Advance search

ปลูกข้าวพันธุ์ดี การเกษตรปลอดสารพิษ พัฒนาคุณภาพด้วยวิถีพอเพียง คิดอยู่อย่างเอื้ออาทร ราษฎรมีส่วนร่วมในการพัฒนา

ทางหลวงชนบท มค2005
บ้านติ้ว
เขวา
เมืองมหาสารคาม
มหาสารคาม
กระติบ
ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล
18 พ.ค. 2023
ทนงศักดิ์ เลิศพิพัฒน์วรกุล
18 พ.ค. 2023
บ้านติ้ว

ในอดีตบริเวณหมู่บ้านมีป่าหนาทึบและมีต้นไม้ที่เกิดขึ้นเยอะคือต้นติ้ว ชาวบ้านจึงเรียกบ้านแห่งนี้ว่า "บ้านป่าติ้ว" ต่อมาเมื่อเวลาผ่านไป ต้นไม้น้อยใหญ่ในหมู่บ้านก็เริ่มน้อยลง ป่าติ้วที่เคยหนาทึบก็หมดไป ชื่อบ้านป่าติ้วปัจจุบันจึงเหลือเพียง "บ้านติ้ว" 


ชุมชนชนบท

ปลูกข้าวพันธุ์ดี การเกษตรปลอดสารพิษ พัฒนาคุณภาพด้วยวิถีพอเพียง คิดอยู่อย่างเอื้ออาทร ราษฎรมีส่วนร่วมในการพัฒนา

บ้านติ้ว
ทางหลวงชนบท มค2005
เขวา
เมืองมหาสารคาม
มหาสารคาม
44000
16.171781
103.356135
องค์การบริหารส่วนตำบลเขวา

บ้านติ้ว หมู่ที่ 12 ตำบลเขวา เดิมชื่อบ้านโคกกลาง อยู่ห่างไกลจากแหล่งน้ำ  ชาวบ้านทนความแห้งแล้งของหมู่บ้านไม่ได้ จึงอพยพตั้งถิ่นฐานใหม่  กลุ่มหนึ่งอพยพไปตั้งถิ่นฐานที่บ้านสระแก้ว (บ้านเชียนเหียนในปัจจุบัน) อีกกลุ่มหนึ่งอพยพไปตั้งถิ่นฐานที่บ้านหินตั้ง และกลุ่มสุดท้ายอพยพไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่แม่น้ำ  เนื่องจากบริเวณในหมู่บ้านมีป่าหนาทึบและมีต้นไม้ที่เกิดขึ้นเยอะคือต้นติ้ว  ชาวบ้านจึงเรียกบ้านแห่งนี้ว่า บ้านป่าติ้ว ต่อมาเมื่อเวลาผ่านไป ต้นไม้น้อยใหญ่ในหมู่บ้านก็เริ่มน้อยลง ป่าติ้วที่เคยหนาทึบก็หมดไป ชื่อบ้านป่าติ้วจึงเหลือเพียงแค่ บ้านติ้วใน ในปัจจุบันนี้ (ดวงเดือน สุธรรมมา, 2565)

บ้านติ้วมีผู้ใหญ่บ้านตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันดังนี้

(1) นายหมื่น  ปาละนิตย์

(2) นายคำ ไชยโคตร

(3) นายหาญพรม ไชยพรม

(4) นายสมร ไชยโคตร   

(5) นายประนอม ศรีบัว

(6) นายอภิชาต ปาละนิตย์

(7) นายกฤติเดช  สุจันทร์ (ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน)

อาณาเขต

ทิศเหนือ  จรดบ้านลาด ตำบลลาดพัฒนา

ทิศใต้  จรดบ้านดงน้อยและบ้านร่วมใจ ตำบลแวงน่าง

ทิศตะวันออก  จรดบ้านกุดซุย ตำบลลาดพัฒนาและบ้านเชียงเหียน หมู่ที่ 3

ทิศตะวันตก  จรดบ้านหม้อ หมู่ที่ 11

จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 161 คน จำนวนประชากร 426 คน (หญิง 202 คน ชาย 224 คน) (องค์การบริหารส่วนตำบลเขวา, 2562?)

อาชีพของชุมชนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพการทำนาเป็นหลัก อาชีพเสริมคือรับจ้างทั่วไป

กลุ่มทำกระติบข้าว - เนื่องจากชาวบ้านได้ไปอบรมเรื่องงานฝีมือในอำเภอ การหารายได้เสริมรองยามว่างเว้นจากการทำนา จึงรวมตัวกันไปอบรมที่อำเภอ แล้วจัดตั้งเป็นกลุ่มขึ้นมา เพื่อหารายได้เสริมจากการทำกระติบข้าว (ดวงเดือน สุธรรมมา, 2565)

ดำเนินวิถีชีวิตตามวัฒนธรรมท้องถิ่นของภาคอีสานคือ “ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่” เป็นประเพณีสิบสองเดือนที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา และนอกจากนี้ก็มีการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือ เป็นสิ่งรักษาของหมู่บ้านในชุมชนให้เกิดความสงบร่มเย็น ตามความเชื่อ และการบอกเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน (ดวงเดือน สุธรรมมา, 2565)

เดือนอ้าย – บุญเข้ากรรมเดือนยี่ – บุญคูณลานเดือนสาม – บุญข้าวจี่เดือนสี่ – บุญพระเวสเดือนห้า – บุญสงกรานต์เดือนหก – บุญบั้งไฟเดือนเจ็ด – บุญซำฮะเดือนแปด – บุญเข้าพรรษาเดือนเก้า – บุญข้าวประดับดินเดือนสิบ – บุญข้าวสากเดือนสิบเอ็ด – บุญออกพรรษาเดือนสิบสอง - บุญกฐิน

1.นายศรี ศรีสารคาม 

ที่อยู่ บ้านเลขที่ 22 หมู่ 24 ต.เขวา อ.เมือง จ.มหาสารคาม

ปราชญ์ชาวบ้านด้านงานฝีมือ คือ ทำลอบดักปลา

ปราชญ์ชาวบ้านด้าน หมอสูตรขวัญ

2. นายไพบูลย์ พลเสน 

ที่อยู่ บ้านเลขที่ 33 ม. 12 ต.เขวา อ.เมือง จ.มหาสารคาม

ปราชญ์ชาวบ้านด้านสมุนไพร คือ ยาสมุนไพรต้ม ยาหม้อ

3. นายธง สุจันทร์ 

ที่อยู่ บ้านเลขที่ 13 ม. 12 ต.เขวา อ.เมือง จ. มหาสารคาม

ปราชญ์ชาวบ้านด้าน ผู้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น คือ ตีกลองยาว

4. นางสงวน สุจันทร์

ที่อยู่บ้านเลขที่ 51 ม. 12 ต.เขวา อ.เมือง จ.มหาสาคาม

ปราชญ์ชาวบ้านด้านการเกษตร คือ เลี้ยงกบ

(ที่มา: ดวงเดือน สุธรรมมา, 2565)

วิสัยทัศน์ของหมู่บ้าน

ปลูกข้าวพันธุ์ดีการเกษตรปลอดสารพิษ พัฒนาคุณภาพด้วยวิถีพอเพียง  คิดอยู่อย่างเอื้ออาทร ราษฎรมีส่วนร่วมในการพัฒนา

อัตลักษณ์ของชุมชม        

อัตลักษณ์ของชุมชมภูมิปัญญาวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของบ้านติ้วหมู่ที่ 12  คือ การทำนาและการเลี้ยงสัตว์

สถานที่สำคัญของหมู่บ้าน

- วัดโพธิ์ศรีบ้านติ้ว

- ดอนปู่ตา

- โรงเรียนบ้านติ้วสันติสุข

ผลิตภัณฑ์ชุมชน

- การทำกระติบข้าว ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำเป็นอาชีพเสริมและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ทำให้มีรายได้เสริมจากการทำกระติบข้าว

อุปกรณ์การทำกระติบข้าว  (1) ไม้ไผ่บ้าน (2) มีดอีโต้ (3) ด้ายไนล่อน (4) เข็มเย็บผ้าขนาดใหญ่

ขั้นตอนการทำกระติบข้าว

(1) เตรียมไม้ไผ่ นำปล้องไม้ไผ่มาตัดหัวท้าย ตัดเอาข้อออก

1_646f5003ac8d9.jpg

(2) ผ่าไม้ไผ่ให้เป็นซีกทำเส้นตอกกว้างประมาณ2-3 ซ.ม. ขูดให้เรียบและบาง

2_646f5003acc89.jpg

(3) นำเส้นตอกที่กว้างประมาณ2-3 ซ.ม. มาผ่าให้เป็นเส้นเล็กๆเพื่อที่จะสานทำกระติบข้าว

3_646f5003ace54.jpg

(4) นำเส้นตอกที่ได้มาสานเป็นรูปร่างกระติบข้าว

4_646f5003acfa2.jpg

5_646f5003ad10e.jpg

(5) การทำฝาปิด โดยจักเส้นตอกที่มีความกว้าง 1 นิ้ว สานเป็นลายขัด

5_1_646f5003ad8a9.jpg

(6) นำฝาปิดหัวท้ายมาตัดเป็นวงกลม มาใส่เข้าที่ปลายทั้งสองข้าง

6_646f5003ada20.jpg

7_646f5003adb42.jpg

(7) ใช้ด้ายไนล่อน เข็มเย็บเข้าด้วยกันรอบฝาปิดหัวท้าย จะได้กระติบข้าวที่สำเร็จเรียบร้อย สามารถนำมาใช้และจำหน่ายได้

7_646f5003adc5e.jpg

9_646f5003ade1b.jpg

(ที่มา: ดวงเดือน สุธรรมมา, 2565)

ภาษาไทยและภาษาถิ่นอีสาน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ดวงเดือน สุธรรมมา. (2565). "โครงการศึกษาข้อมูลท้องถิ่นบ้านติ้ว หมู่ที่ 12  ต.เขวา อ.เมือง  จ.มหาสารคาม." (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 16 พฤษภาคม 2565. เข้าถึงจาก http://202.29.22.167/newlocaldb/stdlocal/2557/duangduan/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4.php

องค์การบริหารส่วนตำบลเขวา. (2562?). "สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน." (ออนไลน์). ใน แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561-2565)องค์การบริหารส่วนตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. เข้าถึงเมื่อ 18 พฤษภาคม 2566. เข้าถึงจาก http://www.tumbonkhwao.go.th/page.php?menuid=7