Advance search

ป่าชุมชน การดูแลทรัพยากรน้ำ 

หมู่ที่ 3
บ้านหนองบัว
บ้านเหล่า
แม่ใจ
พะเยา
ขวัญเรือน สมคิด
1 พ.ค. 2023
กนกวรรณ เอี่ยมชัย
19 พ.ค. 2023
กนกวรรณ เอี่ยมชัย
26 พ.ค. 2023
บ้านหนองบัว

ชื่อของหมู่บ้านตั้งตามหนองน้ำธรรมชาติที่เต็มไปด้วยดอกบัวสวยงามเต็มหนองน้ำ


ชุมชนชนบท

ป่าชุมชน การดูแลทรัพยากรน้ำ 

บ้านหนองบัว
หมู่ที่ 3
บ้านเหล่า
แม่ใจ
พะเยา
56130
19.3728182
99.85143855
เทศบาลตำบลบ้านเหล่า

บ้านหนองบัว ชื่อของหมูบ้านตั้งตามหนองน้ำธรรมชาติที่อุดมด้วยดอกบัวสวยงามเต็มหนองน้ำ ผู้เฒ่าผู้แก่ในอดีตมีความคิดเห็นเดียวกันว่า หมู่บ้านหนองบัวซึ่งแต่เดิมเป็นที่ป่ารก ชาวบ้านจากบ้านเหล่าเข้ามาถางหญ้าท้าเป็นสวนปลูกอ้อย ปลูกข้าวไร่ นานวันเข้าก็น้าโคกระบือมาเลี้ยงสร้างที่อยู่อาศัย (ป้างแฮมควาย) โดยเฉพาะในช่วงฤดูท้านาเสร็จกันหมดแล้ว โคกระบือไม่มีที่กินหญ้า ชาวบ้านจากบ้านเหล่าจึงมาเลี้ยงโคกระบือบริเวณป่าหนองบัวแห่งนี้ ประกอบกับมีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ด้วย กุ้ง หอย ปู ปลา เป็นแหล่งอาหารของชาวบ้าน โคกระบือก็ใช้อาศัยนอนและดื่มกิน

ราวปี พ.ศ. 2442 ได้มีครอบครัวที่มาพักแรมวัวควายถางพงดงป่าจนเป็นที่สำหรับการเกษตรเลี้ยงครอบครัวได้ จึงชักชวนกันหอบหิ้วเอาครอบครัวจากบ้านเหล่าเข้ามาตั้งรกรากในป่าหนองบัวแห่งนี้จ้านวน 3 ครอบครัว ได้แก่ พ่ออุ้ยวัง แม่อุ้ยเขียว เปียงแก้วพ่ออุ้ยทา แม่อุ้ยจุ่ม เปียงแก้ว และพ่ออุ้ยปั๋น แม่อุ้ยตา เปียงแก้ว เพื่อตั้งปางแรมวัวควาย และขุดที่สำหรับทำนาและทำการเกษตรเลี้ยงด้วยพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ ใกล้แหล่งน้ำ อีก 3 ปี ต่อมา ทั้ง 3 ครอบครัวพี่น้องก็ได้ชักชวนเพื่อนบ้านหอบลูกจูงหลานมาปักหลักตั้งถิ่นฐาน พร้อมครอบครัวอีก 4 ครอบครัว รวมทั้งหมด 7 ครอบครัว ได้แก่ พ่ออุ๊ยป๊อก แม่อุ๊ยแก้วพ่ออุ๊ยป๊อก แม่อุ๊ยหมูพ่ออุ๊ยตุ้ย แม่อุ๊ยแก้ว และพ่ออุ๊ยคำ แม่อุ๊ยเบ้า หลังจากมีการขยายครอบครัวเป็นชุมชนหนึ่งขึ้นมา หนองบัวก็อยู่ในเขตปกครองของหมู่ที่ 4 ตำบลแม่ใจ อำเภอแม่ใจ จังหวัดเชียงราย

เดิมคนไทยไม่ได้มีนามสกุลใช้ จะมีเพียงชื่อเรียกและคำสร้อยเพื่อแยกบุคคลออกจากกันเท่านั้น การจะรู้ว่าใครเป็นใครจึงต้องจำแนกจากรูปลักษณ์ หรือต้องถามว่าเป็นลูกเต้าเหล่าใครและตั้งบ้านเรือนที่ใด ดังเรียกกันว่า “ฉายา” การไม่มีชื่อสกุลประจำตระกูลนี้ เป็นเหตุให้เกิดความขัดข้องยุ่งยากต่าง ๆ นานัปการไม่ว่าทางราชการหรือทางส่วนตัว หรือในการปกครองบ้านเมืองก็ดี ในระหว่างสังคมมนุษย์ย่อมสับสนอลเวงเป็นอันมาก ถ้าญาติผู้น้อยไม่รู้จักญาติผู้ใหญ่ ใครอาวุโสทางศักดิ์ญาติก็แทบนับกันไม่ถูก หรือไม่รู้จักลำดับสูงต่ำในสกุลกำเนิดของตนเอง ที่ควรใกล้ชิดกลมเกลียวกันก็เป็นเหินห่าง ไม่อาจรวมกันติด ไม่มีการติดต่อรวบรวมกันเป็นหมู่เหล่า ต่างครอบครัวต่างตั้งตนเป็นเอกเทศหมด ไม่มีใครรักใคร่นับถือเชิดชูใคร ใครก็ไม่ช่วยเหลือใคร นาน ๆ เข้าก็อาจถึงกลับกลายเป็นอื่นกันไปทั้งสิ้น หรือกลับไปรวมอยู่แต่กับสิ่งใกล้ชิดที่ไม่มีสายสัมพันธ์กัน โดยไม่เคยคำนึงถึงการสืบสกุลรุนชาติ นานหนักเข้าก็อาจทำให้ชาติไทยแตกแยกกันทีละน้อย ๆ จนถึงสลายตัวไปในที่สุด

นอกจากนั้นในทางปกครองหรือทางศาล ซึ่งเกี่ยวกับจะต้องให้ความคุ้มครอง ความยุติธรรมตลอดจนการลงโทษหรือในกรณีอื่น ๆ ก็เช่นกัน ด้วยเหตุดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทาน “พระราชบัญญัติขนานนามสกุล พระพุทธศักราช 2456” เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2456 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2456 เพื่อให้คนไทยทุกคนต้องมีชื่อตัวและชื่อสกุล ให้แพร่หลายทั่วถึงพลเมืองตลอดทั่วพระราชอาณาจักร เพื่อที่จะได้ทราบรูปพรรณสัณฐานบุคคล และเทือกเถาเหล่ากอสืบมาแต่บิดามารดาใด เพื่อที่จะได้จัดทำทะเบียนคนเกิด คนตาย และการจดทะเบียนสมรสไว้เป็นหลักสืบไป และหลายครอบครัวก็ตั้งนามสกุลตามชื่อของผู้นำของครอบครัวนั้น หรือตามถิ่นที่อยู่อาศัยของครอบครัวนั้น และ 3 พี่น้องผู้ก่อตั้งบ้านหนองบัวก็ได้ตั้งนามสกุลโดยนำชื่อของ พ่ออุ๊ยเปียง และแม่อุ๊ยแก้วซึ่งเป็นพ่อแม่ของทั้ง 3 คน ตั้งเป็นนามสกุล “เปียงแก้ว” จึงเป็นต้นตระกูลของหมู่บ้านหนองบัวดังกล่าว

มีการสร้างศาลเจ้าพ่อวังใจ เพื่อเป็นแหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านหนองบัว จากคำบอกเล่าของพ่อหลวง (ผู้ใหญ่บ้าน) ศรีมูล ใจยะสุข ว่าได้มีชายคนหนึ่ง ได้ไปตัดไม้เพื่อน้ามาทำแอกควาย แต่เกิดพลาดโดนมีดฟันเข้าที่ง่ามเท้าเกิดแผลฉกรรจ์ จึงได้เดินกลับมายังหมู่บ้านหนองบัว พอถึงบริเวณที่ตั้งศาลเจ้าพ่อวังใจ ในปัจจุบัน ชายคนนั้นจึงได้มานั่งพักและเสียชีวิตในเวลาต่อมาจากการเสียเลือดมาก และวิญญาณก็ได้วนเวียนอยู่แถวนั้น คอยหลอกหลอนชาวบ้านที่ผ่านไปมา พ่ออุ้ยวังจึงได้มีการเข้าไปเจรจาให้มาเป็นผู้คุ้มครองหมู่บ้าน แล้วจะตั้งศาลให้ และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาบ้านหนองบัวจึงได้มีแหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจ โดยการตั้งชื่อศาลเจ้าพ่อวังใจ นั้น ได้ตั้งตามชื่อของผู้ก่อตั้งหมู่บ้าน นั่นคือพ่ออุ้ยวัง พ่ออุ๊ยใจ

พ.ศ. 2485 แม่อุ้ยเป็ง ไชยบาล บุตรสาวคนโตของพ่ออุ๊ยวังถูกเสือตะปบ ได้มีการรักษาโดยหมอเป่าจากบ้านห้วยเคียน หรือบ้านดงอินตาใต้ในปัจจุบัน

พ.ศ. 2486-2487 ได้เริ่มมีการโจมตีทางอากาศโดยการทิ้งระเบิดขึ้นบริเวณใกล้เคียงบ้านหนองบัว จึงได้มีการหลุมหลบภัย (โม่ง) ขึ้น บริเวณบ้านเลขที่ 23 ในปัจจุบัน

พ.ศ. 2508 มีการระบาดของโรคมาลาเรียในหมู่บ้าน แต่ไม่มีผู้ใดเสียชีวิต และได้มาอาสาสมัครหน่วยมาลาเรียจ้านวน 2 คน เข้ามาฉีดพ่นยาภายในหมู่บ้าน และบริเวณโดยรอบ พ.ศ. 2511 หมู่บ้านมีครัวเรือนเพิ่มขึ้นประมาณ 32 ครัวเรือน พ่อหนานเป๊ก ไชยยศ ที่เป็นแพทย์ประจำตำบลสมัยนั้น ได้เป็นแกนนำส่งเรื่องการแยกหมู่บ้านจากหมู่ 4 เนื่องจากกลุ่มบ้านของบ้านหนองบัวอยู่เป็นกลุ่มก้อนที่มีระยะทางห่างจากหมู่ที่ 4 เกือบสองกิโลเมตร แยกออกมาเป็นหมู่ 12 ตำบลแม่ใจ (ในขณะนั้นยังอยู่ในเขตตำบลแม่ใจ) อำเภอแม่ใจ แต่งตั้งนายจื่น หล้าเป่ง เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้าน

หลังจากที่หมู่บ้านได้แยกมาครบหนึ่งปี ผู้นำชุมชนได้ทำเรื่องขอตั้งโรงเรียนเป็นของหมู่บ้านเพราะที่ผ่านมาต้องส่งลูกหลานไปเรียนหนังสือกระจัดกระจายตามโรงเรียนต่าง ๆ ของหมู่บ้านใกล้เคียง ทางเขตการศึกษาเชียงรายก็อนุญาตให้ตั้งโรงเรียนใน ปี พ.ศ. 2512 ชื่อโรงเรียนบ้านหนองบัว ใช้ที่ดินไร่สวนของพ่ออุ๊ยปั๋น แม่อุ๊ยตา เปียงแก้ว บริจาคให้สร้างโรงเรียน มีครูจำนง ณ สุวรรณ และครูรัตน์ ใหม่ทา มาเริ่มการเรียนการสอน การคมนาคมค่อนข้างที่จะยากลำบาก อาคารของโรงเรียนก็เป็นไม้ฟากมุงหลังคาด้วยหญ้าคา นักเรียนมีประมาณ 20 กว่าคน และได้มีการใช้จักรยานคันแรก เจ้าของคือ นายเป่ง ไชยบาล

พ.ศ. 2514 นายเปี้ย ไชยคำได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ 2 เดิมชาวบ้านไปทำบุญตามวัดของแต่ละครอบครัวเคยตั้งเป็นบ้านเรือนอยู่ มีวัดไร่อ้อย วัดเหล่าธาตุ และบ้านเหล่าศรีดอนตัน มีพระธาตุจำม่วงอยู่บนดอยทิศตะวันออกของหมู่บ้าน ก็ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนบ้านหนองบัวเคารพกราบไหว้จึงได้กำหนดประเพณีทำบุญสลากภัต ขึ้นทุกเดือนเกี๋ยงเหนือขึ้น 8 ค่ำ โดยมีนายเปี้ย ไชยคำ นายอ้าย ศรีใจป้อ เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง

พ.ศ. 2515 ก็ได้ก่อสร้างวัดเป็นของหมู่บ้านชื่อ วัดปทุมทองหนองบัวโดยครอบครัวของพ่ออุ้ยวัง แม่อุ้ยเขียว เปียงแก้ว ได้บริจาคที่ดิน ซึ่งเป็นที่ส่วนหัวนาให้สร้างวัด โดยมีตุ๊ป้อ (หลวงพ่อ) เลื่อน พระครูเกษมปัญญาคุณมาผู้วางศิลาฤกษ์ ขึ้นท้าวทั้ง 4 และทำพิธีกรรมต่าง ๆ ในการจัดตั้งวัด และขอพ่อหนานเขียว ไชยวงศ์ นักศีลนักบุญของบ้านเหล่ามาเป็นพ่ออาจารย์ (มัคนายก) ชั่วคราว ระหว่างทำพิธีการตั้งวัด พระสงฆ์รูปแรกที่มาจำพรรษาวัดปทุมทองหนองบัว คือ พระจู ปั๋นเกี๋ยง ต่อมาติดทหารเกณฑ์ พระรูปที่ 2 พระเดช จิตโนตา พระรูปที่ 3 พระค้า จิตนะวรรณ จากวัดไร่อ้อยศรีดอนมูล มัคนายกคนแรกของหมู่บ้านหนองบัว คือ พ่อหน้อยค้า ค้าอ้าย เนื่องจากเป็นพ่อหน้อยซึ่งทางเหนือล้านนามีการถือว่า “หน้อย” บ่อดีเป็นอาจารย์ “หนาน” บ่อดีเป็นจ่างซอ ชาวบ้านจึงให้พ่อหน้อยค้า ค้าอ้าย อุปสมบทเป็นพระภิกษุ 7 วัน แล้วจึงสึกออกมาเป็นอาจารย์ ส้าหรับกาลต่อมาพระสงฆ์ที่มาจ้าพรรษาส่วนมากเป็นพระสงฆ์ต่างถิ่นตลอด เพราะลูกหลานในหมู่บ้านบวชเป็นสามเณรเสียส่วนมาก เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน คือ พระฉลอง สุเมโธ ถิ่นฐานเป็นคนชาวอ้าเภอเชียงค้า มาอุปสมบทที่วัดปทุมทองหนองบัวเมื่อปี พ.ศ. 2549

พ.ศ. 2528 ได้มีการจัดตั้งศูนย์เด็กเล็กในบริเวณวัดปทุมทองหนองบัว และได้มีการจัดตั้งโทรศัพท์สาธารณะ (หยอดเหรียญ) ตั้งบริเวณหน้าวัด 1 ตู้ และมีชายไทยได้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ 1 ราย ซึ่งแต่ก่อนเมื่อชาวบ้านรู้ก็มีการกลัว ไม่กล้าเข้าไปเยี่ยมไปใกล้ คนในหมู่บ้านที่ไปทำงานนอกหมู่บ้านก็ลดลง กลับมาทำงานในหมู่บ้านเพิ่มขึ้นเนื่องจากกลัวโรคเอดส์ ต่อมาก็มีหมอได้เข้ามาให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ ชาวบ้านมีความรู้ก็เลิกกลัว กลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติ

พ.ศ. 2536 ยุบโรงเรียนบ้านหนองบัว เนื่องจากมีจำนวนนักเรียนน้อยเกินไป

ได้มีการสร้างเมรุเพื่อใช้ในพิธีเผาศพ ตั้งอยู่ที่บ้านดงอินตาในปัจจุบัน ซึ่งทั้งตำบลจะใช้ที่นั่นเป็นที่เผา ในสมัยแต่ก่อนนั้นในการเผาศพ จะเผาบนกองฟืนที่ลานกว้าง และในปัจจุบันบ้านหนองบัวก็ได้เปลี่ยนวิธีการเผา เป็นเผาที่เมรุแทนกองฟืนบนลานกว้าง แต่ยังคงประเพณีดั้งเดิมไว้ จากความเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตาย เมื่อมีคนตายจึงต้องจัดพิธีงานศพขึ้นเพื่อเป็นการไว้อาลัยแก่คนตายอย่างสมเกียรติ พิธีงานศพของชาวบ้านหนองบัวจะมีการจัดแต่งปราสาทใส่ศพประดับประดาด้วยดอกไม้สดหรือแห้ง พวงหรีดให้แลดูสวยงาม นับว่าเพื่อเป็นการยกย่องผู้ตายให้ได้ขึ้นไปสู่สรวงสวรรค์ชั้นฟ้า ขั้นตอนการทำพิธีศพของบ้านหนองบัวนั้น เมื่อมีคนตายขึ้น ทางบ้านโดยลูกหลานหรือญาติพี่น้องก็จะรีบไปติดต่อซื้อโลงศพและปราสาททันที การตั้งศพจะประกอบด้วยโลงศพมีการประดับประดาด้วยไฟสีหรือไฟกะพริบอย่างสวยงาม ก่อนที่จะนำโลงศพขึ้นบรรจุบนปราสาท จะมีการทำพิธีกรรมทางสงฆ์คือการทานปราสาทเสียก่อน โดยจะนิมนต์พระสงฆ์มาเป็นผู้ทำพิธีก่อนที่ชาวบ้านและบรรดาลูกหลานของคนตายจะช่วยกันยกโลงศพขึ้นบรรจุบนปราสาท ซึ่งพิธีทานประสาทมักจะกระทำก่อนวันเผา 1 วัน ในพิธีงานศพจะนิยมจ้างวงดนตรีบรรเลงปี่พาทย์ หรือ วงสะล้อซอซึง มาเล่นประกอบพิธีศพกันอย่างครึกครื้น การสวดศพส่วนใหญ่แล้วจะตั้งสวด 3-5 วัน นิยมตั้งศพไว้ที่บ้าน นิมนต์พระสงฆ์ไปสวดที่บ้าน

พ.ศ. 2538 ได้มีการบวชต้นไม้เพื่อรักษาป่า ไม่ให้ตัดต้นไม้ เพื่อแก้ไขปัญหาความแห้งแล้ง โดยท้าบริเวณภูเขาทั้งหมดที่ติดกับวัดพระธาตุจำม่วง

บ้านหนองบัว ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านเหล่า อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่ใจประมาณ 8 กิโลเมตร มีระยะห่างจากตัวจังหวัดประมาน 28 กิโลเมตร มีเนื้อที่ ประมาณ 1,800 ไร่ แบ่งเป็น พื้นที่การเกษตร ประมาณ 800 ไร่, พื้นที่สาธารณะ ประมาณ 8 ไร่, พื้นที่ตั้งบ้านเรือน/ชุมชน ประมาณ 158 ไร่ และที่เหลือเป็นพื้นที่ป่า

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านดงอินตา หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านเหล่า อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา
  • ทิศใต้ ติดต่อกับหมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 10 ตำบลบ้านเหล่า อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับภูเขาป่าอุทยานแห่งชาติแม่ปืม
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านดงอินตา หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านเหล่า อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา

สภาพภูมิประเทศ

ลักษณะทางภูมิศาสตร์โดยทั่วไปของหมู่บ้านหนองบัว หมู่ที่ 2 เป็นพื้นที่ราบระหว่างเชิงเขาภายในหมู่บ้านมีสระบัวซึ่งเมื่อก่อนเป็นแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์และหมู่บ้านยังอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำอุทยานแห่งชาติแม่ปืมและเป็นแหล่งน้ำของชุมชน ท้าให้ชุมชนอุดมสมบูรณ์ มีพื้นที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยและเหมาะแก่การท้าการเกษตร เช่น ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์

สภาพภายในหมู่บ้าน

บ้านหนองบัวเป็นชุมชนที่เงียบสงบ ภายในหมู่บ้านมีเส้นทางตัดผ่านเป็นทางคอนกรีตสามารถให้ประชาชนในหมู่บ้านเดินทางไปมาภายในหมู่บ้านได้สะดวก สภาพบ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นบ้านยกสูงและเป็นบ้านไม้แต่มีบางบ้านที่เริ่มมีการปรับปรุงใหม่เป็นบ้านปูนที่ท้ายหมู่บ้านจะมีสระบัว (หนองบัว) อยู่

การคมนาคมภายในและภายนอกหมู่บ้าน

บ้านหนองบัว หมู่ที่ 2 เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ท่ามกลางทุ่งนาและหุบเขา ภายในหมู่บ้านหนองบัว มีถนนคอนกรีตสองช่องทางรถ เป็นทางติดต่อระหว่างภายในหมู่บ้านและมีถนนลาดยางติดต่อระหว่างหมู่บ้านดงอินตา หมู่ที่ 9 ประชาชนส่วนใหญ่ใช้รถจักรยานและรถจักรยานยนต์เป็นพาหนะในการเดินทางแต่ถ้าหากเป็นการเดินทางภายในหมู่บ้านแบบไม่ไกลมากนักประชาชนมักจะเดินเป็นส่วนใหญ่

ประชาชนบ้านหนองบัว หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านเหล่า อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา พบว่ามีประชาชนทั้งหมด 338 คน แยกเป็นเพศชายจำนวน 174 คน คิดเป็นร้อยละ 51.48 เพศหญิงจำนวน 164 คน คิดเป็นร้อยละ 48.52 การนับถือศาสนาของประชาชน ศาสนาพุทธ 447 คน ศาสนาคริสต์ 1 คน

ผู้ใหญ่บ้านบ้านหนองบัวตั้งแต่เริ่มแยกหมู่บ้านจนถึงปัจจุบัน

1. นายศรีมูล    ปัญญาโน    พ.ศ. 2528-2535
2. นายสมพร    สายสืบ    พ.ศ. 2535-2541
3. นายอ้าย    ถาฝัน    พ.ศ. 2541-2546
4. นายศรีมูล    ใจยสุข    พ.ศ. 2546-2551
5. นายอ้าย    ถาฝัน    พ.ศ. 2551-2555
6. นายศรีมูล    ใจยสุข    พ.ศ. 2555-ปัจจุบัน

ขณะเดียวกันในสมัยผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน คือ นายศรีมูล ใจยสุข มีนายมานิต ค้าศรี และนายวรากร ทารินทร์ เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

การปกครองภายในหมู่บ้าน แบ่งการปกครองโดยแบ่งเป็นคุ้ม ซึ่งมีทั้งหมด 9 คุ้ม ได้แก่ คุ้มรวมใจพัฒนา, คุ้มประชาสร้างสรรค์, คุ้มเกษตรพัฒนา, คุ้มเจ้าวังใจ, คุ้มรุ่งเรืองพัฒนา, คุ้มรวมใจภัยไม่มี, คุ้มเอื้ออาทร, คุ้มสันเจริญทอง และ คุ้มร่วมแรงแข็งขัน โดยแต่ละคุ้มจะมีหัวหน้าคุ้มดูแลสมาชิกในแต่ละคุ้ม

ในหมู่บ้านมีการบริหารหมู่บ้านแบบทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อทำหน้าที่ในการปกครองหมู่บ้านประสานงานให้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวเพื่อให้เกิดความเจริญ ความสงบและเป็นแบบอย่างที่ดี ซึ่งในหมู่บ้านหนองบัวนี้จะมีกลุ่มต่าง ๆ ดังนี้

  • กลุ่มออมทรัพย์ : หน้าที่เพื่อบริหารงบประมาณของชาวบ้านให้เกิดประโยชน์ นายชุม ถารินทร์ (ประธาน)
  • กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน : กรรมการ จำนวน 6 คน
  • กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข : นายอ้าย ถาฝัน (ประธาน) มี อสม. รวมประธาน 15 คน
  • กลุ่ม อปพร. : มีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยของหมู่บ้านและทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายของคณะกรรมการหมู่บ้านมีสมาชิกกลุ่ม คือ นายจำรัส ไชยยะค้า ประธานรวมกับสมาชิกทั้งหมด 10 คน
  • กลุ่มแม่บ้าน : มีหน้าที่ช่วยเหลือในหมู่บ้านตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการหมู่บ้าน นางนิภา ปั๋นเกียง ประธานกลุ่ม
  • กลุ่มฉางข้าว : ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 เดือน กันยายน พ.ศ. 2550 เหตุที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อซื้อข้าวเปลือกเก็บที่ฉางข้าวชุมชนและเพื่อสำรองข้าว ให้ประชาชนในหมู่บ้านที่ขาดแคลนข้าวบริโภคระหว่างรอฤดูเก็บเกี่ยวได้ยืมไปบริโภคกันในครอบครัว แล้วเป็นการป้องกันไม่ให้คนในชุมชนไปกู้ยืมเงินนอกระบบมาซื้อข้าวกันในช่วงที่ระหว่างรอการเก็บเกี่ยว นายมานิตย์ ค้าสี (ประธาน)
  • กลุ่มผู้สูงอายุ
  • กลุ่มเลี้ยงสุกร : ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2557 ที่ก่อตั้งกลุ่มนี้เพราะแต่เดิมชาวบ้านที่เลี้ยงสุกรจะเลี้ยงเอง ผู้ใหญ่บ้านจึงตั้งกลุ่มนี้ขึ้นมาเพื่อขอวัคซีนและจะได้มีเงินไปซื้อสุกรมาเลี้ยงเพิ่ม นายศรีมูล ใจยสุข (ประธาน)
  • กลุ่มเลี้ยงโค : รวมกันเป็นกลุ่มเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคขึ้นกับโคและจะได้มีเงินไปซื้อโคมาเลี้ยงซึ่งมีสมาชิก ดังนี้ นายจำรัตน์ ไชยบาล (ประธาน)
  • กลุ่มน้าพริกลาบ : ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2535 แต่เดิมเคยเป็นกลุ่มผ้าเช็ดเท้ามาก่อน แต่ขายไม่ค่อยได้จึงเป็นมาเป็นกลุ่มน้ำพริกลาบจนมาถึงปัจจุบันจะท้าอยู่ครั้งละ 3-4 กิโลกรัม แต่ละเดือนจะทำประมาณ 2-3 ครั้ง แต่ถ้ามีเทศกาลจะทำเพิ่มขึ้น นางแก้ว ถาปั๋น (ประธาน)
  • กลุ่มเลี้ยงไก่เมือง : นายศรีมูล ใจยสุข (ประธาน)
  • กลุ่มเมล็ดพันธุ์ข้าว : นายสมพร ยาสืบ (ประธาน)

สภาพทางเศรษฐกิจ ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนประมาณ 30,000-50,000 บาท/ครอบครัว/ปี

  • อาชีพหลัก : ทำนา
  • อาชีพรอง : ทำสวนฟักทอง, สวนแตงโม, สวนข้าวโพดสัตว์, มันสำปะหลัง, รับจ้าง
  • อาชีพเสริม : จักสาน, ปลูกพืชผักสวนครัว, หาของป่า, เลี้ยงปลา, ค้าขาย
  • รายได้ของประชาชน : มาจากภาคเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่
  • รายจ่ายของประชาชน : ค่าใช้จ่ายทางการเกษตร, ค่าดำรงชีพ, ค่าสาธารณูปโภค, ค่างานสังคม, ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
  • หนี้สินของประชาชน : ส่วนใหญ่ เป็นหนี้กู้ยืมของ ธกส., หนี้ของกองทุนต่าง ๆ ในหมู่บ้าน
  • แหล่งเงินทุน : กองทุนต่าง ๆ ในหมู่บ้าน และ ธกส.
  • ผลิตภัณฑ์ชุมชน : ได้จากกลุ่มส่งเสริมอาชีพต่างๆ เช่น การจักสาน
  • ภูมิปัญญาท้องถิ่น : ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรโบราณ จึงนำมาใช้ทำยาเพื่อรักษาโรคเป็นบางครั้งร่วมกับการรักษาทางการแพทย์สมัยใหม่
  • วัตถุดิบในชุมชนในด้านอินทรียวัตถุ : ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

ปฏิทินทางเศรษฐกิจของหมู่บ้านหนองบัว

ชาวบ้านส่วนใหญ่จะมีอาชีพทำการเกษตร ทำนา ทำสวน เลี้ยงวัว เลี้ยงกระบือ เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่และหาของป่าเป็นอาชีพเสริมดังนี้

ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ จะมีการปลูกข้าวนาปรัง ปลูกแตงโมและหาของป่าโดยเฉพาะไข่มดแดงจะมีมาก ชาวบ้านจะนำไปขายและเก็บไว้ประกอบอาชีพไว้กินเองในครอบครัว นอกจากนี้ก็จะมีชาวบ้านก็จะปลูกพืชผักสวนครัว เช่น ผักกาด ผักบุ้ง ผักชีลาว ผักแพว ผักเสน่ห์ ผักตำลึง ผักชะอมเป็นต้น ชาวบ้านจะปลูกไว้ในบริเวณบ้านและทุ่งนาของตนเองเพื่อเอาไว้กินเองและนำไปขายเพื่อหารายได้เสริม

ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ชาวบ้านบางส่วนมีการปลูกมันสำปะหลัง จะปลูกไปประมาณหนึ่งปีดูเก็บเกี่ยวก็จะเก็บเกี่ยวในปีถัดไป

ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม ชาวบ้านก็จะเริ่มปลูกข้าวนาปี และมีชาวบ้านบางส่วนก็จะมีการหาของป่าโดยเฉพาะเหตุชาวบ้านก็จะพากันไปหาเหตุประมาณช่วงเวลา 02.00 น. และจะออกจากป่าประมาณ 10.00-11.00 น. พอเวลา 13.00 น. ก็จะไปนั่งขายที่ตลาดบางครอบครัวมีรายได้เป็นหลัก 1,000/วัน และก็ถือเป็นของชุมชนหนองบัวที่สืบทอดกันมาแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ส่วนเห็ดที่ชาวบ้านขายก็จะมีเห็ดถอบ เห็ดดินแดง เห็ดลม เป็นต้น นอกจากเห็ดแล้วก็ยังมีดอกไม้ ต่อ แตน น้ำผึ้งและสัตว์จากหนองน้ำในหมู่บ้าน เช่น กุ้ง หอย ปลา เป็นต้น เพื่อนำมาบริโภคในครอบครัว อีกทั้งยังมีรายได้เสริมในการเก็บของป่าไปขายในหมู่บ้านเพื่อเป็นอาชีพเสริมหารายได้ให้แก่ครอบครัว

ในช่วงเดือนกรกฎาคม ชาวบ้านก็ยังคงเก็บแตงโมไปขายและมีชาวบ้านผู้สูงอายุบางส่วนจากสานตะกร้าเพื่อใส่ขยะไว้ที่หน้าบ้าน โดยจะขายให้ชาวบ้านเลยอยู่บ้านใบละ 50 บาท นอกจากจะจักสานตะกร้าแล้วก็ยังการจักสานหมวกกรุ๊ปใบละ 10 ถึง 50 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดของหมวกแต่ละใบและยังมีชาวบ้านบางส่วนรับเสื้อผ้าจากการอยู่บ้านมาปักมุก โดยจะออกแบบเองผืนละ 120 ถึง 170 บาท ผืนหนึ่งจะทำประมาณสองถึงสามวันโดยใช้เวลาว่างจากการทำนาและยังได้เป็นรายได้เสริม

ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม ชาวบ้านก็จะเริ่มเก็บเกี่ยวข้าว เก็บถั่วลิสง ปลูกข้าวโพด ปลูกแคนตาลูป เป็นต้น เพื่อให้ไม่ให้พื้นที่นาว่างเปล่าและยังได้รายได้เสริมให้กับคนในครอบครัว

ปฏิทินวัฒนธรรม

  • เดือนมกราคม (เดือน 4 ล้านนา) : วันขึ้นปีใหม่, กลางเดือนจัดทำพิธี "ตานข้าวใหม่" หลังจากหมดฤดูเก็บเกี่ยวจะมีการท้าบุญทานข้าวใหม่ ทานข้าวจี่ ทานขันข้าวที่วัดปทุมทองหนองบัว
  • เดือนกุมภาพันธ์ (เดือน 5 ล้านนา) : บวงสรวงเจ้าพ่อวังใจ โดยจะนำอาหาร ดอกไม้ ธูปเทียนไปบวงสรวงที่ศาลเจ้าพ่อวังใจซึ่งเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชน
  • เดือนมีนาคม (เดือน 6 ล้านนา) : ในช่วงท้ายเดือน มีไหว้พระธาตุประจำปี คือ พระธาตุคู่แม่สุกที่บ้านแม่สุก และพระธาตุสายฝน  มีการไปสักการะหรือไหว้ปีละครั้ง
  • เดือนเมษายน (เดือน 7 ล้านนา) : ปีใหม่เมือง ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง หรือประเพณีปีใหม่เมือง เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวเหนือ หรือชาวล้านนา สืบเนื่องมาจากอดีตกาลที่จะยึดถือเป็นช่วงเปลี่ยนศักราชใหม่ โดยกำหนดจุดที่พระอาทิตย์ย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ ซึ่งมักจะตรงกับวันที่ 13 เมษายน หรือ 14 เมษายนของแต่ละปี และจะกินเวลาประมาณ 4-7 วัน ยาวนานกว่าสงกรานต์ของภาคอื่น ๆ

วันที่ 13 เมษายน วันสังขานต์ล่อง จะมีการจุดประทัด ยิงปืน เพื่อส่งสังขารหรือไล่สังขาร (จะถือเอาตามเวลาสังขานต์ล่องตามที่บอกในปฏิทินปี๋ใหม่เมืองในปีนั้น เช่น บอกว่าสังขานต์จะล่องเมื่อ 03 นาฬิกา 30 นาที 26 วินาที ชาวบ้านก็จะจุดประทัดเวลานั้นถือว่าไล่สังขานต์)

วันที่ 14 เมษายน เป็น "วันดา" คือวันที่ต้อง เตรียมสิ่งของต่าง ๆ เพื่อใช้ทำบุญในวันรุ่งขึ้น วันเน่า ไม่ควรด่าทอ เกิดอุบัติเหตุเจ็บตัว สาปแช่งหรือกล่าวคำร้ายต่อกัน ปากจะเน่าจะเหม็น เป็นอัปมงคลไปทั้งปี

วันที่ 15 เมษายน "วันพญาวัน" วันที่สามของประเพณีปีใหม่เมือง ถือเป็นวันเถลิงศก เปลี่ยนศักราชเริ่มต้นปีใหม่ วันนี้มีการทำบุญทางศาสนาแต่เช้าตรู่ และอุทิศกุศลไปถึงญาติผู้ล่วงลับ หรือเรียกว่า "ตานขันข้าว" นำตุงปักลงบนกองเจดีย์ทราย ช่วงบ่ายเป็นการรดน้ำดำหัว เพื่อขอขมาคนเฒ่าคนแก่ พ่อแม่ ครูอาจารย์ ไปสรงน้ำพระพุทธรูป เจดีย์ เลี้ยงผีปู่ย่าในวันนี้

วันที่ 16 เมษายน "วันปากปี" เป็นวันแรกของปี มารวมตัวกันเพื่อทำบุญเสาใจบ้าน หรือส่งเคราะห์บ้าน พิธีสืบชะตาหมู่บ้าน และพากันไปขอขมา ดำหัว พระเถระผู้ใหญ่ตามวัดต่าง ๆ ดำหัวผู้อาวุโส ผู้นำชุมชน ในตอนค่ำของวันนี้จะมีการบูชาเทียน สืบชะตา ลดเคราะห์ รับโชค เพื่อให้เกิดความเป็นมงคลแก่ครอบครัว โดยในวันปากปีมีความเชื่อบางประการเกี่ยวกับ "แกงขนุน" หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า "แกงบ่าหนุน" ที่จะกินกันทุกครอบครัว เพราะเชื่อว่าจะหนุนชีวิตให้เจริญก้าวหน้า ทั้งนี้เหตุผลของการทานแกงขนุนดังกล่าว อาจจะมาจากชื่อขนุน ที่มีความหมายถึงการเกื้อหนุน ค้ำจุน ครอบครัวให้เจริญรุ่งเรืองหรือตลอดปี

  • เดือนพฤษภาคม (เดือน 8 ล้านนา) : ประเพณีแปดเป็ง ชาวบ้านจะไปฟังเทศน์ที่วัดปทุมทองหนองบัว
  • เดือนมิถุนายน (เดือน 9 ล้านนา) : ประเพณีเลี้ยงเจ้าหนองเล็งทราย เป็นประเพณีไทยเก่าแก่ของชาวอำเภอแม่ใจที่สืบทอดกันมากกว่า 80 ปี ประเพณีนี้เกิดจากความเชื่อที่มาแต่โบราณว่าหนองเล็งทรายจะมีเจ้าของมีผีรักษาแม่น้ำคงคาไว้ถ้าปีไหนไม่เลี้ยงผีจะเกิดอาเพศ ฝนจะไม่ตกต้องตามฤดูกาลชาวบ้านจะมีการเจ็บไข้ได้ป่วย ชาวบ้านจึงร่วมกันจัดประเพณีเลี้ยงเจ้าหนองเล็งทรายขึ้น เพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุขไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ, ประเพณีสรงน้ำพระธาตุจำม่วง ทุกเดือน 9 ขึ้น 15 ค่ำ (เก้าเป็ง) เป็นประเพณีตำบลบ้านเหล่าโดยหมู่บ้านหนองบัวอยู่ด้านล่างของพระธาตุและอยู่ใกล้จึงไปร่วมประเพณีทุกปี ถือว่าเป็นประเพณีของหมู่บ้านอีกสถานที่หนึ่งที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ
  • เดือนกรกฎาคม (เดือน 10 ล้านนา) : แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ทำบุญเข้าพรรษา ที่วัดปทุมทองหนองบัว
  • เดือนสิงหาคม (เดือน 11 ล้านนา) : ช่วงเดือนนี้จะอยู่ในช่วงเข้าพรรษา มีการทำบุญตักบาตรที่วัดปทุมทองหนองบัว
  • เดือนกันยายน (เดือน 12 ล้านนา) : ตานก๋วยสลาก ช่วงเดือน 12 ล้านนาถึงเดือนยี่ หรือตั้งแต่เดือนกันยายนจนถึงเดือนตุลาคมของทุกปี
  • เดือนตุลาคม (เดือน 1 ล้านนา) : ทำบุญออกพรรษา อยู่ในช่วงตานก๋วยสลาก สิ้นสุดเอาในเดือนเกี๋ยงดับ
  • เดือนพฤศจิกายน (เดือน 2 ล้านนา) : ทอดกฐิน มีเวลา 1 เดือนหลังจากออกพรรษา ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือนเกี๋ยง (เดือนเกี๋ยงดับ) จนถึงวันเพ็ญเดือนยี่เหนือ, ประเพณียี่เป็ง
  • เดือนธันวาคม (เดือน 3 ล้านนา) : ทำบุญสวดมนต์ข้ามปี ที่วัดปทุมทองหนองบัว

1. นางคำ ไชยบาล อายุ 84 ปี อยู่บ้านเลขที่ 5 บ้านหนองบัว หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านเหล่า อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา เป็นบุตรของนายวัง เปียงแก้ว และนางเขียว เปียงแก้ว ที่เป็นต้นตระกูลเปียงแก้วที่มาก่อตั้งบ้านหนองบัว นางคำมีพี่น้องทั้งหมด 7 คน เป็นผู้หญิง 6 คน ผู้ชาย 1 คน

2. นายศุภชีพ ศิริวงศ์ใจ นักจัดการความรู้ ผู้ประสานงานกองทุนสวัสดิการชุมชน

ทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลักษณะทางนิเวศวิทยา จำนวนที่ดิน พื้นที่สาธารณะ ลักษณะดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดิน แหล่งน้ำกินน้ำใช้ น้ำสำหรับการเกษตร

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของหมู่บ้านหนองบัว หมู่ที่ 2 มีลักษณะทางนิเวศที่สมดุลเนื่องจากมีการอนุรักษ์แหล่งธรรมชาติ มีการทำฝายเพื่อกักเก็บน้ำ ภายในหมู่บ้านยังมีหนองบัวเพื่อกักเก็บน้ำไว้สำหรับทำการเกษตรและทำนา ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาและเกษตรกรรม นอกจากนี้หมู่บ้านหนองบัวยังมีน้ำจากอุทยานแห่งชาติแม่ปืมและมีการทำประปาของหมู่บ้านไว้สำหรับใช้น้ำในครัวเรือน หมู่บ้านหนองบัว หมู่ที่ 2 มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 1,800 ไร่ พื้นที่การเกษตร 800 ไร่ พื้นที่ตั้งบ้านเรือนประมาณ 158 ไร่ ที่เหลือเป็นพื้นที่ป่าไม้

ลักษณะดินในหมู่บ้านหนองบัว หมู่ที่ 2 โดยทั่วไปเป็นดินร่วน และดินเหนียวในทุ่งนาซึ่งเหมาะแก่การเพาะปลูก การทำนา และดินร่วนปนทรายในพื้นที่ตั้งบ้านเรือน

แหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค คือ ประปาหมู่บ้าน น้ำบ่อ และมีแหล่งน้ำสาธารณะ 3 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติแม่ปืม ฝายชะลอน้้าบ้านหนองบัว ห้วยจำม่วง

ทุนเศรษฐกิจ กองทุนในหมู่บ้าน

  • กองทุนเงินล้าน : นายอ้าย ถาฝัน
  • กองทุน กข.คจ. : นายอ้าย ถาฝัน
  • กองทุนแม่บ้าน : นางนิภา ปั๋นเกี๋ยง
  • กองทุนออมทรัพย์ : นายชุม ถาฝัน
  • กองทุนฉางข้าว : นายจ้ารัส ไชยค้า
  • กองทุนเมล็ดพันธุ์ : นายสมพร สายสืบ
  • กองทุน ชรพ. : นายสมบูรณ์ อินจุมปู
  • กองทุนผู้เลี้ยงสุกร : นายศรีมูล ใจยสุข
  • กองทุนผู้เลี้ยงไก่ : นายวีระ ใหวหล้า
  • กองทุนผู้เลี้ยงไก่เมือง : นายศรีมูล ใจยสุข
  • กองทุนน้ำพริกลาบ : นางแก้ว ถาฝัน
  • กองทุน อสม. : นายอ้าย ถาฝัน
  • กองทุนการจัดการขยะ : นายศรีมูล ใจยสุข

ทุนวัฒนธรรม

  • รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ
  • รำวงย้อนยุค
  • การร้องเพลงจ้อย
  • การเลี้ยงผีปู่ย่า ผีบรรพบุรุษ

ภาษาพื้นเมืองล้านนา

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

Google Maps. (2564). พิกัดแผนที่ชุมชนบ้านหนองบัว. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2561. เข้าถึงได้จาก https://www.google.com/maps

ประวัติจังหวัดในล้านนา จังหวัดพะเยา. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564. เข้าถึงได้จาก http://wiangsalanna.myreadyweb.com/

พระครูโสภณปริยัติสุธี (ศรีบรรดร ถิรธมฺโม.). (2552). ชื่อบ้าน-ภูมิเมืองพะเยา. พะเยา : เจริญอักษร.

พระครูโสภณปริยัติสุธี, รศ.ดร. ถิรธมฺโม. ชื่อบ้าน-ภูมิเมืองอำเภอแม่ใจ.

บุญเลิศ ครุฑเมือง. (2537). ผีปู่ย่า : ศรัทธาแห่งล้านนาไทย สารคดี “ฮีตฮอยเฮา”. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ

ราชกิจจานุเบกษา. (2481). ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องแบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ. เล่ม 80 ตอน ที่ 14. 5 กุมภาพันธ์ 2506.

ราชกิจจานุเบกษา. (2481). พระราชกฤษฎีกา ตั้งอำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอท่าคันโท อำเภอดอกคำใต้ อำเภอเม่ใจ อำเภอจุน ฯลฯ. เล่ม 82 ตอนที่ 59. 27 กรกฎาคม 2508