้าน มีความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนในชุมชนอย่างดี คนในชุมชนส่วนใหญ่รู้จักมักคุ้น บ้างเป็นเครือญาติ มีการช่วยเหลือกัน
หมู่บ้านดวงดี ในอดีตมีเพียงเขตพื้นที่บริเวณรอบวัด โดยพื้นที่หมู่บ้านส่วนมากอยู่หลังวัดดวงดีซึ่งถือเป็นเขตหมู่บ้านเก่า ส่วนพื้นที่ของชุมชนในอดีตทั้งหมดจะเป็นป่าไม้และไร่นา อาชีพในอดีตของประชากรในหมู่บ้านดวงดี คือ อาชีพเกษตรกรเนื่องจากมีพื้นที่ติดริมน้ำ และพื้นที่รอบ ๆ หมู่บ้านมีป่าไม้ ใช้การคมนาคมโดยการเดินเป็นส่วนใหญ่ ชาวบ้านในหมู่บ้านจะคอยช่วยเหลือกันมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน แต่ในปัจจุบันมีการขยับขยายหมู่บ้านออกเนื่องจากมีจำนวนคนที่เข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น ชาวบ้านบางส่วนมีการขายพื้นที่นาเนื่องจากมีนายทุนมารับซื้อไปทำบ้านจัดสรร เมื่อมีการทำหมู่บ้านจัดสรรส่งผลให้คนนอกพื้นที่ได้เข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้นวิถีชีวิตของคนในชุมชนก็เปลี่ยนไป มีการปรับเปลี่ยนอาชีพส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงจากชุมชนชนบทกลายเป็นชุมชนกึ่งเมือง วัฒนธรรมประเพณีก็มีการปรับเปลี่ยนตามยุคสมัยแต่คนในพื้นที่ก็ยังคงมีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือกันอยู่เสมอ
อดีตนั้นหมู่บ้านดวงดีมีชื่อหมู่บ้าน คือ "ดวงดี" มีการปกครองโดย นายอนันต์ ประสงค์ เมื่อนายอนันต์ ประสงค์ได้หมดวาระลงได้มีการแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้าน คือ นายอินสอน โถดี มีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน คือ นายอนันต์ หมอกเมฆ ซึ่งนายอินสอน โถดี ได้เล็งเห็นว่าหมู่บ้านดวงดีทรายมูลเป็นหมู่บ้านใหญ่และมีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นทำให้ปกครองยากและดูแลได้ไม่ทั่วถึงจึงเกิดการแบ่งเป็น 2 หมู่บ้าน ดังที่เห็นในปัจจุบันคือหมู่ 2 บ้านดวงดี และหมู่ 8 บ้านทรายมูล
หมู่ 2 บ้านดวงดีได้มีการปกครองของผู้ใหญ่บ้านทั้งหมด 3 คน คือ
- นายอินสอน โถดี
- นายอนันต์ หมอกเมฆ ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านในปีพุทธศักราช 2549-2560 ดำรงตำแหน่ง 2 วาระ
- นายเทียน ภูสด ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2560-ปัจจุบัน
ชาวบ้านดวงดีจะมีสิ่งที่คอยยึดเหนี่ยวจิตใจและสักการะกราบไหว้ คือ ศาลพ่อแคว่น เป็นศาลที่ตั้งอยู่หน้าวัดดวงดี ใต้ต้นโพธิ์เป็นศาลของผู้ที่คอยดูแลหมู่บ้านดวงดีทรายมูลในอดีต การเลี้ยงศาลในช่วงวันสงกรานต์ สิ่งที่ใช้เลี้ยงจะเป็นเหล้าแดงและหัวหมู แต่หากจะไปกราบไหว้บูชาหรือขอพรให้ใช้น้ำเปล่า ของคาว ของหวาน อย่างละ 1 อย่าง ธูปคนละ 12 ดอก พร้อมดอกไม้ ข้าวตอก เทียน และในวัดจะมีศาลพ่อปู่ซึ่งเป็นศาลคู่วัด สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและให้ชาวบ้านสักการบูชา เวลาเลี้ยงศาลจะใช้เหล้าขาวและหัวหมู ส่วนใหญ่มักจะทำบุญคู่กับงานบุญใหญ่ที่ทางวัดได้จัดขึ้น ศาลทั้ง 2 ได้สร้างขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน คือ ในปีพุทธศักราช 2539 เพื่อให้ศาลพ่อแคว่นเป็นศาลคู่บ้านและศาลพ่อปู่เป็นศาลคู่วัด
การก่อตั้งวัดดวงดีเป็นจุดเริ่มของการก่อตั้งชุมชนดวงดี เนื่องจากสมัยก่อนมีการก่อตั้งวัดจึงต้องมีการก่อตั้งหมู่บ้าน โดยการบอกเล่าจากผู้สูงอายุในหมู่บ้านบอกว่า การก่อตั้งเริ่มจากการก่อตั้งวัดดวงดี เลขที่ 281 หมู่ที่ 2 ตำบลริมใต้ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มีการก่อตั้งมานานประมาณร้อยกว่าปีผ่านมาด้วยเนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 50 ตารางวา สภาพก่อนการก่อตั้งเป็นป่าทึบมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นหลายต้น จากพื้นที่อุดมสมบูรณ์ชาวบ้านจึงเรียกว่า หมู่บ้านดงดี ต่อมามีภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อพระภิกษุสุรินทร์ (ครูบาหมี) มีถิ่นฐานบ้านเกิดมาจากอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ท่านได้เดินทางมาจำพรรษาผ่านมาหลายวัด เมื่อเดินทางมาถึงบ้านดงดี ท่านคิดว่าหมู่บ้านนี้เป็นที่ร่มรื่นดี อีกประการหนึ่ง ศรัทธาญาติโยมแถวนี้เดินทางไปทำบุญไม่สะดวกเนื่องจากหมู่บ้านยังไม่มีวัด ต้องออกไปทำบุญยังนอกหมู่บ้าน ท่านจึงคิดว่าหมู่บ้านดงดีเหมาะแก่การก่อตั้งวัด จึงให้ชาวบ้านบริเวณนี้ทำการจัดการสิ่งแวดล้อม ตัดหญ้า ทำความสะอาดพื้นที่ ซึ่งแต่ก่อนไม่ทราบแน่ชัดว่ามีใครบริจาคที่ดินแถวนั้นให้
ต่อมาเมื่อปี พุทธศักราช 2435 ท่าน ได้พาชาวบ้านร่วมกันปลูกสร้างศาลาร่วมทำบุญ ในปีถัดมาท่านได้สร้างกุฏิรวมถึงศาสนสถานอื่น ๆ ภายในวัดอีกด้วย และเริ่มก่อสร้างวิหารวัดซึ่ง มีความกว้าง 9 เมตร ยาว 35 เมตร เป็นวิหารหลังแรกของวัดดงดี โดยมีหลักฐานพิสูจน์ได้โดยเมื่อมีการก่อสร้างวิหารหลังที่สามมีการขุดพบฐานวิหารหลังแรกเป็นอิฐที่มีก้อนขนาดใหญ่เป็นวงกว้าง หลังจากนั้นและวันที่ 5 เดือนเมษายน พุทธศักราช 2435 ท่านได้รับอนุญาตให้มีการก่อสร้างอุโบสถ 1 หลัง เพื่อเป็นศูนย์รวมทางด้านจิตใจของชาวบ้านและได้เปลี่ยนชื่อวัดจากดงดีเป็นวัดดวงดีจนถึงปัจจุบัน โดยมีที่มาในการเปลี่ยนชื่อ วัดจากอุบาสกท่านหนึ่ง ชื่อดวง ท่านได้มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้อุปถัมภ์ค้ำชูวัด โดยมีการบูรณปฏิสังขรณ์อาราม และศาสนสถานอื่น ๆ มาโดยตลอด ท่านพระภิกษุจึงเห็นว่ามีความเหมาะสมที่จะนำชื่อ ของอุบาสกท่านนี้มาตั้งเป็นชื่อวัด ต่อมาพระท่านได้จัดให้วัดเป็นแหล่งศึกษาของภิกษุสามเณรให้มาศึกษาพระธรรมวินัย ในปีต่อมาท่านได้รับการแต่งตั้งเป็น พระครูมหามงคล เจ้าอาวาสและเป็นเจ้าคณะอำเภอแม่ริมรูปแรกต่อมามีเจ้าอาวาสมาดำรงตำแหน่งต่อ คือ พระดวงแก้ว ในปีพุทธศักราช 2473-2474 ถัดมา คือ พระสิงห์แก้ว ดำรงตำแหน่งในปีพุทธศักราช 2475-2477 ตลอดจนถึง พ.ศ. 2486 ได้มีพระอธิการฉันโทเป็นเจ้าอาวาส ท่านได้สร้างวิหารขึ้นเป็นหลังที่ 2 มีความกว้าง 7 เมตร ยาว 22 เมตร และสร้างกุฏิ ศาลา และเสนาสนะ เพิ่มภายในวัดและปฏิสังขรณ์ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย จนถึง พ.ศ. 2505 ต่อมามีเจ้าอาวาสมาดำรงตำแหน่งต่อ คือ พระดวงจันทร์ สมมณีโย ในปีพุทธศักราช 2506-2507 พระมหาดวงดี อภิวฒโน ในปีพุทธศักราช 2508-2509 และพระบุญทอง ในปีพุทธศักราช 2510-2512 หลังจากนั้นในปีพุทธศักราช 2513 ได้มีเจ้าอาวาสรูปใหม่ คือ ท่านเจ้าอาวาสพระครูอินสอน อรินทโม ท่านได้พัฒนาและสร้างศาลาการเปรียญ สร้างหอฉันท์ และศาลาอเนกประสงค์ โรงครัว กำแพง ห้องครัว เวจจกุฏิและหอระฆังและยังมีสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ อีก จนกระทั่ง พ.ศ. 2535 ท่านได้ลาสิกขาไป ต่อมาในปีพุทธศักราช 2536 พระครูนิทัศน์ สารกิจ ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส แล้วได้บูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุและท่านได้ส่งวัดเข้าประกวดประเภทวัดใหญ่ ได้รางวัลรองชนะเลิศลำดับที่ 1 ได้โล่เกียรติยศประกาศเกียรติคุณ ต่อมาเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2538 ได้วางศิลาฤกษ์วิหารหลังใหม่ (หลังที่สาม) กว้าง 9 เมตร ยาว 24 เมตร แบบชั้นเดียว ต่อมาในปีพุทธศักราช 2539 ได้เริ่มก่อสร้างศาลาบำเพ็ญบุญขึ้น 1 หลัง กว้าง 9 เมตร ยาว 15 เมตร และปัจจุบันวัดดวงดีมีเจ้าอาวาสดำรงตำแหน่งคือพระครูประโชติชัยสัมบัน
ชุมชน หมู่ 2 บ้านดวงดี ตำบลริมใต้ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของที่ว่าการอำเภอแม่ริม อยู่ในเขตการปกครองของเทศบาลตำบลริมใต้ ซึ่งพื้นที่ของชุมชนบ้านดวงดี
อาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดกับ คลองแม่ริมและหมู่ที่ 3 บ้านกลาง ตำบลริมเหนือ จังหวัดเชียงใหม่
- ทิศตะวันออก ติดกับ หมู่ที่ 4 บ้านต้นแก้ว ตำบลริมใต้ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
- ทิศใต้ ติดกับ หมู่ที่ 1 บ้านริมใต้ ตำบลริมใต้ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
- ทิศตะวันตก ติดกับ หมู่ที่ 8 บ้านทรายมูล ตำบลริมใต้ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
จากการลงพื้นที่และสำรวจพบว่า ถนนภายในหมู่บ้านเป็นถนนลาดยาง ลักษณะชุมชนเป็นกึ่งเมือง ประชาชนในชุมชนใช้รถจักรยาน รถจักรยานยนต์ รถจักรยนต์ไฟฟ้า และรถยนต์เป็นพาหนะในการสัญจรไปมา บ้านเรือนทั่วไปมีลักษณะเป็นบ้านปูน และบ้านครึ่งปูนครึ่งไม้ โดยส่วนใหญ่เป็นบ้านของตนเอง มีบริเวณบ้านเรียงติดกัน มีรั้วกั้นบริเวณบ้านชัดเจน ส่วนมากจะเป็นหมู่บ้านจัดสรร และในละแวกหมู่บ้านเป็นเครือญาติกัน นอกจากนี้พบว่าในชุมชน มีหอพัก จำนวน 3 แห่ง มีร้านขายของชำ จำนวน 3 แห่ง ร้านอาหาร จำนวน 9 แห่ง ร้านซักรีด จำนวน 2 แห่ง ร้านซ่อมจักรยานยนต์ จำนวน 2 แห่ง ร้านเสริมสวย จำนวน 5 แห่ง และพบว่ามีนาปลูกข้าวจำนวน 2 ที่ครอบครัวส่วนใหญ่เป็นครอบครัวขยาย
จากการเดินสำรวจและสอบถามจะพบผู้สูงอายุที่เป็นข้าราชการบำนาญและส่วนใหญ่อยู่บ้านในเวลากลางวัน เนื่องจากสมาชิกวัยกลางคนรวมถึงวัยเด็กในครอบครัวจะออกไปโรงเรียนและออกไปทำงานประกอบอาชีพ ในช่วงเวลา 07.00 น. - 17.00 น. โดยอาชีพของคนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเป็นข้าราชการ รับจ้างทั่วไปและธุรกิจส่วนตัว ในส่วนของวิถีชีวิตการรับประทานอาหารของคนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาหารพื้นบ้าน เช่น ผักต้ม แกงพื้นเมือง รวมถึงมีบางส่วนที่ซื้ออาหารสำเร็จรูป (อาหารถุง) รับประทานเนื่องจากสะดวกและไม่มีเวลาในการประกอบอาหารเอง จากการสำรวจและสอบถามข้อมูลพบว่า ประชาชนในชุมชนมีการจัดตั้งกลุ่มต่าง ๆ ขึ้นภายในหมู่บ้าน เช่น กลุ่มสตรี กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน กลุ่มคณะกรรมการ กลุ่มฟ้อนเล็บที่ไม่เป็นทางการ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ประชาชนในหมู่บ้านดวงดีส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ในชุมชนมีวัดดวงดีเป็นจุดศูนย์รวมทางด้านจิตใจและเป็นสถานที่ในการประกอบพิธีทางศาสนาต่าง ๆ การใช้น้ำในชุมชนส่วนใหญ่ใช้น้ำประปาส่วนภูมิภาค ส่วนน้ำที่ใช้บริโภคส่วนใหญ่จะซื้อน้ำบรรจุขวดบริโภค และบางส่วนมีเครื่องกรองน้ำติดตั้งภายในครัวเรือนจึงใช้น้ำประปาแล้วนำมากรองบริโภคหรืออุปโภค
จากความสัมพันธ์ที่ถือได้ว่าเป็นพื้นฐานที่สุดของชีวิตในชุมชนโดยมีสัญลักษณ์แทนตัวบุคคลและเส้นแสดงความสัมพันธ์ทั้งทางสายเลือดและความสัมพันธ์จากการแต่งงาน ผังเครือญาติบอกความสัมพันธ์ที่เป็นรากฐานที่สุดของชีวิตครอบครัวและจะมีความเกี่ยวข้องกันไปตลอดชีวิต ชุมชนที่ศึกษาไม่มีกลุ่มชาติพันธุ์ ระบบเครือญาติส่วนใหญ่เป็นลักษณะครอบครัวขยาย ดังตัวอย่างระบบเครือญาติ
ตระกูล ‘หมอกเมฆ’ ผู้ที่ให้ข้อมูลคือ นายอนันต์ หมอกเมฆ ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่ 53 หมู่ 2 บ้านดวงดี ตำบลริมใต้ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยนางผ่องพรรณ หมอกเมฆ และนายอภิรักษ์ หมอกเมฆ ซึ่งได้ให้ข้อมูล ดังต่อไปนี้
ตระกูลหมอกเมฆได้เริ่มต้นด้วยนายสิงห์คำ หมอกเมฆ ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านดวงดี ได้แต่งงานกับนางสุ หมอกเมฆ ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านดวงดี หลังแต่งงานได้อยู่อาศัยที่หมู่บ้านดวงดีเป็นต้นมา มีบุตรด้วยกันทั้งหมด 7 คน แบ่งเป็น ผู้ชาย 2 คน ผู้หญิง 5 คน ต่อมา นายสิงห์คำ ในวัย 84 ปี และนางสุ ในวัย 78 ปี ได้ถึงแก่กรรมด้วยความชรา
โครงสร้างขององค์กรชุมชน
1. โครงสร้างองค์กรชุมชนที่เป็นทางการ
- กลุ่มคณะกรรมการหมู่บ้าน
- กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)
- สตรีหมู่บ้าน
- กลุ่มกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
2. โครงสร้างองค์กรชุมชนที่ไม่เป็นทางการ
- ฟ้อนเล็บ
โครงสร้างองค์กรชุมชนที่เป็นทางการ เป็นการรวมตัวขององค์กรที่ได้รับจากความร่วมมือจากประชาชนในชุมชนทีมีการรวมกลุ่มกันทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของชุมชน บ้านดวงดี มีกลุ่มที่เป็นทางการทั้งหมด 4 กลุ่ม ดังนี้
1.กลุ่มคณะกรรมการหมู่บ้าน
วัตถุประสงค์
- เพื่อพัฒนาหมู่บ้าน ประชาชนในหมู่บ้านอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและเป็นแกนนำให้กับหมู่บ้าน
- เพื่อบริหารจัดการและจัดกิจกรรมชุมชนในด้านต่างๆให้บรรลุเป้าหมาย
- เพื่อรับเรื่องทุกข์ แก้ไขความขัดแย้งในชุมชน รวมถึงการนำเรื่องร้องเรียนแก้ไขปัญหา ร่วมกับหน่วยงานอื่น
กิจกรรมการดำเนินงาน
- ดูแลและจัดการบริหารงานต่างๆภายในหมู่บ้านตามที่ได้รับมอบหมาย
- ปรึกษาหารือต่อเทศบาล อำเภอ จังหวัด เกี่ยวกับกิจกรรมที่ปฏิบัติในหมู่บ้านเข้าร่วมประชุมเพื่อพิจารณา ปรึกษา จัดสรรงบประมาณ
- เข้าร่วมประชุมเพื่อพิจารณา ช่วยเหลืองานต่างๆ ในหมู่บ้าน ดูแลและจัดการการเรื่องราวภายในหมู่บ้าน
- นำเสนอโครงการต่างๆของหมู่บ้านแก่หน่วยงานของรัฐบาล และจัดหางบประมาณเพื่อพัฒนาหมู่บ้านรวมทั้งการจัดกิจกรรมต่างๆภายในหมู่บ้าน ประโยชน์ของกลุ่มคณะกรรมการหมู่บ้าน
สมาชิกประกอบด้วยดังนี้
1. นายเทียน | ภูสด | ประธาน (ผู้ใหญ่บ้าน) |
2. นางสาวสุพรรณี | ใจเขียว | รองประธาน (ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน) |
3. นางจิดาภา | ศรีวิลา | เลขานุการ |
4. นายทวี | บุญมาลา | กรรมการ |
5. นายศรีทน | ใจเขียว | กรรมการ |
6. นางอารีย์ | วงษ์ศิริ | กรรมการ |
7. นางปุณยนุช | เปลือกแค | กรรมการ |
8. ร.ต.ท. จิน | พงษ์พันธ์ | กรรมการ |
9. นายบุญเทียน | กันธิยะ | กรรมการ |
10. อ.อุบล | พวงสุวรรณ | กรรมการ |
11. นางกษิษฐา | ชื่นใจ | กรรมการ |
12. พ.ต.ท. สมบูรณ์ | ร่มคำ | กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ |
13. พ.ท. เกษม | แดงนา | กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ |
14. จ.ส.อ. ชุมพล | ไชย์วงค์ | กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ |
15. นายถนัด | ชวนประเสริฐ | กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ |
16. อ.ชัชวาล | วังสุนทร | กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ |
2.กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
วัตถุประสงค์
- เพื่อเป็นแกนนำสุขภาพ และดูแลสุขภาพของคนในชุมชน
- เพื่อติดต่อและประสานงานด้านสาธารณสุขระหว่างเจ้าหน้าที่ รพ.สต. เทศบาล และประชาชน ของหมู่บ้าน
- เพื่อให้ประชาชนได้มีมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของประชาชนด้วยกันเองในหมู่บ้าน
กิจกรรมการดำเนินงาน
- ติดต่อและประสานงานสาธารณสุขระหว่างเจ้าหน้าที่และประชาชนในหมู่บ้าน
- แบ่งหน้าที่ในการเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดโรคหรือปัญหาสุขภาพ เช่น การคัดกรองความเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและภาวะไขมันในเลือดสูง การรณรงค์เกี่ยวกับโรคต่าง ๆ
สมาชิก
1. นางกษิษฐา | ชื่นใจ | ประธาน |
2. นางประนอม | บุญแสง | รองประธาน |
3. นางจิตานา | ศรีวิลา | สมาชิก |
4. นางจินตนา | กองมณี | สมาชิก |
5. นางนิภา | พรมไชย | สมาชิก |
6. นางผ่องพรรณ | หมอกเมฆ | สมาชิก |
7. นางเพ็ญพิศ | ตันวงษ์ษา | สมาชิก |
8. นางรจนา | ศรียอด | สมาชิก |
9. นางโสภา | ร่มคำ | สมาชิก |
10. นางอำพร | รัชฎา | สมาชิก |
11. นางอารีย์ | วงษ์ศิริ | สมาชิก |
12. นางศรีทน | ใจเขียว | สมาชิก |
13. นางอุไร | ชื่นใจ | สมาชิก |
3. กลุ่มสตรีหมู่บ้าน
วัตถุประสงค์
- เพื่อเป็นการรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือในงานต่างๆของหมู่บ้าน
- ได้รับรายได้เสริมจากการประดิษฐ์ดอกไม้ดินและแปรรูปอาหารจากสมุนไพรจำหน่าย
กิจกรรมการดำเนินงาน
- เป็นแกนนำในการร่วมทำกิจกรรมต่างๆของหมู่ 2 เช่น งานทอดผ้าป่า เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มแม่บ้านจะรับหน้าที่ปรุงและประกอบอาหารและเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้งที่มีโอกาสและหารายได้ให้หมู่บ้าน
สมาชิก
1. นางปุณยนุช | เปลือกแค | ประธาน |
2. นางกษิษฐา | ชื่นใจ | รองประธาน |
3. นางสาวสุพรรณี | ใจเขียว | เลขานุการ |
4. นางสาวณัฐชยา | บูรณ์สม | เหรัญญิก |
5. นางจิดาภา | ศรีวิลา | ประชาสัมพันธ์ |
6. นางจันทร์ดี | ฟ้าร่วน | ปฏิคม |
7. นางศรีนวล | ดมดอก | กรรมการ |
8. นางสุนารี | ศุภรัตนภินันท์ | กรรมการ |
9. นางรจนา | ศรียอด | กรรมการ |
10. นางพันธ์ | ใจเขียว | กรรมการ |
4. กลุ่มกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
วัตถุประสงค์
- เพื่อช่วยเหลือคนในหมู่บ้านให้มีเงินเก็บและหมุนเวียนเงินได้
กิจกรรมการดำเนินงาน
- บริหารจัดสรรงบประมาณให้กู้ยืมเงินสำหรับลงทุนด้านอาชีพ สร้างงาน รายได้และบรรเทาเหตุจำเป็นเร่งด่วน โดยมีการทำสัญญาเป็นรายปี
- ติดตามเงินกู้ยืมเมื่อถึงกำหนดเวลาคืนเงิน
สมาชิก
1. นางปรานอม | บุญแสน | ประธาน |
2. นายอุดม | กลีบลำดวน | สมาชิก |
3. นายณัฐพล | ปิ่นคำ | สมาชิก |
4. นายราเช | ชื่นใจ | สมาชิก |
5. นางสาวสุพรรณี | ใจเขียว | สมาชิก |
6. นางณัฐธิกา | เมธาพิสุทธิ์ | สมาชิก |
7. นายนพพร | ปิ่นคำ | สมาชิก |
8. นางบัวแก้ว | จันทร์สอง | สมาชิก |
9. นางภคภรณ์ | กิ่งแก้ว | สมาชิก |
โครงสร้างองค์กรชุมชนที่ไม่เป็นทางการ
1.ฟ้อนเล็บ
วัตถุประสงค์
- เพื่อเป็นการรวมกลุ่มในการทำกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรม
กิจกรรม
- รวมกลุ่มสมาชิกในทุกกิจกรรมในการแสดงการฟ้อนเล็บ
สมาชิก
1. นางจิดาภา | ศรีวิลา | สมาชิก |
2. นางฟองแก้ว | กันธิยะ | สมาชิก |
ปฏิทินชุมชนบ้านดวงดี แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่
- ปฏิทินทางเศรษฐกิจ เป็นการรวบรวมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ หรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ ของคนในชุมชน
- ปฏิทินทางวัฒนธรรม เป็นการรวบรวมกิจกรรมด้านสังคมวัฒนธรรม ศาสนา และขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ที่เกิดภายในชุมชน
- ปฏิทินด้านสุขภาพและสาธารณสุข เป็นการรวบรวมกิจกรรมด้านสุขภาพภายในชุมชน
ปฏิทินทางเศรษฐกิจ
ในการลงพื้นที่สำรวจในส่วนของปฏิทินชุมชนกิจกรรมทางเศรษฐกิจของชาวบ้านในบ้านดวงดี ส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นข้าราชการบำนาญ รองลงมาคือค้าขาย โดยส่วนใหญ่มีการค้าขายของชำ ขายอาหารตามสั่งโดยมีการเปิดร้านทุกวัน รองถัดลงมาคือรับจ้างทั่วไป เช่น รับจ้างอื่น ๆ ลูกจ้างประจำ ข้าราชการและเกษตรกร ตามลำดับ ซึ่งเกษตรกรในหมู่บ้านนี้ส่วนใหญ่มีการทำนาปี โดยจะทำในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม
ปฏิทินทางวัฒนธรรม
วันสำคัญและประเพณีที่ชาวบ้านในหมู่บ้านดวงดี หมู่ 2 ตำบลริมใต้ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีการปฏิบัติและสืบทอดกันมามีดังนี้
- ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ จะมีการทำบุญตักบาตร โดยเรียกว่าการทำบุญวันขึ้นปีใหม่ส่งท้ายปีเก่า
- วันมาฆบูชา จะมีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้า และมีพิธีเวียนเวียนเทียนในตอนเย็น
- วันปีใหม่เมืองหรือวันสงกรานต์ จะมีการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ และดำหัวพ่อแคว่น โดยจะมีตั้งแต่วันที่ 13-15 เมษายนของทุกปี ชาวบ้านที่นี่จะเรียกชื่อวันต่าง ๆ ดังนี้ วันดา,วันเนาว์,วันพญาวัน,วันปากปี
- วันเปลี่ยนขันดอกพ่อแคว่น และเสื้อบ้านเสาบ้าน จะมีการเปลี่ยนพานดอกไม้บูชาที่ศาลพ่อแคว่น
- วันพิธีไม้ค้ำโพธิ์ จะมีการแห่ไม้ค้ำค้ำโพธิ์ โดยไม้ที่นำมาแห่ค้ำต้นโพธิ์หน้าวัดจะนำมาจากที่ผู้ใหญ่บ้านไปเลือกไม้มาจากในป่า มีเกณฑ์การเลือกคือเลือกไม้ที่แข็งแรงและมีง่าม จำนวน 1 คู่ เพื่อนำมาค้ำ
- วันวิสาขบูชา จะมีการทำบุญตักบาตรที่วัดในตอนเช้า และมีการเวียนเทียนรอบอุโบสถในตอนเย็น
- วันสืบชะตาหมู่บ้าน จะมีการนำเอาฝ้ายสายสิญจน์มาล้อมรอบบริเวณบ้าน และทำบุญตักบาตรที่วัด
- วันยี่เป็ง หรือวันลอยกระทง จะมีการทำกระทงจากธรรมชาติมาลอยที่แม่น้ำปิงที่ไหลผ่ายหมู่บ้าน
ปฏิทินกิจกรรมด้านสุขภาพ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลขอนตาล มีการจัดให้บริการทางสุขภาพตลอดทั้งปี โดยแต่ละในช่วงเวลาก็จะมีการให้บริการที่แตกต่างกัน
1. บริการตรวจรักษาโรคทั่วไป
- คลินิกโรคเรื้อรัง มีให้บริการทุกวันพุธของสัปดาห์ที่ 2 ของทุกเดือน โดยจะมีแพทย์และเภสัชกรจากโรงพยาบาลนครพิงค์มาให้บริการตรวจรักษาโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โดยส่วนใหญ่จะมีผู้ป่วยรายเก่ามาตรวจและรับยาตามนัด
- คลินิกเด็ก (Well baby) มีให้บริการทุกวันวันพฤหัสบดีของสัปดาห์ที่ 2 ของทุกเดือน
2. การตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จะมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของ รพ.สต. บ้านขอนตาลมาให้บริการในทุก ๆ ปีและในแต่ละปีช่วงเวลาที่ตางกันไปสำหรับในปีนี้ที่ผ่านมาได้มีการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและมีการเจาะเลือดคัดกรองโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยงในเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน
3. การคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ส่วนใหญ่จะมีการออกคัดกรองในเดือนกันยายนของทุกปี โดยต้องมีการดำเนินการของงบประมาณในการจัดโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
4. กิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกซึ่งจัดทุก ๆ ปี จะทำในเดือนเมษายนจนถึงเดือนพฤษภาคม โดยมี อสม. เป็นผู้รับผิดชอบในการสำรวจและกำจัดแหล่งน้ำขัง และมีการแจกทรายอะเบท เพื่อให้แต่ละครัวเรือนไปใส่ในน้ำเพื่อป้องกันการวางไข่ของยุง
5. การออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดเตียงโดย อสม. จะมีการทำงานในส่วนของการดูแลบุคคลในเขตรับผิดชอบของตนเอง โดยจะมีการวางแผนและปฏิบัติคือ แบ่งผู้ป่วยเป็น 4 ระดับ โดยระดับที่ 4 จะมีการตรวจเยี่ยมผู้ป่วยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ระดับ 3 จะมีการตรวจเยี่ยมผู้ป่วยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ระดับ1-2 จะมีการตรวจเยี่ยมผู้ป่วย 2 สัปดาห์ต่อ 1 ครั้ง
ตัวอย่างประวัติชีวิตบุคคลต่าง ๆ ในชุมชนบ้านดวงดี หมู่ที่ 2 ได้แก่ ผู้นำชุมชน นายอนันต์ หมอกเมฆ (พ่ออนันต์) ปัจจุบันอายุ 66 ปี เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2499 เป็นคนบ้านดวงดีมาแต่กำเนิด อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 53 หมู่ 2 บ้านดวงดี ตำบลริมใต้ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตร ของนายสิงค์คำ หมอกเมฆและนางสุ หมอกเมฆ มีบุตรร่วมกันทั้งหมด 7 คน พ่ออนันต์เป็นบุตรคนที่ 5 ปัจจุบันแต่งงานกับนางพ่องพรรณ หมอกเมฆและมีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นายอภิรักษ์ หมอกเมฆและนางศิริพร ไทยกวีพจน์ ปัจจุบันประกอบอาชีพค้าขายและขับรถส่งนักเรียน ลักษณะนิสัยส่วนตัวของพ่ออนันต์ หมอกเมฆ เป็นคนร่าเริงแจ่มใส ชอบช่วยเหลือผู้อื่น ไม่มีโรคประจำตัว สุขภาพร่างกายแข็งแรง
พ่ออนันต์เล่าว่าตนเองได้เรียนจบชั้นประถมศึกษาที่ 1-4 ที่โรงเรียนบ้านทรายมูล และได้ไปศึกษาต่อชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ที่โรงเรียนบ้านริมใต้ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2539-2549 พ่ออนันต์ก็ได้รับเลือกเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านโดยทำงานมาเป็นระยะเวลา 10 ปี ต่อมาพ่ออนันต์ก็ได้แรงสนับสนุนจากญาติ ๆ คอยผลักดันให้ลงสมัครในตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน หมู่บ้านดวงดี เพราะเห็นว่าพ่ออนันต์มีความเป็นผู้นำค่อนข้างสูง ชอบช่วยเหลือชุมชน และพ่ออนันต์ก็ตั้งใจลงสมัครและผลการเลือกตั้งพบว่าได้คะแนนเสียงมากที่สุด พ่ออนันต์จึงได้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านในปี พ.ศ. 2549-2550 หลังจากที่พ่ออนันต์ได้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านเป็นเวลา 2 ปี ในขณะนั้นได้มีการเปิดรับสมัครตำแหน่งกำนันผู้ใหญ่บ้าน เนื่องจากกำนันผู้ใหญ่บ้านได้หมดวาระการทำงาน 5 ปีแล้ว พ่ออนันต์จึงตัดสินใจลงสมัครกำนันผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งคะแนนเสียงทั้งหมดจะมาจาก 8 หมู่บ้านในตำบลริมใต้ ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านหมื่นถ้อยน้ำงาม หมู่ที่ 2 บ้านดวงดี หมู่ที่ 3 บ้านขอนตาล หมู่ที่ 4 บ้านต้นแก้ว หมู่ที่ 5 บ้านท่าวัง หมู่ที่ 6 บ้านห้วยโง้ หมู่ที่ 7 บ้านทุ่งหัวช้าง และหมู่ที่ 8 บ้านทรายมูล
ผลคะแนนพบว่าพ่ออนันต์ หมอกเมฆ ได้รับเลือกให้เป็นกำนันผู้ใหญ่บ้านในปี พ.ศ. 2551-2555 เพราะจากผลงานของพ่ออนันต์ที่ผ่านมาที่ได้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านก็มีผลงานดี ๆ มากมายและได้พัฒนาหมู่บ้านดวงดีให้เจริญมากขึ้น ได้เชิญชวนชาวบ้านพัฒนาหมู่บ้านร่วมกัน เน้นการมีส่วนร่วม เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพวงชีวิตที่ดี ทำให้ชาวบ้านบ้านดวงดีให้การเคารพนับถือเพราะพ่ออนันต์เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับประชาชนในหมู่บ้านบ้านดวงดี ซึ่งพ่ออนันต์ได้ถือทัศนคติว่า เอาใจเขามาใส่ใจเรา นี่คือหลักในการพัฒนาหมู่บ้านของพ่ออนันต์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 พ่ออนันต์ได้หมดวาระในการดำรงตำแหน่งกำนันผู้ใหญ่บ้าน ประสบกับช่วงนั้นได้มีการรับสมัครผู้ใหญ่บ้านบ้านดวงดี พ่ออนันต์จึงได้ตัดสินใจลงสมัครผู้ใหญ่บ้านบ้านดวงดีครั้งที่ 2 และได้รับเลือกให้เป็นผู้ใหญ่บ้านบ้านดวงดีอีกครั้ง เพราะพ่อนันต์ได้ตั้งใจว่าอยากจะลงสมัครกำนันผู้ใหญ่บ้านอีกครั้ง แต่การสมัครกำนันผู้ใหญ่บ้านนั้น ต้องดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ถึงจะมีสิทธิลงสมัครในตำแหน่งกำนันผู้ใหญ่บ้าน และในปี พ.ศ. 2556 พ่ออนันต์ หมอกเมฆ ก็ได้ลงสมัครกำนันผู้ใหญ่บ้าน และผลคะแนนพบว่าพ่ออนันต์ หมอกเมฆได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด และได้ดำรงตำแหน่งกำนันผู้ใหญ่บ้านเป็นครั้งที่ 2 และทำงานต่ออีกเป็นระยะเวลา 5 ปี ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งกำนันผู้ใหญ่บ้านนั้น พ่ออนันต์ก็ได้มีผู้ช่วย 3 คนด้วย ประกอบด้วย สารวัตรกำนัน 2 คนและแพทย์กำนัน 1 คน
พ่ออนันต์รู้สึกดีใจและภูมิใจที่ได้รับเลือกตั้งจากเสียงประชาชนทั้ง 8 หมู่บ้านให้ดำรงตำแหน่งกำนันผู้ใหญ่บ้านอีกครั้ง และจะตั้งใจทำหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถและจะมุ่งมั่นพัฒนาชุมชนในตำบลริมใต้ให้เจริญมากขึ้นและเพื่อให้คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดียิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อเป็นชุมชนที่เข้มแข็งพึ่งตนเองได้
ประชากรของบ้านดวงดีเป็นประชากรที่อาศัยในพื้นที่มาแต่เติมและผู้ที่ย้ายเข้ามาอยู่อาศัยใหม่ ซึ่งจะมีลักษณะความเป็นอยู่ที่พึ่งพาอาศัยกันและกันบางส่วน แต่ส่วนมากนั้นจะต่างคนต่างอยู่ เนื่องจากลักษณะการประกอบอาชีพ บางครอบครัวไม่มีญาติพี่น้องอาศัยอยู่ในละแวกนี้หรือแยกมาสร้างครอบครัวใหม่ พื้นที่ของบ้านแต่ละหลังมีรั้วบ้านแบ่งเขตชัดเจนบางหลังอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเครือญาติในละแวกรั้วเดียว ทุนชุมชนที่มี ได้แก่ แม่น้ำแม่ริมที่ไหลผ่านทางทิศเหนือ มีแหล่งน้ำธรรมชาติจากน้ำตกแม่สาทางทิศตะวันตก และแม่น้ำปิงไหลผ่านทางทิศตะวันออก มีแหล่งเพาะปลูกที่สำหรับการดำรงชีวิต มีผู้นำทั้งตามธรรมชาติและได้รับการแต่งตั้งเพื่อบริหารงานชุมชน มีการรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือในงานต่าง ๆ ของหมู่บ้าน สะท้อนการมีทุนทางโครงสร้าง นอกจากนั้นชุมชนมีทุนทางกายภาพ เช่น โครงสร้างพื้นฐานที่ดี มีระบบไฟฟ้า น้ำเพื่อการอุปโภค เป็นต้น
ใช้ภาษาถิ่นได้แก่ ภาษาเหนือ และเกือบทั้งหมดของประชากรบ้านดวงดีเข้าใจภาษากลาง สามารถสื่อสารได้
หมู่บ้านดวงดีประกอบด้วยโครงสร้างความสัมพันธ์ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองโดยบริบทของชุมชนเป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท มีคณะกรรมการหมู่บ้านเพื่อพัฒนาหมู่บ้าน ประชาชนในหมู่บ้านอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและเป็นแกนนำให้กับหมู่บ้าน จัดการและจัดกิจกรรมชุมชนในด้านต่าง ๆ ให้บรรลุเป้าหมาย รับเรื่องทุกข์ แก้ไขความขัดแย้งในชุมชน รวมถึงการนำเรื่องร้องเรียนแก้ไขปัญหา ร่วมกับหน่วยงานอื่น ดูแลและจัดการบริหารงานต่าง ๆ ภายในหมู่บ้านตามที่ได้รับมอบหมาย ปรึกษาหารือต่อเทศบาล อำเภอ จังหวัด เกี่ยวกับกิจกรรมที่ปฏิบัติในหมู่บ้านเข้าร่วมประชุมเพื่อพิจารณา ปรึกษา จัดสรรงบประมาณ เข้าร่วมประชุมเพื่อพิจารณา ช่วยเหลืองานต่าง ๆ ในหมู่บ้าน ดูแลและจัดการการเรื่องราวภายในชุมชน
มีการรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือในงานต่าง ๆ ของหมู่บ้าน ได้รับรายได้เสริมจากการประดิษฐ์ดอกไม้ดินและแปรรูปอาหารจากสมุนไพรจำหน่ายกิจกรรมทางเศรษฐกิจของชาวบ้านในบ้านดวงดี ส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นข้าราชการบำนาญ รองลงมาคือ ค้าขาย โดยส่วนใหญ่มีการค้าขายของชำ ขายอาหารตามสั่งโดยมีการเปิดร้านทุกวัน รองถัดลงมาคือ รับจ้างทั่วไป เช่น รับจ้างอื่น ๆ ลูกจ้างประจำ ข้าราชการและเกษตรกร ตามลำดับ ซึ่งเกษตรกรในหมู่บ้านนี้ส่วนใหญ่มีการทำนาปี
บ้านดวงดี หมู่ที่ 2 ตำบลริมใต้ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2565 มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 259 หลังคาเรือน เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยมีอายุอยู่ในช่วงอายุในวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุตามลำดับ ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
ประชาชนในชุมชนมีสิทธิเสรีภาพในการอยู่อาศัย ในฐานะพลเมืองไทย ได้รับการคุ้มครอง ได้รับสิทธิในการศึกษา รวมทั้งสิทธิอื่น ๆ เช่น การรักษาพยาบาล เป็นต้น
การใช้น้ำในชุมชนส่วนใหญ่ใช้น้ำประปาส่วนภูมิภาค ส่วนน้ำที่ใช้บริโภคส่วนใหญ่จะซื้อน้ำบรรจุขวดบริโภค และบางส่วนมีเครื่องกรองน้ำติดตั้งภายในครัวเรือนจึงใช้น้ำประปาแล้วนำมากรองบริโภคหรืออุปโภค มีถนน และระบบบริการขนส่งสาธารณะจากอำเภอ เข้าสู่ตัวจังหวัด มีระบบไปรษณีย์/การสื่อสาร หรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์ทั้งภาครัฐและเอกชน
ระบบการแพทย์ภาคประชาชน (Popular Sector)
ชุมชนบ้านดวงดี ประชาชนในหมู่บ้านมีการดูแลตนเองโดยพบว่า การรับประทานอาหารของประชาชนในชุมชนนั้นเป็นอาหารที่ได้จากการซื้อตามตลาด เนื่องจากหมู่บ้านอยู่ใกล้ตลาดแม่ริมและตลาดบ้านทรายมูล และอาหารที่ได้จากธรรมชาติ โดยในบางหลังคาเรือนจะปลูกผักสวนครัวไว้ใช้ประกอบอาหาร เช่น ผักชี พริก กะเพรา โหระพา ตำลึง หรือผักสมุนไพรเพื่อใช้บรรเทาอาการหรือรักษาโรค เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ ขมิ้น เป็นต้น
ด้านการออกกำลังกาย ในชุมชนจะมีประชาชนบางส่วนออกกำลังกายด้วยการเดิน วิ่ง ปั่นจักรยาน และแอโรบิก ตามความสะดวกของแต่ละบุคคล
ประชาชนในชุมชนมีการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคโดยหากสมาชิกในครัวเรือนมีการเจ็บป่วย เพียงเล็กน้อย เช่น มีไข้ หวัด น้ำมูก ไอ ปวดหัว ปวดท้อง จะมีการใช้ยาสามัญประจำบ้านและซื้อยาจากร้านยาและร้านขายของชำ ซึ่งยาที่มักจะใช้ได้แก่ ยาพาราเซตามอล ยาไทลินอล ยาธาตุน้ำขาวตรากระต่ายบิน เป็นต้น มีการใช้ยาสมุนไพรอยู่บ้างเป็นส่วนน้อย ซึ่งยาสมุนไพรที่ใช้ เช่น การใช้ฟ้าทะลายโจรแก้ไข้หวัด หรือ การดื่มน้ำขิงแก้ไอ ให้ชุ่มคอ
อาสาสมัครหมู่บ้าน (อสม.) ที่มีส่วนช่วยดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชน สามารถช่วยตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้กับคนในชุมชนได้ เช่น การวัดระดับน้ำตาลโดยการเจาะเลือดที่ปลายนิ้วมือ และการวัดความดันโลหิต รวมทั้งสามารถสอนวิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเองให้กับสตรีที่มีอายุ 20ปี ขึ้นไปในชุมชน เพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมในชุมชนได้ และมีการออกเยี่ยมบ้านติดตามผู้ที่มีปัญหาสุขภาพร่วมกับบุคลากรทางสาธารณสุข
ระบบการแพทย์พื้นบ้าน (Folk sector)
ชุมชนบ้านดวงดีในปัจจุบันยังคงมีการใช้ระบบการแพทย์พื้นบ้านอยู่แต่มีเป็นส่วนน้อย โดยประชาชนในชุมชนบางส่วนซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จะเข้ารับบริการนวดจับเส้นในร้านนวดระแวกใกล้เคียงชุมชน ส่วนหมอพื้นบ้านในลักษณะการดูร่างทรง หรือการรักษาโดยมีการท่องคาถาและผูกข้อมือ จากการสอบถามจะมีอยู่ในหมู่บ้านใกล้เคียง (หมู่1) ซึ่งในปัจจุบันไม่พบในชุมชนบ้านดวงดี หมู่2 การใช้บริการในระบบสุขภาพนี้ในหมู่บ้านดวงดีปัจจุบันจึงมีน้อย เนื่องจากปัจจุบันมีระบบสุขภาพการแพทย์แผนปัจจุบันที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น น่าเชื่อถือ ทำให้ประชาชนได้รับการรักษาอย่างทั่วถึง จึงทำให้ประชาชนเลือกเข้ารับการรักษาด้วยระบบการแพทย์สมัยใหม่มากกว่าระบบการแพทย์พื้นบ้าน
ระบบการแพทย์สมัยใหม่ (Professional Sector)
ประชาชนในหมู่บ้านดวงดี เมื่อมีอาการเจ็บป่วยแล้วอาการไม่ทุเลา จะมีการเข้ารับการรักษาตามสิทธิ์การรักษาของตนซึ่งส่วนใหญ่จะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลนครพิงค์ เนื่องจากใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (สิทธิบัตรทอง) และโรงพยาบาลรัฐอื่นๆ เช่นโรงพยาบาลมหาราชนคร เชียงใหม่ โรงพยาบาลค่ายกาวิละ เชียงใหม่ โรงพยาบาลสันทราย รวมทั้งมีการรับยาต่อเนื่องที่รพสต.ขอนตาลในบางราย ในกรณีที่ใช้สิทธิประกันสังคม หรือสิทธิอื่น ๆ เช่น ประกันชีวิต ประชาชนบางส่วนจะไปใช้บริการที่โรงพยาบาลเอกชนตามสิทธิ์เช่น โรงพยาบาลลานนา หรือโรงพยาบาลแมคคอร์มิค และในประชาชนบางส่วนที่ต้องการความรวดเร็วในการรักษาก็จะเลือกใช้บริการคลินิกในละแวกใกล้เคียงชุมชน
ส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาในระดับประถมศึกษาสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ และในระดับปริญญาตรี/มัธยมศึกษา ในกลุ่มผู้ใหญ่
ชาวบ้านดวงดีจะมีสิ่งที่คอยยึดเหนี่ยวจิตใจและสักการะกราบไหว้ คือ ศาลพ่อแคว่น เป็นศาลที่ตั้งอยู่หน้าวัดดวงดีใต้ต้นโพธิ์เป็นศาลของผู้ที่คอยดูแลหมูบ้านดวงดีทรายมูลในอดีต คือ นายอนันต์ ประสงค์ จะมีการเลี้ยงศาลในช่วงวันสงกรานต์ สิ่งที่ใช้เลี้ยงจะเป็นเหล้าแดงและหัวหมู แต่หากจะไปกราบไหว้บูชาหรือขอพรให้ใช้น้ำเปล่า ของคาว ของหวาน อย่างละ 1 อย่าง ธูปคนละ 12 ดอก พร้อมดอกไม้ ข้าวตอก เทียน และในวัดจะมีศาลพ่อปู่ซึ่งเป็นศาลคู่วัด สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและให้ชาวบ้านสักการะบูชา เวลาเลี้ยงศาลจะใช้เหล้าขาวและหัวหมู ส่วนใหญ่มักจะทำบุญคู่กับงานบุญใหญ่ที่ทางวัดได้จัดขึ้น ศาลทั้งสองได้สร้างขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันคือในปีพุทธศักราช 2539 เพื่อให้ศาลพ่อแคว่นเป็นศาลคู่บ้านและศาลพ่อปู่เป็นศาลคู่วัด
มีแม่น้ำแม่ริมไหลผ่านทางทิศเหนือ มีแหล่งน้ำธรรมชาติจากน้ำตกแม่สาทางทิศตะวันตก และแม่น้ำปิงไหลผ่าน ช่วยส่งเสริมการประกอบอาชีพการทำนา ทำสวน โดยมีการทำนาในฤดูหลังการเก็บเกี่ยวข้าว
ศาลพ่อแคว่นเป็นศาลคู่บ้านและศาลพ่อปู่เป็นศาลคู่วัด
นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีเชียงใหม่. (2565). รายงานการพัฒนาอนามัยชุมชน บ้านดวงดี หมู่ที่ 2 ตำบลริมใต้ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: สาขาวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่.