หนองเรือตระการ จักสานไม้ไผ่ ไก่ย่างทางพาด ตลาดกะหล่ำ เลิศล้ำเพชรพลอยเจียระไน พระใหญ่ภูเม็งทอง
หนองเรือตระการ จักสานไม้ไผ่ ไก่ย่างทางพาด ตลาดกะหล่ำ เลิศล้ำเพชรพลอยเจียระไน พระใหญ่ภูเม็งทอง
เมื่อปี พ.ศ. 2487 ชาวบ้านหว้า ตำบลโนนทัน มีที่ทำกินอยู่บริเวณร่องสมอหรือหนองกระแตซึ่งติดกับภูกระแต ได้ย้ายถิ่นฐานมาสร้างบ้านเรือนเป็นกลุ่มแรก ระหว่างทางก่อนถึงภูกระแตจะต้องผ่านป่าเล็กๆ (ตอนม้าตาย) ซึ่งชาวบ้านเชื่อกันว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดูแลรักษาอยู่ คือปูทองคำ ชาวบ้านจึงร่วมกันสร้างศาลขึ้นมา เพื่อเป็นสถานที่กราบไหว้บูชา และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชนบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านปัจจุบันเป็นคอกวัวคอกควายของชาวบ้านที่นำมาเลี้ยง พอถึงฤดูฝนการเดินทางมี
ความยากลำบากมาก ประชาชนจึงอพยพมาสร้างบ้านเรือนในที่ดินของตนเองซึ่งติดกับถนนใหญ่ โดยมีนายปัน และนางบุญ ขำติ๊บ สามีภรรยาชาวจังหวัดแพร่ นายแก้วและนางบุญ ทองคำ นายมี สุขเนียมนายขูลู รวมสิทธิ์ นายสงกา รวมสิทธิ์ นายอิ้ม ศรีเวียง นายเบี้ยว จันศรี มาอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆเรียกว่า คุ้มดอนหัวนา ซึ่งอยู่ติดถนนมะลิวัลย์ กม.ที่ 53ต่อมาปี พ.ศ.2488 ชาวบ้านขาดแคลนน้ำดื่ม น้ำใช้ นายบุญตา ห่อคนดี กำนันตำบลโนนทันในสมัยนั้น ได้มาขอที่ดินจากนางที เครือซ้าย เพื่อขุดทำเป็นสระกักเก็บน้ำให้กับประชาชนได้ใช้อุปโภคและบริโภค ปี พ.ศ.2490 คุ้มดอนหัวนาได้แยกออกจากบ้านหว้า ตำบลโนนทัน อำเภอภูเวียง มาขึ้นกับบ้านกุดกว้าง หมู่ที่ 4 ตำบลกุดกว้าง อำเภอหนองเรือ และเปลี่ยนชื่อจากคุ้มดอนหัวนา มาเป็นบ้าน
กม.53 แต่อยู่ในหมู่ที่ 4 ตำบลกุดกว้าง อำเภอหนองเรือ ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีการแยกหมู่บ้าน ซึ่ง
ประกอบด้วยหมู่บ้าน 5 บ้าน คือ บ้านกุดกว้าง บ้านหนองกุง บ้านหนองดินกี่ บ้าน กม.52 และบ้าน
กม.53 ปี พ.ศ.2524 บ้านหนองกุงได้แยกออกจากบ้านกุดกว้าง หมู่ที่ 4 และได้ตั้งเป็นหมู่ที่ 15 บ้าน
หนองกุง ตำบลกุดกว้าง ซึ่งที่มาของชื่อหมู่บ้าน "บ้านหนองกุง" มาจาก บริเวณที่ตั้งของหมู่บ้าน มีสระ
ขนาดใหญ่ซึ่งมี "ต้นกุง" จำนวนมากล้อมรอบบริเวณสระน้ำ ชาวบ้านจึงได้ตั้งชื่อสระน้ำว่า "หนองกุง"
และเรียกชื่อหมู่บ้านตามชื่อของสระน้ำ จึงเกิดเป็นชื่อ "บ้านหนองกุง" โดยมี นายแสง นวลอัมพร
เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก และต่อมามีผู้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ดังนี้
คนที่ 2 นายกุหลาบ คงวันดี พ.ศ. 2530 - 2541
คนที่ 3 นายฉันท์ มีชัยมาตย์ พ.ศ. 2541 - 2546
คนที่ 4 นายสังคา ถมมา พ.ศ. 2546 - 2550
คนที่ 5 นายทวี หม่อมสระ พ.ศ. 2550 - 2555
คนที่ 6 นายสังคา ถมมา พ.ศ. 2555 - 2562
คนที่ 7 นายเจียม พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน สุริยะวงศ์
1.ข้อมูลทั่วไปของชุมชน
ที่ตั้งของชุมชน
หนองกุง หมู่ที่ 15 อยู่ในเขตการปกครองของตำบลกุดกว้าง อำเภอหนองเรือ ห่างจากอำเภอหนองเรือ ประมาณ 14 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดขอนแก่น ประมานก็โลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมด 45 ไร่ 1 งาน 48 ตารางวา
1.2 อาณาเขตที่ตั้ง
ติดต่อกับถนนมะลิวัลย์ ตำบลโนนทัน อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ทิศเหนือ
ทิศใต้ ติดต่อกับหมู่ที่ 3 บ้านขนวน และหมู่ที่ 4 บ้านกุดกว้าง อำเภอหนองเรือจังหวัดขอนแก่น
ทิศตะวันออก ติดต่อกับหมู่ที่ 1 บ้านหนองไผ่ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น
ทิศตะวันตก ติดต่อกับหมู่ที่ 12 บ้าน กม. 52 และหมู่ที่ 14 บ้านหนองดินกี่
อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น
จากการสำรวจแผนที่เดินดิน พบว่า บ้านหนองกุง หมู่ที่ 15 มี 60 หลังคาเรือน พื้นที่ส่วนใหญ่ของหมู่บ้านจะเป็นทุ่งนาและไร่อ้อย มีถนนรอบๆ หมู่บ้าน ลักษณะการปลูกบ้าน มีการตั้งบ้านเรือนตามถนนที่ตัดผ่าน บ้านค่อนข้างห่างกัน แต่ละหลังมีพื้นที่ใช้สอยรอบๆบ้าน อัตราส่วนใน แผนที่เดินดิน1cm : 1000 cm. การคมนาคมภายในหมู่บ้านมีถนนเส้นหลักผ่านบริเวณหน้าหมู่บ้านและมีถนนคอนกรีตสัญจรภายในหมู่บ้านและถนนลูกรังในบางส่วนการคมนาคมส่วนใหญ่ใช้รถยนต์และรถจักรยานยนต์ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปเป็นอาชีพหลัก เนื่องจากบ้านหนองกุงมีหลายครัวเรือนไม่มีพื้นที่ทำกิน จึงทำให้ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป มีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ส่วนใหญ่เป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
1.3 ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ลักษณะตินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวปนทรายและมีแหล่งน้ำที่สำคัญ คือ สระหนองกุง พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ทำการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ เช่น ปลูกข้าว ปลูกอ้อย เลี้ยงปลา เลี้ยงโคและกระบือ เป็นต้น
1.4 ลักษณะภูมิอากาศ
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน มีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม ฤดูร้อนมีอากาศร้อนและแห้งแล้ง ในฤดูร้อนพื้นที่ทำนาที่อยู่ห่างจากสระ หนองกุงจะไม่มีการทำนาปรัง เนื่องจากมีความขาดแคลนน้ำในการทำนา แต่พื้นที่ทำนาที่อยู่ใกล้สระหนองกุงมีการทำนาปรังและใช้น้ำจากสระหนองกุง โดยพื้นที่ทำนาบริเวณใกล้สระหนองกุงเป็นพื้นที่ของส่วนรวม ประชาชนมีการทำช้อตกลงร่วมกัน คือ มีการหมุนเวียนกันในการใช้พื้นที่ส่วนนี้ในการทำนา 4 ครัวเรือนต่อปี เพื่อให้ครัวเรือนที่ไม่มีพื้นที่ทำกินมีพื้นที่ในการทำนา และพื้นที่รอบหมู่บ้านเป็นพื้นที่ของประชาชนหมู่บ้านอื่นที่ปล่อยที่ให้โรงงานน้ำตาลเช่าที่เพื่อปลูกอ้อย โดยช่วงเดือน เมษายน เป็นช่วงฤดูเก็บเกี่ยวอ้อย ประชาชนจะได้รับผล กระทบ คือ มีรถบรรทุกอ้อยวิ่งผ่านหมู่บ้าน ทำให้ถนนชำรุด อีกทั้งยังมีเศษใบอ้อยร่วงลงบนถนนและหลังจากเก็บเกี่ยวอ้อย โรงงานน้ำตาลมีการบรรทุกกากน้ำตาลมาทิ้งบริเวณไร้อ้อยรอบหมู่บ้าน ซึ่งส่งกลิ่นเหม็นรบกวนเป็นระยะเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ ซึ่งจะเป็นปัญหาทุกปีในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือน มิถุนายน ถึงเดือน กันยายน ในฤดูฝนจะมีฝนตกตามฤดูกาล จะมีการทำนาโดยอาศัยน้ำจากฝนตก และจะมีบางปีที่ฝนตกหนัก จะเกิดน้ำท่วมบริเวณนาข้าวของประชาชนและในช่วงฤดูฝนการเผาถ่านของประชาชนจะลดลง เนื่องจากการหาไม้เพื่อนำมาเผาถ่านในช่วงฤดูฝนค่อนข้างยากลำบากฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือน ตุลาคม ถึงเดือน กุมภาพันธ์ ซึ่งมีอากาศหนาวเย็นและแห้ง ในช่วงนี้จะมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวและจะมีประชาชนบางกลุ่มเดินทางไปรับจ้างตัดอ้อยที่ต่างจังหวัดและในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในปัจจุบัน ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ไม่ได้ไปรับจ้างตัดอ้อยที่ต่างจังหวัด เนื่องจากต้องปฏิบัติตามาตรการควบคุมโรค จึงทำให้ขาดแคลนรายได้ในช่วงฤดูหนาว
1.5 การคมนาคม
ถนนทางเข้าหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีต มีสภาพเป็นหลุม ส่วนใหญ่ในหมู่บ้านร้อยละ 80 เป็นถนนคอนกรีต และบางแห่งเป็นถนนทางลูกรัง ที่ใช้สัญจรไปมาในการค้าขายถ่าน ทำให้ในช่วงหน้าฝนจะมีการสัญจรที่ลำบาก และบริเวณถนนตั้งแต่ทางเข้าหมู่บ้านจนถึงท้ายหมู่บ้าน มีไฟฟ้าส่องสว่างที่ไม่เพียงพอในเวลากลางคืน ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนได้การเดินทางในชุมชนบ้านหนองกุง ห่างจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดกว้าง4-5 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอหนองเรือ ประมาณ 14 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดประมาณ 52 กิโลเมตร ส่วนประชาชนเดินทางมาใช้บริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดกว้างโดยใช้รถส่วนตัว เช่น รถจักรยานยนต์และรถยนต์
1.6 การติดต่อสื่อสาร
ภายในหมู่บ้านจะใช้หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน ซึ่งตั้งอยู่ที่ศาลาประชาคม ซึ่งจะมีการใช้เสียงเมื่อมีข่าวสำคัญของทางราชการ หรือเมื่อต้องการแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับหมู่บ้านให้ประชาชนได้รับทราบ โดยจะประกาศในช่วงเวลาที่มีงานหรือเทศกาล การได้ยินทั่วถึงครบทุกครัวเรือน นอกจากนี้ประชาชนในหมู่บ้านยังได้รับข้อมูลข่าวสารต่างๆ ด้านสุขภาพจากสื่อโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต อสม. และบุคลากรทางสุขภาพ การติดต่อสื่อสารกับหมู่บ้านใกล้เคียงและบุคคลภายนอกใช้การติดต่อสื่อสารผ่าน
ลักษณะโครงสร้างครอบครัว ในบ้านหนองกุง ปี พ.ศ. 2564 ครอบครัวส่วนใหญ่จะอยู่อาศัยฃกันแบบครอบครัวเดี่ยว มีครอบครัวเดี่ยว จำนวน 35 ครัวเรือน ร้อยละ 66.04 และครอบครัวขยายจำนวน 18 ครัวเรือน ร้อยละ 33.96 มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ยครอบครัวละ 3-4 คนประชากรในบ้านหนองกุง จำแนกตามอายุและเพศ ในปี พ.ศ. 2564 มีประชากรทั้งหมด 308คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 173 ร้อยละ 56.17 และเพศหญิง จำนวน 135 คน ร้อยละ 43.83โดยจากภาพแบ่งเป็น 3 ช่วงวัย ช่วงอายุ 0 - 14 ปี จัดเป็นวัยเด็ก จำนวน 51 คน ร้อยละ 16.56 ช่วงอายุ 15 - 59 ปี จัดเป็นวัยทำงาน จำนวน 205 คน ร้อยละ 66.56 และช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน52 คน ร้อยละ 16.88 และส่วนใหญ่อยู่ในช่วง อายุ 50-54 ปี จำนวน 29 คน ร้อยละ 9.41 รองลงมาคือ ช่วงอายุ ปี จำนวน 28 คน ร้อยละ 9.10 และช่วงอายุ 25-29 ปี จำนวน 27 คน ร้อยละ 8.76ตามลำดับ แบ่งอายุประชากรเป็น 3 ช่วง ดังนี้ ประชากร อายุ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 52 คน ร้อยละ16.88 อายุ 15-59 ปี จำนวน 205 คน ร้อยละ 66.56 และอายุ ต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 51 คน ร้อยละ16.56%อัตราส่วนเพศ (Sex ratio) ของประชากร = จำนวนประชากรเพศชายต่อเพศหญิง อัตราส่วนเพศ = 173 : 135 คนหรือประมาณ 5:4 อัตราส่วนเพศชายเป็นอัตราส่วนระหว่างประชากรเพศชายต่อประชากรทั้งหมด จำนวน 173 คน ร้อยละ 56.17 อัตราส่วนเพศหญิงเป็นอัตราส่วนระหว่างประชากรเพศหญิงต่อประชากรทั้งหมด จำนวน 135 คน ร้อยละ 43.83
รายชื่อผู้นำชุมชน
1. นายเจียม สุริยะวงศ์ ผู้ใหญ่บ้าน
2. นายอนุน สุริยันต์ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
3. นายสงกรานต์ ผานิล ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
1. ดูแลหมู่บ้าน แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม
2. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานอื่น เช่น เทศบาลตำบลกุดกว้าง วัดกู่แก้วพัฒนาราม
3. จัดประชุมภายในหมู่บ้านทุกเดือน ประชาสัมพันธ์ข่าวสารให้ชุมชนรับทราบ
หน้าที่ผู้ใหญ่บ้าน
1. อำนวยความเป็นธรรมและดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย และความปลอดภัยให้แก่
ประชาชนในหมู่บ้าน
2. สร้างความสมานฉันท์และความสามัคคีให้เกิดหมู่บ้าน รวมทั้งส่งเสริมวัฒนธรรมและ
ประเพณีในท้องที่
3. ประสานหรืออำนวยความสะดวกแก่คนในหมู่บ้านในการติดต่อ หรือบริการกับส่วนราชการ
หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4. รับฟังปัญหาและนำความเดือดร้อนทุกข์สุขและความต้องการที่จำเป็นของประชาชนใน
หมู่บ้าน แจ้งต่อส่วนราชการหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การแก้ไขหรือช่วยเหลือ
5. ให้การสนับสนุนส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่หรือการให้บริการของ
ส่วนราชการหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
6. ควบคุมดูแลคนในหมู่บ้านให้ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของทาง
7. อบรมหรือชี้แจงให้คนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจในข้อราชการกฎหมายหรือระเบียบ
แบบแผนของทางราชการ
8. แจ้งความช่วยเหลือในกิจการสาธารณประโยชน์ เพื่อป้องภัยอันตรายสาธารณะ อุบัติฉุกเฉิน
รวมตลอดทั้งการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่ผู้ประสบภัย
9. จัดให้มีการประชุมเป็นประจำอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
10. ปฏิบัติตามคำสั่งของทางราชการและรายงานเหตุการณ์ที่ไม่ปกติซึ่งเกิดขึ้นในหมู่บ้าน
11. ปฏิบัติตามภารกิจหรืองานอื่นตามกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของทางราชการที่ได้รับ
มอบหมาย
หน้าที่ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
. ช่วยเหลือผู้ใหญ่บ้านปฏิบัติกิจการตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านเท่าที่ได้รับม
จากผู้ใหญ่บ้าน
2. เสนอข้อแนะนำและให้คำปรึกษาต่อผู้ใหญ่บ้านในกิจการผู้ใหญ่บ้าน
3.ตรวจรักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้านร่วมกับผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านรักษาความสงบ
4. ถ้ารู้เห็นหรือทราบว่าเหตุการณ์หรือจะเกิดขึ้นภายในหมู่บ้าน ให้แจ้งต่อผู้ใหญ่บ้าน
5. เมื่อมีเหตุร้ายเกิดขึ้นภายในหมู่บ้าน ต้องระงับเหตุปราบปราม ติดตามจับผู้ร้ายโดยเต็ม
กำลัง
6. เมื่อตรวจพบหรือตามจับได้สิ่งของใดที่มีไว้มีความผิดหรือใช้การกระทำความผิดหรือได้มา
โดยกระทำความผิดให้รีบนำส่งผู้ใหญ่บ้าน
7. ปฏิบัติตามคำสั่งผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งสั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย
รายชื่อสมาชิกเทศบาลตำบลกุดกว้างในหมู่บ้าน
นายทวี หม่อมสระ เป็นที่ปรึกษานายกเทศมนตรีตำบลกุดกว้าง
หน้าที่ของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
เงินล้าน : จัดสรรเงินจากโครงการตามนโยบายของรัฐบาลที่ดำเนินการจัดตั้งกองทุนในทุกหมู่บ้านๆ ละ 1 ล้านบาท เพื่อเป็นกองทุนหมุนเวียนให้ชาวบ้านได้มีแหล่งเงินทุนให้กู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพ และดำรงชีพวัตถุประสงค์การจัดตั้งองค์กรกองทุนหมู่บ้าน
1. เพื่อเป็นส่วนกลางในการประสานติดต่อระหว่างประชาชน และหน่วยงานของภาครัฐที่ให้ความช่วยเหลือ
2.เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆในชุมชนเพื่อให้ชาวบ้านได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและ เป็นระเบียบเรียบร้อย
3. ทำงานในชุมชนที่องค์กรสามารถจัดการได้เอง เช่น งานบุญต่างๆ งานในวันสำคัญต่างๆเช่น วันสงกรานต์ วันปีใหม่ วันออกพรรษา เป็นต้น โดยการดำเนินการจะมีการลงความเห็นกันก่อนเรื่องจำนวนเงินที่ชาวบ้านในแต่ละหลังคาเรือนจะบริจาค เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
มกราคม
1. บุญขึ้นปี ใหม่วันที่ 1 มกราคมของทุกปี ประชาชนในหมู่บ้านจะร่วมกันทำบุญตักบาตร อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้
บรรพบุรุษและญาติผู้ที่ล่วงลับไป แล้วมีการจัดเลี้ยงเล็กๆรับประทานอาหาร ร่วมกันอวยพรซึ่งกันและกันในเครือญาติ
2. บุญคูนลาน หรือ "บุญสู่ขวัญข้าว" หมู่บ้าน ไม่ได้ทำกิจกรรม
กุมภาพันธ์
1. บุญข้าวจี่ ประชาชนในหมู่บ้านมีความเชื่อว่าจะได้บุญกุศลมากโดยจะทำข้าวจี่ไปทำบุญที่วัดหรือตักบาตร
มีนาคม
1. บุญผะเหวด หรือ "บุญมหาชาติ" หมู่บ้าน ไม่ได้ทำกิจกรรม
เมษายน
1. งานประเพณีสงกรานต์ ประชาชนในหมู่บ้านจะมีการเล่นน้ำสงกรานต์ แห่ทรายเข้าวัด สรงน้ำพระและบรรพบุรุษ มีการรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุและผู้ใหญ่ในหมู่บ้าน
พฤษภาคม
บุญวิสาขบูชา ประชาชนในหมู่บ้านมีการทำบุญ ฟังเทศน์และเวียนเทียน เชื่อว่าการทำบุญนั้นจะทำให้ผลอานิสงส์ส่งผลในภพหน้า
มิถุนายน
1. บุญซำฮะหรือบุญเบิกบ้าน คือ บุญชำระล้างสิ่งที่เป็นเสนียดจัญไร อันจะทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่หมู่บ้าน โดย
ประชาชนในหมู่บ้านจะทำพิธีเลี้ยงผีตาแฮก ไหว้ศาลปู่ตาโดยจะใช้เหล้าขาว ไก่ต้ม มาถวายที่ศาลปู่ตา ไหว้ศาลหลัก
หมู่บ้าน เพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองรักษา ชำระล้างสิ่งที่ทำให้เกิดเหตุเภทภัยที่เป็นอัปมงคลให้ หมดไป
กรกฎาคม
1. บุญประเพณีเข้าพรรษา ประชาชนในหมู่บ้านจะมีการ
ทำบุญตักบาตรที่วัดในช่วงเช้าและมีการถวาย สบง จีวร ผ้
อาบน้ำฝน เทียนพรรษาและดอกไม้ ธูปเทียนมาถวาย
พระภิกษุที่วัด
สิงหาคม
1. บุญข้าวประดับดิน หมู่บ้านไม่ได้ทำกิจกรรม
กันยายน
1. บุญข้าวสาก ประชาชนในหมู่บ้านจะจัดทำข้าวปลาอาหาร และ เครื่องไทยทานต่าง ๆ อุทิศให้ผู้ล่วงลับไปแล้ว
โดยมีจุดประสงค์สำคัญ เพื่อมุ่งอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้ญาติสนิท เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย บิดา มารดา สามี ภรรยา พี่
น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว และอาจอุทิศให้เปรตทั่วไป
ตุลาคม
1. บุญออกพรรษา ประชาชนในหมู่บ้านจะมีการทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ มีการฟังพระธรรม
เทศนา รักษาศีล ถวาย สังฆทาน ถวายภัตตาหาร หรือจัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาที่วัดและฟังพระธรรมเทศนาร่วม
กุศลธรรมตักบาตรเทโว
พฤศจิกายน
1.บุญกฐิน ประชาชนในหมู่บ้านจะมีการทำบุญกองกฐิน จะเป็นกฐินของประชาชน หรือกฐินสามัคคี
ธันวาคม
1. บุญส่งท้ายปีเก่า ในคืนวันที่ 31 ธันวาคม เป็นวันสิ้นปีจะมีการสวดมนต์ข้ามปี โดยพระภิกษุจะเป็นผู้นำในการปฏิบัติธรรม และช่วงตอนเช้าวันที่ 1 มกราคม จะทำบุญตักบาตรเนื่องในเทศกาล ขึ้นปีใหม่ พระภิกษุสามณรจะเดินเรียงลำดับอาวุโสไปบิณฑบาตตามละแวกบ้าน เมื่อถึงหมู่บ้านที่ชาวบ้านกำลังรออยู่ ก็จะยืนเรียงเป็นแถวหรือการตักบาตรเป็นสังฆทาน
2. บุญเข้ากรรม ซึ่งเป็นเดือนที่พระสงฆ์เข้ากรรม (ปริวาสกรรม) เพื่อให้พระสงฆ์ผู้กระทำผิดได้สารภาพต่อหน้าคณะ
สงฆ์ เป็นการฝึกจิตสำนึกถึงความบกพร่องของตนและมุ่งปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยต่อไป
นายทวี หม่อมสระ เป็นบุตรคนที่ 3 เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ที่บ้านนาเป๊อย
หมู่ที่ 5 ตำบลโนนทัน อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ย้ายตามบิดามารดามาอยู่ที่บ้านหนองกุง หมู่
ที่ 4 ตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันอาศัยอยู่บ้านหนองกุง หมู่ที่ 15 ตำบลกุดกว้าง อำเภอหนองเรือ จังหวัด
ขอนแก่น เมื่ออายุ 22 ปี หรือ พ.ศ. 2516 ได้แต่งงานกับนางสมบัติ หม่อมสระ มีบุตรด้วยกัน 3 คน
ดังนี้
1. นายสุขสันต์ หม่อมสระ
หม่อมสระ 2. นางสาววิลาวรรณ
3. นายวรพันธ์ หม่อมสระ
ภูมิลำเนาเดิม
ตำบลโนนทัน อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น
ประวัติการศึกษา
เรียนที่โรงเรียนบ้านนาเป๊อยคุรุประชานุกูล จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
เรียนที่โรงเรียนหนองเรือวิทยา จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2531-2540 : ทำอาชีพค้าขายวัสดุก่อสร้าง
พ.ศ. 2534-ปัจจุบัน :
ได้รับการแต่งตั้งเป็น อสม. หมู่บ้านหนองกุง
พ.ศ. 2546-ปัจจุบัน : ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกองทุนหมู่บ้าน บ้านหนองกุง
พ.ศ. 2550-2555 : ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้าน ประจำหมู่บ้านหนองกุงจนสิ้นวาระ
พ.ศ. 2556-ปัจจุบัน :
ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกเทศมนตรีตำบลกุดกว้าง
คติประจำใจ
จะทำงานด้านบริการ ต้องมีใจรักที่จะทำงานช่วยเหลือพ่อแม่พี่น้อง
ความภาคภูมิใจ
รู้สึกภูมิใจที่ได้ช่วยเหลือสมาชิกในชุมชนให้ได้มีที่อยู่อาศัย มีที่ทำกิน จึงได้เป็นผู้ประสานงาน
กับหน่วยงาน เพื่อให้มีแหล่งเพาะปลูก เผาถ่านและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้วัดกู
แก้วพัฒนาราม ให้ได้เป็นวัดที่ถูกต้องตามหลักศาสนา รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน เป็น
ผู้สร้างขวัญกำลังใจ เป็นที่พึ่งให้สมาชิกในชุมชน แม้จะสิ้นวาระการทำงาน ก็จะมีคนนึกถึงและให้ความ
เคารพนับถือ
ผังเครือญาติของนายทวี หม่อมสระ จะเห็นได้ว่า นายทวี หม่อมสระ เป็นบุตรของ นาง
แสง หม่อมสระ กับนายกา หม่อมสระ มีพี่น้องร่วมกัน 3 คน ตั้งแต่แรกเกิดความสัมพันธ์ของนายทวี
หม่อมสระและเครือญาติก็มีความสัมพันธ์ดีต่อกันต่อมาโดยตลอดนายทวี หม่อมสระ สมรสกับนาง
สมบัติ หม่อมสระ มีบุตรร่วมกัน 3 คน ปัจจุบันอาศัยอยู่กับภรรยา บุตรสาว ลูกเขย และหลานชาย
ส่วนบุตรชายอีก 1 คน ไปทำงานที่ต่างจังหวัด
ระดับการศึกษาของตระกูลหม่อมสระ ได้เล็งเห็นความสำคัญของระดับการศึกษาและปลูกฝัง
ให้ลูกหลานได้เหล่าเรียนในระดับที่สูง
โดยตระกูลหม่อมสระ โดยรวมบุคคลในครอบครัว มีสุขภาพที่ดี จะมีเครือญาติที่พบโรค
เหมือนกันที่ชัดเจน คือ โรคเบาหวาน ซึ่งมีศักดิ์เป็นพี่สาว คือ นางฉวี สาลิมาและนายทวี หม่อมสระ
ก็มีโรคประจำตัว เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งการเกิดโรคเบาหวานพบในลักษณะของ
โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ จึงต้องมีการดูแลและให้ความสำคัญครอบครัวเป็นอย่างมาก โอกาส
ที่ลูกจะเป็นเบาหวานจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30 ซึ่งโรคเบาหวานทางพันธุกรรม เกิดจากความดื้อต่อ
อินชูลินจะเกี่ยวข้องกับยืนหลายตัว ทำให้ระดับความรุนแรงในการถ่ายทอดโรคเบาหวานทาง
พันธุกรรมแตกต่างกันไปในแต่ละครอบครัว
ร้านค้าของชำ
ในหมู่บ้านมีร้านขายของชำ จำนวน 2 แห่ง เป็นแหล่งสำหรับให้ประชาชนซื้อของใช้ อุปโภค บริโภคในครัวเรือน เช่น เครื่องปรุงชนิดต่างๆ อาหารแห้ง สบู่ แชมพู ผงซักฟอดต่างๆ และมีการจำหน่าย บุหรี่ สุรา ไม่มีการจำหน่ายยาชุด ยาแก้ปวด ยาต้ม ยาหม้อ โดยร้านค้า 1แห่งต่อประชากร 154 คน
รถพุ่มพวง
ขายในหมู่บ้านมีรถพุ่มพวงเข้ามาขาย จำนวน 1 คัน ประชาชนจะซื้อของสด ประกอบอาหาร เช่น ผักสด เนื้อสัตว์ เครื่องเทศต่างๆ เป็นต้น ซึ่งรถพุ่มพวงจะเข้ามาในหมู่บ้านตอนเช้า ขับรอบๆ หมู่บ้าน โดยรถพุ่มพวง 1 คันต่อประชากร 308 คน
ร้านขายก๋วยเตี๋ยว
ทางเข้าหมู่บ้านมีร้านขายก๋วยเตี๋ยว จำนวน 1 ร้าน ประชาชนจะมาซื้ออาหาร เพื่อที่จะนำไปบริโภคในครัวเรือน โดยร้านขายก๋วยเตี๋ยว 1 ร้านต่อประชากร 308 คน
ศาลาประชาคม
ภายในหมู่บ้านมีศาลาประชาคม 1 แห่ง ตั้งอยู่ที่กลางหมู่บ้าน เป็นสถานที่ที่ประชาชนใช้จัดการประชุมต่างๆ ในหมู่บ้าน และมีหอกระจายข่าว เพื่อใช้สำหรับการประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่างๆ
ลานกีฬาหมู่บ้าน
เดิมใช้เป็นแหล่งออกกำลังกายสำหรับประชาชนในหมู่บ้าน แต่ปัจจุบันใช้สำหรับเป็นที่กักตัวระชาชนกลุ่มเสี่ยงที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงที่ต้องกักตัวตามมาตรการ
วัดกู่แก้วพัฒนาราม
มีวัดอยู่ฝั่งทิศเหนือของหมู่บ้าน ติดกับถนนมะลิวัลย์ ประชาชนจะไปทำบุญตักบาตรในวันสำคัญทางศาสนา ซึ่งวัดอยู่ห่างจากตัวหมู่บ้านประมาณ 1.5 กิโลเมตร
วัดป่าดอนกู่
โบราณสถานวัดป่าดอนกู่เป็นสถานที่ยังไม่ได้รับการขุดค้น ขุดแต่ง บูรณปฏิสังขรณ์ อนุรักษ์รักษาและศึกษาอย่างจริงจัง ได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถานและประชาชนไม่ได้มีการใช้ประโยชน์
ศาลปู่ตา
ภายในหมู่บ้านมีศาลปู่ตาจำนวน 1 แห่ง เป็นสถานที่ที่ประชาชนในหมู่บ้านให้ความเคารพบูชาเป็นที่พึ่งพาทางจิตใจ ประชาชนนิยมไหว้ขอพร เพื่อส่งเสริมความสิริมงคล
ศาประชาคม
ศาประชาคม เป็นชื่อเรียกของเสาหลักบ้านหนองกุงที่ชาวบ้านเคารพนับถือ และเชื่อว่าเป็นที่คอยปกปักรักษาปัดเป่าสิ่งไม่ดีสิ่งชั่วร้ายไม่ให้เข้ามาในหมู่บ้าน
พุทธวจน สาวกตถาคต
เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์ ที่เลื่อมใสในคำพูดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า จะเผยแผ่คำสอนของพระพุทธเจ้าโดยการพูดบรรยาย ที่ไม่ใช่การสวดมนต์ เทศนา ประชาชนในหมู่บ้านที่เข้าร่วมจะมีเป็นส่วนน้อยประมาณ 2-3 คน ส่วนมากจะเป็นประชาชนจากหมู่บ้านอื่นที่เข้ามาปฏิบัติธรรม
สระหนองกุง
สระหนองกุง มีความลึกมากกว่า 2 เมตร มีน้ำเพียงพอตลอดปี ใช้สำหรับทำนา ใช้ทำน้ำประปา ใช้เป็นแหล่งเลี้ยงปลา และในบางปีจะมีการขายบัตร เพื่อให้ประชาชนทั้งในและนอกหมู่บ้านมาตกปลา แล้วนำรายได้เข้าเป็นเงินกองกลางของหมู่บ้าน
จากแหล่งนี้
ประชาชนบ้านหนองกุงใช้ภาษาถิ่นอีสานในการสื่อสารในชุมชน และใช้ภาษากลาง ภาษาไทยในการติอต่อสื่อสารกับหน่วยงานต่างๆ
ชุมชนบ้านหนองกุงไ้เข้าร่วมโครงการ หนองกุงร่วมใจ ห่างไกลเบาหวานความดัน ประจำปี 2564
โรดต่อเรื้อรัง (non-communicable disease) เป็นภาระโรคสำคัญทั่วโลกความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยโรคเบาหวานและโรคความต้นโลหิตสูงถือเป็นสาจจัยเสี่ยงหลักของการสูญเสียสุขภาวะของประชากรโลก สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทยนั้
ม่ติดต่อเรื้อรังยังคเป็นปัญหาสุขภาพนดับหนึ่งของประเทศทั้งในมิติของจำนวนกะภาระโรคโดยรวม ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับสถานการณ์ระดับโลก จากการรายงองกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระหว่างปี พ.ศ. 255
พบอัตราการเสียชีวิตอย่างหยาบ อันมีสาเหตุมาจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในะชากรไทย โดยในปี พ.ศ. 2561 โรคไม่ติดต่อที่เนสาเหตุการตาย 3 อันดับแรกได้แรวมทุกประเภท รองลงมาคือ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจขาดเลือด คิดเป็นอัตราการเสียชีวิต123.3 47.1 และ 31.8 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ และปัจจุบันมีอัตราการเสียชีวิตของระชากรมักเกิดจากภาวะแทรกซ้อนเมื่ออายุเพิ่มขึ้น คาดการณ์ว่าความชุกของโรคเบาหวานจะเพิ่มถึง 5.3 ล้านคนในปี 2583 มีค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขจากโรคเบาหวาน 47,596 ล้านบาทต่อปี (สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, 2562)ในเขตสุขภาพที่ 7 (ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด) ในปี พ.ศ. 2560-2564 ผู้ป่วยเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยจังหวัดขอนแก่นมีผู้ป่วยเบาหวาน เท่ากับ 7,206.01,7,558.21,8,138.1, 8,455.21 และ 8,675.96 ต่อประชากรแสนคน จังหวัดมหาสารคามมีผู้ป่วยเบาหวานเท่ากับ 6,726.57, 7,003.04, 7,934.8, 8,488.02 และ 8,944.15 ต่อประชากรแสนคน จังหวัด
กาฬสินธุ์มีผู้ป่วยเบาหวาน เท่ากับ 6,374.13, 6,683. 14, 7,091.84, 7,441.82 และ 7,729.08 ต่อประชากรแสนคน และจังหวัดร้อยเอ็ดมีผู้ป่วยเบาหวาน เท่ากับ 6,888.64, 7,048.82, 7,679.7,7,894.37 และ 8,197.44 ต่อประชากรแสนคนสถานการณ์โรคเบาหวานของอำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ปี 2560-2562 พบอัตราป่วยเบาหวาน คิดเป็น 17,707.27 , 17,886.57 และ 18,907.34 ต่อประชากรแสนคน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดกว้าง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น เป็นหน่วยบริการปฐมภูมิ รับผิดชอบดูแลประชากร ในพื้นที่ทั้งหมด 13 หมู่บ้าน มีประชากรในเขตที่รับผิดชอบทั้งหมด 6,489 คน ในปี2560-2562 พบว่าอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพคืดเป็น 28,847.18 , 30,694.66 และ 33,258.17 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ สาเหตุ เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตในปัจจุบันที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมา ประทานอาหารรสหวาน มัน เค็ม มากเกินไป ทานผักผลไม้น้อย ออกกำลังกายและความเครียดเพิ่มมากขึ้น สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อีกทั้งยังละเลยการตรวจสุข ตดติกรรมเหล่านี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะอ้วนและจะส่งผสให้เกิดโรคตามบามากมาย เช่นความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และโรคเบาหวาน เป็นต้นจากข้อมูลการมาคัดกรองโรคเบาหวานความดันของประชากรกลุ่มเสี่ยงบ้านหนองกุง หมู่ที่5 พบว่า มีจำนวนผู้มาตรวจคัดกรองน้อยกว่าเกณฑ์ตัวชี้วัด KP เขตสุขภาพที่ 7 จังหวัดขอนแก่นชีงบประมาณ ปี พ.ศ. 2564 ร้อยละของประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไปที่ต้องได้รับการคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ซึ่งหมู่บ้านหนองกุงในปี 2562 , 2563 มีจำนวนผู้มาคัดกรองเบาหวานความดัน คิดเป็นร้อยละ 27.07, 71.42 ตามลำดับ และจากข้อมูลการสอบถามพฤติกรรมสุขภาพส่วนบุคคลและพฤติกรรมสุขภาพครอบครัว พบว่ายังมีพฤติกรรมสุขภาพที่เสี่ยง เช่นรับประทานอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม ไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ คิดเป็นร้อยละ 44.08 อาจเกิดจากขาดความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวหรือจากการขาดความตระหนัก ซึ่งจะส่งผลกระทบให้เกิดผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่เพิ่มขึ้นจำนวนมากจนเกินเกณฑ์มาตรฐานจากปัญหาดังกล่าวหากได้มีการตรวจคัดกรอง ค้นหาผู้ที่มีความเสี่ยงในระยะเริ่มต้น เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงรู้จักวิธีการปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง จะช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและความตันโลหิตสูงได้ ดังนั้น ผู้จัดทำจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพของประชากรที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าว จึงได้มีการจัดทำ "โครงการ หนองกุงร่วมใจ ห่างไกลเบาหวานความดันประจำปี 2564" ร่วมกับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดกว้าง เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้เพิ่มศักยภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสม ส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรงสุขภาพจิตดี เพื่อป้องกันโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงที่จะเกิดขึ้นต่อไป
บ้านหนองกุงร้านหนองกุงลาบเป็ด ร้านก๋วยเตี๋ยวอาบอม และ วัดป่าหนองกุง
บรรณานุกรม
สนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2560). คู่มืออาสาสมัครประจำครอบ
กลุ่มดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) สืบคั้นวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 จาก :
http://phc.moph.go.th/www_hss/data_center/dyn_mod/NCDs.pd
มอนามัย.(2563). 3 อ. 2 ส. รหัสป้องกันโรค.สืบค้นวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564.จ
https://muttimedia.anamai.moph.go.th/infographics/info190-protect
องสุขศึกษา. (2558). ความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส. ของคนไทย กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวา
ความดันโลหิตสูง ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป. สืบคันวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 จาก :
http://www.hed.go.th/linkhed/file/597
ฤติเดช มิ่งไม้และคณะ. (2560). ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติตนในการดูแลผู้สูงอายุขอ
ตำบลหนองหอย อำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา. ผลงานวิชาการมหาวิทยาลัย
มหาสารคาม.
โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และคณะ. (2559), วิถีชุมซน เครื่องมือ 7 ชิ้นที่ทำให้งานชุมชนง่ายได้ผลและ
สนุก, 4 (11),15-100
จริยาวัตร คมพยักฆ์. (2554). การพยาบาลอนามัยชุมชน : แนวคิดหลักการและการปฏิบัติการ
พยาบาล.กรุงเทพฯะ จุดทอง.
จีระศักดิ์ เจริญพันธ์. (2554). การจัดการสาธารณสุขในชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 10). ขอนแก่น : คณะ
สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เจษฎา ปวณี เกียรติคุณ. (2557). เรื่องการรับรู้สมรรถะแห่งตนและพฤติกรรมการดูแลตนเองของ ผู้
ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลกองแขก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัด
เชียงใหม่. เชียงใหม่ สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2564,/จากเว็บไซต์ https://he01.tci-
thaijo.org/index.php/scnet/article/download/52532/43590/
พัชราภรณ์ มีทรัพย์. (2564). ความชุกและปัจจัยส่งผลให้ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงควบคุมระดับ
ความดันโลหิตไม่ได้ตามเป้าหมายในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเชียงของ จังหวัดเชียงราย
สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน2564,จากเว็บไซต์ https://so03.tc-haijo.org/index.php/
พิมพ์พรรณ ศิลปสุวรรณ. (2555). ทฤษฎี-ปรัชญา ความรู้ สู่การปฏิบัติในงานพยาบาลอนามัยชุมชน.
(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
เมตตา คำพิบูลย์. (2561). การศึกษาผลการใช้รูปแบบบริการที่เหมาะสมสำหรับการป้องกันควบคุม
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง สืบคันเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2564,จากเว็บไชต์
https://thaidj.org/index.php/JHS/article/download/11195/9726