Advance search

วัดศรีบุญเรือง วัดเก่าแก่ที่ถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่ พ.ศ. 2475 โดยท้าวบุญเรือง เป็นพุทธสถานศูนย์รวมจิตใจของคนในหมู่บ้าน

หมู่ที่ 1
บ้านศรีบุญเรือง
แม่สา
แม่ริม
เชียงใหม่
เอกชัย กันธะวงศ์
19 พ.ค. 2023
โรชินี อุปรา
20 พ.ค. 2023
เอกชัย กันธะวงศ์
20 พ.ค. 2023
บ้านศรีบุญเรือง

ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ของบ้านศรีบุญเรืองเล่าว่า เดิมบ้านศรีบุญเรือง ชื่อว่า “ชุมชนข่วงเปา”เนื่องจากเดิมมีสภาพเป็นป่าต้นเปาเป็นจำนวนมาก จึงตั้งชุมชนว่า “ชุมชนข่วงเปา” และก่อตั้งขึ้นเมื่อราว 200 ปีก่อนโดยท้าวบุญเรือง เดิมทีเป็นสถานที่พักแรมระหว่างทางของพ่อค้าจากเมืองฝาง (ทางผ่านเข้าสู่ตัวเมือง) จนกลายเป็นที่พักอาศัยเป็นชุมชนขนาดเล็ก โดยประชากรในหมู่บ้านจะประกอบอาชีพทำไร่ทำนา ประชากรไม่หนาแน่น จากนั้นในปี 2395 ได้มีการสร้างวัดขึ้น โดยมีท้าวบุญเรือง คหบดีในหมู่บ้านได้ร่วมกันสร้างถวายไว้ ในปีพ.ศ. 2475 ต่อมาทางการได้มีแนวคิดให้วัดหลายๆ วัดเปลี่ยนชื่อเป็นสากลขึ้น จึงเปลี่ยนเป็น “วัดศรีบุญเรือง” เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ ท้าวบุญเรืองผู้ก่อตั้งวัด และชื่อของหมู่บ้านจึงถูกเปลี่ยนมาตามชื่อของวัดในที่สุด


ชุมชนชนบท

วัดศรีบุญเรือง วัดเก่าแก่ที่ถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่ พ.ศ. 2475 โดยท้าวบุญเรือง เป็นพุทธสถานศูนย์รวมจิตใจของคนในหมู่บ้าน

บ้านศรีบุญเรือง
หมู่ที่ 1
แม่สา
แม่ริม
เชียงใหม่
50180
18.90668615
98.95131871
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สา

ผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านได้เล่าถึงประวัติของตำบลแม่สาว่า ในสมัยพระเจ้าติโลกราชแห่งเมืองเชียงใหม่และสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1985 – พ.ศ. 2089 ) ได้ยกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ ในขณะเดียวกันนั้นกองทัพเงี้ยวก็ยกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่เช่นเดียวกัน ทั้งสองกองทัพไม่สามารถตีเมืองเชียงใหม่ได้ กองทัพเงี้ยวจึงได้ถอนทัพไปตั้งทัพบริเวณทางเหนือของเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นแหล่งที่ตั้งของตำบลแม่สาในปัจจุบัน ในขณะนั้นกองทัพได้ตั้งทัพอยู่ในบริเวณดังกล่าวเป็นเวลา 7 วัน จากนั้นเมื่อถึงเดือนยี่ ขึ้น 4 ค่ำ วันพฤหัสบดีจึงได้ยกทัพกลับ

ในส่วนของหมู่ที่ 1 บ้านศรีบุญเรือง ตำบลแม่สา อำเภอแม่ริม ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเล่าต่อ ๆ กันมาว่า บ้านศรีบุญเรือง เดิมชื่อว่า ชุมชนข่วงเปา เนื่องจากเดิมมีสภาพเป็นป่ารกชัฏที่มีต้นเปาขึ้นอย่างหนาแน่น ชาวบ้านในละแวกนั้นจึงเรียกชื่อชุมชนว่า “ข่วงเปา” ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อราว 200 ปีก่อน โดยท้าวบุญเรือง เดิมทีเป็นสถานที่พักแรมระหว่างทางของพ่อค้าจากเมืองฝาง (เมืองทางผ่าน) จนกลายเป็นที่พักอาศัยเป็นชุมชนขนาดเล็ก ประชากรในหมู่บ้านส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทำไร่ทำนา มีจำนวนประชากรไม่หนาแน่น จากนั้นในปี พ.ศ. 2395 ได้มีการสร้างวัดขึ้น โดยมีท้าวบุญเรือง คหบดีในหมู่บ้านได้ร่วมกันสร้างถวายไว้ ในปี พ.ศ.2475 ทางการได้มีแนวคิดให้วัดหลาย ๆ วัดเปลี่ยนชื่อเป็นสากลขึ้น จึงเปลี่ยนเป็น “วัดศรีบุญเรือง” เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ ท้าวบุญเรือง ผู้ก่อตั้งวัด จากนั้นชื่อชุมชนจึงถูกเรียกตามชื่อวัดต่อไปจนถึงปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2514 ได้เริ่มมีการขอไฟฟ้าและน้ำประปาเข้ามาใช้ในหมู่บ้าน ทั้งยังปรับปรุงถนนลูกรังหน้าหมู่บ้านให้กลายเป็นถนนคอนกรีตในเวลาต่อมาเพื่อความสะดวกในการเดินทางและการขนส่งต่าง ๆ ในช่วงประมาณ 60 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจเริ่มมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ประชาชนในหมู่บ้านจึงเปลี่ยนอาชีพจากการทำเกษตรกรรม มาทำอาชีพรับจ้างเป็นส่วนใหญ่ หลายคนได้ขายที่ดินทำกินของตัวเองให้กับนายทุนที่เข้ามากวาดซื้อที่ดินเขตชานเมืองเพื่อทำธุรกิจค้าขายและรีสอร์ท ประกอบกับเริ่มมีคนต่างถิ่นย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่มากขึ้น

       ผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านได้เล่าถึงประวัติของตำบลแม่สาว่า ในสมัยพระเจ้าติโลกราชแห่งเมืองเชียงใหม่และสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1985 – พ.ศ. 2089 ) ได้ยกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ ในขณะเดียวกันนั้นกองทัพเงี้ยวก็ยกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่เช่นเดียวกัน ทั้งสองกองทัพไม่สามารถตีเมืองเชียงใหม่ได้ กองทัพเงี้ยวจึงได้ถอนทัพไปตั้งทัพบริเวณทางเหนือของเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นแหล่งที่ตั้งของตำบลแม่สาในปัจจุบัน ในขณะนั้นกองทัพได้ตั้งทัพอยู่ในบริเวณดังกล่าวเป็นเวลา 7วัน จากนั้นเมื่อถึงเดือนยี่ ขึ้น 4 ค่ำ วันพฤหัสบดีจึงได้ยกทัพกลับ

       ในส่วนของหมู่ที่ 1 บ้านศรีบุญเรือง ตำบลแม่สา อำเภอแม่ริม ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเล่าต่อๆกันมาว่า บ้านศรีบุญเรือง เดิมชื่อว่า ชุมชนข่วงเปา เนื่องจากเดิมมีสภาพเป็นป่ารกชักที่มีต้นเปาขึ้นอย่างหนาแน่น ชาวบ้านในละแวกนั้นจึงเรียกชื่อชุมชนว่า “ข่วงเปา” ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อราว 200 ปีก่อนโดยท้าวบุญเรือง เดิมทีเป็นสถานที่พักแรมระหว่างทางของพ่อค้าจากเมืองฝาง (เมืองทางผ่าน) จนกลายเป็นที่พักอาศัยเป็นชุมชนขนาดเล็ก ประชากรในหมู่บ้านส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทำไร่ทำนา มีจำนวนประชากรไม่หนาแน่น จากนั้นในปี 2395 ได้มีการสร้างวัดขึ้น โดยมีท้าวบุญเรือง คหบดีในหมู่บ้านได้ร่วมกันสร้างถวายไว้ ในปี พ.ศ.2475 ทางการได้มีแนวคิดให้วัดหลายๆวัดเปลี่ยนชื่อเป็นสากลขึ้น จึงเปลี่ยนเป็น “วัดศรีบุญเรือง” เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ ท้าวบุญเรืองผู้ก่อตั้งวัด จากนั้นชื่อชุมชนจึงถูกเรียกตามชื่อวัดต่อไปจนถึงปัจจุบัน

       ในปี 2514 ได้เริ่มมีการขอไฟฟ้าและน้ำประปาเข้ามาใช้ในหมู่บ้าน ทั้งยังปรับปรุงถนนลูกรังหน้าหมู่บ้านให้กลายเป็นถนนคอนกรีตในเวลาต่อมาเพื่อความสะดวกในการเดินทางและการขนส่งต่าง ๆ ในช่วงประมาณ 60 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจเริ่มมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ประชาชนในหมู่บ้านจึงเปลี่ยนอาชีพจากการทำเกษตรกรรม มาทำอาชีพรับจ้างเป้นส่วนใหญ่ หลายคนได้ขายที่ดินทำกินของตัวเองให้กับนายทุนที่เข้ามากวาดซื้อที่ดินเขตชานเมืองเพื่อทำธุรกิจค้าขายและรีสอร์ท ประกอบกับเริ่มมีคนต่างถิ่นย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่มากขึ้น

 

บ้านศรีบุญเรือง หมู่ 1 ตำบลแม่สา อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่  มีจำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด 306 หลังคาเรือน ประชากรของหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นคนพื้นเมือง (ล้านนา) ซึ่งสืบทอดเชื้อสายมาจากผู้ที่มาตั้งรกรากอยู่ในอดีต บางส่วนเป็นคนจากพื้นที่อื่นย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่ โดยเฉพาะเขตหมู่บ้านจัดสรร และตลอดสองฝั่งถนนทางหลวงหมายเลข 107 เนื่องจากเข้ามาทำการค้าขายหรือเปิดธุรกิจส่วนตัว จากข้อมูลจำนวนประชากรของเทศบาลตำบลแม่ริม พ.ศ. 2565 บ้านศรีบุญเรืองมีประชากรทั้งหมด 852 คน แยกเป็นชาย จำนวน 385 คน และหญิงจำนวน 467 คน ลักษณะครอบครัวส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยว 

ผู้คนในชุมชนบ้านศรีบุญเรือง มีการรวมกลุ่มทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ดังนี้

กลุ่มที่เป็นทางการ

          กลุ่มที่เป็นทางการ เป็นการรวมตัวกันขององค์กรที่มีความเกี่ยวข้างกับฝ่ายราชการ และเป็นการรวมกลุ่มกันเพื่อผลประโยชน์ของชุมชน ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 6 กลุ่มได้แก่

1. กลุ่มผู้นำชุมชน มีสมาชิกทั้งหมด 14 คน เป็นตัวกลางในการประสานงานระหว่างองค์กรส่วนท้องถิ่นต่างๆทั้งภายในและภายนอกชุมชน เป็นผู้นำในหมู่บ้านเพื่อดูแลให้สมาชิกในชุมชนปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และข้อตกลงในชุมชน ตลอดจนเป็นคนประสานแจ้งข่าวสารทางราชการให้ประชาชนในชุมชนทราบ ดูแลรับเรื่องร้องทุกข์ของประชาชนในชุมชน จัดประชุมในหมู่บ้านและนำเสนอโครงการต่างๆของหมู่บ้านแก่หน่วยงานของรัฐบาล และดูแลความสงบเรียบร้อยภายในชุมชน

2. กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) มีสมาชิกทั้งหมด 18 คน มีบทบาทหน้าที่ในการเป็นผู้ประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและประชาชนในชุมชน เพื่อนัดหมายมารับบริการสาธารณะสุข และแจ้งข่าวสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ เป็นผู้เฝ้าระวังและป้องกันปัญหาสาธารณสุข เป็นแกนนำในการชักชนประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เพื่อนพัฒนาคุณภาพชีวิตและพัฒนาสังคมในด้านต่างๆ และมีบทบาทสำคัญในการดำเนินการเชิงรุกทางด้านสุขภาพของประชาชนในชุมชน ได้แก่ การเป็นแกนนำช่วยคัดกรองค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคมะเร็งเต้านม และโรคมะเร็งปากมดลูก เป็นต้น

3. กลุ่มสตรีแม่บ้าน มีสมาชิกทั้งหมด 40 คน มีบทบาทหน้าที่ในการวมกลุ่มทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตามความสนใจของสมาชิกหรือประชาชนในชุมชน เช่น การทำขนมทองม้วนขายเป็นผลิตภัณฑ์ของชุนชน เป็นต้น เป็นแกนนำในการจัดหรือเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน เช่น เทศกาลวันสำคัญทางศาสนา และรวมตัวกันเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ภายนอกชุมชน เช่น การไปจุดเทียนถวายพระพรในวันพ่อแห่งชาติ การเข้ารับเสด็จ หรืองานสินค้าต่างๆที่ทาง อบต หรือจังหวัดจัดขึ้น เป็นต้น

4. กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน มีสมาชิกทั้งหมด 11 คน มีหน้าที่ในการเป็นแกนนำเพื่อจัดหาและบริหารแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านในการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ หรือเพิ่มรายได้ และเป็นเงินทุนในการบรรเทาเหตุฉุกเฉินหรือความจำเป็นเร่งด่วน และมีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการกองทุนเงินกู้ ของสมาชิกภายในหมู่บ้าน และทำบัญชีจัดสรรผลประโยชน์ของกองทุนและกระจายรายได้ให้แก่ผู้ยืมเงิน

5. กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์ มีคณะกรรมการดำเนินงาน 9 คน มีหน้าที่ในการเก็บเงินสงเคราะห์ศพจากสมาชิกคนละ 50 บาท เมื่อมีสมาชิกในหมู่บ้านเสียชีวิตลง รับสมาชิกใหม่ภายในชุมชน ซึ่งสมาชิกต้องเป็นคนในพื้นที่ และมอบเงินช่วยเหลือในการจัดการศพแก่ทายาทหรือผู้รับผลประโยชน์

6. กลุ่มอาสาป้องกันพลเรือน (อปพร.) มีสมาชิกกลุ่มทั้งหมด 15 คน ทำหน้าที่ในการสอดส่องดูแลความเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน ดูแลเกี่ยวกับการป้องกันการเกิดอันตรายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นภายในชุมชน อำนวยความสะดวกในการการเป็นจราจรเมื่อมีงานหรือเทศกาลต่างๆ ที่จัดขึ้นภายในชุมชน ตลอดจนช่วยเหลืองานเจ้าหน้าที่ตำรวจ และองค์กรของภาครัฐ ในการป้องกันอาชญากรรมต่างๆ ในชุมชน

          กลุ่มที่ไม่เป็นทางการ เป็นการรวมตัวกันของประชาชนในหมู่บ้านโดยความสมัครใจ ยินดีให้ความร่วมมือ มีการร่วมแรงร่วมใจ เห็นชอบร่วมกันในการจัดตั้งกลุ่มขึ้น เพื่อนให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน มีจำนวนทั้งหมด 2 กลุ่มได้แก่

1. กลุ่มชมรมเปตอง เป็นการรวมกลุ่มกันของสมาชิกที่เป็นผู้ให้ความสนใจในการออกกำลังกายซึ่งลักษณะในการออกกำลังกายนั้นเป็นกีฬาชนิดหนึ่งที่เล่นโดยการโยนลูกบอลเหล็กให้เข้าใกล้ ลูกแก่น โดยจะมีการจัดกิจกรรมทุกวันตามที่สมาชิกมีความสนใจในการทำกิจกรรมหรือในวันที่มีสภาพอากาศที่ดี โดยออกกำลังกายกันที่

สนามเปตอง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สมาชิกในชุมชน เกิดความสนุกสนานสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในชุมชน เกิดความผ่อนคลายทั้งด้านร่างกายและจิตใจ และช่วยทำให้สุขภาพดีขึ้นจากการออกกำลังกาย

2. กลุ่มชมรมรำวงย้อนยุค เป็นการรวมกลุ่มกันของสมาชิกที่เป็นผู้ให้ความสนใจในการออกกำลังกายซึ่งลักษณะในการออกกำลังกายนั้นจะมีลักษณะการออกกำลังกายแบบเต้นแอโรบิกเคลื่อนไหวไปตามจังหวะเพลงในแบบรำวงในท่าต่างๆ โดยจะมีการจัดกิจกรรมขึ้นในวันที่สมาชิกมีความสนใจในการทำกิจกรรม โดยออกกำลังกายกันที่ลานออกกำลังกายเอนกประสงค์  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สมาชิกในชุมชน เกิดความสนุกสนาน สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในชุมชน เกิดความผ่อนคลายทั้งด้านร่างกายและจิตใจ และช่วยทำให้สุขภาพดีขึ้นจากการออกกำลังกาย

ในรอบปีประชาชนดั้งเดิมของหมู่บ้านศรีบุญเรืองมีวิถีชีวิตทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจที่มีอัตลักษณ์โดดเด่นดังต่อไปนี้

ประเพณีเลี้ยงผีปู่ย่า ซึ่งจะจัดขึ้นประมาณเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนของทุกปี เพื่อกราบไหว้ผีบรรพบุรุษ และยังถือเป็นการรวมตัวกันของหมู่เครือญาติ การเลี้ยงผีปู่ย่าเป็นความเชื่อในลัทธิพิธีบูชาผีบรรพบุรุษที่ ซึ่งเป็นความเชื่อดังดั้มของสังคมล้านนา การทำพีธีเลี้ยงผีปู่ย่าจะมีการบวงสรวงผีบรรพบุรุษด้วยไก่ต้ม เครื่องอาหารคาวหวานทั่วไป และทุกครัวเรือนในหมู่บ้านจะไปรวมตัวกันเพื่อบวงสรวงศาลเจ้าบ้าน ทำความสะอาดศาลเจ้าบ้าน ซึ่งเชื่อว่าเป็นผีที่ปกปักษ์รักษาหมู่บ้านให้สงบสุข

ประเพณีปี๋ใหม่เมือง (สงกรานต์) เป็นประเพณีดั้งเดิมที่อยู่คู่กันคนล้านนามาจนถึงปัจจุบัน จะมีการขนทรายเข้าวัด มีการเตรียมข้าวปลาอาหารเพื่อไปทำบุญตักบาตรที่วัด ในวันที่ 16 เมษายน ของทุกปี จะมีการรวมตัวกันในเครือญาต เพื่อไปรดน้ำดำหัวขอพรญาติผู้ใหญ่ที่เคารพ เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ชีวิต 

นายบุญส่ง  พรหมตัน  (อดีตกำนัน)  อายุ 90 ปี เกิดวันที่จันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2470 เกิดที่ตำบลริมใต้ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ คุณตาบุญส่งย้ายมาอยู่ในเขตพื้นที่บ้านแม่สาหลวงเมื่อประมาณ พ.ศ. 2490 ในสมัยที่ตาย้ายมาตอนนั้นคนในหมู่บ้านมีไม่มากไม่เหมือนตอนนี้ เพราะมีคนต่างถิ่นย้ายมาอยู่เพิ่มขึ้น ถนนเป็นถนนลาดยางไม่เหมือนตอนนี้เป็นถนนคอนกรีต เมื่อตอนที่ย้ายมาใหม่ๆก็ประกอบอาชีพทำสวนถั่ว เลี้ยงหมู เปิดโรงสีข้าว โดยโรงสีของลุงเป็นโรงสีแห่งแรกและแห่งเดียวของหมู่บ้าน นอกจากนี้ตายังค้าขายเนื้อหมูโดยจะไปขายที่ตลาด จนเป็นที่รู้จักของคนในหมูบ้าน เปิดโรงสีได้ประมาณ 10 ปี ก็ถึงครั้งที่ต้องเลือกกำนันของหมู่บ้าน (ปี 2513 ) ในสมัยนั้นตาเล่าว่า กำนันจะต้องมาจากการที่ผู้ใหญ่บ้านของทุกหมู่บ้านในตำบลเป็นคนเลือก ซึ่งตาเป็นคนที่ทุกคนเลือกให้เป็นกำนัน เพราะตาเป็นคนขยัน ชอบช่วยเหลือผู้อื่น จึงได้รับหน้าที่นี้ ตาเล่าต่ออีกว่า ในตอนแรกที่รับตำแหน่งนี้ลุงไม่ได้อยากเป็นเท่าไหร่ เพราะมีงานทำอยู่แล้วเยอะ ไหนต้องทำโรงสี ขายเนื้อหมู  และเพราะเป็นกำนันในสมัยนั้นไม่สบายเหมือนสมัยนี้ค่าตอบแทนก็ไม่มากเท่าเดี๋ยวนี้ เพราะเราต้องช่วยเหลือคนในหมู่บ้านทุกเรื่อง แต่เมื่อคนอื่นๆ ที่เลือกตามาทำหน้าที่ต่างก็ไว้ใจ เชื่อใจตา เมื่อคิดได้แบบนี้คุณตาจึงตั้งใจทำหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่มาตลอด ร่วมกันกับคนอื่นๆพัฒนาหมู่บ้าน ให้มีถนน ไฟฟ้า ภายในหมู่บ้าน มีหลายครั้งที่รู้สึกท้อ รู้สึกเหนื่อย เพราะต้องคอยอยู่เฝ้าเวรยามในหมู่บ้าน คอยจัดหาคนมาอยู่เฝ้าอยู่ตลอด แต่ตาก็มีวิธีทำให้ผ่อนคลายโดยการทำจิตใจให้สบาย ไม่คิดมาก คุณลุงรับหน้าที่จนถึง ปี 2531 ก็เกษียณอายุออกมาอยู่บ้าน รวมระยะเวลาในการทำหน้าที่ 19 ปี  จนเป็นที่นับหน้าถือตาของคนในหมู่บ้านเป็นอย่างดี 

ทุนวัฒนธรรม

วัดศรีบุญเรือง เป็นวัดเก่าแก่ที่ถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่ พ.ศ. 2475 โดยท้าวบุญเรือง เป็นพุทธสถานที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนในหมู่บ้าน

ความเชื่อ ประชาชนในหมู่บ้านศรีบุญเรือง จะนับถือผีปู่ย่าและผีบ้านผีเรือน ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นวิญญาณของบรรพบุรุษที่คอยดูแลลูกหลานในบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข และจะมีประเพณีเลี้ยงผีปู่ย่าเป็นประจำประมาณเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนของทุกปี นอกจากนี้ประชากรในหมู่บ้านศรีบุญเรือง ยังมีการนับถือเจ้าพ่อพิชิตรณภพ (เจ้าพ่อกู่แดง) โดยมีการตั้งศาลเจ้าพ่อพิชิตรณภพ (เจ้าพ่อกู่แดง) ในหมู่บ้าน 

ศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณี ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ เป็นคนพื้นเมืองและบางส่วนเป็นคนในพื้นที่อื่นย้ายฐานเข้ามาอยู่ใหม่ มีการเข้าร่วมกิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันมาฆบูชา วันเข้าพรรษา เป็นต้น และประเพณีที่สำคัญในท้องถิ่น เช่น งานปอยหลวง ประเพณีตานข้าวใหม่

ภาษาเมือง (ล้านนา) เป็นภาษาดังเดิมของคนล้านนา มีทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน (ตั๋วเมือง) แต่ภาษาเขียนได้ถูกลืมเลือนไปและไม่เป็นที่นิยมใช้ในคนสมัยปัจจุบัน มีเพียงผู้เฒ่าผู้แก่บางคนเท่านั้นที่สามารถเขียนตั๋วเมืองได้ 


         ด้วยการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของระบะเศรษฐกิจ จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตของประชาชนในชุมชน โดยมีการประกอบอาชีพรับจ้างหรือค้าขายมากขึ้น พื้นที่ทางการเกษตรกรรมถูกขายให้แก่นายทุนหรือคนต่างถิ่นเข้ามาทำธุรกิจ เนื่องจากชุมชนตั้งอยู่ในเขตชานเมือง มีการเกิดใหม่ของบ้านจัดสรรมากขึ้น ทำให้ชุมชนมีคนต่างถิ่นย้ายเข้ามาอยู่อย่างรวดเร็ว ความสนิทสนมของประชาชนในชุมชนเริ่มเปลี่ยนแปลงไป 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

พิมพ์ชนก  พยัคฆ์สัก และคณะ. (2560). รายงานการพัฒนาอนามัยชุมชน วิชาปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวชุมชน 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 : กรณีศึกษาบ้านศรีบุญเรือง หมู่ที่ 1 ตำบลแม่สา  อำเภอแม่ริม  จังหวัดเชียงใหม่. สาขาการพยาบาลอนามัยชุมชน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่.

Google Map. (2566). พิกัดแผนที่ชุมชนบ้านศรีบุญเรือง. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2566. เข้าถึงได้จาก:https://www.google.co.th/maps/@18.9058171,98.9477339,15.81z