Advance search

หนองเรือตระการ จักสารไม้ไผ่ ไก่ย่างทางพาด ตลาดกะหล่ำ เลิศล้ำเพชรพลอยเจียระไน พระใหญ่ภูเม็งทอง

หมู่ 5
บ้านหนองเม็ก
บ้านกง
หนองเรือ
ขอนแก่น
กันนิษฐา มาเห็ม
13 เม.ย. 2023
กันนิษฐา มาเห็ม
13 เม.ย. 2023
veerapat srithamboon
24 พ.ค. 2023
บ้านหนองเม็ก


ชุมชนชนบท

หนองเรือตระการ จักสารไม้ไผ่ ไก่ย่างทางพาด ตลาดกะหล่ำ เลิศล้ำเพชรพลอยเจียระไน พระใหญ่ภูเม็งทอง

บ้านหนองเม็ก
หมู่ 5
บ้านกง
หนองเรือ
ขอนแก่น
40240
16.523046
102.517421
องค์การบริหารส่วนตำบลองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกง

เมื่อ 200 ปีเศษที่ผ่านมา พ่อหลวงวิไสย์ได้รวบรวมญาติพี่น้องและพรรพวก อพยพจากบ้านหนองแวงใหญ่ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่นหนีจากความแห้งแล้ง มาที่บ้านหนองเม็กในปัจจุบันซึ่งเต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์มีหนองน้ำขนาดใหญ่ใกล้บริเวณแม่น้ำเซิน และรอบๆบริเวณหนองน้ำใหญ่แห่งนี้มีต้นไม้ขนาดใหญ่ตั้งอยู่ ชื่อว่า ต้นเม็กพ่อหลวงวิไสย์จึงนำชื่อต้นไม้นี้มาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านว่า บ้านหนองเม็กและได้เรียกชื่อนี้สืบมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2501 พ่อดำ คำภิบาล ถูกแต่งตั้งให้เป็นผู้ใหญ่บ้านจนถึง พ.ศ. 2504 พ่ออุ่น ศรีไพร ได้จัดตั้งสุขศาลาขึ้น เพื่อให้นายแพทย์นิติศักดิ์ ใช้เป็นพื้นที่รักษาและฉีดวัคซีนให้กับคนในชุมชน ต่อมามีการจัดตั้งโรงเรียนบ้านหนองเม็กขึ้นในปี พ.ศ. 2506 โดยพระครูธรรมกิจ พิทักษ์ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนหนองเม็ก หนองทุ่ม โนนศิลา ประชาสรรค์ในภายหลัง เมื่อปี พ.ศ. 2510 มีการเคลื่อนย้ายวัดมาพื้นที่ปัจจุบันเนื่องจากในอดีตวัดตั้งอยู่บริเวณอนามัยในปัจจุบัน 5 ปีต่อมากรมทรัพย์ธรณีได้เข้ามาเจาะน้ำบาดาลแบบคันโยกให้หมู่บ้าน เมื่อปี พ.ศ. 2525 พ่อทองพูน อวันนา ได้ส่งเสริมให้มีการทำรั้วบ้านเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในครัวเรือน 2 ปีต่อมา ได้มีการจัดตั้งอนามัยบ้านหนองเม็ก ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกง และในปีเดียวกัน พระครูวิจาร สารกิจ ได้คิดริเริ่มการสร้างหอถังน้ำโดยใช้กระแสไฟฟ้าเป็นตำบลแรก ทำให้บ้านหนองเม็กเริ่มมีไฟฟ้าใช้ ในปี พ.ศ. 2529 พ่อพาน สีละหว้า ได้เข้ารับตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านคนที่ 10 ได้สนับสนุนโครงการอีสานเขียว โดยส่งเสริมให้คนในชุมชนกักเก็บน้ำฝนในโอ่งไว้ใช้ เมื่อปี พ.ศ. 2534 มีการประกวดหมู่บ้าน บ้านหนองเม็กได้รับเงินรางวัลจึงนำเงินนั้นมาสร้างถนนลูกรัง ซึ่งปี พ.ศ. 2534 นี้ เป็นปีที่หมู่บ้านมีความเจริญอย่างมาก มีการก่อตั้งกองทุนต่างๆมากมาย เช่น ออมทรัพย์เพื่อการผลิต มีการสร้างร้านค้าชุมชนและพัฒนาระบบสุขาภิบาลให้มีส้วมในทุกหลังคาเรือนโดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณะสุขมาเป็นแกนนำในการพัฒนา ต่อมาในปี พ.ศ.2548-2551 น้ำประปาส่วนภูมิภาคได้เข้ามาในชุมชนแต่ยังไม่ครอบคลุมทุกหลังคาเรือนทำให้พ่อสุนทร ไทยอ่อน ได้ของบประมาณมาทำน้ำประปาบาดาลหมู่บ้านในปี พ.ศ. 2551 ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาทุกหลังคาเรือนในบ้านหนองเม็กก็มีน้ำประปาใช้อย่างไม่ขาดแคลน

          ปี พ.ศ. 2553 พ่อสมัย สีละหว้า ได้สร้างลานอเนกประสงค์เพื่อให้คนในชุมชนไว้ใช้ในการทำกิจกรรม จนกระทั่งปี พ.ศ. 2563 มีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด-19) บ้านหนองเม็กมีผู้ติดเชื้อคนแรกซึ่งเดินทางมาจากจังหวัดอื่นโดยให้การรักษาที่โรงพยาบาลหนองเรือ ต่อมามีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงให้การรักษาโดยให้กักตัวที่บ้านส่วนตัว กักตัวที่วัด และกักตัวที่ทุ่งนา และในปี พ.ศ. 2565 เมื่อประมาณเดือนมีนาคมมีคนในชุมชนติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เพิ่มขึ้นมากหลายหลังคาเรือน จึงให้การรักษาแบบ Home Isolation โดยให้คนในชุมชนกักตัวที่บ้าน หรืออาจจะไปกักตัวที่ทุ่งนาโดยมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกงไปแจกจ่ายยา และให้ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนให้กับผู้ที่ติดเชื้อ ผู้นำในชุมชนก็มีบทบาทช่วยรับบริจาคข้าวและอาหารเพื่อที่จะทำอาหารแจกจ่ายให้กับผู้ที่ติดเชื้อให้ครบทุกหลังคาเรือน ซึ่งในปัจจุบันพบผู้ติดเชื้อลดลง คนในชุมชนสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ

บ้านหนองเม็ก หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านกง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น อยู่ห่างจากโรงพยาบาลหนองเรือ 9.6 กิโลเมตร มีระยะทางห่างจากโรงพยาบาลขอนแก่นประมาณ 39 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 3,050 ไร่ ที่อยู่อาศัย 247 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตร 2,600 ไร่

          อาณาเขตติดต่อ

          ทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านหนองทุ่ม หมู่ 6 ตำบลบ้านกง

          ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านเปือย หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านกง

          ทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านฟ้าเหลื่อม หมู่ 6 ตำบลหนองเรือ

          ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านสะอาด หมู่ 7 ตำบลหนองเรือ

          สภาพแวดล้อมทางกายภาพและภูมิอากาศ

          ลักษณะภูมิประเทศ มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มสลับที่ดอน และอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมีจุดสูงสุดอยู่ที่ระดับ 192 เมตร เหมาะสำหรับเป็นพื้นที่การทำนาและการเพาะปลูกพืช ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย ทางด้านทิศเหนือของตำบล มีทางน้ำ (ลำน้ำเชิญ) ที่ไหลลงสู่เขื่อนอุบลรัตน์ เป็นแนวกั้นเขตแดนระหว่างตำบลบ้านกงกับตำบลกุดขอนแก่น

 

          ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไป ประกอบด้วย 3 ฤดู ได้แก่

          1) ฤดูร้อน มีลักษณะอากาศร้อนและแล้งจัด มีฝุ่นละอองเยอะจากถนนในหมู่บ้าน เริ่มตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม

          2) ฤดูฝน ฝนตกต้องตามฤดูกาล ฝนตกหนักบ่อยครั้ง ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม เมื่อเดือนตุลาคมเกิดน้ำท่วมที่บ้านหนองเม็ก

          3)ฤดูหนาว มีลักษณะอากาศหนาวเย็น เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์

          เนื่องจากถนนในหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีต เมื่อถึงฤดูฝนหรือฤดูร้อนทำให้ไม่มีปัญหาในการเดินทาง ไม่เกิดปัญหาน้ำท่วมขังหรือเกิดฝุ่นคลุ้ง แต่ถนนเส้นที่ติดกับหมู่ 6 บ้านหนองทุ่ม ตำบลบ้านกง เป็นถนนลาดยาง มีหลุมเยอะเมื่อฝนตกจะเกิดน้ำท่วมขัง และถนนหน้าโรงเรียนเป็นถนนหินคลุก เมื่อมีรถจักรยานยนต์ รถยนต์สัญจรผ่าน จะเกิดฝุ่นฟุ้งกระจายในฤดูร้อน

บ้านหนองเม็กตั้งอยู่ในเขตการปกครองบ้านกง มีจำนวนประชากรในทะเบียนราษฎร์ทั้งหมด 1,034 คน มีจำนวนครัวเรือน 209 ครัวเรือน แต่จากการสำรวจจริงพบว่า มีจำนวนประชากรในหมู่บ้านทั้งหมด 848 คน มีจำนวนครัวเรือน 195 ครัวเรือน โดยแบ่งเป็นเพศหญิง 421 คน และเพศชาย 427 คน และข้อมูลจากกรมการปกครองเดือนกุมภาพันธ์ 2566 พบว่าบ้านหัวนากลางมี 242 หลังคาเรือน มีประชากร 889 คน เพศหญิง 446 คน เพศชาย 443 คน ครอบครัวส่วนใหญ่อาศัยอยู่ร่วมกันแบบครอบครัวขยายมีผู้สูงอายุคอยดูแลบุตรหลาน ในขณะที่วัยทำงานออกไปทำงานต่างจัดหวัดหรือในตัวเมืองแนวโน้มของประชากรบ้านหนองเม็กมีลักษณะพีระมิดเป็นแบบหดตัว อัตราการเกิดลดลง ในขณะเดียวกันวัยทำงานมีจำนวนมาก ซึ่งจะกลายเป็นผู้สูงอายุในอนาคต จึงอาจกล่าวได้ว่า ในอนาคตชุมชนบ้านหนองเม็กจะก้าวสู่ระดับสังคมผู้สูงอายุ

ชุมชนบ้านหนองเม็ก มีการประกอบอาชีพเกษตรกรรม (ทำนา-ทำสวน) มากที่สุดจำนวน 193 คน คิดเป็นร้อยละ 33.28 เนื่องจากเป็นอาชีพที่ต้องพึ่งพาสภาพอากาศ และควบคุมไม่ได้ตามฤดูกาล จากสถานการที่ผ่านมามีประชนกรได้รับผลกระทบจากอุทกภัย 5 ครัวเรือนส่งผลให้ครอบครัวที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักมีรายได้ลดลง อาจเกิดปัญหาหนี้สินหรือยากจนตามมา รองลงมาประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/รับจ้างรายวัน 170 คน มีนักเรียน/นักศึกษา 125 คน และพบว่ามีอาชีพอื่น ๆ อีก เช่น ประกอบอาชีพพนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัท รับราชการ ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว และมีบางครัวเรือนมีสมาชิกทำงานต่างประเทศ (เกาหลี, อิสราเอล) และไม่พบคนว่างงานในชุมชน

ผังโครงสร้างองค์กรชุมชนแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์การปกครองที่มีอยู่ในสังคม และระบบโครงสร้างความสัมพันธ์ที่สามารถขับเคลื่อนประเด็นต่างๆ ในชุมชนได้ โครงสร้างองค์กรชุมชนบ้านหนองเม็กแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างองค์กรชุมชนทั้งที่เป็นทางการ ได้แก่ กลุ่มกองทุนออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มออมทรัพย์เงินล้าน  กองทุนขยะ กลุ่มกองทุนฌาปนกิจ care giver อสม. วัดตะคลองหัน และไม่เป็นทางการได้แก่ กลุ่มสตรี กลุ่มจิตอาสา จะช่วยให้เห็นได้ชัดเจนถึงมิติ ความสัมพันธ์ในชุมชน เช่น ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ลักษณะความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มองค์กรและการเข้าใจว่ากลุ่มใดมีบทบาทต่อชุมชนเชิงการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และทำให้เห็นถึงศักยภาพของชุมชนอยู่ที่การรวมตัวเป็นกลุ่มหรือเครือข่าย องค์กรชุมชนจึงเป็นทุนทางสังคมที่สำคัญ ทั้งในการแก้ปัญหาและการสร้างชุมชนที่เข้มแข็งโดยชุมชนบ้านหนองเม็ก หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านกง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ประกอบไปด้วยองค์กรต่าง ๆ ดังนี้

          1. กองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์ เป็นกลุ่มของ 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ 5 และหมู่ 6 ประธาน คือ ผู้ใหญ่บ้าน นางลาพร สุทำมา และคณะ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 2 คน นายศิรวิทย์ ศรีแก้วตู้ และนายสันติภาพ ชันซ้าย จัดตั้งขึ้นเมื่อ ปี 2521 ช่วยเหลือเรื่องการตาย โดยเก็บจากทุกครัวเรือน ครัวเรือนละ 100 บาท ไม่มีเงินทุนหมุนเวียน เมื่อมีการเสียชีวิต จะได้เงินจากกองทุนครอบครัวละ 22,200 บาท หากขาดจ่าย 3 ศพจะขาดจากการเป็นสมาชิก

          2. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต (ทุกวันที่ 1) เป็นกลุ่มของหมู่บ้าน ประธานคือนายสมัย สีละหว้า มีคณะกรรมการ 9 คน มีสมาชิก 495 คน มีเงินทุนหมุนเวียน 2,700,000 ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2534 จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ชาวบ้านรู้จักออมเงินเป็นการช่วยให้คนในชุมชนลดภาระในการเป็นหนี้นอกระบบ เป็นการกู้เงินของคนในหมู่บ้าน ดอกเบี้ยร้อยละ 0.50 บาทต่อปี เสียเงินต้นให้ดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ปันผลแล้วแต่กำไร

          3. กองทุนเงินล้าน (ทุกวันที่ 4) เป็นกองทุนจากรัฐบาลให้หมู่บ้าน ประธานคือ นายโยธิน ศรีหนองเม็ก คณะกรรมการ 8 คน ดอกเบี้ยร้อยละ 6 ต่อปี ปันผลปีละ 1 ครั้ง เป็นเงินงบประมาณที่ส่งตรงถึงมือประชาชน เงินทุนหมุนเวียนปีละ 2,500,000 บาท สมาชิก 437 คน เป็นการสร้างโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับประชาชนในการพัฒนาอาชีพ และสร้างรายได้ในชุมชน ซึ่งหากมีการบริหารจัดการที่ดีมีประสิทธิภาพ กองทุนหมู่บ้าน จะเป็น "แหล่งเงินกู้หลัก" ทำให้การพึ่งพาหนี้ในระบบธนาคาร และหนี้นอกระบบลดลงได้

          4. กลุ่มสตรี ประธาน คือ นางบังอร ศรีหนองเม็ก คณะกรรมการมี 15 คน ทำหน้าที่ในการช่วยชุมชนฝึกฝนอาชีพและร่วมงานกับกลุ่มจิตอาสาเพื่อออกหน่วยช่วยเหลืองานตามหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นงานบวช ฌาปนกิจศพ หรืองานบุญต่าง ๆ ในส่วนของระดับตำบลและอำเภอ ก็จะออกหน่วยจิตอาสาช่วยเหลืองานพิธีต่าง ๆ ร่วมกับหมู่บ้านอื่น ๆ และหน่วยงาน ในแต่ละปีจะได้รับงบประมาณ 10,000 บาทต่อปีในการพัฒนาอาชีพ แต่ปัจจุบันไม่ได้มีกลุ่มพัฒนาอาชีพแล้ว และเงินทุนก็เข้าไปอยู่ในรายการเงินทุนซ่อมบำรุงแทน เป็นต้น

          5. กลุ่มจิตอาสา มีนางลาพร สุทำมา เป็นประธาน กลุ่มจิตอาสาได้จัดตั้งขึ้นเพื่อให้สมาชิกในชุมชนได้ช่วยเหลือกันในสังคม เช่น ระดับหมู่บ้าน งานบุญต่าง ๆ เป็นการช่วยเหลือเช่นการช่วยจัดเตรียมงาน ทำกับข้าวหรือระดมสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในแต่ละปีกลุ่มจิตอาสาทำงานหลายครั้ง เช่น ปีล่าสุดทำงานร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล อาสาแจกของอุปโภคบริโภคและยาให้แก่ชาวบ้านที่ประสบอุทกภัย เป็นต้น 

          6. กลุ่มกองทุนขยะ (ฌาปนกิจ 20 บาท) จัดตั้งโดยองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกง โดยปัจจุบันมีนางลาพร สุทำมา เป็นแกนนำมีเงินทุนหมุนเวียน 50,000 บาท มีสมาชิก 152 คน ทุก ๆ เดือนจะมีการรับซื้อขยะที่ศาลากลางบ้าน โดยรายได้จะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรกจะให้สมาชิก 60 % โดยจะเก็บเงินเข้าบัญชีของครัวเรือนนั้น ส่วนที่สอง 40 % จะเป็นส่วนของกรรมการ เกณฑ์การได้รับเงินฌาปนกิจของกองทุนขยะ คือ ต้องขายขยะ 6 ครั้ง และมีเงินสะสม 300 บาทขึ้นไปจึงจะได้ค่าฌาปนกิจ จำนวนเงินที่ได้จะเท่ากับ 20 บาท x จำนวนสมาชิกขณะนั้น เพื่อส่งเสริมการคัดแยกขยะในครัวเรือน

          7. Care giver ในบ้านหนองเม็ก มี Care giver 1 คน คือ นางวันลี ขันซ้าย ซึ่งผ่านการอบรม 70 ชั่วโมง (5 วัน) ที่โรงพยาบาลหนองเรือ ดูแลผู้สูงอายุ 10 คน แบ่งเป็น ผู้ป่วยติดเตียงที่เป็นโรคความดันโลหิต 1 เบาหวานความดันแขนขาอ่อนแรง 1 คน หลอดเลือดหัวใจ 1 คน หลอดเลือดสมอง 1 คน ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและป่วยเป็นโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง 5 คน มะเร็งเต้านมและพิการขา 1 คน กิจกรรมที่ทำคือให้ความรู้และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในครอบครัว เช่น การพลิกตะแคงตัวทุก 2 ชั่วโมง ล้างแผล ประเมิน Glasgow coma scale ประเมินแผลกดทับ ค่าตอบแทนจะคิดเป็น ดูแล 1-4 คน ค่าตอบแทนอยู่ที่ 600 บาทต่อเดือน ถ้ามากกว่า 4 คน จะค่าตอบแทน 1,600 บาทต่อเดือน

          8. กลุ่ม อสม. มีประธาน คือ นางวันลี ขันซ้าย และมีสมาชิกจำนวน 18 คน โดยกลุ่ม อสม.1 คนรับผิดชอบเฉลี่ย 13-15 หลังคาเรือน โดยจะรับผิดชอบกิจกรรมในการตรวจเช็คลูกน้ำยุงลาย ทุกวันศุกร์ของสัปดาห์ และออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (NCDs) ในเขตรับผิดชอบทุกเดือน และทุก ๆ เดือนจะออกสำรวจเกี่ยวกับหญิงตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบ โดยจะสำรวจเรื่อง Teenage การส่งเสริมฝากครรภ์ และการส่งเสริมเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และทุก 3 เดือนจะมีกิจกรรมคัดกรอง โภชนาการของเด็ก 0-6 ปี โดยจะแบ่ง อสม. ออกเป็น 4 กลุ่ม

          9. วัดตะคลองหัน ตั้งวัด เมื่อ พ.ศ. 2455 เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีพระครูวิจารณ์สารกิจ (คำเฟือง กตวโร) เป็นเจ้าอาวาสวัดตะคลองหัน เป็นแหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจศูนย์กลางวัฒนธรรม และประเพณีของประชาชนในบ้านหนองเม็กตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีศาลหลักบ้านและปราชญ์ชาวบ้าน

วิถีชีวิตด้านเศรษฐกิจ ชาวบ้านในชุมชนบ้านหนองเม็กมีการประกอบอาชีพที่หลากหลาย ทั้งการทำนา-เก็บเกี่ยว โดยเริ่มทำตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคม การทำไร่และทำสวน เช่น การปลูกผัก การรับจ้างทั่วไป การทำปศุสัตว์ การค้าขาย และอุตสาหกรรมในครัวเรือน มีการทำตลอดทั้งปี

วิถีชีวิตด้านเศรษฐกิจ

          ชาวบ้านในชุมชนบ้านหนองเม็กมีการประกอบอาชีพที่หลากหลาย ทั้งการทำนา-เก็บเกี่ยว โดยเริ่มทำตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคม การทำไร่และทำสวน เช่น การปลูกผัก การรับจ้างทั่วไป การทำปศุสัตว์ การค้าขาย และอุตสาหกรรมในครัวเรือน มีการทำตลอดทั้งปี

          ชาวบ้านในชุมชนบ้านหนองเม็กมีการประกอบอาชีพที่หลากหลาย ทั้งการทำนา-เก็บเกี่ยว โดยเริ่มทำตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคม การทำไร่และทำสวน เช่น การปลูกผัก การรับจ้างทั่วไป การทำปศุสัตว์ การค้าขาย และอุตสาหกรรมในครัวเรือน มีการทำตลอดทั้งปี

วิถีชีวิตด้านวัฒนธรรม

          ในรอบปีของผู้คนชาวบ้านหนองเม็กมีการทำกิจกรรม ประเพณี วิถีชีวิตด้านวัฒนธรรมตลอดทั้งปี ดังนี้

          บุญวันขึ้นปีใหม่ เข้าปริวาล และบุญคูนลาน วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี ชุมชนเกิดความสนุกสนาน บุตรหลานที่ไปทำงานต่างจังหวัดหรือทำงานที่อื่น กลับมาเยี่ยมบ้านเกิด เพื่อมาหาญาติผู้ใหญ่ มาขอพรและร่วมรับประทานอาหาร สังสรรค์ร่วมกัน และมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ อวยพรซึ่งกันและกันเรียกว่าบุญเดือนอ้าย ส่วนบุญคูนลานเป็นบุญที่ทำขึ้นเพื่อแสดงความเคารพ จัดเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในลานของตนและชาวบ้าน ขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เพื่อเป็นอานิสงส์ต่าง ๆ และสร้างความภาคภูมิใจให้กับลูกหลานในการที่จะได้ข้าวมานั้นยากลำบาก ในปีใดบุญลานมีข้าวเยอะแสดงว่าปีนั้นมีความอุดมสมบูรณ์ดี โดยการนำเอาข้าวที่ได้มากองขึ้นให้สูงขึ้นเรียกว่าคูณลานเรียกว่าบุญเดือนยี่

          บุญข้าวจี่ จัดขึ้นเพื่อจะได้นำข้าวใหม่ ที่ได้จากการทำนาในแต่ละปี นำเอาข้าวเหนียวที่ปั้นโรยเกลือทาไข่ไก่ แล้วย่างไฟให้สุกเรียกว่าข้าวจี่ ซึ่งการทำบุญข้าวจี่ในเดือนสามเป็นช่วงที่ชาวนาหมดภาระในการทำนาแล้วข้าวขึ้นยุ้งฉางใหม่จึงอยากร่วมทำบุญถวายพระ

          บุญมหาชาติหรือบุญพระเวสสันดร จัดขึ้นเพื่อฟังเทศน์เรื่องมหาเวสสันดรชาดกทั้ง 13 กัณฑ์ ในวันเดียว โดยเชื่อว่าผู้ใดปฏิบัติได้จะพบพระศรีอริยะเมตไตรที่ร่วมทำในเดือนสี่

          บุญสงกรานต์ บุญมหาสงกรานต์หรือตรุษสงกรานต์ มีการทำบุญตักบาตรทำบุญสรงน้ำพระและรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ แสดงความกตัญญูรู้คุณแก่ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ครู และอาจารย์ เพื่อขอให้มีความเป็นอยู่ร่มเย็นเป็นสุข

          บุญบั้งไฟ / บุญบวช / บุญงานแต่ง มีความสำคัญต่อชาวอีสานมาก ชาวบ้านเชื่อว่าบุญประเพณีนี้พญาแถนที่ดลบันดาลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของฟ้าฝน ให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ทำให้ข้าวปลาอาหารพืชพรรณเจริญเติบโตงอกงาม

          บุญเข้าพรรษา วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 เป็นวันเข้าพรรษา ชาวบ้านจะมีการเตรียมการนำถวายผ้าอาบน้ำฝน เพื่อใช้อาบน้ำช่วงฤดูฝน และเตรียมเทียนเพื่อไปถวายวัด สว่าง แม้ปัจจุบันจะเจริญแล้วแต่ยังรักษาฮีตเดิมโดยการนำธูปเทียนไปถวายเช่นเดิม เพื่อให้พระสงฆ์มีใช้ตลอดระยะเวลา 3 เดือน

          บุญข้าวประดับดิน บุญสิ้นเดือนเก้าโดยเชื่อว่าประตูนรกจะเปิด ยมบาลจะปล่อยให้ผีมาเยี่ยมญาติในโลกมนุษย์ เป็นการนำอาหารคาวหวาน หมากพลูและบุหรี่จัดใส่กระทงวางไว้บนพื้น ใต้ต้นไม้ เพื่อเป็นการเซ่นดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ เพื่อให้เกิดความเป็นอยู่ที่อุดมสมบูรณ์ไม่มีภัยร้ายใด ๆ มาเยือน

          บุญข้าวสาก จัดขึ้นเพื่อให้ข้าวกล้าในนางอกงามและได้ผลบริบูรณ์ เป็นการทำบุญ เพื่ออุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วโดยเชื่อว่าผีตาแฮก เป็นผู้ปกปักษ์รักษาข้าวกล้าในนาให้ได้ผลดี โดยมีเวลาห่างจากบุญข้าวประดับดินเพียง 15 วัน

          บุญออกพรรษาตักรบาตรเทโว เป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 เป็นวันออกพรรษา เป็นบุญที่ความสำคัญเพราะเชื่อว่าพระสงฆ์ได้อยู่จำพรรษาเป็นเวลาไตรมาส 3 เดือนย่อมมีความบริสุทธิ์ จริยธรรมงดงามจะมาซึ่งบุญและได้บุญมากชาวบ้านจะร่วมกันทำบุญตักบาตรเทโวที่วัด และฟังธรรมเทศนาและกลางคืนจะจุดประทีป เพื่อความสว่างไสว

          บุญกฐินสามัคคี เป็นการเตรียมผ้าไตรจีวรถวายพระภิกษุ พร้อมกับเครื่องสังฆทาน และเครื่องไทยทาน เมื่อนำองค์กฐินไปถึงวัดจะมีการแห่เวียนรอบพระอุโบสถสามรอบแล้วจึงนำไปถวายพระสงฆที่โบสถ์หรือที่ศาลา

          บุญส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ วันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี บุญนี้มีต่อเนื่องไปถึงวันขึ้นปีใหม่ มีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ อวยพรซึ่งกันและกัน บุตรหลานที่ไปทำงานต่างจังหวัดหรือทำงานที่อื่น กลับมาเยี่ยมบ้านเกิด เพื่อมาหาญาติผู้ใหญ่ มาขอพรและร่วมรับประทานอาหาร สังสรรค์ร่วมกัน

1) นางสาวลาพร สุทำมา เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนและผู้ใหญ่บ้าน ที่คอยดูแลและช่วยเหลือชาวบ้านในชุมชนที่ต้องได้รับการดูแล และให้ทุกครัวเรือเข้าถึงบริการต่าง ๆ ให้ได้ทุกคน มีการประสานงานระหว่างชุมชนกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกงในการนำข้อมูลไปเผยแพร่ให้ชาวบ้านได้รับรู้ และยังจัดทำกองทุน โครงการต่าง ๆ มีการบริจาคข้าวสาร อาหารแห้งต่าง ๆ ภายในหมู่บ้าน โดยนำอาสาสมัครสาธารณสุขไปร่วมทำกิจกรรมบริจาคให้หมู่บ้านข้างเคียงที่ประสบอุทกภัย ทำให้ชุมชนมีความสามัคคีและร่วมใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการทำกิจกรรม ซึ่งนางสาวลาพร สุทำมา ได้สมรสกับนายสาคร สีละหว้า มีบุตรด้วยกัน 2 คน ความสัมพันธ์ในครอบครัวและเครือญาติมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทั้งในด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และนางสาวลาพรมีลักษณะนิสัยที่กล้าพูด กล้าแสดงออกอีกทั้งยังคอยช่วยเหลือกิจกรรมภายในชุมชนอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เป็นที่รักใคร่ของชาวบ้าน

ทุนมนุษย์

          นางสาวลาพร สุทำมา เป็นผู้นำหมู่บ้านที่ดี เป็นคนยิ้มแย้มแจ่มใส อัธยาศัยดี ชอบทำจิตอาสาคอยช่วยเหลือผู้อื่นในเรื่องต่างๆ สามารถชี้นำเป้าหมายและช่วยเหลือชาวบ้านในทุกเรื่อง ทั้งตอนประสบอุทกภัย ทั้งการประสานงานกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกง เพื่อให้ชาวบ้านได้รับการดูแลรักษาสุขภาพอย่างครบถ้วน ด้วยเหตุนี้ นางสาวลาพร สุทำมา จึงเป็นที่รักใคร่ของชาวบ้าน และเป็นบุคคลที่ชาวบ้านเชื่อมั่นว่าจะสามารถนำพาหมู่บ้านไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้

          ทุนสังคม

          การที่หมู่บ้านหนองเม็กสามารถพัฒนาได้นั้น ไม่เพียงแต่มีผู้นำที่ดี แต่ยังมีผู้คนและองค์กรต่างๆ ที่คอยให้ความร่วมมือในการขับเคลื่อนประเด็นที่สำคัญในชุมชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งการร่วมมือกันขององค์กรชุมชนที่เป็นทางการ ได้แก่ กลุ่มกองทุนออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มออมทรัพย์เงินล้าน  กองทุนขยะ กลุ่มกองทุนฌาปนกิจ care giver อสม. วัดตะคลองหัน และองค์กรที่ไม่เป็นทางการ ได้แก่ กลุ่มสตรี กลุ่มจิตอาสา แม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรจะเป็นความสัมพันธ์เชิงอำนาจ แต่ก็เป็นความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น ทุกองค์กรสามารถเข้าใจได้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มองค์กรและบทบาทของแต่ละองค์กรต่อชุมชนเชิงการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และทำให้เห็นถึงศักยภาพของชุมชนอยู่ที่การรวมตัวเป็นกลุ่มหรือเครือข่าย องค์กรชุมชนจึงเป็นทุนทางสังคมที่สำคัญ ทั้งในการแก้ปัญหาและการสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง

ภาษาอีสานหรือภาษาลาวอีสานหรือภาษาไทยถิ่นตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการพัฒนาในท้องถิ่นภาษาลาวในประเทศไทย ซึ่งชาวบ้านในชุมชนบ้านหนองเม็ก ตำบลบ้านกง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น นิยมใช้ภาษาอีสานและภาษากลางในการสื่อสาร โดยมีสำเนียงการพูดภาษาอีสานเป็นแบบลาวตะวันตก (สำเนียงมาตรฐานของภาษาอีสาน) และสำเนียงแบบลาวเวียงจันทน์ 


ความท้ายทายต่อการเปลี่ยนแปลงชุมชนเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ชุมชนบ้านหนองเม็กมีลักษณะประชากรเป็นแบบพีระมิดหดตัว ซึ่งหมายความว่าในปัจจุบันมีอัตราการเกิดต่ำ มีประชากรในช่วงวัย 60 ปีขึ้นไปมากถึง ร้อยละ 19.46 ซึ่งทำให้ในอนาคตบ้านหนองเม็กนั้นจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างแน่นอน ซึ่งอาจส่งผลกระทบในด้านค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น การดูแลสวัสดิการและการรักษาพยาบาลเพิ่มมากขึ้น เพื่อดูแลและปฐมพยาบาลผู้สูงอายุมากขึ้นและวัยเด็กที่จะพัฒนาไปเป็นวัยแรงงานอาจมีอัตรากำลังที่ดูแลอัตราพึ่งพิงวัยสูงอายุไม่เพียงพอได้ ทำให้เกิดการทอดทิ้งผู้สูงอายุ และทำให้ผู้สูงอายุนั้นมีผลกระทบด้านจิตใจและร่างกายตามมา ดังนั้นการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของทุกช่วงวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่ต้องใช้ความร่วมมือจากหลายองค์กรในชุมชน ต้องเตรียมพร้อมสุขภาพกาย จิตใจ และด้านการเงินควรมีการวางแผนทางการเงินหน้า โดยส่งเสริมการออมเพื่อวัยหลังเกษียณผ่านเครื่องมือหรือระบบการออมประเภทต่าง ๆ ได้แก่ กองทุนประกันสังคม เพื่อให้เพียงพอไว้ใช้จ่ายในยามสูงอายุ ด้านที่อยู่อาศัยต้องเหมาะสมต่อสุขภาพของผู้สูงอายุและด้านผู้ดูแลจะต้องมีความรู้ และมีความพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อให้สามารถดูแลปัญหาผู้สูงอายุได้ด้วยตนเองได้มากที่สุด และการเตรียมพร้อมทางด้านบุคลากรสาธารณสุขจำเป็นต้องมีการฝึกอบรมเพื่อให้การดูแลผู้สูงอายุ การป้องกันโรค และการบริหารจัดการโรคเรื้อรัง การสร้างนโยบายการดูแลผู้สูงอายุที่ยั่งยืน รวมถึงการพัฒนาระบบที่อำนวยความสะดวกต่าง ๆ และมีการจัดกองทุนประกันสุขภาพผู้สูงอายุ เพื่อรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ภายในชุมชนมีแหล่งประโยชน์ที่สำคัญ โดยเฉพาะวัดตะคลองหัน ซึ่งทำให้ประชาชนสามารถเดินทางไปทำบุญที่วัดสะดวก เนื่องจากอยู่ใกล้บ้าน ทั้งยังมีโรงเรียนหนองเม็ก หนองทุ่ม โนนศิลา ประชาสรรค์ ที่ส่งผลให้เด็ก ๆ เดินทางไปโรงเรียนได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องพึ่งพาครอบครัวไปรับส่ง และชุมชนมีร้านขายของชำ 7 แห่ง ร้านขายอาหาร 3 แห่ง ซึ่งทำให้ชุมชนมีความเจริญ ด้านการเงินมีการหมุนเวียนมากขึ้น การที่มีโรงสี 6 แห่ง จึงมีความเพียงพอต่อประชากรในบ้านหนองเม็ก

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย คณะกรรมการอำนวยการงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน (พชช.)คู่มือการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นขั้นพื้นฐานปี (2560-2564). หน้า 3-4

กรมการปกครอง. (2566). ระบบสถิติทางการทะเบียน จำนวนประชากรบ้านหนองไผ่. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่                  13 เมษายน 2566. เข้าถึงได้จาก : สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (dopa.go.th)

Natchaphon B. (2565). สำเนียงลาวในภาษาอีสานไทย. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2566.

               เข้าถึงได้จาก : https://www.sanook.com/campus/1409663/