รักษาประเพณี พัฒนาท้องที่ สร้างสามัคคีในสังคม นิยมประหยัด
2411 รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าแต่งตั้ง 'อุปฮาด มุ่งขึ้นเป็น (ท้าวอู๋)'พระนครศรีบริรักษ์' เจ้าเมืองขอนแก่นตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านกกบก ส่วนอุปฮาดและราชวงษ์ คงตั้งอยู่ที่บ้านโนนทันเขตเมืองเดิม
2418 เมืองลาวซึ่งเป็นเมืองขึ้นของไทยถูกกองทัพจีนฮ่อรุกรานเจ้าเมืองขอนแก่นแต่งตั้งให้ ราชบุตรนำกองทัพเข้าร่วมการรบ ราชบุตร
ได้แสดงวีรกรรมอย่างห้าวหาญสามารถตีกองทัพฮ่อจนแตกพ่าย
2420 ภายหลังซึ่งครั้งนั้น ราชบุตร ได้โปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นที่พระนครศรีบริรักษ์ผู้ว่าราชการเมืองขอนแก่นยกกองราชบุตรที่บ้านดอนบมเป็นเมืองขอนแก่น
จากเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้เมืองขอนแก่นถูกแยกออกเป็น 2 เมืองคือ
1. เมืองขอนแก่นที่บ้านโนนทัน พระนครศรีบริรักษ์ (ท้าวมุ่ง)
2. เมืองขอนแก่นที่บ้านดอนบม พระนครศรีบริรักษ์ (ท้าวอู๋)
2424 พระนครศรีบริรักษ์(ท้าวอู๋) ถึงแก่อนิจกรรมราชวงศ์จึงนำข้าราชการฝ่ายเมืองเดิมยกเมืองมาตั้งที่ 'บ้านทุ่ม' พระนครศรีบริรักษ์ (ท้าวอู๋) ได้ไปขอเอา เท้าหล่าบุตรชายคนเล็กของพระนครศรีบริรักษ์ (ท้าวอิน) เจ้าเมืองคนก่อน มารับราชการด้วยกันทั้งสองฝ่ายแต่ก็ยังมีการทะเลาะเบาะแว้งฟ้องร้องกันมันหนักขึ้น
2434 'พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม' เข้ามาทำการสอบสวนแทนเนื่องจากข้าหลวงเดิมย้ายไปที่อื่น ท่านได้ศึกษาปัญหาของเมืองขอนแก่นอย่างละเอียดจึงให้เมืองขอนแก่น ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านดอนบมย้ายไปตั้งที่บ้านทุ่ม รวมกันกับฝ่ายเดิม และแต่งตั้งบ้านทุ่มเป็นเมืองขอนแก่น
2442 บ้านทุ่มเกิดแห้งแล้งกันดารน้ำประกอบกับเส้นทางการคมนาคมสัญจรหลักเปลี่ยนไปทางบ้านพระลับพระนครศรีบริรักษ์ (ท้าวอู๋) จึงได้ย้ายเมืองกลับไปที่บ้านเมืองเก่าอีกครั้งฉะนั้นบ้านทุ่มจึงมีฐานะเป็นเมืองขอนแก่นระหว่างปีพ.ศ. 2434 ถึง 2442 รวมเวลา 8 ปี
1.1.1 ที่ตั้งของชุมชนและอาณาเขต
- ตำบลบ้านทุ่ม มีระยะห่างจากอำเภอเมืองขอนแก่น 14 กิโลเมตร โดยเดินทางจากตัวเมืองขอนแก่นไปทางทิศตะวันตก ตามถนนมะลิวัลย์ (ขอนแก่น – ชุมแพ) และเป็นตำบลหนึ่งใน 17 ตำบล ของอำเภอเมืองขอนแก่น
1.1.2 ลักษณะทางธรณีวิทยา ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ
- ตำบลบ้านทุ่ม สภาพทั่วไปเป็นพื้นที่ราบมีลำห้วยไหลผ่าน เป็นดินร่วนปนทราย
โดยมีอาณาเขต ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลสาวะถี,ตำบลแดงใหญ่,
ทิศใต้ ติดกับ ตำบลบ้านหว้า
ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลบ้านเป็ด
ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลบ้านเหล่า ,ตำบลบ้านฝาง อำเภอบ้านฝาง
1.3 แผนที่ชุมชนเพื่อดูที่ตั้งขององค์ประกอบทางกายภาพของชุมชน จำนวนหลังคาเรือนและครอบครัวที่มีอยู่ในชุมชน
มีจำนวนประชากรจำนวน 17867 คน จำนวนครัวเรือน 5305 ครัวเรือน จำนวน หมู่บ้าน ๑๘ หมู่บ้าน
การคมนาคม
1.4.1 การเดินทางติดต่อกับชุมชนใกล้เคียง อำเภอหรือจังหวัด โดยเฉพาะกับสถานบริการ สุขภาพที่สำคัญ เช่น โรงพยาบาล สถานีอนามัย หรือคลินิกต่างๆ
- เดินทางโดย รถของ รพสต. รถยนต์ส่วนตัว รถประจำทาง รถจักรยานยนต์
1.4.2 พาหนะและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ตลอดจนจำนวนพาหนะและความถี่ในการให้บริการในชุมชน
- รถประจำทาง ค่าบริการ 10 บาท รถของรพสต และรถส่วนตัวไม่มีค่าใช้จ่าย
1.4.3 สภาพถนนในแต่ละฤดู
- ถนนลาดยางผ่านหมู่บ้าน 777 สาย
- ถนนทางหลวงแผ่นดิน 1 1111สาย
- ถนนภายในหมู่บ้านส่วนมากเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก
- การคมนาคมระหว่างหมู่บ้านและภายในหมู่บ้านมีความสะดวก
มีจำนวนประชากรจำนวน 17,934 คน
พบว่า ประชากรเพศหญิงและเพศชาย มีประชากรร้อยละ 52.05 และ 47.95 ตามลำดับ จะเห็นได้ว่า ประชากรในตำบลบ้านทุ่มส่วนใหญ่ เป็นผู้หญิงมากกว่าเพศชายจำแนกตามช่วงอายุ พบว่า ประชากรที่มีช่วงอายุ 40-44 ปี มีประชากรเพศชายและเพศหญิงมากที่สุด คือ ร้อยละ 9.13 และ 8.31 ตามลำดับ อันดับที่สอง คือ ประชากรช่วงอายุ 45-49 ปี มีประชากรเพศชายและเพศหญิง คือ ร้อยละ 8.52 และ 8.74 ตามลำดับ และ อันดับที่สาม คือ ประชากรช่วงอายุ 55-59 ปี มีประชากรเพศชายและเพศหญิง คือ ร้อยละ 8.76 และ 7.74 ตามลำดับ
จะเห็นได้ว่า ประชากรที่มีจำนวนมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ช่วงอายุ 40-44 ปี 45-49ปี และ55-59 ปี ซึ่งแสดงถึง แนวโน้มของจำนวนผู้สูงอายุที่มากขึ้น ทำให้เห็นถึงการเกิดภาวการณ์เจ็บป่วยโรคเรื้อรังมากขึ้น ส่งผลต่ออัตราส่วนพึ่งพิงมากขึ้น
ผู้นำจะประกอบด้วยเทศบาลเมืองบ้านทุ่มและชุมชนบ้านทุ่มโดยชุมชนบ้านทุ่มจะมีกลุ่มย่อยได้แก่กลุ่มสตรีประจำหมู่บ้าน กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านและกลุ่มกองทุนเงินล้านโดยภาระงานของเจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขมีดังนี้
1. ให้การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมและป้องกันโรค โดยให้คำแนะนำ ถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนบ้านและแกนนำสุขภาพประจำครอบครัว แกนนำชุมชนในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพพลานามัยให้แข็งแรง และเกิดการเจ็บป่วยน้อยที่สุด
2. ให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชน เช่น การรักษาพยาบาลเบื้องต้น การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การจ่ายถุงยางอนามัย การตรวจวัดความดันโลหิต การตรวจหาน้ำตาลในปัสสาวะ การตรวจหาน้ำตาลในเลือด การส่งต่อผู้ป่วย และการติดตามดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อมาจากสถานบริการ
3. ปฏิบัติงานที่ ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.) หรือสถานที่ตามกำหนดของหมู่บ้าน
4. จัดกิจกรรมเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาสาธารณสุขในหมู่บ้าน เช่น กิจกรรมเฝ้าระวังทางโภชนาการ โดยการชั่งน้ำหนักเด็ก การติดตามหญิงมีครรภ์ให้มาฝากท้องและตรวจครรภ์ตามกำหนด ให้บริการชั่งน้ำหนักหญิงมีครรภ์เป็นประจำทุกเดือน ติดตามเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และตรวจสุขภาพตามกำหนด กิจกรรมเฝ้าระวังด้านสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค โดยการติดตามให้มารดานำเด็กไปรับวัคซีนตามกำหนด และกิจกรรมเฝ้าระวังเรื่องโรคระบาดและโรคติดต่อประจำถิ่น โดยการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคหรือพาหะนำโรค
5. บริหารจัดการวางแผน แก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน โดยใช้งบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลและจากแหล่งอื่นๆ
6. ชักชวนเพื่อนบ้านเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน
7. ดูแลสิทธิประโยชน์ด้านหลักประกันสุขภาพและสาธารณสุขของประชาชนในหมู่บ้าน โดยเป็นแกนนำในการประสานงานกับผู้นำชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลและเครือข่ายสุขภาพ กระตุ้นให้มีการวางแผนและดำเนินงานเพื่อพัฒนางานสาธารณสุขของหมู่บ้าน บนพื้นฐานข้อมูลของชุมชน สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านสังคมเศรษฐกิจและจิตใจควบคู่กันไป
8. สื่อข่าวสารสาธารณสุขระหว่างเจ้าหน้าที่และประชาชนในหมู่บ้าน
นอกจากนี้ในชุมชนยังมีกลุ่มกองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งมีเป้าหมายคือ ทำการสงเคราะห์ซึ่งกันและกันในการจัดการศพ และสงเคราะห์ครอบครัวของสมาชิกที่ถึงแก่ความตาย และมิได้หมายความรวมถึงการหายสาบสูญตามคำสั่งศาล โดยมิได้ประสงค์จะแสวงหากำไรหรือหารายได้แบ่งปันกันโดยการบริหารงานผู้นำสูงสุดของกองทุนคือ นายกสมาคม และตำแหน่งรองลงมาคือ รองนายกสมาคมและคณะกรรมการ เลขานุการรวมถึงเหรัญญิก
และมีกองทุนสตรีหมู่บ้านที่รวมตัวกันเพื่อจุดประสงค์สร้างรายได้เสริมจากการงานจักสาน สินค้า OTOP ประจำท้องถิ่น รวมถึงกองทุนเงินล้านหมู่บ้านที่ชุมชนจะมีการบริหารเงินที่ได้รับจากทางเทศบาลเพื่อนำมาพัฒนาหมู่บ้านและส่งเสริมกิจกรรมที่จะทำให้ชุมชนเข้มแข็ง
- วัด 15 แห่ง
- ปั๊มน้ำมันและก๊าซ 5 แห่ง
- ศาลเจ้า 1 แห่ง
- โบสถ์คริสต์ 2 แห่ง
- โรงเรียนประถมศึกษา 6 แห่ง
- โรงเรียนมัธยมศึกษา 3 แห่ง
- โรงเรียน /สถาบันชั้นสูง 1 แห่ง
- สถานีตำรวจภูธรย่อย 1แห่ง
- โรงงานอุตสาหกรรม 15 แห่ง
- โรงสี 17 แห่ง
- ตลาดสดเทศบาล 1แห่ง
- ร้านจำหน่ายอาหาร 214 แห่ง
1.5.2 แหล่งบริการทางสุขภาพด้านสุขภาพ
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ๑ แห่ง
- กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองบ้านทุ่ม ๑ แห่ง รวมหน่วยกู้ชีพ ๑ หน่วย
- คลินิกเอกชน ๕ แห่ง
- ร้านขายยา ๔ แห่ง
ประชาชนบ้านทุ่มใช้ภาษาถิ่นอีสานในการสื่อสารในชุมชน และใช้ภาษากลาง ภาษาไทยในการติอต่อสื่อสารกับหน่วยงานต่างๆ
บ้านทุ่มได้เข้าร่วมโครงการโครงการชุมชนบ้านทุ่มใส่ใจ ไร้วัณโรค
วัณโรค (Tuberculosis:TB) เป็นโรคติดต่อที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุข เป็นสาเหตุของการป่วย และการเสียชีวิตในหลายๆ ประเทศทั่วโลก อีกทั้งปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ทำให้ปัญหาวัณโรคมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น วัณโรคจึงนับเป็นปัญหาที่ท้าทายต่อวงการสาธารณสุขของประเทศต่างๆ (กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข,๒๕๔๘)
ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคประมาณ ๒ พันล้านคน หรือเกือบ ๑ ใน ๓ ของประชากรโลก มีผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิต ๑.๙๐ ล้านคนในแต่ละปี ประเทศไทยมีปัจจัยหลายอย่างที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน และการขยายงานในการควบคุมวัณโรค ทั้งปัจจัยด้านผู้ป่วย สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ เช่น ความยากจน การด้อยโอกาสทางการศึกษา ชุมชนแออัด ปัญหายาเสพติด แรงงานย้ายถิ่น แรงงานต่างชาติผิดกฎหมาย ความแออัดของผู้ต้องขังในเรือนจำ เป็นต้น จากการคำนวณทางระบาดวิทยาในรายงานขององค์การอนามัยโลกคาดว่า ประเทศไทยน่าจะมีผู้ป่วยรายใหม่ทุกประเภทประมาณ ๙๒,๓๐๐ คน ในจำนวนนี้ประมาณครึ่งหนึ่ง หรือ ๔๔,๔๗๕ คนเป็นผู้ป่วยที่สามารถแพร่เชื้อได้ และมีผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิตปีละ ๑๒,๐๘๙ ราย นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยโรคเอดส์รายใหม่ตรวจพบวัณโรคร่วมด้วย ประมาณร้อยละ ๑๗ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ประเทศไทยมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ชนิดเสมหะพบเชื้อจำนวน ๒๕,๙๖๖ ราย รวมผู้ป่วยวัณโรคทุกประเภทมีจำนวน ๕๓,๓๕๗ ราย เสียชีวิต ๒,๕๔๘ ราย อัตราการตรวจพบผู้ป่วยรายใหม่คิดเป็นร้อยละ ๖๙.๐๐ ซึ่งยังไม่บรรลุเป้าหมายขององค์การอนามัยโลกที่มีเป้าหมายอัตราการตรวจพบ
ผู้ป่วยรายใหม่ อยู่ที่ร้อยละ ๘๕.๐๐ ภายในปี ค.ศ. ๒๐๑๕ มีอัตราความสําเร็จของการรักษาคิดเป็น ร้อยละ ๘๓.๐๐ ซึ่งยังต่ำกว่าเป้าหมายขององค์การอนามัยโลกที่มีเป้าหมายอัตราความสําเร็จของการรักษาอยู่ที่ ร้อยละ ๘๗.๐๐ ภายในปีค.ศ. ๒๐๑๕ (สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, ๒๕๕๓)
จากการสำรวจสาเหตุการเกิดโรคติดเชื้อทางเดินหายใจในชุมชนบ้านทุ่ม หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 676 ครัวเรือน พบว่า เป็นโรคหอบหืดจำนวน7คน คิดเป็นร้อยละ 2.26 และเป็นโรควัณโรคจำนวน3คนคิดเป็นร้อยละ0.97 เนื่องจากชุมชนบ้านทุ่มมีโครงสร้างด้านอายุและเพศของประชากรในชุมชนบ้านทุ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้นมี ซึ่งมีโรงงานอุตสาหกรรมจำนวน 15 แห่ง โรงสีจำนวน 17 แห่ง ในชุมชนบ้านทุ่ม และในหมู่ที่2มีโรงงาน1 แห่ง โรงสี2 แห่ง ซึ่งชุมชนบ้านทุ่มใกล้เคียงกับอำเภอจังหวัด มีลักษณะเป็นชุมชนกึ่งเมือง จึงทำให้เห็นถึงปัจจัยที่ของโรคที่พบได้บ่อยทั้งในคนเมืองและชนบทโดยเฉพาะตามแหล่งสลัมหรือในที่ๆผู้คนแออัดพบในคนที่ร่างกายอ่อนแอ จึงส่งผลให้มีการแพร่กระจายของเชื้อวัณโรคมากขึ้น
จากประเด็นปัญหาและปัจจัยส่งเสริมดังกล่าว คนในชุมชนและนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น เห็นด้วยว่าหากในชุมชน จะดำเนินกิจกรรมหรือมีโครงการสนับสนุนให้มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ การป้องกันโรควัณโรค และจัดกิจกรรมสนับสนุนให้มีความตระหนักเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ เพื่อป้องกันการเกิดโรควัณโรค ซึ่งทางผู้จัดทำโครงการได้เล็งเห็นความสำคัญของการการดูแลสุขภาพ เพื่อป้องกันการเกิดโรควัณโรค ในชุมชนบ้านทุ่ม หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อดำเนินการดูแลสุขภาพ เพื่อป้องกันการเกิดโรควัณโรค ในชุมชนและพัฒนาเครือข่ายให้มีความยั่งยืนต่อไป
ชุมชนบ้านทุ่มมีร้านอาหา เก็บตะวัน ณ บ้านทุ่ม ร้านชมจันทร์บ้านทุ่มเมืองขอนแก่น ร้าน Happy Home Restaurant และ วัดโพธิ์กลาง
จากการสำรวจข้อมูลของนักศึกษาจากวิทยาลัยบรมราชชนนี ขอนแก่น