Advance search

หนองเรือตระการ จักสานไม้ไผ่ ไก่ย่างทางพาด ตลาดกะหล่ำ เลิศล้ำเพชรพลอยเจียระไน พระใหญ่ภูเม็งทอง

หมู่ที่ 18
บ้านหนองแวง
กุดกว้าง
หนองเรือ
ขอนแก่น
รัตน์ดาวรรณ คลังกลาง
11 เม.ย. 2023
รัตน์ดาวรรณ คลังกลาง
11 เม.ย. 2023
veerapat srithamboon
27 พ.ค. 2023
บ้านหนองแวง


ชุมชนชนบท

หนองเรือตระการ จักสานไม้ไผ่ ไก่ย่างทางพาด ตลาดกะหล่ำ เลิศล้ำเพชรพลอยเจียระไน พระใหญ่ภูเม็งทอง

บ้านหนองแวง
หมู่ที่ 18
กุดกว้าง
หนองเรือ
ขอนแก่น
40210
16.48258
102.34284
เทศบาลตำบลเทศบาลตำบลกุดกว้าง

เมื่อปี พ.ศ. 2515 ได้มีนายเปลี่ยน หนูจันทร์พร้อมนายแย้ม คุณกลาง นายท้าว สร้อยลา นายเล็ง ศรีคำผุย นายน้อย หนูจันทร์ นายเฮียง สิงห์ศรี พร้อมครอบครัวได้ย้ายมาจากบ้านโนนดู่ หมู่ที่ 5 บ้านหนองแวงได้มาอยู่อาศัยที่โคกหนองแวง ซึ่งมีหนองน้ำขนาดใหญ่เนื้อที่ 32 ไร่ และมีต้นไม้ที่เป็นเอกลักษณ์ชื่อต้นแวงอยู่ด้วยเป็นที่มาของชื่อเรียกหนองแวง

ปี 2530 ได้มีนางเสถียร บุตรคำเวียง บุตรสาวของนายเปลี่ยน หนูจันทร์ หลังแต่งงานได้ขยับขยาย แบ่งพื้นที่ให้ญาติพี่น้องในตระกูล และเพื่อนบ้าน เข้ามาอยู่อาศัย จำนวน 30 ครัวเรือน 

ต่อมาเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2534 ได้ขอขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการโดยแยกออกจากบ้านโนนดู่ หมู่ที่ 5 ตำบลกุดกว้าง และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านใหม่ว่าเป็นบ้านหนองแวงหมู่ที่ 18 ตำบลกุดกว้าง โดยมีนายเปลี่ยน หนูจันทร์เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก

ปี 2548 มีไฟฟ้าเข้ามาถึงหมู่บ้าน และมีการทำถนนคอนกรีต และตัดผ่านถนนแบ่งบริเวณและสัดส่วนอย่างชัดเจนและมีการตรวจที่ดินและโฉนดอย่างชัดเจนเพื่อการสร้างถนนในครั้งนี้ ในช่วงนั้นมีชาวบ้านใช้น้ำบาดาลอยู่เป็นจำนวนมาก  การเกษตรส่วนใหญ่เป็นการทำนาทุกพื้นที่ สัตว์ที่เลี้ยงส่วนใหญ่ ทุกครัวเรือนคือ  วัวและควาย

ช่วง 10 ปีให้หลัง ประมาณปี 2558 ได้มีการปลูกอ้อยในหมู่บ้านจำนวนมาก เพราะขณะนั้นเศรษฐกิจช่วงนั้นราคาอ้อยค่อนข้างสูง ทำให้มีการปลูกอ้อยหลายครัวเรือน ผลกระทบที่เจอคือ เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยว เจ้าของไร่อ้อยจะเผาอ้อยเพื่อเก็บเกี่ยว ส่งผลให้เกิดมลพิษในอากาศ และ ฝุ่น เศษเผาอ้อย และเขม่าควันดำได้ปะปนไปกับน้ำฝนในโอ่งน้ำที่ชาวบ้านกักเก็บไว้ จนเกิดการรณรงค์และทำโครงการประชาสัมพันธ์ไม่ให้มีการเผาอ้อย ซึ่งโครงการไม่สำเร็จผลเท่าที่ควร จึงมีการจัดตั้งกฎในหมู่บ้าน หากเจ้าของไร่อ้อยทำการเผาอ้อยภายในหมู่บ้านหนองแวง จะปรับเงิน ไร่ละ 5,000 บาท  จึงทำให้ปัญหาการเผาไร่อ้อยหมดไป

ปี 2560 ประสบปัญหาเรื่องยาเสพติดในหมู่วัยรุ่น จึงมีการรณรงค์ให้มีการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยมีชื่อโครงการ หนองแวงเข็มแข็งเอาชนะยาเสพติด

ปี2564 บ้านหนองแวงประสบปัญหา ถนนลำเลียงผลผลิตทางการเกษตรและถนนสัญจรไปมาภายในหมู่บ้านไม่เพียงพอและชำรุดทางบ้านหนองแวงได้ของบประมาณในการแก้ปัญหาบริเวณที่ของนางประภาวรรณ ที่ของนายชม นาหนองตูม ยาว 600 เมตร  และปัญหาน้ำทิ้งน้ำเสียจากชุมชน จากการปล่อยน้ำทิ้งตามถนน ทำให้มีน้ำขัง หลายบริเวณ และเกิดยุงชุก โดยทางหมู่บ้านได้ประชุมหาแนวทางแก้ปัญหา และสรุปได้ว่าจะทำการขุดลอกท่อระบายน้ำ และซ่อมแซมท่อน้ำทิ้งที่ชำรุด รวมทั้งมีแม่อสม.นำทรายอะเบทมาแจก

ปี 2565 ปัจจุบันมี นายถนอม ทุมพรเป็นผู้ใหญ่บ้านหนองแวง 53 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 194 คน ชาย 99 คน หญิง 95 คน

สภาพพื้นที่ทางกายภาพ

บ้านหนองแวง หมู่ที่ 18 อยู่ในเขตการปกครองของตำบลกุดกว้าง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น การเดินทางเข้าสู่หมู่บ้านจากศาลากลางจังหวัดขอนแก่นสามารถเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวหรือรถยนต์โดยสารประจำทางโดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 12  ถนนมะลิวัลย์ จากศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ไปทางทิศตะวันตกผ่านอำเภอหนองเรือ รวมระยะทาง 54 กิโลเมตร สามารถแวะเที่ยวชมสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญคือ อุทยานแห่งชาติ ภูเวียง และพักรับประทานอาหารได้ที่ร้านไก่ย่างหนองเรือ

ที่ตั้งของชุมชนและอาณาเขต

ทิศเหนือ  ติดต่อกับบ้านโนนสง่า หมู่  16

ทิศใต้     ติดต่อกับหนองแปน

ทิศตะวันออก       ติดต่อกับบ้านหนองดินกี่ หมู่ที่ 14

ทิศตะวันตก        ติดต่อกับบ้านโนนดู่ หมู่ที่ 5

ลักษณะภูมิประเทศ

พื้นที่ส่วนใหญ่ในหมู่บ้านหนองแวง ร้อยละ 85 เป็นที่ราบลุ่มลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย มีแหล่งน้ำที่สำคัญ คือ หนองแปน พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ เช่น ปลูกข้าว ปลูกอ้อย เลี้ยงโคกระบือ

พื้นที่สาธารณะ และสาธารณูปโภคในชุมชน

การโทรคมนาคม ส่วนใหญ่มีโทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้และมีอินเทอร์เน็ตในชุมชน

การไฟฟ้า มีไฟฟ้าใช้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน

น้ำดื่ม น้ำดื่มส่วนมากจะเป็นน้ำถังจากโรงงานผลิตน้ำดื่ม และบางส่วนดื่มน้ำฝน

น้ำใช้ น้ำที่ใช้อุปโภคเป็นน้ำประปาของหมู่บ้าน น้ำมีความเพียงพอต่อการใช้ตลอดทั้งปี ไม่มีขาดแคลนและครอบคลุมทุกหลังคาเรือน

สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ

สถานที่สำคัญทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม

ทรัพยากรทางธรรมชาติ (ป่า แหล่งน้ำ พืช สัตว์ ฯลฯ)

สระหนองแวง สระน้ำของหมู่บ้านอยู่ด้านหลังของศาลากลางบ้าน แหล่งน้ำที่เป็นประโยชน์ ใช้สำหรับอุปโภคใช้ในครัวเรือนในหมู่บ้านหนองแวง และใช้สำหรับการเกษตร

บึงหนองแปน เป็นบึงขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติและมีการพัฒนาปรับปรุง โดยมีลำน้ำเชิญที่ไหลมารวมที่หนองแปน เริ่มต้นมาจากภูเขาในจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเป็นสายน้ำที่ใช้แบ่งเขตอำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิกับตำบลกุดกว้าง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น เป็นแหล่งน้ำสาธารณะของหลายๆ หมู่บ้าน มีน้ำเพียงพอตลอดทั้งปี ใช้ทำน้ำประปา และนำไปใช้สำหรับทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์

พื้นที่ที่มีกิจกรรมทางสังคม ประเพณี และเทศกาลต่าง ๆ

ปฏิทินชุมชนบ้านหนองแวง หมู่ที่ 18 ตำบลกุดกว้าง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น แสดงให้เห็น ถึงกิจกรรม ทางด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมวัฒนธรรม และอาชีพของชุมชนบ้านดงเย็น คือ อาชีพเกษตรกรรม (ทำนา-ทำไร่-ทำ สวน-ปศุสัตว์) อาชีพรับจ้างทั่วไป/รับจ้างรายวัน ค้าขาย/ทำธุรกิจส่วนตัว และอุตสาหกรรมในครัวเรือนตามลำดับ สำหรับด้านสังคมวัฒนธรรม พบว่าประเพณีพิธีกรรมความเชื่อวิถีชีวิต ทางสังคมและวัฒนธรรมที่สำคัญของชุมชนมี กิจกรรมประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อตลอดทั้งปี ดังนี้

มกราคม บุญขึ้นปีใหม่วันที่ 1 มกราคมของทุกปี ประชาชนในชุมชนจะร่วมกันทาบุญตักบาตร อุทิศส่วนบุญให้บรรพบุรุษและญาติผู้ ที่ล่วงลับไปแล้ว มีการจัดเลี้ยงเล็กๆ รับประทานอาหารร่วมกัน อวยพรซึ่งกัน และกันในเครือญาติ

บุญคูณลาน โดยปกติบุญคูณลานหรือบุญสู่ขวัญข้าว จะถูกจัดขึ้นในเดือนยี่ของทุกปี จึงทำให้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "บุญเดือนยี่" ซึ่งการทำบุญคูณลานของแต่ละพื้นที่จะจัดไม่พร้อมกัน ขึ้นอยู่กับการเก็บเกี่ยวข้าวว่าจะเสร็จช่วงไหน วันที่จะขนข้าวขึ้นฉางข้าว จะเป็นวันทำบุญคูณลานก่อนที่จะทำการนวดข้าวนั้น จะทาพิธีย้ายพระแม่ธรณีออกจากลานเสียก่อน และบอกกล่าวพระแม่โพสพโดยมีเครื่องประกอบพิธี เช่น ใบคูณ ใบยอ ยาสูบ หมาก ไข่ ดอกไม้ ธูปเทียน เป็นต้น จากนั้นเมื่อพร้อมแล้วก็จะบรรจุลงในก่องข้าว (กระติบข้าว) ซึ่งเรียกว่า ขวัญ ข้าว ก่อนเชิญพระแม่ธรณีออกจากลานและ บอกกล่าวพระแม่โพสพแล้วจึงนำเครื่องประกอบพิธีบางส่วนไปวางที่หน้ากองข้าว เสร็จแล้วเจ้าของตั้งอธิษฐาน แล้วก็ดึงเอา มัดข้าวที่กองข้าวออกมานวดแล้วเอาฟ่อนข้าวที่นวดแล้วมาห่อก้มก่องข้าวเมื่อนวด เสร็จแล้วทำก่องข้าวให้สูงสวยงาม เพื่อที่จะ ประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญข้าว วันงานก็จะ บอกกล่าวญาติพี่น้องให้มาร่วมทำบุญ นิมนต์พระสงค์มาเจริญพระพุทธมนต์ เสร็จแล้วจึงถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ พระสงฆ์อนุโมทนาประพรมนำ้มนต์ นาน้ามนต์ไปรด กองข้าว วัว ควาย เมื่อเสร็จพิธีทางสงฆ์แล้ว ก็จะเป็นการประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญแก่ ข้าว ซึ่งจะทำที่ลานบ้าน หลังจากสู่ขวัญ เสร็จก็จะขนข้าวขึ้นฉางข้าวและเชิญขวัญข้าวและแม่โพสพขึ้นไปยังเล้า

กุมภาพันธ์ บุญข้าวจี่ ชาวบ้านจะนัดวันขึ้น 15 ค่ำ ของเดือนสาม จะมีการจัดเตรียมข้าวจี่แต่ย่ำรุ่ง เพื่อให้สุกทันใส่บาตร โดยการปั้นข้าว เหนียวให้เท่ากับไข่เป็ดขนาดกลางแล้วคลุก เกลือย่างไฟพอสุกก็นามาคลุกไข่ไก่และ นำมาย่างไฟอีกรอบจนกว่าไข่จะสุก ประชาชนในหมู่บ้านมีความเชื่อว่าจะได้บุญกุศลมาก

มีนาคม บุญผะเหวด หรือบุญพระเวสสันดร หรือ บุญมหาชาติ เป็นประเพณีตามคติความเชื่อ ของชาวอีสานที่ว่า หากผู้ใดได้ฟังเทศน์เรื่อง พระเวสสันดรทั้ง 13 กัณฑ์จบภายในวันเดียว จะได้เกิดร่วมชาติภพกับพระศรีอริยเมตไตย บุญผะเหวดนี้จะทำติดต่อกันสาม วัน วันแรกจัดเตรียมสถานที่ตกแต่งศาลาการเปรียญ วันที่สองเป็นวันเฉลิมฉลองพระเวสสันดร ชาวบ้านร่วมทั้งพระภิกษุสงฆ์จาก หมู่บ้านใกล้เคียงจะมาร่วมพิธีมีทั้งการจัดขบวนแห่เครื่องไทยทานฟังเทศน์และแห่พระเวสสันดร โดยการแห่ผ้าผะเหวด (ผ้าผืนยาว เขียนภาพเล่าเรื่องพระเวสสันดร) ซึ่งสมมติ เป็นการแห่พระเวสสันดรเข้าสู่เมือง เมื่อถึงเวลาค่ำจะมีเทศน์เรื่องพระมาลัย ส่วนวันที่สามเป็นงานบุญพิธี ชาวบ้านจะร่วมกันตักบาตร ข้าวพันก้อน พิธีจะมีไปจนค่ำ ชาวบ้านจะแห่ฟ้อนราตั้งขบวนเรียงรายตั้งกัณฑ์มาถวายอานิสงฆ์อีกกัณฑ์หนึ่ง จึงเสร็จพิธีมูลเหตุของพิธีกรรมพระสงฆ์จะเทศน์เรื่องเวสสันดรชาดกจนจบ

เมษายน งานประเพณีสงกรานต์ ประชาชนในชุมชนจะมีการประกอบกรรมทางศาสนา เช่น ทำบุญตักบาตร เลี้ยงพระ ฟังเทศน์ สรงน้ำพระและรดน้ำดำหัว ผู้สูงอายุ และผู้ใหญ่ในชุมชน เพื่อขอพรให้อยู่เย็นเป็นสุข

พฤษภาคม ประเพณีการเลี้ยงผีปู่ตา เป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติและเป็นความเชื่อที่ว่าเมื่อถึงเดือน 3 (จะเป็นการเลี้ยงบ้านโดยการนำไข่ต้มสุกจำนวน 1 ฟองและพาหวาน พาหวานคือพลูหมาก,ยาสูบของหวานจะเป็นน้ำตาลหรือกล้วยก็ได้ ข้าวสุกอย่างละ 4 คำ) นำกาบกล้วยมาตัดเป็นรูปคนตามจำนวนคนในครัวเรือนนั้นพร้อมทั้งทำฝ้ายผูกข้อมือตามจำนวนคนในครัวเรือนไปเข้าพิธีด้วยพร้อมทั้งทำฝ้ายผูกข้อมือตามจำนวนคนในครัวเรือนไปเข้าพิธีด้วยขันน้ำหอมเพื่อนำไปรวมกันให้พ่อข้าวจ้ำทำพิธีเสร็จแล้วนำน้ำมนต์นั้นมาพรมบนหัวของในครอบครัว,รดเสาบ้านเพื่อเป็นสิริมงคลต่อไป และเดือน 6 ( เป็นการเลี้ยงปู่ตาก่อนการลงมือทำนาในปีฤดูการทำนาหากว่าชาวบ้านคนไหนลงมือไถนาก่อนจะถึงเดือนหกจะมีการปรับไหมด้วยการนำเอาเหล้า 1 ขวด ไก่ 1 ตัว ผลไม้ เงิน 100 บาทหรือจะมากกว่านี้ก็ได้ขึ้นกับว่ามีฐานะเป็นอย่างไร พร้อมด้วยพาหวานเป็นการเสียค่าปรับ กรณีนี้พ่อข้าวจ้ำก็จะทำพิธีให้ด้วยการนำทุกอย่างที่นำมาเสียค่าปรับใส่ภาชนะที่จะถวายปู่ตาและบอกกล่าวส่วนเงินปรับพ่อข้าวจ้ำก็จะเก็บรักษาเอา เพื่อบูรณะศาลปู่ตาและบริเวณรอบปู่ตา ) เมื่อเห็นว่าได้เวลาพอสมควรแล้วพ่อข้าวจ้ำก็ทำพิธีลาเพื่อนำสิ่งของที่นำมาถวายแบ่งให้ชาวบ้านนำไปรับประทานเพื่อเป็น ศิริมงคลต่อไป จะต้องมีการเลี้ยงปู่ตาเป็นประจำทุกปี จะทำให้คนในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีไม่มีเหตุร้ายเกิดขึ้นในชุมชนเพราะว่าปู่ตาจะปกป้องรักษาดูแล หากจะมีเหตุการณ์ที่ไม่ดีปู่ตาก็จะช่วยปกป้องได้

มิถุนายน บุญเบิกบ้าน เป็นบุญที่จัดขึ้นเพื่อทำพิธีปัดสิ่งรังควาน ขับไล่ความเสนียดจัญไรภูตผีปีศาจออกจากหมู่บ้าน บางแห่งเรียกว่า บุญเบิกบ้าน หรือบุญบ้านเป็นบุญที่แต่ละหมู่บ้านจะทำเป็นประจำ เป็นบุญเกี่ยวกับภูตผีปีศาจ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้าน ผีปู่ตา ผีตาแฮกมเหศักดิ์หลักเมือง ที่คอยคุ้มครองหมู่บ้าน ชาวบ้านเชื่อว่าจะรวมผี บรรพบุรุษอยู่ด้วย ที่ช่วยดลบันดาลให้ชาวบ้านมีความสุข ซึ่งบุญนี้จะเป็นการทำบุญตักบาตรในหมู่บ้าน และมีการขึงด้ายไปทั่วทุกหลังคาเรือน โดยนิมนต์พระ 4 - 9 รูปมาเจริญพุทธมนต์แล้ว มีพิธีผูกข้อต่อแขนซึ่งกันและกันของคนในหมู่บ้านที่ได้ฝ้ายจากการทำพิธีและมีการกรวดทรายหรือหินไปหว่านรอบ ๆ หมู่บ้าน หรือหลังคาบ้าน เพราะเชื่อว่าเป็นการกันผี หรือสิ่งจัญไรเข้าหมู่บ้าน นอกจากพิธีเหล่านี้ แล้วชาวบ้านก็จะเก็บสิ่งที่ไม่ดีออกจากบ้านตน เช่น ของเก่า เสื้อผ้าขาด ก่องข้าว เพื่อให้บ้านเรือนตนสะอาด บริสุทธิ์

กรกฎาคม ประเพณีเข้าพรรษา การที่พระสงฆ์อยู่ประจำอาวาสแห่งเดียวตลอด 3 เดือน ในฤดูฝนเรียกว่า “พรรษา”โดยปกติกำหนดเอาแรม 1 ค่ำเดือน 8 เป็นวันเข้าพรรษา ชาวบ้านจะมีการเตรียมเทียนเพื่อไปถวายวัด รวมทั้งเครื่องปัจจัยไทยทานต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องสาหรับให้แสงสว่าง แม้ปัจจุบันจะเจริญแล้วแต่ยังรักษาฮีตเดิมโดยการนำเทียน ตระเกียงน้ำมัน ธูปเทียนไปถวายเช่นเดิม และการนำถวายผ้าอาบน้ำฝนเพื่อใช้อาบน้ำช่วงฤดูฝน

สิงหาคม บุญข้าวประดับดิน เป็นบุญสิ้นเดือนเก้า ที่เรียกอีกอย่างว่า บุญข้าวสาก นำอาหารคาวหวาน หมากพลูบุหรี่จัดใส่กระทงวางไว้ บนพื้นใต้ต้นไม้เพื่อเป็นการเซ่นดวงวิญญาณของบรรพบุรุษที่มีความสำคัญต่อชาวอีสาน เพราะเชื่อว่าเป็นบุญที่ต้องส่งส่วย ให้กับผีฮักและผีบรรพบุรุษ เพื่อให้เกิดความเป็นอยู่ที่ดี มีทรัพย์สิน อาหารอุดมสมบูรณ์

กันยายน บุญข้าวสาก เป็นบุญที่ทำเพื่ออุทิศให้แก่ผู้ตายหรือเปรต โดยมีเวลาห่างจากบุญข้าว ประดับดินเพียง 15 วันเป็นเวลาที่เปรตต้องกลับไปอยู่ที่ของตน ซึ่งทั้งสองบุญนี้จะมีลักษณะคล้าย ๆ กัน คือการห่อข้าวส่งให้เปรต รวมทั้ง บรรพบุรุษญาติพี่น้องของผู้ทำบุญด้วยและเปรตไม่มีญาติด้วย

ตุลาคม ประเพณีออกพรรษา เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันออกพรรษา วันปวารนา เป็นบุญที่ความสำคัญเพราะเชื่อว่า พระสงฆ์ได้อยู่จำพรรษาเป็นเวลาไตรมาส (3 เดือน) ย่อมมีความบริสุทธิ์ จริยธรรมงดงามจะมาซึ่งบุญ และได้บุญมาก ชาวบ้านจะร่วมกันทำบุญตักบาตรเทโวที่วัด และฟังธรรมเทศนาและกลางคืนจะจุดประทีปเพื่อความสว่างไสวพร้อมมีการจุดปะทัดเสียงดังสนุกสนาน

พฤศจิกายน บุญกฐิน ‘‘กฐิน’’ คือ ไม้สะดึงที่ใช้สำหรับขึงผ้าเวลาจะเย็บผ้าจีวรพระในการเย็บให้สะดวกขึ้น จึงเป็นที่มาของผ้ากฐิน คือ ผ้าจีวร สบงหรือผ้านุ่งห่มที่จะนำไปถวายพระนั่นเอง บุญกฐินจึงคือบุญที่ต้องนำเข้าไปถวายพระเป็นสำคัญ บุญกฐินเป็นบุญฮีตสุดท้ายของฮีตเดือนสิบสองของชาวอีสาน ชาวอีสานจึงรู้ดีว่าช่วงนี้เป็นช่วงที่ต้องนำจีวรไปถวายในช่วงนี้ ซึ่งมีกาลเวลาที่เรียกว่า เทศกาลกฐินที่กลายเป็นประเพณีขึ้น ซึ่งมีความสำคัญต่อชาวอีสานมากที่ถือว่าเป็นให้อานิสงส์แก่ผู้ทำบุญอย่างมาก เพราะจะได้ถวายจีวรให้แก่ภิกษุที่ครบไตรมาส

ธันวาคม บุญข้าวกรรม หรือบุญเดือนเจียง ภิกษุ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ต้องอยู่กรรมถึงจะพ้นจากอาบัติ ญาติโยม พ่อออก แม่ออก ผู้อยากได้บุญกุศลก็จะให้ไปทาน รักษาศีล ฟังธรรมเกี่ยวกับการเข้ากรรมของภิกษุเรียกว่า “บุญเข้ากรรม” กำหนดเอาเดือนเจียงเป็นเวลาทำจะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ วันที่นิยมทำเป็นส่วนมากคือ วันขึ้น 15 ค่ำ

บุญส่งท้ายปีเก่า ในคืนวันที่ 31 ธันวาคม เป็นวันสิ้นปีจะมีการสวดมนต์ข้ามปี โดยพระภิกษุจะเป็นผู้นำในการปฏิบัติธรรม และช่วงตอนเช้าวันที่ 1 มกราคม จะทำบุญตักบาตรเนื่องในเทศกาลขึ้นปีใหม่ พระภิกษุ สามเณรจะเดินเรียงลำดับอาวุโสไปบิณฑบาตตามละแวกบ้าน เมื่อถึงหมู่บ้านที่ชาวบ้านหลังรออยู่ก็จะยืนเรียงเป็นแถว หรือการตักบาตรเป็นสังฆทาน

ลักษณะภูมิประเทศ

พื้นที่ส่วนใหญ่ในหมู่บ้านหนองแวง ร้อยละ 85 เป็นที่ราบลุ่มลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย มีแหล่งน้ำที่สำคัญคือ หนองแปน พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ เช่น ปลูกข้าว ปลูกอ้อย เลี้ยงโคกระบือ

ลักษณะภูมิอากาศ

โดยทั่วไปมีสภาพอากาศแบบทุ่งหญ้าเขตร้อน คือฝนตกสลับแห้งแล้งในฤดูหนาวได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือก่อให้เกิดสภาพอากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง ส่วนในฤดูฝน ได้รับอิทธิพลมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ก่อให้เกิดความชุ่มชื้น มีฝนตกโดยทั่วไป

ฤดูร้อน

เริ่มเข้าฤดูร้อนในช่วงเดือน มีนาคม - พฤษภาคม โดยทั่วไปมีสภาพอากาศแบบทุ่งหญ้าเขตร้อน คือแห้งแล้ง แต่ชุมชนบ้านหนองแวงมีแหล่งน้ำที่สำคัญคือ หนองแวงและหนองแปน ในการนำน้ำมาใช้ในชีวิตประจำวัน และทำการเกษตร ซึ่งทำให้มีน้ำใช้ตลอดปี ในช่วงฤดูร้อนเป็นฤดูที่เชื้อแบคทีเรียสามารถเจริญเติบโตได้ดี ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงได้ และอากาศร้อนอาจทำให้อาหารเน่าเสียได้ง่าย ซึ่งทำให้เกิดอาหารเป็นพิษได้

ฤดูฝน

เดือนมิถุนายน - กันยายน จะเป็นช่วงของฤดูฝน มีฝนตกตามฤดูกาล ในชุมชนไม่มีน้ำขังในภาชนะ เช่น ถ้วยเก่า กระป๋อง กระถาง เป็นต้น ที่จะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่อาจทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก และประชาชนในหมู่บ้านมักจะเป็นไข้หวัดในฤดูฝน

ฤดูหนาว

ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งมีลักษณะอากาศหนาวเย็นและแห้ง ซึ่งฤดูหนาวจะมีปัญหาเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินหายใจ คือ ไข้หวัด หอบหืด ซึ่งทักจะเกิดในเด็กและผู้สูงอายุ

ประชาชนบ้านขนวนนคร ใช้ภาษาถิ่นอีสานในกาจากข้อมูลการสำรวจของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ปี 2566 จำนวนครัวเรือนบ้านหนองแวง จำนวน 65 หลังคาเรือน ประชากรรวมทั้งหมด 270 คน  แบ่งเป็นประชากรชาย 139 คน หญิง 131 คน (เมษายน 2566) บ้านหนองแวง หมู่ที่ 18 ปี พ.ศ. 2565 พบว่า ประชากรเพศชายมากกว่าเพศหญิง ประชากรเพศชาย จำนวน 99 คน คิดเป็นร้อยละ 51.04 และเพศหญิง 95 จำนวน คน คิดเป็นร้อยละ 48.96รสื่อสารในชุมชน และใช้ภาษากลาง ภาษาไทยในการติอต่อสื่อสารกับหน่วยงานต่างๆ

ผู้คนในชุมชนบ้านบ้านหนองแวง มีการรวมกลุ่มทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ

กลุ่มที่เป็นทางการ

1) ผู้ใหญ่บ้าน 1 คน มีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สาวัตรกำนัน และมีคณะกรรมการ

1.ฝ่ายการบริหารหมู่บ้าน 

รายชื่อผู้นำชุมชน 

1.    นายถนอม ทุมพร(ผู้ใหญ่บ้าน)

2.    นางสมหมาย จำปาหวาย(ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน)

3.    นางสาวดวงใจ ศรีพลี(ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน)

รายชื่อคณะกรรมการหมู่บ้าน 

1.        นายถนอม ทุมพร

2.        นางสมหมาย จำปาหวาย

3.        นางดวงใจ ศรีพลี

4.        นายวิเวก เหลาทำ

5.        นายบุญช่วย ศรีพลี

6.        นางอนงค์ แสงฝ้าย

7.        นายธนบดี แก้วเหง้า

8.        นางจำรัส สนั่นพิทัก

9.        นางบุญเยี่ยม ชำนาญ

10.     นายประเสริฐ สีดา

11.     นางบุญส่ง ชนะเวท

12.     นายปรีชา สีขวา

กิจกรรมที่ดำเนินการ 

1.        บริหารจัดการ โครงการ รวมถึงงบประมาณต่างๆภายในชุมชน 

2.        ช่วยดูแลปัญหาต่างๆ ภายในชุมชน บำบัดทุกข์บำรุงสุข รับการร้องเรียนจากคนในชุมชน 

3.        จัดการประชุมหมู่บ้าน เพื่อรับฟังปัญหาจากคนในชุมชนอย่างสม่ำเสมอ 

4.        จัดประชาคมเพื่อฟังเสียงของคนในชุมชน จากนั้นจะนำเรื่องไปเสนอในที่ประชุมเทศบาล 

5.        ดึงงบประมาณมาจัดทำโครงการในหมู่บ้าน 

6.        ดูแลงานทะเบียนทั้งหมดในหมู่บ้าน และประสานงานกับอำเภอ 

2. คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน

1.        นายสมยง แสงฝ้าย (ประธาน)

2.        นางบรรจง บุปผาพวง (รองประธาน)

3.        นางสมหมาย จำปาหวาย (เลขา)

4.        นางจันทร์เพียง ไทยป้อม (เหรัญญิก)

5.        นางไข่มุก ผาทอง (กรรมการ)

6.        นายถาวร แสงฝ้าย (กรรมการ)

7.        นางจำรัจ สนั่นพิทัก (กรรมการ)

8.        นางสมควร เพียเขมร (กรรมการ)

9.        นางกรรณิกา โสงามี (กรรมการ)

กิจกรรมที่ดำเนินการ

1.        จัดตั้งคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านโดยคณะกรรมการหมู่บ้าน

2.        จัดทำระเบียบข้อบังคับการกู้ยืมกองทุน

3.        กำหนดระยะเวลาการเริ่มลงทะเบียนกู้ยืมและกำหนดให้ครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท

4.        ให้มีผู้คำประกันและกำหนดดอกเบี้ยและเวลาการคืนเงินที่ชัดเจน

5.        กองทุนกู้ยืมในชุมชนรวมทั้งสิ้นเป็นงบประมาณกู้ผ่านธนาคารธกส.จากรัฐบาลจัดสรรงบทั้งหมด 1 ล้านบาทต่อปี

3. ฝ่ายบริหารบุคคล

คณะกรรมการพัฒนาสตรีในชุมชน

1.        นางบรรจง บุบผาผวง (ประธานกลุ่ม)

2.        นางสวัสดิ์ จันทมาร (รองประธาน)

3.        นางอบ รวมสิทธิ์ (เลขา)

4.        นางนัฏยา แสงฝ้าย (เหรัญญิก)

5.        นางพรรณี จันทมาร

6.        นางประกาย จำปาหวาย

7.        นางคำปวน คุณกลาง

8.        นางบุญส่ง ชนะเวทย์ 

กิจกรรมที่ดำเนินการ

1.        จัดกิจกรรมอบรมรวมกลุ่มแม่บ้านสร้างงานสร้างรายได้ สอนเทคนิคการทำพรมเช็ดเท้า

2.        ให้สมาชิกที่มาเข้าร่วมมีการปรึกษากันจัดทำพรมเช็ดเท้าแล้วรวมกันไปขายที่ตลาดอาทิตย์ละ 1 ครั้ง ขายที่ตลาดหนองเรือ

3.        หลังส่งตัวแทนกลุ่มไปขายจะนำรายได้มาจัดสรรให้กับผู้ที่นำพรมมารวมไปขายตามจำนวนที่ทำได้อย่างเหมาะสม

4. ฝ่ายดูแลสุขภาพชุมชน

อาสาธารณสุขชุมชน

1.        นางเสถียร บุตรคำเวียง(ประธาน)

2.        นางบรรจง บุปผาพวง(รองประธาน)

3.        นางสมหมาย จำปาหวาย(รองประธาน)

4.        นางอุไร ทุมพร

5.        นายประเสริฐ สีดา

6.        นางธิติมา พรหมสิทธิ์     

กิจกรรมที่ดำเนินการ

      สมาชิกกลุ่ม อาสาสมัครเป็นสมาชิกด้วยตนเอง โดยกิจกรรมหลักในกลุ่มจะเป็นการดูแลสุขภาพและสิ่งแวดล้อมให้กับสมาชิกในชุมชน โดยทำงานร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลกุดกว้าง ใน 1 เดือน    ทาง อสม.จะมีการลงพื้นที่ตรวจสุขภาพและพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้กับสมาชิกในชุมชน ซึ่งทำร่วมกันกับคนในชุมชน

5. ปราชญ์ชาวบ้าน

1.        นายสไว มากพูนผล

2.        นางพรรณี จันทรมา

3.        นางสมหมาย จำปาหวาย

4.        นายถาวร แสงฝ้าย

กิจกรรมที่ดำเนินการ

  ร่วมกันดูแลเป็นที่พึ่งทางด้านจิตใจให้กับสมาชิกในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุขภาพ ด้านงานการเกษตร การนันทนาการเช่นหมอลำ เป็นต้น เป็นการดูแลซึ่งสุขภาพจิตใจของคนในชุมชน

2) กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)

กลุ่มไม่เป็นทางการ กลุ่ม/ชมรมต่างๆ

หมอพื้นบ้าน

กลุ่มพรมเช็ดเท้า

กองทุนปุ๋ย

กองทุนหมู่บ้าน

8. วิถีชีวิต: ปฏิทินชุมชนและชีวิตประจำวันปฏิทินชุมชนบ้านหนองแวง หมู่ที่ 18 ตำบลกุดกว้าง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น แสดงให้เห็น ถึงกิจกรรม ทางด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมวัฒนธรรม และอาชีพของชุมชนบ้านดงเย็น คือ อาชีพเกษตรกรรม (ทำนา-ทำไร่-ทำ สวน-ปศุสัตว์) อาชีพรับจ้างทั่วไป/รับจ้างรายวัน ค้าขาย/ทำธุรกิจส่วนตัว และอุตสาหกรรมในครัวเรือนตามลำดับ สำหรับด้านสังคมวัฒนธรรม พบว่าประเพณีพิธีกรรมความเชื่อวิถีชีวิต ทางสังคมและวัฒนธรรมที่สำคัญของชุมชนมี กิจกรรมประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อตลอดทั้งปี ดังนี้มกราคมบุญขึ้นปีใหม่วันที่ 1 มกราคมของทุกปี ประชาชนในชุมชนจะร่วมกันทาบุญตักบาตร อุทิศส่วนบุญให้บรรพบุรุษและญาติผู้ ที่ล่วงลับไปแล้ว มีการจัดเลี้ยงเล็กๆ รับประทานอาหารร่วมกัน อวยพรซึ่งกัน  และกันในเครือญาติบุญคูณลาน โดยปกติบุญคูณลานหรือบุญสู่ขวัญข้าว จะถูกจัดขึ้นในเดือนยี่ของทุกปี จึงทำให้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "บุญเดือนยี่" ซึ่งการทำบุญคูณลานของแต่ละพื้นที่จะจัดไม่พร้อมกัน ขึ้นอยู่กับการเก็บเกี่ยวข้าวว่าจะเสร็จช่วงไหน วันที่จะขนข้าวขึ้นฉางข้าว จะเป็นวันทำบุญคูณลานก่อนที่จะทำการนวดข้าวนั้น จะทาพิธีย้ายพระแม่ธรณีออกจากลานเสียก่อน และบอกกล่าวพระแม่โพสพโดยมีเครื่องประกอบพิธี เช่น ใบคูณ ใบยอ ยาสูบ หมาก ไข่ ดอกไม้ ธูปเทียน เป็นต้น จากนั้นเมื่อพร้อมแล้วก็จะบรรจุลงในก่องข้าว (กระติบข้าว) ซึ่งเรียกว่า ขวัญ ข้าว ก่อนเชิญพระแม่ธรณีออกจากลานและ บอกกล่าวพระแม่โพสพแล้วจึงนำเครื่องประกอบพิธีบางส่วนไปวางที่หน้ากองข้าว เสร็จแล้วเจ้าของตั้งอธิษฐาน แล้วก็ดึงเอา มัดข้าวที่กองข้าวออกมานวดแล้วเอาฟ่อนข้าวที่นวดแล้วมาห่อก้มก่องข้าวเมื่อนวด เสร็จแล้วทำก่องข้าวให้สูงสวยงาม เพื่อที่จะ ประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญข้าว วันงานก็จะ บอกกล่าวญาติพี่น้องให้มาร่วมทำบุญ นิมนต์พระสงค์มาเจริญพระพุทธมนต์ เสร็จแล้วจึงถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ พระสงฆ์อนุโมทนาประพรมนำ้มนต์ นาน้ามนต์ไปรด กองข้าว วัว ควาย เมื่อเสร็จพิธีทางสงฆ์แล้ว ก็จะเป็นการประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญแก่ ข้าว ซึ่งจะทำที่ลานบ้าน หลังจากสู่ขวัญ เสร็จก็จะขนข้าวขึ้นฉางข้าวและเชิญขวัญข้าวและแม่โพสพขึ้นไปยังเล้ากุมภาพันธ์บุญข้าวจี่ ชาวบ้านจะนัดวันขึ้น 15 ค่ำ ของเดือนสาม จะมีการจัดเตรียมข้าวจี่แต่ย่ำรุ่ง เพื่อให้สุกทันใส่บาตร โดยการปั้นข้าว เหนียวให้เท่ากับไข่เป็ดขนาดกลางแล้วคลุก เกลือย่างไฟพอสุกก็นามาคลุกไข่ไก่และ นำมาย่างไฟอีกรอบจนกว่าไข่จะสุก ประชาชนในหมู่บ้านมีความเชื่อว่าจะได้บุญกุศลมากมีนาคมบุญผะเหวด หรือบุญพระเวสสันดร หรือ บุญมหาชาติ เป็นประเพณีตามคติความเชื่อ ของชาวอีสานที่ว่า หากผู้ใดได้ฟังเทศน์เรื่อง พระเวสสันดรทั้ง 13 กัณฑ์จบภายในวันเดียว จะได้เกิดร่วมชาติภพกับพระศรีอริยเมตไตย บุญผะเหวดนี้จะทำติดต่อกันสาม วัน วันแรกจัดเตรียมสถานที่ตกแต่งศาลาการเปรียญ วันที่สองเป็นวันเฉลิมฉลองพระเวสสันดร ชาวบ้านร่วมทั้งพระภิกษุสงฆ์จาก หมู่บ้านใกล้เคียงจะมาร่วมพิธีมีทั้งการจัดขบวนแห่เครื่องไทยทานฟังเทศน์และแห่พระเวสสันดร โดยการแห่ผ้าผะเหวด (ผ้าผืนยาว เขียนภาพเล่าเรื่องพระเวสสันดร) ซึ่งสมมติ เป็นการแห่พระเวสสันดรเข้าสู่เมือง เมื่อถึงเวลาค่ำจะมีเทศน์เรื่องพระมาลัย ส่วนวันที่สามเป็นงานบุญพิธี ชาวบ้านจะร่วมกันตักบาตร ข้าวพันก้อน พิธีจะมีไปจนค่ำ ชาวบ้านจะแห่ฟ้อนราตั้งขบวนเรียงรายตั้งกัณฑ์มาถวายอานิสงฆ์อีกกัณฑ์หนึ่ง จึงเสร็จพิธีมูลเหตุของพิธีกรรมพระสงฆ์จะเทศน์เรื่องเวสสันดรชาดกจนจบเมษายนงานประเพณีสงกรานต์ ประชาชนในชุมชนจะมีการประกอบกรรมทางศาสนา เช่น ทำบุญตักบาตร เลี้ยงพระ ฟังเทศน์ สรงน้ำพระและรดน้ำดำหัว ผู้สูงอายุ และผู้ใหญ่ในชุมชน เพื่อขอพรให้อยู่เย็นเป็นสุขพฤษภาคม          ประเพณีการเลี้ยงผีปู่ตา เป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติและเป็นความเชื่อที่ว่าเมื่อถึงเดือน 3 (จะเป็นการเลี้ยงบ้านโดยการนำไข่ต้มสุกจำนวน 1 ฟองและพาหวาน พาหวานคือพลูหมาก,ยาสูบของหวานจะเป็นน้ำตาลหรือกล้วยก็ได้ ข้าวสุกอย่างละ 4 คำ) นำกาบกล้วยมาตัดเป็นรูปคนตามจำนวนคนในครัวเรือนนั้นพร้อมทั้งทำฝ้ายผูกข้อมือตามจำนวนคนในครัวเรือนไปเข้าพิธีด้วยพร้อมทั้งทำฝ้ายผูกข้อมือตามจำนวนคนในครัวเรือนไปเข้าพิธีด้วยขันน้ำหอมเพื่อนำไปรวมกันให้พ่อข้าวจ้ำทำพิธีเสร็จแล้วนำน้ำมนต์นั้นมาพรมบนหัวของในครอบครัว,รดเสาบ้านเพื่อเป็นสิริมงคลต่อไป และเดือน 6 ( เป็นการเลี้ยงปู่ตาก่อนการลงมือทำนาในปีฤดูการทำนาหากว่าชาวบ้านคนไหนลงมือไถนาก่อนจะถึงเดือนหกจะมีการปรับไหมด้วยการนำเอาเหล้า 1 ขวด ไก่ 1 ตัว ผลไม้ เงิน 100 บาทหรือจะมากกว่านี้ก็ได้ขึ้นกับว่ามีฐานะเป็นอย่างไร พร้อมด้วยพาหวานเป็นการเสียค่าปรับ กรณีนี้พ่อข้าวจ้ำก็จะทำพิธีให้ด้วยการนำทุกอย่างที่นำมาเสียค่าปรับใส่ภาชนะที่จะถวายปู่ตาและบอกกล่าวส่วนเงินปรับพ่อข้าวจ้ำก็จะเก็บรักษาเอา เพื่อบูรณะศาลปู่ตาและบริเวณรอบปู่ตา ) เมื่อเห็นว่าได้เวลาพอสมควรแล้วพ่อข้าวจ้ำก็ทำพิธีลาเพื่อนำสิ่งของที่นำมาถวายแบ่งให้ชาวบ้านนำไปรับประทานเพื่อเป็น ศิริมงคลต่อไป จะต้องมีการเลี้ยงปู่ตาเป็นประจำทุกปี จะทำให้คนในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีไม่มีเหตุร้ายเกิดขึ้นในชุมชนเพราะว่าปู่ตาจะปกป้องรักษาดูแล หากจะมีเหตุการณ์ที่ไม่ดีปู่ตาก็จะช่วยปกป้องได้มิถุนายนบุญเบิกบ้าน เป็นบุญที่จัดขึ้นเพื่อทำพิธีปัดสิ่งรังควาน ขับไล่ความเสนียดจัญไรภูตผีปีศาจออกจากหมู่บ้าน บางแห่งเรียกว่า บุญเบิกบ้าน หรือบุญบ้านเป็นบุญที่แต่ละหมู่บ้านจะทำเป็นประจำ เป็นบุญเกี่ยวกับภูตผีปีศาจ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้าน ผีปู่ตา ผีตาแฮกมเหศักดิ์หลักเมือง ที่คอยคุ้มครองหมู่บ้าน ชาวบ้านเชื่อว่าจะรวมผี      บรรพบุรุษอยู่ด้วย ที่ช่วยดลบันดาลให้ชาวบ้านมีความสุข ซึ่งบุญนี้จะเป็นการทำบุญตักบาตรในหมู่บ้าน และมีการขึงด้ายไปทั่วทุกหลังคาเรือน โดยนิมนต์พระ 4 - 9 รูปมาเจริญพุทธมนต์แล้ว มีพิธีผูกข้อต่อแขนซึ่งกันและกันของคนในหมู่บ้านที่ได้ฝ้ายจากการทำพิธีและมีการกรวดทรายหรือหินไปหว่านรอบ ๆ หมู่บ้าน หรือหลังคาบ้าน เพราะเชื่อว่าเป็นการกันผี หรือสิ่งจัญไรเข้าหมู่บ้าน นอกจากพิธีเหล่านี้ แล้วชาวบ้านก็จะเก็บสิ่งที่ไม่ดีออกจากบ้านตน เช่น ของเก่า เสื้อผ้าขาด ก่องข้าว เพื่อให้บ้านเรือนตนสะอาด บริสุทธิ์กรกฎาคมประเพณีเข้าพรรษา การที่พระสงฆ์อยู่ประจำอาวาสแห่งเดียวตลอด 3 เดือน ในฤดูฝนเรียกว่าพรรษาโดยปกติกำหนดเอาแรม 1 ค่ำเดือน 8 เป็นวันเข้าพรรษา ชาวบ้านจะมีการเตรียมเทียนเพื่อไปถวายวัด รวมทั้งเครื่องปัจจัยไทยทานต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องสาหรับให้แสงสว่าง แม้ปัจจุบันจะเจริญแล้วแต่ยังรักษาฮีตเดิมโดยการ       นำเทียน ตระเกียงน้ำมัน ธูปเทียนไปถวายเช่นเดิม และการนำถวายผ้าอาบน้ำฝนเพื่อใช้อาบน้ำช่วงฤดูฝนสิงหาคมบุญข้าวประดับดิน เป็นบุญสิ้นเดือนเก้า ที่เรียกอีกอย่างว่า บุญข้าวสาก นำอาหารคาวหวาน หมากพลูบุหรี่จัดใส่กระทงวางไว้ บนพื้นใต้ต้นไม้เพื่อเป็นการเซ่นดวงวิญญาณของบรรพบุรุษที่มีความสำคัญต่อชาวอีสาน เพราะเชื่อว่าเป็นบุญที่ต้องส่งส่วย ให้กับผีฮักและผีบรรพบุรุษ เพื่อให้เกิดความเป็นอยู่ที่ดี มีทรัพย์สิน อาหารอุดมสมบูรณ์กันยายนบุญข้าวสาก เป็นบุญที่ทำเพื่ออุทิศให้แก่ผู้ตายหรือเปรต โดยมีเวลาห่างจากบุญข้าว ประดับดินเพียง 15 วันเป็นเวลาที่เปรตต้องกลับไปอยู่ที่ของตน ซึ่งทั้งสองบุญนี้จะมีลักษณะคล้าย ๆ กัน คือการห่อข้าวส่งให้เปรต รวมทั้ง บรรพบุรุษญาติพี่น้องของผู้ทำบุญด้วยและเปรตไม่มีญาติด้วยตุลาคมประเพณีออกพรรษา เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันออกพรรษา วันปวารนา เป็นบุญที่ความสำคัญเพราะเชื่อว่า พระสงฆ์ได้อยู่จำพรรษาเป็นเวลาไตรมาส (3 เดือน) ย่อมมีความบริสุทธิ์ จริยธรรมงดงามจะมาซึ่งบุญ และได้บุญมาก ชาวบ้านจะร่วมกันทำบุญตักบาตรเทโวที่วัด และฟังธรรมเทศนาและกลางคืนจะจุดประทีปเพื่อความสว่างไสวพร้อมมีการจุดปะทัดเสียงดังสนุกสนานพฤศจิกายนบุญกฐิน ‘‘กฐิน’’ คือ ไม้สะดึงที่ใช้สำหรับขึงผ้าเวลาจะเย็บผ้าจีวรพระในการเย็บให้สะดวกขึ้น จึงเป็นที่มาของผ้ากฐิน คือ ผ้าจีวร สบงหรือผ้านุ่งห่มที่จะนำไปถวายพระนั่นเอง บุญกฐินจึงคือบุญที่ต้องนำเข้าไปถวายพระเป็นสำคัญ บุญกฐินเป็นบุญฮีตสุดท้ายของฮีตเดือนสิบสองของชาวอีสาน ชาวอีสานจึงรู้ดีว่าช่วงนี้เป็นช่วงที่ต้องนำจีวรไปถวายในช่วงนี้ ซึ่งมีกาลเวลาที่เรียกว่า เทศกาลกฐินที่กลายเป็นประเพณีขึ้น ซึ่งมีความสำคัญต่อชาวอีสานมากที่ถือว่าเป็นให้อานิสงส์แก่ผู้ทำบุญอย่างมาก เพราะจะได้ถวายจีวรให้แก่ภิกษุที่ครบไตรมาสธันวาคมบุญข้าวกรรม หรือบุญเดือนเจียง ภิกษุ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ต้องอยู่กรรมถึงจะพ้นจากอาบัติ ญาติโยม พ่อออก แม่ออก ผู้อยากได้บุญกุศลก็จะให้ไปทาน รักษาศีล ฟังธรรมเกี่ยวกับการเข้ากรรมของภิกษุเรียกว่า บุญเข้ากรรม กำหนดเอาเดือนเจียงเป็นเวลาทำจะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ วันที่นิยมทำเป็นส่วนมากคือ วันขึ้น 15 ค่ำบุญส่งท้ายปีเก่า ในคืนวันที่ 31 ธันวาคม เป็นวันสิ้นปีจะมีการสวดมนต์ข้ามปี โดยพระภิกษุจะเป็นผู้นำในการปฏิบัติธรรม และช่วงตอนเช้าวันที่ 1 มกราคม จะทำบุญตักบาตรเนื่องในเทศกาลขึ้นปีใหม่ พระภิกษุ สามเณรจะเดินเรียงลำดับอาวุโสไปบิณฑบาตตามละแวกบ้าน เมื่อถึงหมู่บ้านที่ชาวบ้านหลังรออยู่ก็จะยืนเรียงเป็นแถว หรือการตักบาตรเป็นสังฆทาน

ประวัติบุคคลสำคัญของชุมชนบ้านหนองแวง หมู่ที่ 18 ตำบลกุดกว้าง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น

บุคคลสำคัญของชุมชนบ้านหนองแวง หมู่ที่ 18 คุณพ่อม้วน  บุดดาหลู่ อายุ 78 ปี เป็นบุตรคนที่ 1  มีพี่น้องทั้งหมดจำนวน 6 คน ดังนี้

1.    นายนวล       บุดดาหลู่ 

2.    นายบุญสอน  บุดดาหลู่ 

3.    นายประสงค์  บุดดาหลู่

4.    นายหลง       บุดดาหลู่

5.    นางหล่วน      ปู่วงศ์

6.    นางคำป่าน     ปราชัย

คุณพ่อม้วน บุดดาหลู่ เกิดที่บ้านโนนสง่า หมู่ 16 อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่  24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 เมื่ออายุ 21 ปี ได้สมรสกับนางลอด บุญลอย มีบุตร 3 คน ดังนี้

1.  นายอดุลย์    บุดดาหลู่  ปัจจุบันอายุ 50 ปี ทำงานโรงงานอยู่ที่ อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ

2.  นางอรุณ      บุดดาหลู่  ปัจจุบันอายุ 45 ปี ทำธุรกิจส่วนตัวที่จังหวัด สมุทรสาคร

3.  นายไพรบูรณ์   บุดดาหลู่   ปัจจุบันอายุ 42 ปี เป็นพระภิกษุสงฆ์ที่วัดหนองแวง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น

คุณพ่อม้วน มีโรคประจำตัว คือ โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง , โรคไขมันในหลอดเลือดสูง และโรคภูมิแพ้

ประวัติการศึกษา จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนวัดบ้านหว้า เมื่อวันที่  11 มีนาคม พ.ศ.2500

ประวัติการทำงาน

•   พ.ศ. 2500 จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และได้ทำงานรับจ้างที่โรงสี กม.52

•   พ.ศ. 2531 ได้ผ่านการอบรมตามหลักสูตรอาสาสมัครป้องกันและต่อต้านอาชญากรรมหมู่บ้าน

•   พ.ศ. 2532 ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิหมู่ที่ 5 ตำบลกุดกว้าง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น

•   พ.ศ. 2535 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการวัดหนองแวง ตำบลกุดกว้าง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น

•   พ.ศ. 2537 เป็นผู้สำเร็จการอบรมตามหลักสูตรอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อสม.

•   พ.ศ. 2540 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่ที่ 18 ตำบล กุดกว้าง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ได้ผ่านการอบรมในโครงการการพัฒนาความสามารถในการดูแลผู้ติดเชื้อเอดส์ผู้ป่วยเอดส์ในครอบครัวและชุมชน

•   พ.ศ. 2541 ได้ผ่านการอบรมความรู้กฎหมายเบื้องต้นและโครงการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนทั่วประเทศ ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลโดยกระทรวงยุติธรรม สำเร็จการฝึกอบรมหลักสูตรลูกเสือชาวบ้านขั้นต้น

•   พ.ศ. 2543 ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครองหมู่ที่ 18 ตำบลกุดกว้าง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น

    - เป็นผู้สำเร็จการฝึกอบรม ตามหลักสูตรการฝึกอบรมอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.)

    - ได้ผ่านการอบรมตามโครงการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและกระบวนการยุติธรรมเบื้องต้นสำหรับประชาชน

     - ได้เข้าร่วมการฝึกอบรมอาสาพัฒนาปศุสัตว์ประจำหมู่บ้าน (อพปม.) และได้รับการแต่งตั้งเป็นอาสาพัฒนาปศุสัตว์ประจำหมู่บ้าน

•   พ.ศ. 2546 เป็นผู้ประสานพลังแผ่นดิน อุทิศกำลังกาย กำลังใจในการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดเป็นผลดีต่อทางราชการและประชาชนได้รับการยกย่องสรรเสริญเป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุคคลทั้งหลาย

•   พ.ศ. 2548 ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครองหมู่ที่ 18 ตำบลกุดกว้าง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น สมัยที่ 2 ปัจจุบัน ได้รับแต่งตั้งเป็นมรรคทายกประจำหมู่บ้าน

คติประจำใจ ซื่อสัตย์  อยู่ร่วมกันเป็นพี่น้อง ทำให้ครอบครัวอบอุ่น

ความภูมิใจ ภูมิใจที่ได้รับการแต่งตั้งและเลือกตั้งให้ทำหน้าที่ต่างๆในการเป็นผู้นำชุมชน ได้เสียสละเพื่อส่วนรวม ทำคุณประโยชน์แก่ชุมชน  รู้สึกภูมิใจที่สมาชิกในชุมชนไว้วางใจ มีความเชื่อมั่น ให้เป็นผู้นำในหลายๆอย่าง ภูมิใจในตนเองและมีความรู้สึกปลาบปลื้มใจที่สมาชิกในครอบครัวก็ภูมิใจในตัวของตัวเองเช่นกัน ที่สามารถเป็นแบบอย่างที่ดี เปลี่ยนแปลงตัวเองไปในทางที่ดีขึ้น พัฒนาตัวเองอยู่เสมอ เป็นหัวหน้าครอบครัวที่อบอุ่น ทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ เป็นที่รักใคร่ของลูกหลาน การได้ ทำสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยได้ทำ ทำให้มีประสบการณ์ที่หลากหลาย และแตกต่างกัน รู้สึกว่าตัวเองได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบัน และตั้งใจว่าจะเรียนรู้ตลอดชีวิต

วัดพุทธ 1 แห่ง (วัดหนองแวง) มีวัดพุทธในชุมชน 1 แห่ง เป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ซึ่งชาวบ้านมักจะไปทำบุญตักบาตรในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและยังเป็นศูนย์รวมในการมาร่วมกันทำกิจกรรม รวมทั้งเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของชุมชน มีผลต่อแบบแผนการดำเนินชีวิตและสุขภาพจิตใจของคนในชุมชน หอกระจายข่าว 1 แห่ง เป็นแหล่งประโยชน์ใช้เพื่อกระจายข่าวสารให้กับประชาชนในชุมชนได้รับทราบ หรือใช้เพื่อการกระจายเสียงสำหรับการให้ข้อมูลหรือความรู้ต่าง ๆ เช่น การตรวจสุขภาพประจำปี การประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของชุมชนในวันสำคัญต่าง ๆ เป็นต้น ศาลาประชาคม 1 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณกลางหมู่บ้าน ศาลาประชาคมใช้สำหรับทำกิจกรรมของชุมชน กองทุนหมู่บ้าน 1 แห่ง เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ และบรรเทาเหตุจำเป็นเร่งด่วนของชุมชนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชน ส่งผลต่อสังคมเศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรม ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งขึ้นและสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ส่งผลให้การกินดีอยู่ดีของประชาชนในหมู่บ้านดีขึ้น ร้านค้าขายของชำ 3 แห่ง เป็นแหล่งประโยชน์ใช้กระจายสินค้าอุปโภค บริโภค ตั้งแต่ของใช้ เครื่องใช้ในครัวเรือน จนถึงอาหารการกิน อาหารแห้งพวกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง จนถึงอาหารสำเร็จรูป หมูปิ้ง ไก่ปิ้ง สะดวก สะอาด และราคาถูก ตู้บุญเติม 1 แห่ง ตั้งอยู่กลางหมู่บ้าน ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกลาง 2 ร้านค้าใหญ่ๆ เป็นตำแหน่งที่เหมาะสมเพราะทำให้มีคนสัญจรไปมา และใช้ประโยชน์จากตู้ได้ง่ายขึ้น ร้านซ่อมเครื่องยนต์ จำนวน 2 แห่ง แหล่งประโยชน์เป็นร้านซ่อมเครื่องยนต์ พวกรถพาหนะที่ใช้ขับขี่ ปะยาง สูบลม เติมน้ำมันรถให้คนในหมู่บ้าน ร่วมทั้งรถยนต์ รถพ่วงขนาดใหญ่ เนื่องจากในหมู่บ้านมีการเพาะปลูกอ้อยจำนวนมาก จึงมีการใช้รถเพื่อการเกษตรเป็นจำนวนมาก และเจอปัญหาเหล่านี้บ่อยครั้ง จึงมีร้านซ่อมรถ 2 แห่งที่สะดวกและพร้อมให้บริการ แหล่งบริการทางด้านสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดกว้าง เป็นหน่วยบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ ให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นกับฟื้นฟูสมรรถภาพ จึงดูแลประชาชนตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เกิด การดำรงชีพ จนตาย ได้แก่ การตรวจรักษาพยาบาลขั้นต้น การฝากครรภ์ การให้บริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (การให้วัคซีนเด็ก) การดูแลโภชนาการ งานอนามัยโรงเรียน การคุ้มครองผู้บริโภค การคัดกรองภาวะผิดปกติต่างๆ และบริการอื่นๆ ให้กับชุมชน โรงพยาบาลหนองเรือ เป็นหน่วยบริการสาธารณสุขระดับทุติยภูมิ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลในระดับอำเภอ  มีภารกิจหลัก 4 ด้าน คือ ส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค รักษาพยาบาล และฟื้นฟู เป็นสถานบริการที่มีความพร้อมทางด้านอุปกรณ์ รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ มากกว่าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดกว้าง

ประชาชนบ้านหนองแวง ใช้ภาษาถิ่นอีสานในการสื่อสารในชุมชน และใช้ภาษากลาง ภาษาไทยในการติอต่อสื่อสารกับหน่วยงานต่างๆ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล