Advance search

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เคยเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรบ้านดงบุนนาค อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา และได้ทรงเห็นว่าบ้านดงอินตาอยู่ห่างไกลสถานีรักษาจึงได้ทรงจัดตั้งสถานีรักษาแพทย์อาสาทางอากาศสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พย 1 (หน่วยแพทย์ พอ.สว.) ขึ้น

หมู่ที่ 7
บ้านดงบุญนาค
บ้านเหล่า
แม่ใจ
พะเยา
วันเพ็ญพร แสงโทโพ
2 พ.ค. 2023
กนกวรรณ เอี่ยมชัย
17 พ.ค. 2023
กนกวรรณ เอี่ยมชัย
26 พ.ค. 2023
บ้านดงบุญนาค

ลักษณะพื้นที่เดิมก่อนตั้งเป็นหมู่บ้านทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านเป็นทุ่งหญ้าใหญ่ ตั้งอยู่หนองเล็งทรายเป็นบริเวณกว้างนับพันกว่าไร่ ด้านทางทิศตะวันออกเป็นป่าดงดิบฝูงไม้นานาพันธุ์โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณวัดดงบุญนาค อดีตเป็นวัดร้างมาแต่โบราณภายในบริเวณนี้เต็มไปด้วยไม้บุนนาก (บุญนาค)


สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เคยเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรบ้านดงบุนนาค อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา และได้ทรงเห็นว่าบ้านดงอินตาอยู่ห่างไกลสถานีรักษาจึงได้ทรงจัดตั้งสถานีรักษาแพทย์อาสาทางอากาศสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พย 1 (หน่วยแพทย์ พอ.สว.) ขึ้น

บ้านดงบุญนาค
หมู่ที่ 7
บ้านเหล่า
แม่ใจ
พะเยา
56130
19.39827525
99.82747436
เทศบาลตำบลบ้านเหล่า

ในอดีต แม่ใจ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้ สายน้ำไหลตลอดปี มีสัตว์ป่านาชนิด บางแห่งลึกมาก ชาวบ้านเรียกว่า “ท่าช้าง” อยู่ห่างจากบ้านศรีถ้อยประมาณ 200 เมตร มีเรื่องเล่ากันว่าที่ท่าช้างแห่งนี้จะมีช้างป่ามาดื่มมาอาบอยู่เสมอ เพราะมีฝั่งสูง น้ำลึก และป่าได้หนาทึบ มีต้นไม้นานาพันธุ์ จะเห็นว่าหมู่บ้านต่าง ๆ ในอำเภอแม่ใจส่วนใหญ่มีชื่อตามต้นไม้ทั้งสิ้น เช่น บ้านต้นแก บ้านป่าสัก บ้านต้นตะเคียน บ้านสันต้นม่วง บ้านป่าตึง เป็นต้น

อำเภอแม่ใจ จัดตั้งขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) โดยมีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งในจำนวน 3 อำเภอ และ 10 เมือง ซึ่งได้จัดการปกครองรวมกันเข้าเป็นจังหวัดพายัพ ภาคเหนือ ต่อมาได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2453 กำหนดให้อำเภอแม่ใจค้นกับเมืองเชียงราย และอยู่ในเขตมณฑลพายัพ

ร.ศ. 129 (พ.ศ. 2453) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในสมัยนั้นได้มีพระบรมราชโองการประกาศให้จัดแบ่งท้องที่ปกครองเป็น “เมือง” และ “อำเภอ” เมื่อ ร.ศ. 129 (พ.ศ. 2453) ในขณะนั้น“แม่ใจ” มีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งในจำนวน 3 อำเภอ และ 10 เมือง ที่ได้จัดการปกครองรวมกันเป็นจังหวัดพายัพเหนือ ต่อมาได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 9 มิถุนายน ร.ศ. 129 (พ.ศ. 2453) ให้อำเภอแม่ใจขึ้นกับเมืองเชียงราย และอยู่ในมณฑลพายัพ โดยมีผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ จำนวน 6 คน คนแรกคือนายถิน ได้นามสกุลภายหลังการมี พรบ.นามสกุลคือ ควรสมาคม ต่อมาในปี ร.ศ. 133 (พ.ศ. 2457) อำเภอแม่ใจ ถูกยุบให้เหลือฐานะเป็นตำบลหนึ่งขึ้นอยู่ในความปกครองของอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย (สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา

ในปี พ.ศ. 2457 (ร.ศ. 13 ) อำเภอแม่ใจ ถูกยุบให้เหลือเป็นตำบลหนึ่ง ของอำเภอพาน ต่อมาในปี พ.ศ. 2501 กรมการปกครองได้พิจารณาเห็นว่าท้องที่ตำบลป่าแฝก ตำบลแม่ใจ ตำบลศรีถ้อย และตำบลแม่ปืม จังหวัดพะเยา บางส่วน สมควรยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ ดังนั้น เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2506 กระทรวงมหาดไทยจึงออกประกาศพระราชกฤษฎีกาให้รวมเขตปกครองตำบลแม่ใจ ตำบลป่าแฝก ตำบลแม่สุก ตำบลศรีถ้อย และยกฐานะจัดตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ เรียกว่า “กิ่งอำเภอแม่ใจ” อยู่ในการปกครองของอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

ลักษณะพื้นที่เดิมก่อนตั้งเป็นหมู่บ้านทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านเป็นทุ่งหญ้าใหญ่ ตั้งอยู่หนองเล็งทรายเป็นบริเวณกว้างนับพันกว่าไร่ ด้านทางทิศตะวันออกเป็นป่าดงดิบฝูงไม้นานาพันธุ์โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณวัดดงบุญนาค อดีตเป็นวัดร้างมาแต่โบราณภายในบริเวณนี้เต็มไปด้วยไม้บุนนาก (บุญนาค) ปัจจุบันใช้นามนี้เป็นนาม บ้าน วัด โรงเรียน นอกจากความอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้และพืชผักตามธรรมชาติแล้วยังมี แหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น ห้วยเหมี่ยง-ห้วยโล๊ะ ห้วยตะเคียน ห้วยหลวง ห้วยเหล่านี้รองรับน้ำที่ไหลจากเทือกเขาดงเหมี่ยงมาหล่อเลี้ยงเป็นต้นน้ำของหนองเล็งทราย

บุคคลกลุ่มแรกที่เข้ามาอาศัยอพยพมาจากบ้านต้างหนอง หมู่ 2 ตำบลแม่ใจ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย มาก่อน พ.ศ. 2475 มาเลี้ยงสัตว์ วัว ควาย ทำไร่ เป็นต้น บุคคลเหล่านี้ที่มาก่อนตามคำบอกเล่าของแม่ย่าเกี๋ยงคำ บุญมา ผู้สูงอายุที่ร่วมสมัยเล่าว่าผู้มาก่อน ได้แก่ พ่อต๊ะ ไชยวงค์ พ่อต๊าวใจ๋ ใจใจ พ่อหนานเป็ง จินาเฟย พ่อตุ๊ย ห้าวหาญ และพ่อป๊อก ผู้น้อย ฯลฯ เหตุการณ์สำคัญคือช้างป่าเหยียบคนเสียชีวิต เสือโคร่งกัดคนเสียชีวิตและบาดเจ็บ ในอดีตสัตว์ป่ามีจำนวนมากหลากหลายชนิด ป่าดงดิบแห่งนี้กว้างเพิ่มมากขึ้นไปจรดภูเขาห้วยแม่ปืม ปัจจุบันเป็นอุทยานแห่งชาติแม่ปืม

เริ่มต้นตั้งหมู่บ้านอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2475 เป็นหมู่ 7 ตำบลแม่ใจ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย มี 27 ครัวเรือน ประชาชน 108 คน โดยมีนายขัน ไชยวงค์ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก ได้จัดแผนพัฒนาหมู่บ้าน ดังนี้ 1.จัดระเบียบด้านที่อยู่อาศัย 2.ทางเดินหมู่บ้าน 3.จัดที่ทำมาหากิน 4.จัดทำสำนักสงฆ์ 5.จัดทำสุสาน 6.ทำเหมืองฝาย และมี นส.2 มีการนิมนต์พระเข้ามาในหมู่บ้าน

อาชีพหลักของชาวบ้านส่วนมากคือการทำนาข้าวและทำสวนเป็นอาชีพหลัก ชาวบ้านจะมีการเลี้ยงผีปู่ย่าประจำหมู่บ้านในช่วงเดือนกุมภาพันธ์และมิถุนายนของทุกปี

พ.ศ. 2490 มีการพัฒนาการเชื่อมต่อกับหมู่บ้านข้างเคียงเริ่มมีการขยายหมู่บ้านจาก 27 ครัวเรือนเป็น 47 ครัวเรือน พ.ศ. 2494 มีการแบ่งแยกสายน้ำและจัดตั้งที่พักสงฆ์และได้ใบ สค.1

พ.ศ. 2501 กรมการปกครองได้พิจารณาเห็นว่าท้องที่ ตำบลแม่ใจ ตำบลศรีถ้อยตำบลแม่สุก อำเภอพาน และตำบลแม่ปืม อำเภอพะเยา สมควรยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอจึงได้สั่งการให้จังหวัดเชียงรายและอำเภอพาน พิจารณาดำเนินการขอยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ (สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา

พ.ศ. 2505 มีพระสงฆ์คือพระบุญเลื่อน เฆฆะปัญโญ เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ย้ายสำนักสงฆ์มาอยู่ที่วัดปัจจุบัน

ครั้นต่อมากรมการปกครองพิจารณาเห็นสมควรให้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภออีกครั้งหนึ่ง กระทรวงมหาดไทย จึงได้ออกพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ เรียกว่า อำเภอแม่ใจ ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2508 โดยให้ขึ้นอยู่ในความปกครองของจังหวัดเชียงรายเมื่อมี พ.ร.บ. จัดตั้งจังหวัดพะเยา ในปี พ.ศ. 2520 อำเภอแม่ใจจึงเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพะเยา มาจนทุกวันนี้ (https://forums.chiangraifocus.com/)

พ.ศ. 2506 ตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2506 เรื่องแบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ คือ กิ่งอำเภอแม่ใจ มีเขตการปกครองรวม 4 ตำบล คือตำบลแม่ใจ ตำบลป่าแฝก ตำบลศรีถ้อยและตำบลแม่สุก ให้ขึ้นอยู่ในความปกครองของอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย โดยมีผู้ดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ รวม 4 คน 

พ.ศ. 2508 พระราชกฤษฎีกา ตั้งอำเภอแม่ใจ พ.ศ. 2508 ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2508 ยกฐานะกิ่งอำเภอแม่ใจ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เป็นอำเภอแม่ใจ จังหวัดเชียงราย

พ.ศ. 2509 ได้โฉนด นส.3 และชุมชนประสบภัยน้ำท่วม

พ.ศ.2511 มีโรงเรียนแห่งแรกในชุมชม

พ.ศ. 2512 ย้ายพระเจ้าหินทิพย์มาประดิษฐานที่วัดดงบุญนาค

พ.ศ. 2514 สร้างวิหารวัดเสร็จ

พ.ศ. 2518 มีถนน เชียงราย-พะเยา พ.ศ. 2525 มีถนนคอนกรีต มีรถมอเตอร์ไซด์คันแรก

พ.ศ. 2520 วันที่ 28 กรกฎาคม 2520 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ฯ มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งจังหวัดพะเยาตาม พระราชบัญญัติ เรื่อง ตั้งจังหวัดพะเยา พ.ศ. 2520 ให้ไว้ ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2520 ประกอบด้วยอำเภอ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพะเยา อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอดอกคำใต้ อำเภอปง และอำเภอแม่ใจ และมีนายสัญญา ปาลวัฒน์วิไชย เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาคนแรก อำเภอแม่ใจ เมื่อแยกจากจังหวัดเชียงรายมาขึ้นยังจังหวัดพะเยา นายอำเภอแม่ใจขณะนั้นคือ นายเพชร ดิฐธาตรี (พระวิมลธรรมโมลี, 2546 : 138)

พ.ศ. 2526 มีเสาไฟ้ฟ้าและรถไถเดินตาม 

พ.ศ. 2527 มีผู้สื่อข่าวสารสาธารณสุข (ผสส.) คนแรกในหมู่บ้านและมีใช้ไฟฟ้า

พ.ศ. 2528 มีโทรทัศน์เครื่องแรก

พ.ศ. 2530 มีการจัดตั้งศูนย์การค้าชุมชนแห่งแรกในหมู่บ้าน (ตลาดในปัจจุบัน)

พ.ศ. 2533 มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) คนแรกในหมู่บ้าน

พ.ศ. 2535 เริ่มมีโรคเข้าเอดส์เข้ามาในหมู่บ้าน

พ.ศ. 2536 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรบ้านดงบุนนาค อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยาโดยเฮลิคอปเตอร์ และได้ทรงเห็นว่าบ้านดงอินตาอยู่ห่างไกลสถานีรักษาจึงได้ทรงจัดตั้งสถานีรักษาแพทย์อาสาทางอากาศสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พย 1 (หน่วยแพทย์ พอ.สว.) ขึ้น ปัจจุบันโรงเรียนบ้านดงอินตาได้เก็บรักษาลูกเปตองที่สมเด็จย่าไว้ที่โรงเรียน และต้นมะม่วงที่สมเด็จย่าทรงปลุก 2 ต้น เหลือเพียงต้นเดียว

พ.ศ. 2537 มีโทรศัพท์ตั้งเสาที่แรกในหมู่บ้าน มีการจัดแข่งขันเปตองภายในหมู่บ้านที่แรกของจังหวัดพะเยา

พ.ศ. 2547 มีโรคฉี่หนูระบาด

พ.ศ. 2563 มีโรคโควิด-19 ในปัจจุบันหมู่บ้าน บ้านดงบุญนาคทั้งหมด 179 หลังคาเรือน โดยมี นายคงเดช เมืองแก้ว เป็นผู้ใหญ่บ้าน ประชากรมีทั้งหมด 443 คน เป็นชาย 223 คน หญิง 241 คน พื้นที่ทั้งหมดในหมู่บ้านประมาณ 10,000 ไร่ ภายในหมู่บ้านมีวัดประจำหมู่บ้านชื่อว่า วัดดงบุญนาค โดยมีพระครูสุทัศน์ นพกิจ เป็นเจ้าอาวาส 

ที่ตั้งของหมู่บ้าน

บ้านดงบุญนาค หมู่ 7 ตำบลบ้านเหล่า อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ห่างจากตัวเมืองประมาณ 32 กิโลเมตร ห่างจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงอินตาประมาณ 6 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 10,000 ไร่ แบ่งเป็น พื้นที่อยู่อาศัย ประมาณ 160 ไร่ พื้นที่การเกษตร ประมาณ 3000 ไร่ ป่าชุมชนบ้านห้วยลึก ประมาณ 6840 ไร่

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านหนองสระ
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านสันกำแพง
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ วนอุทยานแม่ปืม
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หนองเล็งทราย

สภาพภูมิประเทศ

ลักษณะทางภูมิศาสตร์โดยทั่วไปของหมู่บ้านเป็นพื้นที่ราบลุ่มระหว่างเชิงเขามีลำน้ำห้วยเหมี้ยงไหลผ่าน ทำให้เป็นแหล่งชุมชนที่อุดมสมบูรณ์ มีน้ำดื่ม น้ำใช้เพียงพอ มีพื้นที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยและทำการเกษตร

การคมนาคม

บ้านดงบุญนาค หมู่ 7 ห่างจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงอินตา เป็นระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร และห่างจากตัวเมืองจังหวัดระยะทางประมาณ 45 กิโลเมตร ปัจจุบันการเดินทางสามารถเดินทางได้สะดวกมีถนนลาดยางสองช่องทางรถเป็นทางติดต่อภายในหมู่บ้านและระหว่างหมู่บ้านสองข้างทางเป็นพื้นทำนาสลับกับหมู่บ้าน ไฟข้างทางมีเพียงพอหากเดินทางตอนกลางคืนเนื่องจากระยะทางจากปากทางเข้าหมู่บ้านถึงหมู่บ้านด้านในค่อนข้างไกลและเป็นพื้นที่ ในหมู่บ้านเส้นทางที่ไปทำนา ทำสวนเป็นถนนลาดยาง และมีถนนลูกรังเล็กน้อย ประชากรส่วนใหญ่ใช้รถจักรยานยนต์หรือรถยนต์ในการเดินทางไปทำงานหรือเข้าไปในตัวเมือง

สภาพภายในหมู่บ้าน

บ้านดงบุญนาค มีบ้านเรือนทั้งหมด 179 หลังคาเรือน ประชาชนมีวิถีการดำรงชีวิตแบบพึ่งตนเองโดยการทำการเกษตรหลายรูปแบบทั้งการทำนาทำสวน ปลูกแตงโม ปลูกมันสำปะหลัง ปลูกถั่วลิสง ปลูกกระท้อน ปลูกยางพารา หาของป่า และรับจ้าง อีกทั้งยังมีกลุ่มส่งเสริมอาชีพต่าง ๆ เช่น กลุ่มปั้นมังกร กลุ่มกระบือ เป็นการสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ประชาชนในหมู่บ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธซึ่งประชาชน ให้ความสำคัญในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้าในวันพระและวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ประชาชนส่วนใหญ่จะไปวัด ทำบุญ ฟังเทศน์ ฟังธรรม และส่งเสริมรักษาประเพณีอันดีงามต่าง ๆ ตลอดทั้งปี รวมทั้งเรื่องการนับถือผี เช่น การเลี้ยงผีปู่ย่า

ถนนภายในหมู่บ้านเป็นถนนลาดยางและซอยเป็นถนนคอนกรีต มีไฟข้างทางของภาครัฐแต่ยังไม่เพียงพอ ทำให้ภายในหมู่บ้านเวลากลางคืนมีแสงสว่างไม่เพียงพอในบางพื้นที่ ทุกครัวเรือนมีไฟฟ้า และน้ำประปาใช้ มีวัด 1 แห่ง คือวัดดงบุญนาค มีโรงเรียน 1 แห่ง คือโรงเรียนบ้านดงบุญนาค มีตลาด 1 แห่ง มีร้านขายของชำ 6 ร้าน และมีตลาดสดบ้านดงบุญนาค 1 แห่ง 

ประชากรบ้านดงบุญนาค หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านเหล่า อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา จำนวน 179 หลังคาเรือน มีประชากร 443 คน แบ่งได้ดังนี้ เพศชาย 210 คน เพศหญิง 233 คน

พื้นที่ส่วนใหญ่ในหมู่บ้านแบ่งเป็นพื้นที่เกษตรกรรมและบริเวณที่ตั้งของชุมชน บ้านเรือนจะอยู่กันเป็นกลุ่มซึ่งส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์กันทางเครือญาติจะตั้งบ้านเรือนใกล้กันหรืออยู่ภายในคุ้มเดียวกันซึ่งจะมีทั้งหมด 7 คุ้ม คือคุ้มหมวด 1 คุ้มหมวด 2 คุ้มหมวด 3 คุ้มหมวด 4 คุ้มหมวด 5 คุ้มหมวด 6 คุ้มหมวด 7 ลักษณะบ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นบ้านไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูง สภาพบ้านเรือนมีความมั่นคงถาวรมีรั้วรอบขอบชิด ทุกหลังคาเรือนมีภาชนะเก็บน้ำฝนไว้สำรองน้ำและครอบครัวส่วนใหญ่มีการปลูกผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์ทั้งสัตว์ที่เลี้ยงไว้ขายและเป็นอาหาร ได้แก่ ไก่ วัว ควาย และสัตว์ที่เลี้ยงไว้เพื่อความเพลิดเพลินได้แก่ สุนัข แมว และมีพื้นที่สาธารณประโยชน์ของหมู่บ้าน ได้แก่ ศาลาอเนกประสงค์

ชุมชนบ้านดงบุญนาค หมู่ 7 ตำบลบ้านเหล่า อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา มีนายคงเดช เมืองแก้ว (ผู้ใหญ่บ้าน) บริหารจัดการดูแลภายในหมู่บ้าน ผู้ที่มีบทบาทที่มีความสำคัญและประชากรในชุมชนให้ความเคารพและยอมรับนับถือ และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมของหมู่บ้านเป็นอย่างดี โดยภายในหมู่บ้านมีการรวมกลุ่มของประชากรภายในหมู่บ้าน ดังนี้

  • กลุ่มกรรมการ : จำนวนสมาชิก 16 คน
  • กลุ่ม ชรบ. : จำนวนสมาชิก 17 คน
  • กลุ่มแม่บ้าน : จำนวนสมาชิก 18 คน
  • กลุ่ม อสม. : จำนวนสมาชิก 24 คน
  • กลุ่มเลี้ยงกระบือ : จำนวนสมาชิก 11 คน
  • กลุ่มกรรมการดูแลป่าไม้ : จำนวนสมาชิก 12 คน
  • กลุ่มกรรมการป่าชุมชน : จำนวนสมาชิก 14 คน
  • กลุ่มผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ : จำนวนสมาชิก 4 คน
  • กลุ่มงานปั้น : จำนวนสมาชิก 4 คน
  • กลุ่มเงินล้าน : จำนวนสมาชิก 9 คน
  • กลุ่ม SML : จำนวนสมาชิก 5 คน
  • กลุ่มยุ้งฉาง : จำนวนสมาชิก 6 คน
  • กลุ่มเกษตรนำร่อง : จำนวนสมาชิก 11 คน

ลักษณะการประกอบอาชีพของประชาชนในชุมชน

  • อาชีพหลัก : ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ปลูกแตงโม กระท้อน มันสำปะหลัง
  • อาชีพรอง : รับจ้าง
  • อาชีพเสริม : บางครัวเรือนมีรายได้เสริมจากการปลูกผักก้านจอง ปั้นมังกร
  • หนี้สินของประชาชน : ส่วนใหญ่เป็นหนี้กู้ยืมของธกส. กองทุนหมู่บ้านและกองทุนออมทรัพย์
  • แหล่งเงินทุน : กองทุนต่าง ๆ ในหมู่บ้าน และธกส.
  • ผลิตภัณฑ์ชุมชน : กลุ่มส่งเสริมอาชีพ เช่น ปั้นมังกร

วัฒนธรรมประเพณี

ชุมชนบ้านดงบุญนาคมีลักษณะส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยว ญาติพี่น้องปลูกบ้านในละแวกเดียวกัน ชาวบ้านนับถือศาสนาพุทธและอิสลาม มีสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ คือ วัดดงบุญนาคและวัดจ๋อมก้อ ซึ่งในวันสำคัญมักจะประกอบศาสนกิจในวัดดงบุญนาค ประเพณีส่วนใหญ่เป็นแบบล้านนา 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีลักษณะทางนิเวศที่สมดุล เนื่องจากมีการอนุรักษ์แหล่งธรรมชาติ โดยมีแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ดังนี้ แหล่งน้ำดื่ม ได้แก่ น้ำบรรจุขวดสำเร็จรูป น้ำบาดาล และน้ำฝน, แหล่งน้ำใช้ ได้แก่ น้ำประปา น้ำบาดาล และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่ปืม อ่างเก็บน้ำดงบุญนาค หนองเล็งทราย ลำน้ำห้วยลึก ห้วยเหมี้ยง เป็นต้น

ภาษาพื้นเมืองล้านนา

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

พ.ศ. 2536 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรบ้านดงบุนนาค อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา โดยเฮลิคอปเตอร์ และได้ทรงเห็นว่าบ้านดงอินตาอยู่ห่างไกลสถานีรักษาจึงได้ทรงจัดตั้งสถานีรักษาแพทย์อาสาทางอากาศสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พย 1 (หน่วยแพทย์ พอ.สว.) ขึ้น ปัจจุบันโรงเรียนบ้านดงอินตาได้เก็บรักษาลูกเปตองที่สมเด็จย่าไว้ที่โรงเรียน และต้นมะม่วงที่สมเด็จย่าทรงปลูก 2 ต้น เหลือเพียงต้นเดียว

Google Maps. (2564). พิกัดแผนที่ชุมชนบ้านดงบุญนาค. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2563. เข้าถึงได้จาก https://www.google.com/maps

พระครูโสภณปริยัติสุธี (ศรีบรรดร ถิรธมฺโม.). (2552). ชื่อบ้าน-ภูมิเมืองพะเยา. พะเยา : เจริญอักษร.

ราชกิจจานุเบกษา. (2520). พระราชบัญญัติ ตั้งจังหวัดพะเยา พ.ศ. 2520. ฉบับพิเศษ หน้า 1 เล่ม 94 ตอน 69. 28 กรกฎาคม 2520.

บุญศิริ สุขพร้อมสรรพ และอาทิตย์ ลิมปิยากร. (2564). ภูมินาม-ภาพสะท้อนเมืองพะเยา. วารสารวิชาการเพื่อพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่. 2(1). 88-94.

ประวัติจังหวัดในล้านนา จังหวัดพะเยา. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564. เข้าถึงได้จาก http://wiangsalanna.myreadyweb.com/

ราชกิจจานุเบกษา. (2481). ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องแบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ. เล่ม 80 ตอนที่ 14. 5 กุมภาพันธ์ 2506.