เกษตรอินทรีย์ ผักสะทอน การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ลำน้ำหมัน ทิวทัศน์ทางธรรมชาติ
ชื่อนาหมูม่น มีที่มาจาก หมูป่าที่มักจะลงมาจากภูเขามากินขุดกินพืชในพื้นที่เกษตรกรรมของชาวบ้าน (ม่น เป็นภาษาถิ่น แปลว่า ซุก แทรก)
เกษตรอินทรีย์ ผักสะทอน การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ลำน้ำหมัน ทิวทัศน์ทางธรรมชาติ
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านมีเรื่องเล่าขานว่า เมื่อราว 200 ปีก่อน มีพรานป่าสามคนจากบ้านโคก ต้นตระกูลสิงห์สถิตย์ (ปัจจุบันคือหมู่บ้านหนึ่งของอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย มีบรรพบุรุษสืบเชื้อสายจากลาวหลวงพระบาง) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของหมู่บ้าน เดินทางมาหาของป่าเห็นว่าพื้นที่แห่งนี้อุดมสมบูรณ์ จึงย้ายครอบครัวมาตั้งถิ่นฐานบริเวณดังกล่าว ก่อนขยายเป็นหมู่บ้านใหญ่ดังที่เห็นในปัจจุบัน
บ้านนาหมูม่น ตั้งอยู่ตำบลนาดี อ้าเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ห่างจากตัวอำเภอด่านซ้ายไปทางทิศเหนือราว 10 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านขนาดกลาง บริเวณที่ตั้งหมู่บ้านอยู่บนพื้นที่ราบลุ่มหุบเขา ในเขตแม่น้ำหมันตอนปลาย สภาพพื้นที่เป็นที่ราบแคบ ๆ ขนาบข้างด้วยภูสูงสองด้าน ทั้งทางทิศตะวันตกและตะวันออก มีแม่น้ำหมันไหลผ่านและมีลำน้ำสาขาสายสั้น ๆ ไหลสู่แม่น้ำหมัน
ปัจจุบันบ้านนาหมูม่นมีพื้นที่ทางการเกษตรจำนวน 1,785.85 ไร่ แหล่งน้ำสำคัญคือ ห้วยภู น้ำหมัน และหนองหอย (องค์การบริหารส่วนตำบลนาดี, 2566)
บ้านนาหมูม่น มีจำนวน 185 ครัวเรือน จำนวนประชากร 725 คน (ชาย 355 คน หญิง 370 คน) (องค์การบริหารส่วนตำบลนาดี, 2566)
- เครือข่ายด่านซ้ายกรีนเนต (Dansai Green Net) ดำเนินการด้านเกษตรอินทรีย์และตลาดสุขภาพในอำเภอด่านซ้าย รวมถึงที่บ้านนาหมูม่น
เดิมคนบ้านนาหมูม่นในบริบทแม่น้้าหมันด้ารงชีพด้วยการเลี้ยงสัตว์พวกวัวและควาย และทำนาปลูกข้าวเพื่อบริโภคในครัวเรือน รวมถึงปลูกพืชผักตามหัวไร่ปลายนา ก่อนปรับเปลี่ยนหันมาทำไร่บนที่สูง (บนภู) เนื่องจากจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นและขยายพื้นที่ทำกินเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว ส่งผลทำให้หลายครัวเรือนเลิกเลี้ยงสัตว์ เพราะพื้นที่ทางการเกษตรจำกัด ปัจจุบันการทำนาของชาวบ้านจะเริ่มเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม เก็บเกี่ยวเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม บางครัวเรือนยังปลูกข้าวนาปรัง โดยเฉพาะหลังจากการทำคลองส่งน้้ำชลประทานเมื่อหลายสิบปีก่อน ชาวบ้านจึงทำนามากขึ้น ทำให้หลายครัวเรือนลดการทำไร่ (บนภู) นอกจากนี้ ชาวบ้านยังมีการปลูกข้าวโพด ถั่วลิสง และทำสวนผลไม้ เช่น เงาะ มะม่วง ลำไย และกล้วย เป็นต้น ส่วนครัวเรือนใดที่ลูกหลานมีโอกาสศึกษาในระดับสูง ๆ จะรับราชการ ทำงานเอกชน และรับจ้างทั่วไป (เอกรินทร์ พึ่งประชา, 2561: 208)
- เกษตรอินทรีย์ และตลาด
- การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
- ทิวทัศน์ทางธรรมชาติ
- ผักสะทอน
- ลำน้ำหมัน
ประชากรส่วนใหญ่ใช้ภาษาไทยด่าน รองลงมาใช้ภาษาไทยเลย
- ทิศทางการไหลของลำน้ำธรรมชาติในพื้นที่ไม่แน่นอน พื้นที่เก็บกักน้ำมีน้อย และมีการไหลของน้ำอย่างรวดเร็ว ส่งผลทำให้การกักเก็บน้ำไม่มีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดปัญหากัดเซาะหน้าดินได้ง่าย กายภาพดังกล่าวเป็นภาวะเปราะบางของระบบนิเวศที่มักจะได้รับผลกระทบโดยตรง คือ มักเกิดน้ำท่วมเมื่อยามน้ำหลากและเกิดภัยแล้งเมื่อเข้าสู่ฤดูแล้ง เป็นต้น แม่น้ำหมันมีน้ำไหลเกือบตลอดทั้งปี หากแต่ช่วงหน้าแล้งจะมีปริมาณน้ำน้อย บางปีแห้งขาด โดยเฉพาะในรอบทศวรรษที่ผ่านมา เกิดวิกฤตน้ำหมัน กล่าวคือ เกิดน้ำท่วมเมื่อยามน้ำหลาก และเกิดน้ำแห้งขอดเมื่อก้าวสู่ฤดูแล้ง (เอกรินทร์ พึ่งประชา, 2561: 207-208)
- วิถีทางการเกษตรของคนบ้านนาหมูม่นเริ่มประสบปัญหาในรอบทศวรรษที่ผ่านมา สาเหตุหลักเกิดจาก “วิกฤตลำน้้ำหมัน” คือ ในฤดูฝน น้ำมักท่วมนาและพืชผักที่ปลูกไว้ตามหัวไร่ปลายนาเกิดความเสียหาย ส่วนนาปรังทำไม่ได้ เพราะน้ำแล้ง ทำให้รายได้ของครัวเรือนขาดความต่อเนื่อง ส่วนอาหารจากป่าเริ่มลดลงและเสี่ยงต่อสารเคมีตกค้างจากการใช้ยาฆ่าหญ้าและยาฆ่าแมลงที่ชาวบ้านใช้ทำไร่
องค์การบริหารส่วนตำบลนาดี. (2566). "ข้อมูลทั่วไป" (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 10 มิถุนายน 2566. เข้าถึงจาก http://www.nadee-dansai.go.th/
เอกรินทร์ พึ่งประชา. (2561). "“พัดทดน้ำ” : “การต่อรอง” ในบริบทนิเวศวิทยาการเมือง" วารสารมานุษยวิทยา 1, 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561): 185-236.