คำขวัญ อ.หนองเรือ : หนองเรือตระการ จักสารไม้ไผ่ ไก่ย่างทางพาด ตลาดกะหล่ำ เลิศล้ำเพชรพลอยเจียระไน พระใหญ่ภูเม็งทอง |
คำขวัญ อ.หนองเรือ : หนองเรือตระการ จักสารไม้ไผ่ ไก่ย่างทางพาด ตลาดกะหล่ำ เลิศล้ำเพชรพลอยเจียระไน พระใหญ่ภูเม็งทอง |
หมู่บ้านจระเข้ เมื่อปี พ.ศ.2340 มีพระสงฆ์ชื่อ พระเกตวัจนา ผู้ก่อตั้งอำเภอ โดยใช้ชื่อว่า เมืองปัญจา ซึ่งปัจจุบัน คือ สถานที่ตั้งโรงเรียนบ้านหัวนาจระเข้หนองแปน เป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำลำธารล้อมรอบ ต่อมาได้เกิดโรคระบาดขึ้นอย่างร้ายแรง คือโรคอหิวาตกโรค พ.ศ 2350 ทำให้ผู้คนเสียชีวิต และส่งผลกระทบเกิดความเสียหาย พระเกตวัจนาจึงได้พาผู้คนอพยพหนีไปตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใหม่ และได้ตั้งหมู่บ้านชื่อว่าบ้านสวนม่อน ต่อมาได้ตั้งเป็นอำเภอกุดเค้า ซึ่งปัจจุบัน คือ อำเภอมัญจาคีรี ส่วนประชาชนที่ไม่ได้ย้ายถิ่นฐาน หรือย้ายไปไม่ทัน จึงปักหลักอยู่ที่เดิม ต่อมามีชาวบ้าน ซึ่งเป็นชาวอุบลราชธานีย้ายเข้ามารวมกันในชุมชนแห่งนี้ ทำให้มีผู้คนเพิ่มมากขึ้น จนเกิดเป็นหมู่บ้านอีกครั้ง ได้ตั้งชื่อหมู่บ้าน คือบ้านเป้า และได้เลือก นายเหล็ก แสนบุราณ ได้ถูกแต่งตั้งให้เป็น หลวงประสิทธิ์ ฤทธิไกร ทำหน้าที่เป็นผู้นำหมู่บ้าน เมื่อปี พ.ศ.2350 ต่อมาชาวบ้านได้ช่วยกันทำ ทำนบกั้นลำห้วยที่ไหลจากภูเม็งลงสู่ลำน้ำเซิน (ปัจจุบันคือหนองโพนวิลัย) ขณะปิดกั้นครั้งแรกมีพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์และสัตว์น้ำอาศัยอยู่มากมาย ต่อมามีจระเข้อยู่อาศัยและเพิ่มจำนวนมากขึ้น และยังได้ทำลายผู้คนเป็นประจำ จึงได้เล่าสืบต่อกันมาหลายหมู่บ้าน เมื่อมีคนที่บ้านเป้าไปทำมาค้าขายในท้องถิ่นอื่นผู้คนถามว่าอยู่ที่ใด ชาวบ้านก็ได้บอกเล่าว่าอยู่บ้านเป้าที่มีจระเข้ดุร้าย จึงถูกขนานนามว่า หมู่บ้านจระเข้ และมีการก่อตั้งศาลปู่ตาขึ้นเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชุมชนจระเข้หมู่ 1
หมู่บ้านจระเข้ได้แยกออกมาเป็นหมู่ ในปี พ.ศ. 2380 ซึ่งประกอบด้วย หมู่ 1 บ้านจระเข้ หมู่ 2 บ้านหัวนา หมู่ 3 บ้านหัวนา หมู่ 4 บ้านโพนสว่าง หมู่ 5 บ้านหัวบึง หมู่ 6 บ้านหนองหอย หมู่ 7 บ้านโคกกลาง หมู่ 8 บ้านหนองแปน หมู่ 9 บ้านเทพเทวัญ หมู่ 10 บ้านโพนสว่าง หมู่ 11 บ้านบึงสว่าง และหมู่12 บ้านหัวนา ทั้งแต่งตั้งให้มีผู้ใหญ่บ้านแต่ละหมู่ขึ้นมา
เมื่อปี พ.ศ.2464 ได้ทำการก่อตั้งโรงเรียนบ้านหัวนาจระเข้หนองแปน และวัดโพธิ์กลาง เป็นแหล่งประโยชน์ของคนในชุมชนบ้านจระเข้ หมู่ 1 จนมาถึงปัจจุบัน ซึ่งโรงเรียนบ้านหัวนาจระเข้หนองแปนมีชื่อเดิม คือ โรงเรียนบ้านจระเข้ ต่อมาโรงเรียนเป็นแหล่งการศึกษาของหลายหมู่บ้าน จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนบ้านหัวนาจระเข้หนองแปนมาจนถึงปัจจุบัน
หมู่บ้านจระเข้ เมื่อปี พ.ศ.2340 มีพระสงฆ์ชื่อ พระเกตวัจนา ผู้ก่อตั้งอำเภอ โดยใช้ชื่อว่า เมืองปัญจา ซึ่งปัจจุบัน คือ สถานที่ตั้งโรงเรียนบ้านหัวนาจระเข้หนองแปน เป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำลำธารล้อมรอบ ต่อมาได้เกิดโรคระบาดขึ้นอย่างร้ายแรง คือโรคอหิวาตกโรค พ.ศ 2350 ทำให้ผู้คนเสียชีวิต และส่งผลกระทบเกิดความเสียหาย พระเกตวัจนาจึงได้พาผู้คนอพยพหนีไปตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใหม่ และได้ตั้งหมู่บ้านชื่อว่าบ้านสวนม่อน ต่อมาได้ตั้งเป็นอำเภอกุดเค้า ซึ่งปัจจุบัน คือ อำเภอมัญจาคีรี ส่วนประชาชนที่ไม่ได้ย้ายถิ่นฐาน หรือย้ายไปไม่ทัน จึงปักหลักอยู่ที่เดิม ต่อมามีชาวบ้าน ซึ่งเป็นชาวอุบลราชธานีย้ายเข้ามารวมกันในชุมชนแห่งนี้ ทำให้มีผู้คนเพิ่มมากขึ้น จนเกิดเป็นหมู่บ้านอีกครั้ง ได้ตั้งชื่อหมู่บ้าน คือบ้านเป้า และได้เลือก นายเหล็ก แสนบุราณ ได้ถูกแต่งตั้งให้เป็น หลวงประสิทธิ์ ฤทธิไกร ทำหน้าที่เป็นผู้นำหมู่บ้าน เมื่อปี พ.ศ.2350 ต่อมาชาวบ้านได้ช่วยกันทำ ทำนบกั้นลำห้วยที่ไหลจากภูเม็งลงสู่ลำน้ำเซิน (ปัจจุบันคือหนองโพนวิลัย) ขณะปิดกั้นครั้งแรกมีพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์และสัตว์น้ำอาศัยอยู่มากมาย ต่อมามีจระเข้อยู่อาศัยและเพิ่มจำนวนมากขึ้น และยังได้ทำลายผู้คนเป็นประจำ จึงได้เล่าสืบต่อกันมาหลายหมู่บ้าน เมื่อมีคนที่บ้านเป้าไปทำมาค้าขายในท้องถิ่นอื่นผู้คนถามว่าอยู่ที่ใด ชาวบ้านก็ได้บอกเล่าว่าอยู่บ้านเป้าที่มีจระเข้ดุร้าย จึงถูกขนานนามว่า หมู่บ้านจระเข้ และมีการก่อตั้งศาลปู่ตาขึ้นเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชุมชนจระเข้หมู่ 1
หมู่บ้านจระเข้ได้แยกออกมาเป็นหมู่ ในปี พ.ศ. 2380 ซึ่งประกอบด้วย หมู่ 1 บ้านจระเข้ หมู่ 2 บ้านหัวนา หมู่ 3 บ้านหัวนา หมู่ 4 บ้านโพนสว่าง หมู่ 5 บ้านหัวบึง หมู่ 6 บ้านหนองหอย หมู่ 7 บ้านโคกกลาง หมู่ 8 บ้านหนองแปน หมู่ 9 บ้านเทพเทวัญ หมู่ 10 บ้านโพนสว่าง หมู่ 11 บ้านบึงสว่าง และหมู่12 บ้านหัวนา ทั้งแต่งตั้งให้มีผู้ใหญ่บ้านแต่ละหมู่ขึ้นมา
เมื่อปี พ.ศ.2464 ได้ทำการก่อตั้งโรงเรียนบ้านหัวนาจระเข้หนองแปน และวัดโพธิ์กลาง เป็นแหล่งประโยชน์ของคนในชุมชนบ้านจระเข้ หมู่ 1 จนมาถึงปัจจุบัน ซึ่งโรงเรียนบ้านหัวนาจระเข้หนองแปนมีชื่อเดิม คือ โรงเรียนบ้านจระเข้ ต่อมาโรงเรียนเป็นแหล่งการศึกษาของหลายหมู่บ้าน จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนบ้านหัวนาจระเข้หนองแปนมาจนถึงปัจจุบัน
บ้านจระเข้ หมู่ที่ 1 ตำบลจระเข้ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของตำบลจระเข้ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น มีพื้นที่ทั้งหมด 1598 ไร่ ที่อยู่อาศัย 163 ไร่
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดกับ เทศบาลดอนโมง
ทิศใต้ ติดกับ บ้านหนองหอยเทพเทวัญ
ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านโคกกลาง
ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านหัวนา
สภาพพื้นที่ทางกายภาพและภูมิอากาศ
โดยทั่วไปสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบร้อยละ 90 เป็นพื้นที่ทำนาและทำสวน สภาพดินเป็นดินร่วนปนทรายมีการระบายน้ำได้ดีเหมาะสำหรับทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ มีบึงน้ำสาธารณะ คือ บึงหนองโพนวิลัย มีเทือกเขากระแตอยู่ทางด้านทิศตะวันออก หมู่บ้านจะตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดขอนแก่น แหล่งน้ำใต้ดินจะรองรับด้วยหินแข็งเป็นหินดินดาน หินทรายแข็ง หินกรวดมน และหินทรายแข็งของชุดภูกระดึงและชุดน้ำพอง
สภาพภูมิอากาศในชุมชนแบ่งออกเป็น 3 ฤดู ได้แก่
1) ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงต้นเดือนพฤษภาคม อากาศจะร้อนจัดในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี ซึ่งในรอบ 10 ปี มีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 40.5 องศาเซลเซียส มีฝุ่นละอองจากการคมนาคม ในถนนบางสายในหมู่บ้าน
2) ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมไปจนถึงปลายเดือนตุลาคม โดยจะมีฝนตกชุกในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายนของทุกปี ช่วงฝนตกหนักจะมีน้ำขังตามถนน ในบางปีมีปริมาณน้ำฝนมาก น้ำจะกักเก็บไว้ที่หนองสาธารณะในหมู่บ้าน
3) ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยทั่วไปจะมีอากาศหนาวจัดในช่วงเดือนธันวาคมจนถึงเดือนมกราคมของทุกปี โดยในช่วงเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่มีอุณหภูมิต่ำสุดอยู่ระหว่าง 11.9 – 15.6 องศาเซลเซียส
แหล่งทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน
ทรัพยากรน้ำ มีหนองน้ำสาธารณะ 1 แห่งบริเวณหลังสุขศาลาคือ บึงหนองโพนวิลัยเป็นแหล่งน้ำประจำหมู่บ้านใช้ในการประกอบพิธีกรรมของหมู่บ้านหรือทำกิจกรรมอื่นๆร่วมกันและในการผลิตน้ำเพื่อสาธารณูปโภค
หมู่บ้านบ้านจระเข้ หมู่ที่ 1 มีพื้นที่ป่าไม้ในหมู่บ้านจำนวน 1,000 ไร่ ประชาชนในชุมชนสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าไม้โดยการหาของป่า เช่นการเก็บฟืน หาเห็ด หน่อไม้ ตามฤดูกาล
สาธารณูปโภคในชุมชน
น้ำดื่มส่วนมากจะซื้อน้ำถัง น้ำใช้ ใช้น้ำประปาของหมู่บ้านเพียงอย่างเดียวซึ่งเพียงพอต่อการใช้ตลอดปี ทุกครัวเรือนมีไฟฟ้าใช้ หมู่บ้านจระเข้ หมู่ที่ 1 อยู่ในเขตให้บริการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดขอนแก่น ซึ่งผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำของเขื่อนอุบลรัตน์และพลังงานความร้อนในเขตอำเภอน้ำพอง
จากการสำรวจพบว่า จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่บ้านจระเข้ หมู่ 1 มีทั้งหมด 606 คน แบ่งเป็นเพศชาย 293 คน เพศหญิง 313 คน โดยมีจำนวนครัวเรือน 164 ครัวเรือน และข้อมูลจากกรมการปกครองเดือนกุมภาพันธ์ 2566 พบว่าบ้านหัวนากลางมี 228 หลังคาเรือน มีประชากร 765 คน เพศหญิง 373 คน เพศชาย 392 คน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประชากรของชุมชนบ้านจระเข้ หมู่ 1 มีสัดส่วนของประชากรเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ในส่วนของลักษณะโครงสร้างครอบครัวของชาวบ้านชุมชนจระเข้ส่วนใหญ่เป็นครอบครัวขยาย สมาชิกครอบครัวส่วนใหญ่ประกอบไปด้วย ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ลูก และญาติพี่น้อง จำนวน 89 ครัวเรือน และมีครอบครัวเดี่ยว จำนวน 75 ครัวเรือน
ประชากรของชุมชนบ้านจระเข้ หมู่ 1 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เกษตรกร 166 คน นักเรียน/นักศึกษา 140 คน และรับจ้างทั่วไปตามลำดับ 87 คน เนื่องจากเป็นชุมชนที่มีพื้นที่เหมาะสมแก่การทำการเกษตร การเพาะปลูก รวมทั้งเป็นชุมชนเขตใกล้เมืองทำให้คนในชุมชนประกอบอาชีพรับจ้างเป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ ดังนี้
การจัดระเบียบการปกครองหมู่บ้านของบ้านจระเข้ ประกอบไปด้วย ผู้ใหญ่บ้าน 1 คน ทำหน้าที่ปกครองราษฎรในเขตชุมชน มีคณะกรรมการหมู่บ้าน 15 คน และมีกองทุนต่างๆที่ทางหมู่บ้านจัดตั้งขึ้น
การจัดระเบียบการปกครองหมู่บ้านของบ้านจระเข้ ประกอบไปด้วย ผู้ใหญ่บ้าน 1 คน ทำหน้าที่ปกครองราษฎรในเขตชุมชน มีคณะกรรมการหมู่บ้าน 15 คน และมีกองทุนต่างๆที่ทางหมู่บ้านจัดตั้งขึ้น
การจากสำรวจวิถีชีวิตด้านเศรษฐกิจและวิถีชีวิตด้านวัฒนธรรมของชาวบ้านชุมชนบ้านจระเข้ พบว่ามีวิถีชีวิตตามปฏิทินดังต่อไปนี้
วิถีชีวิตด้านเศรษฐกิจ
จากปฏิทินชุมชนด้านเศรษฐกิจพว่า ชุมชนบ้านจระเข้มีกิจกรรมกิจกรรมด้านสังคมและอาชีพหลักของชุมชนบ้านจระเข้ อันดับ 1 คือ อาชีพทำนาโดยเริ่มทำตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม ส่วนอาชีพรับจ้างทั่วไป อาชีพเลี้ยงวัว ควาย ทำตลอดทั้งปี และอาชีพปลูกอ้อย เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม
วิถีชีวิตด้านวัฒนธรรม
สำหรับด้านวัฒนธรรมพบว่าประเพณีพิธีกรรมความเชื่อวิถีชีวิตทางสังคมและวัฒนธรรมที่สำคัญของชุมชนมีกิจกรรมประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อตลอดทั้งปี ดังนี้
1. วันขึ้นปีใหม่ ชุมชนเกิดความรื่นเริงสนุกสนานได้กลับมาเยี่ยมบ้านเกิด
2. บุญคูณลาน จัดขึ้นเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในลานของตน และเพื่อเป็นการขออานิสงส์ต่างๆ
3. บุญข้าวจี่ จัดขึ้นเพื่อจะได้นำข้าวใหม่ ที่ได้จากการทำนาในแต่ละปีไปถวายพระผู้ทรงศีลได้ฉันก่อนเสมอ เพื่อความเป็นมงคลและเพิ่มผลผลิตในปีต่อไป
4. บุญมหาชาติ จัดขึ้นเพื่อฟังเทศน์เรื่องมหาเวสสันดรชาดกทั้ง 13 กัณฑ์ ในวันเดียว โดยเชื่อว่าผู้ใดปฏิบัติได้จะพบพระศรีอริยะเมตไตร
5. ประเพณีสงกรานต์ จัดขึ้นเพื่อแสดงความกตัญญูรู้คุณแก่ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ และครู อาจารย์ โดยการนำน้ำอบ น้ำหอมไปสรงน้ำให้ผู้สูงอายุ
6. บุญบั้งไฟ จัดขึ้นเพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล โดยมีความเชื่อว่าถ้าจุดบั้งไฟขึ้นฟ้าพระยาแถนจะสั่งให้ฝนตกตามฤดูกาล
7. บุญเบิกบ้าน จัดขึ้นเพื่อขับไล่สิ่งเสนียดจัญไรตลอดจนโรคภัยไข้เจ็บออกจากหมู่บ้านและขณะเดียวกันเป็นการป้องกันสิ่งชั่วร้ายไม่ให้เข้ามาในหมู่บ้านได้
8. วันเข้าพรรษา จัดขึ้นเพื่อนำเทียนและผ้าจำพรรษาไปถวายแก่พระภิกษุให้มีใช้ตลอดระยะเวลา 3 เดือน
9. บุญข้าวประดับดิน จัดขึ้นเพื่อนำห่อข้าวซึ่งมีอาหารคาวหวาน หมากพลู บุหรี่ ไปวางไว้ให้ผีบรรพบุรุษ นำไปกินโดยเชื่อว่าในคืนเดือนเก้าดับนี้ประตูนรกจะเปิด ยมบาลจะปล่อยให้ผีมาเยี่ยมญาติในโลกมนุษย์
10.บุญข้าวสาก จัดขึ้นเพื่อให้ข้าวกล้าในนางอกงามและได้ผลบริบูรณ์ เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยเชื่อว่า “ผีตาแฮก” ซึ่งเป็นผู้ปกปักษ์รักษาข้าวกล้าในนาให้ได้ผลดี
11. วันออกพรรษา จัดขึ้นเพื่อจุดประทีป โคมไฟ เป็นการบูชาพระพุทธเจ้า
12. ลอยกระทง จัดขึ้นเพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทและบูชาเทพเจ้าตามคติความเชื่อเพื่อรักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้มิให้ฟ
นางรวิวรรณ แสงโคตร (แม่พิ้ง) อายุ 64 ปี ชาวบ้านคุ้นเคยกันดีในฐานะกรรมการหมู่บ้านและเป็นอาสาสมัครหมู่บ้าน อีกทั้งยังเป็นผู้นำในการทำกิจกรรมต่างๆในชุมชน เป็นที่ปรึกษาให้กับคนในชุมชนและเป็นผู้นำในด้านสุขภาพในชุมชนจระเข้ หมู่ที่ 1 เป็นผู้นำชุมชนทำกิจกรรมที่สำคัญของชุมชน เป็นผู้ช่วยหางบประมาณให้กับหน่วยงานต่างๆ และยังได้รับรางวัล อสม.ดีเด่นประจำหมู่บ้าน 3 ปีซ้อน พร้อมกับบุคลิกภาพที่เฉลียวฉลาด เสียงดังฟังชัด แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี มีความว่องไวในการทำงาน และมีสามีอายุ 67 ปี ที่คอยให้ความร่วมมือและให้คำปรึกษาในขณะทำงาน
นายรังสรรค์ หนูจันทร์ เกิดวันที่ 13 พฤษภาคม 2490 ปัจจุบันอายุ 72 ปี มีโรคประจำตัว คือ ความดันโลหิตสูง เริ่มเป็นเมื่อ พ.ศ. 2545 รับยาประจำที่โรงพยาบาลหนองเรือ สมรสกับนางสมมาตร หนูจันทร์ เมื่อ พ.ศ. 2515 ในปี พ.ศ. 2554 นายรังสรรค์เริ่มเข้าวัดและได้เป็นผู้นำทางศาสนา ได้รับความเชื่อใจจากสมาชิกในหมู่บ้าน ต่อมาได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนหัวนาจระเข้หนองแปน ปี พ.ศ. 2556 เป็นกรรมการศูนย์วัฒนธรรมตำบลจระเข้ ปี พ.ศ. 2558 เป็นกรรมการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และปัจจุบันนายรังสรรค์เป็นมัคทายกประจำหมู่บ้านจระเข้
ทุนกายภาพ
ชุมชนบ้านจระเข้มีหนองน้ำสาธารณะอยู่ 1 แห่ง ได้แก่ บึงหนองโพนวิลัย ซึ่งเป็นแหล่งน้ำประจำหมู่บ้านที่มีมาตั้งแต่การเริ่มก่อตั้งหมู่บ้าน แหล่งน้ำแห่งนี้ใช้ในการประกอบพิธีกรรมของหมู่บ้านหรือกิจกรรมอื่นๆร่วมกันในการผลอตน้ำเพื่อสาธารณูปโภค อีกทั้งบ้านจระเข้ยังมีป่าในหมู่บ้านจำนวนกว่า 1,000 ไร่ ซึ่งชาวบ้านในชุมชนสามารถใช้ประโยชน์จากป่านี้ได้หลากหลาย เช่น การเก็บฟืน เห็ด หน่อไม้ หรือผักตามฤดูกาล เพื่อนำไปประกอบอาหารหรือนำไปขายสร้างรายได้
ภาษาอีสานหรือภาษาลาวอีสานหรือภาษาไทยถิ่นตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการพัฒนาในท้องถิ่นภาษาลาวในประเทศไทย ซึ่งชาวบ้านในชุมชนบ้านจระเข้ ตำบลจระเข้ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น นิยมใช้ภาษาอีสานและภาษากลางในการสื่อสารเชื่อเดียวกันกับหมู่บ้านอื่นๆในตำบล โดยมีสำเนียงการพูดภาษาอีสานเป็นแบบลาวตะวันตก (สำเนียงมาตรฐานของภาษาอีสาน) และสำเนียงแบบลาวเวียงจันทน์
การเปลี่ยนแปลงสู่ความทันสมัย ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงหลายๆด้าน เช่น การเปลี่ยนลักษณะบ้านเป็นบ้านสมัยใหม่ มีการนำปูนเข้ามาสร้างบ้านอย่างแพร่หลาย อีกทั้งยังมีอิทธิพลของเทคโนโลยีเข้ามาทำให้เกิดการเรียนรู้ผ่านสื่อออนไลน์ โรงเรียนต่างๆได้นำเทคโนโลยีนี้เข้ามาใช้ในการเรียนการสอนมากขึ้น
การอพยพประชากร จะเห็นได้ว่าโครงสร้างครอบครัวส่วนใหญ่ในบ้านจระเข้เป็นครอบครัวแบบขยาย ซึ่งสมาชิกในวัยแรงงานของครอบครัวได้อพยพเข้าไปทำงานต่างถิ่น และให้ผู้สูงอายุดูแลบุตรหลาน เช่น ตายายดูแลหลาน การอพยพนี้ส่งผลให้เกิดปัญหาความต่างระหว่างช่วงวัย ผู้สูงอายุไม่สามารถเข้าใจชีวิตและอบรมสั่งสอนบุตรหลานได้ อาจทำให้เกิดปัญหาสังคมตามมาในอนาคต
นอกจากนี้ชุมชนบ้านจระเข้ยังมีสถานที่อื่นๆที่น่าสนใจ คือ ตลาด 1 แห่ง ปั๊มน้ำมัน 2 แห่ง มีร้านค้าต่างๆ ได้แก่ ร้านซ่อมรถ ร้านตัดผม ร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ร้านขายอาหาร และร้านขายของชำทั่วไป
กรมการปกครอง. (2566). ระบบสถิติทางการทะเบียน จำนวนประชากรบ้านหนองไผ่. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2566. เข้าถึงได้จาก : สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (dopa.go.th)
Natchaphon B. (2565). สำเนียงลาวในภาษาอีสานไทย. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2566.
เข้าถึงได้จาก : https://www.sanook.com/campus/1409663/