พระยืนคู่เมือง ลือเลื่องเสื่อไทย ผ้าไหมและกันสาด สมเด็จอาจพุฒาจารย์
โดยคัดลอกออกมาจากหนังสือ ประกอบพิธีเททองหล่อพระประธานในอุโบสถเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2537 โดยพระครูศัพสุนทร ( พระมหาปาน ) ป.ธ. ๖, น.ธ. เอก
บ้านดงกลาง ตำบลบ้านโต้น อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น เดิมบ้านดงกลางได้แยกมาจากบ้านโต้น อพยพ ไปตั้งบ้านเรือนที่ หนองฮี ( แยกออกเพราะเหตุใดไม่ปรากฎหลักฐาน ) ห่างจากบ้านโต้นปัจจุบันประมาณ 1.5 กิโลเมตร ไปทางทิศเหนือ ตั้งชื่อบ้านตามหนองน้ำว่า “บ้านหนองฮี” พวกที่อพยพออกมามี 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 กลุ่ม พ่อจารย์หงษ์ กลุ่มที่ 2 กลุ่มขุนชิตโตนารักษ์ (อุง จันทร์มี) อดีตกำนันตำบลบ้านโต้น และสารวัตรเหลี่ยม ม่วงทอง อยู่ในกลุ่ม กำนันขุนชิตโตนารักษ์ เมื่อตั้งบ้านเรือนได้ไม่นานนัก ก็เกิดโรคห่า ( อหิวาตกโรค ) ขึ้น ทั้งสองกลุ่มเลยต้องอพยพอีก มีกลุ่มพ่อจารย์หงษ์ ไปตั้งบ้านเรือนก่อน มาตั้งที่บ้านดงกลางปัจจุบัน กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มกำนันขุนชิตโตนารักษ์ และสารวัตรเหลี่ยม ม่วงทอง ในปี 2455 ห่างจากบ้านหนองฮีเดิมประมาณ 1.5 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนบ้านหนองฮีเดิม ได้สงวนไว้เป็นที่สาธารณะ โดยความเป็นจริงนั้นบ้านดงกลางนามเดิมว่า บ้านดงโต่งโต้น เพราะภูมิประเทศยื่นเข้าไปในแก่งกุดโดก ต่อมาเปลี่ยนชื่อบ้านว่า “บ้านดงกลาง” เพราะอยู่ระหว่าง บ้านโต้น และบ้านดงเก่า คำว่า ดง เดิมทีที่ตรงนี้เป็นป่าดงดิบ อุดมไปด้วยไม้นานาพันธุ์ และสัตว์ป่า มากมาย
กาลต่อมาท่านกำนันขุนชิตโตนารักษ์ ออกสำรวจภูมิประเทศเห็นแหล่งน้ำที่สมบูรณ์ จึงพร้อมใจกันปิดทำนบฝายลำห้วยบักอุยที่ไหลตกแม่น้ำชีที่ต้นมะเดื่อ ได้ชื่อว่า ฝายต้นมะเดื่อของกำนันชิตโตนารักษ์จนปัจจุบัน เมื่อทำนบเสร็จแล้ว ก็เกิดมีเกาะแก่งขึ้นเรียกว่า “แก่งกุดโดก” ตามนามเดิมที่เป็นแอ่งน้ำลึกด้านตะวันออกของบ้านโต้น เดิมมีเนื้อที่ประมาณ 3,000 ถึง 4,000 ไร่ (ปัจจุบันนี้ 19 กรกฎาคม 2550 มีเนื้อที่ 1, 648 ไร่)
บ้านดงกลาง เมื่อมีหมู่บ้านแล้ว ตามปกติแล้วคนไทยชาวพุทธก็ต้องมีวัดไว้ให้ลูกหลานได้บวชเรียน กำนันขุนชิตโตนารักษ์ พร้อมด้วยชาวบ้านจึงได้เลือกวัดในปัจจุบันมีเนื้อที่ 14 ไร่ 2 งาน มี น.ส. 3 เรียบร้อย ตั้งขึ้นปี 2455 พร้อมหมู่บ้านและมีชื่อว่า วัดบ้านดงกลาง เจ้าอาวาสรูปแรกคือ พระครูหน่อ ต่อมาจนถึงพระอาจารย์ใสร่วมกับขุนชิตโตนารักษ์ ได้ตั้งโรงเรียนประถมขึ้นที่วัดบ้านดงกลางเป็นแห่งแรกในตำบลบ้านโต้น อาศัยศาลาวัดโรงธรรมวัดบ้านดงกลาง โดยความอุปถัมภ์ของกำนันขุนชิตโตนารักษ์ ศิษย์เอกของโรงเรียนแห่งนี้คือ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์อาสภมหาเภร (อาจ ดวงมาลา) ศาลาโรงธรรมวัดบ้านดงกลางเป็นโรงเรียนแม่แบบ ขยายไปตั้งในเขตตำบลระแวกนั้นอีกนับเป็น 10 กว่าโรง
บ้านดงกลาง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอพระยืน อยู่ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 13 กิโลเมตร ตามเส้นทาง บ้านโต้น อำเภอพระยืน มีพื้นที่ 5,671 ไร่ เป็นที่อยู่อาศัย 750 ไร่ มีเนื้อที่ประมาณ 9.376 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับหมู่บ้านอื่น ๆ ดังนี้
- ทิศเหนือ จดตำบลหนองแวง
- ทิศใต้ จดบ้านโต้น
- ทิศตะวันออก จดแก่งกุดโดก
- ทิศตะวันตก จดตำบลหนองแวง
ลักษณะทางธรณีวิทยา ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิอากาศ
ชุมชนกลางพัฒนา บ้านดงกลาง หมู่ 5 ตำบลบ้านโต้น สภาพทั่วไปเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีแหล่งน้ำ คือ แก่งกุดโดก ที่เกิดจากแม่น้ำชีที่ไหลผ่าน เป็นดินเหนียวและดินทราย
ภูมิอากาศ ลักษณะทางภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม 3 ฤดู คือ
- ฤดูร้อน ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม
- ฤดูฝน ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน
- ฤดูหนาว ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนตุลาคม
สภาพการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนและในชุมชน
ชุมชนกลางพัฒนา บ้านดงกลาง หมู่ 5 ตำบลบ้านโต้น ปัจจุบันมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือนมีน้ำประปาใช้ทุกหลัง และประชาชนส่วนใหญ่จะดื่มน้ำ จากน้ำกรองของหมู่บ้านมี 1 จุด ที่ได้การสนับสนุนจากเทศบาลบ้านโต้น จากน้ำประปาภูมิภาคอำเภอบ้านไผ่
แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีอยู่ในเขตของชุมชนแหล่งน้ำ มีแหล่งน้ำธรรมชาติ คือ แม่น้ำชี เป็นลำน้ำสายหลัก นอกนั้นเป็นหนองน้ำใหญ่ เช่น แก่งกุดโดกมีพื้นที่ 1,648 ไร่ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่ประชาชนในหมู่บ้านต่าง ๆ ได้ใช้บริโภค และทำการเกษตร และหนองน้ำต่าง ๆ เช่น หนองฮี มีพื้นที่ประมาณ 4 ไร่ หนองนิคม มีพื้นที่ 8 ไร่ มีบ่อน้ำบาดาล 5 แห่ง ( ใช้การไม่ได้ทั้งหมด ) มีบ่อน้ำตื้น 2 บ่อ มีพื้นที่ไร่นาทรัพยากร ขึ้นเองตามธรรมชาติ คือ ต้นผือ กก ต้นธูปฤาษี ที่ขึ้นเองในแก่งกุดโดก ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ และนกน้ำ ฤดูอพยพ ต้นผือ ต้นกกซึ่งสามารถนำมาท่อเป็นเสื่อ เป็นสินค้าส่งขายทั่วประเทศสร้างชื่อเสียงให้กับเทศบาลตำบลบ้านโต้น เป็นอย่างมาก ก่อนที่จะได้เปลี่ยนมาเป็น เสื่อพลาสติกอย่างเช่น ทุกวันนี้ นอกจากนั้นมีป่าไม้ ลักษณะเป็นประเภทป่าโปร่ง ไม้ยืนต้นตามหัวไร่ปลายนา สำหรับพืชที่ปลูก ได้แก่ มันสำปะหลัง ไม้ยูคาลิปตัส
สาธารณูปโภคในชุมชน แหล่งสาธารณูปโภคที่อำนวยประโยชน์แก่ประชาชนในชุมชนตะวันทอแสง ประกอบไปด้วย การมีน้ำประปาในชุมชน มีน้ำดื่มสะอาดที่กรองฟรีโดยเทศบาล มีไฟฟ้าใช้ทุกหลังคาเรือนการกำจัดขยะมูลฝอยของในชุมชน จะมีถังขยะอยู่หน้าบ้านและมีรถเก็บขยะของเทศบาลมาเก็บ ทุกวัน จันทร์ พุทธ
การคมนาคม
การเดินทางติดต่อกับชุมชนใกล้เคียง
การคมนาคมและการสื่อสารสะดวก โดยที่ตั้งของบ้านดงกลาง ซึ่งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลบ้านโต้น เป็นพื้นที่ใหญ่ ตั้งอยู่ห่างจากที่ตั้งจังหวัดขอนแก่น 27 กิโลเมตร ตามระยะทางถนนมิตรภาพ – ร.พ.ช. ซึ่งสามารถเดินทางได้หลายทาง เช่น ทางอำเภอพระยืน ทางตำบลท่าพระ และทางบ้านโนนสมบูรณ์ ฯลฯ อยู่ห่างจากที่ตั้งอำเภอพระยืนประมาณ 13 กิโลเมตร ถนนเส้นทางระหว่างที่ตั้งของตำบลบ้านโต้น ส่วนใหญ่เป็นถนนแบบลาดยาง ส่วนถนนภายในหมู่บ้านจะเป็นถนนคอนกรีต
การคมนาคมในหมู่บ้านจะนิยมเดินทางโดยการเดิน จักรยานและจักรยานยนต์ การเดินทางในระหว่างหมู่บ้านจะนิยมใช้จักรยานและจักรยานยนต์ ส่วนเดินทางเข้าเมืองจะนิยมใช้รถยนต์ส่วนตัว รถจักรยานยนต์ รถโดยสารและรถรับจ้าง ส่วนการเดินทางเข้าตัวอำเภอพระยืนจะนิยมใช้รถจักยานยนต์ รถยนต์ส่วนตัวและรถรับจ้าง
พาหนะและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
พาหนะและค่าใช้จ่ายในการเดินทางตลอดจนจำนวนพาหนะและความถี่ในการให้บริการชุมชนการเดินทางเข้าเมืองหรือเดินทางไปชุมชนใกล้เคียง ประชาชนส่วนใหญ่จะใช้ยานพาหนะ คือ จักรยานจักรยานยนต์ ในการเดินทางภายในหมู่บ้าน ใช้ยานพาหนะ จักรยานและจักรยานยนต์ ในการเดินทางระหว่างหมู่บ้านใช้ยานพาหนะ จักรยานยนต์ รถยนต์ส่วนตัว ในการเดินทางออกนอกหมู่บ้าน ส่วนประชาชนที่ไม่มีรถส่วนตัวจะใช้รถโดยสารประจำทางในการเดินทาง ซึ่งมีรถโดยสารประจำทางผ่านหมู่บ้านผ่านบ้านดงกลาง บ้านดงเก่า บ้านโนนสมบูรณ์ ไปทางถนนมิตรภาพเข้าสู่ตัวอำเภอเมืองและสิ้นสุดสายที่ บขส. เก่า เป็นประจำตั้งแต่เวลา 06.00 น.-16.00 น. อัตราค่าโดยสารตลอดสาย 25 บาท
การสื่อสาร
มีหอกระจายข่าวสารของเทศบาล มีหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้านอีก 5 แห่ง ในชุมชน หมู่ 5 มี 2 แห่ง คือ บ้านผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 และบ้านประธาน อสม. มีตู้โทรศัพท์สาธารณะ 1 แห่งแต่ไม่สามารถใช้งานได้ มีวิทยุมือถือของส่วนราชการ และของเอกชน มีเครือข่ายโทรศัพท์ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย มีโทรศัพท์มือถือ มีวิทยุเทป มีโทรทัศน์เกือบทุกครัวเรือน มีความสะดวกสบายพร้อมทุกอย่าง
สภาพถนนในแต่ละฤดูกาล
สภาพถนนในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นถนนคอนกรีต แต่พบพื้นถนนไม่เรียบเป็นจำนวนมาก มีถนนลูกรังเล็กน้อยในบ้านที่อยู่ในซอย หมู่บ้านมีการวางท่อระบายน้ำในจุดสำคัญ แต่มีการวางท่อระบายน้ำหรือมีคูครองให้น้ำระบายไม่ครบทุกหลังคาเรือน บางหลังคาเรือนเมื่อใช้น้ำเช่น ซักผ้า ทำให้น้ำล้นออกมาบริเวณหน้าบ้าน ไหลข้ามถนนเพื่อจะไปลงที่คูคลองอีกฝั่งหนึ่ง ลักษณะบ้านที่มีเป็นลุ่มประมาณ 10 หลังทีมีน้ำขังบริเวณหน้าบ้าน ส่งผลให้มีน้ำขังและจะมีมาใน ฤดูฝน
ลักษณะทางประชากร
จำนวนประชากรจำแนกตามช่วงอายุปี 2559 ชุมชนบ้านดงกลาง (ชุมชนตะวันทอแสง ) หมู่ 5 ตำบลบ้านโต้น (เขตเมือง) อำเภอพระยืนจังหวัดขอนแก่น มีครัวเรือนทั้งหมด 83 ครัวเรือน จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ทะเบียนทั้งหมด 458 คน แบ่งเป็นเพศชาย 227 คน เพศหญิง 231 คน เชื้อชาติไทย 458 คนคิดเป็นร้อยละ 100 สัญชาติไทย 458 คนคิดเป็นร้อยละ 100 ศาสนาพุทธ 458 คน คิดเป็นร้อยละ 100 การย้ายถิ่นฐาน ไม่พบการย้ายถิ่นฐานในปี พ.ศ. 2559
ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยผู้ใหญ่ (46-50 ปี) ซึ่งเป็นวัยแห่งการทำงานเลี้ยงดูครอบครัว ซึ่งปัญหาสุขภาพของวัยนี้ส่วนใหญ่เป็นผลจากร่างกายมีการชะลอการเจริญเติบโตเริ่มมีความเสื่อมและมักจะเกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมการทำงานที่ทำเป็นประจำ และยังแสดงให้เห็นแนวโน้มที่ประชาชนวัยทำงานจะเข้าสู่วัยผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นโดยมีสัดส่วนของการเกิดที่ลดลง โดยมีประชากรของเด็กอายุ 0-5 ปี จำนวน 22คน คิดเป็นร้อยละ 4.80 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งแตกต่างกับวัยผู้ใหญ่ซึ่งมีประชากรในช่วงอายุสูงสุดในปีรามิด คือประชาชนช่วงอายุ 46-50 ปี มีประชากรเท่ากันคือ 44 คนหรือคิดเป็นร้อยละ 9.61 จึงควรส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนวัยทำงานมีการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เป็นภาระลูกหลาน
หมู่บ้านดงกลางหมู่ 5 มีการปกครองส่วนท้องถิ่นสองแบบคือ ส่วนของเทศบาลตำบลบ้านโต้นมีท่านนายกเทศบาลคือ นายเจริญ แซ่เต็ง มีพันธกิจ คือ การดูแลสาธารณูประโภคต่างๆ เช่น น้ำประปา ไฟฟ้า ถนน ต่อมาในส่วนของการดูแลภาคใกล้ชิดประชาชนคือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งจะมีสายการปกครองดังนี้
- ผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการจะดูแลลูกบ้านโดยมี ศูนย์ดำรงธรรม เกี่ยวกับการรองเรียนต่างๆ เช่น ปัญหาของชาวบ้านการ แบ่งที่ดิน และสาธารณูประโภคต่างๆ รับความคิดเห็นของคนภายในหมู่บ้าน การพัฒนาหมู่บ้านในส่วนของความสะดวกสบาย การทำมาหากิน การพัฒนาความรู้ต่างๆ เช่น การสร้างศาลากลางบ้าน คลองน้ำเข้าพื้นที่นา การอบรมความรู้การเกษตร เป็นต้น โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐโดยตรง ตามปีงบประมาณ - ประธาน อสม. หมู่ 5 ชุมชนตะวันทอแสง นายประพันธ์ จันทร์เหนือ โดยจะมีหน้าที่นำข่าวสารทางสาธาณสุขแจ้งให้กับคนในชุมชนทราบ เป็นตัวแทนในการเข้าประชุมต่างๆ ที่ทาง รพ.สต.จัดขึ้น และบริหารงานและแบ่งงาน/ความรับผิดชอบ ให้กับ อสม. โดยมี นางพัชรินทร์ นามพิกุล เป็นเลขานุการ ซึ่งจะเป็นคนประสานงานกับ อสม. และเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านโต้นอสม.บ้านกลางดง จะมีการแบ่งเขตรับผิดชอบของแต่ละคน เช่น 1 คน ต่อความรับผิดชอบ 10-15 หลังคาเรือน ทำให้เข้าถึงประชาชนได้มากขึ้น และชมรม อสม.จะมีเงินเก็บของชมรมเอง เพื่อใช้เป็นทุนในการจัดทำกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าการทำงานของ อสม. รวดเร็ว มีความเข้มแข็งของ อสม. ประชาชนในหมู่บ้านมีความพึงพอใจในการทำงานของ อสม. เพราะมีความรวดเร็ว แจ้งข่าวสารเกี่ยวกับสาธารณสุขให้ทราบ มาตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตให้ที่บ้านหรือมาเยี่ยมที่บ้าน เป็นต้น - อาจารย์ประยุทธ์ ขันหนองโพธิ์หัวหน้า กศน.ตำบลบ้านโต้น ซึ่งอาจารย์ประยุทธจะเป็นแกนนำในการจัดทำโครงการต่างๆ ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชนบ้านโต้น เช่น พ.ศ 2548 อาจารย์ได้เห็นถึงพื่นที่ว่างหน้า กศน. ซึ่งเป็นพื่นที่ราชพัสดุในความดูแลของโรงเรียนประชารัฐ จึงเกิดความคิดขึ้นว่าควรจะทำพื่นที่การเกษตรปลอดสารพิษสำหรับชุมชนขึ้น จึงได้เริ่มจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบลบ้านโต้นขึ้น โดยจะจัดทำแปลงผักไว้ให้และมีเครื่องสูบน้ำจากแก่งกุดโดกเพื่อนำน้ำมาใช้รดนำผัก โดยมีค่าบริการ คือ 10 บาท/เดือน โดยเปิดให้จับจอง 1 ครอบครัวต่อแปลงผักไม่เกิน 3 แปลง ไม่ระบุระยะเวลาในการปลูกผัก หากครอบครัวอื่นอยากจับจองเพิ่มแต่พื้นที่ไม่เพียงพอก็สามารถขอแบ่งจากผู้ปลูกรายเก่าได้แต่จะเปิดโอกาสให้ตกลงกันเอง อาจารย์ประยุทธเล่าว่าจะมีการอบรมการปลูกผักปลอดสารพิษและการอบรมการใช้ตลาดออนไลน์ให้กับผู้สนใจทุกวันอาทิตย์ เวลาประมาณ 09.00 น. พ.ศ.2551 ได้จัดตั้งชมรมชมรม To be number one ขึ้นเนื่องจากเล็งเห็นความสำคัญของการแพร่ระบาดของยาเสพติดในตำบลบ้านโต้น จากข้อมูลศูนย์ปฎิบัติการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด (ศพส.) อำเภอพระยืน รายงานว่าหมู่บ้านในตำบลบ้านโต้นเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของยาเสพติด จึงได้กำหนดเป็น “ตำบลสีขาว” ที่จะต้องมีการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้เป็นชุมชนปลอดยาเสพติด อีกทั้งชุมชนบ้านดงกลางยังถูกระบุว่า มีกลุ่มเสพและจำหน่ายยาเสพติดในชุมชนด้วย โดยมีวิสัยทัศน์ชมรม คือ ชาวดงกลางมีชีวิตที่สดใส ในชุมชนที่ปลอดภัย สู่สังคมแห่งความสุข พันธกิจ คือ สร้างสัมพันธ์ในชุมชน สร้างเยาวชนให้เข้มแข็ง สร้างแรงบันดาลใจ สร้างเกราะป้องกันยาเสพติด จากการทำโครงการและมีการแข่งขันในระดับต่างๆ ชมรม To be number one ของกศน.ตำบลบ้านโต้นก็ได้รับรางวัลมากมาย ซึ่งอาจารย์ประยุทธ์เล่าว่า หลังจากจัดทำโครงการขึ้นวัยรุ่นและเด็กๆ ในชุมชนให้ความสนใจและส่วนใหญ่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้นแต่มีบางส่วนที่เข้าร่วมโครงการและออกกลางคันหรือไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการใช้สารเสพติดในชุมชนเป็นสังคมนิยมในชุมชน การมองเห็นว่าสารเสพติดเป็นปัญหาของชุมชนจึงน้อย ปี พ.ศ.2553 ได้จัดตั้งศูนย์ดิจิตอลชุมชน ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นศูนย์ ICT (เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.59) ซึ่งจะอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
- ผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการจะดูแลลูกบ้านโดยมี ศูนย์ดำรงธรรม เกี่ยวกับการรองเรียนต่างๆ เช่น ปัญหาของชาวบ้านการ แบ่งที่ดิน และสาธารณูประโภคต่างๆ รับความคิดเห็นของคนภายในหมู่บ้าน การพัฒนาหมู่บ้านในส่วนของความสะดวกสบาย การทำมาหากิน การพัฒนาความรู้ต่างๆ เช่น การสร้างศาลากลางบ้าน คลองน้ำเข้าพื้นที่นา การอบรมความรู้การเกษตร เป็นต้น โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐโดยตรง ตามปีงบประมาณ
- ประธาน อสม. หมู่ 5 ชุมชนตะวันทอแสง นายประพันธ์ จันทร์เหนือ โดยจะมีหน้าที่นำข่าวสารทางสาธาณสุขแจ้งให้กับคนในชุมชนทราบ เป็นตัวแทนในการเข้าประชุมต่างๆ ที่ทาง รพ.สต.จัดขึ้น และบริหารงานและแบ่งงาน/ความรับผิดชอบ ให้กับ อสม. โดยมี นางพัชรินทร์ นามพิกุล เป็นเลขานุการ ซึ่งจะเป็นคนประสานงานกับ อสม. และเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านโต้นอสม.บ้านกลางดง จะมีการแบ่งเขตรับผิดชอบของแต่ละคน เช่น 1 คน ต่อความรับผิดชอบ 10-15 หลังคาเรือน ทำให้เข้าถึงประชาชนได้มากขึ้น และชมรม อสม.จะมีเงินเก็บของชมรมเอง เพื่อใช้เป็นทุนในการจัดทำกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าการทำงานของ อสม. รวดเร็ว มีความเข้มแข็งของ อสม. ประชาชนในหมู่บ้านมีความพึงพอใจในการทำงานของ อสม. เพราะมีความรวดเร็ว แจ้งข่าวสารเกี่ยวกับสาธารณสุขให้ทราบ มาตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตให้ที่บ้านหรือมาเยี่ยมที่บ้าน เป็นต้น - อาจารย์ประยุทธ์ ขันหนองโพธิ์หัวหน้า กศน.ตำบลบ้านโต้น ซึ่งอาจารย์ประยุทธจะเป็นแกนนำในการจัดทำโครงการต่างๆ ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชนบ้านโต้น เช่น พ.ศ 2548 อาจารย์ได้เห็นถึงพื่นที่ว่างหน้า กศน. ซึ่งเป็นพื่นที่ราชพัสดุในความดูแลของโรงเรียนประชารัฐ จึงเกิดความคิดขึ้นว่าควรจะทำพื่นที่การเกษตรปลอดสารพิษสำหรับชุมชนขึ้น จึงได้เริ่มจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบลบ้านโต้นขึ้น โดยจะจัดทำแปลงผักไว้ให้และมีเครื่องสูบน้ำจากแก่งกุดโดกเพื่อนำน้ำมาใช้รดนำผัก โดยมีค่าบริการ คือ 10 บาท/เดือน โดยเปิดให้จับจอง 1 ครอบครัวต่อแปลงผักไม่เกิน 3 แปลง ไม่ระบุระยะเวลาในการปลูกผัก หากครอบครัวอื่นอยากจับจองเพิ่มแต่พื้นที่ไม่เพียงพอก็สามารถขอแบ่งจากผู้ปลูกรายเก่าได้แต่จะเปิดโอกาสให้ตกลงกันเอง อาจารย์ประยุทธเล่าว่าจะมีการอบรมการปลูกผักปลอดสารพิษและการอบรมการใช้ตลาดออนไลน์ให้กับผู้สนใจทุกวันอาทิตย์ เวลาประมาณ 09.00 น. พ.ศ.2551 ได้จัดตั้งชมรมชมรม To be number one ขึ้นเนื่องจากเล็งเห็นความสำคัญของการแพร่ระบาดของยาเสพติดในตำบลบ้านโต้น จากข้อมูลศูนย์ปฎิบัติการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด (ศพส.) อำเภอพระยืน รายงานว่าหมู่บ้านในตำบลบ้านโต้นเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของยาเสพติด จึงได้กำหนดเป็น “ตำบลสีขาว” ที่จะต้องมีการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้เป็นชุมชนปลอดยาเสพติด อีกทั้งชุมชนบ้านดงกลางยังถูกระบุว่า มีกลุ่มเสพและจำหน่ายยาเสพติดในชุมชนด้วย โดยมีวิสัยทัศน์ชมรม คือ ชาวดงกลางมีชีวิตที่สดใส ในชุมชนที่ปลอดภัย สู่สังคมแห่งความสุข พันธกิจ คือ สร้างสัมพันธ์ในชุมชน สร้างเยาวชนให้เข้มแข็ง สร้างแรงบันดาลใจ สร้างเกราะป้องกันยาเสพติด จากการทำโครงการและมีการแข่งขันในระดับต่างๆ ชมรม To be number one ของกศน.ตำบลบ้านโต้นก็ได้รับรางวัลมากมาย ซึ่งอาจารย์ประยุทธ์เล่าว่า หลังจากจัดทำโครงการขึ้นวัยรุ่นและเด็กๆ ในชุมชนให้ความสนใจและส่วนใหญ่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้นแต่มีบางส่วนที่เข้าร่วมโครงการและออกกลางคันหรือไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการใช้สารเสพติดในชุมชนเป็นสังคมนิยมในชุมชน การมองเห็นว่าสารเสพติดเป็นปัญหาของชุมชนจึงน้อย ปี พ.ศ.2553 ได้จัดตั้งศูนย์ดิจิตอลชุมชน ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นศูนย์ ICT (เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.59) ซึ่งจะอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
ฮีตสิบสองที่มีในชุมชน ข้อมูลจากพระครูศรีวิสุทธิสารเมธี (พระมหาปาน สุขจิตโต)
- วัฒนธรรมของคนอีสานเป็นวัฒนธรรมที่มีความเชื่อมั่นที่สุด ดีที่สุดสำหรับภูมิภาคอีสาน ซึ่งเดิมในแคว้นสุวรรณภูมิล้วนมีวัฒนธรรมแต่โบราณมาวัฒนธรรมของคนอีสานสร้างคนให้เป็นคน สร้างคนให้ละจากความโลภ ความโกรธ ความหลงให้ทำคุณงามความดีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน มีฮีตมีคองอยู่ เรียกว่าฮีตสิบสองคองสิบสี่ ฮีตบ้านคองเมือง ฮีตพ่อคองพ่อฮีตเต่าคองเขยเลยมาสมสู่ขออยู่ อาสาเลี้ยงดูลูกตามิ่ง เป็นฮีตเป็นคองฮีตสิบสองของคนอีสานว่าไว้ตามลักษณะสิบสองเดือน แต่ละเดือนมีงานประเพณีกฎเกณฑ์ ตามกติกาสังคมอีสานวางไว้แต่สังคมบรรพบุรุษมา
- ฮีตสิบสองของชาวอีสานส่วนที่กำเนิดจากคำสอน และความเชื่อของพระพุทธศาสนา จะคล้ายกับประเพณีของชาวพุทธในสังคมอื่น ส่วนฮีตที่เกิดจากความเชื่อในเรื่องผี อำนาจลึกลับและปัญหาในการดำรงชีวิตประจำวันของชาวอีสานจะมีเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น ฮิตสิบสองเดือนมีดังนี้
เดือนอ้าย(เดือนเจียง) – บุญเข้ากรรม
เดือนเจียง(เดือนอ้าย) นิมนต์สังฆเจ้าเข้ากรรมฯ ชาวบ้านเลี้ยงผีแถนและผีต่างๆ(บรรพบุรุษหรือบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ) การนิมนต์พระสงฆ์เจ้ามาเข้าปริวาสกรรมหรือเข้ากรรมนั้น เป็นพิธีกรรมเพื่อให้พระภิกษุผู้กระทำความผิดได้สารภาพต่อหน้าคณะสงฆ์ (มิใช่การล้างบาป) เป็นการฝึกความรู้สึกสำนึก วิจัยต่อความบกพร่องของตัวเอง ซึ่งตรงกันข้ามกับสังคมสมัยนี้ที่มีแต่โพนทะนาถึงความชั่วความผิดของผู้อื่นข้างเดียว
เดือนยี่ – บุญคูณลาน
เดือนยี่ ทำบุญ "คูณข้าว" มีพระสวดมนต์เย็นยันเช้า เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวเปลือก เมื่อพระฉันเช้าแล้วก็ทำพิธีสู่ขวัญข้าว (ทำขวัญหรือสูตรขวัญ) นอกจากนั้นในเดือนนี้ชาวบ้านจะยังต้องเตรียมสะสมเชื้อเพลิงหาฟืนและถ่านมาไว้ในบ้าน
เดือนสาม – บุญข้าวจี่
เดือนสาม ในมื้อเพ็ง (วันเพ็ญ) ให้ทำบุญข้าวจี่และบุญมาฆะบูชา เริ่มพิธีทำบุญข้าวจี่ในตอนเช้าโดยใช้ข้าวเหนียวปั้นหุ้มน้ำอ้อยเอาไปปิ้งหรือจี่พอเกรียมแล้วชุบด้วยไข่ลนไฟจนสุกแล้วใส่ภาชนะไปตั้งไว้ในหัวแจก(ศาลาวัด)นิมนต์พระรับศีล แล้วเอาข้าวจี่ใส่บาตรนำถวายแด่พระภิกษุสงฆ์พร้อมด้วยอาหารอื่น เมื่อพระฉันเสร็จแล้วมีการแสดงพระธรรมเทศนาข้าวจี่ที่เหลือจากพระฉันก็แบ่งกันรับประทานจะถือว่าโชคดี
เดือนสี่ – บุญผะเหวด
เดือนสี่ ทำบุญพระเวสฟังเทศน์มหาชาติ มูลเหตุเนื่องมาจากพระคัมภีร์มาลัยหมื่นและมาลัยแสน ว่าผู้ใดปรารถนาที่จะได้พบพระศรีอริยเมตไตย์ หรือเข้าถึงศาสนาของพระพุทธองค์แล้วจงอย่าฆ่าตีบิดามารดา สมณพราหมณาจารย์ อย่ายุยงให้สงฆ์แตกสามัคคีกัน กับให้อุส่าห์ฟังธรรมเทศนาเรื่องพระมหาเวสสันดรชาดกให้จบสิ้นภายในวันเดียวกัน เป็นต้น ในงานบุญนี้มักจะมีผู้นำของมาถวายพระซึ่งเรียกว่า "กัณฑ์หลอน" หรือถ้าจะเจาะจงถวายเฉพาะพระนักเทศน์ที่ตนนิมนต์มาก็เรียกว่า "กัณฑ์จอบ" เพราะต้องแอบซุ่มดูให้แน่เสียก่อนนอกจากนั้นในเดือนนี้ยังมีการทำบุญโดยหาดอกไม้มาตากไว้ด้วย
เดือนห้า-บุญสงกรานต์
เดือนห้า ทำบุญขึ้นปีใหม่หรือตรุษสงกรานต์ สรงน้ำพระพุทธบาท ไปเก็บดอกไม้ป่ามาบูชาพระในระหว่างบุญนี้ทุกคนจะหยุดงานธุรกิจประจำวัน โดยเฉพาะมีวันสำคัญดังนี้ คือ
- ก. วันสังขารล่วง เป็นวันแรกของงานจะนำพระพุทธลงมาความสะอาดและตั้งไว้ ณ สถานที่อันสมควร แล้วพากันสรงพระด้วยน้ำหอม
- ข. วันสังขารเน่า เป็นวันที่สองของงาน พากันทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บิดามารดาที่ล่วงลับไปแล้ว
- ค. วันสังขารขึ้น เป็นวันที่สามของงงาน ทำบุญตักบาตรถวายภัตาหารแด่พระ-เณร แล้วทำการคารวะบิดามารดาและคนแก่ ส่งท้ายด้วยมีพิธีบายศรีสู่ขวัญ แล้วใช้น้ำที่เหลือใช้จากการรดน้ำให้ผู้ใหญ่น้ำ มารดให้แก่ผู้ร่วมงาน ภายหลังจึงแผลงมาเป็นการวิ่งไล่สาดน้ำกลั่นแกล้งกัน
เดือนหก – บุญบั้งไฟ
เดือนหก ทำบุญวันวิสาขบูชา มีการเทศน์ตลอดวัน ตลอดกลางคืนมีการเวียนเทียนในเดือนนี้มีงานบุญสำคัญอีกบุญหนึ่งคือ บุญสัจจะ หรือบุญบั้งไฟเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและขอฝน มีผลทางอ้อมเพื่อฝึกฝนให้รู้จักผสมดินปืนและให้ประชาชนมาร่วมสนุกสนานกันได้อย่างสุดเหวี่ยงก่อนจะลงมือทำนาซึ่งเป็นงานหนักประจำปี แต่ในปัจจุบันได้มีการยกเลิกการจัดบุญบั้งไฟแล้ว เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงสู่สังคมกึ่งเมือง พร้อมทั้งมีเหตุการณ์ในการช่วงปี พ.ศ. 2548 บั้งไฟได้ตกใส่ประชาชน และไร่นา ทำให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน จึงได้ยุติการจัดบุญบั้งไฟ แต่จัดเป็นการบวชนาคแทน ตอนกลางคืนมักจะมีการตีกลองเอาเสียงดังแข่งกันเรียกว่า "กลองเส็ง" บางตำราก็ว่าต้องมีพิธีสรงน้ำพระพุทธรูปฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ตลอดจนมีการถือน้ำพระพิพัฒน์ต่อพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆ์เจ้า และต่อแผ่นดิน
เดือนเจ็ด – บุญซำฮะ
เดือนเจ็ด ทำบุญบูชาเทวดาอาฮักษ์หลังเมือง (วีรบุรุษ) ทำการเซ่นสรวง หลักเมือง หลักเมือง ผีพ่อแม่ ผีปู่ตา ผีเมือง (บรรพบุรุษ) ผีแฮก(เทวดารักษานาไร่) ทำนองเดียวกันกับแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพิธีกรรมก่อนจะมีการทำนา สรุปแล้วคือให้รู้จักคุณของผู้มีพระคุณและสิ่งที่มีคุณ จึงจะเจริญ
เดือนแปด-บุญเข้าพรรษา
เดือนแปด ทำบุญเข้าพรรษา ทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารเช้าและเพลแก่พระสงฆ์ บ่ายมีการฟังธรรมเทศนา กับมีการป่าวร้องให้ชาวบ้านนำขี้ผึ้งมาหล่อเทียนใหญ่ น้อย สำหรับจุดไว้ในโบสถ์เป็นพุทธบูชาตลอดฤดูกาลเข้าพรรษา
เดือนเก้า-บุญข้าวประดับดิน
เดือนเก้า ทำบุญข้าว และอาหารความหวานพร้อมทั้งหมากพลูบุหรี่ห่อด้วยใบตองกล้วยแล้วนำไปวางไว้ตามต้นไม้และพื้นหญ้า เพื่ออุทิศให้แก่บรรดาญาติผู้ล่วงลับไปแล้วโดยกำหนดทำใน วันแรมสิบสี่ค่ำเดือนเก้า ต่อมาภายหลังนิยมทำภัตตาหารถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร แล้วอุทิศให้ผู้แก่ตามด้วยการหยาดน้ำ ( กรวดน้ำ ) ทั้งนี้เกิดจากความเชื่อตามนิทานชาดก และเป็นที่มาของการแจกข้าวด้วย
เดือนสิบ – บุญข้าวสาก
เดือนสิบ ทำบุญข้าวสากหรือข้าวสลาก (สลากภัตร) ในวันเพ็ญ เชื่อว่าเป็นวันที่สามโลกเปิดพร้อมกัน สามารถส่งถึงกันได้ เป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายเช่นเดียวกับบุญข้าวประดับดิน โดยมีเวลาห่างกัน 15 วัน เป็นระยะเวลาที่พวกเปรตจะต้องกลับคืนไปเมืองนรก (ตามนิทานชาดก) โดยผู้ที่ถวายทานจะเขียนชื่อของตนไว้ในภาชนะที่ใส่ของทานไว้ แล้วเขียนชื่อของตนใส่กระดาษนำไปใส่ไว้อีกบาตร เมื่อภิกษุสามเณรรูปใดจับได้สลากของผู้ใดก็จะเรียกให้เจ้าของสลากนำเอาของถวาย ครั้นพระเณรฉันแล้วก็ประชุมกันฟังเทศน์ บรรยายนิทานวัตถุและภาษิตต่างๆทั้งอานิสงส์สลากภัตด้วยชั่ววันกับคืนหนึ่งจึงเลิก
เดือนสิบเอ็ด – บุญออกพรรษา
เดือนสิบเอ็ด ทำบุญออกพรรษา หรือสังฆเจ้าออกวัสสปวารณาฯ มีการตามประทีปโคมไฟเรียกว่าทำบุญจุดประทีป ถ้าไม่ใช้โคมแก้วโคมกระดาษก็มักขูดเปลือกลูกตูมกาให้ใสหรือขุดเปลือกลูกฟักทองให้ใสบางทำเป็นโคม ใช้น้ำมันมะเยาหรือมะพร้าวมีไส้ลอยอยู่มีหูหิ้วและนำไปแขวนไว้ตามต้นไม้เต็มวัด
เดือนสิบสอง – บุญกฐิน
เดือนสิบสอง เป็นเดือนส่งท้ายปีเก่าตามคติเดิม มีการทำบุญกองกฐิน ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันแรมหนึ่งค่ำเดือนสิบเอ็ดถึงกลางเดือนสิบเอ็ดถึงกลางเดือนสิบสอง แต่ชาวอีสานครั้งก่อนนิยมเริ่มทำตั้งแต่วันแรมหนึ่งค่ำเดือนสิบสอง จึงมักเรียกว่าบุญกฐินว่าเป็นบุญเดือนสิบสอง มีทั้งมหากฐิน(กองใหญ่) และบุญจุลกฐิน(กองเล็ก) ซึ่งทำกันโดยด่วน อัฎฐะบริขารที่จำเป็นต้องทอดเป็นองค์กฐิน ขาดมิได้คือบาตร สังฆาฏิ จีวร สบง มีโกนหรือมีดตัดเล็บ สายรัดประคด ผ้ากรองน้ำ และเข็ม นอกจากนั้นเป็นเพียงองค์ประกอบ
- หลังจากวันเพ็ญเดือนสิบสองแล้วจะทอดกฐินไม่ได้อีกจึงต้องทำบุญกองบัง(บังสุกุลหรือทอดผ้าป่า) และทำบุญกองอัฏฐะ คือการถวายอัฏฐะบริขารแปดอย่างแก่พระสงฆ์
เจ้าอาวาสวัดดงกลาง : พระครูศรีวิสุทธิสารเมธี (พระมหาปาน สุขจิตโต)
หลวงตาอายุ 83 ปี รูปร่างสมส่วน ผมสีขาว ผิวสีขาว ท่าทางสุขุหลวงตาเล่าว่าเป็นคนที่บ้านโต้นโดยกำเนิด เกิดวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2477 เรียนจบชั้นประถมศึกษาที่นี่ หลังจากนั้นเลือกที่จะบวชเรียนที่บ้านโต้น และย้ายศึกษาไปสถานที่ต่างๆ ทั้งที่อำเภอหนองเรือ และจังหวัดอุดรธานี จากนั้น พ.ศ.2496 ได้ย้ายไปศึกษาที่มหาวิทยาลังจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งตั้งอยู่ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ราชวรมหาวิหาร แขวงพระบรมราชมหาราชวัง เขตพระนคร ได้นักธรรมเอก เปรียญธรรม 6 ประโยค เมื่อปี พ.ศ.2540 ได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านดงกลาง และได้ศึกษาต่อประกาศนียบัตรการบริหารคณะสงฆ์ จากนั้นได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลหนองแวง และได้เป็นที่ปรึกษาอำเภอด้านฝ่ายสงฆ์
หลวงตาบอกว่า สุขภาพชุมชน ณ ปัจจุบันนี้ มีคนที่อ้วน น้ำหนักเกิน ซึ่งเมื่อก่อนคนอีสานไม่มีปัญหาเรื่องนี้เลย ซึ่งหลวงพ่อดูแลรักษาสุขภาพเป็นอย่างดี ไม่ฉันท์อาหารดิบหรืออาหารที่ไม่สุก
นายชาญชัย เพ็ชรสีเขียว(ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่5 บ้านดงกลาง)
- นายชาญชัย เพ็ชรสีเขียวเกิดเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2508 อายุ 51 ปีที่อยู่ 145/9 หมู่ 5 ชุมชนตะวันทอแสงบ้านดงกลาง ตำบลบ้านโต้น อำเภอพระยืนจังหวัดขอนแก่น
- การศึกษา ระดับประถมศึกษาปีที่ 1-3 ที่โรงเรียน บ้านดงกลาง ประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่โรงเรียนศรีวิมลวิทยา มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ที่โรงเรียนประชารัฐวิทยาเสริม มัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ที่กศน. ขอนแก่นประกอบอาชีพ ทำนา ทำไร่และเกษตรกรรมดํารงตําแหน่งอสม. กรรมการกลุ่มต่างๆของชุมชน เกษตรกรอาสาและได้รับแรงสนับสนุนจากชาวบ้านให้ลงสมัครผู้ใหญ่บ้านได้ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2558
- ผู้ใหญ่บ้านเล่าว่าเมื่อมีการเปลี่ยนบทบาทหน้าที่จากการเป็นอสม. กรรมการกลุ่มต่างๆมาเป็นหัวหน้าชุมชน คือ ผู้ใหญ่บ้านประจำบ้านดงกลางหมู่ 5 ซึ่งดูแล 2 ชุมชน ทั้งชุมชนกลางพัฒนา และชุมชนตะวันทอแสง การทำงานในอดีตกับปัจจุบัน จึงมีความแตกต่างกัน ความรับผิดชอบก็เพิ่มขึ้นหลายเท่า ซึ่งต้องดูแลในหลายๆส่วนของหมู่บ้าน แต่ก็ไม่เคยเหน็ดเหนื่อยในการทำงาน เพราะว่ามีความภาคภูมิใจที่ได้ใส่ชุดข้าราชการ และในวันแม่แห่งชาติได้ใส่ ชุดขาวปกติไหว้แม่พร้อมกับพี่ชายของตนที่ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 บ้านดงกลางเช่นเดียวกัน
หัวหน้า กศน.ตำบลบ้านโต้น / ปราชญ์ชาวบ้าน: อาจารย์ ประยุทธ์ ขันหนองโพธิ์
อาจารย์ประยุทธ์ อายุ 53 ปี เป็นคนบ้านโต้นมาตั้งแต่กำเนิด ครอบครัวมีอาชีพหลักเป็นเกษตรกร อาจารย์เล่าว่า จบชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนบ้านดงกลาง เมื่อปี พศ.2522 เข้าศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนประชารัฐวิทยาเสริม จบเมื่อปี พ.ศ. 2524 เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัยจบระดับ ม.ศ.5 เมื่อปี พ.ศ.2526 หลังจากนั้นจึงสอบ ENT. จึงตัดสินใจเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง กทม. คณะรัฐศาสตร์การปกครอง ในขณะที่เรียนที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้อาศัยที่วัดยานนาวาจนเรียนจบในปี พ.ศ. 2530 รวมระยะเวลาในการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งสิ้น 4 ปี ใช้งบประมาณในการเรียนทั้งสิ้น 40,000 บาท ซึ่งเป็นงบประมาณจากครอบครัว ในขณะที่ศึกษาได้พบกับนางบุตษยาภรรยาคนปัจจุบัน ภายหลังจากจบการศึกษา อาจารย์เล่าว่า ตนได้ไปสอบปลัดอำเภอแต่ไม่ติด เพื่อนจึงได้ชักชวนไปสมัครงานที่โรงแรม Sofitel ที่สยามสแควร์ เริ่มทำงานเป็นพนักงานทำความสะอาดของโรงแรม และเปลี่ยนงานภายในเรื่อยๆ ได้รับเงินเดือนในปีแรก 2,500 บาท ไม่รวมทิป ในปี พ.ศ. 2532 จึงได้สมรสกับนางบุตษยาอยู่ด้วยกันเรื่อยมา ทำงานอยู่ที่โรงแรมได้ 11 ปี ภรรยาตั้งครรภ์แรกร่วมกับได้ดูรายการTV.ที่กล่าวถึงหมู่บ้านทางภาคอีสานจึงตัดสินใจกลับมาอยู่ที่บ้านตนเองที่บ้านโต้น คิดว่าจะมาสมัครเป็นผู้ใหญ่บ้าน พอกลับมาถึงจึงพบว่าผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบันยังไม่หมดวาระประกอบกับอายุยังไม่มาก จึงตัดสินใจประกอบอาชีพเกษตรกรในปี 2541 เป็นระยะเวลา 2 ปี อาจารย์เห็นว่าการประกอบอาชีพเกษตรกรไม่คุ้มทุน ผลผลิตไม่คุ้มค่าแรง และในขณะนั้นนายยกเทศบาลตำบลบ้านโต้นมาชวนให้ลงสมัครกรรมการสภาผู้แทนตำบล แต่ไม่ได้รับเลือก หลังจากนั้นตนจึงได้ไปร่วมกิจกรรมที่ทางเทศบาลจัดขึ้น จึงได้พบกับ ผอ.ชำนาญ ซึ่งเป็น ผอ.กศน. อำเภอพระยืนในขณะนั้น ท่านได้ชักชวนให้มาเป็นครูอัตราจ้างประจำ กศน.ตำบลบ้านโต้นในปีพ.ศ. 2543 เมื่อได้ทดลองทำงานจึงรู้สึกสนุกกับงานที่ทำเพราะว่ามีอิสระทางความคิด สามารถเสนอโครงการที่ตนเองสนใจและเห็นว่าสำคัญต่างๆได้ง่าย ในขณะที่ทำงานเป็นครู กศน. ได้ทำมาคนเดียวตลอดเป็นระยะเวลา 10 ปี ในปี พ.ศ. 2548 อาจารย์ได้เห็นถึงพื่นที่ว่างหน้า กศน. ซึ่งเป็นพื่นที่ราชพัสดุในความดูแลของโรงเรียนประชารัฐ จึงเกิดความคิดขึ้นว่าควรจะทำพื่นที่การเกษตรปลอดสารพิษสำหรับชุมชนขึ้น จึงได้เริ่มจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบลบ้านโต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2550 กศน.บ้านโต้นจึงได้เริ่มเพิ่มบุคลากรเข้าทำงาน ในปีพ.ศ. 2554 ได้เริ่มทำโครงการ ICT โดยมี ผอ.กศน.อำเภอขณะนั้นให้การสนับสนุนและทำโครงการเรื่อยมา
อาจารย์ประยุทธ์ วิสัยทัศน์ที่กว้างไกล เล็งเห็นถึงปัญหาชุมชนและเยาวชนติดยาเสพติด ด้วยความที่อาจารย์เป็นคนที่รักบ้านเกิดอยู่แล้ว จึงตัดสินใจทำโครงการช่วยเหลือเยาวชนกลุ่มนั้นขึ้น โครงการ To be number one เมื่อปีพ.ศ. 2551 ในขณะทำงาน ชุมชนยังไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการทำให้การทำงานเป็นไปได้อย่างลำบาก ในปีพ.ศ. 2555 ชมรม To be number one ตำบลบ้านโต้นได้รับรางวัล ดีเด่นอันดับ3 ระดับประเทศ หลังจากได้รับรางวัลจึงได้รับการยอมรับจากชุมชนมากขึ้น มีหน่วยงานให้วามสนใจและช่วยเหลือมากขึ้น ผลจากการทำงานทำให้ปัญหาที่ต้องการแก้ไขลดลงแต่ยังคงมีอยู่จึงดำเนินโครงการต่อเนื่องเรื่อยมา
ประธาน อสม. ชุมชนตะวันทอแสง : นายประพันธ์ จันทร์เหนือ
พ่อประพันธ์ จันทร์เหนือ(ตาแอ่ง) อายุ 67 ปี มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน ตาแอ่งเป็นพี่ชายคนโต มีน้องสาว 4 คน ตาแอ่งเกิดที่บ้านดงกลาง ตำบลบ้านโต้น อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น โดยบิดา และมารดาเป็นคนบ้านดงกลาง ตำบลบ้านโต้น อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น ทำอาชีพเกษตรกรรม เมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตาแอ่งได้มาทำเกษตรกรรมช่วยบิดา มารดา และเมื่ออายุ 12 ปี ได้บวชสามเณร 1 ปี จากนั้นจึงมาทำเกษตรกรรมต่อประมาณ 2 ปี และได้ไปบวชสามเณรอีก 1 ปี จึงไปประกอบอาชีพก่อสร้าง 4-5 ปี และไปทำงานโรงงานที่กรุงเพมหานคร 3 ปี และกลับมาทำการเกษตรที่บ้านเกิด
เริ่มเข้ามาทำงานเป็น อสม. ชุมชนเมื่อปี พ.ศ. 2542 เนื่องจากอยากช่วยพี่น้องชุมชนในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย และดูแลช่วยเหลือบุคคลในชุมชน โดยในขณะนั้นยังไม่มีค่าตอบแทน และทำเรื่อยมา จนมาถึงปี พ.ศ. 2553 ได้รับตำแหน่ง อสม.ดีเด่น และปี พ.ศ. 2554 ได้ผ่านการฝึกอบรมโครงการอาสาสมัครฝ่ายทะเบียนประจำหมู่บ้าน ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธาน อสม. ชุมชนตะวันทอแสง
ตาแอ่งเป็นคนอัธยาศัยดี ยิ้มแย้มแจ่มใส รูปร่างสันทัด ผมดำสลับขาว การกระจายของเส้นผมไม่สม่ำเสมอ ผิวสองสีไหม้แดด ชอบใส่แว่นตากันแดด ตาแอ่งบอกว่า ตนชอบทำงานเพื่อส่วนร่วมเพราะรู้สึกสนุกกับการได้ทำงานในส่วนนี้
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และเป็นประธานชุมชนตะวันทอแสง:นางสมถวิล จันดี เกิดวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2517 อายุ 42 ปี เกิดที่บ้านดงกลาง เข้าศึกษาเรียนที่ โรงเรียนบ้านดงกลาง จบชั้นประถามศึกษาที่ 6 จึงเข้าศึกษาต่อที่ การศึกษานอกโรงเรียนจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ไปทำงานต่อที่กรุงเทพมหานคร จากนั้นได้กลับมาที่ภูมิลำเนา สมัครเป็นครูพี่เลี้ยงเด็กที่โรงเรียนบ้านดงกลาง ทำงานระยะ 5 ปี จากนั้นประกอบอาชีพทั่วไปตามบ้าน ได้เข้าร่วมในโครงการต่างๆในชุมชน ซึ่งในปี 2555
พ่อจ้ำ: นายสมบูรณ์ บัวสิงห์
นายสมบูรณ์ บัวสิงห์ เกิดวันที่ 4 เมษายน 2493 อายุ 67 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหานากลาง ตำบลท่าศาลา อำเภอมัญจา จังหวัดขอนแก่น ที่อยู่ในปัจจุบัน 172 หมู่ 7 บ้านดงกลาง ตำบล บ้านโต้น อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น ประกอบอาชีพ ทำนา ทำไร่ และเป็นพ่อจ้ำของหมู่บ้านดงกลาง เป็นมากว่า 5 ปี ก่อนมาเป็นพ่อจ้ำของหมู่บ้านดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการของหมู่บ้านจนถึงปัจจุบัน พร้อมกันทำหน้าที่เป็นพ่อจ้ำด้วย การทำหน้าที่พ่อจ้ำสืบเนื่องมาจาก พ่อจ้ำคนเก่าเสียชีวิต ทุกคนจึงลงความเห็นว่าคุณตาสมบูรณ์มีความเหมาะสมในการสานต่อการเป็นพ่อจ้ำ เพราะในเครือญาติเคยมีคนเป็นพ่อจ้ำจึงคิดว่าคุณตาสมบูรณ์เหมาะสมที่สุด สำหรับหน้าที่ในการเป็นพ่อจ้ำคือ เป็นตัวแทนในการไปบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของหมู่บ้าน เช่น การบูชาประจำปี ถ้าหากมีคนหรือครอบครัวไหนไปขอพร บนบาลศาลกล่าวก็จะเป็นคนพาไปแก้บน เป็นต้น คุณตาบอกว่าภูมิใจที่ได้เป็นตัวแทนของหมู่บ้านในการเป็นพ่อจ้ำ
กองทุนในชุมชนได้แก่ กองทุนพัฒนาหมู่บ้านและกองทุนฌาปณกิจ ซึ่งประธานชุมชนในแต่ละหมู่จะเป็นผู้ดูแล
- วัดในชุมชนตะวันทอแสง บ้านดงกลาง หมู่ 5 มี 1 แห่ง คือวัดบ้านดงกลาง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้าน มีพระสงฆ์ทั้งหมด 12 รูป 7 รูปเป็นพระที่มาพักที่วัดเพื่อไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น และมีสามเณร 3 รูป
- มีรถยนต์กระบะ และรถจักรยานยนต์พ่วงมาขายอาหารและผักสดเคลื่อนที่ ซึ่งจะมาในช่วงเช้าและเย็น โดยจะขายรอบๆหมู่บ้าน ทำให้ชาวบ้านสามารถเลือกชื้ออาหารได้อย่างสะดวก
-โรงเรียนในชุมชนตะวันทอแสง บ้านดงกลาง หมู่ 5 มีจำนวน 1 แห่ง คือโรงเรียนบ้านดงกลาง (โรงเรียนในเขตการศึกษาพื้นฐาน) และมีสถานศึกษาการศึกษานอกระบบ (กศน.) อีก 1 แห่ง
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโต้น เป็นแหล่งให้บริการทางด้านสุขภาพประจำตำบลเปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 8.30 น.-20.30 น. ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 1 คนมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 2 และพยาบาล 2 คน เจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข 1 คนแม่บ้าน 1 คนคนทำหน้าที่ให้บริการซึ่งทางรพสต. ได้จัดให้บริการคลินิก Well baby ทุกวันอังคารในสัปดาห์ที่2 และ 3 และมีคลินิกเบาหวานในวันศุกร์เพื่อให้บริการความสะดวกสบายแก่ประชาชนโดยที่ไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาลในตัวอำเภอ โดยรพสต. ตั้งอยู่ภายในหมู่ 8
- มีคลินิกในตำบลบ้านโต้น ตั้งอยู่ที่หมู่ 8 จำนวน 3 แห่ง คือ 1)คลินิกรักษาเกี่ยวกับโรคกระดูกและข้อ ซึ่งจะเปิดทำการในวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 19.00 - 21.00 น. จะหยุดทำการวัน วันเสาร์ – อาทิตย์ 2) คลินิกรักษาเกี่ยวกับโรคทั่วไปและผิวหนัง และวันเสาร์ – อาทิตย์ เวลา 09.00 – 12.00 น. ชาวบ้านบอกว่าเมื่อมีอาการเจ็บป่วยไม่รุนแรงมากจะมาใช้บริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบาลบ้านโต้น แต่ถ้ามีอาการที่รุนแรง ต้องการพบหมอและต้องการความรวดเร็วจะมาพบหมอที่คลินิก ซึ่งจะประหยัดค่าใช้จ่ายไม่ต้องเดินทางไกลเพื่อเข้าไปในตัวอำเภอ
- โรงพยาบาลพระยืนโรงพยาบาลพระยืน ตั้งอยู่ที่ เลขที่269 หมู่ 1 ตำบลพระยืน อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น 40320ผู้บริหาร นายแพทย์นิรันดร มณีกานนท์มีบุคลากรดังนี้
ประชาชนบ้านดงกลางใช้ภาษาถิ่นอีสานในการสื่อสารในชุมชน และใช้ภาษากลาง ภาษาไทยในการติอต่อสื่อสารกับหน่วยงานต่างๆ
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนที่ปรากฏให้เห็นชัดเจนในด้านสังคมและประชากร โดยมีการเปลี่ยนแปลงสังคมสู่การเป็นชุมชนกึ่งเมือง
การเปลี่ยนแปลงการเข้าสู่ ชุมชนกึ่งเมือง ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและวิถีชีวิต เนื่องจากอิทธิพลการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การขยายเมือง และความสมัยใหม่ มีผลให้ถนนมะลิวัลย์ที่ผ่านชุมชนของตำบลจระเข้ มีการขยายตัว ทำให้การตั้งห้างร้าน สรรพสินค้า ร้านรับจำนำที่ดิน รถยนต์ บนถนนสายหลักนี้ ประกอบกับในชุมชน เดินทางสะดวกสบาย และมีถนนเส้นทางเชื่อมต่อกันไปได้หลายบ้านหลายหมู่บ้าน จึงเอื้อต่อการค้าขาย มีตลาดเย็นของชุมชน มีตลาดคลองถม ส่งผลให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ประชาชนวัยแรงงานต้องหารายได้จากการไปทำงานในตัวเมืองขอนแก่น หรือไปต่างจังหวัด เพื่อนำมาใช้จ่ายเลี้ยงดูคนในครอบครัว เกิดการเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน กลุ่มที่อาศัยอยู่ในชุมชนเป็นกลุ่มผู้สูงอายุและเด็ก เป็นต้น
หมู่บ้านดงกลางมีร้านอาหารที่น่าสนใจ ร้านข้าวเเกงบ้านเเคน by อุ่นใจ ร้านตำแซ่บ ยำนัวร์ยืน1 และ วัดโรงธรรมวัดบ้านดงกลาง
จากการสำรวจข้อมูลของนักศึกษาจากวิทยาลัยบรมราชชนนี ขอนแก่น