
เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ตรงข้ามโรงพยาบาลศูนย์ยะลา
การจัดตั้งชุมชนเกิดจากการรวมตัวกันของของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณหลังโชว์รูมอีซูซุกลุ่มหนึ่ง โดยส่วนใหญ่ข้าราชการบํานาญหรือรัฐวิสาหกิจที่เกษียณอายุราชการเพื่อแก้ปัญหาในชุมชนโดยเฉพาะปัญหาด้านการสาธารณสุข และด้านสวัสดิการ
เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ตรงข้ามโรงพยาบาลศูนย์ยะลา
ชุมชนคุปตาสา จัดตั้งมาจากการรวมตัวของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณหลังโชว์รูมอีซูซุกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์ในอาชีพราชการ เพราะส่วนใหญ่เป็นข้าราชการบํานาญ หรือรัฐวิสาหกิจที่เกษียณอายุราชการและนักธุรกิจในชุมชนมานั่งคุยปัญหาในชุมชนโดยเฉพาะปัญหาด้านการสาธารณสุข ด้านสวัสดิการ เช่น การดูแลส่งต่อสงเคราะห์คนพิการ ผู้สูงอายุ ตลอดจนปัญหาสิ่งแวดล้อม เพื่อการ ประสานงานกันสะดวกขึ้น จึงเห็นควรจัดตั้งชุมชนในปี 2542
ปัจจุบันมีพื้นที่ประมาณ 205,703 ตารางเมตร ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังโชว์รูมอีซูซุ และตรงข้ามโรงพยาบาลศูนย์ยะลา ครอบคุลมถนนคุปตาสา ซอยคุปตาสา 1 – 2 ถนนพระยาพิบูลย์ ถนนสินอุทิศ ซอยมนตรี ถนนถัดบํารุง และซอยถัดบํารุง 1 และถนนไชยจรัส 1
ชุมชนคุปตาสาตั้งอยู่บริเวณด้านหลังโชว์รูมอีซูซุ และตรงข้ามโรงพยาบาลศูนย์ยะลา ครอบคุลมถนนคุปตาสา ซอยคุปตาสา 1 – 2 ถนนพระยาพิบูลย์ ถนนสินอุทิศ ซอยมนตรี ถนนถัดบํารุง และซอยถัดบํารุง 1 และถนนไชยจรัส 1
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ชุมชนคูหามุข
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ชุมชนหน้าศูนย์แม่และโรงพยาบาลศูนย์ยะลา
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ โรงพยาบาลศูนย์ยะลา
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ชุมชนพิทยนิโรธ
สภาพพื้นที่กายภาพ
สภาพโดยทั่วไปของชุมชนคุปตาสาเป็นที่ราบ โดยีพื้นที่ประมาณ 205,703 ตารางเมตร ซึ่งเป็นชุมชนเมืองที่มีความหลากหลายทางด้านสังคม อาชีพ และความเป็นอยู่ โดยสภาพชุมชนเป็นชุมชนที่ตั้งใกล้กับโรงพยาบาลศูนย์ยะลา มีลักษณะอาคารบ้านเรือนที่ทันสมัยใหม่ติดกัน
จากข้อมูลการสำรวจของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ปี 2565 ระบุจำนวนครัวเรือน และประชากรชุมชนคุปตาสา จำนวน 396 ครัวเรือน ประชากรรวมทั้งหมด 736 คน แบ่งประชากรชาย 332 คน หญิง 404 คน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ เป็นชุมชนเมืองที่มีความหลากหลายทางด้านสังคม อาชีพ และความเป็นอยู่
กลุ่มกิจกรรม/อาชีพ จำนวน 2 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ชุมชนคุปตาสา (กองทุนชุมชนเมือง) จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียน ส่งเสริมและพัฒนาชุมชน และเพื่อให้เกิดศักยภาพ ความเข้มแข็งของสมาชิกในชุมชน
2. กลุ่มทำน้ำดื่ม “น้ำดื่มกลุ่มชุมชนคุปตาสา” เป็นกลุ่มผลิตน้ำดื่มของชุมชนภายใต้แบรนด์น้ำดื่มกลุ่มชุมชนคุปตาสา โดยมีการจำหน่ายทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ชุมชน
ด้านการบริหารชุมชน
- นายประนอม จักขุรักษ์ ประธานชุมชน
- ร.ต.ต.เจียร แก้วช่วย รองประธานชุมชน
ในรอบปีผู้คนในชุมชนจะมีวิธีชีวิตทางวัฒนธรรมและวิธีชีวิตทางเศรษฐกิจที่มีอัตลักษณ์โดดเด่นดังต่อไปนี้
วิถีชีวิตทางวัฒนธรรม
เดือนมกราคม ประเพณีทําบุญขึ้นปีใหม่ (ตักบาตร) ทุกวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี ผู้คนในชุมชนจะจัดกิจกรรมทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความรักความสามัคคี และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อเยาวชนรุ่นหลัง และรักษาประเพณีอันดีงามให้ดำรงอยู่สืบไป
เดือนเมษายน ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุวันสงกรานต์ ชุมชนจะมีการจัดกิจกรรมการฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เพื่อให้เด็กรุ่นใหม่ได้รู้รักวัฒนธรรมประเพณีของไทยให้ยิ่งขึ้น ในวันสงกรานต์จะมีกิจกรรมรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ และขอพรญาติผู้ใหญ่ในชุมชน
เดือนพฤษภาคม งานถนนคนเดินยะลา เทศบาลนครยะลา ร่วมกับหน่วยงานต่างๆในจังหวัดยะลา และผู้ประกอบการในพื้นที่ได้จัดงาน ”ถนนคนเดิน” ขึ้นเพื่อสร้างช่องทางการตลาด กระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่เพื่อให้ผู้ประกอบการได้นำสินค้าต่างๆ อาทิ สินค้าโอทอป สินค้าชุมชน ออกมาจำหน่ายให้พี่น้องประชาชนได้ซื้อในราคาถูก มีคุณภาพ นอกเหนือจากนั้นเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ตลอดจนสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของคนในจังหวัด ประชาชนได้รับความบันเทิง ผ่อนคลายความตึงเครียดจากสถานการณ์ความไม่สงบ
เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน งานสมโภชนหลักเมือง เป็นงานประเพณีสำคํญประจำปีของจังหวัดยะลา เพื่อเฉลิมฉลองและสมโภชหลักเมือง อันเป็นที่เคารพสักการบูชาของประชาชนชาวจังหวัดยะลา และประชาชนทั่วไป โดยมีขบวนแห่หลักเมืองจำลอง ขบวนแห่งานกาชาดจังหวัดยะลา (วัฒนธรรมและของดีเมืองยะลา) กิจกรรมเปิดงานกาชาดจังหวัดยะลา สำหรับกิจกรรมตลอดระยะเวลา 11 วัน 11 คืน ซึ่งภายในงานมีการออกบูธแสดง และกิจกรรมต่างๆ อาทิ การออกร้านกาชาด การออกรางวัลสลากกาชาดเพื่อการกุศล การประกวดธิดานิบง การประกวดร้องเพลงลูกทุ่งไทย ขวัญใจมหาชน การจัดนิทรรศการ การแสดงผลงานวิชาการของหน่วยราชการ สถานศึกษาและภาคเอกชน และอีกมากมาย
เดือนพฤศจิกายน ประเพณีวันเข้าพรรษา (จัดพิธีแห่เทียนพรรษา,หล่อเทียน) วันที่พระภิกษุสงฆ์อยู่จำพรรษาเป็นระยะเวลา 3 เดือนในช่วงฤดูฝนเริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 โดยพระสงฆ์ต้องไม่เดินทางไปค้างแรมในสถานที่อื่น เว้นแต่มีเหตุจำเป็น และต้องเดินทางกลับมาภายใน 7 วัน
สมาชิกในชุมชนจะหล่อเทียนต้นใหญ่ขึ้นเพื่อถวายพระภิกษุสงฆ์ โดยมีการจัดขบวนแห่กันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานและปฏิบัติสืบทอดกันมาจนกลายเป็นประเพณี
เดือนธันวาคมและเดือนสิงหาคม ตักบาตรวันพ่อและวันแม่ ทุกๆปีชุมชนจะมีการจัดกิจกรรมทำบุญตักบาตรเนื่องในวันพ่อและวันแม่แห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความรักความสามัคคี และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อเยาวชนรุ่นหลัง
จัดพิธีทําบุญตักบาตรและบังสุกุลแก่ผู้ล่วงลับ ชุมชนจะจัดกิจกรรมทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความรักความสามัคคี และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อเยาวชนรุ่นหลัง และรักษาประเพณีอันดีงามให้ดำรงอยู่สืบไป
วิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ
การประกอบอาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่ประกอบอาชีพ ได้แก่ รับราชการ พนักงานจ้าง และรับจ้างทั่วไป ส่วนอาชีพเสริม ได้แก่ ค้าขาย
- นายประนอม จักษุรักษ์ ปราชญ์ชาวบ้านด้านการเกษตรของชุมชน
- นายดารินทร์ ดวงเต็ม ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญการทำผ้าบาติกของชุมชน
ปราชญ์ชาวบ้าน ในชุมชนมีทั้งปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้ด้านการเกษตรและการทำผ้าบาติกของชุมชนซึ่งสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษา และฝึกปฎิบัติทั้งทางด้านการเกษตรและการทำผ้าบาติก
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนที่ปรากฏเห็นได้ชัดในด้านสังคมและประชากร โดยมีรายละเอียด ดังนี้
การเปลี่ยนแปลงของสังคมไปสู่ความทันสมัย ปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด ได้แก่ จำนวนอาคารบ้านเรือน ร้านค้า และอาคารพานิชย์เพิ่มมากขึ้น
ด้านความท้าทายของชุมชน ชุมชนประสบกับความท้าทาย ดังนี้
1. ปัญหาวัยรุ่นมั่วสุม
2. ปัญหาการจราจรติดขัด
3. เยาวชนไม่ให้ความสำคัญและขาดการมีส่วนร่วมในชุมชน
อย่างไรก็ตาม ทางชุมชนได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ เทศบาลนครยะลา และ
หน่วยงานอื่นๆในพื้นที่ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้สนับสนุนงบประมาณและบุคลากร เข้ามาดูแล ติดตาม และแก้ไข้ปัญหาดังกล่าวให้กับชุมชน
ด้านการมีส่วนร่วม สมาชิกในชุมชนให้ความร่วมมือในการร่วมกิจกรรมน้อยโดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน
ชุมชนสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจเรียนรู้ด้านการเกษตรและการทำผ้าติก
ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ กองวิชาการและแผนงาน. (๒๕๖๔). แผนชุมชนประจำปี ๒๕๖๔. เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา
ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ กองวิชาการและแผนงาน. (๒๕๖๕). แผนชุมชนประจำปี ๒๕๖๕. เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา