Advance search

หนองเรือตระการ จักสานไม้ไผ่ ไก่ย่างทางพาด ตลาดกะหล่ำ เลิศล้ำเพชรพลอยเจียระไน พระใหญ่ภูเม็งทอง

หมู่ที่ 21
บ้านหนองไพ่พัฒนา
กุดกว้าง
หนองเรือ
ขอนแก่น
รัตน์ดาวรรณ คลังกลาง
11 เม.ย. 2023
รัตน์ดาวรรณ คลังกลาง
11 เม.ย. 2023
veerapat srithamboon
28 พ.ค. 2023
บ้านหนองไพ่พัฒนา


ชุมชนชนบท

หนองเรือตระการ จักสานไม้ไผ่ ไก่ย่างทางพาด ตลาดกะหล่ำ เลิศล้ำเพชรพลอยเจียระไน พระใหญ่ภูเม็งทอง

บ้านหนองไพ่พัฒนา
หมู่ที่ 21
กุดกว้าง
หนองเรือ
ขอนแก่น
40210
16.48245595
102.3972398
เทศบาลตำบลเทศบาลตำบลกุดกว้าง

บ้านหนองไผ่ก่อตั้งขั้นเมื่อ พ.ศ. 2420 โดยนายโหมก น้อยนา ซึ่งเดินทางมาจากอำเภอบ้านแท่นจังหวัดชัยภูมิ พื้นที่ดังกล่าวมีความเหมาะสมในการตั้งถิ่นฐานเพราะมีหนองน้ำขนาดใหญ่และมีไม้ไผ่ล้อมรอบบริเวณนั้น จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านหนองไผ่" ตามลักษณะภูมิประเทศ ในช่วงนั้นคนในชุมชนประกอบอาชีพทำนาและรับจ้างทั่วไป น้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคคือน้ำในหนองปลาขยุ้ม ในระยะต่อมาซึ่งไม่ทราบปีพ.ศ. นายถึง ถมมา ซึ่งเป็นลูกชายของนายโหมก น้อยนา ได้รับแต่ง ตั้งจากชาวบ้านให้เป็นผู้ใหญ่บ้าน ในช่วงนั้นได้มีการระบาดของโรคอหิวาตกโรค โรคคุดทะราด โรคฝีดาษ โรคไข้จับสั่น ในปี พ.ศ.2511-2520 ได้มีการ

จัดตั้งสุขศาลาแห่งแรกที่ตำบลหนองเรือ และคนในชุมชนได้เข้ารับบริการวัคซีน ณ สุขศาลาดังกล่าว รวมทั้งได้มีหมอต่างประเทศเข้ามารักษาโรคระบาดดังกล่าวส่งผลให้โรคระบาดดังกล่าวหายไปจากหมู่บ้าน ซึ่งในสมัยนั้นมีนายหงส์ เสียงดัง เป็นผู้ใหญ่บ้าน ต่อมาในปี 2521 นายหงส์ เสียงดัง หมดวาระผู้ใหญ่บ้านจึงมีการเลือกผู้ใหญ่บ้านคนใหม่คือนายสว่าน มูลทุ่ม ได้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ดำรงตำแหน่งอยู่ 2 ปีก็ถูกยิงเสียชีวิต นายสงวน เสียงดัง จึงได้รับการเลือกตั้งให้เป็นผู้ใหญ่บ้านในปีพ.ศ. 2523 ดำรงตำแหน่งถึงปี2543 ในช่วงนั้นมีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงคือ มีการแยกหมู่บ้านออกเป็น2 หมู่บ้านคือบ้านหนองไผ่ หมู่1 และ บ้านหนองไผ่พัฒนา หมู่ 21 ในปัจจุบัน ในช่วงนั้นได้มีการขุดลอกบึงหนองไผ่ไว้สำหรับใช้น้ำอุปโภคบริโภคเนื่องจากน้ำในหนองปลาขยุ้มมีปริมาณน้อยไม่เพียงพอในการอุปโภคบริโภค เริ่มมีถนนลาดยางในหมู่บ้านซึ่งเมื่อก่อนเป็น

ถนนลูกรัง มีไฟฟ้าใช้ในหมู่บ้าน และชาวบ้านในชุมชนมีห้องน้ำทุกหลังคาเรือน 100% ในปี2533 ได้มีโรงงานน้ำตาลมาก่อตั้งในอำเภอหนองเรือส่งผลให้ชาวบ้านในชุมชนหันมาปลูกอ้อยส่งนายทุน ทำให้คนในชุมชนมีการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในปี2543 หมู่ 21 มีผู้ใหญ่บ้าน 2 คน คนแรก คือ นายมังกร ลีสิงห์ ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2543-2548 ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 2 คือ นายเหมือน ศรีคุณ ดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน 2548 ถึงปัจจุบัน

บ้านหนองไผ่พัฒนา หมู่ที่ 21 อยู่ในเขตการปกครองของ ตำบลกุดกว้าง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น การเดินทางเข้าสู่หมู่บ้านจากศาลากลางจังหวัดขอนแก่นสามารถเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว หรือดยสารประจำทาดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 12 ถนนมะลิวัลย์ จากศาลากลางจังหวัด ไปทางทิศตะวันตกผ่าน อำเภอหนองเรือ รวมระยะทาง 49 กิโลเมตร สามารถแวะเที่ยวชม สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ คือ พิภิธภัณฑ์ไดโนเสาร์และพักรับประทานอาหารได้ที่ร้านไก่ย่างทางแยก หนองเรือ

อาณาเขตที่ตั้ง

ทิศเหนือ ติดต่อกับ ถนนมะลิวัลย์

ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านโคกสูง หมู่ที่ 2

ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอหนองเรือ

ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านหนองกุง หมู่ที่ 15 บ้านหนองไผ่ หมู่ที่ 1

ลักษณะทางธณีวิทยาลักษณะภูมิประเทศลักษณะภูมิอา

ภาพภูมิประเทศของบ้านหนองไผ่ หมู่ที่ 21 ตำบลกุดกว้าง อำเภอหนองเรือ จังหวัดเติมพิริมาว ไปจะเป็นพื้นที่ราบ อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยเฉลี่ย 100 - 200 เมตรสุกธurล กษณะภูมิประเทศ ดังนี้ ที่ราบเชิงเขาและที่ราบลุ่ม โดยมีลุ่มน้ำสำคัญ ไดแก ลุ่มแม่น้ำเชิญ ซึ่งเหมารเกษตร มีดินร่วนปนทราย และดินเหนียว กักเก็บน้ำดี เหมาะแก่การทำการเกษตรแล

ลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้น มี 3 ฤดู ดังนี้

1) ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงต้นเดือนพฤษภาคม อากาศจะร้อนจัดในช่วง

เดือนเมษายนของทุกปี

2) ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนกลางเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนปลายเดือนตุลาคม โดยจะมีฝนตกชุก

ในช่วงเตือนสิงหาคมและกันยายนของทุกปี

3) ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยทั่วไปจะมีอากาศหนาวจัดในช่วง

เดือนธันวาคมจนถึงเดือนมกราคมของทุกปี แต่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศมากซึ่งจะเป็น

อากาศแบบสุดขั้ว พบว่า บางปีหากแล้ง ปริมาณน้ำในการเกษตรจะไม่เพียงพอต่อการทำเกษตรกรรมและเลี้ยง

สัตว์ หรือใช้อุปโภคบริโภค ทำให้ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและการเกษตร

1.1.5 สภาพการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและในชุมชน

ลักษณะบ้านเรือนของชาวบ้านบ้านหนองไผ่พัฒนา หมู่ที่ 21 ส่วนใหญ่อยู่กันอย่างเป็นระเบียบ

ไม่หนาแน่น บ้านเรืนส่วนใหญ่มีรั้วแบ่งอาณาเขตของบ้านชัดเจน ลักษณะตัวบ้านมีทั้งบ้านแบบเก่าและแบบ

ใหม่ ซึ่งบ้านแบบเก่าจะเป็นบ้านไม้ ส่วนบ้านแบบใหม่จะเป็นบ้านปูนชั้นเดียว หรือสองชั้น การระบายอากาศ

ในตัวบ้านค่อนข้างดี สิ่งแวดล้อมรอบบ้านมีต้นไม้ใหญ่จำนวนน้อย แต่จะปลูกไม้ดอกไม้ประดับเพราะพื้นที่มี

จำกัด สิ่งแวดล้อมในครัวเรือนแต่ละครัวเรือน ค่อนข้างสะอาดและขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละครัวเรือน ทุก

หลังคาเรือนมีห้องน้ำที่ถูกสุขลักษณะใช้ ส่วนมากนิยมใช้ส้วมซึม และบางบ้านจะเป็นชักโครก สิ่งแวดล้อม

ภายในชุมชน สะอาด น่าอยู่ดี บริเวณหรือสถานที่ที่เป็นส่วนร่วมสะอาด จากการร่วมมือกันดูแลของชาวบ้าน

ทุกคน มีการกำจัดขยะคือจะมีถังขยะอยู่หน้าบ้านและเทศบาลมาเก็บขยะทุกวันพฤหัสบดี เวลา 08.00-09.00

มีค่าใช้จ่ายในการเก็บจากเทศบาลปีละ 120 บาท แต่บางบ้านก็ไม่มีถังขยะจะใช้เป็นวิธีการเผาแทน บาง

บ้านมีการแยกขยะไว้ขาย เช่น ขยะพลาสติกขวดน้ำก็จะแยกไว้ขายก่อน ขยะเศษอาหารส่วนมากก็จะ มีวิธี

กำจัดโดยการแยกแล้วให้เป็นอาหารของสัตว์ ส่วนน้ำดื่มในการบริโภคจะได้จากการซื้อน้ำดื่มแบบถังไว้ดื่มเป็น

ส่วนใหญ่ โดยซื้อมาจากแม่ลำดวน ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำดื่มในหมู่บ้าน โดยการขุดเจาะน้ำบาดาลมาใช้ในการผลิตน้ำ

ดื่ม เนื่องจากโรงงานที่อยู่ใกล้กับหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงกลัวว่าน้ำฝนจะปนเปื้อนสารเคมี ทำให้เป็นอันตรายต่อ

ร่างกาย บางบ้านจะซื้อจากผู้ผลิตภายนอกหมู่บ้าน ส่วนน้อยจะรองน้ำฝนไว้ในโอ่งใหญ่ที่เก็บไว้ดื่ม การระบาย

น้ำเสียในหมู่บ้านจะขุดเป็นร่องระบายน้ำ ปล่อยให้ของเสียซึมลงสู่พื้นดินและพ่อระบายน้ำ ไม่มีน้ำชังตามทาง

ระบายน้ำ

1.1.6 แหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในเขตของชุมชน

- ทรัพยากรน้ำ มีลุ่มน้ำที่สำคัญ คือ ลุ่มแม่น้ำเชิญ สระหนองไผ่ 1 แห่ง อ่างเก็บน้ำหนองโสน ลำน้ำจากจังหวัด

ชัยภูมิและ โดยประชาชนในหมู่บ้านจะใช้ในการเกษตรกรป่าไม้ มีพื้นที่ป่ไม้ในหมู่บ้าน คือ ป่าดอนตาปู่ โดยจะอยู่บริเวณทางเข้าทิศตะวันตก ศาลตาปู่ บริเวณป่าไม้จะร่มรื่น เงียบสงบ ชาวบ้านจะใช้เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ เป็นพื้นที่ที่คารพศรัทธาเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธ์ โดยทุกปีจะมีการทำพิธีเลี้ยงตาปู่ เพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขอยละ 80 เป็นดินร่วนปนเหยว เหมาะสำหรับทำการเกษตร เช่น การปลูกข้าว อ้อยน้ำดื่มบริโภคประชากรครัวเรือนบ้านหนองไผ่พัฒนา หมู่ที่ 21 พบว่าแหล่งน้ำบริโภค ส่วนมากดื่

อนจะมีเครื่องกรองน้ำไว้ใช้ในบ้าน และบางครัวเรือนรองน้ำฝนไว้ในโอ่งขนาดใหญ่ มีเพีองพอต่อการบริโภคตลอดปี ซึ่งจากการสัมภาษณ์พบว่า ประซากรส่วนใหญ่หันมาซื้อน้ำบริโภคซึ่งเดิมแล้วเศยบริโคคน้ำฝน เพราะน้ำฝนไม่สะอาด รวมทั้งมีการปลูกไร่อ้อยและปัจจุบันมีโรงงานน้ำตาลอยู่ใกล้หมู่บ้านการที่จะรองน้ำฝนไว้ดื่ม มีโอกาสที่สารเคมีจะปนเปื้อนอยู่กับน้ำได้ และอาจส่งผลให้เกิดการได้รับสารเคมีะสมที่ปนเปื้อนมากับน้ำดื่มน้ำใช้ด้ ในระยะยาวอาจทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง

- น้ำใช้ ทุกครัวเรือน จำนวน 132 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 100 ใช้น้ำประปาประจำหมู่บ้าน น้ำประปาไหล

สะดวก เพียงพอต่อการใช้ตลอดปี

- ไฟฟ้า ใช้ทุกครัวเรือน จำนวน 132 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 100 มีไฟฟ้าใช้อย่างเพียงพอ

ชุมชนบ้านหนองไผ่พัฒนา หมู่ 21 อยู่ในเขตให้บริการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอหนองเรือซึ่ง

ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำของเขื่อนอุบลรัตน์ย์และพลังงานความร้อนในเขตอำเภอน้ำพอง

โทรศัพท์ จากการสำรวจภายในชุมชนบ้านหนองไผ่พัฒนา หมู่ 21 มีตู้โทรศัพท์สาธารณะจำนวน 3 ตู้ ไม่

สามารถใช้ได้ ส่วนมากจะไม่นิยมใช้ เนื่องจากเกือบทุกครัวเรือนมีโทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร หอ

กระจายข่าว 1 แห่งไว้สำหรับประชาสัมพันธ์ข่าวสารในหมู่บ้าน

1.2 การคมนาคม

1.2.1 การเดินทางติดต่อกับชุมชนใกล้เคียงอำเภอหรือจังหวัดโดยเฉพาะกับสถานบริการสุขภาพที่

สำคัญ เช่น โรงพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดกว้าง หรือคลินิกต่างๆ

การเดินทางภายในหมู่บ้าน การเดินทางติดต่อกับหมู่บ้านใกล้เคียง และเดินทางไปใช้บริการที่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดกว้างเดินทางโดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะหลักในการเดินทาง ซึ่ง

การเดินทางภายในหมู่บ้านส่วนใหญ่จะไม่มีการสวมหมวกนิรภัย จะใส่เมื่อเวลาเดินทางเข้าในตัวเมือง ถนน

ภายในหมู่บ้านและชุมชนใกล้เคียงเป็นถนนคอนกรีต ถนนเข้าหมู่บ้านและถนนเส้นหลักในหมู่บ้านเป็น

ถนนลาดยาง ภายในหมู่บ้านในซอยเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กสภาพดี จะมีถนนลูกลังตามซอยในหมู่บ้าน

เล็กน้อย การคมนาคมสะดวก ส่วนการเดินทางระหว่างอำเภอหรือจังหวัดโดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 12

(ถนนมะลิวัลย์) ประชาชนส่วนมากจะเดินทางโดยรถส่วนตัว หรือใช้บริการรถรับจ้างโดยมีค่าบริการไปกลับ

100 บาท นักเรียนเดินทางไปโรงเรียนหนองไผ่ดุสิตประชาสรรค์ โดยรถจักรยานและการเดิน หากเรียน

โรงเรียนนอกหมู่บ้านจะเดินทางโดยรถรับส่ง

1.2.2 สภาพถนนในแต่ละฤดูกาล

ถนนที่ใช้เดินทางไปที่ว่าการอำเภอเป็นถนนลาดยาง ส่วนถนนภายในหมู่บ้านร้อยละ 80 เป็นถนน

คอนกรีต ส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากเทศบาลตำบลกุดกว้าง ซึ่งสภาพถนนหน้าแล้งจะมีถนน

แห้งดี มีฝุ่นละออง ส่วนหน้าฝนถนนจะลื่น ทำให้การเดินทางลำบากและอาจเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้

มะละกอ กล้วย เป็นต้น

ประชากรบ้านหนองไผ่พัฒนาหมู่ที่ 21 กำลังจะเปลี่ยนแปลงในอนาคต คือ มีการลดลงของประชากรในวัยก่อน

เจริญพันธุ์และมีการเพิ่มขึ้นของประชากรของผู้สูงอายุ ซึ่งจำนวนผู้สูงอายุ บ้านหนองไผ่พัฒนา หมู่ที่ 21 ปี

2561 รวมทั้งหมด 74 คน ผู้ชายทั้งหมด 36 คน ผู้หญิงทั้งหมด 38 คน การที่ประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นจะ

ส่งผลในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ประซากรในบ้านหนองไผ่พัฒนาหมู่ที่ 21 เปลี่ยนจากสังคมที่มีวัยแรงานมาก (อายุ 25-59 ปี) เป็น

สังคมของผู้สูงอายุโดยจะพบผู้ที่มีอายุยืนมากขึ้น แต่จะขาดแคลนแรงงานส่งผลต่อการลดลงของรายได้เฉลี่ย

ของประชากร และส่งผลต่อรายได้จากเงินภาษีอากรของรัฐลดลงด้วยแต่รัฐจะต้องมีรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นในด้านที่

เกี่ยวกับผู้สูงอายุ เช่น การประกันสังคม สุขภาพอนามัย และสวัสดิการของผู้สูงอายุต่างๆ เป็นต้น

2. รูปแบบของการพึ่งพิงกันระหว่างกลุ่มประชากรในช่วงอายุต่างๆ จะเปลี่ยนไป โดยพบว่โครงสร้าง

ประชากรที่เปลี่ยนไปนี้จะทำให้จำนวนประชากรในวัยเด็กที่ต้องพึ่งพิงวัยทำงานลดลง แต่กลับมีวัยผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพิงวัยทำงานเพิ่มขึ้น เมื่อวัยเด็กลดลงก็จะส่งผลต่อการลดลงของวัยผู้ใหญ่ที่เป็นวัยทำงานด้วย ถ้าหากวัย

ผู้สูงอายุมากกว่าวัยทำงาน ก็จะพบกับปัญหาของการขาดที่พึ่งพิงของกลุ่มคนสูงอายุ ในแต่ละครอบครัวก็จะมี

สมาชิกที่จะดูแลผู้สูงอายุน้อยลง ปัญหาผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งก็จะมีมากขึ้นตามลำดับ

3. การที่ประซากรมีชีวิตยืนยาวขึ้น มิได้หมายถึงประชากรผู้สูงอายุมีสุขภาพดีขึ้น แต่ดูเหมือนว่าช่วง

ชีวิตที่ยืนยาวขึ้นนั้นจะเป็นช่วงชีวิตที่มีการเจ็บป่วยเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จึงคาดการณ์ว่าในอนาคตจะมีแนวโน้ม

ของการเกิดโรคเรื้อรังที่เพิ่มขึ้น

เนื่องจากมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุในอนาคต โอกาสที่ผู้สูงอายุจะถูกทอดทิ้งจากครอบครัว

หรือญาติพี่น้องจึงมีมากขึ้น ดังนั้นสถาบันครอบครัวยังคงเป็นสถาบันหลัก ในการเกื้อหนุนผู้สูงอายุ เรื่องของ

ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุก็ยังเป็นประเด็นหนึ่งที่น่ห่วงใย เราควรส่งเสริมให้ประชากรที่มีอายุยืนยาวขึ้น มี

สุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นภาระของบุตรหลาน ช่วยเหลือตนเองได้ทั้งทางสังคม และเศรษฐกิจ ในส่วนนี้กระทรวง

สาธารณสุข คงมีบทบาทอย่างสำคัญในการส่งเสริม และดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ สำหรับคนที่เข้าใกล้วัย

สูงอายุนั้น ควรรณรงค์ให้มีการเตรียมตัวก่อนเป็นผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในด้านสุขภาพและเศรษฐกิจ การ

เตรียมการนี้ควรส่งเสริม ทั้งในด้านการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เช่น การออกกำลังกาย การกินอยู่ การตรวจ

สุขภาพ การเตรียมการด้านเศรษฐกิจ ตลอดจนที่อยู่อาศัย ส่วนในกลุ่มวันสูงอายุนั้น ควรมีมาตรการดูแล

สุขภาพให้แข็งแรง หรือลดโอกาสที่จะเกิดการเจ็บป่วยให้น้อยที่สุด

กำลังคน ได้แก่ บ้านหนองไผ่พัฒนา หมู่ที่21 มีผู้ใหญ่บ้าน 2 คน คนแรกคือ นายมังกร สีสิงห์ ดำรง

ตำแหน่ง พ.ศ.2543 - 2548 ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 2 คือ นายเหมือน ศรีคุณ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 3 มิถุนายน

พ.ศ.2548 จนถึงปัจจุบัน

คณะกรรมการหมู่บ้าน 10 คน หัวหน้าคุ้ม 7 คน คณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน 4คน คณะกรรมการ

ออมทรัพย์เพื่อการผลิต 8 คน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) 13 คน อาสาสมัครเกษตร 1

คน คณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล 2 คน ปราชญ์ชาวบ้าน

ด้านการเกษตร 2 คน อปพร. 6 คน คณะกรรมการป้องกันและต่อต้านยาเสพติดระดับหมู่บ้าน 25 คน

1.บุญส่งท้าย ต้อนรับปีใหม่ ตักบาตรปีใหม่

วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ อวย

พรซึ่งกันและกัน ลูกหลานที่ไปทำงานที่อื่น จะกลับมาบ้านเพื่อมาหาญาติผู้ใหญ่ มาขอพรและร่วมรับประทาน

อาหาร สังสรค์ร่วมกัน จะเรียกว่าบุญเดือนอ้าย

2.บุญคูนลาน

บุญที่ทำขึ้นเพื่อแสดงความเคารพ ในปัจจัยยังชีพของคน คือข้าวที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับลูกหลาน

ในการที่จะได้ข้าวมานั้นยากลำบากและถือว่าปีใดบุญลานมีข้าวเยอะแสดงว่าปีนั้นมีความอุดมสมบูรณ์ดีและ

เป็นการทำให้เกิดสิริมงคลแก่ชาวบ้านและขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิทั้งหลาย โดยการนำเอาข้าวที่นวดมากองขึ้นให้

สูงขึ้นเรียกว่าคูณลาน จะเรียกว่าบุญเดือนยี่

3.บุญข้าวจี่

เป็นการนำเอาข้าวเหนียวที่ปั้นโรยเกลือทาไข่ใก่ แล้วจี่ไฟให้สุกเรียกว่าข้าวจี่ ซึ่งการทำบุญข้าวจี่ใน

เดือนสามเป็นช่วงที่ซาวนาหมดภาระในการทำนาแล้วข้าวขึ้นยุ้งฉางใหม่จึงอยากร่วมทำบุญถวายพระ

4.บุญมหาชาติ

เป็นบุญที่ทำเกี่ยวกับเรื่องพระเวสสันดรนิยมทำในเดือนสี่

5.บุญสงกรานต์

บุญมหาสงกรานต์หรือตรุษสงกรานต์ ของภาคอีสานกำหนดขึ้นในเดือนห้า มี3วัน ตั้งแต่13วัน

มหาสงกรานต์ 14 วันเนา 15 วันสุดท้ายเป็นวันเถลิงศก ชาวอีสานถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ มีการทำบุญตักบาตร

ทำบุญสรงน้ำพระและรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ เพื่อขอให้มีความเป็นอยู่ร่มเย็นเป็นสุข

6.บุญบั้งไฟ / บุญบวช / บุญงานแต่ง

บุญบั้งไฟมีความสำคัญต่อชาวอีสานมาก เพราะเชื่อว่าบุญประเพณีนี้จะทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์

ของฟ้าฝนข้าวปลาอาหารพืชพรรณเจริญเติบโตงอกงามดีและนำมาซึ่งความสนุกสนาน เกิดความหวังในชีวิต

เหมือนมีที่พึ่ง อยู่ใกล้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะมีความเชื่อมาจากเรื่องพญาแถน(เทวดาชาวอีสาน)ที่ดลบันดาลให้

ความอุดมสมบูรณ์จึงมีการทำบุญบูชาพระญาแถน และบูชามเหศักดิ์หลักเมืองทุกปี

7.บุญเบิกบ้านหรือบุญซำฮะ

เป็นบุญที่จัดขึ้นเพื่อทำพิธีปัดรังควาน ขับไล่ความเสนียดจัญไรภูตผีปีศาจออกจากหมู่บ้าน บางแห่ง

เรียกว่า บุญเบิกบ้าน หรือ บุญบ้านเป็นบุญที่แต่ละหมู่บ้านจะทำไม่ขาด เป็นบุญเกี่ยวกับภูตผีปีศาจ สิ่ง

ศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้าน ผีปู่ตา ผีตาแฮก มเหศักดิ์หลักเมือง ที่คอยคุ้มครองหมู่บ้านชาวบ้านเชื่อว่าจะรวม

ผีบรรษบุรุษอยู่ด้วยที่ช่วยดลบันดาลให้ชาวบ้านเมืองมีความสุข ซึ่งบุญนี้จะเป็นการทำบุญตักบาตรในหมู่บ้าน

และมีการขึงด้ายไปทั่วทุกหลังคาเรือน โดยนิมนต์4-9 รูปมาเจริญพุทธมนต์ แล้วมีพิธีผูกข้อต่อแขนซึ่งกันและ

กันของคนในหมู่บัานที่ได้ฝ่ายจากการทำพีธีและมีการน้ำกรวดทรายหรือหินไปหว่านรอบๆหมู่บ้านหรือหลังคา

บ้าน เพราะเชื่อว่าเป็นการกันผีหรือสิ่งจัญไรเข้าหมู่บ้าน นอกจากพิธีเหล่านี้แล้วชาวบ้านก็จะเก็บสิ่งที่ไม่ดีออก

จากบ้านตน เช่นของเก่า เสื้อผ้าขาด ก่องข้าว เพื่อให้บ้านเรือนตนสะอาด บริสุทธิ์

8.บุญเข้าพรรษา

การที่พระสงฆ์อยู่ประจำอาวาสแห่งเดียวตลอด 3 เดือน ในฤดูฝนเรียกว่าพรรษา โดยปกติกำหนดเอา

เดือน 8 เป็นวันเข้าพรรษา ชาวบ้านจะมีการเตรียมเทียนเพื่อไปถวายวัด รวมทั้งเครื่อง

ต่างๆโดยเฉพาะเครื่องสำหรับให้แสงสว่าง แม้ปัจจุบันจะเจริญแล้วแต่ยังรักษาตเดิมโดยการนำเทียน ตระ

เกียงน้ำมัน ธูปเทียนไปถวายเช่นเดิม และการนำถวายผ้าอาบน้ำฝนเพื่อใช้อาบน้ำช่วงฤดูฝน

9.บุญข้าวประดับดิน

เป็นบุญสิ้นเดือนเก้า ที่เรียกอีกอย่างว่า บุญข้าวสาก นำอาหารคาวหวาน หมากพลูบุหรี่จัดใส่กระทง

วางไว้บนพื้น ใต้ต้นไม้เพื่อเป็นการเช่นดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ ที่มีความสำคัญต่อชาวอีสานเพราะเชื่อว่า

เป็นบุญที่ต้องส่งส่วยให้กับผีฮักและผีบรรพบุรุษ เพื่อให้เกิดความเป็นอยู่ ทรัพย์สิน ข้าวปลาอาหารอุดม

สมบูรณ์ไม่มีภัยร้ายใดๆมาเยือน

10.บุญข้าวสาก

เป็นบุญที่ทำเพื่ออุทิศให้แก่ผู้ตายหรือเปรต โดยมีเวลาห่างจากบุญข้าวประดับดินเพียง 15วันเป็นเวลา

ที่เปรตต้องกลับไปอยู่ที่ของตน ซึ่งทั้งสองบุญนี้จะมีลักษณะคล้ายๆกันคือการห่อข้าวส่งให้เปรต รวมทั้งบรรพ

บุรุษญาติพี่น้องของผู้ทำบุญด้วยและเปรตไม่มีญาติด้วย

11.บุญออกพรรษา ตักบาตรเทโว

เป็นวันขึ้น 15ค่ำเดือน 11 เป็นวันออกพรรษา วันปวารนา เป็นบุญที่ความสำคัญเพราะเชื่อว่าพระสงฆ์

ได้อยู่จำพรรษาเป็นเวลาไตรมาส (3เดือน)ย่อมมีความบริสุทธิ์ จริยธรรมงดงามจะมาซึ่งบุญและได้บุญมาก

ชาวบ้านจะร่วมกันทำบุญตักบาตรเทโวที่วัด และฟังธรรมเทศนาและกลางคืนจะจุดประทีปเพื่อความสว่างไสว

พร้อมมีการจุดปะทัดเสียงดังสนุกสนานหวั่นไหวด้วย

12.บุญกฐิน

กฐิน คือไม้สะดึง ที่ใช้สำหรับขึงผ้าเวลาจะเย็บผ้าจีวรพระในการเย็บให้สะดวกขึ้น จึงเป็นที่มาของผ้า

กฐิน คือ ผ้าจีวร สบงหรือผ้านุ่งห่มที่จะนำไปถวายพระนั่นเองบุญกฐินจึงคือบุญที่ต้องนำเข้าไปถวายพระเป็น

สำคัญ บุญกฐินเป็นบุญฮีตสุดท้ายของอีตเดือนสิบสองของชาวอีสานชาวอีสานจึงรู้ดีว่าช่วงนี้เป็นช่วงที่ต้องนำ

จีวรไปถวายในช่วงนี้ซึ่งมีกาลเวลา ที่เรียกว่าเทศกาลกฐิน ที่กลายเป็นประเพณีขึ้น ซึ่งมีความสำคัญต่อชาว

อีสานมากที่ถือว่าเป็นให้อานิสงส์แก่ผู้ทำบุญอย่างมากเพราะจะได้ถวายจีวรให้แก่ภิกษุที่ครบไตรมาส

ด้านเศรษฐกิจ

1.ตัดอ้อย : เริ่มมีการตัดอ้อยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์

2.เก็บเกี่ยวถั่วเขียว : เก็บผลผลิตช่วงเดือนกุมภาพันธ์

3.เก็บเกี่ยวถั่วเหลือง : เก็บผลผลิตช่วงเดือนมีนาคม

4.ไถกรบฟางข้าว : เริ่มทำในเดือนพฤษภาคม

5.รับจ้างทั่วไป : ทำตลอดปี

6.หว่านข้าว : เริ่มทำในเดือนมิถุนายน

7.ดำนา : เริ่มทำในเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม

8.ทำการเกษตรทั่วไป : เริ่มทำในเดือนกันยายน

9.ปลูกอ้อย : เริ่มทำในเดือนตุลาคม

10.เกี่ยวข้าว : เริ่มทำในเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม

11.ปลูกถั่วเขียว : เริ่มทำในเดือนพฤศจิกายน

12.ปลูกถั่วเหลือง : เริ่มทำในเดือนธันวาคม

เส้นทางชีวิตนายเหมือน ศรีคุณ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านหนองไผ่พัฒนา หมู่ที่ 21

นายเหมือน ศรีคุณ เกิดวันที่ 3 กรกฎาคม 2504 เกิดที่บ้านฝ่ายโศก ตำบลบ้านแวง อำเภอพุทไธสง

จังหวัดบุรีรัมย์ นายเหมือนเป็นบุตรคนที่ 3 จากทั้งหมด 5 คน เมื่ออายุ 3 ปี ได้ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่โคราชพร้อม

กับบิดามารดา เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-7 ที่โรงเรียนบ้านหลักร้อย และเรียนชั้น ม.ศ. 1-3 ที่โรงเรียนโคราช

พิทยาคม เรียนจบเมื่อ พ.ศ. 2522 จากนั้นได้สอบเป็นนักเรียนพลตำรวจ เรียนได้ 8 เดือน จึงได้ลาออกไป

ทำงานที่กรุงเทพ และทำงานรับเหมาที่จังหวัดลพบุรี และได้พบกับนางจ่อย ศรีคุณที่กรุงเทพ และแต่งงานใน

พ.ศ. 2525 ทำงานได้ 7-8 ปี ในปี พ.ศ. 2531 ได้ผ้ายกลับมารับเหมาที่บริษัทเชิดชัย จังหวัโคราช ในระหว่าง

ที่ทำงานได้มีการไปศึกษาดูงานที่ประเทศมาเลเซีย 1 ปี ในปี พ.ศ. 2543 ได้ออกจากบริษัทเชิดชัยมาอยู่ที่บ้าน

หนองไผ่พัฒนา จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นบ้านของภรรยา และได้เปิดอู่ช่อมรถที่อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ เปิด

กิจการได้ 2 ปี ได้เกิดภาวะฟองสบู่แตก จึงได้ปิดกิจการแล้วไปทำงานซ่อมรถที่ประเทศมาเลเซียในปี พ.ศ.

2545 ทำงานได้ประมาณเกือบ 1 ปี จึงได้ย้ายกลับมาอยู่บ้านกับภรรยาที่อาศัยอยู่ในปัจจุบัน บ้านเลขที่ 210

หมู่ 21 บ้านหนองไผ่พัฒนา ตำบลกุดกว้าง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้าน

วันที่ 3 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2548 เมื่อหมดวาระ 5 ปี ได้ลงสมัครเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านรอบที่ 2 ในปี พ.ศ. 2553

และได้รับเลือกตั้งและดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านบ้านหนองไผ่พัฒนา หมู่ที่ 21 จนถึงปัจจุบัน

ประวัติปราชญ์ชาวบ้าน

พ่อบุญเคน เสียงดัง เกิดเมื่อพุทธศักราช 2492 อายุ 69 ปี เกิดที่บ้านหนองไผ่พัฒนา อำเภอกุด

กว้าง จังหวัดขอนแก่น เป็นบุตรคนที่ 1 มีพี่น้องทั้งหมด 8 คน เรียนชั้นประถมศึกษาที่ 1-4 ที่โรงเรียนหนอง

ไผ่ จบการศึกษาเมื่อ พ.ศ.2502 3 หลังจากเรียนจบได้ประกอบอาชีพทำไร้ ทำนา ช่วยบิดา มารดา เมื่ออายุ

ได้ 12 ปี บวชเป็นสามเณรเพื่อศึกษาธรรมะและเล่าเรียน ขณะที่บวชเณรได้ศึกษาคาถาเป่า และปลุกเสก

น้ำมนต์รักษาโรคกับหลวงปู่บัวที่จังหวัดร้อยเอ็ด และเริ่มทำพิธีกรรมเมื่ออายุ 22 ปี โดยจะเป่า ทำน้ำมนต์

รักษาการเจ็บป่วยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเกี่ยวกับกระดูก แขนหัก ขาหัก การทำพิธีกรรมนั้นจะหากเป็น

เพศหญิงจะไม่ทำพิธีกรรมโดยตรงแต่จะให้ผู้ชายเป็นสื่อกลางในการพรมน้ำหรือการให้สิ่งของต่างๆ เพราะเชื่อ

ว่าจะทำให้คาถาไม่ศักดิ์สิทธิ์ การทำพิธีกรรมแต่ละครั้งจะมีการทำบุญเพื่อเป็นค่าครู ซึ่งจำนวนแล้วแต่ศรัทธา

ของผู้ที่มาทำพิธีกรรม ชาวบ้านมีความเชื่อและศรัทธาการทำพิธีกรรมกับพ่อบุญเคนหากบ้านใดมีการการ

เจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆมักจะมาหาพ่อบุญเคนก่อน จึงไปรักษาที่โรงพยาบาล นอกจากชาวบ้านในพื้นที่ยังมีคน

ต่างถิ่นหลากหลายจังหวัดมาทำพิธี หลายคนจะเรียกพ่อบุญเคนว่า "ปู่เคน" พ่อบุญเคนแต่งงานเมื่อปี พ.ศ.

2515 มีบุตรทั้งหมด 5 คน แต่ละคนมีการย้ายถิ่นฐานไปตามครอบครัวปัจจุบันอาศัยอยู่กับบุตรชายคนโตและ

มารดาอายุ 98 ปีซึ่งไม่มีโรคประจำตัวและสุขภาพแข็งแรงดี เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2516 ได้มีการตั้งเสาหลัก

บ้านที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและจะทำบุญเบิกข้านทุกๆปีเพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่หมู่บ้าน เมื่ออายุ 45 ปี ได้

สมัครไปทำงานที่ประเทศชาอุดิอาระเบีย เป็นช่างกลทำงานได้ 3 ปี ก็กลับมาประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่บ้า

หนองไผ่ดังเดิม เมื่อปี พ.ศ. 2545 ภรรยาเสียชีวิต แต่พ่อบุญเคนไม่ได้แต่งานใหม่ และทำพิธีกรรมเรื่อยมา

จนถึงปัจจุบัน เพื่อให้คงความศักดิ์สิทธิ์ของคาถาอาคมจะมีการสวดมนต์ใหว้พระเป็นประจำ ยึดถือความดี

งามตามหลักพระพุทธศาสนา

แหล่งประโยชน์ในชุมชน

. วัด มีวัดในหมู่บ้าน 1 แห่ง คือวัดจุมพลบ้านหนองไผ่ ปัจจุบันมีพระจำพรรษาในวัดจำนวน 1 รูป

นย์รวมที่พึ่งทางจิตใจ เป็นศูนย์รวมทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาในวันสำคัญทางศาสนา

ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาวัดร่วมกัน

- โรงเรียนบ้านหนองไผ่ดุสิตประชาสรรค์ มีโรงเรียนประจำหมู่บ้าน จำนวน 1 โรงเรียน มีครู 5 คน มี

เรียนทั้งหมด 52 คน เปิดสอนในระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย คนในชุมชนได้

ส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน

- หอกระจายข่าว 1 แห่ง ไว้สำหรับประชาสัมพันธ์ภายในหมู่

- ศาลาเอนกประสงค์ 1 แห่ง ไว้สำหรับทำกิจกรรมต่างๆในชุมชน และใช้ในการรวมกลุ่มของชมรม

ต่างๆ เป็นต้น

สุขศาลา 1 แห่ง ไว้สำหรับบริการทางด้านสุขภาพ ประชาคมหมู่บ้าน ประชาสัมพันธ์หมู่

กิจกรรมหมู่บ้าน เช่น บุญกฐิน รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ในวันสงกรานต์ เป็นต้น

-โรงสีข้าว 1 แห่ง ให้บริการสีข้าวแก่คนในชุมชน

- น้ำประปา 1 แห่ง ไว้สำหรับใช้ในชุมชนทุกครัวเรือน โดยคิดค่าน้ำหน่วยละ 8 บาท

- ร้านขายของชำทั่วไป มี 4 แห่ง ขายสินค้าทั่วไป ของใช้ในครัวเรือน เครื่องบริโภคต่างๆ

- ร้านอาหารตามสั่ง 1 แห่ง ไว้สำหรับขายอาหารและน้ำปั่น

- ร้านช่อมรถจักรยานยนต์ 2 แห่ง ไว้ให้บริการ เช่น ปะยาง เปลี่ยนยาง เติมลมรถ เปลี่ยนผ้าเบรก

เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ซ่อมในส่วนของรถที่มีปัญหา เป็นต้น

- ตลาดเช้า 1 แห่ง หน้าสุขศาลา เปิดเวลา 04.00-08.00 น. ของที่ขาย เช่น อาหาร ผักปลอดสารพิษ

ปลา กุ้ง เป็นต้น

- ร้านเสริมสวย 3 ร้าน ใช้ในการแต่งหน้า สระผม ตัดผม ยืดผมและย้อมสีผม

- หลักกลางบ้าน 1 แห่ง ใช้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ และจะมีการทำบุญเบิกบ้าน

- ธนาคารในอำเภอหนองเรือ เช่น ธกส. 1 แห่ง ใช้ในการกู้ยืมเงินเพื่อทำการเกษตร ธนาคารกรุงไทย

และธนาคารออมสินใช้ในการฝากและถอนเงิน

- แปลงปลูกผักชุมชน 1 แห่ง ใช้ในการปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทาน และปลูกชายที่ตลาดเช้า

ของชุมชน ผักที่ปลูก เช่น ผักกวางตุ้ง ผักกะหล่ำ ผักชี ผักกาด เป็นต้น

- อ่างเก็บน้ำหนองโสน 1 แห่ง และหนองปากขยุ้ม 1 แห่ง ใช้เป็นแหล่งประโยชน์ในการหาอาหาร

เช่น ปลา ปู กุ้ง หอย และใช้เป็นแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตรในฤดูแล้ง

- ท่อปล่อยน้ำบำบัดจากโรงงานอ้อย โดยจะปล่อยน้ำที่บำบัดแล้วมาตามท่อใสในไร่อ้อยของชาวบ้านในฤดูแล้ง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดกว้าง เป็นแหล่งที่ให้บริการทางสุขภาพระดับปฐมภูมิของคนในชุมชน ให้บริการ การฝากครรภ์ การให้บริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ฉีดวัคซีนเด็ก การดูแลโภชนาการเด็ก งานอนามัยโรงเรียน ตรวจสุขภาพเบื้องต้นสำหรับนักเรียน คัดกรองภาวะผิดปกติต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิต คัดกรองมะเร็งปากมดลูกสำหรับหญิงวัยเจริญพันธ์ การดูแลคนพิการ การดูแลวัย ทำงาน การดูแลผู้สูงอายุ ตรวจสุขภาพเบื้องต้น งานฟื้นฟูสมรรถภาพ เป็นสถานที่ดูแลประชาชนด้านสุขภาพที่ยมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลและให้บริการ เช่น การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยวิกฤติ และการดูแลสุขภประชาชน ตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนเสียชีวิต ในการส่งเสริม ป้องกัน ดูแลรักษาโรคเบื้อต้น และ - คลินิกหมอวัลลภที่ดอนโมง หมอสุกานต์ดา และหมอชุมพจน์ที่หนองเรือ เป็นแหล่งที่ ให้บริการทางสุขภาพเอกชน ให้บริการในการรักษาโรคต่างๆและอาการ เช่น ภูมิแพ้ หอบหืด โรคทางระบบทางเดินอาหาร อาการปวดกล้ามเนื้อ วิงเวียนศีรษะ เป็นต้น

- โรงพยาบาลหนองเรือ เป็นแหล่งที่ให้บริการทางสุขภาพระดับทุติยภูมิชุมชน ให้บริการ

ทั่วไปทั้งด้านการส่งเสริม การป้องกันโรค การรักษา และการฟื้นฟูสุขภาพ ส่วนใหญ่จะเน้นการรักษาโรค

มากกว่าการส่งเสริมสุขภาพ

ประชาชนบ้านหนองไพ่พัฒนาใช้ภาษาถิ่นอีสานในการสื่อสารในชุมชน และใช้ภาษากลาง ภาษาไทยในการติอต่อสื่อสารกับหน่วยงานต่างๆ


ชุมชนบ้านหนองไผ่พัฒนาได้เข้าร่วมโครงการหนองไผ่พัฒนาปลอดภัย ร่วมใจป้องกันสารเคมี ประจำปี 2561

1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ใช้สารเคมี ได้รับการตรวจคัดกรองหาสารเคมีในร่างกาย อย่างน้อย

ร้อยละ 80 ในระยะเวลา 1 เดือน และวิธีป้องกันอย่างน้อยร้อยละ 60 ในระยะเวลา 1 เดือน

2. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ใช้สารเคมี มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องอันตรายจากการใ

3. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีที่ถูกต้องอย่างน้อยร้อยละ 80 ในระยะเวลา 1 เดือน

ชุมชนบ้านหนองไผ่พัฒนามีร้านอาหารครัวป้าแดง บ้านเฮง ร้านอาหารเช้า 

จึงเสถียรทรัพย์. (2553). วิถีชุมชน คู่มือการเรียนรู้ทำให้งานชุมชนง่ายได้ผลและสนุก.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ชนิษฐา นันทบุตร. (2550) ระบบการดูแลสุขภาพชุมซน แนวคิด เครื่องมือ การออกแบบ.ขอนแก่น:

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

จริยาวัตร คมพยักฆ์. (2554). การพยาบาลอนามัยชุมชน:แนวคิด หลักการและการปฏิบัติการพยาบาล.

กรุงเทพฯะ จุดทอง.

ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน. (2553). การส่งเสริมสุขภาพในชุมชนแนวคิตและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพ์พรรณ ศิลปะสุวรรณ. (2552). ทฤษฎี-ปรัชญา ความรู้ สู่การปฏิบัติในงานพยาบาลอนามัยชุมชน.

สงขลา : คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประจักษ์ บัวผัน. (2550). การบริหารโครงการสุขภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). ขอนแก่น: โรงพิมพ์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น