หนองเรือตระการ จักสานไม้ไผ่ ไก่ย่างทางพาด ตลาดกะหล่ำ เลิศล้ำเพชรพลอยเจียระไน พระใหญ่ภูเม็งทอง
ต่อมาในปี พ. ศ. 2503 ได้มาเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านใหม่ ใช้ชื่อว่า “บ้านหัวบึง”เพราะหมู่บ้านนี้ได้ก่อตั้ง
อยู่หัวบึงโพนพิสัยจึงได้ขนานนามใหม่ว่าบ้านหัวบึงในปี พ.ศ. 2533 ได้แยกการปกครองออกเป็น 2 หมู่บ้านคือ
บ้านหัวบึง หมู่ที่ 5 และบ้านบึงสว่าง หมู่ที่ 11
หนองเรือตระการ จักสานไม้ไผ่ ไก่ย่างทางพาด ตลาดกะหล่ำ เลิศล้ำเพชรพลอยเจียระไน พระใหญ่ภูเม็งทอง
บ้านหัวบึง หมู่ที่ 5 อำเภอหนองเรือ ตำบลจระเข้ จังหวัดขอนแก่น ได้ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2470 ผู้มา
ก่อตั้งหมู่บ้านนี้คนแรกชื่อ นายเสน น้อยผาง หาที่สำหรับเลี้ยงวัวจึงเดินทางมาบ้านโนนสว่างซึ่งเห็นว่าเป็นป่า
และเป็นพื้นที่ที่เหมาะต่อการเลี้ยงวัว จึงสร้างคอกวัวและอาศัยอยู่บริเวณนั้นเป็นตันมา ต่อมาชาวบ้านเห็นว่าที่
อยู่ที่บ้านหัวบึงปัจจุบัน มีแหล่งประโยชน์ที่ดีเยอะจึงได้ย้ายถิ่นฐานต่อกันมา หมู่บ้านนี้ในอดีตมีแหล่งอาหาร
ทางธรมชาติอุดมสมบูรณ์มากเพราะหมู่ข้านตั้งอยู่ใกล้เทือกเขาภูเม็งประชาชนส่วนใหญ่ย้ายมาจากบ้านจระเข้
หมู่ที่ 1 ตำบลจระเข้ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น เดิมชื่อหมู่บ้านนี้ว่าบ้านโนนสว่าง
ต่อมาในปี พ. ศ. 2503 ได้มาเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านใหม่ ใช้ชื่อว่า “บ้านหัวบึง”เพราะหมู่บ้านนี้ได้ก่อตั้ง
อยู่หัวบึงโพนพิสัยจึงได้ขนานนามใหม่ว่าบ้านหัวบึงในปี พ.ศ. 2533 ได้แยกการปกครองออกเป็น 2 หมู่บ้านคือ
บ้านหัวบึง หมู่ที่ 5 และบ้านบึงสว่าง หมู่ที่ 11
อาณาเขต ขนาดพื้นที่ชุมชน
ทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านจระเข้ หมู่ 1 ตำบลจระเข้ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น
ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านหนองหอย หมู่ 6 ตำบลจระเข้ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น
ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านบึ่งสว่าง หมู่ 11 ตำบลจระเข้ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น
ทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านหนองแปน หมู่ 8 ตำบลจระเข้ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น
สภาพพื้นที่ทางกายภาพ
บ้านหัวบึง หมู่ 5 ตั้งอยู่ในเขตปกครองของตำบลจระเข้ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น มีเนื้อที่
ทั้งหมดประมาณ 1,750 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่อยู่อาศัยประมาณ 350 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตรและภูเขาประมาณ
1,306 ไร่ มีป่าชุมชนร่วมกับหมู่บ้านอื่น คือ ป่าสงวนแห่งชาติป่าโคตลาดใหญ่ จำนวน 276 ไร่ 1 งาน 76
ตารางวา โดยเป็นพื้นที่ในเขตรับผิดชอบของชุมชนบ้านหัวบึง 40 ไร่การเดินทางเข้าสู่จังหวัดขอนแก่นมีเส้นการคมนาคมสะดวกเป็นทางลาดยางจากบ้านหัวบึงถึงตัวจังหวัดขอนแก่น โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 12 สายขอนแก่น-ดอนโมง ผ่านอำเภอบ้านฝาง รวมระยะทาง 35 กิโลเมตร
พื้นที่สาธารณะ บ้านหัวบึง หมู่ 5 มีพื้นที่สาธารณะในชุมชนดังนี้
- วัดดศรีตาลเรือง มีเจ้าอาวาสเป็นนิกายธรรมยุทธ
- วัดป่าหอพระธรรมธุดงคสถาน
- โรงเรียนในหมู่บ้าน คือ โรงเรียนบ้านหัวบึงสว่าง
- สุขศาลาประจำหมู่บ้าน 1 แห่ง
- ประปาหมู่บ้าน 2 แห่ง
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบลจระเข้ 1 แห่ง
อาณาเขต ขนาดพื้นที่ชุมชน
ทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านจระเข้ หมู่ 1 ตำบลจระเข้ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น
ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านหนองหอย หมู่ 6 ตำบลจระเข้ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น
ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านบึ่งสว่าง หมู่ 11 ตำบลจระเข้ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น
ทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านหนองแปน หมู่ 8 ตำบลจระเข้ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น
สภาพพื้นที่ทางกายภาพ
บ้านหัวบึง หมู่ 5 ตั้งอยู่ในเขตปกครองของตำบลจระเข้ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น มีเนื้อที่
ทั้งหมดประมาณ 1,750 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่อยู่อาศัยประมาณ 350 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตรและภูเขาประมาณ
1,306 ไร่ มีป่าชุมชนร่วมกับหมู่บ้านอื่น คือ ป่าสงวนแห่งชาติป่าโคตลาดใหญ่ จำนวน 276 ไร่ 1 งาน 76
ตารางวา โดยเป็นพื้นที่ในเขตรับผิดชอบของชุมชนบ้านหัวบึง 40 ไร่การเดินทางเข้าสู่จังหวัดขอนแก่นมีเส้นการคมนาคมสะดวกเป็นทางลาดยางจากบ้านหัวบึงถึงตัวจังหวัดขอนแก่น โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 12 สายขอนแก่น-ดอนโมง ผ่านอำเภอบ้านฝาง รวมระยะทาง 35 กิโลเมตร
พื้นที่สาธารณะ บ้านหัวบึง หมู่ 5 มีพื้นที่สาธารณะในชุมชนดังนี้
- วัดดศรีตาลเรือง มีเจ้าอาวาสเป็นนิกายธรรมยุทธ
- วัดป่าหอพระธรรมธุดงคสถาน
- โรงเรียนในหมู่บ้าน คือ โรงเรียนบ้านหัวบึงสว่าง
- สุขศาลาประจำหมู่บ้าน 1 แห่ง
- ประปาหมู่บ้าน 2 แห่ง
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบลจระเข้ 1 แห่ง
จากการสำรวจเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2565 พบว่ามีประชากรทั้งหมด 190 คน เป็นเพศชาย 85 คน เป็น
เพศหญิง 105 คน จำนวน 68 หลังคาเรือน
ผู้คนในชุมชนบ้านหัวนา มีการรวมกลุ่มทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
กลุ่มที่เป็นทางการ
1) ผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน 1 คน และ กรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน โดยมีผู้ใหญ่บ้านเป็นแกนนำสำคัญและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านที่ถูกแต่งตั้งจากการเลือกตั้งของคนในชุมชน
2) กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) 10 คน
กลุ่มไม่เป็นทางการ กลุ่ม/ชมรมต่างๆ
- หมอพื้นบ้าน 3 คน ได้แก่ หมอเป่า หมอ หมอพราหมณ์ และหมอสมุนไพร
- กลุ่ม หรือ องค์กรต่างๆ ดังนั้
1.กลุ่มออมทรัพย์ 2.กองทุนหมู่บ้าน |
7.ธนาคารข้าว 8.กลุ่มวิสาหกิจหมู่บ้าน |
3.กองทุนแม่แผ่นดิน |
9.กลุ่มน้ำยาล้างจาน |
4.กลุ่มปุ๋ย SML |
10.ณาปณกิจสงค์เคราะห์ |
5.ศูนย์สาธิตการตลาด |
11.กลุ่มผู้เลี้ยงโค |
6.ปุ๋ยสตรี |
12.ประปาหมู่บ้าน |
ปฏิทินชุมนุมบ้านหัวบึง หมู่ 5 ตำบลจระเข้ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น มีกิจกรรมด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมวัฒนธรรม และอาชีพของชุมชนบ้านหัวบึง คือ เกษตรกรรมทำนาปี การเก็บเกี่ยวข้าวรายปี รับจ้างเก็บเกี่ยวข้าว ขายข้าว ขายวัว-ควาย-หมู ขายปลา ปลูกผัก และเลี้ยงหม่อมไหมตามลำดับ สำหรับสังคมวัฒนธรรม พบว่าประเพณีพิธีกรรมความเชื่อวิถีชีวิต ทางสังคมและวัฒนธรรมที่สำคัญของชุมชน มีกิจกรรมพิธีกรรมทางความเชื่อตลอดทั้งดี ดังนี้
ด้านวัฒนธรรม
เดือนมกราคม – วันขึ้นปีใหม่ จะมีการทำบุญตักบาตรในวันขึ้นบ้านใหม่ในบางปี จะมีการบายศรีสู่ขวัญให้ผู้เฒ่าผู้แก่ในบ้านเป็นการขอพร สะเดาะเคราะห์ในชุมชนเป็นการต้อนรับสิ่งใหม่ๆเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตครอบครัวและชุมชน
กุมภาพันธ์ – บุญข้าวกุ้มข้าวใหญ่ จะมีการทําบุญประทานข้าวเปลือก เรียกว่า บุญข้าวกุ้มใหญ่หรือบุญคุณลาน โดยชาวบ้านแต่ละครอบครัวจะนําข้าวเปลือกไปบริจาคที่วัดตามจิตศรัทธา และบูชาไปรับประทาน และนําเงินที่ได้จากการบริจาค มาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดและนําไปใช้
มีนาคม – บุญข้าวจี่ ชาวบ้านถือวันขึ้น 15 คำ่เดือนสาม เป็นวันทําบุญที่ชาวบ้านนําข้าวเหนียวที่นั่งสุกตัดใส่ครก ที่เรียกว่า “ครกมอง” ตําให้ละเอียดผสมกับน้ําตาล น้ําอ้อย ไข่ กะทิสด แล้วนําไปวางแป้นพิมพ์นําไปผึ่งให้แห้งแล้วนําไปปิ้งเรียกว่าข้าวโป่ง แล้วนําไปถวายพระ
เมษายน - บุญผะเหวด บุญสงกรานต์ ชาวบ้านจะมีการตกแต่งศาลา ด้วยโคมไฟดอกไม้แห้งและธงเพื่อความสวยงาม ในช่วงเช้าจะมีการเทศน์และทําบุญตักบาตรและมีการแห่ผ้าผะเหวดหรือ พระเวสสันดร ซึ่งเป็นการเล่าประวัติของพระเวสสันดรตั้งแต่ต้น จนจบเรื่อง งานประเพณีสงกรานต์ ชาวบ้านจะมีการเล่นน้ำ สงกรานต์แห่ทรายเข้าวัดสรงน้ำพระและบรรพบุรุษ จะมีการรดน้ำดําหัวผู้สูงอายุและผู้ใหญ่ในบ้านด้วย
พฤษภาคม – บุญบั้งไฟ เป็นการทําบุญฝายพญานาคและทําบุญบั้งไฟ ปัดเป่าทุกข์ร้อนจากบ้าน และเป็นการ เตรียมก่อนการทํานาทําบุญบั้งไฟเพื่อขอฝนให้ตกตามฤดูกาล และในวันขึ้น 15 ค่ำเป็นวันวิสาขบูชา ซึ่งเป็นวันสําคัญทางศาสนาชาวบ้านจะมีการทําบุญตักบาตรที่วัดในช่วงเช้า ส่วนในตอนเย็นจะมีการเวียนเทียนรอบอุโบสถที่วัดและเริ่มลงมือทำนา
มิถุนายน – บุญเบิกบ้าน การทำบุญตักบาตรในหมู่บ้านและมีการขึงด้ายไปทั่วทุกหลังคาเรือน โดยนิมนต์ 4-9 รูปมาเจริญพุทธมนต์ แล้วมีพิธีผูกข้อต่อแขนซึ่งกันและกันของคนในหมู่บ้านที่ได้ฝ้ายจากการทำพิธีและมีการน้ำกรวดทรายหรือหินไปหว่านรอบๆหมู่บ้านหรือหลังคาบ้าน เพราะเชื่อว่าเป็นการกันผีหรือสิ่งจัญไรเข้าหมู่บ้าน
กรกฎาคม –สิงหาคม - บุญเข้าพรรษาเป็นงานบุญประเพณีเข้าพรรษา ชาวบ้านจะมีการทําบุญตักบาตรที่วัดในช่วงเช้า และมีการแห่เทียน พรรษา มีการถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระภิกษุ และมีการจําวัดของผู้สูงอายุที่ไปจําศีลในวัดตลอดช่วง 3 เดือนที่เข้าพรรษาทางบ้านก็จะมีการจัดงานบวชลูกชาย เพราะเชื่อว่าพ่อแม่จะมีการไปทอดเทียนถวายเทียนพรรษาแลกเปลี่ยนตามวัดต่างๆ และในแต่ละปีจะมีการกําหนดหมู่บ้านที่จะทอดเทียนในปีนั้น ซึ่งจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนไปทุกๆปี และในตอนกลางวันจะมี การแข่งขันกีฬาร่วมกันเพื่อความสนุกสนานและสร้างความสามัคคีในชุมชน
กันยายน - บุญข้าวประดับดินประเพณีข้าวประดับดิน แรม 15 ค่ำ ชาวบ้านจะนําอาหารให้แก่ญาติผู้เสียชีวิตไปแล้ว อาหารสุกจะถวายให้พระ หลังจากเสร็จพิธีทางศาสนาจะนําอาหารไปถวายให้พระแม่ธรณี พระโพธิสัตว์เพื่อให้ข้าวในนาเจริญงอกงาม
ตุลาคม - บุญข้าวสาก บุญกฐิน บุญออกพรรษาเป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย ชาวบ้านจะทำข้าวสากหรือทางภาคกลางเรียกว่าข้ากระยาสารท จากนั้นจะมีการห่อฉลาก โดยมีการทำสลากให้พระจับ เพื่อที่จะให้ญาติโยมได้ถวายของตามสลากนั้นเป็นการทำบุญที่ต่อเนื่องจากพิธีในเดือนเก้า เพราะถือว่าเป็นการทำบุญส่งล่วงลับไปแล้วที่ได้ออกมาท่องเที่ยวให้กลับสู่แดนของตน ในเดือนสิบนี้ชาวบ้านจะนำห่อข้าวสากไปวางไว้บริเวณวัด พร้อมจุดเทียนและบอกให้ญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้ว มารับอาหารและผลบุญที่อุทิศให้ และบุญออกพรรษาจัดทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เป็นการทำบุญที่สืบเนื่องมาจากบุญเข้าพรรษาในเดือนแปด ที่พระภิกษุสามเณรได้เข้าพรรษาเป็นเวลานานถึง 3 เดือน
ดังนั้น ในวันที่ครบกำหนด พระภิกษุสามเณรเหล่านั้นจะมารวมกันทำพิธีออกวัสสาปวารณา วันนี้เป็นวันที่ภิกษุ
สามเณรมีโอกาสมาชุมนุมกันอย่างพร้อมเพรียงกันที่วัด เป็นโอกาสมาร่วมกันทำบุญ
พฤศจิกายน – ธันวาคม -ลอยกระทง มีประเพณีลอยกระทงเพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคาเพื่อบูชารอยพระพุทธบาทและบูชาเทพเจ้า ตาม คติความเชื่อ รักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้ ไม่ให้ให้สูญหายไปตามกาลเวลา และรู้ถึงคุณค่าของน้ําหรือแม่น้ําลําคลองอันเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับการดํารงชีวิต
ด้านเศรษฐกิจ
1. ทํานาปี เริ่มทําตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนพฤศจิกายน
2. ทํานาปรัง เริ่มทําตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม
3. ทําไร่ และทําสวน เช่น ปลูกข้าวโพด ปลูกถั่วลิสง ปลูกพริก ปลูกผัก เริ่มทําตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือน
ธันวาคม
4. รับจ้างทั่วไป เริ่มทําตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม
5.ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว เริ่มทําตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม
ประวัติ ที่ปรึกษาชุถมชน ชื่อ-นามสกุล : นายทองม้วน ดงแสนแก้ว เกิดวันที่ 15 ธันวาคม 2487 อายุ 80 ปี ปัจจุบันประกอบอาชีพ เกษตรกร ประวัติการศึกษาและการทำงาน เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนบ้านหนองเทพจนจบชั้นประถมศึกษานอกสถานที่ จนจบชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 เมื่ออายุ 21 ปี ได้บวช 1 พรรษา ที่วัดโนนคูณ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น หลังจากบวชออกมาประกอบอาชีพ เป็นเกษตรกรกับบิดา มารดา ปลูกพืชผลทางการเกษตร เพื่อหารายได้และหาของป่ามารับประทานเป็นอาหาร เมื่ออายุ 24 ปี ได้แต่งงานดับนางสมัย ดงแสนแก้ว และมีบุตรด้วยกัน 3 คน เป็นบุตรชาย 2 คน คือ นายชัยสิทธิ์ ดงแสนแก้ว , นายพิภพ ดงแสนแก้ว และบุตรสาว 1 คน คือ นางสาวขวัญใจ ดงแสนแก้ว และได้ย้ายมาอยู่ บ้านเลขที่ 73 บ้านหัวบึง หมู่ 5 ตำบลจระเข้ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น โดยปกตินายทองม้วน ดงแสนแก้ว เป็นคนจิตใจดี มีความเมตตา มีจิตอาสาและช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นอยู่เสมอม ชอบทำงานจิตอาสาภายในหมู่บ้าน และเข้าร่วมกิจกรรมของหมู่บ้านอยู่เสมอ เมื่ออายุ 42 ปี ได้รับโอกาสและดำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านของบ้านหัว บึง 2 วาระ คือ 10 ปี ในระหว่างนั้นได้มีการพัฒนาหมู่บ้านให้มีความเจริญรุ่งเรืองมากยิ่งขึ้น และเมื่ออายุ 53 ปี นางทองม้วน ดงแสนแก้วได้ผันตัวมาเป็น ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านของบ้านหัวบึง และเป็นที่ปรึกษาในการพัฒนาหมู่บ้าน จำนวน 1 วาระคือ 5 ปี ในระหว่างนั้นได้รับการยกย่อง และได้รับเกียรติบัตรจากการทำกิจกรรมของชุมชนจำนวน มากหลังจากนั้นเมื่ออายุ 60 ปี ได้ดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 1 วาระ ได้เข้าร่วม กิจกรรมของชุมชนและพัฒนาชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันอายุ 80 ปี ยังเป็นที่ปรึกษาและช่วยเหลือ
กองทุนในชุมชนบ้านหัวบึงหมู่ที่ 5 ตำบลจระเข้ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น มีดังนี้
1) กลุ่มออมทรัพย์
2) กองทุนหมู่บ้าน
3) กองทุนแม่ของแผ่นดิน
4) กองทุนแม่ของของแผ่นดิน
5) กลุ่มผู้เลี้ยงโค
6) ธนาคารข้าว
7) กลุ่มวิสาหกิจชุมชน
8) กลุ่มน้ำยาล้างจาน
9) ฌาปนกิจสงเคราะห์
10) ประปาหมู่บ้าน
11) กองทุนปุ๋ย SML
12) ศูนย์สาธิตตลาด
ประชาชนบ้านหัวนา ใช้ภาษาถิ่นอีสานในการสื่อสารในชุมชน และใช้ภาษากลาง ภาษาไทยในการติอต่อสื่อสาร กับหน่วยงานต่างๆ
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนที่ปรากฏให้เห็นชัดเจนในด้านสังคมและประชากร โดยมีการเปลี่ยนแปลงสังคมสู่การเป็นชุมชนกึ่งเมือง
การเปลี่ยนแปลงการเข้าสู่ ชุมชนกึ่งเมือง ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและวิถีชีวิต เนื่องจากอิทธิพลการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การขยายเมือง และความสมัยใหม่ มีผลให้ถนนมะลิวัลย์ที่ผ่านชุมชนของตำบลจระเข้ มีการขยายตัว ทำให้การตั้งห้างร้าน สรรพสินค้า ร้านรับจำนำที่ดิน รถยนต์ บนถนนสายหลักนี้ ประกอบกับในชุมชน เดินทางสะดวกสบาย และมีถนนเส้นทางเชื่อมต่อกันไปได้หลายบ้านหลายหมู่บ้าน จึงเอื้อต่อการค้าขาย มีตลาดเย็นของชุมชน มีตลาดคลองถม ส่งผลให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ประชาชนวัยแรงงานต้องหารายได้จากการไปทำงานในตัวเมืองขอนแก่น หรือไปต่างจังหวัด เพื่อนำมาใช้จ่ายเลี้ยงดูคนในครอบครัว เกิดการเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน กลุ่มที่อาศัยอยู่ในชุมชนเป็นกลุ่มผู้สูงอายุและเด็ก เป็นต้น
ในชุมชนบ้านหัวบึง มีจุดสนใจอื่นๆ เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือ ร้านคาเฟ่ กาแฟ
- จัดทำรายการอ้างอิงตามระบบ APA
- ผู้เรียบเรียงข้อมูลสามารถใช้เมนู Reference ในโปรแกรม Microsoft Word หรือใช้เว็บไซต์ BabyBib (http://202.28.248.175/babybib/main.php) ในการจัดทำแหล่งอ้างอิงได้