2510 คือปีที่บ้านสระปรือถูกตั้งขึ้น ชื่อชุมชนมีที่มาจากการเรียกพืชตระกูลกกชนิดหนึ่ง จาก ต้นผรือ เพี้ยนเสียงกลายเป็น ต้นปรือ ชาวบ้านจึงนำมาตั้งชื่อกระทั่งถึงปัจจุบัน
ชาวบ้านเรียกพืชตระกูลกกชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ริมสระแหล่งน้ำของหมู่บ้านว่า "ต้นผรือ" เรื่อยมากระทั่งมีการเรียกผิดเพี้ยนเป็น "ต้นปรือ" จึงได้นำมาตั้งชื่อหมู่บ้านจนถึงปัจจุบัน
2510 คือปีที่บ้านสระปรือถูกตั้งขึ้น ชื่อชุมชนมีที่มาจากการเรียกพืชตระกูลกกชนิดหนึ่ง จาก ต้นผรือ เพี้ยนเสียงกลายเป็น ต้นปรือ ชาวบ้านจึงนำมาตั้งชื่อกระทั่งถึงปัจจุบัน
บ้านสระปรือ ตั้งขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.2510 โดยมีนายหนู พูนพิพัด นายลี ปัสสะติ และนายสุด ภูบานชื่นเป็นผู้นำชุมชนมาตั้งหมู่บ้านรวมกันอยู่ประมาณ 150 ครัวเรือน ส่วนมากเป็นคนอพยพมาจากบุรีรัมย์ ภาคอีสาน หนีความแห้งแล้งมาแสวงหาที่ทำกินที่อุดมสมบูรณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2505 มีการปล้นวัว ปล้นควายและทรัพย์สินของชาวบ้าน ทำให้ชาวบ้านบางส่วนเกิดความกลัวอพยพหนีกลับภูมิลำเนาเดิมและมีบางส่วนหลบเข้ามาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านบึงนาจาน จนกลายเป็นหมู่บ้านร้างอยู่เกือบปี กระทั่งถึงต้นปี พ.ศ.2506 นายหนู พูนพิพัด นายหา บานชื่น นายลี ปัสสะติ และนายเฮา ภู่วงศ์เดือน อพยพกลับมาตั้งถิ่นฐานอยู่อีกครั้งสืบมาจนถึงปัจจุบัน (องค์การบริหารส่วนตาบล 2563 : ออนไลน์)
พื้นที่บริเวณตำบลเป็นแอ่ง หน้าแล้งจะแห้งแล้งมาก ดินส่วนมากเป็นดินเหนียว ช่วงที่ฝนตกหนักจะมีน้ำ ท่วมขัง ซึ่งบ้านสระปรือตั้งขึ้นประมาณ พ.ศ. 2510 ในอดีตหมู่บ้านนี้มีสระน้ำขนาดใหญ่เป็นแหล่งน้ำของหมู่บ้าน ซึ่งมีต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ริมสระน้ำเป็นจำนวนมาก ชื่อว่า ต้นผรือ เป็นต้นไม้ตระกูลต้นกก ชาวบ้านก็เรียกต้นผรือมาเรื่อย ๆ กระทั่งมีการเรียกผิดเพี้ยนจากสระที่มีต้นผรือ จึงกลายมาเป็นสระที่มีต้นปรือ ชาวบ้านจึงนำมาตั้งชื่อหมู่บ้านจนถึงปัจจุบัน
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านนาน้ำโคม ตำบลนาสนุ่น
- ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านหลักเมือง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านศรีเทพน้อย
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านบึงนาจาน หมู่ที่ 16
การคมนาคม เดินทางได้โดยรถยนต์ เส้นทางติดต่อมีหลายเส้นทาง ได้แก่ จากบ้านบึงนาจาน บ้านนาน้ำโคมและบ้านศรีเทพน้อย
บ้านสระปรือ ประกอบด้วยจำนวนหลังคาเรือน 74 หลังคาเรือน รวมประชากร 379 คน แบ่งเป็นชาย 174 คน และหญิง 205 คน
อาชีพหลักของชาวบ้าน คือ การทำการเกษตร จักสาน การทอเสื่อ เกษตรกร รับจ้างทั่วไป และค้าขาย
1) นายสุระพล ขันหล่อ ผู้ใหญ่บ้าน
สุนทรีย์ รอดดิษฐ์. (2563). การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยววิถีชุมชนรอบอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ โดยการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน (รายงานการวิจัย). เพชรบูรณ์: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
องค์การบริหารส่วนตำบลศรีเทพ. (ม.ป.ป.). ประวัติหมู่บ้าน. ค้นจาก http://https://sites.google.com/site/srithepsaophetchabun/khxmul-phun-than/hmu-thi-2