Advance search

เมืองน่าอยู่ เชิดชูคุณธรรม บ้านแม่สุกกลาง กลุ่มส่งเสริมอาชีพเข้มแข็ง ร่วมแรงร่วมใจ ร่วมสร้างอาชีพไว้ในชุมชน เพื่อคนบ้านแม่สุกกลาง  

หมู่ที่ 6
บ้านแม่สุกกลาง
แม่สุก
แม่ใจ
พะเยา
วันเพ็ญพร แสงโทโพ
3 พ.ค. 2023
กนกวรรณ เอี่ยมชัย
10 พ.ค. 2023
กนกวรรณ เอี่ยมชัย
26 พ.ค. 2023
บ้านแม่สุกกลาง

บริเวณที่ตั้งหมู่บ้านมีต้นไม้ชนิดหนึ่ง ขึ้นอยู่ตามลำห้วยของหมู่บ้าน และออกดอกส่งกลิ่นหอมตลบอบอวนไปทั่วทั้งหมู่บ้าน ทำให้ชาวบ้านได้รับกลิ่นหอมจากดอกไม้ชนิดนี้มาตลอด คนในหมู่บ้านจึงเรียกต้นไม้ชนิดนี้ว่า“ต้นสีสุก (ต้นอโศกอินเดียสีทอง) และใช้ชื่อนี้ในการตั้งหมู่บ้าน


เมืองน่าอยู่ เชิดชูคุณธรรม บ้านแม่สุกกลาง กลุ่มส่งเสริมอาชีพเข้มแข็ง ร่วมแรงร่วมใจ ร่วมสร้างอาชีพไว้ในชุมชน เพื่อคนบ้านแม่สุกกลาง  

บ้านแม่สุกกลาง
หมู่ที่ 6
แม่สุก
แม่ใจ
พะเยา
56130
19.32716949
99.79187608
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สุก

ประวัติความเป็นมาของบ้านแม่สุกเหนือ หมู่ที่ 1 สร้างขึ้นเมื่อใดไม่ทราบแน่ชัด แต่จากหลักฐานและประกอบกับคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ภายในหมู่บ้านเล่าต่อกันมาว่า เมื่อปีพุทธศักราช 2383 มีพระภิกษุซึ่งเดินทางมาจากบ้านขอหัวช้าง เมืองปาน (ปัจจุบัน อ.เมืองปาน จ.ลำปาง) คือ “ครูบายาสมุทร” เข้ามาก่อตั้ง พร้อมกับพระภิกษุสงฆ์ที่มาด้วยกันคือ ครูบาโน, พระกันธิยะ, พระกัญจนะ, พระอินตาวิชัย, พระธนันชัย, พระมานะวงศ์, พระอโนชัย, พระธัมมะจัย, พระอภิชัย ส่วนฝ่ายฆราวาสนั้นมี หาญฟ้าเขียว, หาญธนู, หาญศิริ, แสนปัญญา, แสนอุทธโยธา, แสนสาร, แสนบุญโยง, แสนแก้ว, แสนใจ, ต้าวมิ่ง, ต้าวพรหม, ต้าวใจ ร่วมกับชาวบ้านที่เดินทางมาจากบ้านขอหัวช้าง ประมาณ 50 ครอบครัว เข้ามาก่อตั้งรกราก และเห็นว่าพื้นที่นี้มีความอุดมสมบูรณ์ จึงได้ลงหลักปักฐาน ทำมาหากินรวมตัวกันเป็นหมู่บ้านที่ใหญ่ขึ้น โดยมีผู้ก่อตั้งครั้งแรกก็คือ “ท่านหาญฟ้าเขียว” เป็นคนบ้านขอหัวช้าง อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง พร้อมด้วย “ท่านพระยาศิริ ศิริคำน้อย” เป็นหัวหน้าชาวบ้านแม่สุก อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย มาตั้งหมู่บ้านในบริเวณที่ราบเชิงเขา รวม 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านแม่สุก บ้านแม่จว้า บ้านแม่จว้าใต้ รวมกันเป็นหนึ่งตำบล

ในบริเวณหมู่บ้านนี้ได้มีต้นไม้ชนิดหนึ่งจะขึ้นอยู่ตามลำห้วยของหมู่บ้าน และได้ออกดอกส่งกลิ่นหอมตลบอบอวลไปทั่วทั้งหมู่บ้าน ทำให้ชาวบ้านได้รับกลิ่นหอมจากดอกไม้ชนิดนี้มาตลอด คนในหมู่บ้านจึงเรียกต้นไม้ชนิดนี้ว่า “ต้นสีสุก” (ต้นอโศกอินเดียสีทอง) ในคราวนั้นทางหมู่บ้านก็ยังไม่มีชื่อหมู่บ้านอย่างเป็นทางการ และตอนนั้นทางผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านก็ได้ปรึกษาหารือกันว่าในหมู่บ้านของเราจะต้องมีการตั้งชื่อหมู่บ้านอย่างเป็นทางการแล้ว และเราควรจะตั้งชื่อหมู่บ้านว่าหมู่บ้านอะไรดี และก็ได้มีชาวบ้านได้เสนอชื่อหมู่บ้านว่าให้ใช้ชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านสีสุก” ดีกว่าเพราะว่าเรามีต้นไม้สีสุกอยู่เป็นจำนวนมาก และประกอบกับราษฎรจำนวนหนึ่งของพวกเราได้ก็อพยพมาจากบ้านแม่สุก อำเภอแจ้ห่ม และอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง แต่ต่อมาเลยเปลี่ยนชื่อเป็น “บ้านแม่สุก”

จุลศักราช 1149 ปีมะแม นพศก พุทธศักราช 2330 พระเจ้าเมืองอังวะสั่งให้อะแซหวุ่นกี้เป็นแม่ทัพยกกองทัพใหญ่มาทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ เช่น เมืองฝาง เมืองเชียงราย เมืองเชียงแสน และเมืองพะเยา รวมเข้าด้วย เจ้านายและประชาชนตื่นตกใจต่างพากันอพยพครอบครัวหลบหนีข้าศึกพม่าไปอยู่เมืองลำปาง ครอบครัวชาวเมืองเชียงรายไปตั้งอยู่ที่ห้าแยกเมืองลำปาง ได้ร่วมกันสร้างวัดโดยถือเอาตามนามเมืองเดิมที่มาจากเชียงรายว่า “วัดเชียงราย” มาจนบัดนี้ ฝ่ายครอบครัวของชาวเมืองปุ เมืองสาด ที่ถูกกวาดต้อนมาตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านวัดเมืองศาสตร์เดี๋ยวนี้ ส่วนชาวเมืองพะเยา ได้อพยพไปตั้งหลักอยู่บ้านปงสนุกด้านใต้ฝั่งขวาของแม่น้ำวัง คือ บ้านปงสนุกในปัจจุบัน เมืองพะเยาในสมัยนั้นในบริเวณตัวเมืองรกร้างไปเป็นเวลานานถึง 56 ปี (พระธรรมวิมลโมลี)

ปี พ.ศ. 2386 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช รัชกาลที่ 3 ทรงโปรดให้เจ้าหลวงวงศ์ นําชาวเมืองพะเยามาจากเมืองลําปาง แล้วฟื้นฟูเมืองพะเยาขึ้นมาใหม่ ให้เมืองพะเยาเป็นเมืองขึ้นของเมืองลําปาง จากนั้น เมืองพะเยามีเจ้าผู้ครองเมืองต่อมาอีกหลายองค์ เจ้าผู้ครองเมืององค์สุดท้ายคือ พระยาประเทศอุดรทิศ (เจ้าหนานไชยวงศ์ศีติสาร) ที่ปรากฏในพงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน

ข้อสมมุติฐานที่ผู้เฒ่าผู้แก่ในพะเยาเล่าตรงกันคือบรรพบุรุษอพยพมาจากลำปาง

จุลศักราช 1209 พุทธศักราช 2390 ท่านครูบายาสมุทร และ ท่านครูบาโน ร่วมกับชาวบ้านสร้างวัดแม่สุกขึ้นมา เพื่อที่จะให้เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านแม่สุก ซึ่งวัดแม่สุก เดิมชื่อ “วัดแม่สีสุกสมุทรน้ำล้อมวราราม” เนื่องจากสภาพแวดล้อมในอดีตบริเวณวัดรอบล้อมไปด้วยแม่น้ำลำธาร 4 ด้าน และทั่วพื้นที่ในหมู่บ้านและวัดจะมีต้นไม้ชนิดหนึ่ง ซึ่งชาวบ้าน เรียกกันว่า “ไม้สีสุก” (อโศก) ต้นไม้ชนิดนี้เมื่อผลิดอกจะส่งกลิ่นหอมตลบอบอวลไปทั่วบ้าน จึงเป็นที่มาของคำว่า “แม่สุก” อีกประการหนึ่ง วัดแห่งนี้มีพระภิกษุ ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน ชื่อ“ยาสมุทร” เป็นผู้นำชาวบ้านประมาณ 50 หลังคาเรือน สร้างวัดขึ้นมาแล้วตั้งชื่อวัดว่า “แม่สุกสมุทรน้ำล้อมวราราม” โดยเอาคำว่า “แม่สุก” มาจากชื่อของแม่น้ำและต้นไม้สีสุก คำว่า “สมุทร” เป็นชื่อของพระสงฆ์ที่เป็นผู้นำในการสร้าง ส่วนคำว่า “น้ำล้อม” มาจากสภาพบริเวณวัด ที่มีแม่น้ำลำธารล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน

ปี พ.ศ. 2397 ชาวบ้านค้นพบแหล่งน้ำธรรมชาติเก็บกักน้ำ(ปัจจุบันถูกพัฒนาเป็นอ่างเก็บน้ำแม่สุก) ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญเป็นอย่างมาก ในการใช้ดำเนินชีวิตของชาวบ้าน โดยเฉพาะทางการเกษตรกรรม เนื่องจากในสมัยก่อนนั้นชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพหลักคือ ทำนาโดยใช้ควายไถนา

ปี พ.ศ. 2405 ได้มีการจัดตั้งศูนย์เด็กเล็กขึ้นข้างวัด โดยมีครูคนแรก คือ ครูอินจันทร์ โดยได้ทำการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่นั้นมา

ปี พ.ศ. 2472 ได้ก่อตั้งสถานศึกษาเพิ่มขึ้นอีกแห่ง ชื่อว่า โรงเรียนชุมชนบ้านแม่สุก ได้ทำการเรียนการสอนเป็นระยะเวลาเกือบ 8 ปี

ปี พ.ศ. 2480 ทางราชการได้สั่งยุบ ให้เรียนรวมที่โรงเรียนบ้านแม่จว้า โดยอาศัยวัดตาลถ้อยเป็นที่เรียน ต่อมาผู้ปกครอง เจ้าอาวาส วัดแม่สุก เห็นว่าการเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนบ้านแม่จว้าของลูกหลานนั้นมีความยากลำบาก เนื่องจากระยะทางไกล จึงได้ทำหนังสือร้องขอ จัดตั้งโรงเรียนขึ้นใหม่เป็นครั้งที่ 2

1 มิถุนายน พ.ศ. 2482 เปิดโรงเรียนบ้านแม่สุกอีกครั้ง โดยอาศัยวัดแม่สุกเป็นอาคารเรียนชั่วคราว นอกจากนี้นางมอญแก้ว อุทธโยธา ได้รวบรวมเงินบริจาคจัดซื้อที่ดินข้างวัดแม่สุกและจัดสร้างอาคารเรียนชั่วคราว 1 หลังเป็นห้องเรียน 

ปี พ.ศ. 2483 ชาวบ้านได้มีการใช้ตะเกียงน้ำมันในการให้แสงสว่าง

ปี พ.ศ. 2485 เวลาเจ็บป่วยชาวบ้านจะรักษาโดยใช้สมุนไพรนำมาบดหรือต้มรับประทาน ดื่มน้ำมนต์ และนิยมไปหาหมอเป่ารักษาโรค โดยเชื่อว่าโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ เกิดจากโดนภูตผีปีศาจกระทำ

ปี พ.ศ. 2487 มีการทำคลอดโดยหมอตำแย ซึ่งหมู่บ้านแม่สุกนี้มีหมอตำแยเป็นผู้ชาย

ปี พ.ศ. 2490 เริ่มมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุสองดวง

ปี พ.ศ. 2505 ผู้นำหมู่บ้าน ผู้ปกครอง นักเรียนและชาวบ้าน เห็นว่าสถานที่ข้างวัดแม่สุก เริ่มคับแคบ จึงได้รวบรวมเงินบริจาค 8,000 ซื้อที่ดินผืนใหม่ ซึ่งเป็นที่ดินในที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบัน เมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ไม่มีร่องรอยของอดีตเหลืออยู่ เช่น ต้นไม้ ลำธาร ล้อมรอบ ทั้ง 4 ด้าน ต้นไม้ไม่มีให้เห็นเป็นดั่งเช่นอดีต จึงได้ทำเปลี่ยนชื่อวัดจากชื่อ “วัดแม่สีสุกสมุทรน้ำล้อมวราราม” เป็น “วัดแม่สุก” ในปี พ.ศ. 2507

ปี พ.ศ. 2507 เพื่อขอพระราชทานวิสุงคามสีมา และสะดวกในการเรียกง่ายซึ่งไม่ยาวเกินไป

ปี พ.ศ. 2512 บ้านแม่สุกกลาง หมู่ 6 ได้แยกออกจากบ้านแม่สุกเหนือ หมู่ 1 มีผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือ “นายศรี สูงบุญ” และมีการก่อตั้งสถานีอนามัยแม่สุกขึ้น

บ้านแม่สุกกลาง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 6 ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่ใจไปทางทิศใต้ตามถนนพหลโยธิน แล้ววกลงไปทางทิศตะวันตกตามถนนแม่ใจ-แม่นาเรือประมาณ 3 กิโลเมตร มีระยะห่างจากตัวจังหวัด 23 กิโลเมตร มีเนื้อที่ ประมาณ 1,210 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่การเกษตร ประมาณ 988 ไร่ พื้นที่สาธารณะ ประมาณ 12 ไร่ พื้นที่ตั้งบ้านเรือน/ชุมชน ประมาณ 200 ไร่

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านแม่สุกน้ำล้อม หมู่ที่ 10 ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านแม่สุกน้ำล้อม หมู่ที่ 10 ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านแม่สุกเหนือ หมู่ที่ 1 ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา 

ลักษณะทางภูมิศาสตร์ โดยทั่วไปของหมู่บ้านแม่สุกกลาง หมู่ 6 เป็นพื้นที่ราบระหว่างเชิงเขา มีลำน้ำแม่สุก และลำห้วยเหมืองหลวงไหลผ่าน และเป็นแหล่งชุมชนอุดมสมบูรณ์ มีพื้นที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยและทำการเกษตร เช่น ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์

พื้นที่ส่วนใหญ่ในหมู่บ้านแบ่งเป็นพื้นที่เกษตรกรรม และบริเวณที่ตั้งของชุมชน บ้านเรือนจะอยู่กันเป็นกลุ่มซึ่งส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์กันทางเครือญาติ จะตั้งบ้านเรือนใกล้กันหรืออยู่ภายในคุ้มเดียวกัน ลักษณะบ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นบ้านไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูง สภาพบ้านเรือนมีความมั่นคงถาวร มีรั้วรอบขอบชิด ทุกหลังคาเรือนมีภาชนะเก็บน้ำฝนไว้สำรองน้ำ และครอบครัวส่วนใหญ่มีการปลูกผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์ ทั้งสัตว์ที่เลี้ยงไว้ขายและเป็นอาหาร ได้แก่ ไก่ เป็ด ปลา กบ และสัตว์ที่เลี้ยงไว้เพื่อความเพลิดเพลิน ได้แก่ สุนัข แมว และนก เป็นต้น และมีพื้นที่สาธารณประโยชน์ของหมู่บ้าน เช่น ศาลาอเนกประสงค์

ภายในหมู่บ้านมีจำนวน 5 ซอย คือ ซอย 1-5 แต่ละซอยเป็นถนนคอนกรีต มีไฟข้างทาง (ไฟกิ่ง) ของภาครัฐแต่ยังไม่เพียงพอ ทำให้ภายในหมู่บ้านเวลากลางคืนมีแสงสว่างไม่เพียงพอในบางพื้นที่ ทุกครัวเรือนมีไฟฟ้า และน้ำประปาใช้ และมีน้ำดื่มที่ผลิตเองในหมู่บ้านใช้บริโภค และในชุมชนมีวัดแม่สุก เป็นศูนย์กลางที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจของประชาชน

การคมนาคมภายในและภายนอกหมู่บ้าน

บ้านแม่สุกกลาง หมู่ 6 เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ถนนสายแม่ใจ-แม่นาเรือ (1193) โดยแยกจากถนนพหลโยธินเข้ามาประมาณ 3 กิโลเมตร ในหมู่บ้านแม่สุกกลาง มีถนนคอนกรีตสองช่องทางรถ เป็นทางติดต่อระหว่างภายในหมู่บ้าน และระหว่างหมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่ใช้รถจักรยาน และรถจักรยานยนต์เป็นพาหนะในการเดินทาง

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลักษณะทางนิเวศวิทยา

ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของบ้านแม่สุกกลาง หมู่ที่ 6 มีลักษณะทางนิเวศที่สมดุลเนื่องจากมีการอนุรักษ์แหล่งธรรมชาติ มีแหล่งกักเก็บน้ำ คือ ห้วยป่าไร่ มีการบำรุงดิน มีการทำการเกษตรแบบผสมผสาน ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่มีอาชีพด้านเกษตรกรรม บ้านแม่สุกกลาง หมู่ 6 มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 1,210 ไร่ พื้นที่การเกษตร 998 ไร่ พื้นที่ตั้งบ้านเรือนประมาณ 200 ไร่ และเป็นพื้นที่สาธารณะ ประมาณ 12 ไร่ คือ พื้นที่อาคารเอนกประสงค์ พื้นที่ประปา ที่ตั้งกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ของชุมชน และพื้นที่ สาธารณอื่น ๆ

ลักษณะดินในหมู่บ้านแม่สุกกลางหมู่ 6 โดยทั่วไปเป็นดินร่วน และดินเหนียวในทุ่งนาซึ่งเหมาะแก่การเพาะปลูก การทำนา และดินร่วนปนทรายในพื้นที่ตั้งบ้านเรือน

แหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค คือ ประปาหมู่บ้าน น้ำบาดาล และมีแหล่งน้ำสาธารณะ 3 แห่ง คือ

  • ห้วยป่าไร่ พื้นที่ประมาณ 1 ½ ไร่
  • ลำน้ำแม่สุก ยาวประมาณ  3,500 เมตร
  • ลำห้วยเหมืองหลวง ยาวประมาณ 2,200 เมตร

พืชและสัตว์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ และพืชที่ปลูก สัตว์ที่เลี้ยง

  • พืชและสัตว์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น ไม้เต็ง ไม้พระยาสัตตบรรณ ไม้มื่น ไม้ไผ่ซาง ไม้ไผ่บง ไม้ไผ่รวก เป็นต้น ส่วนสัตว์ที่มีอยู่ในธรรมชาติได้แก่ นก หนู งู กุ้ง หอย ปู ปลา เป็นต้น
  • พืชที่ปลูกและสัตว์ที่เลี้ยง ได้แก่ พืช เช่น ข้าว ขิง หอม กระเทียม ลิ้นจี่ ลำไย กล้วย มะม่วง มะเฟืองกฤษณา และพืชผักสวนครัว เป็นต้น สัตว์ที่เลี้ยงได้แก่ ไก่ กบ วัว ควาย หมู ปลา เป็นต้น

บ้านแม่สุกกลาง หมู่ที่ ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา เป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก มีจำนวน 145 หลังคาเรือน ประชาชนมีวิถีการดำรงชีวิตแบบพึ่งตนเอง โดยการทำการเกษตรหลายรูปแบบทั้ง การทำนา ทำสวน การเลี้ยงไก่ หาของป่า จักสาน และรับจ้าง รวมทั้งประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น โรงทำกระจก มุ้งลวด รับซื้อของเก่า อีกทั้งยังมีกลุ่มส่งเสริมอาชีพต่าง ๆ เช่น กลุ่มทำแหนม กลุ่มน้ำยาอเนกประสงค์ กลุ่มเลี้ยงไก่ไข่ กลุ่มทำปุ๋ย เป็นการสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ซึ่งประชาชนให้ความสำคัญต่อการพัฒนาขององค์กรทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ประชาชนมีฐานะความเป็นอยู่ในระดับปานกลาง นับถือศาสนาพุทธทั้งหมดทุกหลังคาเรือน ซึ่งประชาชนให้ความสำคัญในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา มีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้า ในวันพระประชาชนส่วนใหญ่จะไปวัด ทำบุญ ฟังเทศน์ ฟังธรรม และมีการทำวัตรเย็นที่วัดแม่สุก และส่งเสริมรักษาประเพณีอันดีงามต่าง ๆ ตลอดทั้งปี 

ตาม พรบ.การปกครองมีผู้นำที่ดูแลหมู่บ้านแม่สุกกลาง หมู่ที่ 6 ดังนี้

   1. นายศรี    สู งบุญ    ดำรงตำแหน่ง  มิถุนายน  พ.ศ. 2512 - มิถุนายน พ.ศ. 2521
   2. นายชื่น    อุทธโยธา    ดำรงตำแหน่ง  กรกฎาคม  พ.ศ. 2521 - มกราคม พ.ศ. 2530
   3. นายไว    เมืองใจ    ดำรงตำแหน่ง 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 กันยายน พ.ศ. 2549
   4. นายเมืองมล    ปัฐวี    ดำรงตำแหน่ง 14  กันยายน  พ.ศ. 2549 14 กันยายน พ.ศ. 2554
   5. นายสัมพันธ์    ใจติ๊บ    ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน เป็นกำนันตำบลแม่สุก

สำหรับการปกครองภายในหมู่บ้าน แบ่งการปกครองโดยแบ่งเป็นคุ้ม ซึ่งมี ทั้งหมด 6 คุ้ม ได้แก่ คุ้มชุมชนสีขาว, คุ้มรวมพลังสร้างสรรค์, คุ้มโชคอำนวย, คุ้มประสานใจ, คุ้มส่องแสงธรรม และ คุ้ม ลด ละ เลิก ซึ่ง ในแต่ละคุ้มจะแบ่งการดูแลครัวเรือน ทั้งหมด 18-25 ครัวเรือน ต่อ 1 คุ้ม โดยจะมีหัวหน้าคุ้มและคณะกรรมการในการดูแลสมาชิกในแต่ละคุ้ม

ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลภายใน และภายนอกชุมชน การรวมกลุ่ม การดำเนินโครงการ การร่วมงานในตำบล งานกิจกรรมทุกด้าน ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหมู่บ้าน

ผู้นำชุมชน/กลุ่ม/องค์กร/เครือข่ายในชุมชน

  • กำนัน : นายสัมพันธ์ ใจติ๊บ
  • ผู้ช่วยกำนัน : จำนวน 3 คน
  • กรรมการฝ่ายอำนวยการ
  • กรรมการฝ่ายปกครองและรักษาความสงบ
  • กรรมการฝ่ายจัดทำแผน
  • กรรมการฝ่ายส่งเสริมเศรษฐกิจ
  • กรรมการสังคมสิ่งแวดล้อม
  • รรมการฝ่ายศึกษาและวัฒนธรรม
  • กลุ่มแม่บ้าน : นางสุภาพ ไม้ขนุน เป็นประธาน
  • กลุ่มออมทรัพย์ : นางรุ่งทิวา พันธ์มณี เป็นประธาน
  • คณะกรรมการบริหารกลุ่มส่งเสริมอาชีพ : นายสมศาสตร์ ปัฐวี เป็นประธาน
  • คณะกรรมการสมาชิกกลุ่มแหนม หมู่ที่ 6 : นางรุ่งทิวา พันธ์มณี เป็นประธาน
  • อาสาสมัครตำรวจบ้าน : นายศรีหมั้น ปัฐวี เป็นประธาน
  • สมาชิกกลุ่มน้ำยาอเนกประสงค์ : นางคำไฝ อุทธโยธา เป็นประธาน
  • อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน : นายธนวัฒน์ แก้วตา เป็นประธาน
  • กองทุนหมู่บ้าน : นายสนั่น สุริยะ เป็นประธาน กลุ่มจัดตั้งเมื่อปี 2544 มีสมาชิก 98 คน 
  • กลุ่มออมทรัพย์แม่บ้าน
  • กลุ่มทุนปุ๋ย
  • กลุ่มส่งเสริมอาชีพ : นายสมศาสตร์ ปัฐวี กลุ่มจัดตั้งเมื่อปี 2543 มีสมาชิก 30 คน
  • กลุ่มธนาคารข้าว : นายเมืองมล ปัฐวี เป็นประธาน กลุ่มจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2551 มีจำนวนสมาชิก 150 คน
  • กลุ่มน้ำยาอเนกประสงค์ หมู่ 6 : นางคำไฝ อุทธโยธา เป็นประธาน กลุ่มจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2550 มีจำนวนสมาชิก 57 คน
  • กลุ่มประปา หมู่ 6 : นายสนิท พุทธสาร เป็นประธาน กลุ่มจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2534 มีจำนวนสมาชิก 90 คน
  • กลุ่มจักสาน หมู่ 6 : นายเงิน เมืองใจ เป็นประธาน มีจำนวนสมาชิก 15 คน

ลักษณะการประกอบอาชีพของประชาชนในชุมชน

ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ดังนั้นรายรับได้มาจากการเกษตร ได้แก่ การทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ การค้าขายพืชผลทางการเกษตร รับจ้าง

รายจ่ายของประชาชน

  • รายจ่ายที่สำคัญอันดับ 1 คือ ค่าใช้จ่ายทางการเกษตร เช่น ค่าปุ๋ย สารเคมี เมล็ดพันธุ์ ค่าแรงงาน อุปกรณ์ทางการเกษตร และ ค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ ได้แก่ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ
  • รายจ่ายอันดับ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรหลาน
  • รายจ่ายอันดับ คือ ค่าอาหารในแต่ละมื้อ และ สินค้าอุปโภค บริโภค ที่จำเป็น
  • รายจ่ายอันดับ คือ สินค้าฟุ่มเฟือย คือ ค่าบัตรเติมเงินโทรศัพท์ ค่าขนมลูก เครื่องดื่มชูกำลัง งานสังคม หรืองานทำบุญ ประเพณีต่าง ๆ เช่น วันลอยกระทง งานทำบุญบ้านใหม่ งานแต่งงาน งานศพ เป็นต้น

ศิลปวัฒนธรรม/ภูมิปัญญาในหมู่บ้าน/เทศกาลประจำปี

  • เดือนมกราคม (เดือน 4 ล้านนา) : วันขึ้นปีใหม่, กลางเดือนจัดทำพิธี “ตานข้าวใหม่”
  • เดือนกุมภาพันธ์ (เดือน 5 ล้านนา) : บวงสวงศาลเจ้าบ้าน
  • เดือนมีนาคม (เดือน 6 ล้านนา) : สรงน้ำพระธาตุ ที่วัดแม่สุกธาตุหมู่ 9
  • เดือนเมษายน (เดือน 7 ล้านนา) : ปีใหม่เมือง ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง หรือประเพณีปีใหม่เมือง เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวเหนือ หรือชาวล้านนา สืบเนื่องมาจากอดีตกาลที่จะยึดถือเป็นช่วงเปลี่ยนศักราชใหม่ โดยกำหนดจุดที่พระอาทิตย์ย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ ซึ่งมักจะตรงกับวันที่ 13 เมษายน หรือ 14 เมษายนของแต่ละปี และจะกินเวลาประมาณ 4-7 วัน ยาวนานกว่าสงกรานต์ของภาคอื่น ๆ

วันที่ 13 เมษายน วันสังขานต์ล่อง จะมีการจุดประทัด ยิงปืน เพื่อส่งสังขารหรือไล่สังขาร (จะถือเอาตามเวลาสังขานต์ล่องตามที่บอกในปฏิทินปี๋ใหม่เมืองในปีนั้น เช่น บอกว่าสังขานต์จะล่องเมื่อ 03 นาฬิกา 30 นาที 26 วินาที ชาวบ้านก็จะจุดประทัดเวลานั้นถือว่าไล่สังขานต์)

วันที่ 14 เมษายน เป็น "วันดา" คือวันที่ต้อง เตรียมสิ่งของต่าง ๆ เพื่อใช้ทำบุญในวันรุ่งขึ้น วันเน่า ไม่ควรด่าทอ เกิดอุบัติเหตุเจ็บตัว สาปแช่งหรือกล่าวคำร้ายต่อกัน ปากจะเน่าจะเหม็น เป็นอัปมงคลไปทั้งปี

วันที่ 15 เมษายน "วันพญาวัน" วันที่สามของประเพณีปีใหม่เมือง ถือเป็นวันเถลิงศก เปลี่ยนศักราชเริ่มต้นปีใหม่ วันนี้มีการทำบุญทางศาสนาแต่เช้าตรู่ และอุทิศกุศลไปถึงญาติผู้ล่วงลับ หรือเรียกว่า "ตานขันข้าว" นำตุงปักลงบนกองเจดีย์ทราย ช่วงบ่ายเป็นการรดน้ำดำหัว เพื่อขอขมาคนเฒ่าคนแก่ พ่อแม่ ครูอาจารย์ ไปสรงน้ำพระพุทธรูป เจดีย์ เลี้ยงผีปู่ย่าในวันนี้

วันที่ 16 เมษายน "วันปากปี" เป็นวันแรกของปี มารวมตัวกันเพื่อทำบุญเสาใจบ้าน หรือส่งเคราะห์บ้าน พิธีสืบชะตาหมู่บ้าน และพากันไปขอขมา ดำหัว พระเถระผู้ใหญ่ตามวัดต่าง ๆ ดำหัวผู้อาวุโส ผู้นำชุมชน ในตอนค่ำของวันนี้จะมีการบูชาเทียน สืบชะตา ลดเคราะห์ รับโชค เพื่อให้เกิดความเป็นมงคลแก่ครอบครัว โดยในวันปากปีมีความเชื่อบางประการเกี่ยวกับ "แกงขนุน" หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า "แกงบ่าหนุน" ที่จะกินกันทุกครอบครัว เพราะเชื่อว่าจะหนุนชีวิตให้เจริญก้าวหน้า ทั้งนี้เหตุผลของการทานแกงขนุนดังกล่าว อาจจะมาจากชื่อขนุน ที่มีความหมายถึงการเกื้อหนุน ค้ำจุน ครอบครัวให้เจริญรุ่งเรืองหรือตลอดปี

  • เดือนพฤษภาคม (เดือน 8 ล้านนา) : ทำบุญประเพณีสักการะพระธาตุสองดวง
  • เดือนมิถุนายน (เดือน 9 ล้านนา) : เลี้ยงผีปู่ย่า ผีบรรพบุรุษ และศาลเจ้าพ่อหอหลวง, ประเพณีเลี้ยงผีป่า เจ้าที่นา เลี้ยงโดยเหล้าไห ไก่คู่ เป็นการเลี้ยงเจ้าที่ก่อนลงทำนา เพื่อให้การทำนาราบรื่นและได้ผลผลิตดี
  • เดือนกรกฎาคม (เดือน 10 ล้านนา) : แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ทำบุญเข้าพรรษา
  • เดือนสิงหาคม (เดือน 11 ล้านนา) : ช่วงเดือนนี้จะอยู่ในช่วงเข้าพรรษา มีการทำบุญตักบาตร
  • เดือนกันยายน (เดือน 12 ล้านนา) : ปล่อยเปรตปล่อยผี ทำบุญให้กับคนที่ล่วงลับไปแล้ว, ตานก๋วยสลาก ช่วงเดือน 12 ล้านนาถึงเดือนยี่ หรือตั้งแต่เดือนกันยายนจนถึงเดือนตุลาคมของทุกปี
  • เดือนตุลาคม (เดือน 1 ล้านนา) : ทำบุญออกพรรษา อยู่ในช่วงตานก๋วยสลาก สิ้นสุดเอาในเดือนเกี๋ยงดับ
  • เดือนพฤศจิกายน (เดือน 2 ล้านนา) : ทอดกฐิน มีเวลา 1 เดือนหลังจากออกพรรษา ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือนเกี๋ยง (เดือนเกี๋ยงดับ) จนถึงวันเพ็ญเดือนยี่เหนือ, ประเพณียี่เป็ง
  • เดือนธันวาคม (เดือน 3 ล้านนา) : สวดมนต์ข้ามปี

1. นายดำ ธิแก้ว : ปราชญ์ชาวบ้านด้านการเกษตร

2. นายประพันธ์ ทะสุมา : ปราชญ์ชาวบ้านด้านการเกษตร

3. นายประมวล แก่นจันทร์ : ปราชญ์ชาวบ้านด้านการเกษตร

4. นายทราย จะมัง ปราชญ์ชาวบ้านด้านหมอพื้นบ้าน หมอเป่า

5. นายใจ เทพสุวรรณ ปราชญ์ชาวบ้านด้านหมอพื้นบ้าน หมอแหก, เป่า

6. นายเสริฐ ปัฐวี : ปราชญ์ชาวบ้านด้านหัตถกรรม จักสานไม้ไผ่

7. นายจันทร์ ปัฐวี : ปราชญ์ชาวบ้านด้านหัตถกรรม จักสานไม้ไผ่

8. นายจ๋อย อุ่นเอ้ย : ปราชญ์ชาวบ้านด้านหัตถกรรม จักสานไม้ไผ่

9. นายเพชร ต๊ะคำ : ปราชญ์ชาวบ้านด้านหัตถกรรม ทำหมวกด้วยใบมะพร้าว

10. นายเงิน เมืองใจ : ปราชญ์ชาวบ้านด้านหัตถกรรม จักสานสุ่มไก่

11. นายเมา แก่นจันทร์ : ปราชญ์ชาวบ้านด้านหัตถกรรม จักสานสุ่มไก่

12. นายโพย ไกรวรรณ์ : ปราชญ์ชาวบ้านด้านหัตถกรรม จักสานตะกร้า

13. นางกาบแก้ว กันเขียว : ปราชญ์ชาวบ้านด้านหัตถกรรม จักสานตะกร้า

14. นายปัน ทานุ : ปราชญ์ชาวบ้านด้านหัตถกรรม จักสานสุ่มไก่

ทุนทางสังคม วัฒนธรรม

วัดแม่สุก โดยมีประวัติวัดดังนี้

เดิมที่วัดแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย 3 องค์ มีอายุประมาณ 100 กว่าปี พระพุทธรูปองค์ประธานนั้นสร้างโดย พระภิกษุโน (ครูบาโน) เจ้าอาวาสในสมัยนั้นคือ ครูบายาสมุทร (ผู้สร้างวัด) ส่วนพระพุทธรูปองค์รองซ้ายขวานั้นสร้างโดย สล่าหน้อยยอด และสล่าหน้อยมิ่งสองคนพี่น้องมาจากลำพูนแต่ไม่ทราบว่าสร้าง .. ใด ส่วนพระวิหารนั้นตามที่เล่าสืบกันมาว่าสร้างมาแล้ว 3 หลัง แรก นั้น ไม่ทราบว่าสร้างเมื่อ .. ใด

มีบันทึกการสร้างวิหารหลังที่ 2 ไว้ว่า สร้างขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 12 เดือนพฤษภาคม .. 2466 ตรงกับแรม 13 ค่ำ เดือน 8 เหนือ เสาร์กลางยาว 14 ศอก เสาร์ระเบียงยาว 8 ศอก กับ 17 แม่มือ ขื่อยาว 9 ศอก ขื่อระเบียงยาว 5 ศอก แม่ยาว 10 วา ขนาดใช้อิฐ 70,800 ก้อน เป็นวิหารทรงล้านนา หลังคามุงด้วยไม้ (ไม้แป้นเกล็ด) ช่อฟ้า, ใบระกาหน้าบัน, ทำด้วยไม้สักแกะสลัก สวยงามโดยมีช่างชาวบ้าน โดยในสมัยนั้นรวมค่าจ้างทั้งหมดเป็นข้าว 700 ต๋าง ซึ่งต่อมาก็ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา จำเป็นต้องรื้อและสร้างใหม่ ในปี 2498 ได้ริเริ่มจัดเตรียมหาวัสดุอุปกรณ์ เช่น หิน อิฐ ไม้ โดยหินนั้นกำหนดให้ชาวบ้านทุกหลังคาจัดหามาหลังคาละ 1 หลา อิฐ 500 ก้อน ส่วนไม้นั้นได้ตัดฟันต้นตะเคียนหลวงซึ่งมีในหมู่บ้านเป็นไม้ที่หวงห้ามไม่ให้ใครตัดไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัว จากนั้นก็จัดหาจัดจ้างสล่าที่ถนัดสร้างวิหาร ได้สล่าหนานสม ยาวิโรจน์ พร้อมทีมงานอีก 10 คน เป็นช่างก่อสร้างได้ทำการรื้อวิหารหลังเก่าเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ .. 2499 ตรงกับแรม 6 ค่ำ เดือน 5 เหนือ

การดำเนินงานก่อสร้างวิหารหลังใหม่ คือ หลังปัจจุบันนี้นั้นมีระยะเวลาดังนี้ วันเสาร์ที่ 10 มีนาคม .. 2499 ตรงกับแรม 14 ค่ำ เดือน 6 เหนือ ได้ลงรากฐานเสาร์วิหาร พื้นที่ของวิหารทั้งหมดมีความกว้าง 9 เมตร ยาว 24 เมตร สูง 12 เมตร โดยประมาณวันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน .. 2499 ตรงกับขึ้น 9 ค่ำ เดือน 10 เหนือ ยกเครื่องโครงสร้างพระวิหาร วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน .. 2499 ตรงกับขึ้น 9 ค่ำ เดือนยี่เหนือ ทำพิธียกช่อฟ้าเอกขึ้น สร้างเสร็จเมื่อ วันอังคารที่ 4 ธันวาคม .. 2499 สิ้นงบประมาณทั้งหมด 111,110 บาท

รวมระยะเวลาก่อสร้างทั้งหมด 9 เดือน 24 วัน เมื่อทุกอย่างเสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยด้วยน้ำใจและแรงศรัทธาในพระพุทธศาสนาของชาวบ้านแม่สุกทุกคน แล้วจึงจัดให้มีงานฉลองขึ้นเมื่อปี .. 2500

ในปี .. 2512 ได้จ้างจิตรกรมาวาดภาพจิตรกรรมฝาผนัง (ตุงค่าว) เรื่องพุทธประวัติ, พระมหาเวสสันดรชาดก, พระมาลัยโผดโลก, โดยจิตรกรคนเมืองพะเยา ชื่อ นายจันทร์ ขันธะกิจ บ้านแท่นดอกไม้ จังหวัดพะเยา ค่าจ้างประมาณ 2,500 บาท

พระวิหารหลังนี้ซ่อมแซมมาแล้ว 1 ครั้ง เมื่อ พ.ศ. 2537 สิ้นงบประมาณทั้งหมด 300,000 บาท จนมาถึงปี พ.ศ. 2545 วิหารได้ชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา มีส่วนเสียเป็นส่วนมาก คณะศรัทธาวัดแม่สุก เห็นสมควรที่จะบูรณะ เป็นครั้งที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะอนุรักษ์ไว้ซึ่งศิลปะโบราณ เช่น พระพุทธรูปที่อายุกว่าร้อยปี จิตรกรรมฝาผนังที่หาดูยากตลอดจนพระวิหารที่ต้องซ่อมแซมและก่อสร้างเพิ่มเติมให้มั่นคงถาวรสืบต่อไป

ภาษาพื้นเมืองล้านนา

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

Google Maps. (2564). พิกัดแผนที่ชุมชนบ้านแม่สุกกลาง. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2560. เข้าถึงได้จาก https://www.google.com/maps

ประวัติจังหวัดในล้านนา จังหวัดพะเยา. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564. เข้าถึงได้จาก http://wiangsalanna.myreadyweb.com/

พระครูโสภณปริยัติสุธี (ศรีบรรดร ถิรธมฺโม.). (2552). ชื่อบ้าน-ภูมิเมืองพะเยา. พะเยา : เจริญอักษร.

บุญศิริ  สุขพร้อมสรรพและอาทิตย์  ลิมปิยากร. (2564). ภูมินาม-ภาพสะท้อนเมืองพะเยา. วารสารวิชาการเพื่อพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่. 2(1). 88-94.

พระครูโสภณปริยัติสุธี, รศ.ดร. ถิรธมฺโม.ชื่อบ้าน-ภูมิเมืองอำเภอแม่ใจ.

บุญเลิศ  ครุฑเมือง.  (2537). ผีปู่ย่า : ศรัทธาแห่งล้านนาไทย. สารคดี “ฮีตฮอยเฮา”. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ

ราชกิจจานุเบกษา. (2481). ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องแบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ.  เล่ม 80 ตอนที่ 14. 5 กุมภาพันธ์ 2506.

ราชกิจจานุเบกษา. (2481). พระราชกฤษฎีกา ตั้งอำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอท่าคันโท อำเภอดอกคำใต้ อำเภอเม่ใจ อำเภอจุน ฯลฯ. เล่ม 82 ตอนที่ 59. 27 กรกฎาคม 2508