Advance search

น้ำตกแม่เหยี่ยนชุบชีวี ประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำ เลิศล้ำหัตถกรรมจักสาน ถิ่นฐานคูเมืองเก่าลือชื่อ ข้าวซ้อมมือดีมีในตำบล ป่าชุมชนระบือนามทั่ว บึงงามนามหนองบัว อุตสาหกรรมครอบครัวหน่อไม้ปี๊บ

หมู่ที่ 3
บ้านโป่ง
บ้านใหม่
เมืองพะเยา
พะเยา
สุธาสินี ด่านสวัสดิ์
24 เม.ย. 2023
กนกวรรณ เอี่ยมชัย
1 พ.ค. 2023
กนกวรรณ เอี่ยมชัย
21 พ.ค. 2023
บ้านโป่ง

ผู้ก่อตั้งบ้านโป่งในสมัยนั้นมีพ่อค้าผ้าไหมคนหนึ่งได้คุมลูกหาบเดินผ่าน มาทางทิศเหนือมีจำนวน 15 คน ผู้คุมคนนี้มีชื่อว่า นายฮ้อยจิ๊กโป่ง มาพักอยู่ที่บ้านเหยี่ยนซึ่งตั้งอยู่ใกล้ลำน้ำเหยี่ยน พ่อค้าขายของหมดแล้ว นายฮ้อยจิ๊กโป่ง ก็เดินสำรวจสถานที่พบบริเวณที่กว้างขวางอยู่ตอนใต้ของลำน้ำเหยี่ยน ประมาณ 120 เส้น ก็พบเป็นหนองน้ำจำ เต็มไปข้างป่าละเมาะมีต้นอ้อ ต้นแขม หญ้าไซ เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชผลต่อการเกษตรทุกชนิด


ชุมชนชนบท

น้ำตกแม่เหยี่ยนชุบชีวี ประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำ เลิศล้ำหัตถกรรมจักสาน ถิ่นฐานคูเมืองเก่าลือชื่อ ข้าวซ้อมมือดีมีในตำบล ป่าชุมชนระบือนามทั่ว บึงงามนามหนองบัว อุตสาหกรรมครอบครัวหน่อไม้ปี๊บ

บ้านโป่ง
หมู่ที่ 3
บ้านใหม่
เมืองพะเยา
พะเยา
56000
19.27331
99.82047
เทศบาลตำบลบ้านใหม่

ในอดีตมีผู้เฒ่าเล่าสู่ต่อกันมา ผู้ก่อตั้งบ้านโป่งในสมัยนั้นมีพ่อค้าผ้าไหมคนหนึ่งได้คุมลูกหาบเดินผ่าน มาทางทิศเหนือมีปริมาณ 15 คน ผู้คุมคนนี้มีชื่อว่า นายฮ้อยจิ๊กโป่ง มาพักอยู่ที่บ้านเหยี่ยนซึ่งตั้งอยู่ใกล้ลำน้ำเหยี่ยน พ่อค้า ขายของหมดแล้ว นายฮ้อยจิ๊กโป่ง ก็เดินสำรวจสถานที่พบบริเวณที่กว้างขวางอยู่ตอนใต้ของลำน้ำเหยี่ยน ประมาณ 120 เส้น ก็พบเป็นหนองน้ำจำ ข้างป่าละเมาะมีต้นอ้อ ต้นแขม หญ้าไซ เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชผลต่อการเกษตรทุกชนิด

นายฮ้อยจิ๊กโป่ง จึงหาลูกหาบบอกว่าสถานที่นี้เหมาะแก่การตั้งปางพักอย่างมาก ต่อมาจึงชวนพวกพ่อค้ารวมทั้งลูกหาบว่า ปางหนองหญ้าไซการค้าขายคล่องขึ้น จึงชักชวนเอาพวกพ้องของตัวเองยกเอาครอบครัวมาทำการค้าขายอยู่ที่ปางผักหยั่ง พักอยู่กันหลายปี มีสมาชิกเพิ่มขึ้นประมาณ 30 ครัวเรือน พวกชาวบ้านอยากจะทำบุญกันจึงพากันไปทำบุญที่อารามบ้านเหยี่ยน และมีหัวหน้าคุ้มกันได้หลายปี จนมาเปลี่ยนชื่อพวกพ่อค้าจาก นายฮ้อยมาเป็นท้าวขุนแสน ปกครองเรื่อยมาจนเสียชีวิตด้วยความชรา พวกชาวบ้านขาดผู้นำจึงเลือกเอา ท้าวเขื่อน ขึ้นมาแทน สมัยนั้นเกิดอาชีพใหม่ คือ การทำสวนทำไร่ สมัยท้าวเขื่อนชาวบ้านมีความคิดว่าควรสร้างอารามไว้เป็นที่ทำบุญสุนทาน จึงร่วมกันสร้างที่หนองโป่งหญ้าไซ แต่ยังขาดพระจึงพากันไปขอพระธุดงองค์หนึ่งที่เดินทางมาทิศเหนือจอดหยั่งอยู่ที่ อารามบ้านเหยี่ยน ชื่อว่า เจ้าลาว มาประจำอยู่อารามบ้านโป่งหญ้าไซ ต่อมาได้เสียชีวิตลงด้วยโรคชรา

ต่อมาชาวบ้านเลือกเอา ท้าวคำลือ มาปกครอง ได้เปลี่ยนชื่อ บ้านโป่งหญ้าไซ มาเป็น บ้านโป่งดอนไชย อารามเริ่มเจริญขึ้นบ้างมีพวกปู่ต้าววงค์ ปู่ต้าวปิง ต้าวแสนเมือง ซึ่งเป็นหัวหน้าพ่อค้าวัวด่าง มีพ่อค้า ต่างบ้านต่างเมืองมาร่วมค้าขายและได้อพยพมาอยู่เพิ่มมากขึ้น ตามริมน้ำแม่เหยี่ยนซึ่งไหลมาจากดอยทางทิศตะวันตกผ่านป่าละเมาะมาตั้งแต่แรกไหลผ่านหมวดท่ากลองเป็น หมวดที่ 1 เมื่อมีขึ้นเป็นหมวดที่สอง นี้คือที่มาของหมวดหรือคุ้มต่อมาท้าวแสนขุนก็ได้สิ้นสุดลงชาวบ้านได้เลือกหัวหน้าหาบมาคุมดูแลมีชื่อว่า แก่ทำ (แก่ ภาษาล้านนาคือผู้ใหญ่บ้าน) แต่ยังไม่มีนามสกุลได้ปกครองมาหลายปี ได้เสียชีวิตลง

สมัยรัชกาลที่ 5 ชาวบ้านได้เลือก พ่อหนานใจ เป็นผู้ปกครองชาวบ้าน ต่อมาได้เสียชีวิตลง ชาวบ้านเข้ามาปฏิบัติธรรมกันมากขึ้น เกิดหนาน (สึกจากพระ) และหน้อย (สึกจากเณร) มากขึ้น จึงเลือกพ่อหนานอุปนันท์ เรือนวงค์ พร้อมกับพ่อหนานศรีมูล พรหมปิงกา และพ่อหน้อยปิ๊ก วงค์สืบ เป็นผู้ติดตามช่วยภาษีตั้งแต่สมัยนั้นมา พ่อหลวง อุปนันท์ แก่ชราลง ต่อมาได้เลือก นายศรีวงค์ วงศ์แหวน เป็นผู้นำ ได้จัดขยายสถานที่จัดตั้งโรงเรียน บุตรหลาน จึงพร้อมใจกัน โดยอาศัยบารมีของครูบาศรี อิศิญาโณ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาส วัดร่องไฮ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดกับ บ้านเหยี่ยน หมู่6 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
  • ทิศใต้ ติดกับ บ้านร่องช้าง หมู่ 9 ตำบลท่าจำปี อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
  • ทิศตะวันออก ติดกับ พื้นที่ทำการเกษตรของ ตำบลแม่ปืม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
  • ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านร่องไฮ หมู่ 5 ตำบลท่าจำปี อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ลักษณะทางภูมิศาสตร์

มีพื้นที่เป็นที่ราบเชิงเขา โดยทั่วไปมีเทือกเขาเป็นแนวยาวจากทิศเหนือลงไปทางทิศใต้ ทำให้มีพื้นที่ลาดเอียงจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก สภาพทั่วไปเป็นทุ่งนา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลักษณะทางนิเวศวิทยา จำนวนที่ดิน พื้นที่สาธารณะ ลักษณะดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดิน แหล่งน้ำกินน้ำใช้ น้ำทางเกษตร

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านโป่งหมู่ 3 มีลักษณะทางนิเวศที่สมดุลเนื่องจากมีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีการบำรุงดินโดยการไถกลบพืชเพื่อบำรุงดิน ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกร พื้นที่หมู่บ้านมีทั้งหมด 2,550 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตร 2,000 ไร่ ทำนา 1,900 ไร่ ทำไร่ 100 ไร่ เป็นที่อยู่อาศัย 550 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ที่ทำการเกษตรมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพรรณการเกษตร ได้แก่ ข้าว และยางพารา ลักษณะดินในหมู่บ้านโป่ง หมู่ 3 โดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย และดินเหนียว ซึ่งเหมาะแก่การทำการเกษตร

จำนวนประชากรในบ้านโป่ง หมู่ 3 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัด พะเยา พ.ศ. 2565 มีประชากรทั้งหมด 552 คน โดยมีเพศชาย 258 คน และเพศหญิง 294 คน สภาพบ้านส่วนใหญ่เป็นบ้านสองชั้นและมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติ สภาพภายในหมู่บ้านเป็นชุมชนที่ล้อมรอบด้วยไร่ นา ภูเขา ชาวบ้านประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปเป็นส่วนใหญ่ และมีการปลูกผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์ไว้เป็นอาหาร ได้แก่ ไก่ไข่ และสัตว์ที่เลี้ยงไว้เพื่อความเพลิดเพลิน ได้แก่ สุนัข แมว นอกจากนี้บางครัวเรือนยังมีอาชีพทำนา รับราชการ ค้าขาย กรีดยางประชาชนในหมู่บ้านนับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ ประชาชนในหมู่บ้านมีน้ำใจ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ คอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความสมัครสมานสามัคคีกัน มีการดำรงชีวิตแบบเรียบง่าย

โครงสร้างทางสังคม : องค์กรชุมชนและกลุ่มอาชีพ

  • คณะกรรมการบริหารหมู่บ้าน : จำนวน 4 คน
  • หัวหน้าคุ้ม : จำนวน 7 คน
  • อาสาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) : จำนวน 28 คน
  • กลุ่มอปพร. (อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน) : จำนวน 13 คน
  • กลุ่มนาแปลงใหญ่ : จำนวน 61 คน
  • กลุ่มกองทุนเงินล้านหมู่บ้าน : จำนวน 69 คน
  • ปราชญ์ชาวบ้านด้านศิลปวัฒนธรรม : จำนวน 2 คน
  • ปราชญ์ชาวบ้านด้านหัตถกรรม : จำนวน 25 คน
  • กลุ่มปุ๋ย : จำนวน 29 คน
  • กลุ่มผู้สูงอายุ : จำนวน 208 คน

สภาพทางเศรษฐกิจ

  • อาชีพหลัก : เกษตรกรรม (ทำนา)
  • อาชีพเสริม : ค้าขาย, กรีดยางพารา
  • รายได้ของประชาชน : ทำนา, ค้าขาย, เบี้ยยังชีพ, สวัสดิการแห่งรัฐ, รับจ้างทั่วไป, เงินจากลูกหลาน, รับราชการ, พนักงานบริษัท, ยางพารา, เลี้ยงสัตว์
  • รายจ่ายของประชาชน : ค่าฌาปนกิจ, ค่าน้ำ, ค่าไฟ, ค่าน้ำมัน, ค่าโทรศัพท์, ค่าเล่าเรียนลูกหลาน, ค่าอุปโภค-บริโภค, ค่าบุหรี่, ค่าสุรา, ค่ารักษาพยาบาล, ค่าจ้างแรงงาน, ค่าจ้างรถไถ-รถเกี่ยวข้าว, ค่าเมล็ดพันธุ์, ค่าปุ๋ย-สารเคมีทางการเกษตร, หนี้ออมทรัพย์, หนี้ ธ.ก.ส., หนี้กองทุนหมู่บ้าน
  • หนี้สินประชาชน : หนี้ ธ.ก.ส.,หนี้กองทุนหมู่บ้าน,หนี้ออมทรัพย์ ,หนี้กองทุนเงินล้าน
  • พืชและสัตว์ที่ปลูกและเลี้ยง : ข้าว, ยางพารา, ผักสวนครัว, สุนัข, แมว,ไก่, วัว, ควาย

ประเพณีและวัฒนธรรม

ในรอบ 1 ปี ของชาวบ้านโป่ง หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีกิจกรรมทั้ง ด้านศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา เทศกาลประจำปี ที่หลากหลายแตกต่างกันไปในแต่ละเดือน มีดังนี้

  • เดือนมกราคม : ประเพณีตานข้าวใหม่
  • เดือนกุมภาพันธ์ : ประเพณีสรงน้ำพระธาตุบ้านโป่ง
  • เดือนมีนาคม : ทำบุญเนื่องในวันมาฆบูชา
  • เดือนเมษายน : ประเพณีสงกรานต์รดน้ำดำหัว (ปีใหม่เมือง)
  • เดือนพฤษภาคม : ทำบุญวันวิสาขบูชา
  • เดือนมิถุนายน : สักการะศาลเจ้าพ่อคำลือ, ไหว้ผีปู่ย่า
  • เดือนกรกฎาคม : ทำบุญเข้าพรรษา
  • เดือนสิงหาคม : ทำบุญตักบาตรเนื่องในวันแม่
  • เดือนกันยายน : ทำบุญสลากภัตร
  • เดือนตุลาคม : ทำบุญออกพรรษา
  • เดือนพฤศจิกายน : ประเพณียี่เป็ง วันลอยกระทง
  • เดือนธันวาคม : เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

1. นายเป็ง แข็งแรง

บำเพ็ญตนเป็นประโยชน์และเป็นที่ยอมรับของสังคมจนเป็นที่ประจักษ์ เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านคนแรกของบ้านโป่ง หมู่ 3 ตำบล บ้านใหม่ อำเภอเมืองจังหวัดพะเยา จนถึงปัจจุบัน

เกิดปี พ.ศ. 2488 อายุ 77 ปี เกิดที่บ้านร่องไฮ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ประวัติการศึกษา

  • ปี พ.ศ. 2500 จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านร่องไฮ

2. นายอินสม ยั่งยืน

บำเพ็ญตนเป็นประโยชน์และเป็นที่ยอมรับของสังคมจนเป็นที่ประจักษ์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน บ้านโป่ง หมู่ 3 ดำรงตำแหน่ง 1 สมัย เป็นเวลา 22 ปี เป็นผู้นำนักพัฒนาของชาวบ้านโป่ง โดยตลอดระยะเวลา 22 ปี ที่ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน บ้านโป่งนั้นได้พัฒนาถนน ภายในหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีต จัดทำโครงการสร้างฝายชะลอน้ำ เป็นตัวแทนนายก อบต.ในการชี้จุดเพื่อทำรังวัดแบ่งเขตที่ดิน และตลอดเวลาในการดำรงตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้าน จะทำหน้าที่พิทักษ์ความถูกต้อง้ให้แก่ลูกบ้านของตนเสมอ ไม่ให้ใครมาเอาเปรียบได้ เป็นผู้นำที่เป็นที่รักของชาวบ้านหมู่ 3 ทุกคน

เกิดปี พ.ศ. 2496 อายุ 69 ปี เกิดที่ บ้านโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ประวัติการศึกษา

  • ปี พ.ศ. 2517 จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านโป่ง
  • ปี พ.ศ.2540 เรียนระบบการศึกษานอกระบบ จนจบชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6

ทุนทรัพยากร

แหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคของหมู่บ้าน

  1. น้ำประปาของตำบล และน้ำบ่อ
  2. โรงน้ำดื่มบ้านร่องไฮและบ้านใหม่ดง

แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร

  1. ห้วยแม่อิง
  2. อ่างเก็บน้ำบ้านเหยี่ยน
  3. ฝ่ายน้ำล้นบ้านโป่ง

ศาสนสถานสำคัญ

  1. วัดบ้านโป่ง (ศรีดอนไชย) บ้านโป่ง หมู่ที่ 3 

ภาษาพื้นเมืองล้านนา

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ราชกิจจานุเบกษา. (2549). ประกาศจังหวัดพะเยา เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน. เล่ม 123 ตอนพิเศษ 128 ง. 13 ธันวาคม 2549.

ราชกิจจานุเบกษา. (2556). ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา. เล่ม 130 ตอนพิเศษ 45 ง. 5 เมษายน 2556..

พระครูโสภณปริยัติสุธี (ศรีบรรดร ถิรธมฺโม.). (2552). ชื่อบ้าน-ภูมิเมืองพะเยา. พะเยา : เจริญอักษร.

นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 รุ่นที่ 30. (2565). รายงานการวินิจฉัยชุมชนบ้านโป่ง หมู่ 3 ตำบลบ้านใหม่อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา