มัญจาคีรีนามเมืองเก่า บึงกุดเค้าคู่เมืองบ้าน นมัสการหลวงปู่โสหลวงปู่ผาง ตลาดกลาง ที่นอนหมอน แสนออนซอนดอนเต่า งามลำเนาเขาภูเม็ง เล็งชมกล้วยไม้ป่าบาน
เหตุที่มาของชื่อชุมชนชาวบ้านได้ลงมติกันว่า คำว่า "ท่า" มาจาก ท่าลงอาบน้ำลำห้วยใหญ่ (พะเนาว์) มีบ่อน้ำไว้ให้คนดื่มกิน มีท่าน้ำให้คนได้ลงอาบ ลงเล่นน้ำ อาบน้ำ ตรงกันมี "ศาลา" ให้คนพักร้อนจึงได้ตั้งชื่อว่า บ้านท่าศาลา มาจนทุกวันนี้
มัญจาคีรีนามเมืองเก่า บึงกุดเค้าคู่เมืองบ้าน นมัสการหลวงปู่โสหลวงปู่ผาง ตลาดกลาง ที่นอนหมอน แสนออนซอนดอนเต่า งามลำเนาเขาภูเม็ง เล็งชมกล้วยไม้ป่าบาน
บ้านท่าศาลาก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2466 โดยมีชาวบ้านย้ายถิ่นฐานมาจากบ้านพระบุ บ้านดอนดู่ อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น (ปัจจุบัน) ใช้เกวียนเป็นพาหนะ เดิมมี 7 ครอบครัว คือ
- พ่อใหญ่หวด ภูมิพระบุ
- พ่อใหญ่สายเหมี่ยง วิชาโคตร
- พ่อใหญ่เขียว หมื่นไตร
- พ่อใหญ่จารย์แป นามมูลน้อย
- พ่อใหญ่มูล เพียศรีพิชัย
- พ่อใหญ่ภู ยอดแสง
- พ่อใหญ่แขก กิ่งคำ
ในราวปี พ.ศ. 2460 เจ็ดครอบครัวครอบครัวก็ได้ออกเดินทางมาถึงที่ท่าน้ำริมห้วยใหญ่ (ห้วยพะเนาว์) คิดว่าเป็นถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ ทิศเหนือติดกับลำห้วย มีน้ำใสสะอาด ได้อาบได้กิน เหมาะแก่การใช้สอย ทิศใต้ติดกับโคกขี้คร้าน ป่าโคกหลวง เป็นโคกที่อุดมสมบูรณ์ มีพืชพันธุ์ธัญญาหารทุกชนิด ก็เลยตกลงกันว่าเอาที่นี่เป็นจุดสำคัญ (หรือที่พัก) ค้างคืนพอ ค่ำมาก็หุงข้าว หุงปลากินกัน ก่อนนอนก็ได้ปรึกษากันว่าถ้าพวกเราจะเอาที่นี่เป็นจุดที่พักหรือจุดสำคัญ ก็ควรสร้างศาลากันขึ้นสักหลัง เผื่อจะได้อาศัยหลับนอนในยามค่ำคืน หรือกันฟ้ากันฝนในยามฤดูฝน ถ้าบ่มีที่พักพวกเฮาจะลำบาก เพราะถ้าเทียวมาเทียวมา บ้านก็อยู่ไกล สมัยก่อนการเดินทางจากบ้านพระบุ บ้านดอนอู่ กว่าจะถึงศาลาที่พักก็เป็นทางคราวมื้อ และอีกอย่างจากที่พักไปทางทิศใต้ก็เป็นป่าทึบซึ่งติดต่อกับโคกขี้คร้าน มีสัตว์ป่าหลายชนิดที่ลงมากินน้ำให้เห็นอยู่เรื่อย ๆ เช่นเสือโคร่ง เสือเหลือง หมี หมาจอก ลิง (นี่เป็นสาเหตุที่ได้เฮ็ดศาลาขึ้น)
อยู่ต่อมาในปีเดียวกันการสร้างศาลาก็เสร็จ ก็มาทำขัวต่อ เผื่อข้ามจากฝั่งนั้นมาฝั่งนี้ (ศาลา) ในปีเดียวกันพอตกกลางวันก็พากันออกแพ่วถางป่าเพื่อเอาเป็นที่ไผที่มัน ก็ได้คนละ 50-60-80 ไร่ พอค่ำก็กลับมาพักที่ศาลาเพื่อพักผ่อน ตอนเช้าก็ออกไปทำอยู่อย่างนี้ก็ประมาณปีสองปี จนมีที่นาก็พออยู่พอกิน
ย่างเข้าปี พ.ศ. 2462 ก็ปรากฏว่ามีอีกสามครอบครัวที่ได้เดินทางมาขอพักด้วย คือจุดหมายปลายทาง บ้านคำแคนใต้ หนองขาม นาข่า สามครอบครัวนี้จะมาขอพักที่ศาลานี้เป็นประจำ (ด้วยเหตุบังเอิญ) มีกุลาที่เดินทางมาด้วยสามคนที่มาขายของได้มาพักพร้อมกันสามครอบครัว ในราวห้าทุ่มก็มีกุลาที่มา พ่อใหญ่เงาะขายฆ้องก็ได้ไหลตายหรือหัวใจวาย พอตื่นเช้ามาก็พากันเผาศพตามประเพณี ใกล้กับศาลาและริมห้วย เสร็จแล้วสามครอบครัวก็เดินทางด้วยเกวียนพร้อมกับกุลาขายฆ้องก็ไปด้วย หนองขาม-นาข่า-คำแคนใต้ ในปีเดียวกันหลังจากมีผู้ตายใส่ศาลาแล้ว
ท่านผู้รู้ยังได้กล่าวว่าพอได้ที่ทำกินแล้วก็หวนคิดถึงบ้านและครอบครัวและลูกเต้า เพราะอยู่ไกลกัน และอีกประการหนึ่งก็คือมีผู้ที่ตายใส่ศาลา ก็เลยคิดไปต่าง ๆ นานา (อยู่บ่ได้ย่านผีหลอก)
ในปี พ.ศ. 2463 หกครอบครัวก็ได้ชักชวนกันย้ายบ้านมาอยู่บ้านหวนหัวนาบ่อ (ปัจจุบันเป็นบ้านหัวนาเหนือ) ส่วนครอบครัวพ่อใหญ่สายเหมี่ยง ก็ได้ย้ายไปอยู่ทุ่งนา ที่ฮ่อมตากอก ไปอยู่บ่โดนก็มีญาติตายชื่อนางชาตรี พอญาติได้ยินข่าวได้พากันนำเอาศพนางชาตรีไปเผาที่โคกหัวเลิงเพ็ก ใกล้กับนาพ่อใหญ่พรม จึงได้เรียกว่าโคกอี่ชาตรีต่อมาจนทุกวันนี้ (โคกชาตรี ปัจจุบันเป็นบริเวณวัดดินแดง)
ท่านผู้รู้ยังได้กล่าวอีกว่าในปลายปี พ.ศ. 2465 หลังจากมีผู้ตายใส่ศาลาแล้ว 6 คน บางมื้อก็นอนพักที่ศาลาบางมื้อก็ไม่นอนกลับไปนอนบ้าน พ่อใหญ่ใส่เหมียงก็ออกไปอยู่กับนาแล้ว (ย่านผีหลอก) นอกจากแขกที่เดินทางมาถึงค่ำ ก็นอนพักค้างคืนบ้าง อนิจจังสังขารบ่เที่ยง (สังขารปรุงแต่ง) ศาลาก็นับวันที่ผุพังไปเรื่อย ๆ ส่วนขัวก็ถูกน้ำพัดบ้างผุพังบ้าง ก็เลยเสียหายไปเรื่อย ๆ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2466 หกครอบครัวจึงได้บุกร้างถางพงให้เป็นที่นาพอมีอยู่มีกินแล้ว พอถึงฤดูฝนแล้วก็ย้ายครอบครัวไปปลูกกระท่อมเล็ก ๆ อยู่ในพื้นที่บ้านท่าศาลาใกล้กับริมน้ำ ต่อมาจึงได้ชักชวนญาติพี่น้องมาอยู่ด้วยกันจาก 6 ครอบครัวเพิ่มเป็น 10-20 ครอบครัว รวมกันเป็นหมู่บ้าน โดยให้ชื่อว่าบ้านท่าศาลา ขึ้นตรงต่อตำบลโพนเพ็ก อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น เป็นหมู่ที่ 15 โดยมีพ่อใหญ่หวด ภูมิพระบุ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก จึงได้ปรึกษากับชาวบ้าน แล้วลงมติกันว่าเอาคำว่า "ท่า" มาต่อกับ "ศาลา" "ท่า" มาจากคำว่าท่าลงอาบน้ำลำห้วยใหญ่ (พะเนาว์) มีบ่อน้ำไว้ให้คนดื่มกิน มีท่าน้ำให้คนได้ลงอาบ ลงเล่นน้ำ อาบน้ำ ตรงกันมีศาลาให้คนพักร้อนจึงได้ตั้งชื่อว่า "บ้านท่าศาลา" มาจนทุกวันนี้
ลักษณะภูมิประเทศของบ้านท่าศาลาหมู่ 2 ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย ดินไม่อุ้มน้ำและมีปัญหาหน้าดินถูกชะล้าง ทำการเกษตรไม่ค่อยได้ผล มีที่ราบลุ่มบ้าง มีลำ ห้วยพะเนาว์ที่ใช้ประโยชน์ในการเกษตร อุณหภูมิสูงสุดโดยประมาณ 30-36 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 15-18 องศาเซลเซียส บ้านท่าศาลา มีวัด 1 แห่ง คือวัดโนนสว่างและมีที่พักสงฆ์ปาช้าท่าศาลา มีโรงเรียน 1 แห่งซึ่งตั้งอยู่ภายในหมู่บ้านท่าศาลาหมู่ 2 มีร้านค้าภายในหมู่บ้าน 6 แห่ง มีโรงสีข้าว 1 แห่ง สภาพทั่วไปของพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ แบ่งฤดูกาลตามสภาพอากาศได้ดังนี้
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมจนถึงเดือนเมษายน
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนตุลาคม
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนกุมภาพันธ์
ที่ตั้งอาณาเขต
- ทิศเหนือ จดห้วยพระเนาว์ อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น
- ทิศใต้ จดบ้านไส้ไก่ หมู่ 1 ตำบลท่าศาลา อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น
- ทิศตะวันออก จดบ้านหัวนา หมู่ 9 ตำบลท่าศาลา อำเภอมัญจาคีรีจังหวัดขอนแก่น
- ทิศตะวันตก ติดกับบ้านท่าศาลา หมู่ 10 ตำบลท่าศาลา อำเภอมัญจาคีรีจังหวัดขอนแก่น
การคมนาคม
- การเดินทางติดต่อกับชุมชนใกล้เคียงอำเภอหรือจังหวัดโดยเฉพาะกับสถานบริการสุขภาพที่สำคัญเช่นโรงพยาบาล สถานีอนามัยหรือคลินิกต่างๆชุมชนจะเดินทางติดต่อกับชุมชนใกล้เคียงหรือการเดินทางเข้าเมืองโดยรถโดยสารประจำทาง, รถยนต์ส่วนตัว และรถจักรยานยนต์เป็นหลัก ส่วนการเดินทางในระยะใกล้ๆเช่นไปโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าศาลาจะใช้การเดินเท้า, รถจักรยาน และรถจักรยานยนต์เป็นหลัก
- พาหนะและค่าใช้จ่ายในการเดินทางตลอดจนจำนวนพาหนะและความถี่ในการให้บริการชุมชนการเดินทางเข้าเมืองหรือเดินทางไปชุมชนใกล้เคียงประชาชนที่ไม่มีรถส่วนตัวจะใช้รถโดยสารประจำทาง สาย ขอนแก่น-มัญจาคีรี โดยรถโดยสารประจำทางจะออกจากมัญจาคีรี ถึง บ้านท่าศาลา หมู่ 10 ทุก 2 ชั่วโมง ค่าใช้จ่ายเข้าในเมืองขอนแก่น คือ 20-30 บาท
- สภาพถนนในหมู่บ้านเป็นถนนลาดยางผ่านถนนชนบทไปทางบ้านท่าพระ และเป็นถนนคอนกรีตลาดผ่านทุกซอยในหมู่บ้าน
แหล่งน้ำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในเขตชุมชน
บ้านท่าศาลา หมู่ 2 มีแหล่งน้ำที่สำคัญคือห้วยพระเนาว์ เป็นแหล่งน้ำที่ใช้ในการเกษตร แต่มักประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง แหล่งน้ำตื้นเขิน การเกษตรจึงอาศัยน้ำฝนอย่างเดียว
ลักษณะภูมิประเทศของบ้านท่าศาลาหมู่ 2 ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย ดินไม่อุ้มน้ำและมีปัญหาหน้าดินถูกชะล้าง ทำการเกษตรไม่ค่อยได้ผล มีที่ราบลุ่มบ้าง มีลำ ห้วยพะเนาว์ที่ใช้ประโยชน์ในการเกษตร อุณหภูมิสูงสุดโดยประมาณ 30-36 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 15-18 องศาเซลเซียส บ้านท่าศาลา มีวัด 1 แห่ง คือวัดโนนสว่างและมีที่พักสงฆ์ปาช้าท่าศาลา มีโรงเรียน 1 แห่งซึ่งตั้งอยู่ภายในหมู่บ้านท่าศาลาหมู่ 2 มีร้านค้าภายในหมู่บ้าน 6 แห่ง มีโรงสีข้าว 1 แห่ง สภาพทั่วไปของพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ แบ่งฤดูกาลตามสภาพอากาศได้ดังนี้
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมจนถึงเดือนเมษายน
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนตุลาคม
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนกุมภาพันธ์
ที่ตั้งอาณาเขต
- ทิศเหนือจดห้วยพระเนาว์ อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น
- ทิศใต้จดบ้านไส้ไก่ หมู่ 1 ตำบลท่าศาลา อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น
- ทิศตะวันออกจดบ้านหัวนา หมู่ 9 ตำบลท่าศาลา อำเภอมัญจาคีรีจังหวัดขอนแก่น
- ทิศตะวันตกติดกับบ้านท่าศาลา หมู่ 10 ตำบลท่าศาลา อำเภอมัญจาคีรีจังหวัดขอนแก่น
3.การคมนาคม
3.1 การเดินทางติดต่อกับชุมชนใกล้เคียงอำเภอหรือจังหวัดโดยเฉพาะกับสถานบริการสุขภาพที่สำคัญเช่นโรงพยาบาล สถานีอนามัยหรือคลินิกต่างๆชุมชนจะเดินทางติดต่อกับชุมชนใกล้เคียงหรือการเดินทางเข้าเมืองโดยรถโดยสารประจำทาง, รถยนต์ส่วนตัว และรถจักรยานยนต์เป็นหลัก ส่วนการเดินทางในระยะใกล้ๆเช่นไปโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าศาลาจะใช้การเดินเท้า, รถจักรยาน และรถจักรยานยนต์เป็นหลัก
3.2 พาหนะและค่าใช้จ่ายในการเดินทางตลอดจนจำนวนพาหนะและความถี่ในการให้บริการชุมชนการเดินทางเข้าเมืองหรือเดินทางไปชุมชนใกล้เคียงประชาชนที่ไม่มีรถส่วนตัวจะใช้รถโดยสารประจำทาง สาย ขอนแก่น-มัญจาคีรี โดยรถโดยสารประจำทางจะออกจากมัญจาคีรี ถึง บ้านท่าศาลา หมู่ 10 ทุก 2 ชั่วโมง ค่าใช้จ่ายเข้าในเมืองขอนแก่น คือ 20-30 บาท
3.3 สภาพถนนในหมู่บ้านเป็นถนนลาดยางผ่านถนนชนบทไปทางบ้านท่าพระ และเป็นถนนคอนกรีตลาดผ่านทุกซอยในหมู่บ้าน
4.แหล่งน้ำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในเขตชุมชน
บ้านท่าศาลา หมู่ 2 มีแหล่งน้ำที่สำคัญคือห้วยพระเนาว์ เป็นแหล่งน้ำที่ใช้ในการเกษตร แต่มักประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง แหล่งน้ำตื้นเขิน การเกษตรจึงอาศัยน้ำฝนอย่างเดียว
บ้านท่าศาลา หมู่ 2 ต.ท่าศาลา อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น แสดงให้เห็นว่าประชากรส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยผู้อายุ (อายุ 61-65 ปี) ร้อยละ22.62 และที่พบน้อยที่สุด คือช่วงวัยเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี ร้อยละ 1.94
การนับถือศาสนาของของคนในชุมชน คือ มีการนับถือศาสนาพุทธทั้งหมด เคารพสักการะพระพุทธเจ้า มีวัดเป็นศูนย์ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนและสถานที่ปฏิบัติธรรม กิจกรรมในวัดที่ดำเนินการส่วนใหญ่ คือ งานบุญประจำหมู่บ้าน งานศพและกิจกรรมต่างๆ ในวันสำคัญทางศาสนาและปฏิบัติตามประเพณีของชาวพุทธ เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาต่างๆภายในชุมชนเมื่อมีประเพณี
โครงสร้างการบริหารงานในชุมชน
1. ผู้ใหญ่บ้าน : นายศิริ สุทธมา
2. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน : 1) นายทองพูล ขุมดินพิทักษ์ 2)นางชูศรี เตโพธิ์
3. คณะกรรมการชุมชน จำนวน 14 คน
4. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
5. องค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา
6. คณะกรรมการบริหาร จำนวน 17 คน
7. คณะกรรมการประชาคมหมู่บ้าน จำนวน 17 คน
บทบาทกรรมการหน้าที่
กรรมการบริหารชุมชน
- ร่วมกันวางแผนในการพัฒนาหมู่บ้าน
- บริหารงานด้านต่างๆในหมู่บ้าน เช่น ด้านมหาดไทย ด้านศึกษาธิการ ด้านสาธารณสุข ด้านการเกษตร
ด้านมหาดไทย ทำหน้าที่ รักษาความปลอดภัยของหมู่บ้าน โดยเฉพาะช่วงที่มีเทศกาล คอยประสานงานกับตำรวจดูแลความสงบช่วยตรวจอาวุธก่อนเข้างาน ดูแลความเสี่ยง ในการเกิดเหตุการณ์ที่เป็นอันตราย
ด้านศึกษาธิการ ทำหน้าที่ เป็นคณะกรรมการผู้ปกครองนักเรียน เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการในโรงเรียน ลงมติในการจัดซื้อวัสดุบางอย่าง การจัดกิจกรรมระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
ด้านสาธารณสุข ได้แก่ แกนนำด้านสุขภาพและอาสาสมัครสาธารณสุข ทำงานด้านสุขภาพ เช่น ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ออกมาปฏิบัติงานในชุมชน ร่วมกิจกรรมการควบคุมโรคในชุมชน
ด้านการเกษตร ทำหน้าที่ ประสานงานกับปศุสัตว์ เช่น เรื่องวัคซีนวัว กระบือ สุนัข ให้สัตว์เลี้ยงชาวบ้านได้รับวัคซีน
กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข
ประธาน : นายสุรพล มโนวัน
รองประธาน : นางรัตติกาล สีอาคะ
สมาชิก : จำนวน 21 คน
บทบาทหน้าที่ : ประสานงานในการทำงานด้านสุขภาพในพื้นที่ เช่น แจ้งข่าวสารด้านสุขภาพแก่ชุมชน ประสานชุมชนในการรับบริการ ชี้แนะบริการ ร่วมพิทักษ์สิทธิโดยการสำรวจข้อมูลการมีสิทธิบัตรตามโครงการบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ควบคุมและป้องกันโรคที่เกิดในชุมชน ตลอดจนการคัดกรองโรคเบื้องต้นร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เป็นตัวอย่างที่ดีในการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน
กองทุนในชุมชน
1. กองทุนเงินล้าน
ลักษณะกองทุน : ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2544 โดยได้รับเงินทุนจากรัฐบาล (ผ่านธนาคารออมสิน) จำนวน 1,000,000 บาท นับตั้งแต่ พ.ศ.2544 เป็นต้นมา ซึ่งแต่ละปีได้เงินมาไม่เท่ากัน การกู้ยืมมี 2 แบบ คือ กู้สามัญไม่เกินคนละ 30,000 บาท กู้ฉุกเฉินไม่เกินคนละ 6,000 บาท โดยมีดอกเบี้ยร้อยละ 1 บาท/เดือน
วัตถุประสงค์: เพื่อบริการกู้ยืมของประชาชนในหมู่บ้านที่สมาชิกกลุ่มกองทุน
ประธาน : นายศิริ สุทธมา
คณะกรรมการ : จำนวน 9 คน
2. กองทุนฌาปณกิจหมู่บ้าน
ลักษณะกองทุน : ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2543 โดยเก็บเงินฌาปนกิจครอบครัวละ 20 บาท/ศพ โดยมีสมาชิกทั้งหมด 315 ครอบครัว และชมรมฌาปณกิจโดยในหนึ่งครอบครัวจะต้องสมัครสมาชิกอย่างน้อย 2 คน โดยเก็บเงินฌาปนกิจคนละ 20 บาท/ศพ กรณีที่สมาชิกคนใดคนหนึ่งเสียชีวิตในครอบครัวนั้นต้องหาสมาชิกใหม่มาแทน
วัตถุประสงค์ : เพื่อช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิต
ประธาน : นายหนูนิน วิชาโคตร
คณะกรรมการ :
1.นายบุญเกิด สุทธมา ทำหน้าที่เป็นผู้รวบรวมเงินจากทุกหมู่ เพื่อนำไปมอบให้กับครอบครัว ผู้เสียชีวิต
2.นายทองม้วน ทักศรี หน้าที่เป็นผู้เก็บเงินฌาปนกิจ
3.นายบุญมี ศรีสุวรรณ หน้าที่เป็นผู้เก็บเงินฌาปนกิจ
3. กลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์
วัตถุประสงค์ : สหกรณ์ออมทรัพย์เป็นสถาบันการเงินที่ส่งเสริมให้บุคคลที่เป็นสมาชิกรู้จักการประหยัด รู้จักการออมทรัพย์และสามารถบริการเงินกู้ ให้แก่สมาชิกเพื่อนำไปใช้จ่ายเมื่อเกิดความจำเป็น โดยยึดหลักการช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ประธาน : นายศิริ สุทธมา
คณะกรรมการ : จำนวน 7 คน
กลุ่มชมรมผู้สูงอายุ
วัตถุประสงค์ : เพื่อให้ผู้สูงอายุวัยเดียวกันได้พบปะสังสรรค์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมของผู้สูงอายุ มีการดูแลสวัสดิการทางสังคมแก่สมาชิก รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุให้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีงานอดิเรก และมีกิจกรรมสันทนาการที่เหมาะสมตามความสนใจ สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
ประธาน : นายหนูนิน วิชาโคตร
รองประธาน : นายใจ โถนคำ
สมาชิก : จำนวน 1,450 คน (ต.ท่าศาลา)
- บุญเข้ากรรม : เดือน ธันวาคม
- บุญคูณลาน : เดือน มกราคม
- บุญข้าวจี่ : เดือน กุมภาพันธุ์
- บุญผะเหวด : เดือน มีนาคม
- บุญสงกรานต์ : เดือน เมษายน
- บุญบั้งไฟ : เดือน พฤษภาคม-มิถุนายน
- บุญซาฮะ : เดือน มิถุนายน
- บุญเข้าพรรษา : เดือน กรกฏาคม
- บุญข้าวประดับดิน : เดือน สิงหาคม
- บุญข้าวสาก : เดือน กันยายน
- บุญออกพรรษา : เดือน ตุลาคม
- บุญกฐิน : เดือน พฤศจิกายน
1.นาย หนูนิน วิชาโคตร เกิดวันที่ —2481 อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 49 บ้านท่าศาลา หมู่ที่ 2 ตำบลท่าศาลา อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น มีพี่น้องทั้งหมด 4 คน ตนเป็นบุตรคนที่ 2 จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านห้วยไส้ไก่ ทำงานที่บริษัทซิงเกอร์ จึงแต่งงาน เมื่อปี พ.ศ. 2506 แล้วย้ายมาที่บ้านท่าศาลา ลาออกจากงานเมื่อปี พ.ศ. 2511 จากนั้นมาซื้อรถโดยสารรับส่ง มีบุตร 4 คน เป็นเพศชาย 3 คน เพศหญิง 1 คน ปัจจุบันบุตรธิดาแยกย้ายไปมีครอบครัว จะกลับมาทุกเทศกาลหรือมีวันหยุด
หน้าที่ที่รับผิดชอบในชุมชน
- ประชาสัมพันธ์หมู่บ้าน
- หัวหน้ากลุ่มออมทรัพย์
- ประธานชมรมผู้สูงอายุ
- ประธานฌาปณกิจหมู่บ้าน
- กรรมการหมูบ้าน
- ช่วยไกล่เกลี่ยปัญหาบุคคลในหมู่บ้าน
แหล่งประโยชน์ในชุมชน
- วัดโนนสว่าง
- ที่พักสงฆ์ป่าช้าท่าศาลา
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าศาลา
- ร้านขายของชำ จำนวน 6 ร้าน
- โรงเรียนบ้านท่าศาลาประชารังสรรค์
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา
- ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
ประชาชนบ้านท่าศาลาใช้ภาษาถิ่นอีสานในการสื่อสารในชุมชน และใช้ภาษากลาง ภาษาไทยในการติอต่อสื่อสารกับหน่วยงานต่าง ๆ
ชุมชนบบ้านท่าศาลา หมู่ที่2 ได้เข้าร่วมโครงการท่าศาลาร่วมแฮง ฮักแพงสุขภาพ
ปัจจุบันแนวโน้มผู้ป่วยกลุ่มโรค NCDs เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพบผู้ป่วยที่มีอายุน้อยลงเรื่อยๆ และเชื่อว่าจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง พิจารณาจากอัตราน้ำหนักตัวของประชากรที่อยู่ในเกณฑ์เกินมาตรฐานมีจำนวนเพิ่มขึ้น ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งที่จะทำให้เกิดกลุ่มโรค NCDs สิ่งสำคัญที่สุดคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อนที่จะเกิดโรค โดยอาหารถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด สามารถปรับโดยการลดหวาน มัน เค็ม บริโภคให้ครบ 5 หมู่ และ ควรลดหรือเลิกดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดหลายโรคเช่นกัน เพิ่มการออกกำลังกาย และหากิจกรรมคลายเครียด ก็จะเป็นวิธีป้องกันกลุ่มโรค NCDs ได้อย่างดี (ศ.พญ.วรรณี นิธิยานันท์,2557)
โรคความดันโลหิตสูง นับเป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุขสำคัญที่กำลังคุกคามโลก โดยในปัจจุบันมีประชากรหลายร้อยล้านคนทั่วโลกเป็น โรคความดันโลหิตสูง และมีการคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2568 ผู้มีภาวะความดันโลหิตสูงจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.5 พันล้านคน (ลัดดาวรรณ ปานเพ็ชร,2555)
และจากข้อมูลของสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation; IDF) รายงานสถานการณ์โรคเบาหวานในปี 2558นี้พบว่ามีผู้เป็นเบาหวานทั่วโลก 387 ล้านคน ซึ่งสาเหตุสำคัญคือการไม่ได้รับการวินิจฉัยหรือไม่ได้รับการตรวจคัดกรองว่าเป็นเบาหวานตั้งแต่เบี้องต้น ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 46 และการที่เป็นเบาหวานแล้วไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ ซึ่งนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน และความสูญเสียที่สำคัญคือตาบอด การถูกตัดขา ไตวาย และการเสียชีวิตเฉียบพลันจากโรคหัวใจและหลอดเลือด (นพ.เพชร รอดอารีย์,2558)
สำหรับประเทศไทย จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขคาดว่า จะมีผู้มีภาวะความดันโลหิตสูง หรือเป็น โรคความดันโลหิตสูง ประมาณ 10 ล้านคน ซึ่ง 70% ของคนกลุ่มนี้ไม่ทราบว่าตนเองมีภาวะดังกล่าวทำให้ไม่ได้รับการรักษาหรือการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเหมาะสม อันจะนำไปสู่การเกิดโรคแทรกซ้อนมากมาย อาทิ อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ (ลัดดาวรรณ ปานเพ็ชร,2555)
และความอ้วนก็เป็นปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่นำไปสู่โรคเบาหวาน จากการสำรวจพบว่ามากกว่าร้อยละ 30 ของชายไทย และมากกว่าร้อยละ 40 ของหญิงไทย มีน้ำหนักตัวเกิน ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 6.8 ส่วนคนที่อ้วนมากจะเสี่ยงสูงถึงร้อยละ 14.3 อย่างไรก็ตามความเสี่ยงนี้จะลดลงถ้าปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหารและใช้ชีวิตให้มีกิจกรรมทางกายมากขึ้น มีการควบคุมน้ำหนักอย่างเข้มงวด ได้ช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวานได้ถึงร้อยละ 70 ในคนที่มีความเสี่ยงสูง (นพ.เพชร รอดอารีย์,2558)
จากการสำรวจชุมชนบ้านท่าศาลา หมู่ที่ 2 พบว่าโรคความดันโลหิตสูงนับเป็นโรคที่พบมากเป็นอันดับ 1 และพบว่าโรคเบาหวานสูงนับเป็นโรคที่พบมากอันดับ 2 ซึ่งในปี 2559 ในเขตบ้านท่าศาลา หมู่ที่ 2 ตำบลท่าศาลา อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น พบผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 68 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.24 และพบผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน จำนวน 45 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.13 จากประชากรทั้งหมด ซึ่งหากผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแล หรือไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม อาจพัฒนาไปสู่โรคแทรกซ้อนอื่นๆได้ในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ทำให้เป็นภาระต่อสังคม เศรษฐกิจ และครอบครัวที่ต้องทำหน้าที่ดูแล ส่วนปัจจัยส่วนใหญ่ที่อาจมีความเกี่ยวเนื่องกันได้ก็คือ พันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งพบว่าคนที่มีบิดา มารดา มีภาวะความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ก็มักจะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าคนที่บิดา มารดามีภาวะความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดปกติ ส่วนในเรื่องปัจจัยแวดล้อม เช่น มีน้ำหนักตัวมาก สูบบุหรี่จัด ดื่มสุราจัด มีระดับไขมันในเลือดสูง และมีความเครียดก็มีผลทำให้เกิดปัญหาสุขภาพเช่นกัน
ด้วยความตระหนักถึงปัญหาและภัยของภาวะความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน นักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น จึงได้จัดทำโครงการโครงการอยู่อย่างให้ปลอดภัยจากความดันโลหิตสูง เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง มีสุขภาพที่ดี มีความรู้ในการดูแลตนเอง ลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและภาวะแทรกซ้อน และลดการสูญเสียของประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อไป
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
2. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงเกิดความรู้ ความเข้าใจในการป้องกัน NCDs หรือการป้องกันการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และมะเร็ง ได้อย่างถูกต้องมากขึ้น จากร้อยละ 75 เป็นร้อยละ 100
3. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสามารถคำนวนพลังงานจากการรับประทานอาหารของตนเอง และสามารถวางแผนการรับประทานอาหารที่เหมาะสมได้
4. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายที่ถูกวิธี และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาสนใจออกกำลังกายมากขึ้นจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 60
5. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้อง และสามารถเลือกวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตัวเองได้
6. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงเพื่อให้เข้าร่วมโครงการเข้าใจความหมาย ประโยชน์และโทษของอารมณ์ สามารถประเมินอารมณ์ของตนเองได้ และสามารถจัดการอารมณ์หรือเลือกวิธีคลายเครียดได้อย่างเหมาะสม
ชุมชนบ้านท่าศาลามีจุดที่น่าสนใจอื่น ๆ เช่น ร้าน ข้าวมันไก่&ก๋วยเตี๋ยวไก่ ท่าศาลา ครัวหรรษา บ้านสุชานันท์ และ วัดโนนสว่าง
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2548). การทบทวนองค์ความรู้ การควบคุมการบริโภค- ยาสูบ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
กาญจนา บุญแก้ว. (2558). ประโยชน์และสรรพคุณพืชผักสวนครัว. ออนไลน์. เข้าถึงได้จาก : http://kanchanabunkaew.blogspot.com/
เทพ สงวนกิตติพันธุ์นักวิชาการศึกษา. (2558). การควบคุมอารมณ์ (Emotional Control). ออนไลน์. เข้าถึงได้จาก : http://www.stou.ac.th/
arphawan sopontammarak. ( 2557). การออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพ. ออนไลน์. เข้าถึงได้จาก : http://www.thaihealth.or.th/
pavinee thepkhamram. (2557). สุราคือสารเสพติด. January 27, 2013, เข้าถึงได้จาก : http://www.thaihealth.or.th/