ชุมชนเข้มแข็ง มีแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่เพื่อการเกษตรเพียงพอ มีความอุดมสมบูรณ์ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะ ได้รับสวัสดิการครบครัน คนมีคุณภาพชีวิตดี ภายใต้เศรษฐกิจพอเพียง
ชุมชนเข้มแข็ง มีแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่เพื่อการเกษตรเพียงพอ มีความอุดมสมบูรณ์ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะ ได้รับสวัสดิการครบครัน คนมีคุณภาพชีวิตดี ภายใต้เศรษฐกิจพอเพียง
บ้านโนนดู่เดิมย้ายมาจากบ้านอีเข็ม จังหวัดศรีสะเกษ (ปัจจุบันคือบ้านนางเข็ม ตำบลบึงบูรณ์ อำเภอบึงบูรณ์ จังหวัดศรีสะเกษ) โดยปู่ย่าตายายได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่โนนบ้านแห่ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหมู่บ้านโคกกลางหมู่ที่ ๖ ในสมัยนั้นหมู่บ้านโคกกลางขึ้นตรงกับตำบลโนนทัน อำเภอภูเวียง เมื่อประมาณปี ๒๔๕๘ ได้เกิดโรคระบาดขึ้นในหมู่บ้าน (ซึ่งภาษาชาวบ้านสมัยนั้นเรียกว่าห่าก้อม) ทำให้ชาวบ้านเจ็บป่วยเป็นจำนวนมาก บางรายถึงกับเสียชีวิต โดยมีครอบครัวนายเสน นางแก้ว ศิลาปา เป็นผู้บุกเบิกนำชาวบ้านอพยพหนีโรคร้ายดังกล่าวมาตั้งถิ่นฐานอยู่ริมหนองน้ำหนองแปน ซึ่งสถานที่ตั้งหมู่บ้านเป็นเนินสูง และเป็นป่าอุดมสมบูรณ์ มีต้นประดู่ใหญ่อยู่บนเนินสูง ชาวบ้านจึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านโนนดู่” ทำเลที่ตั้งก็เป็นสถานที่ที่ชาวบ้านทำมาหากินได้อย่างสะดวกสบาย ไม่ไกลจากแหล่งน้ำ ต่อมาหมู่บ้านโนนดู่ได้รับการจัดตั้งเป็นหมู่บ้าน ชื่อบ้านดอนดู่ อยู่ภายใต้การปกครองของตำบลโนนทัน อำเภอภูเวียง ซึ่งสมัยนั้นบ้านดอนดู่เป็นหมู่บ้านที่ ๑๙ ของตำบลโนนทัน โดยปี พ.ศ. 2458 มีนายทา เป๊ะชาญ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก
1. นายทา เป๊ะชาญ รับตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ.2458 - ไม่ทราบข้อมูล
2. นายหน่วย ศิลาปา รับตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ.ไม่ทราบข้อมูล - 2498
3. นายบุญมี โทนุย รับตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ.2498 - ไม่ทราบข้อมูล
4. นายหลวง นอโพนลาน รับตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ.ไม่ทราบข้อมูล - 2502
5. นายทองศรี ศิลาปา รับตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ.2502 - 2522
6. นายสงค์ สิงห์ศรี รับตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ.2522 - 2530
7. นายพิมพา โทนุย รับตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ.2530 - 2545
8. นายไสว สิงห์ศรี รับตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ.2545 - 2550
9. นายคารมค์ โทนุย รับตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ.2550-ปัจจุบัน
บ้านดอนดู่ได้เปลี่ยนชื่อเป็นบ้านโนนดู่ เมื่อปี พ.ศ ๒๕๐๒ ได้มีการจัดตั้งกิ่งอำเภอหนองเรือขึ้น บ้านโนนดู่จึงได้ขึ้นเขตการปกครองกับตำบลกุดกว้าง กิ่งอำเภอหนองเรือ ต่อมาเมื่อ วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๐๖ กิ่งอำเภอหนองเรือได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอหนองเรือ จนถึงปัจจุบัน
บ้านโนนดู่ หมู่ที่ 5 อยู่ในเขตการปกครองของตำบลกุดกว้าง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น การเดินทางเข้าสู่ชุมชนจากศาลากลางจังหวัดขอนแก่นสามารถเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวหรือรถยนต์โดยสารประจำทางโดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 12 ถนนมะลิวัลย์ จากศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ไปทิศตะวันตก ผ่านอำเภอหนองเรือ รวมระยะทาง 54 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมด 522 ไร่ พื้นที่อาศัย 70 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตร 450 ไร่
อาณาเขตที่ตั้ง
ทิศเหนือ ติดกับทุ่งนา
ทิศใต้ ติดกับบึงหนองแปน
ทิศตะวันออก ติดกับบ้านหนองแวง หมู่ 18 ตำบลกุดกว้าง
ทิศตะวันตก ติดกับบ้านสำราญหินลาด หมู่ 8 ตำบลกุดกว้าง
จากการสำรวจแผนที่เดินดิน พบว่า บ้านโนนดู่ หมู่ที่ 5 มีจำนวนครัวเรือน 75 ครัวเรือน พื้นที่ส่วนใหญ่ของชุมชนจะเป็นทุ่งนาและไร่อ้อย มีถนนรอบๆ ชุมชน มีการตั้งบ้านเรือนตามถนนที่ตัดผ่าน บ้านค่อนข้างติดกัน แต่ละหลังมีพื้นที่ใช้สอยรอบบ้าน อัตราส่วนในแผนที่เดินดิน 1 : 500
การคมนาคมภายในชุมชนมีถนนเส้นหลักผ่านบริเวณหน้าหมู่บ้าน และมีถนนคอนกรีตสัญจรภายในชุมชน และถนนลูกรังในบางส่วน ส่วนใหญ่ใช้รถยนต์และรถจักรยานยนต์ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก และอาชีพเสริมรับจ้างทั่วไปและอื่นๆ มีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศบ้านโนนดู่ หมู่ 5 ตำบลกุดกว้าง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น โดยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบ ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย และดินเหนียว เหมาะสำหรับทำการเกษตร และมีแหล่งน้ำที่สำคัญ คือ บึงหนองแปน พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ทำการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ เช่น ปลูกข้าว ปลูกอ้อย เลี้ยงปลา เลี้ยงโคและกระบือ เป็นต้น
ลักษณะภูมิอากาศ
มีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อน มี 3 ฤดูดังนี้
ฤดูร้อน
เริ่มตั้งแต่เดือน มีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม ฤดูร้อนมีอากาศร้อนและแห้งแล้ง พื้นที่รอบหมู่บ้านเป็นพื้นที่ของประชาชนหมู่บ้านอื่นที่ปล่อยที่ให้โรงงานน้ำตาลเช่าที่เพื่อปลูกอ้อย โดยช่วงเดือน เมษายน เป็นช่วงฤดูเก็บเกี่ยวอ้อย ประชาชนจะได้รับผล กระทบ คือ มีรถบรรทุกอ้อยวิ่งผ่านชุมชน ทำให้ถนนชำรุด อีกทั้งยังมีเศษใบอ้อยร่วงลงบนถนนและหลังจากเก็บเกี่ยวอ้อย โรงงานน้ำตาลมีการบรรทุกกากน้ำตาลมาทิ้งบริเวณไร่อ้อยรอบหมู่บ้าน ซึ่งส่งกลิ่นเหม็นรบกวนเป็นระยะเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ ซึ่งจะเป็นปัญหาทุกปีในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว
ฤดูฝน
เริ่มตั้งแต่เดือน มิถุนายน ถึงเดือน กันยายน ในฤดูฝนจะมีฝนตกตามฤดูกาล จะมีการทำนาโดยอาศัยน้ำจากฝนตก และจะมีบางปีที่ฝนตกหนัก จะเกิดน้ำท่วมบริเวณนาข้าวของประชาชน และในชุมชนจะมีปัญหาน้ำกักขังตามพื้นที่ต่างๆตามถนน เนื่องจากในหมู่บ้านไม่มีท่อระบายน้ำ
ฤดูหนาว
เริ่มตั้งแต่เดือน ตุลาคม ถึงเดือน กุมภาพันธ์ ซึ่งมีอากาศหนาวเย็น และแห้ง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคทางระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด หอบหืด เป็นต้น และในช่วงนี้จะมีการทำนาปรัง โดยใช้น้ำจากบึงหนองแปน และมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าว และจะมีประชาชนบางกลุ่มเดินทางไปรับจ้างตัดอ้อยที่ต่างจังหวัด
ด้านการบริหารหมู่บ้าน
รายชื่อผู้นำชุมชน
1. นายคารมค์ โทนุย ผู้ใหญ่บ้าน
2. นายบุญมี สุนทรแต ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
3. นายนิวัฒน์ บุดดาหลู่ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
รายชื่อคณะกรรมการหมู่บ้าน
1. นายคารมค์ โทนุย
2. นายบุญมี สุนทรแต
3. นายนิวัฒน์ บุดดาหลู่
4. นายสมยงค์ หรรษา
5. นายสุทัศน์ เวียงยศ
6. นายบุญหลาย หลวงจันทร์
7. นายมะละ อนนท์
8. นายสำเนียง โพธิ์พันเรือ
9. นายเสาว์ เห็มแข้
กิจกรรมที่ดำเนินการ
1. บริหารจัดการ โครงการ รวมถึงงบประมาณต่างๆภายในชุมชน
2. ช่วยดูแลปัญหาต่างๆ ภายในชุมชน บำบัดทุกข์บำรุงสุข รับการร้องเรียนจากคนในชุมชน
3. จัดการประชุมหมู่บ้าน เพื่อรับฟังปัญหาจากคนในชุมชนอย่างสม่ำเสมอ
4. จัดประชาคมเพื่อฟังเสียงของคนในชุมชน จากนั้นจะนำเรื่องไปเสนอในที่ประชุมเทศบาล
5. ดึงงบประมาณมาจัดทำโครงการในหมู่บ้าน
6. ดูแลงานทะเบียนทั้งหมดในหมู่บ้าน และประสานงานกับอำเภอ
คณะกรรมการกองทุนฌาปนกิจหมู่บ้าน
1. นายคารมค์ โทนุย (ประธานกรรมการ)
2. นายบุญมี สุนทรแต (รองประธาน)
3. นายนิวัฒน์ บุดดาหลู่ (รองประธาน)
4. นายคำพร แสงฝ้าย (เลขานุการ)
5. นายทองสา สุนทรแต (เหรัญญิก)
6. นายสมยงค์ หรรษา (กรรมการ)
7. นายมะละ อนนท์ (กรรมการ)
8. นายสำเนียง โพธิ์ฟันเรือ (กรรมการ)
9. นายสุทธิสัน โทนุย (กรรมการ)
ทรัพยากรและเงินกองทุน เป็นเงินทุนที่ได้จากสมาชิก จำนวน 120 คน รวมเป็นเงิน 12,000 บาท หักค่ากรรมการดำเนินงาน 400 บาท คงเหลือมอบให้สมาชิกสุทธิ 11,600 บาท
กิจกรรมที่ดำเนินการ
1. เลือกสรรคณะกรรมการ โดยการจัดเวทีประชาคม
2. จัดทำระเบียบข้อบังคับกองทุน
3. รับสมัครสมาชิก
4. ระดมทุน รวบรวมเงินสมาชิกภายในหมู่บ้านเพื่อระดมทุนครอบครัวละ 100 บาท
คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
1. นายมะละ อนนท์ (ประธานกรรมการ)
2. นายประมวล ศรีดาธรรม (รองประธานกรรมการ)
3. นางวิมาลัย โทนุย (เหรัญญิก)
4. นางสมถิ่น เหลาชำนิ (ผู้ช่วยเหรัญญิก)
5. นายสุทธิสัน โทนุย (กรรมการ)
6. นายทองขรรค์ โทนุย (กรรมการ)
7. นางบังอร ภู่เกิด (กรรมการ)
8. นางสุพรรษา คำเวียง (กรรมการ)
ทรัพยากรการเงินและกองทุน เป็นเงินทุนที่ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาล และการระดมทุนจากสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน เงินกองทุนที่ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาล 2,000,000 บาท เงินสัจจะออมทรัพย์ 72,469.98 บาท เงินกู้จากสถาบันการเงิน (ธกส.) 500,000 บาท เงินกองทุนประชารัฐ (กองทุนปุ๋ย) 500,000 บาท รวมเงินทุนที่บริหารจัดการ 3,072,469.98 บาท
กิจกรรมที่ดำเนินการ
1. เลือกสรรคณะกรรมการ โดยการจัดเวทีประชาคม
2 จัดทำระเบียบข้อบังคับกองทุน
3. รับสมัครสมาชิก
4. ระคมทุน (เงินออม)
5. จัดทำระบบบัญชี
6. จัดระบบการตรวจสอบ
7. มอบหมายภารกิจ โดยแบ่งหน้าที่ของคณะกรรมการชัดเจน
8. ยื่นขอขึ้นทะเบียนกับกองทุนหมู่บ้านผ่านธนาคาร ธกส. พร้อมเปิดบัญชีรองรับการจัดสรรเงินจากรัฐบาลจำนวน 1 ล้านบาท
คณะกรรมการกองทุนปุ๋ย บ้านโนนดู่
1. นายมะละ อนนท์ (ประธานกรรมการ)
2. นายประมวล ศรีดาธรรม (รองประธานกรรมการ)
3. นางวิมาลัย โทนุย (เหรัญญิก)
4. นางสมถิ่น เหลาชำนิ (ผู้ช่วยเหรัญญิก)
5. นายสุทธิสัน โทนุย (กรรมการ)
6. นางทองขรรณ์ โทนุย (กรรมการ)
7. นางบังอร ภู่เกิด (กรรมการ)
8. นางสุพรรษา คำเวียง (กรรมการ)
ทรัพยากรเงินและกองทุน เป็นเงินที่ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาลจำนวน 500,000 บาท
กิจกรรมที่ดำเนินการ
1. เมื่อใกล้ถึงฤดูเก็บเกี่ยวกองทุนจะประกาศให้สมาชิกมากู้ยืมปุ๋ยเพื่อไปทำการเกษตรก่อนล่วงหน้า
2. ทำสัญญาลงลายมือชื่อในการกู้ยืมปุ๋ย
3. คณะกรรมการตรวจสอบและรวบรวมข้อมูล
4. เมื่อถึงช่วงเก็บเกี่ยวและขายผลผลิตแล้วก็จะให้สมาชิกมาชำระค่าปุ๋ย
คณะกรรมการกลุ่มปลูกส้มโอ บ้านโนนดู่
กลุ่มที่ 1 1) นายบุญมี สุนทรแต (ประธาน)
2) นางนงค์นุช เพิ่มยินดี (รองประธาน)
3) นางลัดดา สุนทรแต (เลขานุการ)
4) นางแสงจันทร์ ศิลาปา (เหรัญญิก)
5) นางอัมไพวรรณ สร้อยลา (กรรมการ)
6) นายสมัย ลือกำลัง (กรรมการ)
7) นางประนอม เวียงยศ (กรรมการ)
กลุ่มที่ 2 1) นายนิวัฒน์ บุดดาหลู่ (ประธาน)
2) นายสมยงค์ หรรษา (รองประธาน)
3) นายบุญหลาย หลวงจันทร์ (เลขานะการ)
4) นายคารมค์ โทนุย (ผู้ช่วยเลขาฯ)
5) นางสมเผ่า ศรีดาธรรม (เหรัญญิก)
6) นางสายฝน หลวงจันทร์ (ผู้ช่วยเหรัญญิก)
7) นางบังอร ภู่เกิด (กรรมการ)
8) นางสมกิจ อนนท์ (กรรมการ)
9) นางสุพรรษา คำเวียง (กรรมการ)
กลุ่มที่ 3 1) นายพั่ว ครอบบัวบาน (ประธาน)
2) นางเปลี่ยน หมื่นนะ (รองประธาน)
3) นายสละ ศรีเวียง (เลขานุการ)
4) นางเฉวียน สิงห์ชา (เหรัญญิก)
กลุ่มที่ 4 1) นายเสาว์ เห็มแข้ (ประธาน)
2) นายสำเนียง โพธิ์ฟันเรือ (เลขาฯ)
3) นายสุนันท์ สิงห์ชา (ผู้ช่วยเลขาฯ)
4) นางคำปุน เนาจำรัส (เหรัญญิก)
5) นายคำพันธ์ สิงห์ชา (ผู้ช่วยเหรัญญิก)
ทรัพยากรเงินและกองทุน เงินทุนส่วนตัวของสมาชิกแต่ละราย และได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ
กิจกรรมที่ดำเนินการ
กรมส่งเสริมการเกษตรโดยสำนักงานเกษตรอำเภอหนองเรือ ได้สนับสนุนกิ่งพันธุ์ส้มโอตามโครงการส้มโอปลอดโรค ชาวบ้านได้รวมกลุ่มกันจำนวน 4 กลุ่ม เพื่อขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและท้องถิ่นในการจัดหาวิทยากรอบรมให้ความรู้ในการปลูกส้มโอ เพื่อพัฒนาศักยภาพในการผลิตจนมีความรู้สามารถปลูกส้มโอได้
คณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน
1. นางบุปผา เห็มแข้
2. นางวิมาลัย โทนุย
3. นางเข็มพร แสนทิว
4. นางประไพ สิงห์ศรี
5. นางสังวาล เห็มแข้
6. นางบัวพณีย์ หลวงจันทร์
7. นางรัตนา สิงห์ชา
8. นางบังอร สิทธิทุม
9. นางทองบรรณ์ สิงห์ศรี
10. นางสมกิจ อนนท์
11. นางพุทธา ห็มแข้
12. นางสถิต ศรีหาร
13. นางสุพรรษา คำเวียง
อาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)
1. นายสุทธิสัน โทนุย
2. นางแสงจันทร์ ศิลาปา
3. นางหนูปัน วงษ์พรม
4. นางทองสูน โพธิ์สุพรรณ
5. นางทองขันธ์ สิงห์ศรี
6. นางสุภาพร บุดดาหลู่
7. นายธนวัตร รักษาคุณ
8. นางบุปผา เห็มแข้
เงินทุนที่ได้รับจัดสรร 9,100 บาท
กิจกรรมที่ดำเนินการ
ผู้ที่จะสมัครและได้รับคัดเลือกเข้ามาเป็นอาสาสมัครในการดูแลสุขภาพอนามัยของเพื่อนบ้าน ต้องเป็น
บุคคลที่มีจิตอาสาและไม่หวังผลตอบแทนใดๆ
อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.)
1. นายคำพันธ์ สิงห์ชา
2. นายบุญมี สุนทรแต
3. นายประคอง สร้อยลา
4. นายเสาว์ เห็มแข้
5. นายนิวัฒน์ บุดดาหลู่
6. นายสมยงค์ หรรษา
7. นายประหยัด เห็มแข้
8. นายดาวเรือง สิทธิทุม
กิจกรรมที่ดำเนินการ
1. ดูแลความปลอดภัยของคนในชุมชน
2. อำนวยสะดวกเวลามีกิจกรรมหรืองานต่างๆภายในชุมชน
3. ช่วยเหลือคนในชุมชนเมื่อมีปัญหาหรือต้องการความช่วยเหลือ
ปราชญ์ชาวบ้าน
1. นายสวัสดิ์ ศรีดาธรรม (ด้าน หมอพื้นบ้าน)
2. นายทองสา เห็มแข้ (ด้าน หมอแคน)
3. นายจรัส ศรีหาร (ด้าน หมอดินอาสา)
4. นายภู่ อินทรวงษ์ (ด้าน การหาเลี้ยงชีพ)
5. นางบังอร ภู่เกิด (ด้าน หมอลำ)
6. นายสุทัศน์ เวียงยศ (ด้าน การเกษตรอินทรีย์)
คณะกรรมการกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ
1. นางบังอร ภู่เกิด (ประธาน)
2. นางประนอม เวียงยศ (รองประธาน)
3. นางวิมาลัย โทนุย (เหรัญญิก)
4. นางรัตนา สิงห์ชา (ผู้ช่วยฯ)
5. นางทองขรรค์ โทนุย (กรรมการ)
6. นางทองขันธ์ สิงห์ศรี (กรรมการ)
7. นางบังอร สิทธิทุม (กรรมการ)
8. นางแสงจันทร์ ศิลาปา (กรรมการ)
ทรัพยากรเงินและกองทุน เงินทุนส่วนตัวของสมาชิกแต่ละราย และได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ
กิจกรรมที่ดำเนินการ
ชาวบ้านได้รวมตัวกันเพื่อขอรับการสนับสนุน จากหน่วยงานภาครัฐและท้องถิ่นในการจัดหาวิทยากรอบรมให้ความรู้ในการใช้สีธรรมชาติ และการมัดหมี่ลายต่างๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพในการผลิตจนมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการผลิตตลอดการขอรับการสนับสนุนอุปกรณ์การผลิต จะได้พบกันเช่นกี่กระตุก หรือฟืม ที่ใช้ในการทอผ้า จากองค์กร ปกครองท้องถิ่นและหน่วยงานพัฒนาชุมชน และได้มีการจดทะเบียนกลุ่มเป็น "วิสาหกิจชุมชนกลุ่มหอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านโนนดู่"
เดือน |
กิจกรรมวัฒนธรรมประเพณีด้านศาสนา |
กิจกรรมด้านเศรษฐกิจ |
ผลกระทบต่อสุขภาพ |
มกราคม |
1. บุญขึ้นปีใหม่วันที่ 1 มกราคมของทุกปี ประชาชนในชุมชนจะร่วมกันทำบุญตักบาตร อุทิศส่วนบุญให้บรรพบุรุษและญาติผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว มีการจัดเลี้ยงเล็กๆ รับประทานอาหารร่วมกัน อวยพรซึ่งกันและกันในเครือญาติ 2. บุญคูณลาน โดยปกติบุญคูณลานหรือบุญสู่ขวัญข้าว จะถูกจัดขึ้นในเดือนยี่ของทุกปี จึงทำให้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "บุญเดือนยี่" ซึ่งการทำบุญคูณลานของแต่ละพื้นที่จะจัดไม่พร้อมกัน ขึ้นอยู่กับการเก็บเกี่ยวข้าวว่าจะเสร็จช่วงไหน วันที่จะขนข้าวขึ้นฉางข้าวจะเป็นวันทำบุญคูณลานก่อนที่จะทำการนวดข้าวนั้น จะทำพิธีย้ายพระแม่ธรณีออกจากลานเสียก่อน และบอกกล่าวพระแม่โพสพโดยมีเครื่องประกอบพิธี เช่น ใบคูณ ใบยอ ยาสูบ หมาก ไข่ ดอกไม้ ธูปเทียน เป็นต้น จากนั้นเมื่อพร้อมแล้วก็จะบรรจุลงในก่องข้าว (กระติบข้าว) ซึ่งเรียกว่า ขวัญข้าว ก่อนเชิญพระแม่ธรณีออกจากลานและบอกกล่าวพระแม่โพสพแล้วจึงนาเครื่องประกอบพิธีบางส่วนไปวางที่หน้ากองข้าว เสร็จแล้วเจ้าของตั้งอธิษฐาน แล้วก็ดึงเอามัดข้าวที่กองข้าวออกมานวดแล้วเอาฟ่อนข้าวที่นวดแล้วมาห่อก้มก่องข้า เมื่อนวดเสร็จแล้วทำกองข้าวให้สูงสวยงาม เพื่อที่จะประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญข้าว วันงานก็จะบอกกล่าวญาติพี่น้องให้มาร่วมทำบุญ นิมนต์พระสงค์มาเจริญพระพุทธมนต์ เสร็จแล้วจึงถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ พระสงฆ์อนุโมทนาประพรมน้ำมนต์ นำน้ำมนต์ไปรดกองข้าว วัว ควาย เมื่อเสร็จพิธีทางสงฆ์แล้วก็จะเป็นการประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญแก่ข้าว ซึ่งจะทำที่ลานบ้าน หลังจากสู่ขวัญเสร็จก็จะขนข้าวขึ้นฉางข้าวและเชิญขวัญข้าวและแม่โพสพขึ้นไปยังเล้า |
1. ทำการเกษตร (ตัดอ้อย) |
1. บุญขึ้นปีใหม่ อาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ และการแพร่ระบาดของโรค เช่น โควิด 19 เนื่องจากมีการจัดเลี้ยงรับประทานอาหารร่วมกัน และอาจมีการดื่มแอลกอฮอล์ร่วมด้วย อาจทำให้ขาดสติสัมปชัญญะ ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้ 2. ทำการเกษตร (ตัดอ้อย) อาจก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย หรืออุบัติเหตุจากของมีคมที่ใช้ในการตัดอ้อย รวมทั้งเกิดฝุ่นเศษอ้อยตามบรรยากาศจากการเผาอ้อย ซึ่งอาจมีผลต่อระบบทางเดินหายใจ |
กุมภาพันธ์ |
1. บุญข้าวจี่ ชาวบ้านจะนัดวันขึ้น 15 ค่ำของเดือนสาม จะมีการจัดเตรียมข้าวจี่แต่ย่ำรุ่ง เพื่อให้สุกทันใส่บาตร โดยการปั้นข้าวเหนียวให้เท่ากับไข่เป็ดขนาดกลางแล้วคลุกเกลือย่างไฟ พอสุกก็นำมาคลุกไข่ไก่และนำมาย่างไฟอีกรอบจนกว่าไข่จะสุก ประชาชนในหมู่บ้านมีความเชื่อว่าจะได้บุญกุศลมาก |
1. ทำการเกษตร (ตัดอ้อย) |
1. ทำการเกษตร (ตัดอ้อย) อาจก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย หรืออุบัติเหตุจากของมีคมที่ใช้ในการตัดอ้อย รวมทั้งเกิดฝุ่นเศษอ้อยตามบรรยากาศจากการเผาอ้อย ซึ่งอาจมีผลต่อระบบทางเดินหายใจ |
มีนาคม |
1. บุญผะเหวด หรือบุญพระเวสสันดร หรือบุญมหาชาติ เป็นประเพณีตามคติความเชื่อของชาวอีสานที่ว่า หากผู้ใดได้ฟังเทศน์เรื่องพระเวสสันดรทั้ง 13 กัณฑ์จบภายในวันเดียว จะได้เกิดร่วมชาติภพกับพระศรีอริยเมตไตย บุญผะเหวดนี้จะทําติดต่อกันสามวัน วันแรกจัดเตรียมสถานที่ตกแต่งศาลาการเปรียญ วันที่สองเป็นวันเฉลิมฉลองพระเวสสันดร ชาวบ้านร่วมทั้งพระภิกษุสงฆ์จากหมู่บ้านใกล้เคียงจะมาร่วมพิธีมีทั้งการจัดขบวนแห่เครื่องไทยทานฟังเทศน์และแห่พระเวส โดยการแห่ผ้าผะเหวด (ผ้าผืนยาวเขียนภาพเล่าเรื่องพระเวสสันดร) ซึ่งสมมติเป็นการแห่พระเวสสันดรเข้าสู่เมือง เมื่อถึงเวลาค่ำจะมีเทศน์เรื่องพระมาลัย ส่วนวันที่สามเป็นงานบุญพิธี ชาวบ้านจะร่วมกันตักบาตรข้าวพันก้อน พิธีจะมี ไปจนค่ำ ชาวบ้านจะแห่แหน ฟ้อนรําตั้งขบวนเรียงรายตั้งกัณฑ์มาถวายอานิสงฆ์อีกกัณฑ์หนึ่ง จึงเสร็จพิธีมูลเหตุของพิธีกรรมพระสงฆ์จะเทศน์เรื่อง เวสสันดรชาดกจนจบและเทศน์ |
1. ทำการเกษตร (เก็บเกี่ยวถั่วเหลือง)
|
1. ทำการเกษตร (เก็บเกี่ยวถั่วเหลือง) อาจก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย และการเจ็บป่วยจากการใช้ปุ๋ยเคมี หรือยาฆ่าแมลง |
เมษายน |
1. งานประเพณีสงกรานต์ ประชาชนในชุมชนจะมีการประกอบกรรมทางศาสนา เช่น ทำบุญ ตักบาตร ขนทรายเข้าวัด เลี้ยงพระฟังเทศน์ สรงน้ำพระและรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ และผู้ใหญ่ในชุมชน เพื่อขอพรให้อยู่เย็นเป็นสุข |
1. รับจ้างทั่วไป |
1. รับจ้างทั่วไป อาจก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย หรืออุบัติเหตุจากการทำงาน |
พฤษภาคม |
1. งานประเพณีบุญบั้งไฟ บุญบั้งไฟมีความสำคัญต่อชาวอีสานมาก เพราะเชื่อว่าบุญประเพณีนี้จะทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของฟ้าฝน ข้าวปลาอาหาร พืชพรรณเจริญเติบโตงอกงามดี และนำมาซึ่งความสนุกสนาน เกิดความหวังในชีวิตเหมือนมีที่พึ่งอยู่ใกล้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะมีความเชื่อมาจากเรื่องพญาแถนเทวดาชาวอีสาน) ที่ดลบันดาลให้ความอุดมสมบูรณ์จึงมีการทำบุญบูชาพญาแถน และบูชามเหศักดิ์หลักเมืองทุกปี |
1. จัดเตรียมไถกลบฟางข้าว (ไถแป) |
1. จัดเตรียมไถกลบฟางข้าว (ไถแป) อาจเกิดอุบัติเหตุจากการใช้รถไถ หรือฝุ่นละอองจากดินที่อาจมีผลต่อระบบทางเดินหายใจ รวมทั้งแสงแดดที่อาจส่งผลกระทบต่อผิวหนัง
|
มิถุนายน |
1. บุญซำฮะ เป็นบุญที่จัดขึ้นเพื่อทำพิธีปัดรังควาน ขับไล่ความเสนียดจัญไรภูตผีปีศาจออกจากหมู่บ้าน บางแห่ง เรียกว่า บุญเบิกบ้าน หรือ บุญบ้านเป็นบุญที่แต่ละหมู่บ้านจะทำไม่ขาด เป็นบุญเกี่ยวกับภูตผีปีศาจ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้าน ผีปู่ตา ผีตาแฮก มเหศักดิ์หลักเมือง ที่คอยคุ้มครองหมู่บ้านชาวบ้านเชื่อว่าจะรวมผีบรรพบุรุษอยู่ด้วยที่ช่วยดลบันดาลให้ชาวบ้านมีความสุข ซึ่งบุญนี้จะเป็นการทำบุญตักบาตรในหมู่บ้าน และมีการขึงด้ายไปทั่วทุกหลังคาเรือน โดยนิมนต์พระ 4 - 9 รูปมาเจริญพุทธมนต์ แล้วมีพิธีผูกข้อต่อแขนซึ่งกันและกันของคนในหมู่บ้านที่ได้ฝ้ายจากการทำพิธีและมีการกรวดทรายหรือหินไปหว่านรอบ ๆ หมู่บ้านหรือหลังคาบ้าน เพราะเชื่อว่าเป็นการกันผีหรือสิ่งจัญไรเข้าหมู่บ้าน นอกจากพิธีเหล่านี้แล้วชาวบ้านก็จะเก็บสิ่งที่ไม่ดีออกจากบ้านตน เช่น ของเก่า เสื้อผ้าขาด ก่องข้าว เพื่อให้บ้านเรือนตนสะอาด บริสุทธิ์ |
1. ทำการหว่านข้าว (หว่านกล้า)
|
1. ทำการหว่านข้าว (หว่านกล้า) อาจเกิดโรคฉี่หนู เนื่องจากมีการลุยน้ำ และโคลน รวมทั้งอาจเกิดการเจ็บป่วยจากใช้ปุ๋ยสารเคมี รวมทั้งอุบัติเหตุจากการหว่าน เช่น ลื่นล้ม
|
กรกฎาคม |
1. ประเพณีเข้าพรรษา การที่พระสงฆ์อยู่ประจำอาวาสแห่งเดียวตลอด 3 เดือน ในฤดูฝนเรียกว่าพรรษาโดยปกติกำหนดเอาแรม 1 ค่ำเดือน 8 เป็นวันเข้าพรรษา ชาวบ้านจะมีการเตรียมเทียนเพื่อไปถวายวัด รวมทั้งเครื่องปัจจัยไททายต่างๆโดยเฉพาะเครื่องสำหรับให้แสงสว่าง แม้ปัจจุบันจะเจริญแล้วแต่ยังรักษาฮีตเดิมโดยการนำเทียน ตระเกียงน้ำมัน ธูปเทียนไปถวายเช่นเดิม และการนำถวายผ้าอาบน้ำฝนเพื่อใช้อาบน้ำช่วงฤดูฝน |
1. ทำการเกษตร (ดำนา) |
1. ทำการเกษตร (ดำนา) อาจเกิดโรคฉี่หนู เนื่องจากมีการลุยน้ำ และโคลน รวมทั้งอาจเกิดการเจ็บป่วยจากใช้ปุ๋ยสารเคมี รวมทั้งอุบัติเหตุจากการหว่าน เช่น ลื่นล้ม |
สิงหาคม |
1. บุญข้าวประดับดิน เป็นบุญสิ้นเดือนเก้า ที่เรียกอีกอย่างว่า บุญข้าวสาก นำอาหารคาวหวาน หมากพลูบุหรี่จัดใส่กระทงวางไว้บนพื้น ใต้ต้นไม้เพื่อเป็นการเช่น ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษที่มีความสำคัญต่อชาวอีสาน เพราะเชื่อว่าเป็นบุญที่ต้องส่งส่วยให้กับผีฮักและผีบรรพบุรุษ เพื่อให้เกิดความเป็นอยู่ ทรัพย์สิน อาหารอุดมสมบูรณ์ |
1. ทำการเกษตร (ดำนา) |
1. ทำการเกษตร (ดำนา) อาจเกิดโรคฉี่หนู เนื่องจากมีการลุยน้ำ และโคลน รวมทั้งอาจเกิดการเจ็บป่วยจากใช้ปุ๋ยสารเคมี รวมทั้งอุบัติเหตุจากการหว่าน เช่น ลื่นล้ม |
กันยายน |
1. บุญข้าวสาก เป็นบุญที่ทําเพื่ออุทิศให้แก่ผู้ตายหรือเปรต โดยมีเวลาห่างจากบุญข้าวประดับดินเพียง 15 วันเป็น เวลาที่เปรตต้องกลับไปอยู่ที่ของตน ซึ่งทั้งสองบุญนี้จะมีลักษณะคล้าย ๆ กันคือการห่อข้าวส่งให้เปรต รวมทั้ง บรรพบุรุษญาติพี่น้องของผู้ทําบุญด้วยและเปรตไม่มีญาติด้วย |
1. ทำการเกษตรทั่วไป |
1. ทำการเกษตรทั่วไป อาจก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย และการเจ็บป่วยจากการใช้ปุ๋ยเคมี หรือยาฆ่าแมลง |
ตุลาคม |
1. ประเพณีออกพรรษา เป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 เป็นวันออกพรรษา วันปวารนา เป็นบุญที่ความสําคัญเพราะเชื่อว่า พระสงฆ์ได้อยู่จําพรรษาเป็นเวลาไตรมาส (3 เดือน) ย่อมมีความบริสุทธิ์ จริยธรรมงดงามจะมาซึ่งบุญ และได้บุญมาก ชาวบ้านจะร่วมกันทําบุญตักบาตรเทโวที่วัด และฟังธรรมเทศนาและกลางคืนจะจุดประทีปเพื่อความสว่างไสวพร้อมมีการจุดปะทัดเสียงดังสนุกสนานหวั่นไหวด้วย |
1. การปลูกอ้อย การปลูกอ้อยจะทำการปลูกในช่วงเดือนพฤศจิกายน มีอายุการเก็บเกี่ยว 9-10 เดือน โดยจะเก็บเกี่ยวอ้อยใน ช่วงเดือนมกราคม - เมษายนซึ่งจะตรงกับช่วงที่โรงน้ำตาลเปิดรับซื้ออ้อย |
1. การปลูกอ้อย อาจก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย หรืออุบัติเหตุจากของมีคมที่ใช้ในการตัดอ้อย รวมทั้งเกิดฝุ่นเศษอ้อยตามบรรยากาศจากการเผาอ้อย ซึ่งอาจมีผลต่อระบบทางเดินหายใจ |
พฤศจิกายน |
1. บุญกฐิน กฐิน คือ ไม้สะดึงที่ใช้สําหรับขึงผ้าเวลาจะเย็บผ้าจีวรพระในการเย็บให้สะดวกขึ้น จึงเป็นที่มาของผ้ากฐิน คือ ผ้าจีวร สบงหรือผ้านุ่งห่มที่จะนําไปถวายพระนั่นเองบุญกฐินจึงคือบุญที่ต้องนําเข้าไปถวายพระเป็นสําคัญ บุญกฐินเป็นบุญฮีตสุดท้ายของฮีตเดือนสิบสองของชาวอีสานชาวอีสานจึงรู้ดีว่าช่วงนี้เป็นช่วงที่ต้องนําจีวรไปถวายในช่วงนี้ซึ่งมีกาลเวลา ที่เรียกว่าเทศกาลกฐินที่กลายเป็นประเพณีขึ้น ซึ่งมีความสําคัญต่อชาวอีสานมากที่ถือว่าเป็นให้อานิสงส์แก่ผู้ทําบุญอย่างมาก เพราะจะได้ถวายจีวรให้แก่ภิกษุที่ครบไตรมาส |
1. ทำการเกษตร (เก็บเกี่ยวข้าว) |
1. ทำการเกษตร (เก็บเกี่ยวข้าว) อาจก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย เช่น ปวดหลัง ปวดเอว รวมทั้งวิงเวียนศีรษะ รวมทั้งแสงแดดที่อาจส่งผลกระทบต่อผิวหนัง |
ธันวาคม |
1. บุญข้าวกรรม หรือบุญเดือนเจียง ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ต้องอยู่กรรมถึงจะพ้นจากอาบัติ ญาติโยม พ่อออก แม่ออก ผู้อยากได้บุญกุศลก็จะให้ไปทาน รักษาศีลฟังธรรมเกี่ยวกับการเข้ากรรมของภิกษุ เรียกว่า บุญเข้ากรรม กำหนดเอาเดือนเจียงเป็นเวลาทำ จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ วันที่นิยมทำเป็นส่วนมากคือวันขึ้น 15 ค่ำ 2. บุญส่งท้ายปีเก่า ในคืนวันที่ 31 ธันวาคม เป็นวันสิ้นปี จะมีการสวดมนต์ข้ามปี โดยพระภิกษุจะเป็นผู้นำในการปฏิบัติธรรม และช่วงตอนเช้าวันที่ 1 มกราคม จะทำบุญตักบาตรเนื่องในเทศกาลขึ้นปีใหม่ พระภิกษุสามเณรจะเดินเรียงลำดับอาวุโสไปบิณฑบาตตามละแวกบ้าน เมื่อถึงหมู่บ้านที่ชาวบ้านกำลังรออยู่ ก็จะยืนเรียงเป็นแถว หรือการตักบาตรเป็นสังฆทาน |
1. ทำการเกษตร (เก็บเกี่ยวข้าว) |
1. ทำการเกษตร (เก็บเกี่ยวข้าว) อาจก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย เช่น ปวดหลัง ปวดเอว รวมทั้งวิงเวียนศีรษะ รวมทั้งแสงแดดที่อาจส่งผลกระทบต่อผิวหนัง |
ในการศึกษาชุมชนบ้านโนนดู่ ตำบลกุดกว้าง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น รวมทั้งได้ศึกษาประวัติชีวิตคุณพ่อสวัสดิ์ ศรีดาธรรม เนื่องจากเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อชุมชนในเรื่อง การเป็นหมอธรรม หมอจ้ำ หมอผี (สะกดผี) และเป็นหัวหน้าสัปเหร่อ ช่วยงานบวช งานบุญพะเหวด บุญแจกข้าว บุญข้าวจี่ (เป็นมัคนายก) งานปู่ตา (เป็นมัคทายก) ซึ่งสอบถามข้อมูลจากคนในชุมชนทุกคนให้ข้อมูลตรงกันว่า คุณพ่อสวัสดิ์ ศรีดาธรรม เป็นบุคคลที่ชุมชนให้ความสำคัญและเคารพนับถือ
ประวัติครอบครัว
คุณพ่อสวัสดิ์ ศรีดาธรรม เกิดเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2488 ที่บ้านโนนดู่ หมู่ที่ 5 ตำบลกุดกว้าง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ปัจจุบันอายุ 77 ปี เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนวัดบ้านโนนดู่ พอเรียนจบจึงได้มาเลี้ยงวัว ทำไร่ทำนาที่บ้านของตน และเมื่ออายุ 21 ปี คุณพ่อสวัสดิ์ได้บวช ประมาณ 6 เดือน เมื่ออายุ 23 ปี ได้แต่งงานกับคุณแม่หนูรัตน์ ศรีดาธรรม อายุ 67 ปี จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีลูกด้วยกันทั้งหมด 4 คน
1. นายคำภู ศรีดาธรรม ปัจจุบันอายุ 50 ปี
2. นายรุ่งนิรันดร์ ศรีดาธรรม ปัจจุบันอายุ 47 ปี
3. นายนาทภูวนัย ศรีดาธรรม ปัจจุบันอายุ 45 ปี
4. นางสุภาพร บุดดาหลู่ ปัจจุบันอายุ 42 ปี
ประวัติการศึกษา
คุณพ่อสวัสดิ์ ศรีดาธรรม เริ่มเข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 ที่โรงเรียนวัดบ้านโนนดู่
ประวัติการทำงาน
เมื่อปี พ.ศ. 2498 คุณพ่อสวัสดิ์ ศรีดาธรรม เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้ออกไปเลี้ยงวัวที่บ้าน เมื่อปีพ.ศ. 2510 - ปัจจุบันคุณพ่อสวัสดิ์ ศรีดาธรรม อาชีพหลักคือ เลี้ยงวัว ทำนา อาชีพเสริมคือ การที่ช่วยเหลือชาวบ้าน เช่น เป็นมัคทายก ในงานแต่ง งานบวช งานบุญแจกข้าว งานบุญพะเหวด งานบุญข้าวจี่ และงานมงคลต่างๆ, เป็นหมอจ้ำ ในงานปู่ตา, เป็นหมอเด็ก ในการเรียกขวัญเด็กที่ร้องไห้, เป็นหัวหน้าสัปเหร่อ หมอผี (สะกดผี) สะกดวิญญาณที่ตายโหงให้กลับบ้าน หรือตายท้องกลม โดยการใช้มีดหมอกรีดเอาเด็กออกและทำพิธีที่ถูกต้องตามความเชื่อชาวบ้าน
สิ่งที่ทำให้สนใจ/ความภาคภูมิใจ
สิ่งที่ทำให้คุณพ่อสวัสดิ์ ศรีดาธรรม เลือกที่จะทำงานเป็นมัคทายก หมอจ้ำ หมอเด็ก หมอผี เป็นเพราะว่า ส่วนตัวคุณพ่อสวัสดิ์ชอบแบบนี้อยู่แล้ว และมีหลวงพ่อรูปหนึ่งตอนที่คุณพ่อสวัสดิ์ ศรีดาธรรมบวช ท่านได้สอนความรู้วิชา เกี่ยวกับด้านนี้ให้ จากนั้นคุณพ่อสวัสดิ์จึงนำสิ่งที่เรียนมาช่วยชาวบ้าน
คุณพ่อสวัสดิ์ ศรีดาธรรม บอกว่าภาคภูมิใจในตนเองที่ได้ช่วยเหลือสมาชิกในชุมชนบ้านโนนดู่ในงานต่างๆ ซึ่งเป็นความเชื่อของชาวบ้าน และเป็นความสบายใจของชาวบ้าน คุณพ่อสวัสดิ์ รักในการทำงานด้านนี้มาโดยตลอด และจะยังทำต่อไป เพราะเป็นที่เคารพนับถือ และเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน เมื่อชาวบ้านมีปัญหาอะไร ก็จะมีคนนึกถึงคุณพ่อสวัสดิ์เสมอ
ผังเครือญาติของนายสวัสดิ์ ศรีดาธรรม จะเห็นได้ว่า นายสวัสดิ์ ศรีดาธรรม เป็นบุตรของนางบัว ศรีดาธรรม กับ นายบุญ ศรีดาธรรม มีพี่น้องร่วมกัน 8 คน ต่อมานายสวัสดิ์ ศรีดาธรรมสมรสกับนางหนูรัตน์ ศรีดาธรรม มีบุตรร่วมกัน 4 คน ปัจจุบันอาศัยอยู่กับภรรยา บุตรสาวคนสุดท้อง ลูกเขย และหลานชาย บุตรคนโตย้ายออกไปอยู่กับภรรยา บุตรชายคนที่ 2 และ 3 ไปทำงานที่ต่างจังหวัด
ตระกูลศรีดาธรรมเป็นตระกูลที่มีเครือญาติมากที่สุด นักศึกษาจึงเลือกที่จะศึกษาตระกูลศรีดาธรรม และมีบุคคลในตระกูลศรีดาธรรมมีบทบาทในชุมชน คือ นายสวัสดิ์ ศรีดาธรรม เป็นนักปราชญ์ชาวบ้าน มีบทบาทเป็นหมอธรรม หมอจ้ำ หมอผี และเป็นหัวหน้าสัปเหร่อ
โดยตระกูลศรีดาธรรมโดยรวมบุคคลในครอบครัวมีสุขภาพดี จะมีเครือญาติที่พบโรคเหมือนกันที่ชัดเจน คือ โรคเบาหวาน ซึ่งมีศักดิ์เป็นพี่สาว คือ นางวันนา มีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ซึ่งการเกิดโรคเบาหวานพบในลักษณะของโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ จึงต้องมีการดูแลและให้ความสำคัญครอบครัวเป็นอย่างมาก โอกาสที่ลูกจะเป็นเบาหวานจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30 ซึ่งโรคเบาหวานทางพันธุกรรม เกิดจากความดื้อต่ออินซูลินจะเกี่ยวข้องกับยีนหลายตัว ทำให้ระดับความรุนแรงในการถ่ายทอดโรคเบาหวานทางพันธุกรรมแตกต่างกันไปในแต่ละครอบครัว และในครอบครัวมีการเสียชีวิตด้วยโรคตับและอุบัติเหตุ
การย้ายถิ่นฐาน สังเกตได้ว่าในรุ่นแรกๆ นั้นมีการย้ายถิ่นฐานน้อยมาก แต่ในรุ่นลูกหลานกลับพบว่ามีย้ายถิ่นฐานเยอะกว่า เหตุผลคือ การย้ายถิ่นฐานตามคู่ครอง และตามความจำเป็นทางการงาน ทั้งนี้เนื่องจากรุ่นลูกหลานนั้นมักไม่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเหมือนรุ่นก่อน ทำให้มีความจำเป็นในการย้ายถิ่นฐานออกไปประกอบอาชีพมากขึ้น แต่ก็ยังมีตระกูลศรีดาธรรมที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านโนนดู่เป็นจำนวนมาก เมื่อมีกิจกรรมใดๆ ในชุมชนก็จะมีตระกูลศรีดาธรรมเข้าร่วมอยู่เสมอ
วัดพุทธ 1 แห่ง (วัดสว่างโนนดู่)
มีวัดพุทธในชุมชน 1 แห่ง มีพระคำมูล ปภากโร รักษาการเจ้าอาวาส ปัจจุบันมีพระจำพรรษาในวัด จำนวน 1 รูป เป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ซึ่งชาวบ้านมักจะไปทำบุญตักบาตรในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของชุมชน และผลต่อแบบแผนการดำเนินชีวิตและสุขภาพจิตใจของคนในชุมชน
โรงเรียนบ้านโนนดู่หนองแวง
มีโรงเรียนประจำชุมชน 1 แห่ง เปิดสอนในระดับประถมศึกษา การเข้าไปมีส่วนร่วมของคนในหมู่บ้านในการพัฒนาโรงเรียน การใช้ประโยชน์พัฒนาโรงเรียนร่วมกับครู และร่วมทำกิจกรรมต่างๆ เป็นแหล่งประโยชน์เพื่อให้ลูกหลานภายในชุมชนได้รับการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาชั้นพื้นฐานที่ควรจะได้รับ
แหล่งน้ำสาธารณะ บึงหนองแปน 1 แห่ง
บึงหนองแปน เป็นบึงขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติและมีการพัฒนาปรับปรุง โดยมีลำน้ำเชิญที่ไหลมารวมที่หนองแปน เริ่มต้นมาจากภูเขาในจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเป็นสายน้ำใช้แบ่งเขตอำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ กับตำบลกุดกว้าง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น มีน้ำเพียงพอตลอดทั้งปี ใช้ทำน้ำประปา และใช้สำหรับทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์
โรงสีข้าว 1 แห่ง
มีโรงสีข้าว 1 แห่ง เพื่อให้บริการแก่ประชาชนภายในชุมชน สำหรับสีข้าวในทุกช่วง ไว้บริโภคและขายสร้างรายได้ เนื่องด้วยคนในชุมชนมีการอาชีพเกษตรกร ทำนา ปลูกข้าวเป็นส่วนใหญ่ โรงสีในหมู่บ้านจึงเป็นแหล่งประโยชน์ที่สำคัญ
ร้านค้าขายของชำ 3 แห่ง
คนในชุมชนจะมาซื้อของเพื่อนำไป อุปโภค บริโภคในครัวเรือน เช่น น้ำปลา ซอสปรุงรสหรือเครื่องปรุงชนิดต่างๆ กระเทียม อาหารแห้ง สบู่ ยาสีฟัน ยาสระผม ผงชักฟอก ขนมขบเคี้ยวต่างๆ มีการประเภทยาลดไข้ ยาแก้ปวด ยาบรรเทา อาการหวัด ยาลดกรดในกระเพาะอาหารและยานวดบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ น้ำยาล้างแผล อีกทั้ง ยังจำหน่ายทั้งสุรา เบียร์ และบุหรี่
ศาลปู่ตา 1 แห่ง
ภายในชุมชนมีศาลปู่ตาจำนวน 1 แห่ง เป็นศูนย์รวมทางจิตใจของชุมชนโนนดู่ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ศาลปู่ตาจะตั้งอยู่ในเขตที่สาธารณะประโยชน์ของหมู่บ้าน สถานที่ร่มรื่นเป็นสัดส่วน ซึ่งจะต้องมีการเลี้ยงปู่ตาเป็นประจำทุกปี จะทำให้คนในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีไม่มีเหตุร้ายเกิดขึ้นในชุมชนเพราะว่าปู่ตาจะปกป้องรักษาดูแล หากจะมีเหตุการณ์ที่ไม่ดีปู่ตาก็จะช่วยปกป้องได้ที่ไม่ดีปู่ตาก็จะช่วยปกป้องได้
ศาลาประชาคม 2 แห่ง
ภายในชุมชนมีศาลาประชาคม 2 แห่ง ตั้งอยู่กิจกรรมต่างๆ นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กระจายอินเทอร์เน็ตภายในหมู่บ้าน ศาลาประชาคมสามารถใช้ทำกิจกรรมของชุมชน
หอกระจายข่าว 1 แห่ง
เป็นแหล่งประโยชน์ใช้เพื่อกระจายข่าวสารให้กับประชาชนในชุมชนได้รับทราบ หรือใช้เพื่อการกระจายเสียงสำหรับการให้ข้อมูลหรือความรู้ต่างๆ เช่น ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตัวในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นต้น
ป่าชุมชน 1 แห่ง
เป็นแหล่งประโยชน์ที่เป็นต้นน้ำลำธาร ซึ่งส่งผลต่อการประกอบอาชีพทางการเกษตร การอุปโภค และการบริโภคในครัวเรือน เป็นแหล่งป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านไฟป่าที่คุกคามสุขภาพและทรัพยากรของชุมชน ช่วยบรรเทาการกัดเซาะและพังทลายของหน้าดิน และอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพให้มีความอุดมสมบูรณ์
กองทุนหมู่บ้าน 1 แห่ง
เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ และบรรเทาเหตุจำเป็นเร่งด่วนของชุมชนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชน ส่งผลต่อสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งขึ้น และสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ส่งผลให้การกินดีอยู่ดีของประชาชนในหมู่บ้านดีขึ้น
กองทุนปุ๋ย 1 แห่ง
เป็นแหล่งประโยชน์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรเกษตรกรภายในชุมชนได้มีเงินทุนให้สมาชิกภายในหมู่บ้านกู้ยืมไปจัดซื้อปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ เมล็ดพันธุ์พืช ปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยอื่นๆ รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตปุ๋ยชีวภาพไว้ใช้ในการผลิตพืชผลทางเกษตรกรรม ได้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ และความต้องการของตนเอง ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรของประชาชนเพิ่มสูงขึ้น
ประชาชนบ้านโนนดู่ ใช้ภาษาถิ่นอีสานในการสื่อสารในชุมชน และใช้ภาษากลาง ภาษาไทยในการติอต่อสื่อสารกับหน่วยงานต่างๆ