ชุมชนที่ติดถนนมะลิวัลย์ อาชีพส่วนใหญ่คือการทำไก่ย่างขายตามถนนที่รู้จักกันดีคือไก่ย่างภูเวียง
ชุมชนที่ติดถนนมะลิวัลย์ อาชีพส่วนใหญ่คือการทำไก่ย่างขายตามถนนที่รู้จักกันดีคือไก่ย่างภูเวียง
บ้านหนองไผ่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2420 โดยนายโหมก น้อยนา ซึ่งเดินทางมาจากอําเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ พื้นที่ดังกล่าวมีความเหมาะสมในการตั้งถิ่นฐานเพราะมีหนองน้ขนาดใหญ่และมีไม้ไผ่ล้อมรอบ บริเวณนั้น จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านหนองไผ่” ตามลักษณะภูมิประเทศ ในช่วงนั้นคนในชุมชนประกอบอาชีพทํานาและรับจ้างทั่วไป น้ําที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคคือน้ําในหนองปลาขยุ้ม ในระยะต่อมาซึ่งไม่ทราบปี พ.ศ. นายถึง ถมมา ซึ่งเป็นลูกชายของนายโหมก น้อยนา ได้รับแต่ตั้งจากชาวบ้านให้เป็นผู้ใหญ่บ้าน ในช่วงนั้น ได้มีการระบาดของโรคอหิวาตกโรค โรคคุดทะราด โรคฝีดาษ โรคไข้จับสั่น และโรคเลื่อน ในปี พ.ศ.2511-2520 ได้มีการจัดตั้งสุขศาลาแห่งแรกที่ตําบลหนองเรือ และคนในชุมชนได้เข้ารับบริการวัคซีน ณ สุขศาลา ดังกล่าว รวมทั้งได้มีหมอต่างประเทศเข้ามารักษาโรคระบาดดังกล่าวส่งผลให้โรคระบาดดังกล่าวหายไปจากหมู่บ้าน ซึ่งในสมัยนั้นมีนายหงส์ เสียงดัง เป็นผู้ใหญ่บ้าน ต่อมาในปี 2521 นายหงส์ เสียงดัง หมดวาระ ผู้ใหญ่บ้านจึงมีการเลือกผู้ใหญ่บ้านคนใหม่คือนายสว่าน มูลทุ่ม ได้ดํารงตําแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ดํารงตําแหน่งอยู่ 2 ปีก็ถูกยิงเสียชีวิต นายสงวน เสียงดัง จึงได้รับการเลือกตั้งให้เป็นผู้ใหญ่บ้านในปีพ.ศ. 2523 ดํารงตําแหน่งถึง
ปี 2541 ในช่วงนั้นมีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงคือ มีการแยกหมู่บ้านออกเป็น2 หมู่บ้านคือบ้านหนองไผ่ หมู่1 และ บ้านหนองไผ่พัฒนา หมู่ 21ในปัจจุบัน นายสงวน เสียงดัง ดํารงตําแหน่งผู้ใหญ่บ้านหนองไผ่ หมู่1 ในช่วงนั้น ได้มีการขุดลอกบึงหนองไผ่ไว้สําหรับใช้น้ําอุปโภคบริโภคเนื่องจากน้ําในหนองปลาขยัมมีปริมาณน้อยไม่เพียงพอในการอุปโภคบริโภค เริ่มมีถนนลาดยางในหมู่บ้านซึ่งเมื่อก่อนเป็นถนนลูกรัง มีไฟฟ้าใช้ในหมู่บ้าน และชาวบ้านในชุมชนมีห้องน้ําทุกหลังคาเรือน100% ในปี2533 ได้มีโรงงานน้ําตาลมาก่อตั้งในอําเภอหนองเรือ ส่งผลให้ชาวบ้านในชุมชนหันมาปลูกอ้อยส่งนายทุน ทําให้คนในชุมชนมีการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในปี 2541 นายสงวน สองทั้งหมดวาระ นายอํานวย จันทร์แสง ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นผู้ใหญ่บ้านในวาระถัดมา จนกระทั้งหมด วาระในปี พ.ศ.2546 และนาง ดีเสวต ภูมิโสม ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นผู้ใหญ่บ้านคนถัดมา หมดวาระในปี2551
นายสนอง กินนารี ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นผู้ใหญ่บ้านคนถัดมา ในปี 2556ผู้ใหญ่บ้านหมดวาระ นายสมนึก สิ่งทา ดํารงตําแหน่งผู้ใหญ่บ้านคนถัดมาจนถึงปัจจุบัน คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทํานา และรับจ้างทั่วไป
บ้านหนองไผ่ หมู่ที่ 1 อยู่ในเขตการปกครองของตําบลกุดกว้าง อําเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ลักษณะพื้นที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตําบลกุดกว้าง มีพื้นที่ทั้งหมด 850 ไร่ ที่อยู่อาศัย 258 ไร่
การเดินทางเข้าสู่หมู่บ้านจากศาลากลางจังหวัดขอนแก่น สามารถเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวหรือ รถยนต์โดยสารประจําทางโดยใช้ทางหลวงหมายเลข 12 ถนนมะลิวัลย์จากศาลากลางจังหวัดขอนแก่นไปทาง ทิศตะวันตก ผ่านอําเภอบ้านฝาง-อําเภอหนองเรือ ระยะทาง 48 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวเข้าสู่ถนนโยธาธิการ หนองไผ่-กุดกว้างประมาณ 500 เมตรเข้าสู่บ้านศาลาประชาคมหมู่บ้านหนองไผ่ หมู่ 1
อาณาเขตที่ตั้ง
ทิศเหนือ ติดต่อกับถนนมลิวัลย์ และตําบลโนนทัน
ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านโคกสูง หมู่ที่ 2
ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านหนองไผ่ หมู่ที่ 21
ทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านหนองกุง หมู่ที่ 15
- สภาพภูมิประเทศของบ้านหนองไผ่ หมู่ที่ 1 ตําบลกุดกว้าง อําเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น
โดยทั่วไปจะเป็นพื้นที่ราบ อยู่สูงกว่าระดับน้ําทะเลปานกลาง โดยเฉลี่ย 100 - 200 เมตร ประกอบด้วย
ลักษณะภูมิประเทศ ดังนี้ ที่ราบเชิงเขาและที่ราบลุ่ม โดยมีลุ่มแม่น้ําสําคัญ ได้แก่ ลุ่มแม่น้ําเชิญ ซึ่งเหมาะ
สําหรับทําการเกษตร มีดินร่วนปนทราย และดินเหนียว กักเก็บน้ําดี เหมาะแก่การทําการเกษตรและปลูกอ้อย
ลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้น มี 3 ฤดู ดังนี้
1) ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงต้นเดือนพฤษภาคม อากาศจะร้อนจัดในช่วง เดือน
เมษายนของทุกปี
2) ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนกลางเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนปลายเดือนตุลาคม โดยจะมีฝนตกชุก
ในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายายนของทุกปี
3) ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยทั่วไปจะมีอากาศหนาวจัดในช่วง
เดือนธันวาคมจนถึงเดือนมกราคมของทุกปี แต่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศมากซึ่งจะเป็น
อากาศหนาวแบบสุดขั้ว
พบว่า บางปีหากแล้งปริมาณน้ําในการเกษตรจะไม่เพียงพอต่อการทําเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ หรือ
ใช้อุปโภคบริโภค แต่ยังมีบางปีที่น้ําท่วม ทําให้ส่งผลกระทบต่อการดํารงชีวิตและการเกษตร
จากข้อมูลการสำรวจของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ปี 2566 จำนวนครัวเรือนและประชากรของบ้านหนองไผ่ จำนวน 213 หลังคาเรือน ประชากรรวมทั้งหมด 695 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 349 คน หญิง 346 คน (เมษายน 2566)
จํานวนประชากรกลุ่มตัวอย่างจากการสํารวจเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2562 พบว่า มีประชากรทั้งหมด 422 คน เป็นเพศชาย 190 คน คิดเป็นร้อยละ 45.02 เป็นเพศหญิง 232 คน คิดเป็นร้อยละ 54.97 จํานวน 139
โครงสร้างองค์กรชุมชนแบ่งเป็นกลุ่มที่เป็นทางการ และกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ
กลุ่มที่เป็นทางการ
ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน
วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งองค์กร
1. เพื่อเป็นส่วนกลางในการประสานติดต่อระหว่างประชาชนและหน่วยงานของภาครัฐที่ให้ความช่วยเหลือ
2. เพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วนต่างๆ ในชุมชน เพื่อชุมชนจะได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและเป็นระเบียบเรียบร้อย
3. ทํางานในชุมชนที่ทางองค์กรสามารถจัดการได้เอง เช่น งานบุญมหาชาติ งานบุญกฐิน งานบุญบั้งไฟ งานวันสงกรานต์ งานวันปีใหม่ งานวันออกพรรษา โดยการดําเนินการจะมีการเรี่ยไรเงินจากชาวบ้านและจะมีการลงความเห็นกันก่อนเรื่องจํานวนเงินที่ชาวบ้านในแต่ละหลังคาเรือนจะบริจาคเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดําเนินงาน
หน้าที่หลักของผู้ใหญ่บ้าน
1. ดูแลรักษาทุกเรื่องและทุกด้านของหมู่บ้าน เช่น สิ่งแวดล้อม คลองส่งน้ําเพื่อการเกษตร เป็นต้น
2. จัดการปัญหาที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน เช่น ไฟดับ งูเข้าบ้าน เป็นต้น
3. ทํางานประสานกับหน่วยงานอื่น เช่น โรงเรียน วัด เทศบาล อบจ. สจ. สว. เป็นต้น
4.ประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนทราบข้อมูลเมื่อมีหน่วยงานภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานราชการ เป็นต้น
คณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน
วัตุถประสงค์การจัดตั้งองค์กร เพื่อส่งเสริมให้สตรีได้พัฒนาตนเอง มีจิตอาสาในการร่วมพัฒนาชุมชน สังคม ตามความสามารถของตนเอง
หน้าที่คณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน
เป็นกลุ่มส่งเสริมอาชีพเสริมให้กับแม่บ้านในชุมชน เช่น ทอเสื่อ ทอผ้า ปัจจุบันเลิกทําผลิตภัณฑ์ไปแล้ว
แต่ยังมีการรวมกลุ่มกันอยู่อย่างเข้มแข็ง โดยสตรีหมู่บ้านสามารถยืมเงินจากกองทุนหมู่บ้านได้ โดยมีการจ่ายดอกและกําหนดช่วงระยะเวลาในการส่งคืน และมีหน้าที่ในการจัดหาซื้อ รับ - เช่า อุปกรณ์อํานวยความสะดวกในการจัดงาน เช่น ถ้วย จาน ช้อน เต๊นท์ เป็นต้น สํารวจปัญหาความต้องการของสตรีในหมู่บ้านเสนอปัญหาและจัดแผนงานโครงการพัฒนาสตรี เสนอแผนงาน โครงการ เพื่อบรรจุในแผนชุมชน สนันสนุนกิจกรรมในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับการพัฒนาสตรี เด็ก และเยาวชน ปฏิบัติงานโครงการร่วมกับกลุ่มสตรีและกลุ่มองค์กรต่างๆในชุมชน จําทําทะเบียนครุภัณฑ์ขององค์กรสตรีที่รับผิดชอบ
อาสาพัฒนาชุมชน (อช.)
หน้าที่ของอาสาพัฒนาชุมชน
1. กระตุ้นให้องค์กรประชาชน รู้สภาพปัญหาของหมู่บ้าน และสามารถวางแผนงานเพื่อแก้ปัญหาได้เอง
รวมถึงกระตุ้นให้ประชาชนรู้จักช่วยตนเอง และเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา หมู่บ้านของตนได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
2. ริเริ่มและสนับสนุนการดําเนินงานพัฒนา โดยเป็นที่ปรึกษากลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรีกลุ่มอาสาสมัคร
ตลอดจนองค์กรประชาชน และกิจกรรมการพัฒนาต่างๆ
3. ช่วยเหลือสนับสนุน การดําเนินงานตามแผนงาน โครงการหรือกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้าน
4. เป็นผู้ประสานระหว่างองค์กรประชาชนกับหน่วยงานของรัฐองค์กรเอกชนหรือเอกชนอื่นๆ
5. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ตามที่เวทีประชาคมคณะกรรมการหมู่บ้าน องค์การบริหารส่วนตําบลหรือทางราชการ
มอบหมาย
กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
วัตุถุประสงค์การจัดตั้งองค์กร
เพื่อส่งเสริมให้บุคคลที่เป็นสามาชิกรู้จักการประหยัดรู้จักการออมทรัพย์ และสามารถเบิกเงินกู้ให้แก่สมาชิก เพื่อนําไปใช้จ่ายเมื่อเกิดความจําเป็นได้ โดยยึดหลักการช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จึงเป็นการร่วมปัญหาทางเศรษฐกิจ
หน้าที่ของคณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
รวบรวมเงินเข้ากองทุนจากสมาชิกจะมีการเรียกเก็บเงินฝากจากสมาชิก เพื่อปล่อยกู้ให้แก่ผู่ที่ต้องการนํา
เงินไปลงทุนทํากิจการต่างๆที่สนใจ แล้วนําดอกเบี้ยที่ได้มาปันผลให้แก่สมาชิก โดยคณะกรรมการมีหน้าที่ดูแลกองทุนเงินและปล่อยกู้
อาสาสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.)
วัตถุประสงค์จัดตั้งองค์กร
เพื่อช่วยส่งเสริมสุขภาพชาวบ้านและพัฒนาหมู่บ้าน
หน้าที่ขององค์กร
1. รับมอบหมายหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลให้เฝ้าระวังโรคระบาด
2. ตรวจคัดกรองลูกน้ํายุงลายทุกเดือน
3. ตรวจคัดกรองโรคเรื้อรัง ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน
4. ดูแลผู้สูงอายุ คนพิการ
5. ดูแลเยี่ยมบ้านผู้ป่วยตามกลุ่ม
6. ชั่งน้ําหนักวัดส่วนสูงเด็กทุก 3 เดือน ส่งข้อมูลให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล
7. สรุปงานทุกเดือน
8. ทําการประชุมร่วมกับบุคลากรทางสาธารณสุข ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน อสม. เพื่อทํา
โครงการที่เหมาะสม
9. แบ่งหน้าที่โครงการ
10. ประกาศให้ชาวบ้านทราบผ่านตามเสียงตามสาย
11. ในช่วงเทศกาลสําคัญก็จะประชาคมหมู่บ้านประชุมให้ชาวบ้านเข้ามาช่วยกันทํางาน
อาสาสมัครเกษตร
หน้าที่ของอาสาสมัครเกษตร
1. จัดเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตรของหมู่บ้าน
2. ร่วมกับกรรมการหมู่บ้านและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทําแผนพัฒนาการเกษตรระดับหมู่บ้าน
3. ประสานงานในการถ่ายทอดความรู้และการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรในหมู่บ้าน
4. ติดตามสถานการณ์การเกษตรในหมู่บ้านและรายงานเหตุการณ์ฉุกเฉินเร่งด่วนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
อาสาสมัครป้องกันฝ่ายพลเรือน (อปพร.)
วัตถุประสงค์การจัดตั้งองค์กร
เพื่อรักษาความสงบในเขตชุมชน
หน้าที่ของอาสาสมัครป้องกันฝ่ายพลเรือน (อปพร.)
ทําหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและรักษาความสงบเรียบร้อยในชุมชน โดยเฉพาะช่วงเทศกาลปี
ใหม่และเทศกาลสงกรานต์ จะมีจุดช่วยเหลือและบริการประชาชนที่ผ่านไปผ่านมา
อาสาสมัครปศุสัตว์ (อสป.)
วัตถุประสงค์การจัดตั้งองค์กร
1. เพื่อให้มีผู้ประสานงานในการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการปศุสัตว์ระหว่างเกษตรกร
และเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์
2. เพื่อให้มีเกษตรกรตัวอย่างด้านการเลี้ยงปศุสัตว์ในท้องที่
3. เพื่อให้มีอาสาสมัครปฏิบัติงานตามแผนงาน และโครงการต่างๆของกรมปศุสัตว์ เช่น โครงการรณรงค์
ป้องกัน
4.กําจัดโรคระบาดสัตว์ โครงการเฝ้าระวังโรค ฯลฯ
หน้าที่ของอาสาปศุสัตว์ (อสป.)
1.ช่วยประชาสัมพันธ์และการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการปศุสัตว์
2. เป็นเกษตรกรตัวอย่างด้านการเลี้ยงปศุสัตว์ในพื้นที่
3. เป็นผู้ประสานงานการป้องกันกําจัดโรคระบาดสัตว์ในระดับหมู่บ้าน
4. ช่วยสํารวจและบันทึกข้อมูลด้านปศุสัตว์ในท้องที่
กลุ่มเลี้ยงนกกระทา โครงการขยายผลการสร้างครัวเรือนสัมมาชีพชุมชน
กลุ่มที่ไม่เป็นทางการ
กลุ่มนางรํา
1.บุญส่งท้าย ต้อนรับปีใหม่ ตักบาตรปีใหม่ วันที่1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทําบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ อวยพรซึ่งกันและกัน ลูกหลานที่ไปทํางานที่อื่น จะกลับมาบ้านเพื่อมาหาญาติผู้ใหญ่ มาขอพรและร่วมรับประทานอาหาร สังสรรค์ร่วมกัน จะเรียกว่าบุญเดือนอ้าย 2.บุญข้าวจี่ เป็นการนําเอาข้าวเหนียวที่ปั้นโรยเกลือทาไข่ไก่ แล้วจี่ไฟให้สุกเรียกว่าข้าวจี่ ซึ่งการทําบุญข้าวจี่ในเดือนสามเป็นช่วงที่ชาวนาหมดภาระในการทํานาแล้วข้าวขึ้นยุ้งฉางใหม่จึงอยากร่วมทําบุญถวายพระ 3.บุญมหาชาติ เป็นบุญที่ทําเกี่ยวกับเรื่องพระเวสสันดรนิยมทําในเดือนสี่ 4.บุญสงกรานต์ บุญมหาสงกรานต์หรือตรุษสงกรานต์ ของภาคอีสานกําหนดขึ้นในเดือนห้า มี3วัน ตั้งแต่13วันมหาสงกรานต์ 14 วันเนา 15 วันสุดท้ายเป็นวันเถลิงศก ชาวอีสานถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ มีการทําบุญตักบาตร ทําบุญสรงน้ํา พระและรดน้ําดําหัวผู้ใหญ่ เพื่อขอให้มีความเป็นอยู่ร่มเย็นเป็นสุข 5.บุญเบิกบ้านหรือบุญซําฮะ เป็นบุญที่จัดขึ้นเพื่อทําพิธีปัดรังควาน ขับไล่ความเสนียดจัญไรภูตผีปีศาจออกจากหมู่บ้าน บางแห่งเรียกว่าบุญเบิกบ้าน หรือ บุญบ้านเป็นบุญที่แต่ละหมู่บ้านจะทําไม่ขาด เป็นบุญเกี่ยวกับภูตผีปีศาจ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจําหมู่บ้าน ผีปู่ตา ผีตาแฮก มเหศักดิ์หลักเมือง ที่คอยคุ้มครองหมู่บ้านชาวบ้านเชื่อว่าจะรวมผีบรรษบุรุษอยู่ด้วยที่ช่วยดลบันดาลให้ชาวบ้านเมืองมีความสุข ซึ่งบุญนี้จะเป็นการทําบุญตักบาตรในหมู่บ้านและมีการขึงด้ายไปทั่วทุกหลังคาเรือน โดยนิมนต์4-9 รูปมาเจริญพุทธมนต์ แล้วมีพิธีผูกข้อต่อแขนซึ่งกันและกันของคนในหมู่บ้านที่ได้ฝ้ายจากการทําพิธีและมีการน้ํากรวดทรายหรือหินไปหว่านรอบๆหมู่บ้านหรือหลังคาบ้าน เพราะเชื่อว่าเป็นการกันผีหรือสิ่งจัญไรเข้าหมู่บ้าน นอกจากพิธีเหล่านี้แล้วชาวบ้านก็จะเก็บสิ่งที่ไม่ดีออกจากบ้านตน เช่นของเก่า เสื้อผ้าขาด ก่องข้าว เพื่อให้บ้านเรือนตนสะอาด บริสุทธิ์ 6.บุญเข้าพรรษา การที่พระสงฆ์อยู่ประจําอาวาสแห่งเดียวตลอด 3 เดือน ในฤดูฝนเรียกว่าพรรษา โดยปกติกําหนดเอาแรม 1 ค่ํา เดือน 8 เป็นวันเข้าพรรษา ชาวบ้านจะมีการเตรียมเทียนเพื่อไปถวายวัด รวมทั้งเครื่องปัจจัยไททายต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องสําหรับให้แสงสว่าง แม้ปัจจุบันจะเจริญแล้วแต่ยังรักษาฮีตเดิมโดยการนําเทียน ตระเกียงน้ำมัน ธูปเทียนไปถวายเช่นเดิม และการนําถวายผ้าอาบน้ําฝนเพื่อใช้อาบน้ําช่วงฤดูฝน 7.บุญข้าวประดับดิน เป็นบุญสิ้นเดือนเก้า ที่เรียกอีกอย่างว่า บุญข้าวสาก นําอาหารคาวหวาน หมากพลูบุหรี่จัดใส่กระทงวางไว้บนพื้น ใต้ต้นไม้เพื่อเป็นการเซ่นดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ ที่มีความสําคัญต่อชาวอีสานเพราะเชื่อว่าเป็นบุญที่ต้องส่งส่วยให้กับผีฮักและผีบรรพบุรุษ เพื่อให้เกิดความเป็นอยู่ ทรัพย์สิน ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ไม่มีภัยร้ายใดๆมาเยือน 8.บุญข้าวสากเป็นบุญที่ทําเพื่ออุทิศให้แก่ผู้ตายหรือเปรต โดยมีเวลาห่างจากบุญข้าวประดับดินเพียง 15วันเป็นเวลาที่เปรตต้องกลับไปอยู่ที่ของตน ซึ่งทั้งสองบุญนี้จะมีลักษณะคล้ายๆกันคือการห่อข้าวส่งให้เปรต รวมทั้งบรรพบุรุษญาติพี่น้องของผู้ทําบุญด้วยและเปรตไม่มีญาติด้วย 9.บุญออกพรรษา ตักบาตรเทโวเป็นวันขึ้น 15ค่ําเดือน 11 เป็นวันออกพรรษา วันปวารนา เป็นบุญที่ความสําคัญเพราะเชื่อว่าพระสงฆ์ได้อยู่จําพรรษาเป็นเวลาไตรมาส (3เดือน)ย่อมมีความบริสุทธิ์ จริยธรรมงดงามจะมาซึ่งบุญและได้บุญมาก ชาวบ้านจะร่วมกันทําบุญตักบาตรเทโวที่วัด และฟังธรรมเทศนาและกลางคืนจะจุดประทีปเพื่อความสว่างไสวพร้อมมีการจุดปะทัดเสียงดังสนุกสนานหวั่นไหวด้วย 10.บุญกฐินกฐิน คือไม้สะดึง ที่ใช้สําหรับขึงผ้าเวลาจะเย็บผ้าจีวรพระในการเย็บให้สะดวกขึ้น จึงเป็นที่มาของผ้ากฐิน คือ ผ้าจีวร สบงหรือผ้านุ่งห่มที่จะนําไปถวายพระนั่นเองบุญกฐินจึงคือบุญที่ต้องนําเข้าไปถวายพระเป็นสําคัญ บุญกฐินเป็นบุญฮีตสุดท้ายของอีตเดือนสิบสองของชาวอีสานชาวอีสานจึงรู้ดีว่าช่วงนี้เป็นช่วงที่ต้องนําจีวรไปถวายในช่วงนี้ซึ่งมีกาลเวลา ที่เรียกว่าเทศกาลกฐิน ที่กลายเป็นประเพณีขึ้น ซึ่งมีความสําคัญต่อชาวอีสานมากที่ถือว่าเป็นให้อานิสงส์แก่ผู้ทําบุญอย่างมากเพราะจะได้ถวายจีวรให้แก่ภิกษุที่ครบไตรมาส
ประวัติบุคคลสำคัญ
ประวัติของแม่ประยูร ภูมิโสม เกิดวันที่ 29 มกราคม 2513 เกิดที่บ้านโนนจันทร์ ตําบลหนองแก อําเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น เมื่ออายุ 4 ปี จึงได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านเลขที่ 19/3 หมู่ 1 ตําบลกุดกว้าง อําเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น จนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันอาศัยอยู่คนเดียว เป็นบุตรคนแรก จากทั้งหมด 4 คน เนื่องจากครอบครัวมีบุตรหลายคน พ่อแม่ของแม่ประยูรต้องหาเช้ากินค่ําประกอบอาชีพทําไร่ทํานา เลี้ยงวัวเลี้ยงควาย แม่ประยูรหลังจากเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก็ต้องช่วยพ่อแม่ทํางานเพื่อหารายได้มาใช้จ่ายในครอบครัว คือ ทํางานร้านอาหาร เป็นเด็กเสิร์ฟและคอยเรียนรู้การทําอาหารด้วย รายได้เดือนละ 500 บาท ระยะเวลาในการทํางานประมาณ 2 ปี
เมื่ออายุได้ 14 ปี เดินทางไปทํางานที่กรุงเทพมหานคร คือ ทํางานที่โรงล่อพุทธเนรมิตประทีป รายได้เดือนละ 5,000 บาท จนแม่ประยูรอายุ 21 ปี ได้แต่งงานกับพ่อสมจิตร ไม่มีบุตรร่วมกัน เนื่องจากแม่ประยูรมีปัญหามดลูกตีบ หลังจากนั้นก็ย้ายที่ทํางานไปทําโรงงานทอถุงเท้า และเปลี่ยนที่ทํางานมาเรื่อยๆ จนอายุ 43 ปีก็กลับบ้านมาทําไร่ทํานา และรับจ้างถอนผมงอกภายในหมู่บ้าน
ต่อมาเทศบาลกุดกว้างได้จัดอบรมนวดแผนไทย 5วัน ได้ใบประกาศนียบัตร หลักสูตรการอบรมนวดไทย (60 ชั่วโมง) เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ได้ใบประกาศนียบัตรจากสมาคมพัฒนาแพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย หลักสูตรการอบรมนวดไทย (372 ชั่วโมง)
ต่อมานายแพทย์ให้ไปเป็นครูสอนนวดและได้เป็นประธานหมอนวดประจําตําบลกุดกว้าง วันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2558 ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นหมอพื้นบ้าน พ.ศ.2559-2561 ได้เปิดร้านนวดแผนไทย และได้ใบประกาศนียบัตรที่ผ่านการฝึกอบรม หลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ประเภทอาหาร เครื่องดื่ม สมุนไพร ภายใต้โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2561 แม่ประยูรได้ทําสินค้า OTOP คือ ลูกประคบและยาหม่องสมุนไพร
ต่อมาได้ไปเรียนนวดเพิ่มเติมและได้ใบประกาศนียบัตรจากโรงเรียนส่งเสริมวิชาชีพและวัฒนธรรมไทยสปา หลักสูตรนวดเพื่อสุขภาพ 150 ชั่วโมง เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2561 ต่อมาได้ย้ายร้านนวดมาเปิดที่บ้านของตนเอง รายได้เดือนละ 15,000 บาท และปัจจุบันได้แยกทางกับสามีอาศัยอยู่คนเดียว เมื่อคนในหมู่บ้านเกิดความไม่สุขสบาย เช่น ปวดขา หรือเกิดอุบัติเหตุก็จะมาหาแม่ประยูร เพื่อรับสมุนไพรไปใช้รักษา เช่น นําสมุนไพรไปใช้อาบ ใช้ประคบ บรรเทาอาการต่างๆ
-วัด 1 แห่ง คือ วัดจุมพล หมู่ที่ 21 มีพระสงฆ์ จํานวน 4 รูป พื้นที่ภายในบริเวณวัดประมาณ 10 ไร่ กว้างขวางบรรยากาศสงบ ร่มเย็น เหมาะสําหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน
- โรงเรียน 1 แห่ง คือ โรงเรียนหนองไผ่ดุสิตประชาสรรค์ เป็นโรงเรียนร่วมพัฒนารับนักเรียน ตั้งแต่อนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งนักเรียนส่วนมากจะอยู่ในพื้นบริเวณตําบลกุดกว้างและโนนทัน การเข้าไป มีส่วนร่วมของคนในหมู่บ้านในการพัฒนาโรงเรียน/การใช้ประโยชน์ร่วมทํากิจกรรม
- โรงงาน 1 แห่ง คือ โรงงานมิตรผลภูเวียง
- ร้านขายของชําทั่วไป มีจํานวน 3 ร้าน เป็นธุรกิจของชาวบ้าน
- ร้านขายอาหาร มีจํานวน 2 ร้าน จะเป็นอาหารตามสั่ง ก๋วยเตี๋ยว น้ําปั่น -รถเข็นขายอาหาร 2 คัน จะเป็นขายปิ้งไก่ 1 คัน และขายอาหารถุง 1 คัน
- ตลาด จํานวน 2 แห่ง เป็นตลาดนัดคลองถม เปิดทุกวันอังคาร ตอนเย็นและตลาดเช้า
- ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ มีจํานวน 2 ร้าน รับปะรถจักรยานและรถทั่วไป - สถานที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจําหมู่บ้าน/ห้องสมุด จํานวน 1 แห่ง
- หอกระจายข่าว จํานวน 1 แห่ง ตั้งอยู่บริเวณกลางบ้าน หน้าร้านค้าสวัสดิการหมู่บ้าน - โรงสี จํานวน 1 แห่ง เป็นโรงสีของชาวบ้านร่วมกับ SME - ศูนย์สาธิตชุมชน 1 แห่ง
- สุขศาลาประจําหมู่บ้าน
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลกุดกว้าง อยู่ห่างจากหมู่บ้าน ประมาณ 3-4 กิโลเมตร - โรงพยาบาลหนองเรือ เป็นโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ ตั้งอยู่ในตัวอําเภอหนองเรือ ห่างจาก หมู่บ้าน ประมาณ 8-10 กิโลเมตร
- คลินิก ประชาชนส่วนใหญ่จะใช้บริการคลินิกที่อยู่ในตัวอําเภอหนองเรือ เช่น คลินิกหมอ สุกาญดา คลินิกหมอชุมพจน์ คลินิกก้าวหน้า เป็นต้น
-ร้านขายยา ส่วนใหญ่ร้านขายของชําภายในหมู่บ้านจะมีการขายยาสามัญประจําบ้าน เช่น Paracetamol 500 mg. เป็นต้น และจะมีร้านขายยาอยู่ในตัวอําเภอ
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จํานวน 1 แห่ง ตั้งอยู่ในหมู่บ้านหนองไผ่หมู่ที่ 21 รับเด็กตั้งแต่อายุ 1 ปีครึ่ง ถึง 5 ปี - ทรัพยากรน้ํามีลุ่มน้ําที่สําคัญ คือ ลุ่มแม่น้ําเซิน สระหนองไผ่ 1 แห่ง อ่างเก็บน้ําหนองโสน ลําน้ําจาก จังหวัดชัยภูมิและโดยประชาชนในหมู่บ้านจะใช้ในการเกษตร
- ทรัพยากรป่าไม้ มีพื้นที่ป่าไม้ในหมู่บ้าน คือ ป่าดอนตาปู่ โดยจะอยู่บริเวณทางเข้าทิศตะวันตกของ หมู่บ้าน และศาลตาปู่ บริเวณป่าไม้จะร่มรื่น เงียบสงบ ประชาชนจะใช้เป็นแหล่งประโยชน์ที่ยึดเหนี่ยวทาง จิตใจเป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านให้ความเคารพศรัทธาเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่ปลูกสมุนไพรไว้สําหรับเช่า ในหมู่บ้าน ป่าไม้ในหมู่บ้านมีป่าชุมชน จํานวน 12 ไร่ ไม้ที่มีในป่าชุมชน ได้แก่ มะข่า มะขาม สะเดา ประดู
ประชาชนบ้านหนองไผ่ ใช้ภาษาถิ่นอีสานในการสื่อสารในชุมชน และใช้ภาษากลาง ภาษาไทยในการติอต่อสื่อสารกับหน่วยงานต่างๆ