Advance search

ชุมชนเข้มแข็ง มีแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่เพื่อการเกษตรเพียงพอ มีความอุดมสมบูรณ์ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะ ได้รับสวัสดิการครบครัน คนมีคุณภาพชีวิตดี ภายใต้เศรษฐกิจพอเพียง

หมู่ที่ 17
บ้านขนวนนคร
กุดกว้าง
หนองเรือ
ขอนแก่น
รัตน์ดาวรรณ คลังกลาง
11 เม.ย. 2023
รัตน์ดาวรรณ คลังกลาง
11 เม.ย. 2023
veerapat srithamboon
27 พ.ค. 2023
บ้านขนวนนคร


ชุมชนชนบท

ชุมชนเข้มแข็ง มีแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่เพื่อการเกษตรเพียงพอ มีความอุดมสมบูรณ์ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะ ได้รับสวัสดิการครบครัน คนมีคุณภาพชีวิตดี ภายใต้เศรษฐกิจพอเพียง

บ้านขนวนนคร
หมู่ที่ 17
กุดกว้าง
หนองเรือ
ขอนแก่น
40210
16.45082
102.38755
เทศบาลตำบลเทศบาลตำบลกุดกว้าง

เมื่อประมาณ พ.ศ. 2445 มีนายหมอก นายอ้วน นายทา และนายจันทร์ เป็นคนพื้นเพบ้านข่า – เชียงพิณ อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ เข้ามาตัดไม้ไปทำอุปกรณ์ไถนา เมื่อมาเห็นสถานที่ที่อุดมสมบูรณ์ทั้งป่าไม้และสัตว์ป่า จึงพากันย้ายเข้ามาอยู่ ต่อมาได้พบต้นไม้ใหญ่ที่มีชื่อว่า ต้นขนวน จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านขนวน” หมู่ที่ 3 ตำบลกุดกว้าง

บ้านขนวนนคร หมู่ที่ 17 ตำบลกุดกว้าง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น เดิมชื่อบ้านขนวน หมู่ที่ 3 ตำบลกุดกว้าง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ต่อมาปีพ.ศ. 2537 ในสมัยการปกครองของผู้ใหญ่บ้าน นายสมพงษ์ พิมพ์รักษา ได้แยกหมู่บ้านออกเป็น 2 หมู่บ้าน ได้ตั้งชื่อหมู่บ้านใหม่ที่แยกใหม่ว่า “บ้านขนวนนคร” หมู่ที่ 17 จนถึงปัจจุบัน โดยมีผู้ใหญ่บ้านตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้

1. นายสมาน คลังคำภา ตั้งแต่ พ.ศ. 2537 - 2548

2. นายเอ็ด โอดพิมพ์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 - 2560

2. นายบุญฤทธิ์ ทิพยะ ตั้งแต่ พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน

บ้านขนวนนครหมู่ที่ 17 อยู่ในเขตการปกครองของตำบลกุดกว้าง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ห่างจากอำเภอหนองเรือ ประมาณ 9 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดขอนแก่นประมาณ 52 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมด 5,568 ไร่ แบ่งเป็น พื้นที่อยู่อาศัย 250 ไร่ พื้นที่ทำนาและการเกษตร 5,221 ไร่ พื้นที่ทำไร่ 70 ไร่ พื้นที่ทำสวน 15 ไร่ และมีป่าชุมชน 1 แห่ง 12 ไร่ อาณาเขตที่ตั้ง ทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านโคกสูงหมู่ที่ 2 ตำบลกุดกว้าง ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านแท่นตำบลบ้านแท่น จังหวัด ชัยภูมิ ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลบ้านเป้า จังหวัดชัยภูมิ ทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านกุดกว้างหมู่ที่ 4 ตำบลกุดกว้าง

แผนที่เดินดินบ้านขนวนนคร หมู่ 17 ตำบลกุดกว้าง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น บ้านขนวนนคร หมู่ 17 ตำบลกุดกว้าง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น อยู่ห่างจากตัวอำเภอ 9 กิโลเมตร อยู่ห่างจากตัวจังหวัดขอนแก่นประมาณ 52 กิโลเมตร อาณาเขตที่ติดต่อ ได้แก่ ทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านโคกสูงหมู่ที่ 2 ตำบลกุดกว้าง ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านแท่นตำบลบ้านแท่น จังหวัด ชัยภูมิ ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลบ้านเป้า จังหวัดชัยภูมิ ทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านกุดกว้างหมู่ที่ 4 ตำบลกุดกว้าง จากการสำรวจแผนที่เดินดินพบว่า บ้านขนวนนคร หมู่ 17 มี 123 หลังคาเรือน พื้นที่ส่วนใหญ่ของหมู่บ้านจะเป็นทุ่งนาและไร่อ้อย มีถนนรอบๆ หมู่บ้าน พื้นที่การเกษตรและมีพื้นที่โล่ง ลักษณะบ้านเป็นบ้านติดกัน มีพื้นที่ใช้สอยในบ้าน อัตราส่วนในแผนที่เดินดิน 1 cm : 1000 m การคมนาคมภายในชุมชนมีถนนเส้นหลักผ่านบริเวณหน้าหมู่บ้านและตัดกลางหมู่บ้าน มีถนนคอนกรีตสัญจรภายในชุมชนและถนนลูกรังในบางส่วน การคมนาคมส่วนใหญ่ใช้รถยนต์และรถจักรยานยนต์ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก เนื่องจากบ้านขนวนนครมีพื้นที่กว้างขวาง มีสภาพค่อนข้างอุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับทำเกษตรกรรมทั้งการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ประกอบด้วย ทำนา ไร่อ้อย ปลูกผักสวนครัว เลี้ยงไก่ เลี้ยงวัว/ควาย และการค้าขาย ประกอบด้วย ร้านค้าขายของ ร้านอาหาร ร้านซ่อมรถ มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังส่วนใหญ่เป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ประชากรในหมู่บ้านอาศัยอยู่ร่วมกันด้วยความรักความสามัคคี พึ่งพาอาศัยกัน

 

ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่ของหมู่บ้านร้อยละ 80 เป็นพื้นที่ราบลุ่ม โดยมีแม่น้ำเชิญ ลำห้วยกกกล่าม ลำห้วยดอนปู่ตา  ดินเป็นดินเหนียวปนทราย สามารถอุ้มน้ำได้ดีเหมาะสำหรับทำการเกษตรโดยเฉพาะการปลูกข้าว

ลักษณะภูมิอากาศ แบ่งเป็น 3 ฤดู

ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม ประชาชนมักมีปัญหาสุขภาพในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคอุจจาระร่วง ซึ่งเกิดจากเชื้อโรคและเชื้อแบคทีเรียจะมีการเจริญเติบโตได้ดีแล้วเข้าไปปะปนอยู่ในอาหารและน้ำ เมื่อนำมารับประทานโดยไม่ได้ทำความสะอาดหรือผ่านการฆ่าเชื้อให้ดีก่อน จึงทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ และในปีนี้มีโรค Covid 19 ที่มีการระบาดของโรคและได้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและกว้างขวางไปทั่วประเทศทั่วโลกซึ่งมีผู้ติดเชื้อจำนวนมากในส่วนของประเทศไทยได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID -19)) เป็นโรคติดต่ออันตราย

ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ปกติจะเกิดน้ำท่วมบริเวณนาข้าวของประชาชนทุกปี โดยน้ำมาจากลำห้วยกกกล่าม ลำห้วยดอนปู่ตา และลำห้วยวังจั่น แต่ในปี 2563 ฝนตกน้อยจึงทำให้ไม่เกิดน้ำท่วม ปัญหาสุขภาพที่พบ คือ ประชาชนเสี่ยงต่อการเป็นโรคไข้เลือดออก นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการเกิดน้ำกัดเท้า และเชื้อราที่เท้า ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อราโดยเชื้อราชนิดนี้จะสามารถเจริญเติบโตได้ดีในที่เปียกชื้น เช่น การทำการเกษตร  รองเท้าที่ลุยน้ำท่วม พื้นห้องอาบน้ำ เป็นต้น เมื่อเราใส่รองเท้าที่มีเชื้อราชนิดนี้เจริญเติบโตอยู่จะทำให้เกิดโรคน้ำกัดเท้านั่นเอง

ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งมีอากาศหนาวเย็น และแห้ง ในช่วงนี้จะมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวและอ้อย โดยเกษตรกรจะมีการเผาอ้อยก่อนเก็บเกี่ยวจึงทำให้เกิดปัญหาฝุ่นควัน

ประชาชนมักมีปัญหาสุขภาพ เช่น ไข้หวัด เนื่องจากมีสภาพปัญหาที่เปลี่ยนแปลง

การคมนาคม

ถนนทางเข้าหมู่บ้านเป็นถนนลาดยาง แต่มีสภาพเป็นหลุม ส่วนถนนในหมู่บ้านร้อยละ 80% เป็นถนนคอนกรีต และบางแห่งเป็นถนนลูกรังทำให้ช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาวถนนมีฝุ่นเยอะ รวมทั้งไฟส่องสว่างบริเวณถนนในเวลากลางคืนมีน้อย ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้

การเดินทางในชุมชนบ้านขนวนนครห่างจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดกว้างประมาณ 5-6 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอหนองเรือ ประมาณ 9 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดขอนแก่นประมาณ 52 กิโลเมตร ส่วนประชาชนเดินทางมาใช้บริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดกว้างโดยใช้รถส่วนตัว เช่น รถจักรยานยนต์ รถยนต์ และรถรับจ้างสามล้อ

การติดต่อสื่อสาร

ในหมู่บ้านมีหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน ซึ่งตั้งอยู่ที่ ร้านค้าชุมชนเดิม ซึ่งปัจจุบัน

ได้ปิดอย่างเป็นทางการ บริเวณศาลาประชาคม จะใช้เมื่อมีข่าวสารเกี่ยวกับหมู่บ้านและประชาชนได้รับทราบ ซึ่งสามารถได้ยินทั่วครบทุกครัวเรือน นอกจากนี้ประชาชนยังสามรถเข้าถึงข่าวสารต่างๆทางด้านสุขภาพได้ทางโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต โดยมีอินเทอร์ประชารัฐติดตั้งที่ศาลาประชาคมของหมู่บ้าน

จากข้อมูลการสำรวจของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ปี 2566 จำนวนครัวเรือนและประชากรของบ้านขนวนนคร จำนวน 162 หลังคาเรือน ประชากรรวมทั้งหมด 818 คน  แบ่งเป็นประชากรชาย 408 คน หญิง 410 คน (เมษายน 2566)

จากการสำรวจปี 2563 ประชากรในบ้านขนวนนคร จำแนกตามอายุและเพศ ในปี พ.ศ. 2563 จากพีระมิดประชากร พบว่า มีประชากรทั้งหมด 860 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 338 ร้อยละ 50.93 เพศชาย จำนวน 422 คน ร้อยละ 49.07 โดยจากภาพแบ่งเป็น 3 ช่วงวัย ช่วงอายุ 0 - 4 ปีจัดเป็นวัยเด็ก จำนวน 128 คน ร้อยละ 14.89 ช่วงอายุ 15 - 59 ปีจัดเป็นวัยทำงาน จำนวน 592 ร้อยละ 68.83 และช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 140 คน ร้อยละ 16.28 และส่วนใหญ่อยู่ในช่วงในช่วงระหว่างวัยแรงงานทั้งหมด คือ อายุ 40 - 44 ปี จำนวน 87 คิดเป็นร้อยละ 10.12 รองลงมา คือ ช่วงอายุ 45 - 49 ปี จำนวน 82 คน  คิดเป็นร้อยละ 9.53 และ ช่วงอายุ 50 - 54 ปี จำนวน 78 คน คิดเป็นร้อยละ 9.07 ตามลำดับ

โครงสร้างองค์กรชุมชนบ้านขนวนนคร หมู่ที่ 17 ตำบลกุดกว้าง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น มีดังนี้

1. โครงสร้างชุมชนเป็นทางการ

     ผู้นำที่เป็นทางการ

รายชื่อผู้นำชุมชน

นายบุญฤทธิ์ ทิพยะ ผู้ใหญ่บ้าน

นายประเสริฐ ทีดี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

นายสมร ทีดี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

     หน้าที่หลัก

-        ดูแลหมู่บ้านแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านเช่นสิ่งแวดล้อม

-        ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานอื่นเช่นเทศบาลตำบล. โรงเรียนวัด

-        จัดประชุมภายในหมู่บ้านทุกเดือนประชาสัมพันธ์ข่าวสารให้ชุมชนรับทราบ

รายชื่อคณะกรรมการหมู่บ้าน

1. นายพรชัย คลังคำภา             2. นางเลียม นอขุนทด

3. นายชาญชัย แซงเกศ             4. นายอานนท์ บุญทิน

5. นายบุญซม ดุ่งมะลี               6. นายสุพันธ์ นิลศรี

7. นายแสวง พานุสิทธิ์              8. นายหนูปี พิมพ์ศักดิ์

9. นายประพันธุ์ เกาะสมบัติ        10. นายสมภาร ด้วงศักดิ์

11. นายเพ็ง แก้วแก่น               12. นางพรทิพย์ เดชจำปา

13. นายบุญเรือง โอสถ              14. นางอนุรัตน์ ขาวหนู

สมาชิกเทศบาลตำบลกเทศบาลตำบลกุดกว้างในหมู่บ้าน

          นางแสงจันทร์ คลังคำภา

     หน้าที่ของสมาชิก อบต.

1. จัดให้มีและบำรุงทางน้ำและทางบก

                    2. การรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

                    3. ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ

                    4. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

                    5. ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

                    6. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุและพิการ

                    7. คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                    8. บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

9. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย

     หน้าที่ของเทศบาล

ติดต่อและให้บริการแก่ประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย ทั้งในเรื่องงานการทะเบียน การสาธารณูปโภค การศึกษา การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งนับว่าเป็นภาระหน้าที่ที่ใกล้ชิดกับประชาชนในท้องถิ่นมาก

สมาชิกกองทุนหมู่บ้าน

กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นศูนย์กลางและโครงข่ายการเรียนรู้เงินทุนสวัสดิภาพสวัสดิการและการแก้ไขปัญหาของหมู่บ้านและชุมชนพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนครัวเรือนสมาชิกมีความเป็นอยู่ที่พอเพียงอบอุ่นเข้มแข็งสู่การเป็นภูมิคุ้มกันเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้การมีส่วนร่วมและพัฒนาศักยภาพตนเองของกองทุนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจึงได้ก่อตั้งกองทุนหมู่บ้านขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2546

วัตถุประสงค์

1. เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการลงทุน

     พัฒนาอาชีพสร้างงาน•สร้างรายได้หรือเพิ่มรายได้

     ลดรายจ่าย

     บรรเทาเหตุฉุกเฉินและจำเป็นเร่งด่วน

2. ส่งเสริมและพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนเมืองให้มีขีดความสามารถ

     จัดระบบเงินกองทุน

     บริหารจัดการเงินกองทุน

3. เสริมสร้างกระบวนการพึ่งพาตัวเองของหมู่บ้าน

     การเรียนรู้

     การสร้างและพัฒนาความคิดริเริ่ม

     เสริมสร้างศักยภาพและส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง

4. กระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานราก

     เสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต

5. เกิดศักยภาพ/ความเข้มแข็งของประชาชนในหมู่บ้านเศรษฐกิจ

     สังคมโครงสร้างกลุ่ม

1. นายสมภาร   ด้วยศักดิ์ (ประธาน)          2. นายชูสิงห์   นครพล (รองประธาน)

3. นางแสงจันทร์   คลังคำภา (เหรัญญิก)     4. นางมยุเรช   คำป้อง (เลขานุการ)

5. นางบุญหลาย   พานุสิทธิ์ (เร่งรัดหนี้)      6. นางเลี่ยม    นอขุนทด (เร่งรัดหนี้)

7. นางสุวันนา  บุญทัน (เร่งรัดหนี้)            8. นายสมร    ทีดี (เร่งรัดหนี้)

9. นางนิพร   ฤทธิ์ทา (ปฏิคม)                 10. นายอุทัยพิม   พากุล (ปฏิคม)

วัตถุประสงค์การจัดตั้งองค์กร

1. เพื่อเป็นส่วนกลางในการประสานติดต่อระหว่างประชาชน และหน่วยงานของภาครัฐที่ให้ความช่วยเหลือ

                    2. เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆในชุมชนเพื่อให้ชาวบ้านได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและเป็นระเบียบเรียบร้อย

3. ทำงานในชุมชนที่องค์กรสามารถจัดการได้เอง เช่น งานบุญต่างๆ งานในวันสำคัญต่างๆ เช่น วันสงกรานต์ วันปีใหม่ วันออกพรรษา เป็นต้น โดยการดำเนินการจะมีการลงความเห็นกันก่อน เรื่องจำนวนเงินที่ชาวบ้านในแต่ละหลังคาเรือนจะบริจาค เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

หน้าที่ผู้ใหญ่บ้าน

1. อำนวยความเป็นธรรมและดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย และความปลอดภัยให้แก่คนในหมู่บ้าน

2. สร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีให้เกิดหมู่บ้าน รวมทั้งส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณีในท้องที่

3. ประสานหรืออำนวยความสะดวกแก่คนในหมู่บ้านในการติดต่อ หรือบริการกับส่วนราชการหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

4. รับฟังปัญหาและนำความเดือดร้อนทุกข์สุขและความต้องการที่จำเป็นของคนในหมู่บ้านแจ้งต่อส่วนราชการหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การแก้ไขหรือช่วยเหลือ

5. ให้การสนับสนุนส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ หรือการให้บริการของส่วนราชการหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

6. ควบคุมดูแลคนในหมู่บ้านให้ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของทางราชการ

7.อบรมหรือชี้แจงให้คนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในข้อราชการกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของทางราชการ

8. แจ้งความช่วยเหลือในกิจการสาธารณประโยชน์ เพื่อบำบัดปัดป้องภยันตรายสาธารณะอันมีมาโดยฉุกเฉินรวมตลอดทั้งการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่ผู้ประสบภัย

9. จัดให้มีการประชุมเป็นประจำอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

10. ปฏิบัติตามคำสั่งของทางราชการและรายงานเหตุการณ์ที่ไม่ปกติซึ่งเกิดขึ้นในหมู่บ้าน

11.ปฏิบัติตามภารกิจหรืองานอื่นตามกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของทางราชการที่ได้รับมอบหมาย

หน้าที่ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง

1. ช่วยเหลือผู้ใหญ่บ้านปฏิบัติกิจการตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านเท่าที่ได้รับมอบหมายจากผู้ใหญ่บ้าน

2. เสนอข้อแนะนำและให้คำปรึกษาต่อผู้ใหญ่บ้านในกิจการผู้ใหญ่บ้านมีอำนาจหน้าที่

        3. ตรวจรักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้านร่วมกับผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านรักษาความสงบ

หน้าที่ผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ

1. ตรวจรักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน

       2. ถ้ารู้เห็นหรือทราบว่าเหตุการณ์หรือจะเกิดขึ้นภายในหมู่บ้าน ให้แจ้งต่อผู้ใหญ่บ้าน

       3. มีคนจรเข้ามาในหมู่บ้านและสงสัยไม่ได้มาโดยสุจริต ให้นำตัวส่งผู้ใหญ่บ้าน

4. เมื่อมีเหตุร้ายเกิดขึ้นภายในหมู่บ้าน ต้องระงับเหตุปราบปราม ติดตามจับผู้ร้ายโดยเต็มกำลัง

5.เมื่อตรวจพบหรือตามจับได้สิ่งของใดที่มีไว้มีความผิดหรือใช้การกระทำความผิดหรือได้มาโดยกระทำความผิดให้รีบนำส่งผู้ใหญ่บ้าน

        6. ปฏิบัติตามคำสั่งผู้ใหญ่บ้านซึ่งสั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย

หน้าที่หัวหน้าคุ้ม

คอยกระตุ้นและส่งเสริมสมาชิกในคุ้มของตนเองให้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆในชุมชน เช่น การเข้าร่วมงานบุญต่างๆ เพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน

หน้าที่ของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน

- ออมทรัพย์ : รวบรวมเงินเข้ากองทุนจากสมาชิก จะมีการเรียกเก็บเงินฝากจากสมาชิกเพื่อปล่อยกู้ให้แก่ผู้ที่ต้องการนำเงินไปลงทุนทำกิจการต่างที่สนใจแล้วนำดอกเบี้ยที่ได้มาปันผลให้แก่สมาชิกโดยคณะกรรมการมีหน้าที่ดูแลกองทุนเงินและปล่อยกู้

- เงินล้าน : จัดสรรเงินจากโครงการตามนโยบายของรัฐบาลที่ดำเนินการจัดตั้งกองทุนในทุกหมู่บ้านๆ ละ 1 ล้านบาท เพื่อเป็นกองทุนหมุนเวียนให้ชาวบ้านได้มีแหล่งเงินทุนให้กู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพ และดำรงชีพ

- ฌาปนกิจ : รับสมัครสมาชิกใหม่ คำนวณเงินสงเคราะห์ที่ต้องเรียกเก็บ และรวบรวมเงินของผู้ที่เป็นสมาชิกที่ทำฌาปนกิจ เพื่อนำไปช่วยเหลือสมาชิกที่เสียชีวิต โดยจะเป็นเงินจัดการศพให้ครอบครัวผู้เสียชีวิต และเมื่อมีเงินเหลือจะนำส่วนที่เหลือไปให้ครอบครัวสมาชิกที่เสียชีวิตนำไปใช้อื่นๆ

รายชื่ออาสาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)

1. นางมยุเรช คำป้อง (ประธานอสม.)

2. นางสาวประณี แซงเกตุ

3. นายเอ็ด โอดพิมพ์

4. นางสุวันนา บุญทิน

5. นายบุญเรือง โอสถ

6. นางจันโท วันชูพริ้ง

7. นางบุญถม ทองดี

8. นางพุธิตา ทิพยะ

9. นางเลียม นอขุนทด

10. นางนฤมล นิลศรี

11. นางคำพร สุศิลป์

12. นางบุญหลาย พานุสิทธิ์

13. นางทองทิพย์ ขาวหนู    

วัตถุประสงค์จัดตั้งองค์กร

เพื่อช่วยส่งเสริมสุขภาพชาวบ้านและพัฒนาหมู่บ้าน

หน้าที่ของ อสม.

          คือ สื่อข่าวสารสาธารณสุขระหว่างเจ้าหน้าที่และประชาชนในหมู่บ้าน ให้การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมและป้องกันโรค โดยให้คำแนะนำ ถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนบ้านและแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว แกนนำชุมชนในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพพลานามัยให้แข็งแรง และเกิดการเจ็บป่วยน้อยที่สุด

ปราชญ์ชาวบ้าน

1.      นายสมพาน ด้วงศักดิ์ ปราชญ์ชาวบ้านด้านจักสาน

2.      นายหนูเทียน ดุ่งมะลี ปราชญ์ชาวบ้านด้านหมอลำ

3.      นางสมัย ขาวหนู ปราชญ์ชาวบ้านด้านทอผ้า

     วัตถุประสงค์

เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ตนเองสั่งสมประสบการณ์จนเชี่ยวชาญ ให้เชื่อมโยงคุณค่าภูมิปัญญาของอดีตกับปัจจุบันให้กับคนในชุมชน

     หน้าที่ของปราญ์ชาวบ้าน

ถ่ายทอดภูมิปัญญาที่มีโดยใช้สติปัญญาของตนที่สั่งสมความรู้ความสามารถและประสบการณ์เพื่อถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นด้วยวิธีการที่แตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของแต่ละท้องถิ่น

หมอจ้ำ นางสุด เกาะสมบัติ

หน้าที่ของหมอจ้ำ

เป็นผู้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการบวงสรวง สังเวยผี และเทวดาประจำหมู่บ้านหรือผีปู่ตาเป็นผู้ช่วยสื่อสารระหว่างคนกับผี เป็นผู้ช่วยแก้ไขไถ่โทษแก่ชาวบ้านกรณีทำผิดผีบ้านหรือผีบรรพบุรุษ

หมอน้ำมนต์ นายหนูเทียน  ดุ่งมะลี

หน้าที่ของหมอน้ำมนต์

เป็นผู้ประกอบพิธีทำการรักษาโดยการทำน้ำมนต์และพรมไปตามส่วนที่บาดเจ็บ เช่น กระดูกเคลื่อน หัก อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุต่างๆ เช่น รถชน ตกต้นไม้ เป็นต้น

          กลุ่มสัมมาชีพ

          กลุ่มทอผ้าขาวม้า

          นางแสงจันทร์คลังคำภาได้เริ่มต้นจากความชอบส่วนตัวจึงอยากที่จะสร้างรายได้ให้แก่สตรีในชุมชนของตนเองด้วยเพื่อเพิ่มความรู้ด้านการทอผ้าขาวม้าและเพื่อหารายได้เพิ่มในเวลาว่างให้เกิดประโยชน์จึงได้เริ่มก่อตั้งกลุ่มทอผ้าขาวม้าขึ้นเมื่อปี พ.. 2550

วัตถุประสงค์

1. เพื่อรักษาวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้าน

2. ลตรายจ่ายสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มสตรี

3. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

4. เพื่อให้ความรู้ด้านการทอผ้าขาวม้า

โครงสร้างกลุ่ม

1. นางแสงจันทร์  คลังคำภา (ประธาน)

2. นางบุญหลาย  พานุสิทธิ์ (รองประธาน)

3. นางนุชา  เนตรคำวงษ์ (เหรัญญิก)

4. นางสมัย  ขาวหนู (เลขานุการ)

5. นางคำพร    สุศิลป์ (กรรมการ)

     กลุ่มจักสานกระเป๋าเชือก

ได้เริ่มต้นจากการที่สมาชิกที่มีอยู่ในกลุ่มเข้ารับการฝึกอบรมการทำกระเป๋าเชือกพลาสติกทั้งหมด 2 คน จากโครงการที่เทศบาลตำบลกุดกว้างได้จัดขึ้นหลังจากผ่านการฝึกอบรมจึงได้นำมาต่อยอดเพื่อหวังที่จะฝึกฝนฝีมือและเสริมสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์จึงได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.. 2559

วัตถุประสงค์

1. เสริมสร้างอาชีพและฝึกทักษะการทำกระเป๋าให้แก่สมาชิก

2. ลดรายจ่ายสร้างรายได้ให้แก่สมาชิก

3. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

โครงสร้างกลุ่ม

1. นางมยุเรช   คำป้อง (ประธาน)

2. นางสุวัน    นาบุญถิ่น (รองประธาน)

3. นางบุญหลาย    พานุสิทธิ์ (เหรัญญิก)

4. นางเลียม   นอขุนทด (เลขานุการ)

5. นางนุชา     เนตรคำวงษ์ (กรรมการ)

     กลุ่มโรงสีข้าว

กลุ่มโรงสีข้าวจัดตั้งขึ้นเพื่อเสริมสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ชุมชนของตนเองใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์จึงได้รวมตัวคนภายในหมู่บ้านเพื่อที่อำนวยความสะดวกในการสีข้าวให้แก่คนในหมู่บ้านขนวนนครและหมู่บ้านใกล้เคียงได้ใช้บริการจึงได้จัดตั้งกลุ่มโรงสีขึ้นเมื่อปี พ.. 2559

วัตถุประสงค์

1. เพื่อนำมาใช้สีข้าวให้แก่คนในหมู่บ้านขนวนนครและหมู่บ้านใกล้เคียง

2. ลดรายจ่ายสร้างรายได้ให้แก่คนในหมู่บ้าน

3. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

4. เป็นแหล่งเสริมสร้างอาชีพให้แก่คนในชุมชน

โครงสร้างกลุ่ม

1. นายพรชัย   คลังคำภา (ประธาน)

2. นายสมร    ทีดี (รองประธาน)

3. นายประเสริฐ    ทีดี (รองประธาน

4. นางมยุเรช      คำป้อง (เหรัญญิก)

5. นายภูวดล      แซงเกศ (เลขานุการ)

6. นายแสงจันทร์    สิงห์ซอม (กรรมการ)

7. นายอานนท์    บุญทิน (กรรมการ

เดือน

กิจกรรมวัฒนธรรมประเพณี ด้านศาสนา

กิจกรรมด้านเศรษฐกิจ

ผลกระทบต่อสุขภาพ

มกราคม

1. บุญขึ้นปีใหม่ วันที่ 1 มกราคมของทุกปีประชาชนในหมู่บ้านจะร่วมกันทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุตและญาติผู้ที่ล่วงลับไปแล้วมีการจัดเลี้ยงเล็กๆ รับประทานอาหารร่วมกันอวยพรซึ่งกันและกันในเครือญาติ

2. บุญคูณลาน หรือ บุญสู่ขวัญข้าวจัดขึ้นในเดือนยี่ของทุกปี จึงทำให้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บุญเดือนยี่ซึ่งการทำบุญคูณลานของแต่ละพื้นที่จะจัดไม่พร้อมกัน ขึ้นอยู่กับการเก็บเกี่ยวข้าวว่าจะเสร็จช่วงไหน วันที่จะขนข้าว ขึ้นฉางข้าวจะเป็นวันทำบุญคูณลาน ก่อนที่จะทำการนวดข้าวนั้น จะทำพิธีย้ายพระแม่ธรณีออกจากลานเสียก่อน และบอกกล่าวพระแม่โพสพโดยมีเครื่องประกอบพิธี เช่น ใบคูณ ใบยอ ยาสูบ หมาก ไข่ ดอกไม้ ธูปเทียน เป็นต้น จากนั้นเมื่อพร้อมแล้วก็จะบรรจุลงในก่องข้าว (กระติบข้าว) ซึ่งเรียกว่า ขวัญข้าว ก่อนเชิญพระแม่ธรณีออกจากลานและบอกกล่าวพระแม่โพสพแล้วจึงนำเครื่องประกอบพิธีบางส่วนไปวางที่หน้ากองข้าว เสร็จแล้วเจ้าของนาตั้งอธิษฐาน แล้วก็ดึงเอามัดข้าวที่กองข้าวออกมานวดแล้วเอาฟ่อนข้าวที่นวดแล้วห่อกุ้มก่องข้าวมัดให้ติดกัน  เมื่อนวดเสร็จแล้ว ทำกองข้าวให้สูงสวยงาม เพื่อที่จะประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญข้าว วันงานก็จะบอกกล่าวญาติพี่น้องให้มาร่วมทำบุญ นิมนต์พระสงค์มาเจริญพระพุทธมนต์ เสร็จแล้วจึงถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ พระสงฆ์อนุโมทนาประพรมน้ำมนต์ นำน้ำมนต์ไปรดกองข้าว วัว ควาย เมื่อเสร็จพิธีทางสงฆ์แล้วก็จะเป็นการประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญแก่ข้าว ซึ่งจะทำที่ลานบ้าน

หลังจากสู่ขวัญเสร็จก็จะขนข้าวขึ้นฉางข้าว และเชิญขวัญข้าวและแม่โพสพขึ้นไปยังเล้าด้วย

1. ตัดอ้อย

2. ทำการเกษตรปลูกพืชไร่สวน

3. รับจ้างทั่วไป

1. บุญขึ้นปีใหม่ อาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ เนื่องจากมีการจัดเลี้ยง รับประทานอาหารร่วมกัน ซึ่งอาจมีการดื่มแอลกอฮอล์ร่วมด้วย อาจทำให้ขาดสติสัมปชัญญะ

2. ตัดอ้อย อาจก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย หรืออุบัติเหตุจากของมีคมที่ใช้ในการตัดอ้อย รวมทั้งเกิดฝุ่นเศษอ้อยตามบรรยากาศ จากการเผาอ้อย ซึ่งอาจมีผลต่อระบบทางเดินหายใจ

3. ทำการเกษตรปลูกพืชไร่สวน อาจก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย และการเจ็บป่วยจากการใช้ปุ๋ยเคมี หรือยาฆ่าแมลง

4. รับจ้างทั่วไป อาจก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย หรืออุบัติเหตุจากการทำงาน

กุมภาพันธ์

1. บุญข้าวจี่ การทำบุญข้าวจี่นั้นคนในหมู่บ้านมีความเชื่อว่าจะได้บุญกุศลมากโดยจะทำข้าวไปทำบุญที่วัดหรือตักบาตร

1. ตัดอ้อย

2. ทำการเกษตรเก็บเกี่ยวพืชผัก

3. รับจ้างทั่วไป

1. ตัดอ้อย อาจก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย หรืออุบัติเหตุจากของมีคมที่ใช้ในการตัดอ้อย รวมทั้งเกิดฝุ่นเศษอ้อยตามบรรยากาศ จากการเผาอ้อย ซึ่งอาจมีผลต่อระบบทางเดินหายใจ

2. ทำการเกษตรเก็บเกี่ยวพืชผัก อาจก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย และการเจ็บป่วยจากการใช้ปุ๋ยเคมี หรือยาฆ่าแมลง หรืออุบัติเหตุจากของมีคมที่ใช้ในในการเก็บเกี่ยวพืชผัก

3. รับจ้างทั่วไป อาจก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย หรืออุบัติเหตุจากการทำงาน

มีนาคม

1. บุญผะเหวด บุญที่ทำเกี่ยวกับเรื่องราวของพระเวสสันดร บุญพระเวสจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บุญเดือนสี่มหาชาติเป็นชาดกที่แสดงจริยวัตรของพระพุทธเจ้าคราวพระองค์เสวยชาติเป็นพระเวสสันดร เป็นหนังสือชาดกที่ยาวมาก 18 มี 14 ผูก แบ่งเป็น 13 กัณฑ์ การเทศน์มหาชาติในงานบุญเดือนสี่จะใช้เวลาตลอดทั้งวันตั้งแต่เช้ายันค่ำ จึงมีความเชื่อกันว่า หากใครฟังเทศน์เรื่องพระเวสสันดรจบภายในหนึ่งวัน จะได้รับอานิสงส์มาก การจัดสถานที่ต้องตกแต่งให้มีสภาพคล้ายป่า โดยเอาต้นอ้อย ต้นกล้วยมามัดตามเสาทุกต้นและขึงด้ายสายสิญจน์รอบศาลา ระหว่างเสาศาลาโรงธรรม ทำราวไม้ไผ่สูงเหนือศีรษะประมาณหนึ่งศอก ร้อยเมล็ดแห้งของผักเพกาหรือเม็ดมะขามด้วยเส้นด้ายยาวเป็นสาย แล้วนำไปแขวนไว้เป็นระยะ ๆ ในหมู่บ้านมีการแห่กัณฑ์หลอน แห่เป็นขบวน แห่รอบอุโบสถ 3 รอบ แล้วนำไปถวายพระ

1. ทำการเกษตรเก็บเกี่ยวพริก

2. ขายปลา

3. รับจ้างทั่วไป

1. ทำการเกษตรเก็บเกี่ยวพริก อาจก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย และการเจ็บป่วยจากการใช้ปุ๋ยเคมี หรือยาฆ่าแมลง

2. ขายปลา อาจเกิดอุบัติเหตุขณะจับปลา เช่น เกิดบาดแผลจากกางปลาทิ่มแทง หรือของมีคมที่ใช้ในการทำความสะอาดปลา

3. รับจ้างทั่วไป อาจก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย หรืออุบัติเหตุจากการทำงาน

เมษายน

1. บุญสรงปู่ หรือบุญสรงยอดห้วยซึ่งเป็นประเพณีที่จะทำก่อนวันสงกรานต์ซึ่งทางผู้นำชุมชนและชาวบ้านจะไปรวมกันที่ดอนกุโนนอุโมงค์ ซึ่งจะบูชาไหว้จะประกอบพิธีประมาณ 10 - 11 นาฬิกา ก่อนถึงวันงานจะมีการแจ้งรายละเอียดผ่านหอกระจายข่าวของหมู่บ้าน ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับวัน เวลา ในการทำพิธี โดยแต่ละบ้านจะนำของไปไหว้ เช่น ไก่ต้ม เหล้าขาว จัดดอกไม้ ธูป เทียน(ทำขัน5) หญ้าคาที่วัว ควายกิน ให้นำไปตามจำนวนวัว ควาย ปักธูปลงในของไหว้ จะมีผู้นำไหว้ และในการทำพิธีจะมีการเสี่ยงทายคางไก่ ถ้าคางไก่ยาวหรือแหลม จะมีความเชื่อว่าในปีนั้น ฝนจะตกดี ไม่แห้งแล้ง

2. บุญวันสงกรานต์ จะทำกิจกรรมหรือประกอบพิธีทางศาสนา เช่น ทำบุญ ตักบาตร ขนทรายเข้าวัด เลี้ยงพระฟังเทศน์ ปฏิบัติธรรม ทรงน้ำพระและรดน้ำดำหัวผู้อาวุโส อุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ และทำความสะอาดวัดและลานวัด รวมทั้งทำนุบำรุง จัดหาปัจจัยต่างๆ มาช่วยเหลือทำนุบำรุงวัด ซึ่งเทศกาลสงกรานต์ ถือเป็นงานที่ทุกคนจะได้ร่วมมือกัน ช่วยเหลือ ทำนุบำรุงศาสนา และสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่ต่อไปมีการนำน้ำหอมไปสรงพระพุทธรูปและรดน้ำผู้สูงอายุที่เป็นญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือเพื่อขอพรให้อยู่เย็นเป็นสุข

1. ทำการเกษตรปลูกพืชไร่สวน

2. ขายปลา

3. รับจ้างทั่วไป

1. ทำการเกษตรปลูกพืชไร่สวน อาจก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย และการเจ็บป่วยจากการใช้ปุ๋ยเคมี หรือยาฆ่าแมลง

2. ขายปลา อาจเกิดอุบัติเหตุขณะจับปลา เช่น เกิดบาดแผลจากกางปลาทิ่มแทง หรือของมีคมที่ใช้ในการทำความสะอาดปลา

3. รับจ้างทั่วไป อาจก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย หรืออุบัติเหตุจากการทำงาน

พฤษภาคม

 

1. จัดเตรียมไถกลบฟางข้าว (ไถแป)

2. รับจ้างทั่วไป

1. จัดเตรียมไถกลบฟางข้าว (ไถแป) อาจเกิดอุบัติเหตุจากการใช้รถไถ หรือฝุ่นละอองจากดินที่อาจมีผลต่อระบบทางเดินหายใจ รวมทั้งแสงแดดที่อาจส่งผลกระทบต่อผิวหนัง

2. รับจ้างทั่วไป อาจก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย หรืออุบัติเหตุจากการทำงาน

มิถุนายน

1. บุญซำฮะหรือบุญเบิกบ้าน นิยมทำกันในเดือนเจ็ด จัดทำได้ทั้งข้างขึ้นข้างแรม บุญซำฮะ คือ บุญซำระล้างสิ่งที่เป็นเสนียดจัญไร อันจะทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่บ้านเมือง ทำให้บ้านเมือง ไม่อยู่เย็นเป็นสุข เกิดโจรปล้นบ้าน ปล้นเมือง ฆ่าฟันรันแทง ผู้คนวัวควายล้มตายเพราะผีเข้า โดยในหมู่บ้านจะนำก้อนหินก้อนเล็กๆไปทำพิธีสวดโดยพระภิกษุ แล้วนำมาหว่านที่บริเวณรอบๆบ้าน มีความเชื่อว่าปกป้องสิ่งที่ไม่ดี บ้านเมืองมีเหตุเภทภัยต่าง ๆ จึงทำบุญชำระล้างสิ่งที่ทำให้เกิดเหตุเภทภัย ที่เป็นอัปมงคลให้หมดไป บางแห่งทำเมื่อฝนแล้งหรือไม่ตกต้องตามฤดูกาลเมื่อทำบุญนี้แล้ว เชื่อว่าจะทำให้ฝนตกและบ้านเมืองก็จะอยู่เย็นเป็นสุข เพราะจะได้ทำนาและปลูกพืชพันธ์ธัญญาหารต่างๆ

1. ทำการหว่านข้าว (หว่านกล้า)

2. เลี้ยงปลา

3. รับจ้างทั่วไป

1. ทำการหว่านข้าว (หว่านกล้า) อาจเกิดโรคฉี่หนู เนื่องจากมีการลุยน้ำ และโคลน รวมทั้งอาจเกิดการเจ็บป่วยจากใช้ปุ๋ยสารเคมี รวมทั้งอุบัติเหตุจากการหว่าน เช่น ลื่นล้ม

2. รับจ้างทั่วไป อาจก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย หรืออุบัติเหตุจากการทำงาน

กรกฎาคม

1. บุญเข้าพรรษา ในวันเพ็ญ เดือน 8 ตอนเช้าพุทธศาสนิกชนจะนำดอกไม้ ธูป เทียน ข้าวปลาอาหารมาทำบุญตักบาตรที่วัดหลังจากนั้น จะนำสบง จีวร ผ้าอาบน้ำฝน เทียนพรรษาและดอกไม้ ธูปเทียนมาถวายพระภิกษุที่วัดแล้วรับศีลฟังพระธรรมเทศนา ตอนกลางคืน ชาวบ้านจะนำดอกไม้ ธูป เทียน มารวมกันที่ศาลารับศีล แล้วเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ 3 รอบ หลังจากเวียนเทียนแล้วก็จะเข้าไปในศาลาโรงธรรมเพื่อฟังพระธรรมเทศนา ในวันรุ่งขึ้นเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชนจะทำบุญตักบาตร และในวันนี้จะมีการแห่ต้นเทียน ซึ่งได้เตรียมจัดทำเทียนพรรษา

1. เลี้ยงปลา

2. รับจ้างทั่วไป

1. รับจ้างทั่วไป อาจก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย หรืออุบัติเหตุจากการทำงาน

สิงหาคม

1. บุญข้าวประดับดิน ประวัติบุญข้าวประดับดิน บุญเดือน 9 ที่จัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้วและสัตว์นรกหรือเปรต การทำบุญข้าวประดับดินนั้น ชาวบ้านจะนำข้าวปลา อาหาร คาวหวาน ผลไม้ หมาก พลู บุหรี่ มาห่อด้วยใบตอง และทำเป็นห่อเล็ก ๆ ก่อนจะนำไปวางตามโคนต้นไม้ใหญ่หรือตามพื้นดินบริเวณรอบ ๆ เจดีย์ หรือโบสถ์ โดยการทำบุญข้าวประดับดินนี้ ชาวบ้านเชื่อว่า เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว รวมถึงอุทิศส่วนกุศลให้กับสัตว์นรก หรือเปรตนอกจากนี้  ยังถือว่าเป็นการให้ทานแก่ผู้ยากไร้รวมทั้งสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ ที่ต้องหิว อดมื้อกินมื้อมาตลอดทั้งปีอีกด้วย เพราะการที่ตั้งอาหารไว้ที่พื้นทำให้สัตว์เหล่านั้นสามารถเข้ามากินอาหารได้อย่างเต็มที่ พิธีกรรมบุญข้าวประดับดิน มีดังนี้

     - วันแรม 13 ค่ำ เดือน 9 ชาวบ้านจะเตรียมข้าวต้ม ขนม อาหารคาวหวาน หมาก พลู และบุหรี่ไว้ 4 ส่วน ส่วนหนึ่งเลี้ยงดูกันภายในครอบครัว ส่วนที่สองแจกให้ญาติพี่น้อง ส่วนที่สามอุทิศให้ญาติที่ตายไปแล้ว และส่วนที่สี่นำไปถวายพระสงฆ์

     - วันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 ชาวบ้านจะไปวัดตั้งแต่เวลาตี 4 เพื่อนำสิ่งของที่เตรียมไว้จัดใส่กระทง หรือเย็บเป็นห่อเหมือนข้าวสากไปวางอุทิศส่วนกุศลตามที่ต่าง ๆ ซึ่งการวางแบบนี้ เรียกว่า การวางห่อข้าวน้อย แต่หากเป็น20 การนำไปวางในวัด จะเรียกว่า การยาย (วางเป็นระยะ ๆ ) ห่อข้าวน้อย ซึ่งเวลานำไปวางจะพากันไปทำอย่างเงียบๆ ไม่มีการตีฆ้อง ตีกลองแต่อย่างใด

 - หลังจากวางเสร็จแล้ว ชาวบ้านจะกลับบ้านเพื่อเตรียมอาหารทำบุญที่วัดอีกทีหนึ่งในตอนเช้า เมื่อพระสงฆ์ฉันเช้าเสร็จก็จะเทศน์ฉลองบุญข้าวประดับดิน ต่อจากนั้น ชาวบ้านจะนำปัจจัยไทยทานถวายแด่พระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์ให้พรเสร็จ ชาวบ้านที่มาทำบุญก็จะกรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติผู้ที่ล่วงลับไปแล้วทุกๆคน

1. ทำการเกษตร (ดำนา)

2. รับจ้างทั่วไป

1. ทำการเกษตร (ดำนา)

อาจเกิดโรคฉี่หนู เนื่องจากมีการลุยน้ำ และโคลน อาจก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย เช่น ปวดหลัง ปวดเอว รวมทั้งวิงเวียนศีรษะ รวมทั้งแสงแดดที่อาจส่งผลกระทบต่อผิวหนัง

2. รับจ้างทั่วไป อาจก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย หรืออุบัติเหตุจากการทำงาน

กันยายน

1. การทำบุญข้าวสาก นิยมทำในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นประจำทุกปี ที่เรียกว่า บุญข้าวสากเนื่องจากเมื่อจัดทำข้าวปลาอาหาร และเครื่องไทยทานต่าง ๆ อุทิศให้ ผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยมีจุดประสงค์สำคัญ เพื่อมุ่งอุทิศส่วนกุศลให้ญาติสนิท เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย บิดา มารดา สามี ภรรยา พี่น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว และอาจอุทิศให้เปรตทั่วไป

ด้วย พิธีกรรมบุญข้าวสาก มีดังนี้

     - ตอนเช้า ชาวบ้านจะพากันนำอาหารคาวหวานต่างๆ ไปทำบุญตักบาตรที่วัด โดยพร้อมเพรียงกันและถวายทานอุทิศส่วนกุศลให้ญาติมิตรผู้ล่วงลับไปแล้ว

     - ตอนสาย ชาวบ้านจะนำข้าวปลาอาหารที่เตรียมไว้เป็นข้าวสากไปวัดอีกครั้งหนึ่ง เอาอาหารต่างๆ จัดเป็นสำหรับหรือชุดสำหรับถวายทาน โดยจัดใส่ภาชนะต่างๆก่อนที่จะถวายข้าวสากแด่พระภิกษุสามเณร จะกล่าว

คำถวายข้าวสากหรือสลากภัตพร้อมกัน เมื่อเสร็จพิธีถวายข้าวสากแล้ว ชาวบ้านที่ไปร่วมพิธีจะเอาห่อข้าวสากไปวางไว้ตามที่ต่างๆในบริเวณวัด พร้อมจุดเทียนและบอกกล่าวให้ญาติ หรือเปรตผู้ล่วงลับไปแล้วมารับเอาอาหารต่างๆที่วางไว้ และขอให้มารับส่วนกุศลที่ทำบุญอุทิศไปให้ด้วย

1. ทำการเกษตร (ดำนา)

2. ทำการเกษตรทั่วไป

3. รับจ้างทั่วไป

1. ทำการเกษตร (ดำนา)

อาจเกิดโรคฉี่หนู เนื่องจากมีการลุยน้ำ และโคลน อาจก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย เช่น ปวดหลัง ปวดเอว รวมทั้งวิงเวียนศีรษะ รวมทั้งแสงแดดที่อาจส่งผลกระทบต่อผิวหนัง

2. ทำการเกษตรทั่วไป

อาจก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย และการเจ็บป่วยจากการใช้ปุ๋ยเคมี หรือยาฆ่าแมลง

3. รับจ้างทั่วไป อาจก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย หรืออุบัติเหตุจากการทำงาน

ตุลาคม

1. บุญออกพรรษา พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรมใหญ่ที่เรียกว่า มหาปวารณาในวันออกพรรษา ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกันได้ เนื่องจากในระหว่างที่เข้าพรรษาอยู่ด้วยกัน พระสงฆ์บางรูปอาจมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข และการให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนก็จะทำให้รู้ข้อบกพร่องของตน อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ถามข้อสงสัยซึ่งกันและกันได้ด้วย พระผู้ใหญ่ก็กล่าวตักเตือนพระผู้น้อยได้ และพระผู้มีอาวุโสน้อยก็สามารถชี้แนะถึงข้อไม่ดีของพระผู้ใหญ่ได้เช่นกัน แม้พระผู้ใหญ่จะมีอาวุโสมากกว่า แต่ท่านก็มิได้สำคัญตนผิดคิดว่าท่านทำอะไรแล้วถูกไปหมดทุกอย่าง เพื่อเป็นเครื่องมือชี้ให้เห็นวิธีการคอยสังวร คือ ตามระวัง ไม่ประมาท ไม่ยอมให้ความเลวร้ายเกิดขึ้นได้ เหมือนล้อมรั้วไว้ก่อนที่วัวจะหาย ไม่ว่าจะอยู่ในเทศกาลเข้าพรรษาหรือออกพรรษา พระท่านจะประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ตามระบอบของพระธรรมวินัยอยู่ตลอดเวลา กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนปฏิบัติในวันออกพรรษา

      - ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ

      - ฟังพระธรรมเทศนา รักษาศีล ถวายสังฆทาน ถวายภัตตาหาร หรือจัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาที่วัด

และฟังพระธรรมเทศนาร่วมกุศลธรรม "ตักบาตรเทโว"

      - ประดับธงชาติและธงธรรมจักรตามวัด และสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา

1. รับจ้างทั่วไป

1. บุญออกพรรษา อาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ เนื่องจากมีการจัดเลี้ยง และดื่มแอลกอฮอล์ร่วมด้วย อาจทำให้ขาดสติสัมปชัญญะ และอาจเกิดอุบัติเหตุจากการเล่นประทัด จากการโดนสะเก็ด ซึ่งอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บได้

2. รับจ้างทั่วไป อาจก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย หรืออุบัติเหตุจากการทำงาน

 

พฤศจิกายน

1. บุญกฐิน ตามพระวินัยกำหนดกาลไว้ คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสในหมู่บ้านจะเป็นกฐินของประชาชน หรือ กฐินสามัคคี จะถวายกันที่ศาลาการเปรียญ การทำพิธีกฐินัตการกิจของพระสงฆ์ เริ่มจากการกล่าวคำขอความเห็นที่เรียกว่า อุปโลกน์ และการสวดญัตติทุติยกรรม คือการยินยอมยกให้ ต่อจากนั้นพระสงฆ์รูปที่ได้รับความยินยอม นำผ้าไตรไปครองเสร็จแล้วขึ้นนั่งยังอาสนเดิม ประชาชนผู้ถวายพระกฐินทานทายกทายิกา และผู้ร่วมบำเพ็ญกุศล ณ ที่นั้น เข้าประเคนสิ่งของอันเป็นบริวารขององค์กฐินตามลำดับจนเสร็จแล้ว พระสงฆ์ทั้งนั้นจับพัด ประธานสงฆ์เริ่มสวดนำด้วยคาถาอนุโมทนา ประธานหรือเจ้าภาพ กรวดน้ำ และรับพรจนจบ เป็นอันเสร็จพิธี

1. เก็บเกี่ยวข้าว

2. ปลูกอ้อย

3. รับจ้างทั่วไป

1. เก็บเกี่ยวข้าว อาจก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย เช่น ปวดหลัง ปวดเอว รวมทั้งวิงเวียนศีรษะ รวมทั้งแสงแดดที่อาจส่งผลกระทบต่อผิวหนัง

2. ปลูกอ้อย อาจก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย เช่น ปวดหลัง ปวดเอว

3. รับจ้างทั่วไป อาจก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย หรืออุบัติเหตุจากการทำงาน

ธันวาคม

1. บุญส่งท้ายปีเก่า ในคืนวันที่ 31 ธันวาคม เป็นวันสิ้นปี จะมีการสวดมนต์ข้ามปี โดยพระภิกษุจะเป็นผู้นำในการปฏิบัติธรรม และช่วงตอนเช้าวันที่ 1 มกราคม จะทำบุญตักบาตรเนื่องในเทศกาลขึ้นปีใหม่ พระภิกษุสามเณรจะเดินเรียงลำดับอาวุโสไปบิณฑบาตตามละแวกบ้าน เมื่อถึงหมู่บ้านที่ชาวบ้านกำลังรออยู่ ก็จะยืนเรียงเป็นแถว หรือการตักบาตรเป็นสังฆทาน

2. บุญข้าวกรรม หรือบุญเดือนเจียง ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ต้องอยู่กรรมถึงจะพ้นจากอาบัติ ญาติโยม พ่อออก แม่ออก ผู้อยากได้บุญกุศลก็จะให้ไปทาน รักษาศีลฟังธรรมเกี่ยวกับการเข้ากรรมของภิกษุ

เรียกว่า บุญเข้ากรรม กำหนดเอาเดือนเจียงเป็นเวลาทำ จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ วันที่นิยมทำเป็นส่วนมากคือวันขึ้น 15 ค่ำ

1. เก็บเกี่ยวข้าว

2. ปลูกอ้อย

3. รับจ้างทั่วไป

1. เก็บเกี่ยวข้าว อาจก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย เช่น ปวดหลัง ปวดเอว รวมทั้งวิงเวียนศีรษะ รวมทั้งแสงแดดที่อาจส่งผลกระทบต่อผิวหนัง

2. ปลูกอ้อย อาจก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย เช่น ปวดหลัง ปวดเอว

3. รับจ้างทั่วไป อาจก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย หรืออุบัติเหตุจากการทำงาน

ประวัติบุคคลสำคัญ

          นางสุด เกาะสมบัติ เกิดเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 เป็นบุตรคนที่ 4 ของนายสุ่ม เดชจำปา และนางดำ เดชจำปา และได้ย้ายไปอยู่กับพ่อสิงห์และแม่จันทร์ตั้งยังเล็ก  โดยซื้อต่อลูกพี่ลูกน้อง และเมื่ออายุ 26 ปี หรือ พ.ศ. 2532 ได้แต่งงานกับนายจำปี เกาะสมบัติ มีบุตรด้วยกัน 7 คน ดังนี้

1.      นางจันที เกาะสมบัติ อายุ 59 ปี

2.      นายประพันธ์ เกาะสมบัติ อายุ 56 ปี

3.      นายสุบรรณ เกาะสมบัติ อายุ 53 ปี

4.      นายนาวิน เกาะสมบัติ อายุ 51 ปี

5.      นายบุญทิน เกาะสมบัติ อายุ 50 ปี

6.      นายอดิศักดิ์ เกาะสมบัติ อายุ 47 ปี

7.      ยางบุญเกิด เกาะสมบัติ อายุ 59 ปี

          ภูมิลำเนาเดิม อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น

ประวัติการศึกษา เรียนที่โรงเรียนบ้านขนวน จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ประวัติการทำงาน

-        พ.ศ. 2479 - ปัจจุบัน ได้ทำอาชีพเกษตกรรม คือ ทำนา เลี้ยงวัว เลี้ยงควาย ตั้งแต่จเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

-        พ.ศ. 2495 - 2515 ทำโรงสีข้าว โดยการซื้อต่อจากลูกพี่ลูกน้อง และเปิดโรงสีข้าว

-        พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหมอจ้ำอย่างเป็นทางการ

          คติประจำใจในการทำงาน

                    การงานนี้ อุปสรรคแสนหมู่ เกิดเป็นคนต้องสู้ อย่าถอยร่นหลีกหนี

          ความภาคภูมิใจในการทำงาน

                    รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยรักษาบ้าน รักษาเมืองภายในชุมชน เป็นผู้สื่อสารระหว่างสิ่งลี้ลับกับชาวบ้าน และเป็นส่วนหนึ่งในสร้างขวัญและกำลังใจให้สมาชิกภายในหมู่บ้าน

คอยเป็นที่พึ่งให้สมาชิกในชุมชนและเมื่อสมาชิกในหมู่บ้านคนใดมีความทุกข์ทั้งทางร่างกายและจิตใจหรือจะไปทำงานสอบเข้าเรียนหรือสอบเข้าราชการก็จะมาให้แม่จ้ำพาไปขอพรบอกเล่ากับพ่อปู่ จนทำให้ผู้คนเหล่านี้ประสบความสำเร็จ หรือมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงทั้งทางร่างกายและจิตใจ รวมทั้งหายวิตกกังวล ก็รู้สึกดีใจ ภาคภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างขวัญและกำลังใจจนเขาเหล่านั้นประสบผลสำเร็จ

ผังเครือญาตินางสุด เกาะสมบัติ (แม่จ้ำ) จะเห็นได้ว่า นางสุด เกาะสมบัติ เป็นบุตรของ นางดำ เดชจำปากับนายสุ่ม เดชจำปา มีพี่น้องร่วมกัน 7 คน แต่เนื่องจากนางจันทร์ เดชจำปา ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้องสาวของนางดำ เดชจำปาไม่มีบุตรจึงขอนางสุด เกาะสมบัติมาเป็นลูกบุญธรรมตั้งแต่แรกเกิดทำให้ความสัมพันธ์ของนางสุดกับครอบครัวเดิมลดลงแต่ก็ยังมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติที่ดีต่อกัน ต่อมานางสุด สมรสกับนายจำปี เกาะสมบัติ มีบุตรร่วมกัน 7 คน และหลังจากนายจำปี เกาะสมบัติปัจจุบันอาศัยอยู่กับนายนาวิน เกาะสมบัติบุตรชายและครอบครัว ส่วนบุตรคนอื่นก็แยกครอบครัวออกไปแต่ก็อาศัยอยู่ใกล้เคียงกัน

อาชีพในรุ่นแรกที่มาตั้งหมู่บ้าน นายสิงห์และนางจันทร์ เดชจำปา อาชีพเกษตรกร ทำให้มีที่ดินมากและในรุ่นของนางสุด เกาะสมบัติทำอาชีพทางเกษตรกรรม เช่น การทำนาข้าว ปลูกผักสวนครัว ในรุ่นต่อๆ มา พบว่าลูกหลาน หันมาทำอาชีพลูกจ้างประจำ รับจ้างทั่วไป และทำเกษตรกรรมตามฤดูกาล

ระดับการศึกษาตระกูลเกาะสมบัติมีค่านิยมด้านการศึกษาที่ดี เล็งเห็นความสำคัญและปลูกฝังลูกหลานให้พยายามศึกษาในระดับที่สูงขึ้น เห็นได้ชัดว่าระดับการศึกษาสูงขึ้นในแต่ล่ะรุ่นจาก ประถม มัธยม ในปัจจุบัน

 โรคของตระกูลเกาะสมบัติ โดยรวมมีสุขภาพที่ดี ไม่ค่อยพบโรคประจำตัว จะมีแค่เพียงบางสายเครือญาติที่พบโรคเหมือนกันที่ชัดเจน คือ โรคความดันโลหิตสูง ในสายของนางสุด เกาะสมบัติ และนางสุด เกาะสมบัติก็มีโรคประจำตัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งการเกิดโรคพบในลักษณะถ่ายทอดทางพันธุกรรมร่วมด้วย จึงสรปุได้ว่า พันธุกรรมมีอิทธิพลต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง หากจะทำการแก้ปัญหาโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน ควรให้ความสำคัญกับสายเครือญาติที่ป่วยเป็นโรคทั้งสาย จึงจะเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุดและได้ผล

 การย้ายถิ่นฐาน สังเกตได้ว่าในรุ่นแรกๆ นั้นมีการย้ายถิ่นฐานน้อยมาก แต่ในรุ่นลูกหลานกลับพบว่ามีย้ายถิ่นฐานเยอะกว่า เหตุผลคือ การย้ายถิ่นฐานตามคู่ครอง และตามความจำเป็น ทางการงาน ทั้งนี้เนื่องจากรุ่นลูกหลานนั้นมักไม่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเหมือนรุ่นก่อน ทำให้มีความจำเป็นในการย้ายถิ่นฐานออกไปประกอบอาชีพมากขึ้น เห็นได้ชัดในสายของนางสุด เกาะสมบัติ

 

ร้านค้าของชำ ภายในหมู่บ้านมีร้านขายของชำจำนวน 6 แห่ง ชาวบ้านจะมาซื้อของเพื่อนำไปอุปโภค บริโภคในครัวเรือน เช่น น้ำปลา ซอสปรุงรสหรือเครื่องปรุงชนิดต่างๆ พริก กระเทียม อาหารแห้ง สบู่ ยาสีฟัน ยาสระผม ผงซักฟอก ขนมขบเคี้ยวต่างๆ มีการจำหน่ายยาประเภทยาลดไข้ ยาแก้ปวด ยาบรรเทาอาการหวัด ยาลดกรดในกระเพาะอาหารและยานวดบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ น้ำยาล้างแผล อีกทั้งยังจำหน่ายทั้งสุรา เบียร์ และบุหรี่ ๆ โดยร้านค้า 1 แห่งต่อประชากร 144 คน - รถพุ่มพวง ภายในหมู่บ้านมีรถพุ่มพวงจำนวน  1 คัน ชาวบ้านจะมาซื้อของสดเพื่อนำไปประกอบอาหาร เช่น ผักสด เนื้อสัตว์ เครื่องเทศต่างๆ เป็นต้น และซื้ออาหารสำเร็จรูปเพื่อนำไปบริโภค ซึ่งรถพุ่มพวงจะเปิดขายตลอดทั้งวัน และจะมีการขับตระเวนขายภายในหมู่บ้าน โดยรถพุ่มพวง 1 คันต่อประชากร 860 คน - ร้านขายอาหาร ภายในหมู่บ้านมีร้านขายอาหารจำนวน 3 แห่ง ชาวบ้านมักจะไปซื้ออาหารเพื่อบริโภค ซึ่งแบ่งเป็นร้านขายอาหารตามสั่ง 2 ร้าน และร้านขายลูกชิ้นทอด 1 ร้าน ซึ่งตั้งอยู่ริมถนน ผู้ประกอบอาหารส่วนใหญ่ใส่ผ้ากันเปื้อนแต่ไม่สวมหมวกคลุมผม มีการจัดสิ่งของเป็นระเบียบ ใช้มือหยิบจับอาหาร เช็ดมือที่ผ้ากันเปื้อน มีการใช้เครื่องปรุงรส เช่น ผงชูรส และซอสปรุงรสต่าง ๆ จำนวนมาก ร้านอาหาร 1 แห่งต่อประชากร 287 คน - โรงสีข้าว ภายในหมู่บ้านมีโรงสีข้าวจำนวน 1 แห่ง ซึ่งเป็นโรงสีข้าวขนาดเล็กที่ได้งบประมาณก่อสร้างจากโครงการประชารัฐ โดยโรงสีข้าวจะมีการประมูลเพื่อจัดตั้งประธานโรงสีและให้ชาวบ้านมาร่วมเป็นหุ้นส่วน ซึ่งจะมีการแบ่งเงินปันผลรายปีให้กับหุ้นส่วน ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะนำข้าวมาสีที่โรงสีข้าว บริเวณที่ตั้ง ตั้งอยู่นอกหมู่บ้านริมหนองน้ำ เวลาสีข้าวจะมีฝุ่นละอองจำนวนมากและมีเสียงดัง โดยโรงสีข้าว 1 แห่งต่อ 123 หลังคาเรือน - ศาลาประชาคม ภายในหมู่บ้านมีศาลาประชาคม 1 แห่ง ตั้งอยู่ที่บริเวณกลางหมู่บ้าน ติดกับเสาหลักบ้าน เป็นสถานที่ที่ชาวบ้านใช้จัดประชุมหรืออบรมกิจกรรมต่าง ๆ นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กระจายอินเทอร์เน็ตภายในหมู่บ้าน - ร้านซ่อมรถ ภายในชุมชนมีร้านซ่อมรถจำนวน 1 แห่ง เป็นสถานที่ที่คนในชุมชนจะนำรถจักรยานยนต์และรถจักรยานไปซ่อม ค่าบริการขึ้นอยู่กับอุปกรณ์การซ่อม โดยร้านซ่อม 1 แห่งต่อ 123หลังคาเรือน - สุขศาลา 1 แห่ง ภายในชุมชนมีสุขศาลาจำนวน 1 แห่ง เป็นสถานที่ที่ อสม.ในหมู่บ้านมาใช้ทำกิจกรรมต่างๆจัดการประชุมและเป็นสถานที่ที่ใช้สำหรับตรวจคัดกรองโรคเบื้องต้น แจกจ่ายยาสามัญประจำบ้าน  โดยสุขศาลา 1 แห่งต่อประชากร 123 หลังคาเรือน - ฝายน้ำล้น ภายในหมู่บ้านมีฝายชะลอน้ำจำนวน 1 แห่ง  ใช้เพื่อป้องกันน้ำท่วมและเก็บน้ำบริเวณต้นน้ำเพื่อบริหารน้ำไว้ใช้ในการทำเกษตรกรรม และใช้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของคนในชุมชน - สระน้ำสาธารณะ ภายในหมู่บ้านมีสระน้ำสาธารณะ 1 แห่ง ซึ่งใช้สำหรับทำการเกษตรและกักเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง - ศาลปู่ตา ภายในชุมชนมีศาลปู่ตาจำนวน 1 แห่ง เป็นสถานที่ที่คนในหมู่บ้านให้ความเคารพ บูชา เป็นที่พึ่งทางจิตใจของคนในชุมชน ชาวบ้านนิยมมาไหว้ขอพรเพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต - ศาลหลักบ้าน 1 แห่ง  ภายในชุมชนมีศาลหลักบ้านจำนวน 1 แห่ง เป็นสถานที่ที่คนในชุมชนให้ความเคารพ บูชา เป็นที่พึ่งทางจิตใจ ชาวบ้านนิยมมาไหว้ขอพรเพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและมักมีการจัดงานสักการะในทุกเทศกาลสำคัญ เช่น เทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์ เป็นต้น - วัดสวรรค์คงคาราม ภายในชุมชนมีวัด 1 แห่ง เป็นสถานที่ที่ชาวบ้านไปทำบุญตักบาตรในวันสำคัญทางพุทธศาสนา นอกจากใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนายังเป็นที่ตั้งของกลุ่มทอผ้าของชุมชนอีกด้วย - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านขนวนนคร ภายในชุมชนมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณตรงข้ามสุขศาลา ติดกับโรงเรียนบ้านขนวนนคร เป็นสถานที่ที่คนในชุมชนจะนำบุตรหลานของตนเองมาเข้าเรียนเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการ บริเวณศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีรั่วทั้ง 4 ด้านและมีประตูปิดมิดชิด มีความปลอดภัยเหมาะสมต่อการเป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - โรงเรียนบ้านขนวนนคร ภายในชุมชนมีโรงเรียน 1 แห่ง เป็นโรงเรียนขยายโอกาสที่มีการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล - ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น บางครอบครัวจะส่งบุตรหลานไปเรียนในโรงเรียนในเมือง นอกจากใช้เป็นสถานที่เรียนแล้ว ยังมีการเล่นกีฬาทีนนที่สนามกีฬาโรงเรียน บางครั้งก็มีการใช้สถานที่จัดกิจกรรมในวันสำคัญต่างๆ ในชุมชน - ตลาดนัดชุมชน ภายในชุมชนมีตลาดจำนวน 1 แห่ง เป็นสถานที่ที่ชาวบ้านจะออกมาซื้อ-ขายอาหาร ทั้งอาหารสด อาหารแห้ง รวมทั้งผักสดและผลไม้ ตั้งอยู่บริเวณลานของสุขศาลา จะเปิดทุกวันอาทิตย์ - ทรัพยากรน้ำ มีแม่น้ำที่สำคัญ คือ ลุ่มแม่น้ำเชิญ ลำห้วยกกก่าม ลำห้วยดอนปู่ตา ห้วยวังจั่น โดยประชาชนในหมู่บ้านจะใช้ในการเกษตรกร - ทรัพยากรป่าไม้ ป่าชุมชนปู่ตา อยู่บริเวณข้างสุขศาลาและศาลปู่ตา จำนวน 12 ไร่ ไม้ที่มีในป่าชุมชน ได้แก่ มะค่า ขนวน สัก แดง โก มะขาม - ทรัพยากรดิน ส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวปนทราย เหมาะสำหรับทำการเกษตร

ประชาชนบ้านขนวนนคร ใช้ภาษาถิ่นอีสานในการสื่อสารในชุมชน และใช้ภาษากลาง ภาษาไทยในการติอต่อสื่อสารกับหน่วยงานต่างๆ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล