Advance search

หนึ่งในชุมชนพื้นที่ส่งเสริมศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหมอกจ๋าม ชุมชนประกอบอาชีพเกษตรกรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีรายได้เสริมจากหัตถกรรมทอผ้าและผลิตภัณฑ์แปรรูป

หมู่ที่ 12
บ้านผาใต้
ท่าตอน
แม่อาย
เชียงใหม่
กองทุนหมู่บ้าน โทร. 08-4369-6169, อบต.ท่าตอน โทร.0-5337-3138
สุธาสินี บุญเกิด
24 ม.ค. 2023
สุธาสินี บุญเกิด
9 ก.พ. 2023
บ้านผาใต้


ชุมชนชาติพันธุ์

หนึ่งในชุมชนพื้นที่ส่งเสริมศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหมอกจ๋าม ชุมชนประกอบอาชีพเกษตรกรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีรายได้เสริมจากหัตถกรรมทอผ้าและผลิตภัณฑ์แปรรูป

บ้านผาใต้
หมู่ที่ 12
ท่าตอน
แม่อาย
เชียงใหม่
50280
20.046462
99.519023
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตอน

บ้านผาใต้ ตั้งอยู่หมู่ที่ 12 ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่อยู่ในพื้นที่ส่งเสริมของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหมอกจ๋าม ประกอบด้วย 8 หย่อมบ้าน ตามรายงานการศึกษาวิจัยไม่ได้ระบุถึงประวัติศาสตร์ของชุมชนบ้านผาใต้ไว้มากนัก เพียงกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหมอกจ๋ามไว้ ซึ่งคำว่า “หมอกจ๋าม” เป็นภาษาไทยใหญ่ แปลว่า ดอกจำปี เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ใกล้ริมแม่น้ำกก เดิมเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ในการเสด็จเยี่ยมเยือนของ รัชกาลที่ 9 และพระบรมวงศานุวงศ์ ในปี พ.ศ. 2517, 2519 ได้ทอดพระเนตรเห็นสภาพความเป็นอยู่ของราษฎรที่ลำบาก ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2526 จึงเริ่มดำเนินงานอย่างเป็นทางการ “ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหมอกจ๋าม” ตั้งอยู่ในเขตหมู่บ้านห้วยศาลา ดูแลรับผิดชอบรวม 9 หมู่บ้าน รวมจำนวนประชากรกว่า 2,670 คน โดยได้รับเงินทุนสนับสนุนจากมูลนิธิโครงการหลวง เพื่อพัฒนาปัจจัยพื้นฐานของชุมชนให้มีมาตรฐาน ส่งเสริมอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เกิดการพึ่งพาตนเอง ตลอดจนฟื้นฟูอนุรักษ์สภาพแวดล้อมให้มีความสมบูรณ์ 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

บ้านผาใต้ ตั้งอยู่หมู่ที่ 12 ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่อยู่ในพื้นที่ส่งเสริมของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหมอกจ๋าม ประกอบด้วย 8 หย่อมบ้าน โดยมีพ่อหลวงเพียงคนเดียว มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 217 ครัวเรือน และประชากรจำนวน 1,112 คน แบ่งเป็นเพศหญิงประมาณร้อยละ 60 และเพศชาย ร้อยละ 40 ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวลาหู่ดำ นับถือศาสนาคริสต์ (ธันยา พรหมบุรมย์ และ วิสุทธร จิตอารี, 2550, น.37)

ลาหู่

กลุ่มชาวบ้านบ้านผาใต้ มีอาชีพหลัก คือ การเกษตร โดยเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกข้าวนาดำและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อีกทั้งยังเลี้ยงควายเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ส่วนอาชีพเสริม คือ การทำหัตถกรรม การรับจ้างล่องเรือให้กับนักท่องเที่ยว เนื่องจากหมู่บ้านอยู่ติดริมน้ำกก มีท่าล่องเรือจากหมู่บ้านไปจังหวัดเชียงราย (ธันยา พรหมบุรมย์ และ วิสุทธร จิตอารี, 2550, น.37)

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ข้อมูลจากการสัมภาษณ์แม่หลวงนานู จะเผอ ภูมิปัญญาการทอผ้ามักเรียนรู้จากบุคคลในครอบครัว รายได้เสริมเฉลี่ยต่อปีประมาณ 15,000 บาท/ปี การทอผ้ามักอยู่ในกลุ่มของผู้หญิงเท่านั้น มักทอไว้ใช้ในครัวเรือน ในภาพรวมชาวบ้านที่ทอผ้าอย่างเดียวมีประมาณร้อยละ 70 ไม่มีการตัดเย็บแปรรูป แต่ถ้าหากทอและเย็บผ้าด้วยมีประมาณร้อยละ 20 โดยเป็นการใช้จักรเย็บผ้าเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น กระเป๋าย่าม กระเป๋าใส่เครื่องสำอาง กระเป๋าสตางค์ หมวก เสื้อกั๊ก และที่เหลืออีกร้อยละ 10 ของครัวเรือนทั้งหมดไม่มีการทอผ้า (ธันยา พรหมบุรมย์ และ วิสุทธร จิตอารี, 2550, น.39)

อุปกรณ์เครื่องมือการทอผ้าของชาวลาหู่ มีลักษณะคล้ายกับเครื่องทอกี่เอวของกะเหรี่ยงแต่มีขนาดเล็กกว่า คือ เป็นแบบห้างหลังหรือมีสายคาดเอว ทำจากไม้ไผ่ ปัจจุบันอุปกรณ์บางชิ้นประยุกต์ใช้จากท่อพีวีซี ชาวลาหู่นิยมทอผ้าหน้าแคบประมาณ 4.5 นิ้ว โดยซื้อฝ้ายสำเร็จย้อมสีธรรมชาติ นำมากรอและทอผ้าเอง ตัดเย็บโดยใช้จักรเย็บผ้าหรือเย็บมือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ลวดลายของชิ้นงานมีทั้งลายดั้งเดิม ได้แก่ ลายเขี้ยวหมา ลายตาเดียว และลายสองตา ส่วนลายสมัยใหม่เป็นลายประยุกต์ ปัจจุบันจึงมีทั้งสองลายปนกันไป (ธันยา พรหมบุรมย์ และ วิสุทธร จิตอารี, 2550, น.41)

ความหมายลายปัก (ธันยา พรหมบุรมย์ และ วิสุทธร จิตอารี, 2550, น.48)

  • ลายฟันหมา      หมายถึง       ความฉลาดหลักแหลม
  • ลายดอกธนู      หมายถึง       ความชำนาญในการล่าสัตว์
  • ตาสองตา        หมายถึง       การมองการไกล

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ธันยา พรหมบุรมย์, และ วิสุทธร จิตอารี. (2550). การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาหัตถกรรมท้องถิ่นและตลาด ในพื้นที่โครงการ : กรณีศึกษาผ้าทอชาติพันธุ์ลาหู่ (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 

กองทุนหมู่บ้าน โทร. 08-4369-6169, อบต.ท่าตอน โทร.0-5337-3138