สายธารของแม่น้ำสายใหญ่ที่แยกออกมาเป็นแควแม่น้ำป่าสัก จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ นามว่า "บ้านแควป่าสัก"
บ้านแควป่าสัก เดิมเรียกว่า "บ้านแม่น้ำ" เนื่องจากที่ตั้งหมู่บ้านติดอยู่กับแม่น้ำป่าสัก โดยแม่น้ำมีลักษณะแยกออกมาเป็นแคว ต่อมาจึงเรียกว่า "บ้านแควป่าสัก"
สายธารของแม่น้ำสายใหญ่ที่แยกออกมาเป็นแควแม่น้ำป่าสัก จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ นามว่า "บ้านแควป่าสัก"
บ้านแควป่าสัก หมู่ที่ 9 ตำบลศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เดิมเรียกว่า บ้านแม่น้ำ เนื่องจากติดกับแม่น้ำสัก ที่แยกออกมาเป็นแคว ต่อมาเรียกว่า บ้านแควป่าสัก สภาพทั่วไปเป็นที่ราบติดกับแม่น้ำป่าสักยาวตลอดหมู่บ้าน นางวิเชียร โพธิ์ทอง อายุ 54 ปี (สัมภาษณ์ : 2563 ) กล่าวว่า เดิมหมู่บ้านนีมี้ชื่อว่า บ้านแม่น้ำ เนื่องจากอยู่ติดกับแม่น้ำป่าสัก โดยแม่น้ำป่าสักแห่งนี้แยกเป็นสายสายออกมาจากแม่น้ำสายใหญ่เรียกว่า แคว จึงมีการตั้งชื่อใหม่ว่า บ้านแควป่าสัก ซึ่งสอดคล้องกับคำบอกเล่าของ นางสวรส แสงสด อายุ 47 ปี, นางกาหลง ม่วงสวน อายุ 60 ปี, นางเกียว ม่วงสวน อายุ 77 ปี และนางอริษา แก่นสงสัย ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน อายุ 38 ปี (สัมภาษณ์ : 2563)
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 7 ตำบลนาสนุ่น
- ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านท่าไม้ทอง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านบึงนาจาน หมูที่ 6, บ้านหลักเมือง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 7 ตำบลโคกสะอาด
การคมนาคม แยกขวามือเข้าทางหลวงหมายเลข 21 แล้วแยกใช้เส้นทางลาดยางมุ่งหน้าเข้าสู่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ การเดินทางสะดวกโดยใช้เส้นทางรถยนต์
ยังคงมีวิถีชีวิตปลูกผัก ทำนา ทำไร่ เพราะบ้านแต่ละหลังคาเรือนอยู่ห่างกัน และมีพื้นที่ไร่นาเป็นของตนเอง บางส่วนประกอบอาชีพเป็นลูกจ้างในโรงงานน้ำตาล
ประเพณีวัฒนธรรมในท้องถิ่นที่ยังคงปรากฏและสืบสาน อาทิ พิธีทำบุญกลางบ้าน บวงสรวงเจ้าพ่อศรีเทพ นอกจากนั้นเป็นไปตามแบบประเพณีไทย
1) นายอำนาจ โพธิ์ทอง ผู้ใหญ่บ้าน
สุนทรีย์ รอดดิษฐ์. (2563). การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชนรอบอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ โดยการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน (รายงานการวิจัย). เพชรบูรณ์: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.