Advance search

รักษาประเพณี พัฒนาท้องที่ สร้างสามัคคีในสังคม นิยมประหยัด

หมู่ที่ 2
บ้านเป็ด
บ้านเป็ด
เมืองขอนแก่น
ขอนแก่น
ศิราณี ศรีหาภาค
18 เม.ย. 2023
วีรภัทร ศรีทำบุญ
18 เม.ย. 2023
veerapat srithamboon
29 พ.ค. 2023
บ้านเป็ด


ชุมชนชนบท

รักษาประเพณี พัฒนาท้องที่ สร้างสามัคคีในสังคม นิยมประหยัด

บ้านเป็ด
หมู่ที่ 2
บ้านเป็ด
เมืองขอนแก่น
ขอนแก่น
40000
16.4363643
102.7534492
เทศบาลตำบลเทศบาลตำบลบ้านเป็ด

ตำบลบ้านเป็ดแยกออกจากตำบลเมืองเก่า อ.เมือง จ.ขอนแก่น ก่อตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเมื่อปีพ.ศ. 2539 เดิมตั้งอยู่ที่สถานีอนามัยตำบลบ้านเป็ด ปีพ.ศ. 2540 ได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่ปัจจุบัน และได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2547 เป็นตำบลที่ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเมืองขอนแก่น ประกอบด้วย 23 หมู่บ้าน

ที่ตั้งของชุมชนและอาณาเขต

ตำบลบ้านเป็ด  อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราชอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 16o24 /–16 o28/ เหนือและเส้นแวงที่ 102 o41/ –  102 o49/ ตะวันออก อยู่ห่างจากจังหวัดขอนแก่นโดยทางรถยนต์ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข12     (สายขอนแก่นชุมแพ)ระยะทาง 12 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 45 ตารางกิโลเมตร หรือ 28,689 ไร่โดยมีอาณาเขตดังนี้

ทิศเหนือ         ติดต่อกับ ตำบลแดงใหญ่, ตำบลศิลา และเทศบาลนครขอนแก่น

ทิศตะวันออก    ติดต่อกับ เทศบาลนครขอนแก่น

ทิศใต้             ติดต่อกับ ตำบลเมืองเก่า

ทิศตะวันตก      ติดต่อกับ ตำบลบ้านหว้า และตำบลบ้านทุ่ม

1.1.2 ลักษณะทางธรณีวิทยา ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ

    ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง  มีพื้นที่สูงทางด้านทิศเหนือบริเวณพื้นที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นลาดเทไปทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้  ซึ่งเป็นบริเวณที่ลุ่มมีแหล่งแม่น้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ที่สำคัญ คือ บึงหนองโคตร, บึงกี และแก่งน้ำต้อน ซึ่งอยู่ตอนล่างสุดพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางโดยเฉลี่ย 153-203 เมตร

1.1.4 แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีอยู่ในเขตชุมชน

ลำน้ำ, ลำห้วย 1 แห่ง

บึง, หนอง และอื่น ๆ 11 แห่ง

1.1.5 สาธารณูปโภคในชุมชน

การไฟฟ้า  องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเป็ด อยู่ในเขตบริการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดขอนแก่น ซึ่งผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำของเขื่อนอุบลรัตน์ และพลังงานความร้อนในเขตอำเภอน้ำพอง

1.3.1 การเดินทางติดต่อกับชุมชนใกล้เคียง อำเภอหรือจังหวัด โดยเฉพาะกับสถานบริการสุขภาพที่สำคัญ เช่น โรงพยาบาล สถานีอนามัย หรือคลินิกต่างๆ

มีถนนสายสำคัญตัดผ่าน ถนนภายในหมู่บ้านโดยทั่วไปอยู่ในสภาพใช้งานได้ดี ส่วนมากเป็นถนนคอนกรีต ถนนทางหลวงที่พาดผ่านเทศบาลตำบลบ้านเป็ด ได้แก่ ทางหลวงหมายเลข 12 (ขอนแก่น-ชุมแพ) ส่วนถนนสายสำคัญของหมู่บ้านจะเชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้านและมีรถยนต์โดยสารประจำทางอยู่หลายสายด้วยกัน ได้แก่

- รถยนต์โดยสารประจำทางบ้านหัวทุ่ง-คำไฮ สาย 2 (สีเหลือง) รับผู้โดยสารบ้านหัวทุ่ง หมู่ที่ 5, 14 บ้านคำไฮ หมู่ที่ 6, 10 และบ้านโคกฟันโปง หมู่ที่ 4, 21

- รถยนต์โดยสารประจำทางบ้านกอก สาย 9 (สีฟ้า) รับผู้โดยสารบ้านกอก หมู่ที่ 7 บ้านกอกน้อย หมู่ที่ 12 และบ้านหนองโจด หมู่ที่ 8

- รถยนต์โดยสารประจำทางบ้านเป็ด สาย 5 (สีเขียว) รับผู้โดยสารบ้านเป็ด หมู่ที่ 1, 2, 3, 18

- รถยนต์โดยสารประจำทาง ร. 8 สาย 5 (สายสีเขียว) รับผู้โดยสารบ้านสันติสุข หมู่ที่ 11 บ้านแก่นทอง หมู่ที่ 22 และบ้านสุภัทรา หมู่ที่ 20

- รถยนต์โดยสารปรับอากาศ สาย 15 (บ้านแอวมอง - หมู่บ้านเดชา) รับผู้โดยสารตามเส้นทางถนนมะลิวัลย์

- รถยนต์โดยสารประจำทาง สาย 11(สีขาว) รับผู้โดยสารผ่านหมู่บ้านหนองขาม หมู่ที่ 9, 15

1.     จำนวนประชากรทั้งหมด มีประชากรทั้งสิ้น 40,969 คน ความหนาแน่นเฉลี่ย 910 /ตารางกิโลเมตรตารางแสดง จำนวนประชากรในเขตเทศบาลตำบลบ้านเป็ด

1.1. อาชีพและการว่าง

           ประชากรประกอบอาชีพหลายอย่าง  เช่น  ค้าขาย  รับราชการ ทำการเกษตร และอาชีพ

อื่นๆ  เนื่องจากมีพื้นที่ติดต่อเขตเทศบาลนครขอนแก่น  ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างทั่วไป  เช่น   ช่างปูน  ช่างไม้  ช่างทาสี  กรรมกร  

รายได้เฉลี่ยของชุมชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านเป็ด ตามเกณฑ์ จปฐ. ประจำปี 2559  มีรายได้เฉลี่ย 120,435 บาท/คน/ปี รายได้ครัวเรือนเฉลี่ย 353,129 บาท/ครัวเรือน/ปี  (จากประชากรที่สำรวจจำนวน 13,605 คน)  (ที่มา: งานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองขอนแก่น  เมษายน 2559)

1.     จำนวนเด็ก อายุ 0 – 6 ปี จำนวน 939 คน คิดเป็น 2.23%

2.     จำนวนผู้สูงอายุ จำนวน 3,961 คน คิดเป็น 9.38%

3.     จำนวนผู้พิการ จำนวน 498 คน คิดเป็น 1.18%

4.     จำนวนผู้ป่วยเรื้อรัง จำนวน 1,456 คน คิดเป็น 3.45%

 

·      กำลังคน ได้แก่ กลุ่มคนที่เป็นแกนนำในการพัฒนา เช่น กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน กรรมการชุมชน  กรรมการหมู่บ้าน  กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และกลุ่มอาสาสมัครต่างๆ

          ในหมู่บ้าน บ้านเป็ด มีกลุ่ม อสม. ที่คอยเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญในการช่วยเหลือดูแลเรื่องสุขภาพของคนในชุมชน  พยาบาลชุมชนที่ประจำอยู่ที่ รพสต.บ้านเป็ด จะประสานงานกับ อสม. ในการดูแลด้านสุขภาพของคนในชุมชน เช่น การทำโครงการป้องกันไข้เลือดออก  พยาบาลมีกสรประสานงานกับ อสม.ในการลงพื้นที่แจกทรายอะเบทให้กับประชาชน จนทำให้บ้านเป็ดไม่มีผู้ป่วยไข้เลือดออกมาเป็นเวลา 2 ปีติดต่อกัน

·      กองทุน ได้แก่ กองทุนในชุมชน เช่น กองทุนยา  กองทุนกู้ยืมเงิน กองทุนพัฒนาหมู่บ้าน

 กองทุนฌาปณกิจสงเคราะห์

          สปสช. จะมีงบสนับสนุนให้ประชาชนหัวละ 45 บาท  ซึ่งถ้าหากทางหมู่บ้านมีโครงการต่างๆ สามารถเขียนโครงการขอรับเงินทุนได้จากทางเทศบาลได้

·      กรรมการ หรือองค์กร การทำงานและการบริหารจัดการของกรรมการ

1) โครงสร้างการบริหารงาน       

          เทศบาลตำบลบ้านเป็ด  มีสมาชิกสภาเทศบาลตำบลบ้านเป็ด ที่มาจากการเลือกตั้ง จำนวน 12 คนอยู่ในวาระ 4 ปี  มีคณะผู้บริหาร  ประกอบด้วย  นายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง   จำนวน  1 คน     รองนายกเทศมนตรี จำนวน  2 คน ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี จำนวน  1 คน  และเลขานุการนายกเทศมนตรี จำนวน 1 คน ที่มาจากการแต่งตั้งของนายกเทศมนตรี ส่วนราชการภายใน ประกอบด้วย 1 สำนัก  6 กอง  ได้แก่

          สำนักปลัดเทศบาล 

          กองคลัง 

          กองช่าง 

          กองการศึกษา

          กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

          กองสวัสดิการสังคม  

          กองวิชาการและแผนงาน

2)  ฝ่ายนิติบัญญัติเทศบาลตำบลบ้านเป็ด

 3) ฝ่ายบริหารเทศบาลตำบลบ้านเป็ด 

ปลัดเทศบาลปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรี          

4) ฝ่ายบุคลากรเทศบาลตำบลบ้านเป็ด 

          เทศบาลตำบลบ้านเป็ด มีอัตรากำลัง ประกอบด้วย พนักงานเทศบาล  ลูกจ้างประจำ พนักงานจ้างตามภารกิจและพนักงานจ้างทั่วไป   จำนวน  414    อัตรา ดังนี้

(1) จำนวนบุคลากร                

ตำแหน่งที่ครอง                                 จำนวน         367   คน   

          ตำแหน่งปลัด/รองปลัดเทศบาล               จำนวน             3   คน            

          ตำแหน่งในสำนักปลัดเทศบาล                จำนวน            91   คน

          ตำแหน่งในกองคลัง                            จำนวน            36   คน

          ตำแหน่งในกองช่าง                            จำนวน            60   คน

          ตำแหน่งในกองสาธารณสุข                   จำนวน           120   คน

          ตำแหน่งในกองการศึกษา                      จำนวน             21  คน

          ตำแหน่งในกองวิชาการและแผนงาน         จำนวน            18   คน

          ตำแหน่งในกองสวัสดิการสังคม               จำนวน           18    คน

      ตำแหน่งที่ว่าง                                        จำนวน           47   คน

 

      แยกเป็นประเภท

          พนักงานเทศบาล                                 จำนวน          68    คน

          ลูกจ้างประจำ                                     จำนวน            5    คน

          พนักงานจ้างตามภารกิจ                         จำนวน         106   คน

          พนักงานจ้างทั่วไป                                จำนวน         188   คน    

 

(2) ระดับการศึกษาของบุคลากร

   ประถมศึกษา                                จำนวน            53   คน

   มัธยมศึกษา/อาชีวศึกษา                   จำนวน           121   คน

   อาชีวศึกษา                                    จำนวน           76    คน

   ปริญญาตรี                                  จำนวน         108     คน

   สูงกว่าปริญญาตรี                          จำนวน            9     คน

·      ระบบข้อมูลข่าวสารของหมูบ้าน (Information system)

การสาธารณสุข

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเป็ด  จำนวน       1      แห่ง

ศูนย์บริการสาธารณสุขหัวทุ่ง ทต.บ้านเป็ด จำนวน        1      แห่ง       ชั้นบน

ศูนย์แพทย์หัวทุ่ง เครือข่าย รพ.ขอนแก่น    จำนวน       1     แห่ง       ชั้นล่าง             

ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน                จำนวน      23    แห่ง

 

5.2  QQL indicators   

การบรรลุเกณฑ์ จปฐ.  (BMN  indicators)  : เกณฑ์มาตรฐาน (Standard criteria) และตัวชี้วัด (Indicators) เพื่อใช้เป็นกรอบในการประเมินเพื่อให้เกิดความชัดเจน เป็นระบบ มีมาตรฐานและเป็นที่ ยอมรับ โดยประกอบด้วยเกณฑ์ที่สําคัญ ใน 2 ระดับ คือเกณฑ์การประเมินหน่วยงาน และเกณฑ์การประเมินโครงการ

                การประเมินผลโครงการจําเป็นต้องมีเกณฑ์และตัวชี้วัด เพื่อเป็นเครื่องมือกําหนดกรอบทิศทาง ในการวิเคราะห์และประเมินผลโครงการ ประกอบด้วยเกณฑ์ที่สําคัญ 8 เกณฑ์ ด้วยกันคือ

                   1.เกณฑ์ความก้าวหน้า (Progress)

                เป็นการพิจารณาเปรียบเทียบผลของการดําเนินกิจกรรมกับเป้าหมายที่กําหนดตามแผนการ ประเมินความก้าวหน้ามุ่งที่จะตอบคําถามว่า  การดําเนินกิจกรรมตามโครงการสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กําหนดหรือไม่  เป็นไปตามกรอบเวลาหรือไม่และประสบกับปัญหาอุปสรรคอะไรบ้าง

ประกอบด้วยตัวชี้วัด 4 ประการ คือ

                    (1) ผลผลิตเทียบกับเป้าหมายรวมในช่วงเวลา เป็นการดูสัดส่วนของผลผลิต (Outputs) ของ โครงการว่าบรรลุเป้าหมายมากน้อยเพียงใด อาทิ ความยาวของถนนที่สร้างได้  จํานวนแหล่งน้ำขนาดย่อย

เพื่อการเกษตร  สัดส่วนปริมาณงานการก่อสร้าง  เทียบกับเป้าหมายรวมในช่วงเวลาที่กําหนด

                    (2) จํานวนกิจกรรมแล้วเสร็จ เนื่องจากโครงการประกอบด้วยชุดกิจกรรมต่างๆ มากมาย   จึงจําเป็นต้องมีตัวชี้วัดความก้าวหน้า โดยพิจารณาจํานวนกิจกรรมและประเภทของกิจกรรมที่ได้ดําเนินการไปแล้ว  ทั้งกิจกรรมหลัก กิจกรรมพื้นฐาน กิจกรรมรอง และกิจกรรมเสริม ในช่วงระยะเวลา อาจเป็นสัปดาห์ เดือน ไตรมาส หรือระยะของโครงการ (Phase)

                    (3) ทรัพยากรที่ใช้ไปในช่วงเวลา เป็นตัวชี้วัดความก้าวหน้าของการใช้ทรัพยากรในโครงการ  ซึ่งครอบคลุมด้านงบประมาณโครงการ ได้แก่ งบประมาณที่ใช้ไป งบประมาณที่อยู่ระหว่างผูกพัน เงินงวด  และแผนการใช้จ่ายงบประมาณโครงการ  และอัตราการใช้บุคลากรสัมพัทธ์กับเวลา ในรูปของคน วัน (Man – day) หรือ คน เดือน (Man – month)

                    (4) ระยะเวลาที่ใช้ไป เป็นตัวชี้วัดความก้าวหน้าเพื่อดูว่าได้ใช้เวลาไปเท่าใดแล้ว   และเหลือระยะเวลาอีกเท่าใดจึงจะครบกําหนดแล้วเสร็จ  โดยจะสามารถใช้เป็นเกณฑ์ประเมินและควบคุม กิจกรรมให้บรรลุตามเป้าหมายด้านเวลา  และเพื่อทราบถึงระยะเวลาที่จะต้องใช้จริงเพื่อให้บรรลุเป้าหมายรวม

                2. เกณฑ์ประสิทธิภาพ (Efficiency)

                    การประเมินประสิทธิภาพเป็นการเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้กับทรัพยากรที่ใช้ไปในการดําเนินงาน ทรัพยากรที่ใช้นอกจากงบประมาณแล้ว ยังหมายรวมถึงทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรทางการจัดการ และเวลาที่ใช้ไปในการดําเนินงาน  ประกอบด้วยตัวชี้วัด  4 ประการ คือ

                   (1) สัดส่วนผลผลิตต่อค่าใช้จ่าย เป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรทางการเงินของ โครงการเพื่อให้ได้ผลผลิตที่เหมาะสมและคุ้มค่าการลงทุน  ซึ่งจะช่วยให้เกิดการใช้จ่ายเป็นไปมีประสิทธิภาพ สมประโยชน์ ลดค่าใช้จ่าย  และประหยัดต้นทุนการผลิต

                   (2) ผลิตภาพต่อกําลังคน  เป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพการผลิตต่อบุคลากรหรือเจ้าหน้าที่โครงการ  ซึ่งนอกจากจะเป็นตัวชี้ถึงประสิทธิภาพแล้วการดําเนินงานแล้ว ยังแสดงถึงสมรรถนะและศักยภาพของ ทรัพยากรบุคคลในการดําเนินโครงการ  และจะเป็นแนวทางในการปรับขนาดกําลังคนที่เหมาะสมใน การดําเนินกิจกรรม  และการเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรในระยะยาวอีกด้วย

                    (3) ผลิตภาพต่อหน่วยเวลา เป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพการผลิตในช่วงเวลา  อาทิ จํานวน ครัวเรือนที่ได้รับการอบรมอาชีพเสริมนอกภาคเกษตรต่อเดือน  จํานวนนักเรียนที่เข้าเรียนต่อตามโครงการ

ขยายโอกาสทางการศึกษาในแต่ละปี   จํานวนผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับการส่งเสริมการ  ลงทุนในแต่ละช่วงไตรมาส

                    (4) การประหยัดทรัพยากรการจัดการ เป็นตัวชี้วัดความสามารถของโครงการในการประหยัด ทรัพยากรทางการบริหารจัดการ อาทิ การปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จําเป็นในการดําเนินโครงการ  การตัดทอนขั้นตอนการปฏิบัติซึ่งส่งผลต่อการลดค่าใช้จ่ายของโครงการ การประหยัดค่าพลังงานและค่า สาธารณูปการคิดเป็นร้อยละของค่าใช้จ่ายรวม

                3.เกณฑ์ประสิทธิผล  (Effectiveness)

                   การประเมินประสิทธิผล เป็นเกณฑ์พิจารณาระดับการบรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะด้าน  โดยดู จากผลลัพธ์จากการดําเนินงาน ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของประชากรกลุ่มเป้าหมายตามโครงการ ประกอบด้วยตัวชี้วัด 4 ประการ คือ

                    (1) ระดับการบรรลุเป้าหมาย เป็นตัวชี้วัดว่าโครงการบรรลุเป้าหมายด้านใดบ้าง  และการบรรลุ เป้าหมายส่งผลต่อประชากรเป้าหมายอย่างไร โดยสามารถวัดการเปลี่ยนแปลงในเชิงปริมาณและ คุณภาพของประชากรเป้าหมาย อาทิ การบรรลุเป้าหมายด้านเศรษฐกิจ   สังคม

                    (2) ระดับการมีส่วนร่วม เป็นตัวชี้วัดความสําเร็จโดยให้ความสําคัญกับมิติการมีส่วนร่วม  โดย สามารถอธิบายความสัมพันธ์เชิงเหตุผลได้ว่าการส่วนร่วมของประชาชนส่งผลต่อระดับความสําเร็จ  มากน้อยเพียงไร และโครงการจะปรับปรุงส่งเสริมการมีส่วนร่วมได้อย่างไร ระดับการมีส่วนร่วม สามารถวัดจากจํานวนประชากร ความถี่ระดับและกิจกรรม ซึ่งครอบคลุมการร่วมตัดสินใจ วางแผน และติดตามผล

                    (3) ระดับความพึงพอใจ เป็นเกณฑ์วัดระดับการยอมรับ โดยอาจพิจารณาจากสัดส่วนของ ประชากรเป้าหมายที่พึงพอใจกับบริการของรัฐ สัดส่วนของครัวเรือนที่พอใจการปฏิบัติหน้าที่ของ เจ้าหน้าที่โครงการ ระดับความพึงพอใจในมาตรการตามโครงการ

                    (4) ความเสี่ยงของโครงการ เป็นตัวชี้วัดประสิทธิผลเพื่อดูว่าโครงการมีความเสี่ยงในการบรรลุเป้าหมายด้านใดด้านหนึ่งหรือเป้าหมายรวมของโครงการหรือไม่   ซึ่งค่าความเสี่ยงจะประเมินจากการ เปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมของโครงการ ทั้งในด้านเศรษฐกิจสังคม การเมืองและสิ่งแวดล้อม ทั้งระยะสั้นและระยะยาว 

                 4. เกณฑ์ผลกระทบ (Impacts)

                    เป็นการพิจารณาผลกระทบโดยรวมต่อประชากรกล่มเป้าหมาย  ชุมชน สังคมและหน่วยงานในภาพรวม เป็นผลกระทบระยะยาว ผลกระทบอาจมีทั้งที่มุ่งหวัง  (Intended impacts) และผลกระทบที่ ไม่ได้มุ่งหวัง (Unintended impacts) ซึ่งอาจเป็นผลด้านบวกหรือด้านลบก็ได้ ประกอบด้วยตัวชี้วัด 3 ประการ คือ

                    (1) คุณภาพชีวิต  เป็นตัวชี้วัดผลกระทบต่อการพัฒนาหรือยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากร กลุ่มเป้าหมาย  อาทิ รายได้ ความเป็นอยู่ โอกาสทางการศึกษา การมีงานทํา  สุขอนามัย สภาพแวดล้อมของครัวเรือนชุมชน โดยสามารถวัดจากสัดส่วนครัวเรือนหรือประชากรที่ได้รับบริการ จากโครงการพัฒนาที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตที่ดี  หรือมาตรฐานการดํารงชีพ

                     (2) ทัศนคติและความเข้าใจ เป็นตัวชี้วัดผลกระทบโดยมุ่งเรื่องทัศนคติและความเข้าใจของ ประชากรกล่มเป้าหมายที่มีต่อโครงการ โดยสามารถวัดระดับ (Scale) ทั้งเชิงบวกและลบต่อตัวโครงการเอง โดยเฉพาะวัตถุประสงค์และมาตรการนโยบายผลประโยชน์ของโครงการ ความพึงพอใจ ในการรับบริการ และทัศนคติต่อผู้บริหารและเจ้าหน้าที่โครงการ

                     (3) การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  เป็นตัวชี้วัดผลกระทบโดยให้ความสําคัญเรื่องการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย   โดยเปรียบเทียบระยะก่อนและหลังมีโครงการ อาทิ สัดส่วนของครัวเรือน ที่ยอมรับเทคโนโลยีการผลิตที่รักษาสิ่งแวดล้อม  จํานวนเกษตรกรที่ทําการเกษตรแบบธรรมชาติมากยิ่งขึ้น  การปฏิบัติของการใช้ยวดยานโดยเคารพกฎจราจรมากขึ้น การออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งมากขึ้น และ ลดละพฤติกรรมการซื้อสิทธิขายเสียง การลดพฤติกรรมการประพฤติมิชอบในการปฏิบัติหน้าที่

            5.เกณฑ์ความสอดคล้อง (Relevance)

                   เกณฑ์การประเมินความสอดคล้องมุ่งพิจารณาว่าวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับ ความต้องการหรือสามารถแก้ไขปัญหาตามที่กําหนดไว้แต่ต้นหรือไม่  ซึ่งจําเป็นต้องมีการประเมินความ ต้องการที่แท้จริง ตลอดจนจะต้องตอบคําถามด้วยว่า แนวทางและกลยุทธ์ที่ใช้ในการดําเนินงาน สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาที่เป็นจริงได้หรือไม่ ประกอบด้วยตัวชี้วัดที่สําคัญ 3 ประการ คือ

                      (1) ประเด็นปัญหาหลัก  ซึ่งพิจารณาจากจํานวนเรื่องหรือประเด็นปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น ทั้งที่ได้รับการแก้ไขแล้วและที่ยังไม่สามารถแก้ไข รวมถึงการจัดลําดับความสําคัญของปัญหาตาม ความเร่งด่วน ตามความรุนแรงของปัญหา

                      (2) มาตรการหรือกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหา เป็นตัวชี้วัดความสอดคล้องกับการแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นมาตรการทั้งระยะสั้นและระยะยาว   โดยสามารถดูได้จากมาตรการที่ผู้บริหารโครงการ นํามาใช้ตลอดช่วงระยะเวลาของการดําเนินโครงการ  และความสอดคล้องกับปัญหาหลัก

                      (3) ความต้องการหรือข้อเรียกร้องของประชากรกล่มเป้าหมาย ุ เป็นตัวชี้วัดถึงความต้องการ ของผู้รับบริการในการแก้ไขปัญหาที่ประสบอยู่อาทิ  คําร้องเรียน ข้อร้องทุกข์ ให้แก้ไขปัญหาเพื่อ สนองตอบประชากรกล่มเป้าหมายตามโครงการที่ไม่ได้รับผลประโยชน์จากการดําเนินโครงการ   หรือได้รับความเสียหายจากการดําเนินโครงการซึ่งจะเป็นตัวชี้ความสอดคล้องในการดําเนินโครงการและสนองตอบต่อความต้องการของประชากรเป้าหมาย

                 6.เกณฑ์ความยั่งยืน (Sustainability)

                   เป็นเกณฑ์การพิจารณาที่สืบเนื่องจากความสอดคล้อง โดยพิจารณาระดับความต่อเนื่องของ กิจกรรมว่าจะสามารถดําเนินต่อไปได้โดยไม่มีการใช้งบประมาณจากภายนอกโครงการ   ความสามารถ ในการเลี้ยงตัวเองได้ นอกจากนี้ยังหมายรวมถึงความสามารถในการขยายกิจกรรมไปยังพื้นที่แห่งใหม่ ประกอบด้วยตัวชี้วัดที่สำคัญ 3 ประการ คือ

                    (1) ความอยู่รอดด้านเศรษฐกิจ (Economic viability) เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรทางการเงินของโครงการ อาทิ  จํานวนงบประมาณของโครงการ แผนการใช้จ่ายงบประมาณ ภาระผูกพัน สัดส่วนค่าใช้จ่ายเทียบกับผลผลิตที่ได้ ปริมาณเงินทุนสํารอง แหล่งสนับสนุนงบประมาณ ปริมาณ งบประมาณหรือเงินทุนหมุนเวียน จํานวน และขนาดกองทุนดําเนินโครงการ ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงความอยู่รอดทางเศรษฐกิจของโครงการ

                    (2) สมรรถนะด้านสถาบัน (Institutional capacity) เป็นตัวชี้วัดความสามารถของหน่วยงานใน การบริหารโครงการ การพัฒนาองค์กรประชาชน การมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระดับการมี ส่วนร่วมของประชากรกลุ่มเป้าหมายในกระบวนการตัดสินใจ การวางแผนงานและบริหารโครงการ และการปรับปรุงระเบียบวิธีการปฏิบัติที่เอื้อต่อการดําเนินโครงการ

                     (3) ความเป็นไปได้ในการขยายผล  เป็นตัวชี้วดความยั่งยืนโดยพิจารณาความสามารถในการพึ่งตัวเอง โอกาสและช่องทางในการขยายผลการดําเนินโครงการกรณีโครงการประสบผลสําเร็จด้วยดี   ทั้งการขยายผลตามแนวราบ กล่าวคือ การเพิ่มกิจกรรมโครงการ การเพิ่มจํานวนประชากรเป้าหมาย การขยายกําลังผลิตของโครงการเดิมและการขยายผลในแนวดิ่ง ได้แก่ การขยายพื้นที่โครงการ การ ขยายเครือข่ายโครงการออกไปทั่วภูมิภาค และการยกระดับโครงการเป็นระดับชาติ

               7.เกณฑ์ความเป็นธรรม (Equity)

                  เป็นเกณฑ์ที่มุ่งให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม (Socail equity) โดยพิจารณาถึงผลลัพธ์และ ผลกระทบจากการดําเนินโครงการ โดยยึดหลักการว่าประชากรกลุ่มเป้าหมายจะได้รับหลักประกัน เรื่องความเป็นธรรม ความเสมอภาค ความทั่วถึง ในการรับบริการ การจัดสรรคุณค่า (Values) และ การกระจายผลตอบแทนที่เสมอภาคเท่าเทียมกัน ประกอบด้วยตัวชี้วัด 3 ประการ คือ

                   (1) ความเป็นธรรมระหว่างกลุ่มอาชีพ  เป็นตัวชี้วัดความเป็นธรรมโดยให้ความสําคัญทุกกลุ่ม ย่อย ในสังคม อาทิ ความเป็นธรรมในการจัดสรรทรัพยากรแหล่งน้ำแก่กล่มเกษตรและกลุ่มอาชีพอื่น การจัดหาตําแหน่งให้กับผู้ว่างงานและผู้ถูกเลิกจ้าง มาตรการลดผลกระทบทางสังคมปัญหาวิกฤติ เศรษฐกิจที่จัดให้แก่ประชากรทุกสาขาอาชีพ

                   (2) ความเป็นธรรมระหว่างเพศ เป็นตัวชี้วัดที่ให้ความสําคัญเรื่องความเป็นธรรมระหว่างเพศ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่มีความสําคัญมากขึ้นในการประเมินโครงการพัฒนา โดยดูว่าการดําเนินโครงการให้ความเสมอภาคระหว่างเพศ หรือมีการเลือกปฏิบัติระหว่างเพศ (Gender discrimination) หรือไม่  โดยสามารถพิจารณาเรื่องความเท่าเทียมในโอกาส บทบาทระหว่างหญิง/ชาย การปฏิบัติที่เคารพสิทธิ ของ สตรี

                   (3) ความเป็นธรรมระหว่างชนรุ่น (Intergenerational equity) เป็นตัวชี้วัดที่เน้นความเป็นธรรม ระหว่างชนรุ่น  ระหว่างชนรุ่นปัจจุบันและชนรุ่นอนาคต ุ (Future generation) ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการ จัดสรรและใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ การจัดหาพลังงาน โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ โครงการที่ อาจก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และผลกระทบด้านสังคม โดยคํานึงถึงชนรุ่นอนาคตซึ่งจะเป็นผู้ได้รับ ผลกระทบจากการตัดสินและการดําเนินโครงการในปัจจุบัน

            8. เกณฑ์ความเสียหายของโครงการ (Externalities)

                    เป็นเกณฑ์ที่สําคัญในการประเมินโครงการเพื่อเป็นหลักประกันวา การดําเนินโครงการจะไม่ ก่อให้เกิดความเสียหายหรือผลกระทบด้านลบต่อสังคม หรือชุมชน ประกอบด้วยตัวชี้วัดที่สําคัญ 3 ประการ คือ

                    (1) ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เป็นตัวชี้วัดความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นผลจากการ ดําเนินโครงการ โดยเป็นการวัดและประเมินเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นจริงกับการศึกษาผลกระทบด้าน สิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment – EIA) ในช่วงก่อนทําโครงการ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุก ฝ่ายรับผิดชอบและมีการชดเชยความเสียหายจากผลกระทบในลักษณะที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้เสียหาย เพื่อเป็นหลักประกันความเสี่ยงให้กับสังคม และเป็นมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้อนุมัติและ ผู้ดำเนินโครงการ

                    (2) ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ เป็นตัวชี้วัดผลกระทบหรือความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจที่เกิดจากโครงการพัฒนาของรัฐ ในลักษณะของผลกระทบภายนอก (Externalities) ซึ่งสร้าง ภาระให้กับประชาชนและชุมชนโดยรอบที่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเป็นต้นทุนทางสังคม (Social costs) ที่ ต้องเสียไป อาทิ พื้นที่การเกษตรที่ถูกน้ำท่วมเสียหายจากโครงการสร้างเขื่อน

                    (3) ผลกระทบด้านสังคมและวัฒนธรรม เป็นตัวชี้วัดความเสียหายที่เกิดจากการดําเนิน โครงการและส่งผลกระทบดานสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน อาทิ การดําเนินงานที่ก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลง การสูญเสียโครงสร้าง แบบแผนและวิถีการดําเนินชีวิตที่ดี ความเสื่อมถอยของ ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ความเชื่อ ความเอื้ออาทร ความร่วมมือและความช่วยเหลือเกื้อกูลของ ชุมชนดั้งเดิม  เกณฑ์และตัวชี้วัดดังกล่าวข้างต้นคณะกรรมการสามารถเลือกใช้เป็นเครื่องมือในการ ประเมินผลโครงการ ซึ่งครอบคลุมมิติ ด้านเศรษฐกิจ สังคม มิติด้านการบริหารจัดการ มิติด้าน ทรัพยากร และมิติด้านสิ่งแวดล้อม เกณฑ์และตัวชี้วัด จะเป็นประโยชน์ในการติดตามและประเมินผล โครงการ ในลักษณะที่เป็นพลวัตร ในทุกขั้นตอนของกระบวนการโครงการ   เพื่อวัดถึงความสําเร็จและความล้มเหลวของโครงการพัฒนาด้านต่าง ๆ ซึ่งในทางปฏิบัติจําเป็นต้องนํามาปรับใช้ให้เหมาะสมกับ  ลักษณะโครงการ โดยกําหนดและวัดตัวแปรเฉพาะเพื่อประมวลเป็นตัวชี้วัดรวม (Composit indicators) ของแต่ละโครงการต่อไป

                 5.2 ระเบียบ วิธีในการติดตามและประเมินผล

                       ระเบียบกระทรวงมหาดไทย  ว่าด้วยการจัดทําแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548 ข้อ 28 กําหนดให้ผู้บริหารท้องถิ่นแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา ท้องถิ่นประกอบด้ว

              1) สมาชิกสภาท้องถิ่นที่สภาท้องถิ่นคัดเลือก  จํานวนสามคน

                  2) ผู้แทนประชาคมท้องถิ่นที่ประชาคมท้องถิ่นคัดเลือก    จํานวนสองคน

                  3) ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ผู้บริหารท้องถิ่นคัดเลือก  จํานวนสองคน

                  4) หัวหน้าส่วนการบริหารที่คัดเลือกกันเอง    จํานวนสองคน

                  5) ผู้ทรงคุณวุฒิที่ผู้บริหารท้องถิ่นคัดเลือก      จํานวนสองคน

                  โดยให้คณะกรรมการเลือกกรรมการหนึ่งคนทําหน้าที่ประธานคณะกรรมการและกรรมการอีก หนึ่งคนทําหน้าที่เลขานุการของคณะกรรมการ

                   กรรมการข้อ 28 ให้มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปีและอาจได้รับการคัดเลือกอีกได้                        

                   ข้อ 29 ได้กําหนดอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้ดังนี้

                  1) กําหนดแนวทาง วิธีการในการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา

                  2) ดําเนินการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา

                  3) รายงานผลและเสนอความเห็นซึ่งได้จากการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาต่อสภา ท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นและประกาศผลการผลการติดตามและประเมินผล แผนพัฒนาให้ประชาชนในท้องถิ่นทราบโดยทั่วกัน อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งภายในเดือนธันวาคมของทุกปี ทั้งนี้ให้ติดประกาศโดยเปิดเผยไม่น้อยกว่าสามสิบวัน

                   4) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางานเพื่อช่วยปฏิบัติตามที่เห็นสมควร

                  ข้อ 30 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจมอบให้หน่วยงานหรือบุคคลภายนอกดําเนินการหรือร่วมดําเนินการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาได้โดยมีขั้นตอนดำเนินการดังนี้

                1) คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นจัดทําร่างข้อกําหนดขอบข่ายและ รายละเอียดของงานที่จะมอบหมายให้หน่วยงานหรือบุคคลภายนอกดําเนินการเพื่อเสนอผู้บริหารท้องถิ่น        

                2) ผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาอนุมัติข้อกําหนด ขอบข่ายและรายละเอียดของงาน

                3) หน่วยงานหรือบุคคลภายนอกดําเนินการหรือร่วมดําเนินการติดตามและประเมินผล

                4) ให้หน่วยงานหรือบุคคลภายนอกที่ดําเนินการหรือร่วมดําเนินการติดตามและประเมินผล รายงานผลการดําเนินการซึ่งได้จากการติดตามและประเมินผลต่อคณะกรรมการติดตามและประเมินผลเพื่อประเมินผลการรายงานผลเสนอความเห็นต่อผู้บริหารท้องถิ่น

                5) ผู้บริหารท้องถิ่นเสนอผลการติดตามและประเมนผลต่อสภาท้องถิ่น คณะกรรมการพัฒนา ท้องถิ่น และประกาศผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาให้ประชาชนในท้องถิ่นทราบโดยทั่วกัน อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ภายในเดือนธันวาคมของทุกปี  ทั้งนี้ให้ปิดประกาศโดยเปิดเผยไม่น้อยกว่าสามสิบวัน

             5.3 เครื่องมือที่ใช้ในการติดตามและประเมินผลแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลตำบล  บ้านเป็ด   กำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการติดตามประเมินผล  ดังนี้

1.        การใช้แบบสอบถาม

             2.   การใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview)  เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey Research ) เก็บรวบรวมข้อมูลของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านเป็ด ทั้ง 23 หมู่บ้าน มีวิธีการเก็บและรวบรวมข้อมูลแบบปฐมภูมิ  ได้แก่  การเก็บข้อมูลภาคสนาม การรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

แหล่งประโยชน์ในชุมชน เช่น วัด โรงเรียน โรงสีข้าง โรงงานต่างๆ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล ร้านขายของชำทั่วไป ร้านขายอาหารต่างๆ ตลาดสด ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ หอกระจายข่าว ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน โทรศัพท์สาธารณ เป็นต้น

1. โรงแรม/รีสอร์ท      จำนวน       21     แห่ง

2. ปั๊มน้ำมัน            จำนวน        16     แห่ง

3. ร้านแก๊ส             จำนวน         4      แห่ง

4. โรงงาน               จำนวน     21      แห่ง

5. โรงสีข้าว              จำนวน       8      แห่ง

6.  ร้านค้า               จำนวน     668     แห่ง

7.  ร้านอาหาร/คาราโอเกะ                จำนวน     179     แห่ง

8.  ร้านค้าวัสดุ          จำนวน     44      แห่ง

9. ร้านเช่าวีดีโอ         จำนวน       6      แห่ง

10. อินเตอร์เน็ต/เกมส์/คอมพิวเตอร์      จำนวน    55      แห่ง

11. ร้านซักรีด               จำนวน 38      แห่ง

12. ร้านเย็บผ้า             จำนวน    8      แห่ง

13. ร้านเสริมสวย          จำนวน  93      แห่ง

14. ร้านตัดผมชาย        จำนวน  18      แห่ง

15. รับซื้อของเก่า          จำนวน  18      แห่ง

16. ร้านเชื่อมโลหะ        จำนวน  24      แห่ง

17. คลังสินค้า            จำนวน    27      แห่ง

18. โรงขนมจีน           จำนวน      5      แห่ง

19. โรงกลึง               จำนวน      4      แห่ง

20. ล้าง อัด ฉีด          จำนวน      6      แห่ง

21. อู่ซ่อมรถยนต์          จำนวน  73      แห่ง

22. สนามบิน                จำนวน   1      แห่ง

23. มินิมาร์ท/แฟมิลี่มาร์ท           จำนวน     21         แห่ง

24. SEVEN                             จำนวน       7         แห่ง

25. โลตัส                               จำนวน       3         แห่ง

          26. ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์/ปะยาง         จำนวน  41      แห่ง

          27. เครื่องปั้นดินเผา                            จำนวน      2      แห่ง

          28. ร้านติดตั้งผ้าม่าน                           จำนวน      1      แห่ง

          29. ร้านขายเฟอร์นิเจอร์                       จำนวน       1     แห่ง

          30. อพาร์ทเมนท์                              จำนวน      24   แห่ง

          31. บ้านเช่า/ห้องพัก/หอพัก                   จำนวน     351   แห่ง

          32. ร้านขายยา                                 จำนวน      29   แห่ง

          33. ร้านขายรถ                                 จำนวน        24      แห่ง

          34. ร้านซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า                     จำนวน         7       แห่ง

          35. ตู้เอทีเอ็ม ธนาคารกรุงเทพ                จำนวน         8       แห่ง

          36. ตู้เอทีเอ็ม ธนาคารกรุงไทย                จำนวน         8       แห่ง

          37. ตู้เอทีเอ็ม ธนาคารออมสิน                จำนวน         7       แห่ง

          38. ตู้เอทีเอ็ม ธนาคารกสิกรไทย              จำนวน         9       แห่ง

          39. ตู้เอทีเอ็ม ธนาคารกรุงศรีอยุธยา         จำนวน        8       แห่ง

          40. ตู้เอทีเอ็ม ธนาคารไทยพาณิชย์           จำนวน      13       แห่ง

          41. ร้านเช่าวีซีดี/เช่าหนังสือ                   จำนวน       7        แห่ง

          42. ตลาดเอกชน                               จำนวน      5         แห่ง

          43. ร้านแอร์                                      จำนวน      15       แห่ง

          44. ร้านตัดเสื้อ                                   จำนวน       8        แห่ง

          45. โรงเรียน/สถานเลี้ยงเด็กกลางวัน         จำนวน     13        แห่ง

          46. สำนักงาน                                    จำนวน      43      แห่ง

          47. เสารับ-ส่งสัญญาณโทรศัพท์              จำนวน      10      แห่ง

          48. หมู่บ้านจัดสรร                              จำนวน      77      หลัง

          49. คลินิก                                        จำนวน      24      แห่ง

          50. สนามกีฬา                                   จำนวน       4      แห่ง

          51. นวดแผนไทย                                จำนวน       6      แห่ง

          52. ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า                         จำนวน       7      แห่ง

          53. หินแกรนิต                                   จำนวน       1      แห่ง

          54. โรงพยาบาลสัตว์                           จำนวน       1      แห่ง

          55. รับทำเบาะ                                  จำนวน       1      แห่ง

          56. ร้านรถเครนรับจ้าง                         จำนวน      1      แห่ง

          57. ร้านถ่ายเอกสาร                            จำนวน      2      แห่ง

          58. ร้านอิเลคทรอนิกส์                         จำนวน       2     แห่ง

          59. ร้านซ่อมสายพาน                                     จำนวน       2     แห่ง

          60. ฟิตเนส                                                 จำนวน       1      แห่ง  

          61. โรงพิมพ์                                                จำนวน       3      แห่ง

          62. ประกันชีวิต                                            จำนวน       1      แห่ง

          63. ร้านอลูมิเนียม                                         จำนวน       4      แห่ง

          64. รับทำกรอบรูป                                        จำนวน      1       แห่ง

          65. รับทำป้าย                                              จำนวน      2       แห่ง

          66. ร้านรับจำนำ                                           จำนวน       1      แห่ง

          67. ร้านขายอุปกรณ์เครื่องดนตรี                        จำนวน       1      แห่ง

 

1.4.2 แหล่งบริการทางด้านสุขภาพ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเป็ด  จำนวน 1   แห่ง

ศูนย์บริการสาธารณสุขหัวทุ่ง ทต.บ้านเป็ด  จำนวน  1   แห่ง                          ชั้นบน

ศูนย์แพทย์หัวทุ่ง เครือข่าย รพ.ขอนแก่น     จำนวน   1   แห่ง                         ชั้นล่าง

ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน                จำนวน   23  แห่ง

ร้านขายยาแผนปัจจุบัน                       จำนวน  29  แห่ง

คลินิก                                           จำนวน   24  แห่ง

ประชาชนบ้านเป็ดใช้ภาษาถิ่นอีสานในการสื่อสารในชุมชน และใช้ภาษากลาง ภาษาไทยในการติอต่อสื่อสารกับหน่วยงานต่างๆ


สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนที่ปรากฏให้เห็นชัดเจนในด้านสังคมและประชากร โดยมีการเปลี่ยนแปลงสังคมสู่การเป็นชุมชนกึ่งเมือง

การเปลี่ยนแปลงการเข้าสู่ ชุมชนกึ่งเมือง ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและวิถีชีวิต เนื่องจากอิทธิพลการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การขยายเมือง และความสมัยใหม่ มีผลให้ถนนมะลิวัลย์ที่ผ่านชุมชนของตำบลจระเข้ มีการขยายตัว ทำให้การตั้งห้างร้าน สรรพสินค้า ร้านรับจำนำที่ดิน รถยนต์ บนถนนสายหลักนี้ ประกอบกับในชุมชน เดินทางสะดวกสบาย และมีถนนเส้นทางเชื่อมต่อกันไปได้หลายบ้านหลายหมู่บ้าน จึงเอื้อต่อการค้าขาย มีตลาดเย็นของชุมชน มีตลาดคลองถม ส่งผลให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ประชาชนวัยแรงงานต้องหารายได้จากการไปทำงานในตัวเมืองขอนแก่น หรือไปต่างจังหวัด เพื่อนำมาใช้จ่ายเลี้ยงดูคนในครอบครัว เกิดการเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน กลุ่มที่อาศัยอยู่ในชุมชนเป็นกลุ่มผู้สูงอายุและเด็ก  เป็นต้น

ร้านข้าวต้ม โซ้ยไม่หยุด ร้านอาหารเจ้แมว อินเลิฟ เรสเตอรองท์ - สาขา3 ตรงข้ามเทศบาลบ้านเป็ด 4.0 (195) · ฿฿ · ร้านอาหาร คนมักลาบ บ้านเป็ด และ วัดท่าบึง

จากการสำรวจข้อมูลของนักศึกษาจากวิทยาลัยบรมราชชนนี ขอนแก่น